“ความจนเป็นทุกข์ในโลกของผู้บริโภคกาม” พุทธพจน์
โดยนัยแห่งพุทธพจน์ข้างต้น มีการอธิบายขยายความว่าคนจนไม่มีความมั่งคั่งต้องกู้ยืมเงินจากนายทุนมาจับจ่ายใช้สอยเลี้ยงตนเอง และครอบครัว และการเป็นหนี้เป็นทุกข์ อันเกิดจากการเสียดอกเบี้ย การทวงหนี้ และการถูกฟ้องจับกุมตัว
ความทุกข์ดังกล่าวข้างต้น เป็นความทุกข์ของคนจนเมื่อ 2,600 กว่าปีล่วงมาแล้ว
ส่วนความจนในปัจจุบันมีรูปแบบหลากหลาย และหนักกว่าในสมัยพุทธกาล อนุมานจากเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. เกษตรกรรายย่อย ซึ่งมีปัจจัยการไม่เพียงพอเช่น ชาวนาไม่มีที่ดินทำนาหรือมีแต่ไม่เพียงพอต้องเช่านาคนอื่น ทั้งไม่มีเงินลงทุนทำนาต้องกู้ยืมจากนายทุนทั้งในระบบและนอกระบบ ครั้นได้ผลผลิตมาขายได้ในราคาต่ำกว่าต้นทุน จึงไม่มีเงินพอใช้หนี้
2. ผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะแรงงานไร้ฝีมือ ได้รับค่าจ้างรายวันหรือรายเดือน แต่ค่าจ้างที่ได้รับไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายเพื่อการเลี้ยงตนเอง และครอบครัวต้องเป็นหนี้ และส่วนใหญ่เป็นหนี้นอกระบบ รวมไปถึงการซื้อสินค้าผ่อน
3. พ่อค้า แม่ค้ารายย่อยประเภทหาบเร่แผงลอย หาเช้ากินค่ำ รายได้ไม่พอเลี้ยงชีพและไม่มีเงินลงทุนจึงต้องกู้ ส่วนใหญ่กู้นอกระบบเป็นรายวัน เสียดอกเบี้ยแพงถึงร้อยละ 10-20 ต่อวันก็มี
4. ลูกจ้างพนักงานในองค์กรของรัฐและข้าราชการชั้นผู้น้อยที่ได้ค่าจ้างและเงินเดือนน้อย ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ ต้องเป็นหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ มีทั้งหนี้สหกรณ์ของหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นสวัสดิการและการซื้อของเงินผ่อน โดยเฉพาะบ้านและรถ
คนจนทั้ง 4 กลุ่มอาชีพข้างต้น ล้วนแล้วแต่เป็นทุกข์จากการเป็นหนี้ โดยเฉพาะหนี้นอกระบบและการซื้อของผ่อนเพราะต้องเสียดอกเบี้ยแพง และการทวงหนี้ค่อนข้างโหดเหี้ยม มีทั้งขู่เข็ญบังคับทำร้ายร่างกาย ทำลายทรัพย์สิน และยึดสินค้าคืน
คนจนนอกจากตัวเองเป็นทุกข์เพราะการเป็นหนี้แล้ว ยังทำให้สังคมโดยรวมเดือดร้อนจากการก่ออาชญากรรมลักขโมย จี้ปล้น และขายยาเสพติดรายย่อย
ยิ่งกว่านี้ คนจนยังถูกนักการเมืองใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาอำนาจทางการเมือง เริ่มจากการซื้อสิทธิขายเสียงโดยการรับเงินหรือผลประโยชน์อื่นใด เพื่อแลกกับการลงทุนให้ในการเลือกตั้งทั้งการเมืองท้องถิ่น และการเมืองระดับชาติ ทั้งยังถูกนำไปอ้างในการให้ความช่วยเหลือโดยการจัดทำโครงการในรูปแบบของประชานิยม เพื่อสร้างโอกาสในการแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบ เฉกเช่นโครงการรับจำนำข้าวเป็นตัวอย่าง
โครงการช่วยเหลือคนจนส่วนใหญ่มีการรั่วไหลและเกิดการก่อหนี้สาธารณะเป็นภาระทางการเงินการคลังของประเทศ เป็นการก่อหนี้ให้ลูกหลานในอนาคตต้องแบกรับในการจ่ายคืน ทั้งๆ ที่พวกเขามิได้ก่อ ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะต้องทบทวนโครงการที่ต้องกู้หนี้มาเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในรูปแบบของประชานิยม ว่าลงทุนไปแล้วคุ้มค่าหรือไม่ โดยเฉพาะโครงการต่อไปนี้
1. การพักหนี้คนจนได้ดำเนินการมาแล้วหลายครั้งหลายหน แต่ไม่ปรากฏว่าหนี้ของคนจนลดลงและหมดไปตรงกันข้ามหนี้ของคนจนเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ
2. ปัญหาอันเกิดจากความยากจนเช่น การลักขโมย จี้ปล้น เป็นต้น ก็ยังคงอยู่และเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ
จากเหตุปัจจัย 2 ประการข้างต้น