โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
ลังกาสุกะในสมัยศรีวิชัย
ต่อมาสมาพันธรัฐศรีวิชัยได้ขยายอำนาจเข้ามายึดลังกาสุกะในปี พ.ศ.1293 โดยมหาราชาแห่งศรีวิชัยซึ่งน่าจะเป็นราชาธรรมเสตุได้แต่งงานกับธิดาของพระราชาวังสา แล้วมีพระโอรสจึงให้ปกครองลังกาสุกะต่อไป ดังนั้นพงศาวดารราชวงศ์สุยและถังไม่บันทึกบรรณาการจากลังกาสุกะเพราะเข้าร่วมกับสมาพันธรัฐศรีวิชัยแล้ว ต่อมาสมาพันธรัฐศรีวิชัยได้ขัดแย้งกับอาณาจักรโจฬะ พระเจ้าราเชนทราโจฬะที่ 1 จึงส่งกองทัพเรือเข้าโจมตีเมืองอีลังกาโสกะ (ลังกาสุกะ) ของสมาพันธรัฐศรีวิชัย ในปี พ.ศ.1587 และกล่าวว่ามีการต่อสู้ที่ดุเดือด เมืองลังกาสุกะแยกตัวออกจากสมาพันธรัฐศรีวิชัยภายใต้อิทธิพลของโจฬะสำเร็จ ต่อมาในปี พ.ศ.1768 บันทึกจูฟ่านจื้อเรียกเมืองนี้ว่าลิง-แก-ซเย-แก (凌牙斯加 หลั่ง-หย่า-ซื่อ-เจี้ย) ว่าขึ้นกับสมาพันธรัฐศรีวิชัย โดยบันทึกว่า
凌牙斯国,自单马令风帆六昼夜可到,亦有陆程。地主缠缦跣足;国人剪发,亦缠缦。地产象牙、犀角、速暂番、生香、脑子。番商兴贩,用酒、米、荷池、缬绢、甆器等为货;各先以此等物准金银,然后打博。如酒一墱,准银一两、准金二钱;米二墱准银一两,十墱准金一两之类。岁贡三佛齐国 [Chinese text project ctext.org]
จากตามพรลิงค์ใช้เวลาเดินเรือไปลังกาสุกะหกวันหกคืน มีทางบกติดต่อกันระหว่าง 2 เมืองนี้ด้วย ผู้ปกครองเมืองนี้นุ่งโสร่ง เดินเท้าเปล่า ประชาชนตัดผมสั้นและนุ่งโสร่งเช่นกัน เมืองนี้ผลิตงาช้าง นอแรด ไม้หอมซูและจ้าน และการบูร พ่อค้าต่างชาติแลกเปลี่ยนสินค้าด้วยเหล้าข้าว ข้าว ผ้าแพรลายดอกไม้เล็กและเครื่องกระเบื้องเคลือบ โดยคำนวณราคาสินค้าด้วยเงินและทองก่อนที่จะแลกเปลี่ยนสินค้ากัน เช่น เหล้าข้าว 1 เติ้ง墱มีค่า 1 ตำลึงเงินกับ 2 เหรียญทอง ถ้า 2 เติ้งมีค่า 2 ตำลึงเงิน และ 10 เติ้งมีค่า 1 ตำลึงทอง เป็นต้น และส่งบรรณาการให้ศรีวิชัยทุกปี หยาง เจ้าหยุนกล่าวว่าหน่วยเติ้งใช้ในฝูเจี้ยนและกว่างตงอย่างไม่เป็นทางการแต่เจฟ เวดกล่าวว่าเติ้งไม่ใช่หน่วยชั่งตวงวัดของจีน [Wade 2013: 60-61; Zhao Rukua 2022 (1225)]
ลังกาสุกะในสมาพันธรัฐตามพรลิงค์
ลังกาสุกะถูกบันทึกเป็นลิง-แก-ซุ-แก (凌牙蘇家 หลิง-หย่า-ซู-เจี้ย) ตามหัวข้อเต้าอี้จาจื้อในสือหลินกว๊างจี่และต้าเต๋อหนานไห่จื้อ มาร์โค โปโลเดินทางจากจีนในสมัยกุบไลข่าน (หยวนซื่อจู่ฮ่องเต้แห่งราชวงศ์หยวน) เพื่อกลับสู่อิตาลีผ่านลังกาสุกะบนคาบสมุทรมลายูประมาณปี พ.ศ.1835 โดยเรียกเมืองนี้ว่าโลจัค [Colbert 1997] ในการศึกษาเรื่องลังกาสุกะมักจะไม่เชื่อมโยงกับตามพรลิงค์ทั้งๆที่เมืองลังกาสุกะก็ยังคงจงรักภักดีต่อส่งบรรณาการให้กับตามพรลิงค์ต่อเนื่องไปจนถึงสมัยนครศรีธรรมราช [Ahamat & Alias 2018] ในหมวดเต้าอี้จาจื้อของสารานุกรมสือหลินกว๊างจี๊ในปีพ.ศ.1813 กล่าวว่าศรีวิชัยที่จัมบิส่งคนมาปกครองพัทลุงหลังจากที่มหาราชาจันทรภาณุและชวกะมหินทรไม่เสด็จกลับจากศรีลังกา ซึ่งก็น่าจะรวมลังกาสุกะด้วยเพราะอยู่ทางใต้ของพัทลุงแต่ก็ไม่ได้ระบุไว้ อย่างไรก็ตามเมื่อตามพรลิงค์เปลี่ยนเป็นนครศรีธรรมราชก็ได้กลายเป็นพันธมิตรกับสุโขทัย-เพชรบุรี-สุพรรณบุรีซึ่งตามตำนานเมืองนครศรีธรรมราชกล่าวว่าพระพนมวังแต่งตั้งพระฤทธิเทวา (เจสุตตรา)ปกครองเมืองโกตามะห์ลิฆัยหรือลังกาสุกะ [ครองชัย หัตถา พ.ศ.2552ก] จนกระทั่งถึงยุคที่มัชปาหิตแผ่อิทธิพลขึ้นมา
ลังกาสุกะในยุคการช่วงชิงอิทธิพลระหว่างกรุงศรีอยุธยาและมัชปาหิต
ในปีพ.ศ.1890 วังต้าหยวนบันทึกลังกาสุกะในเต้าอี้จื้อเลื่อยเป็นหลง-หย่า-ซื่อ-เจี้ยว (龙牙犀角) ในสมัยราชวงศ์หยวน (พ.ศ.1822-1911) ในปีพ.ศ.1890-1893 [Wang Dayuan 1350] ซึ่งเป็นช่วงที่พระเจ้าอู่ทองก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาพระฤทธิเทวาที่ปกครองโกตามะห์ลิฆัย (ลังกาสุกะ) ก็ได้ส่งคนมาช่วยสร้างด้วย [ครองชัย หัตถา พ.ศ.2552ก] ในเต้าอี้จื้อเลื่อย วังต้าหยวนได้บันทึกเกี่ยวกับลังกาสุกะไว้ดังนี้
"島夷誌略" : 峯頂內平而外聳,民環居之,如蟻附坡。厥田下等。氣候半熱。俗厚。男女椎髻,齒白,繫麻逸布。俗以結親為重。親戚之長者一日不見面,必携酒持物以問勞之。為長夜之飮,不見其醉。民煮海為鹽,釀秫為酒。有酋長。地產沈香,冠於諸番。次鶴頂、降眞、蜜糖、黃熟香頭。貿易之貸,用土印布、八都刺布、靑白花碗之屬。[Chinese text project ctext.org]
ด้านบนของยอดเขาเป็นที่ราบด้านในและล้อมรอบด้วยภูเขาสูงตระหง่านด้านนอก ผู้คนอาศัยอยู่รอบๆ ดูเหมือนมดเกาะอยู่บนทางลาดที่ลานตามีสภาพอากาศค่อนข้างร้อน พลเมืองทั้งชายและหญิงมีขนมปังที่มีกระดูกสันหลัง ฟันขาว และผูกด้วยผ้าลินินเป็นธรรมเนียมในการแต่งงาน หากญาติผู้ใหญ่ไม่เจอกันสักวันก็จะนำเหล้าและสิ่งของไปขอความช่วยเหลือแต่ก็ไม่เมาในค่ำคืนอันยาวนาน ผู้คนทำนาเกลือและหมักเหล้าขาวจากข้าว มีหัวหน้า สินค้าสำคัญคือไม้กฤษณาซึ่งมีคุณภาพชั้นยอด กล้วยไม้ ธูปหอมหัวน้ำผึ้งมีกลิ่นหอมสุกสีเหลืองใช้แลกเปลี่ยนสินค้า มีผ้าพิมพ์ลายดิน ผ้าหนามบาดู และชามดอกไม้สีขาว พลเมืองลังกาสุกะต้มน้ำทะเลทำเกลือ หมักข้าวทำสุราขาวและหาของป่าเช่น นกเงือก นกชนหิน ไม้จันทน์แดง น้ำผึ้งและไม้กฤษณา (แปลโดยผู้เขียน) มิกซิกกล่าวต่อว่า พลเมืองนุ่งผ้าฝ้ายจากฟิลิปปินส์และผ้าพิมพ์จากอินเดียและท้องถิ่น [Miksic 2013: 179]
อาณาจักรมัชปาหิตได้เข้ามาปกครองลังกาสุกะตามที่พงศาวดารนครเขตร์คามแต่งโดยประพันจา กวีของอาณาจักรมัชปาหิตกล่าวไว้ในปีพ.ศ.1908 ว่าได้ครอบครองหัวเมืองมลายูเช่น กลันตัน ตรังกานู ลังกาสุกะ เคดาร์ ฮูจง เมดิ้น ทูมาสิก ยะโฮร์ทำให้เมืองเหล่านี้หลุดพ้นไปจากอิทธิพลของสมาพันธรัฐตามพรลิงค์ ลังกาสุกะอยู่ใกล้กับสายบุรีแต่มะหรงมหาวงศ์บอกว่าอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู เป็นเมืองพี่น้องกับเคดาห์ [Wheatley 1961] ลังกาสุกะถูกบันทึกในฮิกายัต มลายู มะหรงมหาวงศ์และเป็นเลงกาสุกะในบทกวีนครเขตร์คาม [Guy. 2014] ลังกาสุกะอาจส่งบรรณาการให้ทั้งอยุธยาและมัชปาหิตในลักษณะเจ้านายสองฝ่ายฟ้า จึงสันนิษฐานได้ว่านครศรีธรรมราชน่าจะมาขึ้นกับละโว้-สุพรรณบุรี-อโยธยาต่อด้วยกรุงศรีอยุธยาในขณะที่หัวเมืองทางใต้ลงไปน่าจะขึ้นกับมัชปาหิต พระฤทธิเทวาปกครองโกตามะห์ลิฆัยจนสิ้นพระชนม์ในปีพ.ศ.1927 [Munro-Hay 2001] จึงเป็นช่วงที่ลังกาสุกะแยกไปจากนครศรีธรรมราช วัฒนธรรมมัชปาหิตเช่น หนังตะลุง มีอิทธิพลเหนือลังกาสุกะมากกว่าไทยตามบทกวีนครเขตร์คาม มีการค้นพบโบราณวัตถุของมัชปาหิต เช่น กริช และเหรียญกษาปณ์ เป็นจำนวนมากในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนั้นกรุงศรีอยุธยาไม่ได้มีอิทธิพลเหนือลังกาสุกะมากนัก การช่วงชิงอำนาจระหว่างกรุงศรีอยุธยาและมัชปาหิตเข้มข้นมากในบริเวณนี้
เอกสารอ้างอิง
ครองชัย หัตถา พ.ศ.2552ก. ประวัติศาสตร์ปัตตานี สมัยอาณาจักรโบราณถึงการปกครอง 7 หัวเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Colbert, Benjamin. 1997. The Travel of Marco Polo. Classics of World Literature. Hertfordshire: Wordsworth.
Guy, John 2014. Lost Kingdoms. Hindu-Buddhist Sculpture of Early Southeast Asia. The Metropolitan Museum of Art, /Yale University Press
Hasiff Ahamat and Nizamuddin Alias. 2018. “The Evolution of the Malay Sultanate State.” In Ignacio De La Rasilla del Moral and Ayesha Shahid (eds). International Law and Islam, 249–76. Leiden: EJ Brill.
Miksic, John Norman. 2010a. The A-Z of Ancient Southeast Asia. Lanham, MD: Scarecrow Press.
Munro-Hay, Stuart. 2001. Nakhon Sri Thammarat: The Archeology, History and Legends of a Southern Thai Town. Bangkok: White Lotus.
Wade, Geoff. 2013. “The Patani Region in Chinese Texts of the 6th to the 19th Centuries.” In Ghosts of the Past in Southern Thailand: Essays on the History and Historiography of Patani, 53–84. Singapore: NUS Press.
Wang Dayuan 汪大渊. 1980 (1350). Daoyi Zhilüe 岛夷志略 [A Brief Account of Island Barbarians]. Taipei: The Commercial Press 商务印书馆.
Wheatley, Paul. 1961. The Golden Khersonese: Studies in the Historical Geography of Malay Peninsula before AD1500. Kuala Lumpur: University of Malaya Press.
Zhao Rukuo 赵汝适. 2022 (1225). A Chinese Gazetteer of Foreign Lands: A New Translation of Part 1 of the Zhufanzhi 诸蕃志. Translated by Shao-yun Yang. https://storymaps.arcgis.com/stories/39bce63e4e0642d3abce6c24db470760.
ลังกาสุกะในสมัยศรีวิชัย
ต่อมาสมาพันธรัฐศรีวิชัยได้ขยายอำนาจเข้ามายึดลังกาสุกะในปี พ.ศ.1293 โดยมหาราชาแห่งศรีวิชัยซึ่งน่าจะเป็นราชาธรรมเสตุได้แต่งงานกับธิดาของพระราชาวังสา แล้วมีพระโอรสจึงให้ปกครองลังกาสุกะต่อไป ดังนั้นพงศาวดารราชวงศ์สุยและถังไม่บันทึกบรรณาการจากลังกาสุกะเพราะเข้าร่วมกับสมาพันธรัฐศรีวิชัยแล้ว ต่อมาสมาพันธรัฐศรีวิชัยได้ขัดแย้งกับอาณาจักรโจฬะ พระเจ้าราเชนทราโจฬะที่ 1 จึงส่งกองทัพเรือเข้าโจมตีเมืองอีลังกาโสกะ (ลังกาสุกะ) ของสมาพันธรัฐศรีวิชัย ในปี พ.ศ.1587 และกล่าวว่ามีการต่อสู้ที่ดุเดือด เมืองลังกาสุกะแยกตัวออกจากสมาพันธรัฐศรีวิชัยภายใต้อิทธิพลของโจฬะสำเร็จ ต่อมาในปี พ.ศ.1768 บันทึกจูฟ่านจื้อเรียกเมืองนี้ว่าลิง-แก-ซเย-แก (凌牙斯加 หลั่ง-หย่า-ซื่อ-เจี้ย) ว่าขึ้นกับสมาพันธรัฐศรีวิชัย โดยบันทึกว่า
凌牙斯国,自单马令风帆六昼夜可到,亦有陆程。地主缠缦跣足;国人剪发,亦缠缦。地产象牙、犀角、速暂番、生香、脑子。番商兴贩,用酒、米、荷池、缬绢、甆器等为货;各先以此等物准金银,然后打博。如酒一墱,准银一两、准金二钱;米二墱准银一两,十墱准金一两之类。岁贡三佛齐国 [Chinese text project ctext.org]
จากตามพรลิงค์ใช้เวลาเดินเรือไปลังกาสุกะหกวันหกคืน มีทางบกติดต่อกันระหว่าง 2 เมืองนี้ด้วย ผู้ปกครองเมืองนี้นุ่งโสร่ง เดินเท้าเปล่า ประชาชนตัดผมสั้นและนุ่งโสร่งเช่นกัน เมืองนี้ผลิตงาช้าง นอแรด ไม้หอมซูและจ้าน และการบูร พ่อค้าต่างชาติแลกเปลี่ยนสินค้าด้วยเหล้าข้าว ข้าว ผ้าแพรลายดอกไม้เล็กและเครื่องกระเบื้องเคลือบ โดยคำนวณราคาสินค้าด้วยเงินและทองก่อนที่จะแลกเปลี่ยนสินค้ากัน เช่น เหล้าข้าว 1 เติ้ง墱มีค่า 1 ตำลึงเงินกับ 2 เหรียญทอง ถ้า 2 เติ้งมีค่า 2 ตำลึงเงิน และ 10 เติ้งมีค่า 1 ตำลึงทอง เป็นต้น และส่งบรรณาการให้ศรีวิชัยทุกปี หยาง เจ้าหยุนกล่าวว่าหน่วยเติ้งใช้ในฝูเจี้ยนและกว่างตงอย่างไม่เป็นทางการแต่เจฟ เวดกล่าวว่าเติ้งไม่ใช่หน่วยชั่งตวงวัดของจีน [Wade 2013: 60-61; Zhao Rukua 2022 (1225)]
ลังกาสุกะในสมาพันธรัฐตามพรลิงค์
ลังกาสุกะถูกบันทึกเป็นลิง-แก-ซุ-แก (凌牙蘇家 หลิง-หย่า-ซู-เจี้ย) ตามหัวข้อเต้าอี้จาจื้อในสือหลินกว๊างจี่และต้าเต๋อหนานไห่จื้อ มาร์โค โปโลเดินทางจากจีนในสมัยกุบไลข่าน (หยวนซื่อจู่ฮ่องเต้แห่งราชวงศ์หยวน) เพื่อกลับสู่อิตาลีผ่านลังกาสุกะบนคาบสมุทรมลายูประมาณปี พ.ศ.1835 โดยเรียกเมืองนี้ว่าโลจัค [Colbert 1997] ในการศึกษาเรื่องลังกาสุกะมักจะไม่เชื่อมโยงกับตามพรลิงค์ทั้งๆที่เมืองลังกาสุกะก็ยังคงจงรักภักดีต่อส่งบรรณาการให้กับตามพรลิงค์ต่อเนื่องไปจนถึงสมัยนครศรีธรรมราช [Ahamat & Alias 2018] ในหมวดเต้าอี้จาจื้อของสารานุกรมสือหลินกว๊างจี๊ในปีพ.ศ.1813 กล่าวว่าศรีวิชัยที่จัมบิส่งคนมาปกครองพัทลุงหลังจากที่มหาราชาจันทรภาณุและชวกะมหินทรไม่เสด็จกลับจากศรีลังกา ซึ่งก็น่าจะรวมลังกาสุกะด้วยเพราะอยู่ทางใต้ของพัทลุงแต่ก็ไม่ได้ระบุไว้ อย่างไรก็ตามเมื่อตามพรลิงค์เปลี่ยนเป็นนครศรีธรรมราชก็ได้กลายเป็นพันธมิตรกับสุโขทัย-เพชรบุรี-สุพรรณบุรีซึ่งตามตำนานเมืองนครศรีธรรมราชกล่าวว่าพระพนมวังแต่งตั้งพระฤทธิเทวา (เจสุตตรา)ปกครองเมืองโกตามะห์ลิฆัยหรือลังกาสุกะ [ครองชัย หัตถา พ.ศ.2552ก] จนกระทั่งถึงยุคที่มัชปาหิตแผ่อิทธิพลขึ้นมา
ลังกาสุกะในยุคการช่วงชิงอิทธิพลระหว่างกรุงศรีอยุธยาและมัชปาหิต
ในปีพ.ศ.1890 วังต้าหยวนบันทึกลังกาสุกะในเต้าอี้จื้อเลื่อยเป็นหลง-หย่า-ซื่อ-เจี้ยว (龙牙犀角) ในสมัยราชวงศ์หยวน (พ.ศ.1822-1911) ในปีพ.ศ.1890-1893 [Wang Dayuan 1350] ซึ่งเป็นช่วงที่พระเจ้าอู่ทองก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาพระฤทธิเทวาที่ปกครองโกตามะห์ลิฆัย (ลังกาสุกะ) ก็ได้ส่งคนมาช่วยสร้างด้วย [ครองชัย หัตถา พ.ศ.2552ก] ในเต้าอี้จื้อเลื่อย วังต้าหยวนได้บันทึกเกี่ยวกับลังกาสุกะไว้ดังนี้
"島夷誌略" : 峯頂內平而外聳,民環居之,如蟻附坡。厥田下等。氣候半熱。俗厚。男女椎髻,齒白,繫麻逸布。俗以結親為重。親戚之長者一日不見面,必携酒持物以問勞之。為長夜之飮,不見其醉。民煮海為鹽,釀秫為酒。有酋長。地產沈香,冠於諸番。次鶴頂、降眞、蜜糖、黃熟香頭。貿易之貸,用土印布、八都刺布、靑白花碗之屬。[Chinese text project ctext.org]
ด้านบนของยอดเขาเป็นที่ราบด้านในและล้อมรอบด้วยภูเขาสูงตระหง่านด้านนอก ผู้คนอาศัยอยู่รอบๆ ดูเหมือนมดเกาะอยู่บนทางลาดที่ลานตามีสภาพอากาศค่อนข้างร้อน พลเมืองทั้งชายและหญิงมีขนมปังที่มีกระดูกสันหลัง ฟันขาว และผูกด้วยผ้าลินินเป็นธรรมเนียมในการแต่งงาน หากญาติผู้ใหญ่ไม่เจอกันสักวันก็จะนำเหล้าและสิ่งของไปขอความช่วยเหลือแต่ก็ไม่เมาในค่ำคืนอันยาวนาน ผู้คนทำนาเกลือและหมักเหล้าขาวจากข้าว มีหัวหน้า สินค้าสำคัญคือไม้กฤษณาซึ่งมีคุณภาพชั้นยอด กล้วยไม้ ธูปหอมหัวน้ำผึ้งมีกลิ่นหอมสุกสีเหลืองใช้แลกเปลี่ยนสินค้า มีผ้าพิมพ์ลายดิน ผ้าหนามบาดู และชามดอกไม้สีขาว พลเมืองลังกาสุกะต้มน้ำทะเลทำเกลือ หมักข้าวทำสุราขาวและหาของป่าเช่น นกเงือก นกชนหิน ไม้จันทน์แดง น้ำผึ้งและไม้กฤษณา (แปลโดยผู้เขียน) มิกซิกกล่าวต่อว่า พลเมืองนุ่งผ้าฝ้ายจากฟิลิปปินส์และผ้าพิมพ์จากอินเดียและท้องถิ่น [Miksic 2013: 179]
อาณาจักรมัชปาหิตได้เข้ามาปกครองลังกาสุกะตามที่พงศาวดารนครเขตร์คามแต่งโดยประพันจา กวีของอาณาจักรมัชปาหิตกล่าวไว้ในปีพ.ศ.1908 ว่าได้ครอบครองหัวเมืองมลายูเช่น กลันตัน ตรังกานู ลังกาสุกะ เคดาร์ ฮูจง เมดิ้น ทูมาสิก ยะโฮร์ทำให้เมืองเหล่านี้หลุดพ้นไปจากอิทธิพลของสมาพันธรัฐตามพรลิงค์ ลังกาสุกะอยู่ใกล้กับสายบุรีแต่มะหรงมหาวงศ์บอกว่าอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู เป็นเมืองพี่น้องกับเคดาห์ [Wheatley 1961] ลังกาสุกะถูกบันทึกในฮิกายัต มลายู มะหรงมหาวงศ์และเป็นเลงกาสุกะในบทกวีนครเขตร์คาม [Guy. 2014] ลังกาสุกะอาจส่งบรรณาการให้ทั้งอยุธยาและมัชปาหิตในลักษณะเจ้านายสองฝ่ายฟ้า จึงสันนิษฐานได้ว่านครศรีธรรมราชน่าจะมาขึ้นกับละโว้-สุพรรณบุรี-อโยธยาต่อด้วยกรุงศรีอยุธยาในขณะที่หัวเมืองทางใต้ลงไปน่าจะขึ้นกับมัชปาหิต พระฤทธิเทวาปกครองโกตามะห์ลิฆัยจนสิ้นพระชนม์ในปีพ.ศ.1927 [Munro-Hay 2001] จึงเป็นช่วงที่ลังกาสุกะแยกไปจากนครศรีธรรมราช วัฒนธรรมมัชปาหิตเช่น หนังตะลุง มีอิทธิพลเหนือลังกาสุกะมากกว่าไทยตามบทกวีนครเขตร์คาม มีการค้นพบโบราณวัตถุของมัชปาหิต เช่น กริช และเหรียญกษาปณ์ เป็นจำนวนมากในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนั้นกรุงศรีอยุธยาไม่ได้มีอิทธิพลเหนือลังกาสุกะมากนัก การช่วงชิงอำนาจระหว่างกรุงศรีอยุธยาและมัชปาหิตเข้มข้นมากในบริเวณนี้
เอกสารอ้างอิง
ครองชัย หัตถา พ.ศ.2552ก. ประวัติศาสตร์ปัตตานี สมัยอาณาจักรโบราณถึงการปกครอง 7 หัวเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Colbert, Benjamin. 1997. The Travel of Marco Polo. Classics of World Literature. Hertfordshire: Wordsworth.
Guy, John 2014. Lost Kingdoms. Hindu-Buddhist Sculpture of Early Southeast Asia. The Metropolitan Museum of Art, /Yale University Press
Hasiff Ahamat and Nizamuddin Alias. 2018. “The Evolution of the Malay Sultanate State.” In Ignacio De La Rasilla del Moral and Ayesha Shahid (eds). International Law and Islam, 249–76. Leiden: EJ Brill.
Miksic, John Norman. 2010a. The A-Z of Ancient Southeast Asia. Lanham, MD: Scarecrow Press.
Munro-Hay, Stuart. 2001. Nakhon Sri Thammarat: The Archeology, History and Legends of a Southern Thai Town. Bangkok: White Lotus.
Wade, Geoff. 2013. “The Patani Region in Chinese Texts of the 6th to the 19th Centuries.” In Ghosts of the Past in Southern Thailand: Essays on the History and Historiography of Patani, 53–84. Singapore: NUS Press.
Wang Dayuan 汪大渊. 1980 (1350). Daoyi Zhilüe 岛夷志略 [A Brief Account of Island Barbarians]. Taipei: The Commercial Press 商务印书馆.
Wheatley, Paul. 1961. The Golden Khersonese: Studies in the Historical Geography of Malay Peninsula before AD1500. Kuala Lumpur: University of Malaya Press.
Zhao Rukuo 赵汝适. 2022 (1225). A Chinese Gazetteer of Foreign Lands: A New Translation of Part 1 of the Zhufanzhi 诸蕃志. Translated by Shao-yun Yang. https://storymaps.arcgis.com/stories/39bce63e4e0642d3abce6c24db470760.