โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
ลังกาสุกะเป็นนครรัฐพุทธ-ฮินดูที่ตั้งอยู่ในแหลมมลายู [John et al. 2014] กุสตาฟ ชเลเฆล นักจีนวิทยาชาวดัตช์เป็นคนแรกที่ศึกษาเรื่องลังกาสุกะจากเอกสารจีนในปีพ.ศ. 2441 [Schlegel 1898] ตามมาด้วยฟูจิตะ โทโยฮาชินักประวัติศาสตร์ชาวญี่ปุ่นในปีพ.ศ.2456 [Fujita 1913] ในขณะเดียวกัน เยรินี่และแบลกเด็นก็ได้ศึกษาเรื่องลังกาสุกะจากบทกวีเทศวรรณะหรือนครเขตร์คามที่เคอร์นค้นพบที่เกาะบาหลีในปีพ.ศ.2448-2449 [Blagden 1906] แต่ในสมัยนั้นไม่สามารถระบุที่ตั้งของลังกาสุกะได้อย่างชัดเจน ต่อมาได้มีการขุดค้นพบซากโบราณสถานโบราณสถานเป็นจำนวนมากที่อ.ยะรัง จ.ปัตตานีจึงมีการสันนิษฐานว่าลังกาสุกะน่าจะตั้งอยู่ในบริเวณนี้ ในการศึกษาเอกสารจีนเจฟ เวด ไม่ได้อ้างถึงสารานุกรมสือหลินกว๊างจี๊ และใช้สำเนียงกวางตุ้งและฮกเกี้ยนถอดเสียงอักษรจีนไม่ใช้สำเนียงจีนยุคกลาง (จงกู่ฮั่นหยู中古汉语) หลิ่งว่ายไต้ต่าและซ่งสือกล่าวถึงลังกาสุกะเพียงสั้นๆ ลังกาสุกะถูกบันทึกในจูฟ่านจื้อ เต้าอี้จื้อเลื่อย แผนที่เม่าคุ้นในอู๋เป่ยจื้อว่าอยู่ทางทิศใต้ของสงขลา [Wade 2004, 2013]
เอกสารจีนและอาหรับไม่เคยกล่าวถึงปัตตานีเลยในช่วงต้นราชวงศ์หมิง ปัตตานีถูกระบุในเอกสารจีนครั้งแรกประมาณปีพ.ศ.2061 หลังจากที่โปรตุเกสยึดมะละกาแล้วโดยใช้คำว่าต้าหนี่ (大泥) ในเอกสารจีน ริวกิว และญี่ปุ่นในช่วงปลายราชวงศ์หมิง การเชื่อมโยงลังกาสุกะกับปัตตานีในเอกสารจีนคือแผนที่เม่าคุ้นเพราะในอู๋เป่ยจื้อ เจิ้งเหอพูดถึงสงขลา ซิกัง (สายบุรี) ลังกาสุกะ หลิวคุน (นครศรีธรรมราช) กลันตันแต่ไม่กล่าวถึงเมืองปัตตานี แม้ว่าจะเปลี่ยนชื่อเป็นปัตตานีแล้วแต่เอกสารจีนยังคงเรียกว่าลังกาสุกะเหมือนกับนครศรีธรรมราชที่ยังคงเรียกว่าตามพรลิงค์อยู่ ชื่อเรียกนครศรีธรรมราชที่ปรากฏในเอกสารจีนจะอยู่ในช่วงปลายราชวงศ์หมิง
ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2565 มีการค้นพบเหรียญทองจารึกว่า “ศรีลงกาโศเกศวรวรปุณยะ” เทียบกับเงินเหรียญทวารวดีจารึกว่า “ศรีทวารวตีศวรปุณยะ” ที่ค้นพบในปีพ.ศ.2486 ที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างอารยธรรมทวารวดีแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยากับลังกาสุกะ [กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม 20 กรกฎาคม พ.ศ.2566] ดังนั้นลังกาสุกะจึงมีที่มาจากภาษาสันกฤต “ลังกา” แปลว่ารุ่งโรจน์และ “โศกะ” ที่มาจากพระเจ้าอโศกมหาราชกษัตริย์แห่งราชวงศ์เมาริยะพุทธศาสนูปถัมภกคนสำคัญและผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอินเดียได้ตั้งชื่อเมืองนี้เป็นเกียรติให้ท่านตามที่ลิเนฮานนักโบราณคดีชาวอังกฤษเคยสันนิษฐานเอาไว้ [Linehan 1948] ลังกาสุกะและเคดาห์โบราณถือเป็นอาณาจักรแรกสุดในแหลมมลายู การค้นพบโบราณสถานยะรังในปัตตานีและเหรียญลังกาสุกะนี้สันนิษฐานว่าที่ตั้งของลังกาสุกะว่าน่าจะก่อตั้งราวปีพ.ศ.623-643 [กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม 20 กรกฎาคม พ.ศ.2566; Grabowsky 1995] ในตำนานมะหรงมหาวงศ์ของเคดาห์กล่าวว่ามะหรงมหาวงศ์ก่อตั้งลังกาสุกะ เอกสารจีนให้ข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับอาณาจักรนี้และกล่าวว่ากษัตริย์พระนามภคทัตส่งทูตไปจีน
จากหลักฐานทางโบราณคดีในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-15 ชาวเมืองนับถือฮินดูไศวนิกายและพุทธศาสนาเถรวาทคล้ายกับทวารวดี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14-15 ชาวเมืองได้เปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนามหายาน เปลี่ยนชื่อจากลังกาสุกะเป็นโกตามะห์ลิฆัยแล้วย้ายไปปัตตานีจนถึงสมัยต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ชาวเมืองจึงเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ปรากฏในเอกสารจีนครั้งแรกในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 11 และบันทึกด้วยตัวอักษรจีนหลายแบบในเอกสารจีนหลายฉบับ แต่การใช้ตัวอักษรจีนบันทึกชื่อลังกาสุกะนั้นเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
เอกสารอ้างอิง
กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม 20 กรกฎาคม พ.ศ.2566 [https://www.silpa-mag.com/]
Blagden, Charles Otto. 1906. “Siam and the Malay Peninsula.” The Journal of the Royal Asiatic Society of Great Britain and Ireland, 107–19.
Fujita Toyohachi 藤田丰八. 1913. “狼牙脩国考 [A Study of The Country of Lang-Kae-Siu (Langkasuka)].” Toyo Gakuho 东洋学报 (The Journal of the Research Department of the Toyo Bunko) 3 (1–2).
Grabowsky, Volker 1995. Regions and National Integration in Thailand, 1892-1992. Wiesbaden, Germany: Otto Harrassowitz Verlag.
John, Guy et al. 2014. Lost Kingdoms: Hindu-Buddhist Sculpture of Early Southeast Asia. New York: Metropolitan Museum of Art
Linehan, William. 1944. “Langkasuka: The Island of Asoka.” Journal of the Malayan Branch of the Royal Asiatic Society 21 (1): 119–23.
Schlegel, Gustaaf. 1899. “Geographical Notes VIII: Pa-Hoang, Pang-k’ang, Pang-Hang, Pahang or Panggang.” T’oung Pao 10: 39–46.
Wade, Geoff. 2004. “From Chaiya to Pahang', In Daniel Perret, Ammarâ Sîsuchât, Sombûn Thanasuk eds. Études sur l'histoire du sultanat de Patani, 37-78. Paris: EFEO
Wade, Geoff. 2013. “The Patani Region in Chinese Texts of the 6th to the 19th Centuries.” In Patrick Jory eds. Ghosts of the Past in Southern Thailand: Essays on the History and Historiography of Patani, 53–84. Singapore: NUS Press.
ลังกาสุกะเป็นนครรัฐพุทธ-ฮินดูที่ตั้งอยู่ในแหลมมลายู [John et al. 2014] กุสตาฟ ชเลเฆล นักจีนวิทยาชาวดัตช์เป็นคนแรกที่ศึกษาเรื่องลังกาสุกะจากเอกสารจีนในปีพ.ศ. 2441 [Schlegel 1898] ตามมาด้วยฟูจิตะ โทโยฮาชินักประวัติศาสตร์ชาวญี่ปุ่นในปีพ.ศ.2456 [Fujita 1913] ในขณะเดียวกัน เยรินี่และแบลกเด็นก็ได้ศึกษาเรื่องลังกาสุกะจากบทกวีเทศวรรณะหรือนครเขตร์คามที่เคอร์นค้นพบที่เกาะบาหลีในปีพ.ศ.2448-2449 [Blagden 1906] แต่ในสมัยนั้นไม่สามารถระบุที่ตั้งของลังกาสุกะได้อย่างชัดเจน ต่อมาได้มีการขุดค้นพบซากโบราณสถานโบราณสถานเป็นจำนวนมากที่อ.ยะรัง จ.ปัตตานีจึงมีการสันนิษฐานว่าลังกาสุกะน่าจะตั้งอยู่ในบริเวณนี้ ในการศึกษาเอกสารจีนเจฟ เวด ไม่ได้อ้างถึงสารานุกรมสือหลินกว๊างจี๊ และใช้สำเนียงกวางตุ้งและฮกเกี้ยนถอดเสียงอักษรจีนไม่ใช้สำเนียงจีนยุคกลาง (จงกู่ฮั่นหยู中古汉语) หลิ่งว่ายไต้ต่าและซ่งสือกล่าวถึงลังกาสุกะเพียงสั้นๆ ลังกาสุกะถูกบันทึกในจูฟ่านจื้อ เต้าอี้จื้อเลื่อย แผนที่เม่าคุ้นในอู๋เป่ยจื้อว่าอยู่ทางทิศใต้ของสงขลา [Wade 2004, 2013]
เอกสารจีนและอาหรับไม่เคยกล่าวถึงปัตตานีเลยในช่วงต้นราชวงศ์หมิง ปัตตานีถูกระบุในเอกสารจีนครั้งแรกประมาณปีพ.ศ.2061 หลังจากที่โปรตุเกสยึดมะละกาแล้วโดยใช้คำว่าต้าหนี่ (大泥) ในเอกสารจีน ริวกิว และญี่ปุ่นในช่วงปลายราชวงศ์หมิง การเชื่อมโยงลังกาสุกะกับปัตตานีในเอกสารจีนคือแผนที่เม่าคุ้นเพราะในอู๋เป่ยจื้อ เจิ้งเหอพูดถึงสงขลา ซิกัง (สายบุรี) ลังกาสุกะ หลิวคุน (นครศรีธรรมราช) กลันตันแต่ไม่กล่าวถึงเมืองปัตตานี แม้ว่าจะเปลี่ยนชื่อเป็นปัตตานีแล้วแต่เอกสารจีนยังคงเรียกว่าลังกาสุกะเหมือนกับนครศรีธรรมราชที่ยังคงเรียกว่าตามพรลิงค์อยู่ ชื่อเรียกนครศรีธรรมราชที่ปรากฏในเอกสารจีนจะอยู่ในช่วงปลายราชวงศ์หมิง
ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2565 มีการค้นพบเหรียญทองจารึกว่า “ศรีลงกาโศเกศวรวรปุณยะ” เทียบกับเงินเหรียญทวารวดีจารึกว่า “ศรีทวารวตีศวรปุณยะ” ที่ค้นพบในปีพ.ศ.2486 ที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างอารยธรรมทวารวดีแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยากับลังกาสุกะ [กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม 20 กรกฎาคม พ.ศ.2566] ดังนั้นลังกาสุกะจึงมีที่มาจากภาษาสันกฤต “ลังกา” แปลว่ารุ่งโรจน์และ “โศกะ” ที่มาจากพระเจ้าอโศกมหาราชกษัตริย์แห่งราชวงศ์เมาริยะพุทธศาสนูปถัมภกคนสำคัญและผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอินเดียได้ตั้งชื่อเมืองนี้เป็นเกียรติให้ท่านตามที่ลิเนฮานนักโบราณคดีชาวอังกฤษเคยสันนิษฐานเอาไว้ [Linehan 1948] ลังกาสุกะและเคดาห์โบราณถือเป็นอาณาจักรแรกสุดในแหลมมลายู การค้นพบโบราณสถานยะรังในปัตตานีและเหรียญลังกาสุกะนี้สันนิษฐานว่าที่ตั้งของลังกาสุกะว่าน่าจะก่อตั้งราวปีพ.ศ.623-643 [กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม 20 กรกฎาคม พ.ศ.2566; Grabowsky 1995] ในตำนานมะหรงมหาวงศ์ของเคดาห์กล่าวว่ามะหรงมหาวงศ์ก่อตั้งลังกาสุกะ เอกสารจีนให้ข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับอาณาจักรนี้และกล่าวว่ากษัตริย์พระนามภคทัตส่งทูตไปจีน
จากหลักฐานทางโบราณคดีในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-15 ชาวเมืองนับถือฮินดูไศวนิกายและพุทธศาสนาเถรวาทคล้ายกับทวารวดี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14-15 ชาวเมืองได้เปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนามหายาน เปลี่ยนชื่อจากลังกาสุกะเป็นโกตามะห์ลิฆัยแล้วย้ายไปปัตตานีจนถึงสมัยต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ชาวเมืองจึงเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ปรากฏในเอกสารจีนครั้งแรกในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 11 และบันทึกด้วยตัวอักษรจีนหลายแบบในเอกสารจีนหลายฉบับ แต่การใช้ตัวอักษรจีนบันทึกชื่อลังกาสุกะนั้นเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
เอกสารอ้างอิง
กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม 20 กรกฎาคม พ.ศ.2566 [https://www.silpa-mag.com/]
Blagden, Charles Otto. 1906. “Siam and the Malay Peninsula.” The Journal of the Royal Asiatic Society of Great Britain and Ireland, 107–19.
Fujita Toyohachi 藤田丰八. 1913. “狼牙脩国考 [A Study of The Country of Lang-Kae-Siu (Langkasuka)].” Toyo Gakuho 东洋学报 (The Journal of the Research Department of the Toyo Bunko) 3 (1–2).
Grabowsky, Volker 1995. Regions and National Integration in Thailand, 1892-1992. Wiesbaden, Germany: Otto Harrassowitz Verlag.
John, Guy et al. 2014. Lost Kingdoms: Hindu-Buddhist Sculpture of Early Southeast Asia. New York: Metropolitan Museum of Art
Linehan, William. 1944. “Langkasuka: The Island of Asoka.” Journal of the Malayan Branch of the Royal Asiatic Society 21 (1): 119–23.
Schlegel, Gustaaf. 1899. “Geographical Notes VIII: Pa-Hoang, Pang-k’ang, Pang-Hang, Pahang or Panggang.” T’oung Pao 10: 39–46.
Wade, Geoff. 2004. “From Chaiya to Pahang', In Daniel Perret, Ammarâ Sîsuchât, Sombûn Thanasuk eds. Études sur l'histoire du sultanat de Patani, 37-78. Paris: EFEO
Wade, Geoff. 2013. “The Patani Region in Chinese Texts of the 6th to the 19th Centuries.” In Patrick Jory eds. Ghosts of the Past in Southern Thailand: Essays on the History and Historiography of Patani, 53–84. Singapore: NUS Press.