โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่าเมืองตามพรลิงค์เป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดแหลมมลายูในจ.นครศรีธรรมราชในปัจจุบัน โดยก่อตั้งในราวพุทธศตวรรษที่ 11 มีการพบแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ 3 บริเวณใน จ.นครศรีธรรมราช คือ.สิชล อ.ท่าศาลา และอ.เมืองที่มีลำน้ำขนาดใหญ่ไหลผ่านจากภูเขาลงสู่ทะเล โดยตามลำดับความสำคัญแล้วลดหลั่นจาก อ.เมือง อ.สิชล และอ.ท่าศาลาตามลำดับ ที่ อ.ท่าศาลามีร่องร่อยการเปลี่ยนจากฮินดูไปเป็นพุทธมหายานและเถรวาทซึ่งใกล้ชิดกับปัทมวงศ์และนครศรีธรรมราช พบหลักหิน ซากพระเจดีย์ เทวสถาน ศิวลึงค์ โยนี พระพุทธรูปปูนปั้น และเศษภาชนะดินเผาที่วัดโมคลาน ซึ่งเป็นแหล่งโบราณสถานที่สำคัญที่ตั้งอยู่บนสันทรายที่ทอดมาจากเขต อ.สิชล ซึ่งบริเวณวัดนี้เป็นศาสนสถานทั้งฮินดู พุทธศาสนามหายานและเถรวาท มีสถาปัตยกรรมที่มีโครงสร้างคล้ายกับที่อนุราธปุระที่ศรีลังกา มีกรุพระพิมพ์พุทธมหายาน มีเทวสถานฮินดูที่วัดร้างตุมปัง ศิวลึงค์และพระคเณศที่วัดดอนไตร พระพิมพ์และพระพุทธรูปสมัยทวารวดีที่วัดมเหยงค์ กรุพระที่วัดหมาย ใบเสมาศิลาแลงวัดเขาน้อย หม้อดินสามขาที่บ้านปากลง ซากเทวสถานฮินดูที่วัดหน้าเขาวัง พระศิวะจากหินทรายที่บ้านทุ่งพัน บ้านนาเพรง ส่วนใหญ่เป็นฮินดู [กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2542]
ในจ.นครศรีธรรมราชอันเป็นสถานที่ตั้งตามพรลิงค์ มีโบราณสถานและโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากแบ่งเป็นระยะต่างๆดังนี้ สมัยก่อนศรีวิชัยการค้นพบพระวิษณุที่ ต.นาสาร อ.พระพรหมประมาณพุทธศตวรรษที่ 10-11-12 การค้นพบพระศรีอริยเมตไตรยประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-13 สมัยศรีวิชัย-ไศเลนทร์ โบราณวัตถุจากกว่างตงสมัยราชวงศ์ถังที่สิชลประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-15 โบราณวัตถุสมัยพุทธศตวรรษที่ 14 ที่ อ. สิชล การค้นพบจานเคลือบมณฑล เจ๋อเจียงสมัยพุทธศตวรรษที่ 14 ยุคศรีวิชัย ที่ ต.ท่าเรือ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โบราณสถานสิชล สมัยศรีวิชัยใต้อิทธิพลโจฬะ โบราณวัตถุของโจฬะทมิฬประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-17 ที่โบสถ์ร้างพระเวียง เทวรูปปารวตีและนาฏราช เทวาลัยโบสถ์พราหมณ์ ศิลปะโจฬะ พบพระพุทธรูป พระพิมพ์สมัยพุทธศตวรรษที่ 16-17 ที่อ.ท่าศาลา สมัยศรีวิชัยตอนปลายพบกุณฑีและโบราณวัตถุพุทธมหายานประมาณพุทธศตวรรษที่ 17-18 สมัยตามพรลิงค์ โบราณวัตถุประมาณพุทธศตวรรษที่ 18-19 ที่คลองท่าเรือ ต.ท่าเรือ อ.เมืองและที่วัดนางตรา โบราณวัตถุสมัยมหาราชาจันทรภาณุที่โพธิ์ลังกา ประมาณปี พ.ศ.1775-1825เป็นต้น ซึ่งแสดงถึงพัฒนาการของเมืองตามพรลิงค์
ดร.วัณณสาสน์ นุ่นสุข (พ.ศ.2559) ศึกษาเรื่องพัฒนาการของเมืองนครศรีธรรมราชออกเป็น 2 ระยะคือตามพรลิงค์ตอนต้นระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11 ถึง 16 ซึ่งมีหลักฐานว่าเป็นฮินดูมากกว่าพุทธศาสนาและตามพรลิงค์ตอนปลายระหว่างพุทธศตวรรษที่ 17-19 ซึ่งเป็นยุคของพุทธศาสนาแบบเถรวาท โดยแบ่งเขตเป็นเขตเทือกเขา เขตที่ราบน้ำท่วมถึงและเขตชายฝั่งทะเล มีการเดินทางข้ามสมุทรซึ่งไม่น่าจะใช้ชาวออสโตรเนเซียนหรือศรีวิชัย น่าจะเริ่มมีพัฒนาการจากพื้นที่ตอนกลางของอำเภอสิชล รหว่างคลองท่าเขียว คลองท่าควายและคลองท่าทน มีโบราณสถานเขาคา ตามพรลิงค์และนครศรีธรรมราชแตกต่างกันทางสังคมและวัฒนธรรมแต่เชื่อมโยงกัน แต่ในบทความนี้จะแบ่งเป็น 7 ระยะ 1) สมัยก่อนศรีวิชัย 2) สมัยราชวงศ์ไศเลนทร์ 3) สมัยราชวงศ์เมาลิ 4) สมัยราชวงศ์ปัทมวงศ์ 5) สมัยเปลี่ยนผ่านจากตามพรลิงค์เป็นนครศรีธรรมราช 6) สมัยเป็นพันธมิตรกับสุโขทัยและ 7) สมัยที่เป็นอิสระก่อนขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา ฌาคส์ เอกูเอล เชื่อว่าตามพรลิงค์ส่งทูตไปจีนเป็นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ส่งในปีพ.ศ.1544 แต่หลักฐานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่าตามพรลิงค์เป็นเมืองที่มีมานานก่อนราชวงศ์ซ่งและอาจเคยส่งบรรณาการไปจีนในชื่ออื่น ในพุทธศตวรรษที่ 17 อาจจะเป็นเมืองขึ้นของพุกามหรือศรีลังกาก็ได้แต่ในพุทธศตวรรษที่ 18 ตามพรลิงค์เป็นอิสระและบุกศรีลังกา [Reynolds 2019: 74-75] และกลายเป็นนครศรีธรรมราชพันธมิตรของสุโขทัย [Jacq-Hergoual’ch 2002: 489; 2004]
สมัยก่อนพ.ศ.1318
ในราวพุทธศตวรรษที่ 7-8 มีชื่อตามาลิ (Tamali) เป็นภาษาบาลีปรากฏขึ้น และพ่อค้าอินเดียเดินทางมาหาสินค้าที่หายาก [วัณณสาสน์ นุ่นสุข พ.ศ.2559] ตามพรลิงค์หรือตัว-บัว-ติง (堕婆澄ตั่ว-โผ-เฉิง) ถูกบันทึกในไท่ผิงหยู่หลัน (太平御览) เล่มที่ 788 จิ่วถังชู้ (旧唐书) เล่มที่ 197 และซินถังชู้ (新唐书) เล่มที่ 222 ตามพรลิงค์ส่งทูตไปจีนในปีพ.ศ.1190 ในสมัยจักรพรรดิถังไท่จง (唐太宗พ.ศ.1169-1192) และเป็นเมืองบริวารของรักตมฤติกา ซึ่งมีเมืองบริวารหลายเมือง จากหลักฐานทางโบราณคดีเมืองนี้น่าจะตั้งอยู่ในบริเวณ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ก่อนที่จะย้ายไปบริเวณ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราชในสมัยราชวงศ์ซ่ง ตัว-บัว-ติงอาจจะเป็นชื่อตามพรลิงค์ในเอกสารจีนก่อนที่ศรีวิชัยจะเข้ายึดเมืองนี้ในปีพ.ศ.1318 จิ่วถังชู้เล่มที่ 197 และและซินถังชู้เล่มที่ 222 กล่าวว่าเมืองนี้ทางตะวันออกติดกับกลิงคะในชวาและมีประเพณีคล้ายคลึงกับเกาะชวา จึงทำให้นักวิชาการหลายท่านสันนิษฐานว่าเมืองนี้อยู่บนเกาะชวา แต่การสุยชู้กล่าวว่าเมืองนี้เป็นเมืองบริวารของรักตมฤติกา เมืองนี้จึงน่าจะอยู่บนแหลมมลายูใกล้ๆรักตมฤติกาที่อยู่ใกล้ทะเลสาบสงขลา และชื่อในภาษาจีนยุคกลางก็ใกล้เคียงกับตามพรลิงค์จึงน่าจะเป็นตามพรลิงค์ในยุคก่อนราชวงศ์ซ่งมากกว่า
ซิลแวง เลวีนักอินเดียวิทยาชาวฝรั่งเศสสันนิษฐานว่ามีชื่อตามพรลิงค์อยู่ในคัมภีร์บาลีมหานิเทศในช่วงพุทธศตวรรษที่ 7-8 [Levi 1928] แต่นักวิชาการมาเลเซียและอินโดนีเซียหลายท่านเชื่อว่าตามพรลิงค์เป็นนครรัฐมลายูโบราณแต่ซูซูกิ ไวแอต มิคซิคและฮิดายาติและฮูริยะห์เห็นว่าไม่ใช่ [Suzuki 2012; Wyatt 2004; Miksic 2010; Hidayati & Huriyah 2021] แต่นักวิชาการไทยส่วนใหญ่เชื่อว่าชาวอินเดียเป็นผู้ก่อตั้งเมืองตามพรลิงค์โดยแรกเริ่มอยู่แถวอ.สิชล จ.นครศรีธรรมราชซึ่งเป็นช่วงที่ชาวอินเดียอพยพมาอยู่ที่แหลมมลายู เกาะสุมาตรา บอร์เนียว หมู่เกาะทะเลใต้อื่นๆ จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่าอาณาจักรตามพรลิงค์เป็นนครรัฐที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่บนแหลมมลายูในเขตประเทศไทยปัจจุบัน โดยก่อตั้งในราวประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 โดยสันนิษฐานว่าผู้ก่อตั้งนครรัฐนี้อาจเป็นพราหมณ์ที่อพยพมาจากอินเดียมาตั้งถิ่นฐานในบริเวณอ.สิชล จ.นครศรีธรรมราชในปัจจุบัน เนื่องจากมีค้นพบโบราณสถานและโบราณวัตถุของฮินดูเป็นจำนวนมาก เช่น จารึกศาสนาพราหมณ์ในหุบเขาช่องคอยซึ่งเป็นร่องรอยของการตั้งถิ่นฐานนักวิชาการไทยจึงสันนิษฐานว่าในช่วงแรกตามพรลิงค์น่าจะเป็นนครรัฐฮินดู แล้วอาจจะมีชาวมอญ (ออสโตรเอเชียติก) อพยพมาจากบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีกลุ่มนครรัฐทวารวดีโบราณเข้ามาตั้งถิ่นฐานสมทบภายหลัง เนื่องจากมีการพบจารึกภาษามอญโบราณที่มีอายุเก่าแก่กว่าจารึกหลักที่ 23 (พ.ศ.1318) จำนวน 2-3 หลักที่วัดพระบรมธาตุในนครศรีธรรมราช และจารึกภาษาสันสกฤตสมัยตามพรลิงค์ที่นครศรีธรรมราชตั้งแต่พ.ศ.1043-1143 โดยมีตัวอักษรใกล้เคียงกับจารึกสุดท้ายของฟูนันประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 12 [ศรีศักร วัลลิโภดม พ.ศ.2562; วลัยลักษณ์ ทรงศิริ พ.ศ.2562; Miksic 2010] ในพุทธศตวรรษที่ 12 มีพราหมณ์ฮินดูอยู่มากแต่ก็อาจจะมีชาวมลายู เขมรและจามเริ่มอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเพราะเมืองตามพรลิงค์อยู่ใกล้กับเมืองแถวลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและกัมพูชามากว่าเมืองอื่นๆที่อยู่ทางใต้ลงไป ล่าสุดมีการค้นพบเมืองโบราณในจังหวัดนครศรีธรรมราชอีกอาจจะเป็นเมืองที่อยู่ในบันทึกของจีนก็เป็นได้
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2542. คณะกรรมการฝ่ายประมวลผลเอกสารและจดหมายเหตุในคระกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ. 2542. “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น: ความเป็นมาของอำเภอสำคัญในประวัติศาสตร์ภาคใต้.” รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.
ดร.วัณณสาสน์ นุ่นสุข. 2559. พัฒนาการของบ้านเมืองบนหาดทรายแก้วนครศรีธรรมราชจากหลักฐานทางโบราณคดี. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ไทม์พริ้นติ้ง.
วลัยลักษณ์ ทรงศิริ พ.ศ.2562. “ฮินดูในรัฐตามพรลิงค์.” เมืองโบราณ 45 (3): 28–39.
ศรีศักร วัลลิโภดม. พ.ศ.2562. “รัฐตามพรลิงค์.” เมืองโบราณ 45 (3): 20–27.
Hidayati, N, and Huriyah. 2021. Manusia Indonesia: Alam and Sejarahnya. Edited by Ngalimun. Yogyakarta: Penerbit K-Media.
Jacq-Hergoualc’h, Michel. 2002. The Malay Peninsula: Crossroads of the Maritime Silkroad: 100BC-1300AD. Leiden: E J Brill.
Meekanon, Keatkhamjorn. 2023. Srivijaya Routes: The Greatest Trade Network in Ancient Southeast Asia. Pattaya: White Lotus.
Miksic, Norman Miksic. 2010. The A-Z of Ancient Southeast Asia. Lanham, MD: Scarecrow Press.
Reynolds, Craig J. 2019. Power, Protection and Magic in Thailand: The Cosmos of a Southern Policeman. Canberra: ANU Press.
Suzuki Takashi 铃木峻. 2012. The History of Srivijaya under the Tributary Trade System of China. Tokyo: Mekong.
Wade, Geoff. 2004. “From Chaiya to Pahang', In Études sur l'histoire du sultanat de Patani by D. Perret et al., 37-78. Paris: EFEO
Wolters, Oliver Williams. 2002. “Tambralinga.” In Classical Civilization of Southeast Asia by Vladimir Braginsky, 84–105. London: RoutledgeCurzon.
Wyatt, David K. 2004. Thailand: A Short History. 2nd ed. Chiang Mai: Silkworm.
จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่าเมืองตามพรลิงค์เป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดแหลมมลายูในจ.นครศรีธรรมราชในปัจจุบัน โดยก่อตั้งในราวพุทธศตวรรษที่ 11 มีการพบแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ 3 บริเวณใน จ.นครศรีธรรมราช คือ.สิชล อ.ท่าศาลา และอ.เมืองที่มีลำน้ำขนาดใหญ่ไหลผ่านจากภูเขาลงสู่ทะเล โดยตามลำดับความสำคัญแล้วลดหลั่นจาก อ.เมือง อ.สิชล และอ.ท่าศาลาตามลำดับ ที่ อ.ท่าศาลามีร่องร่อยการเปลี่ยนจากฮินดูไปเป็นพุทธมหายานและเถรวาทซึ่งใกล้ชิดกับปัทมวงศ์และนครศรีธรรมราช พบหลักหิน ซากพระเจดีย์ เทวสถาน ศิวลึงค์ โยนี พระพุทธรูปปูนปั้น และเศษภาชนะดินเผาที่วัดโมคลาน ซึ่งเป็นแหล่งโบราณสถานที่สำคัญที่ตั้งอยู่บนสันทรายที่ทอดมาจากเขต อ.สิชล ซึ่งบริเวณวัดนี้เป็นศาสนสถานทั้งฮินดู พุทธศาสนามหายานและเถรวาท มีสถาปัตยกรรมที่มีโครงสร้างคล้ายกับที่อนุราธปุระที่ศรีลังกา มีกรุพระพิมพ์พุทธมหายาน มีเทวสถานฮินดูที่วัดร้างตุมปัง ศิวลึงค์และพระคเณศที่วัดดอนไตร พระพิมพ์และพระพุทธรูปสมัยทวารวดีที่วัดมเหยงค์ กรุพระที่วัดหมาย ใบเสมาศิลาแลงวัดเขาน้อย หม้อดินสามขาที่บ้านปากลง ซากเทวสถานฮินดูที่วัดหน้าเขาวัง พระศิวะจากหินทรายที่บ้านทุ่งพัน บ้านนาเพรง ส่วนใหญ่เป็นฮินดู [กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2542]
ในจ.นครศรีธรรมราชอันเป็นสถานที่ตั้งตามพรลิงค์ มีโบราณสถานและโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากแบ่งเป็นระยะต่างๆดังนี้ สมัยก่อนศรีวิชัยการค้นพบพระวิษณุที่ ต.นาสาร อ.พระพรหมประมาณพุทธศตวรรษที่ 10-11-12 การค้นพบพระศรีอริยเมตไตรยประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-13 สมัยศรีวิชัย-ไศเลนทร์ โบราณวัตถุจากกว่างตงสมัยราชวงศ์ถังที่สิชลประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-15 โบราณวัตถุสมัยพุทธศตวรรษที่ 14 ที่ อ. สิชล การค้นพบจานเคลือบมณฑล เจ๋อเจียงสมัยพุทธศตวรรษที่ 14 ยุคศรีวิชัย ที่ ต.ท่าเรือ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โบราณสถานสิชล สมัยศรีวิชัยใต้อิทธิพลโจฬะ โบราณวัตถุของโจฬะทมิฬประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-17 ที่โบสถ์ร้างพระเวียง เทวรูปปารวตีและนาฏราช เทวาลัยโบสถ์พราหมณ์ ศิลปะโจฬะ พบพระพุทธรูป พระพิมพ์สมัยพุทธศตวรรษที่ 16-17 ที่อ.ท่าศาลา สมัยศรีวิชัยตอนปลายพบกุณฑีและโบราณวัตถุพุทธมหายานประมาณพุทธศตวรรษที่ 17-18 สมัยตามพรลิงค์ โบราณวัตถุประมาณพุทธศตวรรษที่ 18-19 ที่คลองท่าเรือ ต.ท่าเรือ อ.เมืองและที่วัดนางตรา โบราณวัตถุสมัยมหาราชาจันทรภาณุที่โพธิ์ลังกา ประมาณปี พ.ศ.1775-1825เป็นต้น ซึ่งแสดงถึงพัฒนาการของเมืองตามพรลิงค์
ดร.วัณณสาสน์ นุ่นสุข (พ.ศ.2559) ศึกษาเรื่องพัฒนาการของเมืองนครศรีธรรมราชออกเป็น 2 ระยะคือตามพรลิงค์ตอนต้นระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11 ถึง 16 ซึ่งมีหลักฐานว่าเป็นฮินดูมากกว่าพุทธศาสนาและตามพรลิงค์ตอนปลายระหว่างพุทธศตวรรษที่ 17-19 ซึ่งเป็นยุคของพุทธศาสนาแบบเถรวาท โดยแบ่งเขตเป็นเขตเทือกเขา เขตที่ราบน้ำท่วมถึงและเขตชายฝั่งทะเล มีการเดินทางข้ามสมุทรซึ่งไม่น่าจะใช้ชาวออสโตรเนเซียนหรือศรีวิชัย น่าจะเริ่มมีพัฒนาการจากพื้นที่ตอนกลางของอำเภอสิชล รหว่างคลองท่าเขียว คลองท่าควายและคลองท่าทน มีโบราณสถานเขาคา ตามพรลิงค์และนครศรีธรรมราชแตกต่างกันทางสังคมและวัฒนธรรมแต่เชื่อมโยงกัน แต่ในบทความนี้จะแบ่งเป็น 7 ระยะ 1) สมัยก่อนศรีวิชัย 2) สมัยราชวงศ์ไศเลนทร์ 3) สมัยราชวงศ์เมาลิ 4) สมัยราชวงศ์ปัทมวงศ์ 5) สมัยเปลี่ยนผ่านจากตามพรลิงค์เป็นนครศรีธรรมราช 6) สมัยเป็นพันธมิตรกับสุโขทัยและ 7) สมัยที่เป็นอิสระก่อนขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา ฌาคส์ เอกูเอล เชื่อว่าตามพรลิงค์ส่งทูตไปจีนเป็นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ส่งในปีพ.ศ.1544 แต่หลักฐานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่าตามพรลิงค์เป็นเมืองที่มีมานานก่อนราชวงศ์ซ่งและอาจเคยส่งบรรณาการไปจีนในชื่ออื่น ในพุทธศตวรรษที่ 17 อาจจะเป็นเมืองขึ้นของพุกามหรือศรีลังกาก็ได้แต่ในพุทธศตวรรษที่ 18 ตามพรลิงค์เป็นอิสระและบุกศรีลังกา [Reynolds 2019: 74-75] และกลายเป็นนครศรีธรรมราชพันธมิตรของสุโขทัย [Jacq-Hergoual’ch 2002: 489; 2004]
สมัยก่อนพ.ศ.1318
ในราวพุทธศตวรรษที่ 7-8 มีชื่อตามาลิ (Tamali) เป็นภาษาบาลีปรากฏขึ้น และพ่อค้าอินเดียเดินทางมาหาสินค้าที่หายาก [วัณณสาสน์ นุ่นสุข พ.ศ.2559] ตามพรลิงค์หรือตัว-บัว-ติง (堕婆澄ตั่ว-โผ-เฉิง) ถูกบันทึกในไท่ผิงหยู่หลัน (太平御览) เล่มที่ 788 จิ่วถังชู้ (旧唐书) เล่มที่ 197 และซินถังชู้ (新唐书) เล่มที่ 222 ตามพรลิงค์ส่งทูตไปจีนในปีพ.ศ.1190 ในสมัยจักรพรรดิถังไท่จง (唐太宗พ.ศ.1169-1192) และเป็นเมืองบริวารของรักตมฤติกา ซึ่งมีเมืองบริวารหลายเมือง จากหลักฐานทางโบราณคดีเมืองนี้น่าจะตั้งอยู่ในบริเวณ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ก่อนที่จะย้ายไปบริเวณ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราชในสมัยราชวงศ์ซ่ง ตัว-บัว-ติงอาจจะเป็นชื่อตามพรลิงค์ในเอกสารจีนก่อนที่ศรีวิชัยจะเข้ายึดเมืองนี้ในปีพ.ศ.1318 จิ่วถังชู้เล่มที่ 197 และและซินถังชู้เล่มที่ 222 กล่าวว่าเมืองนี้ทางตะวันออกติดกับกลิงคะในชวาและมีประเพณีคล้ายคลึงกับเกาะชวา จึงทำให้นักวิชาการหลายท่านสันนิษฐานว่าเมืองนี้อยู่บนเกาะชวา แต่การสุยชู้กล่าวว่าเมืองนี้เป็นเมืองบริวารของรักตมฤติกา เมืองนี้จึงน่าจะอยู่บนแหลมมลายูใกล้ๆรักตมฤติกาที่อยู่ใกล้ทะเลสาบสงขลา และชื่อในภาษาจีนยุคกลางก็ใกล้เคียงกับตามพรลิงค์จึงน่าจะเป็นตามพรลิงค์ในยุคก่อนราชวงศ์ซ่งมากกว่า
ซิลแวง เลวีนักอินเดียวิทยาชาวฝรั่งเศสสันนิษฐานว่ามีชื่อตามพรลิงค์อยู่ในคัมภีร์บาลีมหานิเทศในช่วงพุทธศตวรรษที่ 7-8 [Levi 1928] แต่นักวิชาการมาเลเซียและอินโดนีเซียหลายท่านเชื่อว่าตามพรลิงค์เป็นนครรัฐมลายูโบราณแต่ซูซูกิ ไวแอต มิคซิคและฮิดายาติและฮูริยะห์เห็นว่าไม่ใช่ [Suzuki 2012; Wyatt 2004; Miksic 2010; Hidayati & Huriyah 2021] แต่นักวิชาการไทยส่วนใหญ่เชื่อว่าชาวอินเดียเป็นผู้ก่อตั้งเมืองตามพรลิงค์โดยแรกเริ่มอยู่แถวอ.สิชล จ.นครศรีธรรมราชซึ่งเป็นช่วงที่ชาวอินเดียอพยพมาอยู่ที่แหลมมลายู เกาะสุมาตรา บอร์เนียว หมู่เกาะทะเลใต้อื่นๆ จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่าอาณาจักรตามพรลิงค์เป็นนครรัฐที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่บนแหลมมลายูในเขตประเทศไทยปัจจุบัน โดยก่อตั้งในราวประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 โดยสันนิษฐานว่าผู้ก่อตั้งนครรัฐนี้อาจเป็นพราหมณ์ที่อพยพมาจากอินเดียมาตั้งถิ่นฐานในบริเวณอ.สิชล จ.นครศรีธรรมราชในปัจจุบัน เนื่องจากมีค้นพบโบราณสถานและโบราณวัตถุของฮินดูเป็นจำนวนมาก เช่น จารึกศาสนาพราหมณ์ในหุบเขาช่องคอยซึ่งเป็นร่องรอยของการตั้งถิ่นฐานนักวิชาการไทยจึงสันนิษฐานว่าในช่วงแรกตามพรลิงค์น่าจะเป็นนครรัฐฮินดู แล้วอาจจะมีชาวมอญ (ออสโตรเอเชียติก) อพยพมาจากบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีกลุ่มนครรัฐทวารวดีโบราณเข้ามาตั้งถิ่นฐานสมทบภายหลัง เนื่องจากมีการพบจารึกภาษามอญโบราณที่มีอายุเก่าแก่กว่าจารึกหลักที่ 23 (พ.ศ.1318) จำนวน 2-3 หลักที่วัดพระบรมธาตุในนครศรีธรรมราช และจารึกภาษาสันสกฤตสมัยตามพรลิงค์ที่นครศรีธรรมราชตั้งแต่พ.ศ.1043-1143 โดยมีตัวอักษรใกล้เคียงกับจารึกสุดท้ายของฟูนันประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 12 [ศรีศักร วัลลิโภดม พ.ศ.2562; วลัยลักษณ์ ทรงศิริ พ.ศ.2562; Miksic 2010] ในพุทธศตวรรษที่ 12 มีพราหมณ์ฮินดูอยู่มากแต่ก็อาจจะมีชาวมลายู เขมรและจามเริ่มอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเพราะเมืองตามพรลิงค์อยู่ใกล้กับเมืองแถวลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและกัมพูชามากว่าเมืองอื่นๆที่อยู่ทางใต้ลงไป ล่าสุดมีการค้นพบเมืองโบราณในจังหวัดนครศรีธรรมราชอีกอาจจะเป็นเมืองที่อยู่ในบันทึกของจีนก็เป็นได้
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2542. คณะกรรมการฝ่ายประมวลผลเอกสารและจดหมายเหตุในคระกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ. 2542. “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น: ความเป็นมาของอำเภอสำคัญในประวัติศาสตร์ภาคใต้.” รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.
ดร.วัณณสาสน์ นุ่นสุข. 2559. พัฒนาการของบ้านเมืองบนหาดทรายแก้วนครศรีธรรมราชจากหลักฐานทางโบราณคดี. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ไทม์พริ้นติ้ง.
วลัยลักษณ์ ทรงศิริ พ.ศ.2562. “ฮินดูในรัฐตามพรลิงค์.” เมืองโบราณ 45 (3): 28–39.
ศรีศักร วัลลิโภดม. พ.ศ.2562. “รัฐตามพรลิงค์.” เมืองโบราณ 45 (3): 20–27.
Hidayati, N, and Huriyah. 2021. Manusia Indonesia: Alam and Sejarahnya. Edited by Ngalimun. Yogyakarta: Penerbit K-Media.
Jacq-Hergoualc’h, Michel. 2002. The Malay Peninsula: Crossroads of the Maritime Silkroad: 100BC-1300AD. Leiden: E J Brill.
Meekanon, Keatkhamjorn. 2023. Srivijaya Routes: The Greatest Trade Network in Ancient Southeast Asia. Pattaya: White Lotus.
Miksic, Norman Miksic. 2010. The A-Z of Ancient Southeast Asia. Lanham, MD: Scarecrow Press.
Reynolds, Craig J. 2019. Power, Protection and Magic in Thailand: The Cosmos of a Southern Policeman. Canberra: ANU Press.
Suzuki Takashi 铃木峻. 2012. The History of Srivijaya under the Tributary Trade System of China. Tokyo: Mekong.
Wade, Geoff. 2004. “From Chaiya to Pahang', In Études sur l'histoire du sultanat de Patani by D. Perret et al., 37-78. Paris: EFEO
Wolters, Oliver Williams. 2002. “Tambralinga.” In Classical Civilization of Southeast Asia by Vladimir Braginsky, 84–105. London: RoutledgeCurzon.
Wyatt, David K. 2004. Thailand: A Short History. 2nd ed. Chiang Mai: Silkworm.