โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
โตเม่ ปิรึช [Pires 2017 (1512-1515)] กล่าวว่าประมาณปีพ.ศ.1973 กษัตริย์มะละกาแต่งงานกับพระธิดาของสุลต่านสมุทรา-ปาไซ แล้วหันมานับถือศาสนาอิสลามในปีพ.ศ.1979 เพื่อเป็นพันธมิตรคุ้มครองจากการรุกรานของกรุงศรีอยุธยาและเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่ศาสนาอิสลามในภูมิภาคนี้ มะละกามีแม่น้ำมูอาร์ไหลสู่แม่น้ำปาหัง ผ่านเปนาริกัน (Penarikan) ถึงอุลูปาหัง (Ulu Pahang) และอุลูกลันตัน (Ulu Kelantan) ทางกรุงศรีอยุธยามองการเปลี่ยนศาสนาในมะละกาในปีพ.ศ.1979 ว่าเป็นเรื่องใหญ่และขอลำดับการสืบสันติวงศ์จากมะละกา กรุงศรีอยุธยาต้องการยึดสาส์นตราตั้งกษัตริย์มะละการวมทั้งคำหับลัญฉกรจากราชวงศ์หมิงเพื่ออ้างว่ามะละกาเป็นประเทศราชเช่นเดียวกับมัชปาหิตที่ต้องการยึดของเหล่านี้จากศรีวิชัยและบรูไนเพื่ออ้างว่าเป็นประเทศราชของตน หลังจากที่ราชวงศ์หมิงไม่สามารถคุ้มครองมะละกาได้จึงเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม [Wolters 1970] จึงทำให้ค้าขายกับรัฐอิสลามในอินเดียและตะวันออกกลางจนมั่งคั่งสามารถรบชนะกรุงศรีอยุธยาและขยายอิทธิพลขึ้นมาในแหลมมลายูได้ในที่สุด
วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.1981 กรุงศรีอยุธยามีเรื่องกับจามปาโดยจับทูตจามปาที่เดินทางไปสมุทรา-ปาไซ [กรมศิลปากร พ.ศ.2564: 68] ต่อมาในปีพ.ศ.1988 พงศาวดารมลายูกล่าวว่าสมเด็จพระเจ้าสามพระยาส่งสาส์นไปมะละกาให้มาเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาแต่สุลต่านมุซซัพฟาร์ (พ.ศ.1989-พ.ศ.2002) ปฏิเสธ ในปีพ.ศ.1989 สมเด็จพระเจ้าสามพระยาจึงส่งกองทัพกรุงศรีอยุธยาข้ามแหลมมลายูมาจากปาหังแล้วปะทะกับกองทัพมะละกาที่ใกล้เมืองมูอาร์แต่พ่ายแพ้กลับไปบุกยึดมะละกาไม่สำเร็จโดยมะละกาขอความช่วยเหลือจากเปรัก [Marrison 1949: 61-63] เนื่องจากจารึกซูโรดากัน พ.ศ.1990 ของมัชปาหิตบอกว่าทูมาสิก (อุหยงตะนะ) ขึ้นกับมัชปาหิต [Miksic 2013] ทำให้กองทัพเรือกรุงศรีอยุธยาต้องขึ้นบกที่ปาหังไม่สามารถอ้อมทูมาสิกได้ กรุงศรีอยุธยามักให้เชื้อพระวงศ์แต่งงานกับโอรสธิดาของกษัตริย์ปาหัง ปัตตานี ทูมาสิก เคดาห์และเซลังงอร์ที่ผลิตดีบุก [Baker & Phongpaichit 2022]
ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ (พ.ศ.1991-2031) ในปีพ.ศ.1994 กรุงศรีอยุธยาเริ่มทำสงครามกับล้านนา และพระองค์ได้ออกกฎมณเทียรบาลพ.ศ.2001 โดยจัดลำดับศักดินาเมืองระบุว่านครศรีธรรมราชเป็น 1 ใน 8 เมืองพระยามหานครของกรุงศรีอยุธยา เป็นการผนวกนครศรีธรรมราชเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยาถือว่าสิ้นสุดอาณาจักรตามพรลิงค์ที่สืบต่อจนมาเป็นนครศรีธรรมราชและกล่าวว่าอุยงตะนะ (ทูมาสิก) มะละกา มลายู (จัมบิ) วรวารี (ในเกาะสุมาตรา?) เป็นเมืองขึ้นของอยุธยา ในปีพ.ศ.1998 มะละกาไม่ส่งบรรณาการมาให้กรุงศรีอยุธยาทำให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถส่งกองทัพเรืออยุธยาอ้อมสิงคโปร์มาปะทะกับกองทัพเรือมะละกานอกชายฝั่งบาตูปาหัต (Hewn Stone) พงศาวดารมลายูกล่าวว่าตนเประออกอุบายใช้คบเพลิงผูกไว้กับต้นไม้ตามชายฝั่งทำให้ดูว่ากองทัพเรือมะละกามีจำนวนมากจนกองทัพเรืออยุธยาหนีไป ในความเป็นจริงแล้วมะละกาน่าจะมีอาวุธที่เหนือกว่ากรุงศรีอยุธยาเช่นปืนใหญ่และอาจจะมีปืนคาบศิลา เพราะมะละการู้วิธีการหล่อปืนใหญ่ก่อนกรุงศรีอยุธยาจากจีนหรือชวา
กรุงศรีอยุธยาน่าจะเริ่มรู้จักอาวุธปืนไฟหลังจากสงครามกับล้านนาหลายปีเนื่องจากหลังจากสงครามนี้ล้านนาได้ทำสงครามกับอาณาจักรไดเวียดที่ใช้อาวุธปืนไฟ แต่สุลต่านมุฬัฟฟาร์ ชาห์เห็นว่ากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองใหญ่มีกองทัพเข้มแข็งจึงส่งคณะทูตนำโดยบุตรชายของบันดาหราไปฟื้นไมตรีกับอยุธยาในปีพ.ศ.1999 พงศาวดารมลายูกล่าวว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถทรงตรัสเรียกสุลต่านว่าออกญา ตำนานเจ้าเมืองกอตอกล่าวว่าเจ้าเมืองโกตามะห์ลิฆัย (Kota Mahligai) เดินทางไปมะละกาเพื่อเข้าเฝ้าสุลต่านมุฬัฟฟาร์ ชาห์หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาพ่ายแพ้มะละกาในสงครามครั้งนี้ [Bougas 2004] ในปีพ.ศ.2001 หลังจากสุลต่านมุซัฟฟาร์สิ้นพระชนม์ชีพลง สุลต่านมันซูร์ ชาห์ (พ.ศ.2002-พ.ศ.2020) ขึ้นครองราชย์ต่อมา ในปีพ.ศ.2002 มะละกาส่งทูตไปจีนและได้แผ่ขยายอิทธิพลไปยังเกาะสุมาตรา เช่น กัมปาร์ อินทราคีรีและซีอก เนื่องจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ (พ.ศ.1984-2030) ติดศึกสงครามกับล้านนาที่ต่อเนื่องมาจากพ.ศ.1994 ยืดเยื้อกว่า 20 ปี จนยุติลงในปีพ.ศ.2018 หลังจากที่พระองค์ตีเชลียงคืนได้ การตั้งรับศึกที่พิษณุโลกและทุ่มเทกับสงครามกับล้านนาทำให้สูญสิ้นทรัพยากรและกำลังพลไปเป็นจำนวนมากทำให้กรุงศรีอยุธยาจึงไม่สามารถรับศึกหลายด้านได้ เมื่อเวียดนามตีจามปาแตกในปีพ.ศ.2014 ชาวมุสลิมจามจึงได้อพยพเข้ามาอยู่ในแหลมมลายูเป็นจำนวนมาก ทำให้มะละกามีความเจริญถึงขีดสุด [Munro-Hay 2001] มะละกาจึงฉวยโอกาสยึดเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาไปได้หลายเมือง ช่วงนี้เป็นช่วงที่มัชปาหิตอ่อนแอลงและแตกแยกไม่สามารถที่จะแผ่อิทธิพลเข้ามาในแหลมมลายูได้อีก
พงศาวดารมลายูกล่าวว่ากองทัพมะละกาบุกปาหังจับกษัตริย์ปาหังที่เป็นพระญาติกับกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาและพรรคพวกขังเอาไว้ โตเม่ ปิรึช [Pires 2017(1512-1515)] กล่าวว่าสุลต่านมันซูร์ ชาห์อภิเษกกับธิดากษัตริย์ปาหัง และกษัตริย์ปาหังอภิเษกกับพระกนิษฐาของสุลต่านมันซูร์ ชาห์แล้วเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งอาจจะเป็นช่วงที่ปัตตานีเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม และสุลต่านมาห์มูด ชาห์ (พ.ศ.2024-พ.ศ.2054) ยึดเคดาห์จากกรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ.2031 และนำราชาแห่งเบรวส (Beruas) ไปมะละกา เพื่อแต่งตั้งเป็นกษัตริย์ ตามปกติแล้วกรุงศรีอยุธยาปกครองมลายูผ่านนครศรีธรรมราชแต่การให้นครศรีธรรมราชทำสงครามชิงหัวเมืองมลายูกลับคืนมาตามลำพังในช่วงที่มะละกาเข้มแข็งเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก โตเม่ ปิรึช [Pires 2017(1512-1515)] กล่าวว่าประมาณปีพ.ศ.2040-2044 ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พ.ศ.2034-2072) มอบหมายให้มหาเทวาสุสะ (สุระ) แห่งนครศรีธรรมราชยกกองทัพไปโจมตีปาหังซึ่งเป็นสงครามครั้งสุดท้ายระหว่างกรุงศรีอยุธยากับมะละกา สุลต่านมาห์มูด ชาห์ (พ.ศ.2031-2054) แห่งมะละกายกกองทัพมาช่วยปาหังรบชนะมหาราชาเทวาสุระจนแตกพ่ายไปหนีขึ้นไปกลันตันและเดินทางกลับนครศรีธรรมราช [ครองชัย หัตถา พ.ศ.2552ข; Munro-Hay 2001] ในจดหมายของรุย ดึ บริตุ (Rui de Brito) จากมะละกาถึงอบูแกร์กลงวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2057 กล่าวว่ากรุงศรีอยุธยาไม่ได้ติดต่อกับมะละกามาหลายปีแล้วเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างกัน [Abuquerque 1903]
ในปีพ.ศ.2034 ราชสำนักหมิงส่งหลินเซียวไปกรุงศรีอยุธยาเพื่อรับรองกษัตริย์องค์ใหม่อาจจะเป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เนื่องจากทางกรุงศรีอยุธยาให้หลินเซียวคุกเข่าแต่หลินเซียวไม่ยอมจึงไม่ยอมประกาศทำให้ทางกรุงศรีอยุธยาไม่รับรองหลินเซียวอย่างดีทำให้หลินเซียวโกรธและตรอมใจตายแต่เหยาหลง ยอมคุกเข่าทางอยุธยาจึงรับรองอย่างดีกลับไปจีนราชสำนักเห็นใจหลินเซียวจึงไล่เหยาหลงออกจากราชการ เหตุการณ์นี้ไม่บันทึกในหมิงสือลู่วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2025 [Mingshilu, Wade 2005b] หลังจากโปรตุเกสยึดมะละกาในปีพ.ศ.2064 ราชวงศ์มะละกาย้ายไปบินตันในเกาะสุมาตรา กัมปาร์ในรัฐปาหังและย้ายไปยะโฮร์ดังนั้นอุหยงตะนะจึงไม่ใช่ยะโฮร์แต่เป็นทูมาสิก ทำให้เมืองขึ้นของมะละกาในแหลมมลายูและเกาะสุมาตราเลิกส่งบรรณาการให้มะละกา จนกระทั่งวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2064 ทูตของสุลต่านมาห์มูด ชาห์ แจ้งราชสำนักหมิงว่าถูกโปรตุเกสขับไล่ [กรมศิลปากร พ.ศ.2564: 97] ทำให้กรุงศรีอยุธยาขยายอิทธิพลไปที่เคดาห์และปัตตานีอีกครั้งหนึ่ง [Erédia 1881; 1882]
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร พ.ศ.2564 ความสัมพันธ์ไทย-จีนจากเอกสารสมัยหยวน หมิง ชิง. กรุงเทพ: กรมศิลปากร.
ครองชัย หัตถา. พ.ศ. 2552ข. อาณาจักรลังกาสุกะ ประวัติศาสตร์ยุคต้นของชายแดนใต้. ปัตตานี: ภูริปริ๊นช๊อบ.
Abuquerque, Afonso de. 1903. Cartas de Afonso de Abuquerque, Segunda de Documentos Que as Elucidam. Tomo 3 3. Lisboa: Academia Real das Sciencias de Lisboa.
Baker, Chris, and Pasuk Phongpaichit. 2022. “Melaka and Ayutthaya in the Long 15th Century: Feudal Relation, Tribute and Magical Relation.”Journal of the Siam Society 110 (2): 107–20.
Bendahara Tun Sri Lanang. 1970 (1612). Sejarah Melayu or Malay Annals. Translated by C. C. Brown. Kuala Lampur: Oxford University Press.
Bougas, Waynes A. 2004. The Early History of Sai. In Daniel Perret, Ammarâ Sîsuchât, Thanasuk (Sombûn) eds. Études sur l'histoire du sultanat de Patani. Paris: EFEO
Erédia, M. Godinho de. 1881. Declaração de Malaca e Índia Meridional Com o Catay. In III Tratados, de Emanuel [Sic] Godinho de Erédia. Bruxelas (Brussels).
Erédia, M. Godinho de. 1882. Malaca, l’Inde Méridionale e Le Cathay: Manuscrit Original Autographe de Godinho de Eredia Appartenant à La Bibliothèque Royale de Bruxelles. Bruxelles (Brussels): Librairie Européenne C. Muquardt.
Marrison, G.E. 1949. “The Siamese Wars with Malacca.” Journal of the Malayan Branch of the Royal Asiatic Society 22 (1): 51–66.
Miksic, Norman Miksic. 2013. Singapore and the Silk Road of the Sea 1300-1800. Singapore: NUS Press.
Munro-Hay, Stuart. 2001. Nakhon Sri Thammarat: The Archeology, History and Legends of a Southern Thai Town. Bangkok: White Lotus.
Pires, Tomé. 2017. Suma Oriental. Edited by Rui Manuel Loureiro. Lisboa: Centro Científico e Cultural de Macau and Fundação Jorge Álvares; Macau: Fundação Macau.
Wade, Geoff.. 2005b. “Ming Shi-lu as a Source for Southeast Asian History: An Open Access Resource.” E-Press. Asia Research Institute and the Singapore E-Press. 2005. https://epress.nus.edu.sg/msl.
Wolters, Oliver Williams. 1970. The Fall of Srivijaya in Malay History. Ithaca, NY: Cornell University Press.
โตเม่ ปิรึช [Pires 2017 (1512-1515)] กล่าวว่าประมาณปีพ.ศ.1973 กษัตริย์มะละกาแต่งงานกับพระธิดาของสุลต่านสมุทรา-ปาไซ แล้วหันมานับถือศาสนาอิสลามในปีพ.ศ.1979 เพื่อเป็นพันธมิตรคุ้มครองจากการรุกรานของกรุงศรีอยุธยาและเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่ศาสนาอิสลามในภูมิภาคนี้ มะละกามีแม่น้ำมูอาร์ไหลสู่แม่น้ำปาหัง ผ่านเปนาริกัน (Penarikan) ถึงอุลูปาหัง (Ulu Pahang) และอุลูกลันตัน (Ulu Kelantan) ทางกรุงศรีอยุธยามองการเปลี่ยนศาสนาในมะละกาในปีพ.ศ.1979 ว่าเป็นเรื่องใหญ่และขอลำดับการสืบสันติวงศ์จากมะละกา กรุงศรีอยุธยาต้องการยึดสาส์นตราตั้งกษัตริย์มะละการวมทั้งคำหับลัญฉกรจากราชวงศ์หมิงเพื่ออ้างว่ามะละกาเป็นประเทศราชเช่นเดียวกับมัชปาหิตที่ต้องการยึดของเหล่านี้จากศรีวิชัยและบรูไนเพื่ออ้างว่าเป็นประเทศราชของตน หลังจากที่ราชวงศ์หมิงไม่สามารถคุ้มครองมะละกาได้จึงเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม [Wolters 1970] จึงทำให้ค้าขายกับรัฐอิสลามในอินเดียและตะวันออกกลางจนมั่งคั่งสามารถรบชนะกรุงศรีอยุธยาและขยายอิทธิพลขึ้นมาในแหลมมลายูได้ในที่สุด
วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.1981 กรุงศรีอยุธยามีเรื่องกับจามปาโดยจับทูตจามปาที่เดินทางไปสมุทรา-ปาไซ [กรมศิลปากร พ.ศ.2564: 68] ต่อมาในปีพ.ศ.1988 พงศาวดารมลายูกล่าวว่าสมเด็จพระเจ้าสามพระยาส่งสาส์นไปมะละกาให้มาเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาแต่สุลต่านมุซซัพฟาร์ (พ.ศ.1989-พ.ศ.2002) ปฏิเสธ ในปีพ.ศ.1989 สมเด็จพระเจ้าสามพระยาจึงส่งกองทัพกรุงศรีอยุธยาข้ามแหลมมลายูมาจากปาหังแล้วปะทะกับกองทัพมะละกาที่ใกล้เมืองมูอาร์แต่พ่ายแพ้กลับไปบุกยึดมะละกาไม่สำเร็จโดยมะละกาขอความช่วยเหลือจากเปรัก [Marrison 1949: 61-63] เนื่องจากจารึกซูโรดากัน พ.ศ.1990 ของมัชปาหิตบอกว่าทูมาสิก (อุหยงตะนะ) ขึ้นกับมัชปาหิต [Miksic 2013] ทำให้กองทัพเรือกรุงศรีอยุธยาต้องขึ้นบกที่ปาหังไม่สามารถอ้อมทูมาสิกได้ กรุงศรีอยุธยามักให้เชื้อพระวงศ์แต่งงานกับโอรสธิดาของกษัตริย์ปาหัง ปัตตานี ทูมาสิก เคดาห์และเซลังงอร์ที่ผลิตดีบุก [Baker & Phongpaichit 2022]
ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ (พ.ศ.1991-2031) ในปีพ.ศ.1994 กรุงศรีอยุธยาเริ่มทำสงครามกับล้านนา และพระองค์ได้ออกกฎมณเทียรบาลพ.ศ.2001 โดยจัดลำดับศักดินาเมืองระบุว่านครศรีธรรมราชเป็น 1 ใน 8 เมืองพระยามหานครของกรุงศรีอยุธยา เป็นการผนวกนครศรีธรรมราชเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยาถือว่าสิ้นสุดอาณาจักรตามพรลิงค์ที่สืบต่อจนมาเป็นนครศรีธรรมราชและกล่าวว่าอุยงตะนะ (ทูมาสิก) มะละกา มลายู (จัมบิ) วรวารี (ในเกาะสุมาตรา?) เป็นเมืองขึ้นของอยุธยา ในปีพ.ศ.1998 มะละกาไม่ส่งบรรณาการมาให้กรุงศรีอยุธยาทำให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถส่งกองทัพเรืออยุธยาอ้อมสิงคโปร์มาปะทะกับกองทัพเรือมะละกานอกชายฝั่งบาตูปาหัต (Hewn Stone) พงศาวดารมลายูกล่าวว่าตนเประออกอุบายใช้คบเพลิงผูกไว้กับต้นไม้ตามชายฝั่งทำให้ดูว่ากองทัพเรือมะละกามีจำนวนมากจนกองทัพเรืออยุธยาหนีไป ในความเป็นจริงแล้วมะละกาน่าจะมีอาวุธที่เหนือกว่ากรุงศรีอยุธยาเช่นปืนใหญ่และอาจจะมีปืนคาบศิลา เพราะมะละการู้วิธีการหล่อปืนใหญ่ก่อนกรุงศรีอยุธยาจากจีนหรือชวา
กรุงศรีอยุธยาน่าจะเริ่มรู้จักอาวุธปืนไฟหลังจากสงครามกับล้านนาหลายปีเนื่องจากหลังจากสงครามนี้ล้านนาได้ทำสงครามกับอาณาจักรไดเวียดที่ใช้อาวุธปืนไฟ แต่สุลต่านมุฬัฟฟาร์ ชาห์เห็นว่ากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองใหญ่มีกองทัพเข้มแข็งจึงส่งคณะทูตนำโดยบุตรชายของบันดาหราไปฟื้นไมตรีกับอยุธยาในปีพ.ศ.1999 พงศาวดารมลายูกล่าวว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถทรงตรัสเรียกสุลต่านว่าออกญา ตำนานเจ้าเมืองกอตอกล่าวว่าเจ้าเมืองโกตามะห์ลิฆัย (Kota Mahligai) เดินทางไปมะละกาเพื่อเข้าเฝ้าสุลต่านมุฬัฟฟาร์ ชาห์หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาพ่ายแพ้มะละกาในสงครามครั้งนี้ [Bougas 2004] ในปีพ.ศ.2001 หลังจากสุลต่านมุซัฟฟาร์สิ้นพระชนม์ชีพลง สุลต่านมันซูร์ ชาห์ (พ.ศ.2002-พ.ศ.2020) ขึ้นครองราชย์ต่อมา ในปีพ.ศ.2002 มะละกาส่งทูตไปจีนและได้แผ่ขยายอิทธิพลไปยังเกาะสุมาตรา เช่น กัมปาร์ อินทราคีรีและซีอก เนื่องจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ (พ.ศ.1984-2030) ติดศึกสงครามกับล้านนาที่ต่อเนื่องมาจากพ.ศ.1994 ยืดเยื้อกว่า 20 ปี จนยุติลงในปีพ.ศ.2018 หลังจากที่พระองค์ตีเชลียงคืนได้ การตั้งรับศึกที่พิษณุโลกและทุ่มเทกับสงครามกับล้านนาทำให้สูญสิ้นทรัพยากรและกำลังพลไปเป็นจำนวนมากทำให้กรุงศรีอยุธยาจึงไม่สามารถรับศึกหลายด้านได้ เมื่อเวียดนามตีจามปาแตกในปีพ.ศ.2014 ชาวมุสลิมจามจึงได้อพยพเข้ามาอยู่ในแหลมมลายูเป็นจำนวนมาก ทำให้มะละกามีความเจริญถึงขีดสุด [Munro-Hay 2001] มะละกาจึงฉวยโอกาสยึดเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาไปได้หลายเมือง ช่วงนี้เป็นช่วงที่มัชปาหิตอ่อนแอลงและแตกแยกไม่สามารถที่จะแผ่อิทธิพลเข้ามาในแหลมมลายูได้อีก
พงศาวดารมลายูกล่าวว่ากองทัพมะละกาบุกปาหังจับกษัตริย์ปาหังที่เป็นพระญาติกับกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาและพรรคพวกขังเอาไว้ โตเม่ ปิรึช [Pires 2017(1512-1515)] กล่าวว่าสุลต่านมันซูร์ ชาห์อภิเษกกับธิดากษัตริย์ปาหัง และกษัตริย์ปาหังอภิเษกกับพระกนิษฐาของสุลต่านมันซูร์ ชาห์แล้วเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งอาจจะเป็นช่วงที่ปัตตานีเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม และสุลต่านมาห์มูด ชาห์ (พ.ศ.2024-พ.ศ.2054) ยึดเคดาห์จากกรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ.2031 และนำราชาแห่งเบรวส (Beruas) ไปมะละกา เพื่อแต่งตั้งเป็นกษัตริย์ ตามปกติแล้วกรุงศรีอยุธยาปกครองมลายูผ่านนครศรีธรรมราชแต่การให้นครศรีธรรมราชทำสงครามชิงหัวเมืองมลายูกลับคืนมาตามลำพังในช่วงที่มะละกาเข้มแข็งเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก โตเม่ ปิรึช [Pires 2017(1512-1515)] กล่าวว่าประมาณปีพ.ศ.2040-2044 ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พ.ศ.2034-2072) มอบหมายให้มหาเทวาสุสะ (สุระ) แห่งนครศรีธรรมราชยกกองทัพไปโจมตีปาหังซึ่งเป็นสงครามครั้งสุดท้ายระหว่างกรุงศรีอยุธยากับมะละกา สุลต่านมาห์มูด ชาห์ (พ.ศ.2031-2054) แห่งมะละกายกกองทัพมาช่วยปาหังรบชนะมหาราชาเทวาสุระจนแตกพ่ายไปหนีขึ้นไปกลันตันและเดินทางกลับนครศรีธรรมราช [ครองชัย หัตถา พ.ศ.2552ข; Munro-Hay 2001] ในจดหมายของรุย ดึ บริตุ (Rui de Brito) จากมะละกาถึงอบูแกร์กลงวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2057 กล่าวว่ากรุงศรีอยุธยาไม่ได้ติดต่อกับมะละกามาหลายปีแล้วเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างกัน [Abuquerque 1903]
ในปีพ.ศ.2034 ราชสำนักหมิงส่งหลินเซียวไปกรุงศรีอยุธยาเพื่อรับรองกษัตริย์องค์ใหม่อาจจะเป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เนื่องจากทางกรุงศรีอยุธยาให้หลินเซียวคุกเข่าแต่หลินเซียวไม่ยอมจึงไม่ยอมประกาศทำให้ทางกรุงศรีอยุธยาไม่รับรองหลินเซียวอย่างดีทำให้หลินเซียวโกรธและตรอมใจตายแต่เหยาหลง ยอมคุกเข่าทางอยุธยาจึงรับรองอย่างดีกลับไปจีนราชสำนักเห็นใจหลินเซียวจึงไล่เหยาหลงออกจากราชการ เหตุการณ์นี้ไม่บันทึกในหมิงสือลู่วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2025 [Mingshilu, Wade 2005b] หลังจากโปรตุเกสยึดมะละกาในปีพ.ศ.2064 ราชวงศ์มะละกาย้ายไปบินตันในเกาะสุมาตรา กัมปาร์ในรัฐปาหังและย้ายไปยะโฮร์ดังนั้นอุหยงตะนะจึงไม่ใช่ยะโฮร์แต่เป็นทูมาสิก ทำให้เมืองขึ้นของมะละกาในแหลมมลายูและเกาะสุมาตราเลิกส่งบรรณาการให้มะละกา จนกระทั่งวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2064 ทูตของสุลต่านมาห์มูด ชาห์ แจ้งราชสำนักหมิงว่าถูกโปรตุเกสขับไล่ [กรมศิลปากร พ.ศ.2564: 97] ทำให้กรุงศรีอยุธยาขยายอิทธิพลไปที่เคดาห์และปัตตานีอีกครั้งหนึ่ง [Erédia 1881; 1882]
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร พ.ศ.2564 ความสัมพันธ์ไทย-จีนจากเอกสารสมัยหยวน หมิง ชิง. กรุงเทพ: กรมศิลปากร.
ครองชัย หัตถา. พ.ศ. 2552ข. อาณาจักรลังกาสุกะ ประวัติศาสตร์ยุคต้นของชายแดนใต้. ปัตตานี: ภูริปริ๊นช๊อบ.
Abuquerque, Afonso de. 1903. Cartas de Afonso de Abuquerque, Segunda de Documentos Que as Elucidam. Tomo 3 3. Lisboa: Academia Real das Sciencias de Lisboa.
Baker, Chris, and Pasuk Phongpaichit. 2022. “Melaka and Ayutthaya in the Long 15th Century: Feudal Relation, Tribute and Magical Relation.”Journal of the Siam Society 110 (2): 107–20.
Bendahara Tun Sri Lanang. 1970 (1612). Sejarah Melayu or Malay Annals. Translated by C. C. Brown. Kuala Lampur: Oxford University Press.
Bougas, Waynes A. 2004. The Early History of Sai. In Daniel Perret, Ammarâ Sîsuchât, Thanasuk (Sombûn) eds. Études sur l'histoire du sultanat de Patani. Paris: EFEO
Erédia, M. Godinho de. 1881. Declaração de Malaca e Índia Meridional Com o Catay. In III Tratados, de Emanuel [Sic] Godinho de Erédia. Bruxelas (Brussels).
Erédia, M. Godinho de. 1882. Malaca, l’Inde Méridionale e Le Cathay: Manuscrit Original Autographe de Godinho de Eredia Appartenant à La Bibliothèque Royale de Bruxelles. Bruxelles (Brussels): Librairie Européenne C. Muquardt.
Marrison, G.E. 1949. “The Siamese Wars with Malacca.” Journal of the Malayan Branch of the Royal Asiatic Society 22 (1): 51–66.
Miksic, Norman Miksic. 2013. Singapore and the Silk Road of the Sea 1300-1800. Singapore: NUS Press.
Munro-Hay, Stuart. 2001. Nakhon Sri Thammarat: The Archeology, History and Legends of a Southern Thai Town. Bangkok: White Lotus.
Pires, Tomé. 2017. Suma Oriental. Edited by Rui Manuel Loureiro. Lisboa: Centro Científico e Cultural de Macau and Fundação Jorge Álvares; Macau: Fundação Macau.
Wade, Geoff.. 2005b. “Ming Shi-lu as a Source for Southeast Asian History: An Open Access Resource.” E-Press. Asia Research Institute and the Singapore E-Press. 2005. https://epress.nus.edu.sg/msl.
Wolters, Oliver Williams. 1970. The Fall of Srivijaya in Malay History. Ithaca, NY: Cornell University Press.