โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
โคเลสกล่าวว่า สทิงพระน่าจะเป็น”มายิรุดิงคัม” ในจารึกธิรุกกระไดยูร์ก็เป็นได้ [Colless 1989] ในเอกสารจีนพัทลุงและสงขลาไม่ได้มีความต่อเนื่องกับรักตมฤติกาเพราะในสมัยศรีวิชัยไม่มีจารึก เอกสารจีน อินเดีย อาหรับหรือเปอร์เซียอื่นใดกล่าวถึงชื่อเมืองดินแดงแห่งนี้อีก คาดว่าเมืองแห่งนี้คงจะส่งบรรณาการให้กลับเมืองศูนย์กลางต่างๆของสมาพันธรัฐศรีวิชัย เช่นวิชัย (ปาเล็มบัง) มะธะรัม จัมบิ และเคดาห์ และในสมัยราชวงศ์เมาลิน่าจะมีการอพยพของคนจากรักตมฤติกาที่สทิงพระไปพัทลุงและสงขลา นักโบราณคดีไทยสันนิษฐานว่าพัทลุงตั้งก่อน พ.ศ.1480 แต่ปรากฏในเอกสารจีนครั้งแรกในปี พ.ศ.1721 ในหลิ่งว่ายไต้ต่าดังนี้ (其屬有佛羅安國,國主自三佛齊選差) ซึ่งระบุว่าศรีวิชัยตั้งเจ้าเมืองพุท-ลา-อัน (佛罗安โฝ-หลัว-อัน) ในปีพ.ศ.1749 หยุนลู่หม่านเฉากล่าวว่าพุท-ลา-อัน (พัทลุง) ผลิตเครื่องหอม [Lin & Zhang 1998; Wade 2004] และในปีพ.ศ.1768 จูฟ่านจื้อระบุว่าพุท-ลา-อันเป็นเมืองขึ้นของศรีวิชัยซึ่งเอกสารทั้ง 3 ฉบับใช้อักษรจีนตัวเดียวกัน โดยสันนิษฐานจากหลักฐานทางโบราณคดีว่าเมื่อผู้คนอพยพจากรักตมฤติกาแถวสทิงพระและสิงหนครไปพัทลุงแล้วก็เปลี่ยนไปนับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกาตามแบบนครศรีธรรมราช วาดะ ฮิซะโนริ เน้นความสำคัญของการก่อตั้งชุมชนที่พัทลุงซึ่งย้ายจากสทิงพระ ในช่วงปลายราชวงศ์ซ่งเรือจีนพัฒนาไปจนไม่ต้องแวะที่ท่าเรือในช่องแคบมะละกา [Wada 1959] และจูฟ่านจื้ออธิบายว่า
佛罗安国,自凌牙斯加四日可到,亦可遵陆。其国有飞来佛二尊,一有六臂、一有四臂。贼舟欲入其境,必为风挽回,俗谓佛之灵也。佛殿以铜为瓦,饰之以金。每年以六月望日为佛生日,动乐铙钹,迎导甚都;番商亦预焉。土产速暂香、降真香、檀香、象牙等。番商以金、银甆、、铁、漆器、酒、米、糖、麦博易。岁贡三佛齐。其邻蓬丰、登牙侬、加吉兰丹类此。
[Chinese text project: ctext.org]
พัทลุงใช้การเดินเรือสี่วันสี่คืนจากลังกาสุกะ หรือเดินทางบกไปก็ได้เช่นกัน มีตำนานเล่าว่า มีพระพุทธรูปสำริด 2 องค์ประดิษฐานอยู่โดยองค์หนึ่งมี 6 พระกร และอีกองค์หนึ่งมี 4 พระกร เสด็จมาทางอากาศ หากเรือศัตรูพยายามเข้าโจมตีเมือง จะถูกลมตีกลับออกมา ชาวเมืองเชื่อในอิทธิฤทธิ์ของพระพุทธรูป 2 องค์นั้น วัดในประเทศนี้มุงด้วยกระเบื้องสำริดและตกแต่งด้วยทองคำ ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ของทุกปีซึ่งเป็นวิสาขบูชา ผู้คนมากมายจะตั้งขบวนแห่ร้องรำทำเพลงท้องถิ่นตีฉิ่งฉาบ พ่อค้าต่างชาติจะเข้าร่วมขบวนแห่นี้ด้วย เมืองนี้มีไม้กฤษณาชนิดที่มีน้ำมัน (Aquilaria malaccensis) และไม่มีน้ำมัน (Aquilaria hirta) ไม้จันทน์แดง ไม้จันทน์ และงาช้าง พ่อค้าต่างชาติใช้ ทอง เงิน เครื่องกระเบื้องเคลือบ เหล็ก เครื่องเขิน เหล้าข้าว น้ำตาลและข้าวสาลี พัทลุงส่งส่วยให้ศรีวิชัยทุกปี เช่นเดียวกับ ปาหัง กลันตันและตรังกานู เยรินี่ เฮิร์ท ร็อคฮิลล์และคุวาตะคิดว่าเมืองนี้อยู่ที่ เบรานังริมแม่น้ำลางสาตในรัฐสลังงอร์ มาเลเซีย พอล วีทลีย์และดีเร็ค เฮงบอกว่าอยู่ที่กัวลาเบรังในตรังกานู หลินหยวนฮุ่ยและจางอิ๋งหลงเชื่อว่า โฝ-หลัว-อันอยู่ในมาเลเซีย จึงคัดลอกเฉพาะโฝ-หลัว-อันจาก เต้าอี้จาจื้อ หลิ่งว่ายไต้ต่า หยุนลู่หมานเฉา และอี้หยู่จื้อที่เขียนขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งและหยวน แต่มจ.จันทร์จิรายุ รัชนี หยางป๋อเหวิน หยางเจ้าหยุน และฟูกามิบอกว่าอยู่ที่พัทลุง [ม.จ.จันทร์จิรายุ รัชนี พ.ศ. 2530; Heng 2005; Kuwata 1971; Lin & Zhang 1988; Suzuki 2012; Wade 2004; Zhao Rukua 2022 (1225)] จากหลักฐานทางโบราณคดีพัทลุงมีความต่อเนื่องจากอารยธรรมรอบๆทะเลสาบสงขลาแต่ที่กัวลาเบรังมีหลักฐานทางโบราณคดีน้อย พุท-ลา-อันควรจะเป็นพัทลุง
พัทลุงเป็นอารยธรรมบริเวณทะเลสาบสงขลา เริ่มต้นที่คาบสมุทรสทิงพระในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-18 มีคูน้ำคันดิน กำแพงเมืองโบราณ ตั้งอยู่ที่ปะโอ อ.สิงหนคร อ.สทิงพระ เขาคูหา-เขาพะโคะ อ.สทิงพระ สีหยัง อ.ระโนด ต่อมาจึงอพยพไปตั้งหลักแหล่งใหม่ทางฝั่งตะวันตกที่พัทลุง ส่วนฝั่งตะวันออกคือสงขลา ซึ่งทั้ง 2 เมืองน่าจะเคยเป็นเมืองบริวารของรักตมฤติกามาก่อน แต่เดิมเป็นเกาะต่อมาแผ่นดินงอกเชื่อมกัน ทำให้เป็นทะเลสาบ บริเวณนี้เป็นอ่าวอย่างดีเหมาะกับการเป็นที่กำบังเรือจึงเป็นเมืองท่าขนาดใหญ่ที่ทำการค้ากับนานาชาติ ไม่ใช่เป็นแค่ชุมชนเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว สทิงพระมักจะถูกโจรสลัดจากชวาและมลายูโจมตีอยู่เสมอ วัดเขียนบางแก้วได้รับแบบมาจากนครศรีธรรมราช การขุดค้นที่สทิงพระพบว่าชุมชนโบราณได้ขยายออกไปเป็นบ้านเมืองรูปสี่เหลี่ยม ทิศเหนือกว้าง 280 เมตร ทิศใต้กว้าง 305 เมตร ทิศตะวันออกกว้าง 270 เมตร ทิศตะวันตกกว้าง 275 เมตร ห่างจากอ่าวไทย 500 เมตร และทะเลสาบ 3500 เมตร ตั้งอยู่บนริ้วสันทรายกลางที่ใหญ่ที่สุดในแหลมสทิงพระ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเศกเล่ม 6 กล่าวว่าเมืองพัทลุงได้ตั้งมาก่อนพ.ศ.1480 ตามตำนานนางเลือดขาวแต่อ้างถึงสทิงพระในพงศาวดารเมืองพัทลุงทุกฉบับ ในปีพ.ศ.1482 เจ้าพระยากรงทองสร้างพระมหาธาตุที่วัดเขียนบางแก้ว และปีพ.ศ.1493 เดินทางไปนครศรีธรรมราช [กรมศิลปากร พ.ศ.2545: 219-221] จริงๆแล้วพัทลุงตั้งมาก่อนหน้านั้นราวปีพ.ศ.1100 ตามพงศาวดารสุยชู้ ชาวพัทลุงน่าจะอพยพมาจากสทิงพระ ดังนั้นการที่เจ้าพระยากรงทองตั้งเมืองพัทลุงในปีพ.ศ.1482 จึงไม่น่าเป็นไปได้ เพราะตามพรลิงค์และพัทลุงน่าจะเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาทในราวพุทธสตวรรษที่ 17-18 น่าจะมีการอพยพกระจายตัวจากสทิงพระไปพะโคะ ไปบางแก้ว ไปสงขลาเนื่องจากพงศาวดารสุยชู้กล่าวว่าเมืองรักตมฤติกามีเมืองบริวารหลายเมือง ซึ่งน่าจะเป็นเมืองที่อยู่รอบๆทะเลสาบสงขลานั่นเองและน่าจะก่อตั้งในราวปีพ.ศ.1100
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. 2545. ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเศก (เล่มที่ 6). กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
ม.จ.จันทร์จิรายุ รัชนี พ.ศ.2530. อาณาจักรศรีวิชัยที่ไชยา. กรุงเทพฯ: อรุณวิทยา.
Colless, Brian. 1989. “Satingpra in Sung Dynasty Records.” Archipel 37: 31–42.
Heng, Derek Thiam Soon. 2005. Economic Interaction between China and the Malacca Straits Region: Tenth to Fourteenth A.D. Doctoral Thesis, Hull, UK: University of Hull.
Kuwata Rokuro 桑田六郎. 1971. “A Study of Ch’ih-t’u 赤土, an Ancient Kingdom in Southeast Asia.” Memoir of the Research Department of the Toyo Bunko 29: 31–56.
Lin Yuan Hui 林远辉 and Zhang Ying Long 张应龙. 1998. 中文古籍中的马来西亚资料汇编 Zhongwen Gujide Malaixiya Ziliaohuibian. Kuala Lumpur: Gabungan Pertubuhan Cina Malaysia.
Suzuki Takashi 铃木峻. 2012. The History of Srivijaya under the Tributary Trade System of China. Tokyo: Mekong.
Wada Hisanori 和田久徳. 1959. “‘Tōnan Ajia ni okeru shoki kakyō shakai (960–1279)’ 東南アジアにおける初期華僑社会(九六〇-一二七九) [Early Overseas Chinese Communities in Southeast Asia (960–1279)].” Tōyō gakuhō 東洋學報 (The Journal of the Research Department of the Toyo Bunko), 42 (1): 76–106
Wade, Geoff. 2004. “From Chaiya to Pahang: The Eastern Seaboard of the Peninsula as Recorded in Classical Chinese Texts’, In Daniel Perret, Ammarâ Sîsuchât, Sombûn Thanasuk eds. Études sur l'histoire du sultanat de Patani, 37-78. Paris: EFEO
Zhao Rukuo 赵汝适. 2022 (1225). A Chinese Gazetteer of Foreign Lands: A New Translation of Part 1 of the Zhufanzhi 诸蕃志. Translated by Shao-yun Yang. https://storymaps.arcgis.com/stories/39bce63e4e0642d3abce6c24db470760.
โคเลสกล่าวว่า สทิงพระน่าจะเป็น”มายิรุดิงคัม” ในจารึกธิรุกกระไดยูร์ก็เป็นได้ [Colless 1989] ในเอกสารจีนพัทลุงและสงขลาไม่ได้มีความต่อเนื่องกับรักตมฤติกาเพราะในสมัยศรีวิชัยไม่มีจารึก เอกสารจีน อินเดีย อาหรับหรือเปอร์เซียอื่นใดกล่าวถึงชื่อเมืองดินแดงแห่งนี้อีก คาดว่าเมืองแห่งนี้คงจะส่งบรรณาการให้กลับเมืองศูนย์กลางต่างๆของสมาพันธรัฐศรีวิชัย เช่นวิชัย (ปาเล็มบัง) มะธะรัม จัมบิ และเคดาห์ และในสมัยราชวงศ์เมาลิน่าจะมีการอพยพของคนจากรักตมฤติกาที่สทิงพระไปพัทลุงและสงขลา นักโบราณคดีไทยสันนิษฐานว่าพัทลุงตั้งก่อน พ.ศ.1480 แต่ปรากฏในเอกสารจีนครั้งแรกในปี พ.ศ.1721 ในหลิ่งว่ายไต้ต่าดังนี้ (其屬有佛羅安國,國主自三佛齊選差) ซึ่งระบุว่าศรีวิชัยตั้งเจ้าเมืองพุท-ลา-อัน (佛罗安โฝ-หลัว-อัน) ในปีพ.ศ.1749 หยุนลู่หม่านเฉากล่าวว่าพุท-ลา-อัน (พัทลุง) ผลิตเครื่องหอม [Lin & Zhang 1998; Wade 2004] และในปีพ.ศ.1768 จูฟ่านจื้อระบุว่าพุท-ลา-อันเป็นเมืองขึ้นของศรีวิชัยซึ่งเอกสารทั้ง 3 ฉบับใช้อักษรจีนตัวเดียวกัน โดยสันนิษฐานจากหลักฐานทางโบราณคดีว่าเมื่อผู้คนอพยพจากรักตมฤติกาแถวสทิงพระและสิงหนครไปพัทลุงแล้วก็เปลี่ยนไปนับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกาตามแบบนครศรีธรรมราช วาดะ ฮิซะโนริ เน้นความสำคัญของการก่อตั้งชุมชนที่พัทลุงซึ่งย้ายจากสทิงพระ ในช่วงปลายราชวงศ์ซ่งเรือจีนพัฒนาไปจนไม่ต้องแวะที่ท่าเรือในช่องแคบมะละกา [Wada 1959] และจูฟ่านจื้ออธิบายว่า
佛罗安国,自凌牙斯加四日可到,亦可遵陆。其国有飞来佛二尊,一有六臂、一有四臂。贼舟欲入其境,必为风挽回,俗谓佛之灵也。佛殿以铜为瓦,饰之以金。每年以六月望日为佛生日,动乐铙钹,迎导甚都;番商亦预焉。土产速暂香、降真香、檀香、象牙等。番商以金、银甆、、铁、漆器、酒、米、糖、麦博易。岁贡三佛齐。其邻蓬丰、登牙侬、加吉兰丹类此。
[Chinese text project: ctext.org]
พัทลุงใช้การเดินเรือสี่วันสี่คืนจากลังกาสุกะ หรือเดินทางบกไปก็ได้เช่นกัน มีตำนานเล่าว่า มีพระพุทธรูปสำริด 2 องค์ประดิษฐานอยู่โดยองค์หนึ่งมี 6 พระกร และอีกองค์หนึ่งมี 4 พระกร เสด็จมาทางอากาศ หากเรือศัตรูพยายามเข้าโจมตีเมือง จะถูกลมตีกลับออกมา ชาวเมืองเชื่อในอิทธิฤทธิ์ของพระพุทธรูป 2 องค์นั้น วัดในประเทศนี้มุงด้วยกระเบื้องสำริดและตกแต่งด้วยทองคำ ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ของทุกปีซึ่งเป็นวิสาขบูชา ผู้คนมากมายจะตั้งขบวนแห่ร้องรำทำเพลงท้องถิ่นตีฉิ่งฉาบ พ่อค้าต่างชาติจะเข้าร่วมขบวนแห่นี้ด้วย เมืองนี้มีไม้กฤษณาชนิดที่มีน้ำมัน (Aquilaria malaccensis) และไม่มีน้ำมัน (Aquilaria hirta) ไม้จันทน์แดง ไม้จันทน์ และงาช้าง พ่อค้าต่างชาติใช้ ทอง เงิน เครื่องกระเบื้องเคลือบ เหล็ก เครื่องเขิน เหล้าข้าว น้ำตาลและข้าวสาลี พัทลุงส่งส่วยให้ศรีวิชัยทุกปี เช่นเดียวกับ ปาหัง กลันตันและตรังกานู เยรินี่ เฮิร์ท ร็อคฮิลล์และคุวาตะคิดว่าเมืองนี้อยู่ที่ เบรานังริมแม่น้ำลางสาตในรัฐสลังงอร์ มาเลเซีย พอล วีทลีย์และดีเร็ค เฮงบอกว่าอยู่ที่กัวลาเบรังในตรังกานู หลินหยวนฮุ่ยและจางอิ๋งหลงเชื่อว่า โฝ-หลัว-อันอยู่ในมาเลเซีย จึงคัดลอกเฉพาะโฝ-หลัว-อันจาก เต้าอี้จาจื้อ หลิ่งว่ายไต้ต่า หยุนลู่หมานเฉา และอี้หยู่จื้อที่เขียนขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งและหยวน แต่มจ.จันทร์จิรายุ รัชนี หยางป๋อเหวิน หยางเจ้าหยุน และฟูกามิบอกว่าอยู่ที่พัทลุง [ม.จ.จันทร์จิรายุ รัชนี พ.ศ. 2530; Heng 2005; Kuwata 1971; Lin & Zhang 1988; Suzuki 2012; Wade 2004; Zhao Rukua 2022 (1225)] จากหลักฐานทางโบราณคดีพัทลุงมีความต่อเนื่องจากอารยธรรมรอบๆทะเลสาบสงขลาแต่ที่กัวลาเบรังมีหลักฐานทางโบราณคดีน้อย พุท-ลา-อันควรจะเป็นพัทลุง
พัทลุงเป็นอารยธรรมบริเวณทะเลสาบสงขลา เริ่มต้นที่คาบสมุทรสทิงพระในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-18 มีคูน้ำคันดิน กำแพงเมืองโบราณ ตั้งอยู่ที่ปะโอ อ.สิงหนคร อ.สทิงพระ เขาคูหา-เขาพะโคะ อ.สทิงพระ สีหยัง อ.ระโนด ต่อมาจึงอพยพไปตั้งหลักแหล่งใหม่ทางฝั่งตะวันตกที่พัทลุง ส่วนฝั่งตะวันออกคือสงขลา ซึ่งทั้ง 2 เมืองน่าจะเคยเป็นเมืองบริวารของรักตมฤติกามาก่อน แต่เดิมเป็นเกาะต่อมาแผ่นดินงอกเชื่อมกัน ทำให้เป็นทะเลสาบ บริเวณนี้เป็นอ่าวอย่างดีเหมาะกับการเป็นที่กำบังเรือจึงเป็นเมืองท่าขนาดใหญ่ที่ทำการค้ากับนานาชาติ ไม่ใช่เป็นแค่ชุมชนเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว สทิงพระมักจะถูกโจรสลัดจากชวาและมลายูโจมตีอยู่เสมอ วัดเขียนบางแก้วได้รับแบบมาจากนครศรีธรรมราช การขุดค้นที่สทิงพระพบว่าชุมชนโบราณได้ขยายออกไปเป็นบ้านเมืองรูปสี่เหลี่ยม ทิศเหนือกว้าง 280 เมตร ทิศใต้กว้าง 305 เมตร ทิศตะวันออกกว้าง 270 เมตร ทิศตะวันตกกว้าง 275 เมตร ห่างจากอ่าวไทย 500 เมตร และทะเลสาบ 3500 เมตร ตั้งอยู่บนริ้วสันทรายกลางที่ใหญ่ที่สุดในแหลมสทิงพระ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเศกเล่ม 6 กล่าวว่าเมืองพัทลุงได้ตั้งมาก่อนพ.ศ.1480 ตามตำนานนางเลือดขาวแต่อ้างถึงสทิงพระในพงศาวดารเมืองพัทลุงทุกฉบับ ในปีพ.ศ.1482 เจ้าพระยากรงทองสร้างพระมหาธาตุที่วัดเขียนบางแก้ว และปีพ.ศ.1493 เดินทางไปนครศรีธรรมราช [กรมศิลปากร พ.ศ.2545: 219-221] จริงๆแล้วพัทลุงตั้งมาก่อนหน้านั้นราวปีพ.ศ.1100 ตามพงศาวดารสุยชู้ ชาวพัทลุงน่าจะอพยพมาจากสทิงพระ ดังนั้นการที่เจ้าพระยากรงทองตั้งเมืองพัทลุงในปีพ.ศ.1482 จึงไม่น่าเป็นไปได้ เพราะตามพรลิงค์และพัทลุงน่าจะเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาทในราวพุทธสตวรรษที่ 17-18 น่าจะมีการอพยพกระจายตัวจากสทิงพระไปพะโคะ ไปบางแก้ว ไปสงขลาเนื่องจากพงศาวดารสุยชู้กล่าวว่าเมืองรักตมฤติกามีเมืองบริวารหลายเมือง ซึ่งน่าจะเป็นเมืองที่อยู่รอบๆทะเลสาบสงขลานั่นเองและน่าจะก่อตั้งในราวปีพ.ศ.1100
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. 2545. ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเศก (เล่มที่ 6). กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
ม.จ.จันทร์จิรายุ รัชนี พ.ศ.2530. อาณาจักรศรีวิชัยที่ไชยา. กรุงเทพฯ: อรุณวิทยา.
Colless, Brian. 1989. “Satingpra in Sung Dynasty Records.” Archipel 37: 31–42.
Heng, Derek Thiam Soon. 2005. Economic Interaction between China and the Malacca Straits Region: Tenth to Fourteenth A.D. Doctoral Thesis, Hull, UK: University of Hull.
Kuwata Rokuro 桑田六郎. 1971. “A Study of Ch’ih-t’u 赤土, an Ancient Kingdom in Southeast Asia.” Memoir of the Research Department of the Toyo Bunko 29: 31–56.
Lin Yuan Hui 林远辉 and Zhang Ying Long 张应龙. 1998. 中文古籍中的马来西亚资料汇编 Zhongwen Gujide Malaixiya Ziliaohuibian. Kuala Lumpur: Gabungan Pertubuhan Cina Malaysia.
Suzuki Takashi 铃木峻. 2012. The History of Srivijaya under the Tributary Trade System of China. Tokyo: Mekong.
Wada Hisanori 和田久徳. 1959. “‘Tōnan Ajia ni okeru shoki kakyō shakai (960–1279)’ 東南アジアにおける初期華僑社会(九六〇-一二七九) [Early Overseas Chinese Communities in Southeast Asia (960–1279)].” Tōyō gakuhō 東洋學報 (The Journal of the Research Department of the Toyo Bunko), 42 (1): 76–106
Wade, Geoff. 2004. “From Chaiya to Pahang: The Eastern Seaboard of the Peninsula as Recorded in Classical Chinese Texts’, In Daniel Perret, Ammarâ Sîsuchât, Sombûn Thanasuk eds. Études sur l'histoire du sultanat de Patani, 37-78. Paris: EFEO
Zhao Rukuo 赵汝适. 2022 (1225). A Chinese Gazetteer of Foreign Lands: A New Translation of Part 1 of the Zhufanzhi 诸蕃志. Translated by Shao-yun Yang. https://storymaps.arcgis.com/stories/39bce63e4e0642d3abce6c24db470760.