โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
จากหลักฐานจารึกใต้ฐานพระพุทธรูปปางนาคปรกที่ค้นพบที่วัดหัวเวียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานีซึ่งถือว่าเก่าที่สุดที่กล่าวถึงราชวงศ์ใหม่ชื่อว่า “เมาลิ (นกยูง)” มหาราชาทรงพระนามว่า “ศรีมัตตะไตรโลกยราชเมาลิภูษณะวรมะเทวะ” ได้รับสั่งให้ มหาเสนาปติกลาไน เจ้าเมืองครหิ เป็นผู้สร้างเมื่อพ.ศ.1726 เชิญนายช่างที่ชื่อ มรเต็ง ศรีญาโนซึ่งเป็นชาวเขมรมาหล่อ [Munoz 2006] เมืองครหิซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของเมืองไชยา พระพุทธรูปนี้มีอิทธิพลของศิลปะของเขมรอย่างชัดเจนเพียงแต่สร้างเป็นปางมารวิชัยไม่ใช่ปางสมาธิแบบที่เห็นอยู่ในกัมพูชา และในจารึกที่เป็นภาษาเขมรแต่ใช้อักษรกวิของชวาเขียนมีคำภาษาเขมรว่า กัมรเตง อัญ อยู่หน้าพระนามมหาราชาพระองค์นี้จึงสันนิษฐานได้ว่ามหาราชาพระองค์นี้อาจเกี่ยวข้องกับกัมพูชา เช่นอาจจะเป็นราชบุตรเขยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เพราะเรียกไชยาว่าครหิด้วย และคำว่า “ศรีมัตตะ (ஶ்ரீமத்)” เป็นภาษาทมิฬเป็นคำนำหน้าผุ้ชาย แต่ในภาษาสันสกฤต (श्रीमत्) เป็นคำนำหน้าผู้ที่มีตำแหน่งสูงในราชสำนัก [wisdomlib.org/definition/shrimat]
ราชวงศ์นี้อาจสืบเชื้อสายจากชาวทมิฬ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในศรีวิชัย ราชวงศ์เมาลิขับไล่โจฬะออกไปในปี พ.ศ.1633 และครองราชย์ที่จัมบิ เพราะมีพระนามของมหาราชาแห่งราชวงศ์เมาลิพระองค์ต่อๆมาปรากฏอยู่ในจารึกต่างๆที่พบในเมืองจัมบิและเมืองอื่นๆบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เช่น มหาราชาศรีมัตตะตรีภูวนราชเมาลิวรมะเทวะ เมื่อ พ.ศ.1829 มหาราชาศรีมัตตะศรีอัคเรนทราวรมัน เมื่อ พ.ศ.1859 และมหาราชาศรีมัตตะศรีอุทัยอาทิตยวรมัน ประทัปปาปะระกรม ราเชนทรา เมาลิมาลิ วรมะเทวะ เมื่อ พ.ศ.1890 [Bonatz et al 2009] ไชยายังเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญของสมาพันธรัฐศรีวิชัยในติดต่อค้าขายการต้านทานการรุกรานจากอาณาจักรทางเหนืออยู่ การที่โบราณสถานสมัยสมาพันธรัฐศรีวิชัยในไชยามีความสมบูรณ์ต่างจากในเกาะสุมาตรานั้นเป็นเพราะว่าเป็นเมืองที่ปลอดจากการรุกรานพวกชวาและโจฬะไม่สามารถยกกองทัพเข้ามาถึงไชยาเลยในช่วงนี้มีชาวเขมรเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ไชยามากเนื่องจากกัมพูชาประสพกับวิกฤติทางการเมืองตั้งแต่สมัยพระเจ้าตรีภูนาทิตยวรมันจนถึงในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ.1709-1724) ในระหว่างนี้พวกจามปาได้บุกเข้ามาเผาทำลายนครธมซึ่งเป็นราชธานีของกัมพูชาในขณะนั้น [Chandler 2007] ชาวเขมรอพยพจึงได้นำศิลปะแบบเขมรเข้ามาเผยแพร่ในไชยาจนศิลปะในไชยาตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 16 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 19 ได้รับอิทธิพลจากศิลปะเขมร ซ่งสือกล่าวว่าเจี้ย-หลัว-ซีอยู่ใกล้เขมร
ไชยาในสมัยตามพรลิงค์และนครศรีธรรมราช
มหาราชาจันทรภาณุ ศรีธรรมราชา (พ.ศ.1773-1806) ได้แยกตามพรลิงค์เป็นอิสระจากสมาพันธรัฐศรีวิชัยและตั้งเป็นสมาพันธรัฐตามพรลิงค์ในปีพ.ศ.1773 แล้วแผ่ขยายไปครอบครองแหลมมลายูเกือบทั้งหมดขับไล่เชื้อสายราชวงศ์เมาลิออกไปจากไชยา แล้วเข้าปกครองแทนดังจารึกหลักที่ 24 ที่ค้นพบที่วัดหัวเวียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ได้ระบุพระนามของพระเจ้าจันทรภาณุเอาไว้ในปีพ.ศ.1773 แสดงว่าเมืองไชยาก็เป็นเมืองที่สำคัญในสมาพันธรัฐตามพรลิงค์เพราะเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการติดต่อค้าขายและต้านทานการรุกรานจากอาณาจักรทางเหนือ ในปี พ.ศ.1790 พระเจ้าจันทรภาณุได้ยกทัพเรือจากแหลมมลายูบุกเกาะลังกาและติดหล่มของสงครามที่นั่นจนสิ้นพระชนม์ลงในปี พ.ศ.1806 พระเจ้าชวกะมหินทรพระโอรสของพระเจ้าจันทรภาณุที่ขึ้นครองราชย์ที่นครศรีธรรมราชตั้งแต่ พ.ศ.1789 หลังจากที่พระราชบิดาเสด็จไปอยู่ลังกาได้เสด็จไปปกครองจัฟนาที่ลังกาต่อจากพระราชบิดาตั้งแต่ พ.ศ.1805 จนถึง พ.ศ.1820 เมื่ออาณาจักรตามพรลิงค์ถูกทิ้งเอาไว้เบื้องหลัง สมาพันธรัฐศรีวิชัยของราชวงศ์เมาลิจึงแผ่อิทธิพลขึ้นมายึดเมืองพัทลุงและเมืองทางตอนใต้ลงไป ในช่วงนี้ไชยาก็ยังขึ้นกับเมืองตามพรลิงค์ ทำให้ตามพรลิงค์ที่ว่างกษัตริย์แต่มีผู้ปกครองตามเอกสารสือหลินกว๊างจี๊หมวดเต้าอี้จาจื้อ จึงต้องหาพันธมิตรคุ้มครองโดยส่งบรรณาการให้สุโขทัย ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงในปี พ.ศ.1826 ได้กล่าวว่าอาณาจักรสุโขทัยได้ปกครองถึงนครศรีธรรมราชรวมไชยาตั้งแต่ปีพ.ศ.1824 [ฐานข้อมูลศิลาจารึก ศูนย์มนุษย์วิทยาสิรินธร www.sac.or.th/databases/inscriptions] เป็นพันธมิตรกับสุโขทัยผ่านเพชรบุรี
หลังจากพ่อขุนรามคำแหงสิ้นพระชนม์แล้วนครศรีธรรมราชรวมไชยาก็ไม่ได้ส่งบรรณาการไปให้สุโขทัยอีกและไชยาก็ไปขึ้นกับนครศรีธรรมราชที่เป็นอิสระจากรัฐไทยทางเหนือตามบันทึกต้าเต๋อหนานไห่ซื่อ จนถึงปีพ.ศ.1885 เมือเพชรบุรีส่งพระพนมวังและนางผะเดียงทองไปปกครองนครศรีธรรมราชรวมไชยา หลักฐานที่ว่าไชยาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรไทยทั้งสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาตอนต้นมาโดยตลอดจึงถูกแย้งด้วยบันทึกต้าเต๋อหนานไห่จื้อเนื่องจากไม่มีการค้นพระพุทธรูปสกุลช่างสุโขทัยในไชยาเลย [พิริยะ ไกรฤกษ์ พ.ศ.2523]
จึงสันนิษฐานได้ว่าหลังสิ้นพ่อขุนรามคำแหงแล้วไชยายังเป็นอิสระจากอาณาจักรไทยทั้งสุโขทัยและอยุธยาตอนต้น แต่ก็มีคนไทยที่อพยพมาจากอาณาจักรทางเหนือ เช่น ละโว้ อู่ทอง สุโขทัย กำแพงเพชร เชียงใหม่ เชียงแสนเข้าไปในเขตอาณาจักรตามพรลิงค์เรื่อยๆ โดยผ่านเมืองไชยาซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญต่อไปยังนครศรีธรรมราชและหัวเมืองอื่นๆทางปักษ์ใต้ หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาแผ่อำนาจไปปกครองภาคใต้ของไทยและมาเลเซียตอนเหนือจึงสิ้นสุดการปกครองของชาวมลายูในภาคใต้ของไทย การค้นพบจารึกวัดแวง (วัดตะพาน) ในไชยาประมาณปีพ.ศ.1935-1970 ที่ใช้ตัวอักษรอยุธยาแทนที่อักษรกวิของชวาเป็นครั้งแรกทางภาคใต้ของไทย [เพลงเมธา ขาวหนูนา พ.ศ.2558] การที่มีอักษรธรรมล้านนาปรากฏอาจจะมีชาวล้านนาที่ถูกกวาดต้อนมาจากลำปางเมื่อครั้งที่ขุนหลวงพะงั่วยกทัพไปตีลำปางเมื่อปีพ.ศ.1929 ไปตั้งถิ่นฐานในภาคใต้ เช่นที่ ไชยา นครศรีธรรมราช [สรัสวดี อ๋องสกุล พ.ศ. 2557] ซึ่งบ่งบอกได้ว่ากรุงศรีอยุธยาเข้ามาปกครองภาคใต้จนกระทั่งภาษาไทยแพร่หลายแทนที่ภาษามลายูที่พูดกันในสมาพันธรัฐตามพรลิงค์เดิม ไชยาถูกบันทึกต้า-หล่า-ซีหรือตัด-ลัด-หิ) ในเอกสารต้าเต๋อหนานไห่จื้อ ปีพ.ศ.1847 เจฟ เวดเชื่อว่ากา-หล่าคือไชยา แต่เมื่อตรวจสอบกับบันทึกการเดินทางของหยางเหลียงเย่าในสมัยราชวงศ์ถังแล้วคือเคดาห์และครหิไม่มีในเต้าอี้จื่อเลื่อยตามที่เวดสันนิษฐานเอาไว้ [Wade 2004]
เอกสารอ้างอิง
พิริยะ ไกรฤกษ์ พ.ศ.2523 ศิลปะทักษิณก่อนพุทธศตวรรษที่ 19. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
เพลงเมธา ขาวหนูนา พ.ศ.2558 “เมืองโบราณไชยาในสมัยอยุธยา.” Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ 8 (3).
สรัสวดี อ๋องสกุล พ.ศ. 2557 ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
Bonatz, Dominik, John Norman Miksic, J. David Neidel, and Mai Lin Tjoa-Bonatz. 2009. From Distant Tales: Archeology and Ethnohistory in the Highland of Sumatra. Newcastle, UK: Cambridge Scholar Publishing.
Chandler, David. 2007. A History of Cambodia. Boulder, CO: Westview.
Munoz, Paul Michel. 2006. Early Kingdoms of the Indonesian Archipelago and the Malay Peninsula. Singapore: Editions Didier Millet.
Wade, Geoff. 2004. “From Chaiya to Pahang', In Daniel Perret, Ammarâ Sîsuchât, Sombûn Thanasuk eds. Études sur l'histoire du sultanat de Patani, 37-78. Paris: EFEO
จากหลักฐานจารึกใต้ฐานพระพุทธรูปปางนาคปรกที่ค้นพบที่วัดหัวเวียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานีซึ่งถือว่าเก่าที่สุดที่กล่าวถึงราชวงศ์ใหม่ชื่อว่า “เมาลิ (นกยูง)” มหาราชาทรงพระนามว่า “ศรีมัตตะไตรโลกยราชเมาลิภูษณะวรมะเทวะ” ได้รับสั่งให้ มหาเสนาปติกลาไน เจ้าเมืองครหิ เป็นผู้สร้างเมื่อพ.ศ.1726 เชิญนายช่างที่ชื่อ มรเต็ง ศรีญาโนซึ่งเป็นชาวเขมรมาหล่อ [Munoz 2006] เมืองครหิซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของเมืองไชยา พระพุทธรูปนี้มีอิทธิพลของศิลปะของเขมรอย่างชัดเจนเพียงแต่สร้างเป็นปางมารวิชัยไม่ใช่ปางสมาธิแบบที่เห็นอยู่ในกัมพูชา และในจารึกที่เป็นภาษาเขมรแต่ใช้อักษรกวิของชวาเขียนมีคำภาษาเขมรว่า กัมรเตง อัญ อยู่หน้าพระนามมหาราชาพระองค์นี้จึงสันนิษฐานได้ว่ามหาราชาพระองค์นี้อาจเกี่ยวข้องกับกัมพูชา เช่นอาจจะเป็นราชบุตรเขยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เพราะเรียกไชยาว่าครหิด้วย และคำว่า “ศรีมัตตะ (ஶ்ரீமத்)” เป็นภาษาทมิฬเป็นคำนำหน้าผุ้ชาย แต่ในภาษาสันสกฤต (श्रीमत्) เป็นคำนำหน้าผู้ที่มีตำแหน่งสูงในราชสำนัก [wisdomlib.org/definition/shrimat]
ราชวงศ์นี้อาจสืบเชื้อสายจากชาวทมิฬ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในศรีวิชัย ราชวงศ์เมาลิขับไล่โจฬะออกไปในปี พ.ศ.1633 และครองราชย์ที่จัมบิ เพราะมีพระนามของมหาราชาแห่งราชวงศ์เมาลิพระองค์ต่อๆมาปรากฏอยู่ในจารึกต่างๆที่พบในเมืองจัมบิและเมืองอื่นๆบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เช่น มหาราชาศรีมัตตะตรีภูวนราชเมาลิวรมะเทวะ เมื่อ พ.ศ.1829 มหาราชาศรีมัตตะศรีอัคเรนทราวรมัน เมื่อ พ.ศ.1859 และมหาราชาศรีมัตตะศรีอุทัยอาทิตยวรมัน ประทัปปาปะระกรม ราเชนทรา เมาลิมาลิ วรมะเทวะ เมื่อ พ.ศ.1890 [Bonatz et al 2009] ไชยายังเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญของสมาพันธรัฐศรีวิชัยในติดต่อค้าขายการต้านทานการรุกรานจากอาณาจักรทางเหนืออยู่ การที่โบราณสถานสมัยสมาพันธรัฐศรีวิชัยในไชยามีความสมบูรณ์ต่างจากในเกาะสุมาตรานั้นเป็นเพราะว่าเป็นเมืองที่ปลอดจากการรุกรานพวกชวาและโจฬะไม่สามารถยกกองทัพเข้ามาถึงไชยาเลยในช่วงนี้มีชาวเขมรเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ไชยามากเนื่องจากกัมพูชาประสพกับวิกฤติทางการเมืองตั้งแต่สมัยพระเจ้าตรีภูนาทิตยวรมันจนถึงในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ.1709-1724) ในระหว่างนี้พวกจามปาได้บุกเข้ามาเผาทำลายนครธมซึ่งเป็นราชธานีของกัมพูชาในขณะนั้น [Chandler 2007] ชาวเขมรอพยพจึงได้นำศิลปะแบบเขมรเข้ามาเผยแพร่ในไชยาจนศิลปะในไชยาตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 16 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 19 ได้รับอิทธิพลจากศิลปะเขมร ซ่งสือกล่าวว่าเจี้ย-หลัว-ซีอยู่ใกล้เขมร
ไชยาในสมัยตามพรลิงค์และนครศรีธรรมราช
มหาราชาจันทรภาณุ ศรีธรรมราชา (พ.ศ.1773-1806) ได้แยกตามพรลิงค์เป็นอิสระจากสมาพันธรัฐศรีวิชัยและตั้งเป็นสมาพันธรัฐตามพรลิงค์ในปีพ.ศ.1773 แล้วแผ่ขยายไปครอบครองแหลมมลายูเกือบทั้งหมดขับไล่เชื้อสายราชวงศ์เมาลิออกไปจากไชยา แล้วเข้าปกครองแทนดังจารึกหลักที่ 24 ที่ค้นพบที่วัดหัวเวียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ได้ระบุพระนามของพระเจ้าจันทรภาณุเอาไว้ในปีพ.ศ.1773 แสดงว่าเมืองไชยาก็เป็นเมืองที่สำคัญในสมาพันธรัฐตามพรลิงค์เพราะเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการติดต่อค้าขายและต้านทานการรุกรานจากอาณาจักรทางเหนือ ในปี พ.ศ.1790 พระเจ้าจันทรภาณุได้ยกทัพเรือจากแหลมมลายูบุกเกาะลังกาและติดหล่มของสงครามที่นั่นจนสิ้นพระชนม์ลงในปี พ.ศ.1806 พระเจ้าชวกะมหินทรพระโอรสของพระเจ้าจันทรภาณุที่ขึ้นครองราชย์ที่นครศรีธรรมราชตั้งแต่ พ.ศ.1789 หลังจากที่พระราชบิดาเสด็จไปอยู่ลังกาได้เสด็จไปปกครองจัฟนาที่ลังกาต่อจากพระราชบิดาตั้งแต่ พ.ศ.1805 จนถึง พ.ศ.1820 เมื่ออาณาจักรตามพรลิงค์ถูกทิ้งเอาไว้เบื้องหลัง สมาพันธรัฐศรีวิชัยของราชวงศ์เมาลิจึงแผ่อิทธิพลขึ้นมายึดเมืองพัทลุงและเมืองทางตอนใต้ลงไป ในช่วงนี้ไชยาก็ยังขึ้นกับเมืองตามพรลิงค์ ทำให้ตามพรลิงค์ที่ว่างกษัตริย์แต่มีผู้ปกครองตามเอกสารสือหลินกว๊างจี๊หมวดเต้าอี้จาจื้อ จึงต้องหาพันธมิตรคุ้มครองโดยส่งบรรณาการให้สุโขทัย ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงในปี พ.ศ.1826 ได้กล่าวว่าอาณาจักรสุโขทัยได้ปกครองถึงนครศรีธรรมราชรวมไชยาตั้งแต่ปีพ.ศ.1824 [ฐานข้อมูลศิลาจารึก ศูนย์มนุษย์วิทยาสิรินธร www.sac.or.th/databases/inscriptions] เป็นพันธมิตรกับสุโขทัยผ่านเพชรบุรี
หลังจากพ่อขุนรามคำแหงสิ้นพระชนม์แล้วนครศรีธรรมราชรวมไชยาก็ไม่ได้ส่งบรรณาการไปให้สุโขทัยอีกและไชยาก็ไปขึ้นกับนครศรีธรรมราชที่เป็นอิสระจากรัฐไทยทางเหนือตามบันทึกต้าเต๋อหนานไห่ซื่อ จนถึงปีพ.ศ.1885 เมือเพชรบุรีส่งพระพนมวังและนางผะเดียงทองไปปกครองนครศรีธรรมราชรวมไชยา หลักฐานที่ว่าไชยาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรไทยทั้งสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาตอนต้นมาโดยตลอดจึงถูกแย้งด้วยบันทึกต้าเต๋อหนานไห่จื้อเนื่องจากไม่มีการค้นพระพุทธรูปสกุลช่างสุโขทัยในไชยาเลย [พิริยะ ไกรฤกษ์ พ.ศ.2523]
จึงสันนิษฐานได้ว่าหลังสิ้นพ่อขุนรามคำแหงแล้วไชยายังเป็นอิสระจากอาณาจักรไทยทั้งสุโขทัยและอยุธยาตอนต้น แต่ก็มีคนไทยที่อพยพมาจากอาณาจักรทางเหนือ เช่น ละโว้ อู่ทอง สุโขทัย กำแพงเพชร เชียงใหม่ เชียงแสนเข้าไปในเขตอาณาจักรตามพรลิงค์เรื่อยๆ โดยผ่านเมืองไชยาซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญต่อไปยังนครศรีธรรมราชและหัวเมืองอื่นๆทางปักษ์ใต้ หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาแผ่อำนาจไปปกครองภาคใต้ของไทยและมาเลเซียตอนเหนือจึงสิ้นสุดการปกครองของชาวมลายูในภาคใต้ของไทย การค้นพบจารึกวัดแวง (วัดตะพาน) ในไชยาประมาณปีพ.ศ.1935-1970 ที่ใช้ตัวอักษรอยุธยาแทนที่อักษรกวิของชวาเป็นครั้งแรกทางภาคใต้ของไทย [เพลงเมธา ขาวหนูนา พ.ศ.2558] การที่มีอักษรธรรมล้านนาปรากฏอาจจะมีชาวล้านนาที่ถูกกวาดต้อนมาจากลำปางเมื่อครั้งที่ขุนหลวงพะงั่วยกทัพไปตีลำปางเมื่อปีพ.ศ.1929 ไปตั้งถิ่นฐานในภาคใต้ เช่นที่ ไชยา นครศรีธรรมราช [สรัสวดี อ๋องสกุล พ.ศ. 2557] ซึ่งบ่งบอกได้ว่ากรุงศรีอยุธยาเข้ามาปกครองภาคใต้จนกระทั่งภาษาไทยแพร่หลายแทนที่ภาษามลายูที่พูดกันในสมาพันธรัฐตามพรลิงค์เดิม ไชยาถูกบันทึกต้า-หล่า-ซีหรือตัด-ลัด-หิ) ในเอกสารต้าเต๋อหนานไห่จื้อ ปีพ.ศ.1847 เจฟ เวดเชื่อว่ากา-หล่าคือไชยา แต่เมื่อตรวจสอบกับบันทึกการเดินทางของหยางเหลียงเย่าในสมัยราชวงศ์ถังแล้วคือเคดาห์และครหิไม่มีในเต้าอี้จื่อเลื่อยตามที่เวดสันนิษฐานเอาไว้ [Wade 2004]
เอกสารอ้างอิง
พิริยะ ไกรฤกษ์ พ.ศ.2523 ศิลปะทักษิณก่อนพุทธศตวรรษที่ 19. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
เพลงเมธา ขาวหนูนา พ.ศ.2558 “เมืองโบราณไชยาในสมัยอยุธยา.” Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ 8 (3).
สรัสวดี อ๋องสกุล พ.ศ. 2557 ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
Bonatz, Dominik, John Norman Miksic, J. David Neidel, and Mai Lin Tjoa-Bonatz. 2009. From Distant Tales: Archeology and Ethnohistory in the Highland of Sumatra. Newcastle, UK: Cambridge Scholar Publishing.
Chandler, David. 2007. A History of Cambodia. Boulder, CO: Westview.
Munoz, Paul Michel. 2006. Early Kingdoms of the Indonesian Archipelago and the Malay Peninsula. Singapore: Editions Didier Millet.
Wade, Geoff. 2004. “From Chaiya to Pahang', In Daniel Perret, Ammarâ Sîsuchât, Sombûn Thanasuk eds. Études sur l'histoire du sultanat de Patani, 37-78. Paris: EFEO