โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
เมืองไชยามาจากคำว่า “คาฮะยา” ในภาษามลายูโบราณ เป็นเมืองสำคัญของสมาพันธรัฐศรีวิชัยทางตอนเหนือบนคาบสมุทรมลายู มีการขุดพบหลักฐานทางโบราณคดีมาตั้งแต่สมัยทวาราวดีซึ่งของเป็นพุทธศาสนานิกายเถรวาท แสดงว่าพวกออสโตรเอเชียติค (มอญ-เขมร) น่าจะเป็นชนกลุ่มแรกที่สร้างบ้านเรือนที่ไชยา ไชยาหรือครหิมีชื่อบันทึกในพงศาวดารสุยชู้ว่าว่าแก-ลา-หิ (加罗希เจี้ย-หลัว-ซี) ได้ส่งทูตไปจีนเมื่อ พ.ศ.1151 ในสมัยจักรพรรดิสุยหยางตี้ (พ.ศ.1148-1161) ไชยาน่าจะเคยเป็นชุมชนของพวกมอญในสมัยทวารวดีมาก่อนเพราะมีการค้นพบพระพุทธรูปสมัยทวาราวดีตามวัดโบราณต่าง ๆ ที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ดังนั้นจึงไม่ใช่เมืองปัน-ปัน ซึ่งในช่วงนี้น่าจะยังเป็นเมืองมอญอยู่แต่ก็อาจจะมีชาวมลายู เขมร จาม อินเดียเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานแล้ว เมืองนี้อาจจะเป็นอิสระจากอาณาจักรทวาราวดีในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อไชยามาขึ้นกับสมาพันธรัฐศรีวิชัยก็น่าจะมีชาวชวาและมลายูอพยพเข้ามาโดยเฉพาะตอนสร้างจันฑิวัดแก้ว วัดหลงและพระบรมธาตุไชยาในช่วงก่อนปี พ.ศ.1318 ชาวมอญ เขมรอาจจะเรียกเมืองไชยาว่าครหิ เมื่อสมาพันธรัฐศรีวิชัยเข้ามาปกครองแล้วจึงเปลี่ยนชื่อเมืองนี้เป็น คาฮะยา ศิลปะไชยาในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 8 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 10 เป็นแบบอินเดีย ส่วนศิลปะไชยาในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 10 ถึงช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 13 แบบมอญทวารวดีซึ่งเป็นแบบพุทธเถรวาทนั้น [พิริยะ ไกรฤกษ์ พ.ศ.2523] เป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่ามีชาวอินเดียเข้ามาตั้งถิ่นฐานก่อนที่พวกมอญจากทวารวดีทางตอนเหนือจะอพยพลงมา
ไชยาในสมัยสมาพันธรัฐศรีวิชัย-ราชวงศ์ไศเลนทร์
หลังจากราชาหรือดาโต๊ะธรรมเสตุแห่งราชวงศ์ศรีชัยนาศได้ร่วมมือกับราไคปนมกรณและเจ้าชายธรณินทราชาแห่งราชวงศ์ไศเลนทร์ได้ร่วมกันแผ่ขยายสมาพันธรัฐศรีวิชัยขึ้นมาปกครองเมืองไชยาซึ่งเมื่อขึ้นกับสมาพันธรัฐศรีวิชัยก็น่าจะมีชาวชวาและมลายูอพยพเข้ามาอยู่อาศัยโดยเฉพาะตอนสร้างพระบรมธาตุไชยา เจดีย์วัดแก้ว วัดหลง ซึ่งสังเกตได้จากพระบรมธาตุไชยา ซากเจดีย์วัดแก้ว วัดหลงที่มีลักษณะเป็นจันฑิแบบชวาบรรจุ พระพุทธรูปหรือเทวรูปซึ่งนักประวัติศาสตร์และโบราณคดีสมัยปัจจุบันเชื่อว่าสร้างไว้เป็นที่บวงสรวงกษัตริย์ผู้ล่วงลับหรือให้สาธารณชนกราบไหว้บูชาที่คาดว่าน่าจะสร้างขึ้นในระยะไล่เลี่ยกับบรมพุทโธในเกาะชวาประเทศอินโดนีเซีย มีความเป็นไปได้ว่าราไคปนมกรณ์สร้างเจดีย์ที่วัดแก้วและวัดหลงเนื่องจากคล้ายกับจันฑิกลาสานที่สร้างโดยราไคปนมกรณ์ที่เกาะชวาและเจ้าชายธรณินทราชาอาจจะสร้างพระบรมธาตุไชยาเนื่องจากคล้ายกับจันฑิปาวนที่เป็นอนุสรณ์ของมหาราชาศรีสงครามธนัญชัยหรือชื่อเดิมคือธรณินทราชา สถูปเหล่านี้อาจสร้างไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการพิชิตเมืองไชยาที่เป็นเมืองมอญโบราณมาก่อน โดยมีการสร้างพุทธศาสนสถานนิกายมหายานแบบศรีวิชัยขึ้นบนบริเวณพุทธศาสนสถานนิกายเถรวาทแบบทวารวดีที่ตั้งอยู่เดิม
ศิลปะไชยาในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 8 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 10 เป็นแบบอินเดียและชวาไชยาจึงเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญของสมาพันธรัฐศรีวิชัยในการติดต่อค้าขายและต้านทานการรุกรานจากอาณาจักรทางเหนือในแหลมมลายู เช่น ทวารวดี ละโว้ กัมพูชาพุกาม และละโว้-อโยธยาในยุคต่อๆมา เป็นต้น ไชยาจึงรับเอาพุทธศาสนานิกายมหายานตามแบบของสมาพันธรัฐศรีวิชัยเข้ามา จึงยุคที่พวกออสโตรเนเซียน (ชวา-มลายู-จาม) เข้าปกครองไชยามีการพบระฆังจีนที่ไชยา 1 ใบ คือ พบที่วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร วัดประสพ และวัดชมพูพนัสแต่ไม่ทราบว่าเป็นราชวงศ์ใด? [พิริยะ ไกรฤกษ์ พ.ศ.2523] เป็นยุคที่ไชยารุ่งเรืองที่สุดปราศจากศึกสงคราม ได้ทำการค้าขายกับกัมพูชา อาณาจักรต่างๆในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เกาะชวา อาณาจักรจามปา จีน และอินเดีย เป็นต้นเมืองไชยาที่อยู่ทางเหนือของสมาพันธรัฐศรีวิชัยฝั่งอ่าวไทยน่ามีความเกี่ยวข้องกับนครรัฐแถวลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและกัมพูชามากว่านครรัฐศรีวิชัยแห่งอื่นๆที่อยู่ทางใต้ลงไป
ต่อมาสมาพันธรัฐศรีวิชัยได้ขัดแย้งกับอาณาจักรโจฬะ พระเจ้าราเชนทราโจฬะที่ 1 จึงส่งกองทัพเรือเข้าโจมตีหลายเมืองของสมาพันธรัฐศรีวิชัย เช่น เคดาห์ (ไทรบุรี) ลังกาสุกะ ตามพรลิงค์ ตักโกละ (ตะกั่วป่า) เป็นต้นและเข้ายึดเมืองเคดาห์และจับมหาราชาศรีสงครามวิชโยตุงคะวรมันได้แล้วขังเอาไว้ในปี พ.ศ.1568 ราชวงศ์ไศเลนทร์ที่เคดาห์จึงอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรโจฬะตามจารึกโจฬะที่ตันชอร์ระบุไว้ และที่เขานารายณ์ตะกั่วป่ามีการค้นพบจารึกภาษาทมิฬบอกให้ทหารมานิกการามดูแล [ฐานข้อมูลศิลาจารึก ศูนย์มนุษย์วิทยาสิรินธร www.sac.or.th/databases/inscriptions] จึงสันนิษฐานว่าชาวศรีวิชัยจากเมืองต่างๆทางแหลมมลายูตอนใต้และเกาะสุมาตราได้หลบหนีพวกทมิฬโจฬะขึ้นมาอยู่ที่ไชยาและกัมพูชาเพราะจารึกโจฬะที่ระบุว่าได้โจมตีเมืองมายิรุดิงกัมที่ล้อมรอบด้วยน้ำลึกไม่น่าจะใช่ไชยาตามที่นักประวัติศาสตร์ต่างประเทศสันนิษฐานเอาไว้ พวกทมิฬโจฬะยังไม่สามารถปกครองไชยาซึ่งเป็นเมืองสำคัญของสมาพันธรัฐศรีวิชัยที่อยู่ทางเหนือ แต่อย่างไรก็ตามมีการค้นพบเทวรูปโจฬะที่วัดศาลาทึงในไชยา ก็อาจจะสันนิษฐานได้ว่ายังคงมีการติดต่อค้าขายกับเมืองอื่นๆที่อยู่ใต้อิทธิพลโจฬะอยู่หรือไม่ก็ต้องพึ่งพาราชวงศ์ไศเลนทร์และโจฬะในการติดต่อค้าขายกับจีนหลังจากอาณาจักรโจฬะเข้ามารุกรานศิลปะในไชยาช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 16 ถึง ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 19 เริ่มได้รับอิทธิพลจากศิลปะเขมรเพราะน่าจะติดต่อกับเขมรมากขึ้น
เอกสารอ้างอิง
ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์. 2523. ศิลปะทักษิณก่อนพุทธศตวรรษที่ 19. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
เว่ยเจิ้ง 魏徵. 2010 (636). พงศาวดารสุยชู้ 隋书 [ราชวงศ์สุย]. Ann Arbor: University of Michigan Library.
เมืองไชยามาจากคำว่า “คาฮะยา” ในภาษามลายูโบราณ เป็นเมืองสำคัญของสมาพันธรัฐศรีวิชัยทางตอนเหนือบนคาบสมุทรมลายู มีการขุดพบหลักฐานทางโบราณคดีมาตั้งแต่สมัยทวาราวดีซึ่งของเป็นพุทธศาสนานิกายเถรวาท แสดงว่าพวกออสโตรเอเชียติค (มอญ-เขมร) น่าจะเป็นชนกลุ่มแรกที่สร้างบ้านเรือนที่ไชยา ไชยาหรือครหิมีชื่อบันทึกในพงศาวดารสุยชู้ว่าว่าแก-ลา-หิ (加罗希เจี้ย-หลัว-ซี) ได้ส่งทูตไปจีนเมื่อ พ.ศ.1151 ในสมัยจักรพรรดิสุยหยางตี้ (พ.ศ.1148-1161) ไชยาน่าจะเคยเป็นชุมชนของพวกมอญในสมัยทวารวดีมาก่อนเพราะมีการค้นพบพระพุทธรูปสมัยทวาราวดีตามวัดโบราณต่าง ๆ ที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ดังนั้นจึงไม่ใช่เมืองปัน-ปัน ซึ่งในช่วงนี้น่าจะยังเป็นเมืองมอญอยู่แต่ก็อาจจะมีชาวมลายู เขมร จาม อินเดียเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานแล้ว เมืองนี้อาจจะเป็นอิสระจากอาณาจักรทวาราวดีในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อไชยามาขึ้นกับสมาพันธรัฐศรีวิชัยก็น่าจะมีชาวชวาและมลายูอพยพเข้ามาโดยเฉพาะตอนสร้างจันฑิวัดแก้ว วัดหลงและพระบรมธาตุไชยาในช่วงก่อนปี พ.ศ.1318 ชาวมอญ เขมรอาจจะเรียกเมืองไชยาว่าครหิ เมื่อสมาพันธรัฐศรีวิชัยเข้ามาปกครองแล้วจึงเปลี่ยนชื่อเมืองนี้เป็น คาฮะยา ศิลปะไชยาในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 8 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 10 เป็นแบบอินเดีย ส่วนศิลปะไชยาในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 10 ถึงช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 13 แบบมอญทวารวดีซึ่งเป็นแบบพุทธเถรวาทนั้น [พิริยะ ไกรฤกษ์ พ.ศ.2523] เป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่ามีชาวอินเดียเข้ามาตั้งถิ่นฐานก่อนที่พวกมอญจากทวารวดีทางตอนเหนือจะอพยพลงมา
ไชยาในสมัยสมาพันธรัฐศรีวิชัย-ราชวงศ์ไศเลนทร์
หลังจากราชาหรือดาโต๊ะธรรมเสตุแห่งราชวงศ์ศรีชัยนาศได้ร่วมมือกับราไคปนมกรณและเจ้าชายธรณินทราชาแห่งราชวงศ์ไศเลนทร์ได้ร่วมกันแผ่ขยายสมาพันธรัฐศรีวิชัยขึ้นมาปกครองเมืองไชยาซึ่งเมื่อขึ้นกับสมาพันธรัฐศรีวิชัยก็น่าจะมีชาวชวาและมลายูอพยพเข้ามาอยู่อาศัยโดยเฉพาะตอนสร้างพระบรมธาตุไชยา เจดีย์วัดแก้ว วัดหลง ซึ่งสังเกตได้จากพระบรมธาตุไชยา ซากเจดีย์วัดแก้ว วัดหลงที่มีลักษณะเป็นจันฑิแบบชวาบรรจุ พระพุทธรูปหรือเทวรูปซึ่งนักประวัติศาสตร์และโบราณคดีสมัยปัจจุบันเชื่อว่าสร้างไว้เป็นที่บวงสรวงกษัตริย์ผู้ล่วงลับหรือให้สาธารณชนกราบไหว้บูชาที่คาดว่าน่าจะสร้างขึ้นในระยะไล่เลี่ยกับบรมพุทโธในเกาะชวาประเทศอินโดนีเซีย มีความเป็นไปได้ว่าราไคปนมกรณ์สร้างเจดีย์ที่วัดแก้วและวัดหลงเนื่องจากคล้ายกับจันฑิกลาสานที่สร้างโดยราไคปนมกรณ์ที่เกาะชวาและเจ้าชายธรณินทราชาอาจจะสร้างพระบรมธาตุไชยาเนื่องจากคล้ายกับจันฑิปาวนที่เป็นอนุสรณ์ของมหาราชาศรีสงครามธนัญชัยหรือชื่อเดิมคือธรณินทราชา สถูปเหล่านี้อาจสร้างไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการพิชิตเมืองไชยาที่เป็นเมืองมอญโบราณมาก่อน โดยมีการสร้างพุทธศาสนสถานนิกายมหายานแบบศรีวิชัยขึ้นบนบริเวณพุทธศาสนสถานนิกายเถรวาทแบบทวารวดีที่ตั้งอยู่เดิม
ศิลปะไชยาในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 8 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 10 เป็นแบบอินเดียและชวาไชยาจึงเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญของสมาพันธรัฐศรีวิชัยในการติดต่อค้าขายและต้านทานการรุกรานจากอาณาจักรทางเหนือในแหลมมลายู เช่น ทวารวดี ละโว้ กัมพูชาพุกาม และละโว้-อโยธยาในยุคต่อๆมา เป็นต้น ไชยาจึงรับเอาพุทธศาสนานิกายมหายานตามแบบของสมาพันธรัฐศรีวิชัยเข้ามา จึงยุคที่พวกออสโตรเนเซียน (ชวา-มลายู-จาม) เข้าปกครองไชยามีการพบระฆังจีนที่ไชยา 1 ใบ คือ พบที่วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร วัดประสพ และวัดชมพูพนัสแต่ไม่ทราบว่าเป็นราชวงศ์ใด? [พิริยะ ไกรฤกษ์ พ.ศ.2523] เป็นยุคที่ไชยารุ่งเรืองที่สุดปราศจากศึกสงคราม ได้ทำการค้าขายกับกัมพูชา อาณาจักรต่างๆในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เกาะชวา อาณาจักรจามปา จีน และอินเดีย เป็นต้นเมืองไชยาที่อยู่ทางเหนือของสมาพันธรัฐศรีวิชัยฝั่งอ่าวไทยน่ามีความเกี่ยวข้องกับนครรัฐแถวลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและกัมพูชามากว่านครรัฐศรีวิชัยแห่งอื่นๆที่อยู่ทางใต้ลงไป
ต่อมาสมาพันธรัฐศรีวิชัยได้ขัดแย้งกับอาณาจักรโจฬะ พระเจ้าราเชนทราโจฬะที่ 1 จึงส่งกองทัพเรือเข้าโจมตีหลายเมืองของสมาพันธรัฐศรีวิชัย เช่น เคดาห์ (ไทรบุรี) ลังกาสุกะ ตามพรลิงค์ ตักโกละ (ตะกั่วป่า) เป็นต้นและเข้ายึดเมืองเคดาห์และจับมหาราชาศรีสงครามวิชโยตุงคะวรมันได้แล้วขังเอาไว้ในปี พ.ศ.1568 ราชวงศ์ไศเลนทร์ที่เคดาห์จึงอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรโจฬะตามจารึกโจฬะที่ตันชอร์ระบุไว้ และที่เขานารายณ์ตะกั่วป่ามีการค้นพบจารึกภาษาทมิฬบอกให้ทหารมานิกการามดูแล [ฐานข้อมูลศิลาจารึก ศูนย์มนุษย์วิทยาสิรินธร www.sac.or.th/databases/inscriptions] จึงสันนิษฐานว่าชาวศรีวิชัยจากเมืองต่างๆทางแหลมมลายูตอนใต้และเกาะสุมาตราได้หลบหนีพวกทมิฬโจฬะขึ้นมาอยู่ที่ไชยาและกัมพูชาเพราะจารึกโจฬะที่ระบุว่าได้โจมตีเมืองมายิรุดิงกัมที่ล้อมรอบด้วยน้ำลึกไม่น่าจะใช่ไชยาตามที่นักประวัติศาสตร์ต่างประเทศสันนิษฐานเอาไว้ พวกทมิฬโจฬะยังไม่สามารถปกครองไชยาซึ่งเป็นเมืองสำคัญของสมาพันธรัฐศรีวิชัยที่อยู่ทางเหนือ แต่อย่างไรก็ตามมีการค้นพบเทวรูปโจฬะที่วัดศาลาทึงในไชยา ก็อาจจะสันนิษฐานได้ว่ายังคงมีการติดต่อค้าขายกับเมืองอื่นๆที่อยู่ใต้อิทธิพลโจฬะอยู่หรือไม่ก็ต้องพึ่งพาราชวงศ์ไศเลนทร์และโจฬะในการติดต่อค้าขายกับจีนหลังจากอาณาจักรโจฬะเข้ามารุกรานศิลปะในไชยาช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 16 ถึง ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 19 เริ่มได้รับอิทธิพลจากศิลปะเขมรเพราะน่าจะติดต่อกับเขมรมากขึ้น
เอกสารอ้างอิง
ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์. 2523. ศิลปะทักษิณก่อนพุทธศตวรรษที่ 19. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
เว่ยเจิ้ง 魏徵. 2010 (636). พงศาวดารสุยชู้ 隋书 [ราชวงศ์สุย]. Ann Arbor: University of Michigan Library.