โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
เมื่อราชวงศ์เมาลิแห่งเมืองจัมบิในเกาะสุมาตราก้าวขึ้นสู่อำนาจในสมาพันธ์รัฐศรีวิชัยแทนที่ราชวงศ์ไศเลนทร์แห่งเมืองเคดาห์ประมาณปี พ.ศ.1633 ราชวงศ์เมาลิอาจส่งเชื้อพระวงศ์หรือขุนนางชาวมลายูมาปกครองตามพรลิงค์แทนราชวงศ์ทา-ซิ่ว-กี่หรือทศกะที่มีความเกี่ยวดองกับราชวงศ์ไศเลนทร์ที่หมดอำนาจลงในสมาพันธรัฐศรีวิชัยหรืออาจจะให้ราชวงศ์เดิมปกครองต่อไป
มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าชาวตามพรลิงค์ได้เปลี่ยนจากการนับถือฮินดูและพุทธศาสนามหายานมาเป็นพุทธศาสนาเถรวาทเอกสารลังกาในสมัยพระเจ้าวิกรมพาหุที่ 1 (พ.ศ.1654-1675) กล่าวว่าตามพรลิงค์เป็นศูนย์กลางสำคัญของพุทธศาสนาและวรรณกรรมบาลี [Jacq-Hergoualc’h 2004] ดังนั้นประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 16 พุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์น่าจะเข้ามาสู่ตามพรลิงค์ได้เพราะโจฬะหมดอิทธิพลไปจากศรีลังกาและช่องแคบมะละกาแล้ว ทำให้การเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างศรีลังกากับศรีวิชัยไม่มีอุปสรรค เมืองอยู่ที่บริเวณหาดทรายแก้ว เมืองพระเวียง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เนื่องจากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชและตำนานพระธาตุนครศรีธรรมราช เขียนขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงขัดกับเอกสารจีนและศรีลังกาและศิลาจารึกท้องถิ่นพอสมควร
ในปี พ.ศ.1721-1723 มหาราชาศรีมัตตะไตรโลกยราชแห่งสมาพันธรัฐศรีวิชัยที่จัมบิ พระองค์อาจยกทัพขึ้นมาจากจัมบิในเกาะสุมาตราเข้ายึดตามพรลิงค์และไชยาเพื่อขยายอิทธิพลของสมาพันธรัฐศรีวิชัยขึ้นมาทางเหนือของแหลมมลายูอีกครั้ง ต่อมาจารึกธรรมราชกะ (พ.ศ.1739) ของพุกามกล่าวว่าพระเจ้านรปติสิทธุแห่งอาณาจักรพุกามได้รุกรานเมืองหลายแห่งในสมาพันธรัฐศรีวิชัยจนเข้าปกครองเมืองทวาย ตะนาวศรี ตักโกละ (ตะกั่วป่า) สาลันเคร (ถลางหรือภูเก็ตในปัจจุบัน) และศรีธรรมนคร (ตามพรลิงค์) พม่าอาจจะยกกองทัพมาถึงเมืองตามพรลิงค์ระหว่างปีพ.ศ.1739-1745 [ครองชัย หัตถา พ.ศ.2552ก] โดยมีหลักฐานทางโบราณคดีสนับสนุนคือจารึกภาษาพม่าและมอญโบราณที่วิหารโพธิ์ลังกา วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราชที่อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งใกล้เคียงกับที่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น เนื่องมีการขุดพบศิลปะเขมรแบบมหายานจำนวนมากที่นครศรีธรรมราชจึงสันนิษฐานได้ว่าตามพรลิงค์อาจอยู่ใต้อิทธิพลของกัมพูชาหรือไม่ก็มีชาวเขมรอพยพไปอยู่ที่นั่นเป็นจำนวนมากเพราะเมืองตามพรลิงค์ซึ่งอยู่ใกล้กับเขตอิทธิพลของกัมพูชาในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ.1724-1763)
單馬令, […] 國朝慶元二年,進金三埕、金傘一柄 [มหาวิทยาลัยนาโงย่า https://toyoshi.lit.nagoya-u.ac.jp/maruha/siryo/daoyizazhi.html]
單馬令,宋庆元间,进金五坛,金伞一柄 […]。[Chinese Text Project Ctext.org Yiyuzhi]
จากข้อความข้างบนในหมวดเต้าอี้จาจื้อในสารานุกรมสือหลินกว๊างจี๊ในปีพ.ศ.1813 และเอกสารอี้หยูจื้อ (异域志) ซึ่งโจวจื๋อจงเขียนในสมัยราชวงศ์หยวน กล่าวว่าเมืองตามพรลิงค์ส่งทูตไปเข้าเฝ้าจักรพรรดิซ่งหนิงจง (宋寧宗 พ.ศ.1737-1767) ในศักราชชิงหยวน (พ.ศ.1738-1743) โดยถวายทองคำ 3 ไหและฉัตรทองคำให้จักรพรรดิซ่งหนิงจงในปีพ.ศ.1739 [Fukami 2006; Lin & Zhang 1998: 63; Suzuki 2012; Wade 2004] ซึ่งเอกสารทั้ง 2 ฉบับนี้ยืนยันการส่งบรรณาการครั้งสุดท้ายของตามพรลิงค์ไปจีนก่อนที่จะกลับไปขึ้นกับศรีวิชัยอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเมืองตามพรลิงค์อาจต้องการแสดงความเป็นอิสระจากราชวงศ์เมาลิที่เกาะสุมาตราหรือกัมพูชาหรือให้จีนคุ้มครองจากการรุกรานของอาณาจักรพุกาม ไวแอ็ตเชื่อว่าตามพรลิงค์อาจเป็นเมืองขึ้นของลังกาหรือพุกามโดยพระเจ้านรปติสิทธุปกครองตามพรลิงค์ตามข้อตกลงกับกษัตริย์ลังกา [Jacq-Hergoualc’h 2004] แต่น่าจะเป็นการรุกรานของพุกามระหว่างปีพ.ศ.1739-1745 ที่ทำให้ตามพรลิงค์ต้องเจริญสัมพันธไมตรีกับจีนในครั้งนี้ และอาจทำให้เมืองตามพรลิงค์ต้องขอความช่วยเหลือจากเมืองอื่นๆในสมาพันธรัฐศรีวิชัยไม่ว่าจะเป็นในแหลมมลายูหรือเกาะสุมาตรา หรืออาจจะต้องขอความช่วยเหลือจากชวาดังที่ปรากฏในตำนานพังพระกาฬที่เคยกล่าวว่ากองทัพเรือชวารุกรานเมืองตามพรลิงค์ซึ่งอาจหมายความว่ากองทัพนี้ยกมาช่วยเมืองตามพรลิงค์ขับไล่ทหารพม่าออกไปก็เป็นได้ หลังจากขับไล่อาณาจักรพุกามออกไปในปีพ.ศ.1745 แล้วเมืองตามพรลิงค์กลับไปขึ้นกับสมาพันธรัฐศรีวิชัย
ตามพรลิงค์ในเอกสารจูฟ่านจื้อพ.ศ.1768
單馬令國,地主呼為相公。以木柵為城,廣六、七尺,高二丈餘;上堪征戰。國人乘牛,打鬃跣足。屋舍官場用木、民居用竹,障以葉、繫以藤。土產黃蠟、降真香、速香、烏樠木、腦子、象牙、犀角。番商用絹傘、雨傘、荷池、纈絹、酒、米、鹽、糖、甆器、盆缽粗重等物及用金銀為盤盂博易。日囉亭、潛邁拔沓、加囉希類此。本國以所得金銀器糾集日囉亭等國類聚獻入三佛齊國。[Chinese text project ctext.org]
ตามพรลิงค์มีเจ้าผู้ครองนครเรียกว่า ซย่างกง (相公) ล้อมรอบไปด้วยกำแพงไม้หนา 6 ถึง 7 ฟุตและสูง 20 ฟุต แข็งแรงพอที่จะขึ้นไปต่อสู้ข้างบนได้ ประชาชนขี่ควาย ไว้ผมมวยข้างหลังและเดินเท้าเปล่า ข้าราชการอยู่บ้านไม้ ประชาชนอยู่กระท่อมไม้ไผ่ กั้นด้วยใบไม้และผูกกับเสาบ้านด้วยหวาย เมืองนี้ผลิตขี้ผึ้ง ไม้จันทน์ (เนื้อแข็ง) ไม้กฤษณา ไม้มะเกลือ การบูร งาช้างและนอแรด พ่อค้าต่างชาติแลกเปลี่ยนสินค้าด้วยฉัตรแพรไหม ร่ม ผ้าแพรย้อมลายดอกไม้เล็กๆ (ปะเต๊ะ) เหล้าข้าว ข้าว เกลือ น้ำตาล เครื่องกระเบื้องเคลือบ อ่างและชาม และสินค้าขนาดใหญ่อื่นๆ จานทองและเงิน ยิตลาเท้ง (เชราติง) เจียมแม ปวดดบและครหิ โดยรวบรวมเงินทองจากยิตลาเท้งและเมืองอื่นๆส่งบรรณาการให้ศรีวิชัย เฮิร์ทและร็อคฮิลล์เชื่อว่า เซี่ยงกงหมายถึงมนตรี หยางป๋อ เหวินบรรณาธิการจูฟ่านจื้อภาษาจีนตีพิมพ์เมื่อปีพ.ศ.2528 เชื่อว่ามาจากภาษาเขมร สังกุรุงมาจากกุรุงที่แปลว่า กษัตริย์ อาจจะเป็นชื่อกษัตริย์ก็ได้ [Zhao Rukua 2022 (1225)]
เอกสารอ้างอิง
ครองชัย หัตถา พ.ศ.2552ก. ประวัติศาสตร์ปัตตานี สมัยอาณาจักรโบราณถึงการปกครอง 7 หัวเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Fukami Sumio 深見純生. 2006. “The Rise of Tambralinga and the Southeast Asian Commercial Boom in the Thirteenth Century.” In XIV International Econimic History Congress, Session 72 , 1–14. Helsinki.
Jacq-Hergoualc'h, Michel 2004. “La Péninsule malaise au Lournant du XIIIe siècle.” Aséanie, Sciences humaines en Asie du Sud-Est 14: 11-27.
Lin Yuanhui 林远辉and Zhang Yinglong 张应龙1998. Zhongwen Gujide Malaixiya Ziliaohuibian中文古籍中的马来西亚资料汇编. Kuala Lumpur: Gabungan Pertubuhan Cina Malaysia.
Suzuki Takashi 铃木峻. 2012. The History of Srivijaya under the Tributary Trade System of China. Tokyo: Mekong.
Wade, Geoff. 2004. “From Chaiya to Pahang', In Daniel Perret, Ammarâ Sîsuchât, Sombûn Thanasuk eds. Études sur l'histoire du sultanat de Patani, 37-78. Paris: EFEO
Zhao Rukuo 赵汝适. 2022 (1225). A Chinese Gazetteer of Foreign Lands: A New Translation of Part 1 of the Zhufanzhi 诸蕃志. Translated by Shao-yun Yang楊劭允. https://storymaps.arcgis.com/stories/39bce63e4e0642d3abce6c24db470760
เมื่อราชวงศ์เมาลิแห่งเมืองจัมบิในเกาะสุมาตราก้าวขึ้นสู่อำนาจในสมาพันธ์รัฐศรีวิชัยแทนที่ราชวงศ์ไศเลนทร์แห่งเมืองเคดาห์ประมาณปี พ.ศ.1633 ราชวงศ์เมาลิอาจส่งเชื้อพระวงศ์หรือขุนนางชาวมลายูมาปกครองตามพรลิงค์แทนราชวงศ์ทา-ซิ่ว-กี่หรือทศกะที่มีความเกี่ยวดองกับราชวงศ์ไศเลนทร์ที่หมดอำนาจลงในสมาพันธรัฐศรีวิชัยหรืออาจจะให้ราชวงศ์เดิมปกครองต่อไป
มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าชาวตามพรลิงค์ได้เปลี่ยนจากการนับถือฮินดูและพุทธศาสนามหายานมาเป็นพุทธศาสนาเถรวาทเอกสารลังกาในสมัยพระเจ้าวิกรมพาหุที่ 1 (พ.ศ.1654-1675) กล่าวว่าตามพรลิงค์เป็นศูนย์กลางสำคัญของพุทธศาสนาและวรรณกรรมบาลี [Jacq-Hergoualc’h 2004] ดังนั้นประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 16 พุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์น่าจะเข้ามาสู่ตามพรลิงค์ได้เพราะโจฬะหมดอิทธิพลไปจากศรีลังกาและช่องแคบมะละกาแล้ว ทำให้การเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างศรีลังกากับศรีวิชัยไม่มีอุปสรรค เมืองอยู่ที่บริเวณหาดทรายแก้ว เมืองพระเวียง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เนื่องจากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชและตำนานพระธาตุนครศรีธรรมราช เขียนขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงขัดกับเอกสารจีนและศรีลังกาและศิลาจารึกท้องถิ่นพอสมควร
ในปี พ.ศ.1721-1723 มหาราชาศรีมัตตะไตรโลกยราชแห่งสมาพันธรัฐศรีวิชัยที่จัมบิ พระองค์อาจยกทัพขึ้นมาจากจัมบิในเกาะสุมาตราเข้ายึดตามพรลิงค์และไชยาเพื่อขยายอิทธิพลของสมาพันธรัฐศรีวิชัยขึ้นมาทางเหนือของแหลมมลายูอีกครั้ง ต่อมาจารึกธรรมราชกะ (พ.ศ.1739) ของพุกามกล่าวว่าพระเจ้านรปติสิทธุแห่งอาณาจักรพุกามได้รุกรานเมืองหลายแห่งในสมาพันธรัฐศรีวิชัยจนเข้าปกครองเมืองทวาย ตะนาวศรี ตักโกละ (ตะกั่วป่า) สาลันเคร (ถลางหรือภูเก็ตในปัจจุบัน) และศรีธรรมนคร (ตามพรลิงค์) พม่าอาจจะยกกองทัพมาถึงเมืองตามพรลิงค์ระหว่างปีพ.ศ.1739-1745 [ครองชัย หัตถา พ.ศ.2552ก] โดยมีหลักฐานทางโบราณคดีสนับสนุนคือจารึกภาษาพม่าและมอญโบราณที่วิหารโพธิ์ลังกา วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราชที่อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งใกล้เคียงกับที่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น เนื่องมีการขุดพบศิลปะเขมรแบบมหายานจำนวนมากที่นครศรีธรรมราชจึงสันนิษฐานได้ว่าตามพรลิงค์อาจอยู่ใต้อิทธิพลของกัมพูชาหรือไม่ก็มีชาวเขมรอพยพไปอยู่ที่นั่นเป็นจำนวนมากเพราะเมืองตามพรลิงค์ซึ่งอยู่ใกล้กับเขตอิทธิพลของกัมพูชาในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ.1724-1763)
單馬令, […] 國朝慶元二年,進金三埕、金傘一柄 [มหาวิทยาลัยนาโงย่า https://toyoshi.lit.nagoya-u.ac.jp/maruha/siryo/daoyizazhi.html]
單馬令,宋庆元间,进金五坛,金伞一柄 […]。[Chinese Text Project Ctext.org Yiyuzhi]
จากข้อความข้างบนในหมวดเต้าอี้จาจื้อในสารานุกรมสือหลินกว๊างจี๊ในปีพ.ศ.1813 และเอกสารอี้หยูจื้อ (异域志) ซึ่งโจวจื๋อจงเขียนในสมัยราชวงศ์หยวน กล่าวว่าเมืองตามพรลิงค์ส่งทูตไปเข้าเฝ้าจักรพรรดิซ่งหนิงจง (宋寧宗 พ.ศ.1737-1767) ในศักราชชิงหยวน (พ.ศ.1738-1743) โดยถวายทองคำ 3 ไหและฉัตรทองคำให้จักรพรรดิซ่งหนิงจงในปีพ.ศ.1739 [Fukami 2006; Lin & Zhang 1998: 63; Suzuki 2012; Wade 2004] ซึ่งเอกสารทั้ง 2 ฉบับนี้ยืนยันการส่งบรรณาการครั้งสุดท้ายของตามพรลิงค์ไปจีนก่อนที่จะกลับไปขึ้นกับศรีวิชัยอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเมืองตามพรลิงค์อาจต้องการแสดงความเป็นอิสระจากราชวงศ์เมาลิที่เกาะสุมาตราหรือกัมพูชาหรือให้จีนคุ้มครองจากการรุกรานของอาณาจักรพุกาม ไวแอ็ตเชื่อว่าตามพรลิงค์อาจเป็นเมืองขึ้นของลังกาหรือพุกามโดยพระเจ้านรปติสิทธุปกครองตามพรลิงค์ตามข้อตกลงกับกษัตริย์ลังกา [Jacq-Hergoualc’h 2004] แต่น่าจะเป็นการรุกรานของพุกามระหว่างปีพ.ศ.1739-1745 ที่ทำให้ตามพรลิงค์ต้องเจริญสัมพันธไมตรีกับจีนในครั้งนี้ และอาจทำให้เมืองตามพรลิงค์ต้องขอความช่วยเหลือจากเมืองอื่นๆในสมาพันธรัฐศรีวิชัยไม่ว่าจะเป็นในแหลมมลายูหรือเกาะสุมาตรา หรืออาจจะต้องขอความช่วยเหลือจากชวาดังที่ปรากฏในตำนานพังพระกาฬที่เคยกล่าวว่ากองทัพเรือชวารุกรานเมืองตามพรลิงค์ซึ่งอาจหมายความว่ากองทัพนี้ยกมาช่วยเมืองตามพรลิงค์ขับไล่ทหารพม่าออกไปก็เป็นได้ หลังจากขับไล่อาณาจักรพุกามออกไปในปีพ.ศ.1745 แล้วเมืองตามพรลิงค์กลับไปขึ้นกับสมาพันธรัฐศรีวิชัย
ตามพรลิงค์ในเอกสารจูฟ่านจื้อพ.ศ.1768
單馬令國,地主呼為相公。以木柵為城,廣六、七尺,高二丈餘;上堪征戰。國人乘牛,打鬃跣足。屋舍官場用木、民居用竹,障以葉、繫以藤。土產黃蠟、降真香、速香、烏樠木、腦子、象牙、犀角。番商用絹傘、雨傘、荷池、纈絹、酒、米、鹽、糖、甆器、盆缽粗重等物及用金銀為盤盂博易。日囉亭、潛邁拔沓、加囉希類此。本國以所得金銀器糾集日囉亭等國類聚獻入三佛齊國。[Chinese text project ctext.org]
ตามพรลิงค์มีเจ้าผู้ครองนครเรียกว่า ซย่างกง (相公) ล้อมรอบไปด้วยกำแพงไม้หนา 6 ถึง 7 ฟุตและสูง 20 ฟุต แข็งแรงพอที่จะขึ้นไปต่อสู้ข้างบนได้ ประชาชนขี่ควาย ไว้ผมมวยข้างหลังและเดินเท้าเปล่า ข้าราชการอยู่บ้านไม้ ประชาชนอยู่กระท่อมไม้ไผ่ กั้นด้วยใบไม้และผูกกับเสาบ้านด้วยหวาย เมืองนี้ผลิตขี้ผึ้ง ไม้จันทน์ (เนื้อแข็ง) ไม้กฤษณา ไม้มะเกลือ การบูร งาช้างและนอแรด พ่อค้าต่างชาติแลกเปลี่ยนสินค้าด้วยฉัตรแพรไหม ร่ม ผ้าแพรย้อมลายดอกไม้เล็กๆ (ปะเต๊ะ) เหล้าข้าว ข้าว เกลือ น้ำตาล เครื่องกระเบื้องเคลือบ อ่างและชาม และสินค้าขนาดใหญ่อื่นๆ จานทองและเงิน ยิตลาเท้ง (เชราติง) เจียมแม ปวดดบและครหิ โดยรวบรวมเงินทองจากยิตลาเท้งและเมืองอื่นๆส่งบรรณาการให้ศรีวิชัย เฮิร์ทและร็อคฮิลล์เชื่อว่า เซี่ยงกงหมายถึงมนตรี หยางป๋อ เหวินบรรณาธิการจูฟ่านจื้อภาษาจีนตีพิมพ์เมื่อปีพ.ศ.2528 เชื่อว่ามาจากภาษาเขมร สังกุรุงมาจากกุรุงที่แปลว่า กษัตริย์ อาจจะเป็นชื่อกษัตริย์ก็ได้ [Zhao Rukua 2022 (1225)]
เอกสารอ้างอิง
ครองชัย หัตถา พ.ศ.2552ก. ประวัติศาสตร์ปัตตานี สมัยอาณาจักรโบราณถึงการปกครอง 7 หัวเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Fukami Sumio 深見純生. 2006. “The Rise of Tambralinga and the Southeast Asian Commercial Boom in the Thirteenth Century.” In XIV International Econimic History Congress, Session 72 , 1–14. Helsinki.
Jacq-Hergoualc'h, Michel 2004. “La Péninsule malaise au Lournant du XIIIe siècle.” Aséanie, Sciences humaines en Asie du Sud-Est 14: 11-27.
Lin Yuanhui 林远辉and Zhang Yinglong 张应龙1998. Zhongwen Gujide Malaixiya Ziliaohuibian中文古籍中的马来西亚资料汇编. Kuala Lumpur: Gabungan Pertubuhan Cina Malaysia.
Suzuki Takashi 铃木峻. 2012. The History of Srivijaya under the Tributary Trade System of China. Tokyo: Mekong.
Wade, Geoff. 2004. “From Chaiya to Pahang', In Daniel Perret, Ammarâ Sîsuchât, Sombûn Thanasuk eds. Études sur l'histoire du sultanat de Patani, 37-78. Paris: EFEO
Zhao Rukuo 赵汝适. 2022 (1225). A Chinese Gazetteer of Foreign Lands: A New Translation of Part 1 of the Zhufanzhi 诸蕃志. Translated by Shao-yun Yang楊劭允. https://storymaps.arcgis.com/stories/39bce63e4e0642d3abce6c24db470760