ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชาสถิติศาสตร์ สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ช้างเป็นเกียรติภูมิของชาติไทย ประเทศไทยเคยใช้ธงช้างเผือกบนพื้นสีแดงเป็นธงประจำชาติ ในช่วงพ.ศ. 2395-2459 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 4-5-6 ก่อนจะเปลี่ยนเป็นธงไตรรงค์
![ธงช้างเผือกบนพื้นสีแดง เคยใช้เป็นธงชาติไทย](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/568000000924401.JPEG)
ช้างเผือกเป็นสัตว์มงคลคู่พระราชบารมีแห่งองค์พระมหากษัตริย์ไทย พระเจ้าแผ่นดินไทยบางพระองค์ทรงได้รับพระราชสมัญญานามว่า พระเจ้าช้างเผือก เพราะทรงมีช้างเผือกคู่พระบารมีเป็นจำนวนคือสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
![ที่มาของภาพ: สำนักพระราชวัง https://www.royaloffice.th/2022/03/ถวายช้างสำคัญ/](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/568000000924402.JPEG)
ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงมีช้างเผือกคู่พระบารมีมากที่สุดพระองค์หนึ่งคือพระบาทสมเด็จพระมหาชนกาธิเบศรภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ประกอบพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างเผือก 10 เชือก คือ 1. พระเศวตอดุลยเดชพาหน 2. พระเศวตวรรัตนกรี 3. พระเศวตสุรคชาธาร 4. พระศรีเศวตศุภลักษณ์ 5. พระเศวตศุทธวิลาศ 6. พระวิมลรัตนกิริณี 7.พระศรีนรารัฐราชกิริณี 8. พระเศวตภาสุรคเชนทร์ 9. พระเทพรัชรกิริณี และ 10. พระบรมนขทัศ โดยมีพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างเผือกครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. 2521
หลังจากนั้นทรงได้ช้างเผือกมาน้อมเกล้าถวายคู่พระราชบารมีอีกเป็นจำนวนมากมาย นับสิบเชือก แต่ก็มิได้โปรดเกล้า ฯ ให้ประกอบพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างเผือกแต่อีกต่อจนสิ้นรัชกาล ข้อนี้ผู้เขียนสันนิษฐานเอาเองว่าทรงถ่อมพระองค์ มิทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทรงมีช้างเผือกมากกว่าบูรพกษัตริยาธิราชเจ้าของไทยด้วยทรงยึดมั่นในพระกตัญญุตาธรรมสูงสุดยิ่ง ความในพระราชหฤทัยแท้จริงเป็นเช่นใดนั้น มิมีใครอาจจะล่วงรู้ได้
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/568000000924403.JPEG)
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/568000000924404.JPEG)
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/568000000924405.JPEG)
คุณพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ช้างเผือกคู่พระราชบารมีเชือกแรกของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นช้างพลาย เกิดในป่าจังหวัดกระบี่ เมื่อพ.ศ. 2494 เป็นลูกช้างติดแม่อยู่ในโขลงช้างป่า เดิมมีชื่อว่า "พลายแก้ว" ถูกคล้องได้ที่บ้านหนองจูด ตำบลดินอุดม อำเภอลำทับ เมื่อปี 2499 โดยนายแปลก ฟุ้งเฟื่อง และนายปลื้ม สุทธิเกิด (หมอเฒ่า)ในหลวงโปรด ฯ ให้ยืนโรงที่โรงช้างต้น พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ทรงพระเมตตาเลี้ยงดูแลคุณพระฯ ด้วยพระองค์เองมาเสมอ ต่อมาโปรดเกล้าให้คุณพระไปยืนโรงที่พระราชวังไกลกังวล ซึ่งคุณพระมีความสุขมากเพราะได้ลงเล่นน้ำทะเล
ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระเมตตาต่อช้างและสรรพสัตว์เป็นอย่างยิ่ง เมื่อคราวคุณพระเศวตเล็ก หรือคุณพระเศวตสุรคชาธาร ฯ พลัดหลงโขลงช้างป่าเข้ามาอยู่อาศัยที่ใต้ถุนบ้านของนายเจ๊ะเฮง หะระตี กำนันตำบลการอ จังหวัดยะลา ได้มีเพื่อนที่รู้ใจเป็นสุนัขชื่อนางเบี้ยว นางเบี้ยวนั้นติดคุณพระเศวตเล็กมาก เมื่อคุณพระเศวตเล็กได้โปรดเกล้าสมโภชขึ้นระวางที่กรุงเทพแล้ว นางเบี้ยวก็ร้องครวญครางคิดถึงคุณพระเศวตเล็กอยู่เสมอ จนความทราบพระเนตรพระกรรณในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงทรงมีรับสั่งว่า “ช้างทั้งตัวยังเอาไปได้ ทำไมหมาอีกตัวเดียวจะเอาไปไม่ได้ ให้เอาหมาไปด้วยเถิด สงสารมัน อย่าไปพรากมันเลย”
![คุณพระเศวตสุรคชาธาร หรือคุณพระเศวตเล็กกับเพื่อนคู่ใจ สุนัขชื่อนางเบี้ยว ที่โรงช้างต้น พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/568000000924406.JPEG)
พระมหากษัตริย์ไทย ยังทรงมีช้างศึกคู่พระบารมี ถวายงานรับใช้เพื่อรักษาชาติบ้านเมือง
ชาติไทยคงรักษาเอกราชไว้ได้ด้วยช้างศึก เช่น การกระทำยุทธหัตถี อันถือว่าเป็นสงครามประกาศเกียรติยศสูงสุดแห่งองค์พระมหากษัตริย์ นักรบผู้กล้าหาญ มีพระมหากษัตริย์ไทยสองพระองค์ที่เคยทรงกระทำยุทธหัตถีเป็นการประกาศพระปรีชาสามารถอันรักษาเอกราชของบ้านเมือง
พระองค์แรกคือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ดังมีในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ชนช้างกับพ่อขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด แล้วเพลี่ยงพล้ำ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระราชโอรส จึงทรงไสช้างเข้ากระทำยุทธหัตถีกับพ่อขุนสามชนแทน และสังหารพ่อขุนสามชน บนหลังช้างได้สำเร็จ
![ศิลาจารึกหลักที่ 1 พ่อขุนรามคำแหงที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/568000000924407.JPEG)
![ภาพจำลองยุทธหัตถีระหว่างพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (ซ้าย) กับขุนสามชน (ขวา) บริเวณฐานพระบรม ราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ภาพถ่ายโดย Hartmann Linge ใน Wikimedia Commons](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/568000000924408.JPEG)
พระองค์ที่สองคือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้าทรงไสช้างเจ้าพระยาไชยานุภาพปราบหงสาวดี ทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา ของพม่า ได้ชัยชำนะ รักษาชาติบ้านเมืองเอาไว้ได้ สมเด็จพระเอกาทศรถ พระราชอนุชา ก็ทรงมีช้างศึกคู่พระทัย เสด็จออกรบเคียงบ่าเคียงไหล่สมเด็จพระเชษฐาคือ เจ้าพระยาปราบไตรจักร
![ใบปิดภาพยนตร์ยุทธหัตถี กำกับโดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล (ท่านมุ้ย)](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/568000000924409.JPEG)
ดังที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ได้พระนิพนธ์ไว้ในลิลิตตะเลงพ่ายถึงเหตุการณ์ที่พระมหาอุปราชาสวรรคตบนหลังช้างทรงเป็นโคลงสี่สุภาพ เอาไว้ว่า
อุรารานร้าวแยก ยลสยบ.
เอนพระองค์ลงทบ ท่าวดิ้น.
เหนือคอคชซอนซบ สังเวช.
วายชิวาตม์สุดสิ้น สู่ฟ้าเสวยสวรรค์
แม้แต่สมเด็จพระอัครมเหสีคือสมเด็จพระศรีสุริโยทัย วีรสตรี ก็ทรงไสช้างกระทำยุทธหัตถีกับพระเจ้าแปร เพื่อปกป้องพระราชสวามีคือสมเด็จพระมหาจักรวรรดิและปกป้องชาติบ้านเมือง จนสวรรคตกลางหลังช้าง
![ภาพวาดสมเด็จพระศรีสุริโยทัยทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระเจ้าแปร วาดโดยครูเหม เวชกร](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/568000000924410.JPEG)
พระมหากษัตริย์ ที่ทรงใช้ช้างป่าในการรักษาเอกราชของชาติไทยอย่างได้ผลแยบยลยิ่ง โดยมิต้องทรงกระทำยุทธหัตถี แต่ใช้ในการเจริญพระราชไมตรีเพื่อรักษาชาติบ้านเมือง คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ทรงผูกมิตรแท้ด้วยการนำเสด็จสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิซาร์นิโคลัส ที่สอง แห่งราชวงศ์โรมานอฟของรัสเซียเมื่อครั้งยังทรงเป็นมกุฎราชกุมารหรือซาเรวิชไปทอดพระเนตรการคล้องช้างป่ามาถวายพระเจ้าซาร์ ที่เพนียดคล้องช้าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้วยพระองค์เอง เป็นเหตุในพระเจ้าซาร์ทรงประทับพระทัยไม่รู้ลืม
เมื่อคราวพระปิยมหาราชเสด็จไกลบ้านเจริญพระราชไมตรีในทวีปยุโรปเพื่อรักษาเอกราชของชาติไทย ไปประเทศไทย ชาติมหาอำนาจในยุโรปต่างไม่ต้อนรับให้สมพระเกียรติ ด้วยเห็นว่าสยามจะต้องถูกล่าเป็นอาณานิคม พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จเยือนรัสเซีย พระเจ้าซาร์ทรงให้ฉายพระบรมฉายาลักษณ์ในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ของราชวงศ์จักรีและราชวงศ์โรมานอฟอย่างสนิทใกล้ชิดเช่นพระญาติสนิท พระบรมฉายาลักษณ์นี้เผยแพร่ไปทั่วทวีปยุโรป และประเทศมหาอำนาจในยุโรปในเวลานั้นต่างก็เกรงใจรัสเซีย ทำให้สยามได้รับการยอมรับ เจริญพระราชไมตรีได้สำเร็จงดงาม ทำให้ไทยยังคงรักษาเอกราชมิเป็นเมืองขึ้นได้มาจนกระทั่งปัจจุบัน
![พระบรมฉายาลักษณ์อันสนิทสนมแห่งราชวงศ์จักรีและราชวงศ์โรมานอฟที่เผยแพร่ไปทั่วยุโรป ช่วยให้เจริญพระราชไมตรีและรักษาเอกราชของชาติไทยได้สำเร็จ](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/568000000924411.JPEG)
ทั้งที่คนไทยเป็นชาติที่มี ภูมิปัญญาเกี่ยวกับช้าง อันยาวนานวิชาควาญช้างของไทยสืบทอดกันมานับได้อย่างน้อยเจ็ดร้อยปีนับแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
สมัยกรุงศรีอยุธยาพระเจ้าแผ่นดินสองพระองค์ที่ทรงชำนาญวิชาคชบาลด้วยพระองค์เองเป็นอย่างยิ่ง คือสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ โปรดการคล้องช้างป่าด้วยพระองค์เองเป็นเนืองนิตย์
สมเด็จพระเพทราชา ก่อนปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ทรงรับราชการบังคับบัญชากรมช้างหรือกรมพระคชบาลด้วยพระองค์เอง
สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี หรือ หลวงสรศักดิ์ พระนามเดิม "เดื่อ" หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 พระมหากษัตริย์พระองค์ที่สองแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง พระราชโอรสบุญธรรมของสมเด็จพระเพทราชาก็ทรงเชี่ยวชาญวิชาคชบาลเช่นเดียวกันพระราชบิดา
ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ เจ้าฟ้าชั้นเอก ทรงบังคับบัญชากรมพระคชบาลหรือกรมช้างด้วยพระองค์เอง เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพระคชบาล ทรงเป็นต้นราชสกุลมาลากุล เป็นต้น
![สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ต้นราชสกุลมาลากุล ทรงเชี่ยวชาญวิชาคชบาล](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/568000000924412.JPEG)
แม้กรมพระคชบาลจะค่อย ๆ ลดบทบาทไปตามการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า แต่ภูมิปัญญาไทยเกี่ยวกับวิชาช้างก็หาได้เลือนหายไปไม่
ช้างไทยสร้างผลประโยชน์ของชาติ (National interest) ไว้มากมาย สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชาติมากมาย ในการทำไม้หรือส่งออกไม้สัก อันเป็นเป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงมากของไทยนับร้อยปี ก็ใช้ช้างในการลากไม้และทำไม้ เพราะทำได้กว่าเครื่องจักร จนกระทั่งมีการตั้งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ในพ.ศ. 2476 จึงได้มีการตั้งศูนยอนุรักษ์ช้างไทย และต่อมาเป็นสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ในปัจจุบันอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทย ก็มาจากภูมิปัญญาไทยในการเลี้ยงช้าง มีปางช้างเกือบสองร้อยแห่งในประเทศไทย และนำรายได้มากมายเข้าประเทศ นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจำนวนมากที่เกิดจากช้างป่า เช่น การส่องช้างป่าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แก่งกระจาน หรือ เพชรบุรี เป็นต้น
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 หมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย มาตรา 50 วงเล็บสองและวงเล็บแปด ได้บัญญัติไว้ว่า
บุคคลมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๒) ป้องกันประเทศ พิทักษ์รักษาเกียรติภูมิ ผลประโยชน์ของชาติ และสาธารณสมบัติของแผ่นดิน รวมทั้งให้ความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๘) ร่วมมือและสนับสนุนการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรม
ช้างไทยเป็นทั้งเกียรติภูมิของชาติ นำมาซึ่งผลประโยชน์ของชาติ วิชาควาญช้างหรือวิชาคชบาลเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ และช้างป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพของชาติ จึงเป็นหน้าที่ของคนไทยทั้งปวงที่จะช่วยกันพิทักษ์รักษาช้างไทยไม่ว่าจะเป็นช้างป่าหรือช้างบ้านเพื่อเป็นการทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญในฐานะพลเมืองที่ดี
สาขาวิชาสถิติศาสตร์ สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ช้างเป็นเกียรติภูมิของชาติไทย ประเทศไทยเคยใช้ธงช้างเผือกบนพื้นสีแดงเป็นธงประจำชาติ ในช่วงพ.ศ. 2395-2459 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 4-5-6 ก่อนจะเปลี่ยนเป็นธงไตรรงค์
ช้างเผือกเป็นสัตว์มงคลคู่พระราชบารมีแห่งองค์พระมหากษัตริย์ไทย พระเจ้าแผ่นดินไทยบางพระองค์ทรงได้รับพระราชสมัญญานามว่า พระเจ้าช้างเผือก เพราะทรงมีช้างเผือกคู่พระบารมีเป็นจำนวนคือสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงมีช้างเผือกคู่พระบารมีมากที่สุดพระองค์หนึ่งคือพระบาทสมเด็จพระมหาชนกาธิเบศรภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ประกอบพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างเผือก 10 เชือก คือ 1. พระเศวตอดุลยเดชพาหน 2. พระเศวตวรรัตนกรี 3. พระเศวตสุรคชาธาร 4. พระศรีเศวตศุภลักษณ์ 5. พระเศวตศุทธวิลาศ 6. พระวิมลรัตนกิริณี 7.พระศรีนรารัฐราชกิริณี 8. พระเศวตภาสุรคเชนทร์ 9. พระเทพรัชรกิริณี และ 10. พระบรมนขทัศ โดยมีพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างเผือกครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. 2521
หลังจากนั้นทรงได้ช้างเผือกมาน้อมเกล้าถวายคู่พระราชบารมีอีกเป็นจำนวนมากมาย นับสิบเชือก แต่ก็มิได้โปรดเกล้า ฯ ให้ประกอบพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างเผือกแต่อีกต่อจนสิ้นรัชกาล ข้อนี้ผู้เขียนสันนิษฐานเอาเองว่าทรงถ่อมพระองค์ มิทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทรงมีช้างเผือกมากกว่าบูรพกษัตริยาธิราชเจ้าของไทยด้วยทรงยึดมั่นในพระกตัญญุตาธรรมสูงสุดยิ่ง ความในพระราชหฤทัยแท้จริงเป็นเช่นใดนั้น มิมีใครอาจจะล่วงรู้ได้
คุณพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ช้างเผือกคู่พระราชบารมีเชือกแรกของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นช้างพลาย เกิดในป่าจังหวัดกระบี่ เมื่อพ.ศ. 2494 เป็นลูกช้างติดแม่อยู่ในโขลงช้างป่า เดิมมีชื่อว่า "พลายแก้ว" ถูกคล้องได้ที่บ้านหนองจูด ตำบลดินอุดม อำเภอลำทับ เมื่อปี 2499 โดยนายแปลก ฟุ้งเฟื่อง และนายปลื้ม สุทธิเกิด (หมอเฒ่า)ในหลวงโปรด ฯ ให้ยืนโรงที่โรงช้างต้น พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ทรงพระเมตตาเลี้ยงดูแลคุณพระฯ ด้วยพระองค์เองมาเสมอ ต่อมาโปรดเกล้าให้คุณพระไปยืนโรงที่พระราชวังไกลกังวล ซึ่งคุณพระมีความสุขมากเพราะได้ลงเล่นน้ำทะเล
ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระเมตตาต่อช้างและสรรพสัตว์เป็นอย่างยิ่ง เมื่อคราวคุณพระเศวตเล็ก หรือคุณพระเศวตสุรคชาธาร ฯ พลัดหลงโขลงช้างป่าเข้ามาอยู่อาศัยที่ใต้ถุนบ้านของนายเจ๊ะเฮง หะระตี กำนันตำบลการอ จังหวัดยะลา ได้มีเพื่อนที่รู้ใจเป็นสุนัขชื่อนางเบี้ยว นางเบี้ยวนั้นติดคุณพระเศวตเล็กมาก เมื่อคุณพระเศวตเล็กได้โปรดเกล้าสมโภชขึ้นระวางที่กรุงเทพแล้ว นางเบี้ยวก็ร้องครวญครางคิดถึงคุณพระเศวตเล็กอยู่เสมอ จนความทราบพระเนตรพระกรรณในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงทรงมีรับสั่งว่า “ช้างทั้งตัวยังเอาไปได้ ทำไมหมาอีกตัวเดียวจะเอาไปไม่ได้ ให้เอาหมาไปด้วยเถิด สงสารมัน อย่าไปพรากมันเลย”
พระมหากษัตริย์ไทย ยังทรงมีช้างศึกคู่พระบารมี ถวายงานรับใช้เพื่อรักษาชาติบ้านเมือง
ชาติไทยคงรักษาเอกราชไว้ได้ด้วยช้างศึก เช่น การกระทำยุทธหัตถี อันถือว่าเป็นสงครามประกาศเกียรติยศสูงสุดแห่งองค์พระมหากษัตริย์ นักรบผู้กล้าหาญ มีพระมหากษัตริย์ไทยสองพระองค์ที่เคยทรงกระทำยุทธหัตถีเป็นการประกาศพระปรีชาสามารถอันรักษาเอกราชของบ้านเมือง
พระองค์แรกคือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ดังมีในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ชนช้างกับพ่อขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด แล้วเพลี่ยงพล้ำ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระราชโอรส จึงทรงไสช้างเข้ากระทำยุทธหัตถีกับพ่อขุนสามชนแทน และสังหารพ่อขุนสามชน บนหลังช้างได้สำเร็จ
พระองค์ที่สองคือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้าทรงไสช้างเจ้าพระยาไชยานุภาพปราบหงสาวดี ทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา ของพม่า ได้ชัยชำนะ รักษาชาติบ้านเมืองเอาไว้ได้ สมเด็จพระเอกาทศรถ พระราชอนุชา ก็ทรงมีช้างศึกคู่พระทัย เสด็จออกรบเคียงบ่าเคียงไหล่สมเด็จพระเชษฐาคือ เจ้าพระยาปราบไตรจักร
ดังที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ได้พระนิพนธ์ไว้ในลิลิตตะเลงพ่ายถึงเหตุการณ์ที่พระมหาอุปราชาสวรรคตบนหลังช้างทรงเป็นโคลงสี่สุภาพ เอาไว้ว่า
อุรารานร้าวแยก ยลสยบ.
เอนพระองค์ลงทบ ท่าวดิ้น.
เหนือคอคชซอนซบ สังเวช.
วายชิวาตม์สุดสิ้น สู่ฟ้าเสวยสวรรค์
แม้แต่สมเด็จพระอัครมเหสีคือสมเด็จพระศรีสุริโยทัย วีรสตรี ก็ทรงไสช้างกระทำยุทธหัตถีกับพระเจ้าแปร เพื่อปกป้องพระราชสวามีคือสมเด็จพระมหาจักรวรรดิและปกป้องชาติบ้านเมือง จนสวรรคตกลางหลังช้าง
พระมหากษัตริย์ ที่ทรงใช้ช้างป่าในการรักษาเอกราชของชาติไทยอย่างได้ผลแยบยลยิ่ง โดยมิต้องทรงกระทำยุทธหัตถี แต่ใช้ในการเจริญพระราชไมตรีเพื่อรักษาชาติบ้านเมือง คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ทรงผูกมิตรแท้ด้วยการนำเสด็จสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิซาร์นิโคลัส ที่สอง แห่งราชวงศ์โรมานอฟของรัสเซียเมื่อครั้งยังทรงเป็นมกุฎราชกุมารหรือซาเรวิชไปทอดพระเนตรการคล้องช้างป่ามาถวายพระเจ้าซาร์ ที่เพนียดคล้องช้าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้วยพระองค์เอง เป็นเหตุในพระเจ้าซาร์ทรงประทับพระทัยไม่รู้ลืม
เมื่อคราวพระปิยมหาราชเสด็จไกลบ้านเจริญพระราชไมตรีในทวีปยุโรปเพื่อรักษาเอกราชของชาติไทย ไปประเทศไทย ชาติมหาอำนาจในยุโรปต่างไม่ต้อนรับให้สมพระเกียรติ ด้วยเห็นว่าสยามจะต้องถูกล่าเป็นอาณานิคม พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จเยือนรัสเซีย พระเจ้าซาร์ทรงให้ฉายพระบรมฉายาลักษณ์ในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ของราชวงศ์จักรีและราชวงศ์โรมานอฟอย่างสนิทใกล้ชิดเช่นพระญาติสนิท พระบรมฉายาลักษณ์นี้เผยแพร่ไปทั่วทวีปยุโรป และประเทศมหาอำนาจในยุโรปในเวลานั้นต่างก็เกรงใจรัสเซีย ทำให้สยามได้รับการยอมรับ เจริญพระราชไมตรีได้สำเร็จงดงาม ทำให้ไทยยังคงรักษาเอกราชมิเป็นเมืองขึ้นได้มาจนกระทั่งปัจจุบัน
ทั้งที่คนไทยเป็นชาติที่มี ภูมิปัญญาเกี่ยวกับช้าง อันยาวนานวิชาควาญช้างของไทยสืบทอดกันมานับได้อย่างน้อยเจ็ดร้อยปีนับแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
สมัยกรุงศรีอยุธยาพระเจ้าแผ่นดินสองพระองค์ที่ทรงชำนาญวิชาคชบาลด้วยพระองค์เองเป็นอย่างยิ่ง คือสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ โปรดการคล้องช้างป่าด้วยพระองค์เองเป็นเนืองนิตย์
สมเด็จพระเพทราชา ก่อนปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ทรงรับราชการบังคับบัญชากรมช้างหรือกรมพระคชบาลด้วยพระองค์เอง
สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี หรือ หลวงสรศักดิ์ พระนามเดิม "เดื่อ" หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 พระมหากษัตริย์พระองค์ที่สองแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง พระราชโอรสบุญธรรมของสมเด็จพระเพทราชาก็ทรงเชี่ยวชาญวิชาคชบาลเช่นเดียวกันพระราชบิดา
ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ เจ้าฟ้าชั้นเอก ทรงบังคับบัญชากรมพระคชบาลหรือกรมช้างด้วยพระองค์เอง เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพระคชบาล ทรงเป็นต้นราชสกุลมาลากุล เป็นต้น
แม้กรมพระคชบาลจะค่อย ๆ ลดบทบาทไปตามการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า แต่ภูมิปัญญาไทยเกี่ยวกับวิชาช้างก็หาได้เลือนหายไปไม่
ช้างไทยสร้างผลประโยชน์ของชาติ (National interest) ไว้มากมาย สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชาติมากมาย ในการทำไม้หรือส่งออกไม้สัก อันเป็นเป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงมากของไทยนับร้อยปี ก็ใช้ช้างในการลากไม้และทำไม้ เพราะทำได้กว่าเครื่องจักร จนกระทั่งมีการตั้งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ในพ.ศ. 2476 จึงได้มีการตั้งศูนยอนุรักษ์ช้างไทย และต่อมาเป็นสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ในปัจจุบันอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทย ก็มาจากภูมิปัญญาไทยในการเลี้ยงช้าง มีปางช้างเกือบสองร้อยแห่งในประเทศไทย และนำรายได้มากมายเข้าประเทศ นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจำนวนมากที่เกิดจากช้างป่า เช่น การส่องช้างป่าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แก่งกระจาน หรือ เพชรบุรี เป็นต้น
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 หมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย มาตรา 50 วงเล็บสองและวงเล็บแปด ได้บัญญัติไว้ว่า
บุคคลมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๒) ป้องกันประเทศ พิทักษ์รักษาเกียรติภูมิ ผลประโยชน์ของชาติ และสาธารณสมบัติของแผ่นดิน รวมทั้งให้ความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๘) ร่วมมือและสนับสนุนการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรม
ช้างไทยเป็นทั้งเกียรติภูมิของชาติ นำมาซึ่งผลประโยชน์ของชาติ วิชาควาญช้างหรือวิชาคชบาลเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ และช้างป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพของชาติ จึงเป็นหน้าที่ของคนไทยทั้งปวงที่จะช่วยกันพิทักษ์รักษาช้างไทยไม่ว่าจะเป็นช้างป่าหรือช้างบ้านเพื่อเป็นการทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญในฐานะพลเมืองที่ดี