โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
เนื่องจากยังไม่ค้นพบจารึกที่ระบุพระนาม “ศรีธรรมโศกราช” ที่นครศรีธรรมราชที่เป็นหลักฐานชั้นต้นจึงจะเรียกราชวงศ์นี้ว่า “ปัทมวงศ์” ตำนานเมืองนครศรีธรรมราชที่มีเมือง 12 นักษัตร บอกว่าราวปี พ.ศ.1743 นครศรีธรรมราชปกครองแหลมมลายู ซึ่งขัดกับบันทึกจูฟ่านจื้อ พ.ศ.1768 และศิลาจารึกหลักที่ 24 ปี พ.ศ.1773 ที่น่าจะเป็นปีที่มหาราชาจันทรภาณุได้ก่อตั้งสมาพันธรัฐตามพรลิงค์โดยนำกลุ่มเมืองศรีวิชัยในแหลมมลายูแยกตัวออกจากสมาพันธรัฐศรีวิชัยพระองค์จึงได้ค้าขายกับจีนอีก มหาราชาจันทรภาณุ ศรีธรรมราชา (ประมาณพ.ศ.1773-1806) เป็นกษัตริย์ปัทมวงศ์ที่มีพระนามระบุในจารึกในไทย อินเดียใต้และในเอกสารหลายฉบับของลังกา [Cœdès 1968: 184]
พระองค์เห็นว่าสมาพันธรัฐศรีวิชัยที่เกาะสุมาตราอ่อนแอลงจึงแยกสมาพันธรัฐตามพรลิงค์เป็นอิสระและได้แผ่ขยายไปครอบครองหลายเมืองในแหลมมลายูโดยขับไล่อำนาจการปกครองของราชวงศ์เมาลิออกไปจารึกหลักที่ 24 (พ.ศ.1773) ภาษาเขมรเขียนด้วยอักษรกวิของชวาที่ค้นพบที่วัดหัวเวียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานีได้ระบุพระนามของมหาราชาจันทรภาณุเอาไว้โดยมีข้อความว่า "ศรีสวัสดิ พระเจ้าผู้ปกครองกรุงตามพรลิงค์ เป็นผู้อุปถัมภ์ตระกูลปัทมวงค์ พระหัตถ์ของพระองค์มีฤทธิ์มีอำนาจ ด้วยอนุภาพแห่งบุญกุศล ซึ่งพระองค์ได้กระทำแก่มนุษย์ทั้งปวง ทรงเดชานุภาพดุจพระอาทิตย์พระจันทร์และมีเกียรติอันเลื่องลือ ทรงพระนามจันทรภาณุศิริธรรมราช เมื่อกลียุค 4332" จากจารึกนี้แสดงว่ามหาราชาจันทรภาณุไม่ใช่พระอนุชาของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช” ตามประวัติจากหลักฐานตำนานเมืองนครศรีธรรมราชและตำนานพระธาตุนครศรีธรรมราชได้กล่าวไว้
เนื่องจากมหาราชาจันทรภาณุมีฐานะทางการเงินที่ดี มีกองทัพเรือที่เข้มแข็งและมีเครือข่ายทางการเมืองทั่วแหลมมลายู [วัณณสาส์น นุ่นสุข พ.ศ.2556] ในปีพ.ศ.1790 พระองค์จึงได้ยกทัพเรือจากแหลมมลายูโดยรวมพลในช่องแคบมะละกาที่เคดาห์ซึ่งสมาพันธรัฐศรีวิชัยไม่กล้าแทรกแซงไปบุกเกาะลังกาเพื่อเอาพระบรมสารีริกธาตุกลับมาที่เมืองตามพรลิงค์มาบรรจุไว้ในเจดีย์ จากหลักฐานใน คัมภีร์จุลวงศ์ ปูชาวลิยา หัตถะวนะกาละวิหารวงศ์และธัมปะเดนิ-อาสนะของลังกาและจารึกของราชวงศ์ปาณฑัย เช่น จารึกธิรุกปุนดุริกธิ (พ.ศ.1801) ที่ตันชอร์ และจารึกกุดุมิยามาลัย (พ.ศ.1807) ในอินเดียใต้ระบุชัดเจนว่าพระองค์เป็นหัวหน้าของพวกชวกะเพราะมาจากมลายูตามแบบที่คนอินเดียและเขมรเรียกได้ยกกองเรือโจรสลัดมาจากสมาพันธรัฐตามพรลิงค์โดยใช้ลูกศรอาบยาพิษเป็นอาวุธ ได้สู้รบกับพระเจ้าปรกรมพาหุที่ 2 (พ.ศ.1779-1813) กษัตริย์แห่งอาณาจักรธัมปะธนิยะของชาวสิงหลในลังกา ในการรบครั้งนี้พระองค์ได้รับความพ่ายแพ้แต่ก็หนีขึ้นไปทางเหนือไปสร้างอาณานิคมของสมาพันธรัฐตามพรลิงค์โดยแย่งจากมาฆะเพื่อปกครองชาวทมิฬอยู่ในคาบสมุทรจัฟนาในศรีลังกาและชินกาลมลินีของล้านนาก็ระบุถึงเหตุการณ์นี้ [Sirisena 1978; De Silva 1981] ตำนานเมืองนครศรีธรรมราชบอกว่าในปีพ.ศ.1799 ศิริธรรมนครส่งทูตไปลังกา (จันทรภาณุ) แต่ไม่มีหลักฐานอินเดียและลังกายืนยัน และบอกว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกแบ่งแดนกับพระเจ้าอู่ทองแต่หลักฐานจีนไม่ยืนยัน [สวัสดิ์ รัตนเสวี พ.ศ.2507]
ในปีพ.ศ.1798 มหาราชาจันทรภาณุสละบัลลังก์ที่ตามพรลิงค์ให้มหาราชาชวกะมหินทรที่เป็นพระราชโอรส จากจารึกธิรุกปุนดุริกธิ (พ.ศ.1801) พระเจ้าชฏาวรมันสุนทรปาณฑัยแห่งอาณาจักรปาณฑัยที่ทมิฬลักขัมเข้าโจมตีมหาราชาจันทรภาณุในปีพ.ศ.1801 และบังคับให้มหาราชาจันทรภาณุส่งบรรณาการเช่น พลอยและช้างให้กับอาณาจักรปาณฑัย ในช่วงที่สมาพันธรัฐตามพรลิงค์ปกครองจัฟนา ชวหะโกททัย และชวกะเชรีหมายถึงการตั้งถิ่นฐานของชาวชวกะ มหาราชาจันทรภาณุยกทัพบุกลงใต้อีกครั้งในปีพ.ศ.1805-1807 ซึ่งครั้งนี้ได้รับความช่วยเหลือจากชาวสิงหลและชาวทมิฬทั้งโจฬะและปาณฑัยซึ่งเป็นศัตรูกับอาณาจักรสิงหลมาแต่โบราณ โดยให้มหาราชาชวกะมหินทรยกทัพเรือมาจากสมาพันธรัฐตามพรลิงค์และเจ้าชายชาวสิงหล 2 คนเป็นแม่ทัพทำให้เจ้าชายชฏาวรมันวีรปาณฑัยพระอนุชาของพระเจ้าชฏาวรมันสุนทรปาณฑัยยกทัพเข้าช่วยกองทัพของพระเจ้าปรกรมพาหุที่ 2 แห่งอาณาจักรสิงหลจนทำให้กองทัพของมหาราชาจันทรภาณุถูกล้อมจนพระองค์สิ้นพระชนม์ลงในสนามรบในปีพ.ศ.1806 โดยหลักฐานจากลังกาและปาณทัยต่างอ้างว่าต่างฝ่ายสามารถปราบมหาราชาจันทรภาณุได้ตามลำพัง โดยคัมภีร์ปูชาวลิยาของลังกากล่าวว่าเจ้าชายวิชัยพาหุเสด็จเข้าเมืองโปโลนารุวะหลังจากชนะมหาราชาจันทรภาณุ ส่วนจารึกกุดุมิยามาลัย (พ.ศ.1807) กล่าวว่าเจ้าชายชฏาวรมันวีระปาณทัยได้สร้างเสาธงเพื่อระลึกถึงชัยชนะในครั้งนี้เอาไว้ที่วัดโกเณศวาราม เมืองโกณามลัย ตรีกูฏคิรีประเทศศรีลังกา [Sirisena 1978]
มหาราชาชวกะมหินทร (ประมาณพ.ศ.1798-1805 ที่นครศรีธรรมราชและพ.ศ.1805-1813 ที่จัฟนา ศรีลังกา) ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าจันทรภาณุได้ขึ้นครองราชย์ที่นครศรีธรรมราชตั้งแต่ปีพ.ศ.1798 หลังจากที่พระราชบิดาเสด็จไปอยู่ลังกาได้เสด็จยกกองทัพเรือมาช่วยพระราชบิดาทำสงครามตั้งแต่ปีพ.ศ.1805 หลังจากที่พระราชบิดาสิ้นพระชนม์พระองค์จึงยอมส่งบรรณาการให้พระเจ้าชฏาวรมันสุนทรปาณฑัยแห่งอาณาจักรปาณฑัยเพื่อขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ที่จัฟนาในปีพ.ศ.1806 ตามจารึกกุดุมิยามาลัย (พ.ศ.1807) [Sirisena 1978] มาร์โค โปโลเดินทางจากจีนในสมัยกุบไลข่าน (หยวนซื่อจู่ฮ่องเต้แห่งราชวงศ์หยวน) เพื่อกลับสู่อิตาลีได้แวะจอดที่ทริโคมาลีบนคาบสมุทรจัฟนาประมาณปี พ.ศ.1835 มาร์โค โปโลได้ยินเรื่องราวของพสกนิกรของมหาราชาชวกะมหินทรว่าเปลือยท่อนบน ทานข้าวและเนื้อ [Colbert 1997] ต่อมาพระองค์ไม่ได้ส่งบรรณาการให้อาณาจักรปาณฑัย จากนั้นในปีพ.ศ.1813 พระองค์ได้ยกทัพบุกลงใต้อีกครั้ง คราวนี้พระเจ้ามาระวรมันกุลเสขระปาณฑัยจึงได้ยกทัพเข้าแทรกแซงและทำสงครามกับพระองค์อยู่หลายปีจนพระองค์พ่ายแพ้หายสาบสูญไปไม่ผู้ใดทราบชะตากรรมของพระองค์ที่ได้ทิ้งสมาพันธรัฐตามพรลิงค์เอาไว้เบื้องหลัง เมื่ออาณาจักรปาณฑัยยึดจัฟนาได้แล้วจึงตั้งแม่ทัพชื่อกุลเสขระจินไคอะริยันเป็นกษัตริย์ปกครองจัฟนาเป็นราชวงศ์อาริยะจักรวารตีในปีพ.ศ.1820 [De Silva 1981] จึงสิ้นสุดการปกครองของราชวงศ์ปัทมวงศ์ในลังกา การที่มหาราชาจันทรภาณุและพระโอรสที่ครองเมืองตามพรลิงค์ได้เสด็จสู่เกาะลังกาเพื่อทำสงครามที่นั่นตามลำดับระหว่างปีพ.ศ.1790–พ.ศ.1820 ถือว่าเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์เอเชียและเอเชียตะวันตะวันออกเฉียงใต้ ที่อาณาจักรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยกทัพออกไปสู้รบในภูมิภาคอื่นหลังจากที่สมาพันธรัฐศรีวิชัยเคยส่งกองทัพเรือโจมตีเมืองควานบาลูของพวกสวาฮิลีในแอฟริกาตะวันออกบนเกาะเพมบาประเทศแทนซาเนียในปัจจุบันในปีพ.ศ.1047
เอกสารอ้างอิง
สวัสดิ์ รัตนเสวี. 2507. ตำนานพระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร.
วัณณสาสน์ นุ่นสุข. 2556. “ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับการกำเนิดอาณาจักรนครศรีธรรมราช.” วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 6 (6): 219–63.
Cœdès, George. 1968. The Indianized States of Southeast Asia. Edited by Walter F. Vella. Translated by Susan Brown Cowing. Honolulu, Hawaii: University of Hawaii Press.
Colbert, Benjamin. 1997. The Travel of Marco Polo. Classics of World Literature. Hertfordshire: Wordsworth.
De Silva, Kingsley Muthumuni. 1981. A History of Sri Lanka. Berkley, CA: University of California Press.
Sirisena, W. M. 1979. Sri Lanka and Southeast Asia to 1500. Leiden: E.J. Brill.
เนื่องจากยังไม่ค้นพบจารึกที่ระบุพระนาม “ศรีธรรมโศกราช” ที่นครศรีธรรมราชที่เป็นหลักฐานชั้นต้นจึงจะเรียกราชวงศ์นี้ว่า “ปัทมวงศ์” ตำนานเมืองนครศรีธรรมราชที่มีเมือง 12 นักษัตร บอกว่าราวปี พ.ศ.1743 นครศรีธรรมราชปกครองแหลมมลายู ซึ่งขัดกับบันทึกจูฟ่านจื้อ พ.ศ.1768 และศิลาจารึกหลักที่ 24 ปี พ.ศ.1773 ที่น่าจะเป็นปีที่มหาราชาจันทรภาณุได้ก่อตั้งสมาพันธรัฐตามพรลิงค์โดยนำกลุ่มเมืองศรีวิชัยในแหลมมลายูแยกตัวออกจากสมาพันธรัฐศรีวิชัยพระองค์จึงได้ค้าขายกับจีนอีก มหาราชาจันทรภาณุ ศรีธรรมราชา (ประมาณพ.ศ.1773-1806) เป็นกษัตริย์ปัทมวงศ์ที่มีพระนามระบุในจารึกในไทย อินเดียใต้และในเอกสารหลายฉบับของลังกา [Cœdès 1968: 184]
พระองค์เห็นว่าสมาพันธรัฐศรีวิชัยที่เกาะสุมาตราอ่อนแอลงจึงแยกสมาพันธรัฐตามพรลิงค์เป็นอิสระและได้แผ่ขยายไปครอบครองหลายเมืองในแหลมมลายูโดยขับไล่อำนาจการปกครองของราชวงศ์เมาลิออกไปจารึกหลักที่ 24 (พ.ศ.1773) ภาษาเขมรเขียนด้วยอักษรกวิของชวาที่ค้นพบที่วัดหัวเวียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานีได้ระบุพระนามของมหาราชาจันทรภาณุเอาไว้โดยมีข้อความว่า "ศรีสวัสดิ พระเจ้าผู้ปกครองกรุงตามพรลิงค์ เป็นผู้อุปถัมภ์ตระกูลปัทมวงค์ พระหัตถ์ของพระองค์มีฤทธิ์มีอำนาจ ด้วยอนุภาพแห่งบุญกุศล ซึ่งพระองค์ได้กระทำแก่มนุษย์ทั้งปวง ทรงเดชานุภาพดุจพระอาทิตย์พระจันทร์และมีเกียรติอันเลื่องลือ ทรงพระนามจันทรภาณุศิริธรรมราช เมื่อกลียุค 4332" จากจารึกนี้แสดงว่ามหาราชาจันทรภาณุไม่ใช่พระอนุชาของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช” ตามประวัติจากหลักฐานตำนานเมืองนครศรีธรรมราชและตำนานพระธาตุนครศรีธรรมราชได้กล่าวไว้
เนื่องจากมหาราชาจันทรภาณุมีฐานะทางการเงินที่ดี มีกองทัพเรือที่เข้มแข็งและมีเครือข่ายทางการเมืองทั่วแหลมมลายู [วัณณสาส์น นุ่นสุข พ.ศ.2556] ในปีพ.ศ.1790 พระองค์จึงได้ยกทัพเรือจากแหลมมลายูโดยรวมพลในช่องแคบมะละกาที่เคดาห์ซึ่งสมาพันธรัฐศรีวิชัยไม่กล้าแทรกแซงไปบุกเกาะลังกาเพื่อเอาพระบรมสารีริกธาตุกลับมาที่เมืองตามพรลิงค์มาบรรจุไว้ในเจดีย์ จากหลักฐานใน คัมภีร์จุลวงศ์ ปูชาวลิยา หัตถะวนะกาละวิหารวงศ์และธัมปะเดนิ-อาสนะของลังกาและจารึกของราชวงศ์ปาณฑัย เช่น จารึกธิรุกปุนดุริกธิ (พ.ศ.1801) ที่ตันชอร์ และจารึกกุดุมิยามาลัย (พ.ศ.1807) ในอินเดียใต้ระบุชัดเจนว่าพระองค์เป็นหัวหน้าของพวกชวกะเพราะมาจากมลายูตามแบบที่คนอินเดียและเขมรเรียกได้ยกกองเรือโจรสลัดมาจากสมาพันธรัฐตามพรลิงค์โดยใช้ลูกศรอาบยาพิษเป็นอาวุธ ได้สู้รบกับพระเจ้าปรกรมพาหุที่ 2 (พ.ศ.1779-1813) กษัตริย์แห่งอาณาจักรธัมปะธนิยะของชาวสิงหลในลังกา ในการรบครั้งนี้พระองค์ได้รับความพ่ายแพ้แต่ก็หนีขึ้นไปทางเหนือไปสร้างอาณานิคมของสมาพันธรัฐตามพรลิงค์โดยแย่งจากมาฆะเพื่อปกครองชาวทมิฬอยู่ในคาบสมุทรจัฟนาในศรีลังกาและชินกาลมลินีของล้านนาก็ระบุถึงเหตุการณ์นี้ [Sirisena 1978; De Silva 1981] ตำนานเมืองนครศรีธรรมราชบอกว่าในปีพ.ศ.1799 ศิริธรรมนครส่งทูตไปลังกา (จันทรภาณุ) แต่ไม่มีหลักฐานอินเดียและลังกายืนยัน และบอกว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกแบ่งแดนกับพระเจ้าอู่ทองแต่หลักฐานจีนไม่ยืนยัน [สวัสดิ์ รัตนเสวี พ.ศ.2507]
ในปีพ.ศ.1798 มหาราชาจันทรภาณุสละบัลลังก์ที่ตามพรลิงค์ให้มหาราชาชวกะมหินทรที่เป็นพระราชโอรส จากจารึกธิรุกปุนดุริกธิ (พ.ศ.1801) พระเจ้าชฏาวรมันสุนทรปาณฑัยแห่งอาณาจักรปาณฑัยที่ทมิฬลักขัมเข้าโจมตีมหาราชาจันทรภาณุในปีพ.ศ.1801 และบังคับให้มหาราชาจันทรภาณุส่งบรรณาการเช่น พลอยและช้างให้กับอาณาจักรปาณฑัย ในช่วงที่สมาพันธรัฐตามพรลิงค์ปกครองจัฟนา ชวหะโกททัย และชวกะเชรีหมายถึงการตั้งถิ่นฐานของชาวชวกะ มหาราชาจันทรภาณุยกทัพบุกลงใต้อีกครั้งในปีพ.ศ.1805-1807 ซึ่งครั้งนี้ได้รับความช่วยเหลือจากชาวสิงหลและชาวทมิฬทั้งโจฬะและปาณฑัยซึ่งเป็นศัตรูกับอาณาจักรสิงหลมาแต่โบราณ โดยให้มหาราชาชวกะมหินทรยกทัพเรือมาจากสมาพันธรัฐตามพรลิงค์และเจ้าชายชาวสิงหล 2 คนเป็นแม่ทัพทำให้เจ้าชายชฏาวรมันวีรปาณฑัยพระอนุชาของพระเจ้าชฏาวรมันสุนทรปาณฑัยยกทัพเข้าช่วยกองทัพของพระเจ้าปรกรมพาหุที่ 2 แห่งอาณาจักรสิงหลจนทำให้กองทัพของมหาราชาจันทรภาณุถูกล้อมจนพระองค์สิ้นพระชนม์ลงในสนามรบในปีพ.ศ.1806 โดยหลักฐานจากลังกาและปาณทัยต่างอ้างว่าต่างฝ่ายสามารถปราบมหาราชาจันทรภาณุได้ตามลำพัง โดยคัมภีร์ปูชาวลิยาของลังกากล่าวว่าเจ้าชายวิชัยพาหุเสด็จเข้าเมืองโปโลนารุวะหลังจากชนะมหาราชาจันทรภาณุ ส่วนจารึกกุดุมิยามาลัย (พ.ศ.1807) กล่าวว่าเจ้าชายชฏาวรมันวีระปาณทัยได้สร้างเสาธงเพื่อระลึกถึงชัยชนะในครั้งนี้เอาไว้ที่วัดโกเณศวาราม เมืองโกณามลัย ตรีกูฏคิรีประเทศศรีลังกา [Sirisena 1978]
มหาราชาชวกะมหินทร (ประมาณพ.ศ.1798-1805 ที่นครศรีธรรมราชและพ.ศ.1805-1813 ที่จัฟนา ศรีลังกา) ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าจันทรภาณุได้ขึ้นครองราชย์ที่นครศรีธรรมราชตั้งแต่ปีพ.ศ.1798 หลังจากที่พระราชบิดาเสด็จไปอยู่ลังกาได้เสด็จยกกองทัพเรือมาช่วยพระราชบิดาทำสงครามตั้งแต่ปีพ.ศ.1805 หลังจากที่พระราชบิดาสิ้นพระชนม์พระองค์จึงยอมส่งบรรณาการให้พระเจ้าชฏาวรมันสุนทรปาณฑัยแห่งอาณาจักรปาณฑัยเพื่อขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ที่จัฟนาในปีพ.ศ.1806 ตามจารึกกุดุมิยามาลัย (พ.ศ.1807) [Sirisena 1978] มาร์โค โปโลเดินทางจากจีนในสมัยกุบไลข่าน (หยวนซื่อจู่ฮ่องเต้แห่งราชวงศ์หยวน) เพื่อกลับสู่อิตาลีได้แวะจอดที่ทริโคมาลีบนคาบสมุทรจัฟนาประมาณปี พ.ศ.1835 มาร์โค โปโลได้ยินเรื่องราวของพสกนิกรของมหาราชาชวกะมหินทรว่าเปลือยท่อนบน ทานข้าวและเนื้อ [Colbert 1997] ต่อมาพระองค์ไม่ได้ส่งบรรณาการให้อาณาจักรปาณฑัย จากนั้นในปีพ.ศ.1813 พระองค์ได้ยกทัพบุกลงใต้อีกครั้ง คราวนี้พระเจ้ามาระวรมันกุลเสขระปาณฑัยจึงได้ยกทัพเข้าแทรกแซงและทำสงครามกับพระองค์อยู่หลายปีจนพระองค์พ่ายแพ้หายสาบสูญไปไม่ผู้ใดทราบชะตากรรมของพระองค์ที่ได้ทิ้งสมาพันธรัฐตามพรลิงค์เอาไว้เบื้องหลัง เมื่ออาณาจักรปาณฑัยยึดจัฟนาได้แล้วจึงตั้งแม่ทัพชื่อกุลเสขระจินไคอะริยันเป็นกษัตริย์ปกครองจัฟนาเป็นราชวงศ์อาริยะจักรวารตีในปีพ.ศ.1820 [De Silva 1981] จึงสิ้นสุดการปกครองของราชวงศ์ปัทมวงศ์ในลังกา การที่มหาราชาจันทรภาณุและพระโอรสที่ครองเมืองตามพรลิงค์ได้เสด็จสู่เกาะลังกาเพื่อทำสงครามที่นั่นตามลำดับระหว่างปีพ.ศ.1790–พ.ศ.1820 ถือว่าเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์เอเชียและเอเชียตะวันตะวันออกเฉียงใต้ ที่อาณาจักรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยกทัพออกไปสู้รบในภูมิภาคอื่นหลังจากที่สมาพันธรัฐศรีวิชัยเคยส่งกองทัพเรือโจมตีเมืองควานบาลูของพวกสวาฮิลีในแอฟริกาตะวันออกบนเกาะเพมบาประเทศแทนซาเนียในปัจจุบันในปีพ.ศ.1047
เอกสารอ้างอิง
สวัสดิ์ รัตนเสวี. 2507. ตำนานพระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร.
วัณณสาสน์ นุ่นสุข. 2556. “ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับการกำเนิดอาณาจักรนครศรีธรรมราช.” วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 6 (6): 219–63.
Cœdès, George. 1968. The Indianized States of Southeast Asia. Edited by Walter F. Vella. Translated by Susan Brown Cowing. Honolulu, Hawaii: University of Hawaii Press.
Colbert, Benjamin. 1997. The Travel of Marco Polo. Classics of World Literature. Hertfordshire: Wordsworth.
De Silva, Kingsley Muthumuni. 1981. A History of Sri Lanka. Berkley, CA: University of California Press.
Sirisena, W. M. 1979. Sri Lanka and Southeast Asia to 1500. Leiden: E.J. Brill.