โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
นักวิชาการส่วนใหญ่จะไม่พูดถึงสาเหตุที่ตามพรลิงค์แยกตัวจากศรีวิชัยอย่างชัดเจนเพราะในปี พ.ศ.1739 ตามพรลิงค์เป็นอิสระจากศรีวิชัยโดยส่งทูตไปจีนซึ่งอาจจะเป็นในช่วงที่พุกามบุก แต่ในปีพ.ศ.1768 กลับไปขึ้นกับศรีวิชัย จูฟ่านจื้อ พ.ศ.1768 (ค.ศ.1225) ถูกบันทึกก่อนที่ตามพรลิงค์แยกตัวไป 5 ปี ไว้กล่าวถึงตามพรลิงค์ ลังกาสุกะ พัทลุง กลันตัน ตรังกานู ปาหัง เจอร์เต๊ะ ครหิ (ไชยา) ซาอิมวังหรือเซมาเวแต่ไม่กล่าวถึงเคดาห์ในแหลมมลายูที่กลายเป็นเมืองขึ้นของตามพรลิงค์ของมหาราชาจันทรภาณุ ในบันทึกจูฟ่านจื้อและสารานุกรมสือหลินกว๊างจี๊แยกเติ้งหลิวเหมยและตั้นหม่าลิ้งออกจากกัน โดยเติ้งหลิวเหมยขึ้นกับเจนละและตั้น-หม่า-ลิ้ง ขึ้นกับศรีวิชัยดังนั้นจึงไม่ใช่เมืองเดียวกันตามที่วอลเตอร์สันนิษฐาน เฉียนไม่ (เจียมแม) ปา-ทา (ปวด-ดบ) ไม่ชัดเจนแต่ปิแรสบอกว่าอยู่ระหว่างปาไซกับแคมเบย์ที่อ่าวอารุ แต่เจียน-ปี (เคี่ยม-แบ) คือ แคมเบในสุมาตรา ปาหังและพัทลุงค้าขายโดยตรงกับกับพ่อค้าชาวจีนที่เดินเรือมาค้าขายแต่ไม่ใช่จุดขนถ่ายสินค้าทางเรือแบบศรีวิชัยหรือเมืองในช่องแคบมะละกาเพราะในช่วงราชวงศ์ซ่งใต้จีนไม่มีข้อห้ามเรื่องการค้าต่างประเทศและการแต่งงานระหว่างชาวจีนกับชาวต่างชาติ [Shao-yun Yang 2022]
ซึ่งเหตุการณ์นี้ไม่ขัดแย้งกับบันทึกจูฟ่านจื้อ ของเจ้าหรู่กัว (赵汝适) หรือที่นักวิชาการไทยหรือตะวันตกเรียกว่าเจ้าจูกัวในปีพ.ศ.1768 ที่ว่าเมืองตามพรลิงค์ยังขึ้นอยู่กับสมาพันธรัฐศรีวิชัย เมืองตามพรลิงค์และไชยามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเมืองมอญ-เขมรในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและจักรวรรดิเขมรมากว่าเมืองศรีวิชัยทางใต้ลงไปอย่างเคดาห์ ปาเล็มบัง เป็นต้น สมาพันธรัฐศรีวิชัยไม่เคยแทรกแซงกิจการภายในของเมืองบริวาร เพราะเจ้าเมืองตามพรลิงค์นับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาท เจ้าเมืองลามูรีนับถือศาสนาอิสลามตามหลักฐานจากป้ายหลุมศพของสุลต่านลามูรีที่สิ้นพระชนม์ในปีพ.ศ.1745 ไม่เหมือนกับราชวงศ์เมาลิที่นับถือพุทธศาสนาแบบมหายานตามตารางที่ 1 [Zhao Rukuo 2022 (1225); Ricklefs et al 2010; Rajani 1976b]
สาเหตุที่ตามพรลิงค์แยกตัวออกมาจากศรีวิชัยมีอยู่ 2 สาเหตุใหญ่คือ 1) การเปิดเสรีทางการค้าของจีนทำให้สมาพันธรัฐศรีวิชัยเสื่อมลง และ 2) การรับเอาพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาเข้ามาทำให้แปลกแยกจากนครรัฐมลายูอื่นๆที่นับถือพุทธศาสนามหายานหรือฮินดู ในปีพ.ศ.1633 (ค.ศ.1090) ราชวงศ์ซ่งการเปิดเสรีการค้าทางทะเล แต่ต่อมาจำกัดจำนวนเรือค้าขายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ปีพ.ศ.1707-1821 (ค.ศ.1164-1278) แต่เริ่มมีการจัดระดับคุณภาพสินค้าเพื่อการคัดเลือก สโรคัม (Srokam) คือเคดาห์ แต่ในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้มีการส่งเสริมการค้าทางทะเลโดยเน้นการติดต่อกับรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [Heng 2005] ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ราชวงศ์ซ่งเริ่มใช้ตั๋วแลกเงินซึ่งถือว่าเป็นเงินกระดาษแรกในโลกทำการค้าขาย แต่ว่าอัตราแลกเปลี่ยนยังไม่มีเสถียรภาพ ปลายราชวงศ์ซ่งตั้งชาวอาหรับคุมท่าเรือที่ฉวนโจว แต่ยอมแพ้มองโกลเลยถูกผู้จงรักภักดีต่อราชวงศ์ซ่งปิดล้อม หลังจากราชวงศ์หยวนโค่นราชวงศ์ซ่งลงการค้าที่ฉวนโจวคึกคักขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งแต่ชาวอาหรับคุมท่าเรือต่อทำให้ชาวต่างชาติได้ประโยชน์ในที่สุดชาวเปอร์เซียก่อกบฏในปีค.ศ.1377-1366 ทำให้ฝูเจี้ยนและฉวนโจววุ่นวาย พ่อค้าชาวจีนถูกชาวต่างชาติเอาเปรียบและสูญเสียการค้าทางทะเล หลังจากปราบกบฏลงการค้าต่างประเทศก็ซบเซา ฉวนโจวเป็นเมืองท่าสำคัญในสมัยราชวงศ์ซ่งและหยวน [So 1982] หลังจากราชสำนักซ่งยกเลิกระบอบบรรณาการแล้วสมาพันธรัฐศรีวิชัยก็เสื่อมลงทางเศรษฐกิจและเกียรติภูมิของราชวงศ์เมาลิเริ่มตกต่ำในปีพ.ศ.1739 เมืองตามพรลิงค์ได้ส่งทูตไปจีนเพื่อแสดงความเป็นอิสระ แต่ว่าสงครามระหว่างศรีวิชัยและพุกามได้ขัดขวางความพยายามในครั้งนี้และทำให้ราชวงศ์เมาลิอ่อนแอลงไปอีก หลังจากแยกจากศรีวิชัยตามพรลิงค์มีเมืองขึ้นตามตารางที่ 2
มีความเป็นไปได้ว่าราชวงศ์ปัทมวงศ์ที่แยกสมาพันธรัฐตามพรลิงค์อาจเป็นเชื้อสายของเจ้าชายหรือแม่ทัพของจากชวาหรือมลายูที่เข้ามาช่วยเมืองตามพรลิงค์ขับไล่ทหารพม่าแห่งอาณาจักรพุกามออกไปในปีพ.ศ.1745 ก็เป็นได้แต่ไม่ใช่ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชเพราะจารึกหลักที่ 24 (พ.ศ.1773) ซึ่งระบุชื่อตามพรลิงค์ไม่ใช่ศรีวิชัยบอกชัดเจนว่ามหาราชาจันทรภาณุเป็นปัทมวงศ์ ในช่วงนี้เมืองตามพรลิงค์เริ่มมีอิทธิพลในสมาพันธรัฐศรีวิชัยมากขึ้นโดยเฉพาะในแหลมมลายูและอาจมีการอภิเษกสมรสระหว่างเจ้านายราชวงศ์ปัทมวงศ์กับตระกูลที่ปกครองตามพรลิงค์ก่อนหน้านี้ทำให้ราชวงศ์ปัทมวงศ์ขึ้นครองอำนาจในตามพรลิงค์ เหตุการณ์นี้ไม่ขัดแย้งกับบันทึกจูฟ่านจื้อในปีพ.ศ.1768 ที่ระบุว่าเมืองตามพรลิงค์ยังขึ้นอยู่กับสมาพันธรัฐศรีวิชัย จากหลักฐานทั้ง 2 อย่างสันนิษฐานได้ว่าพระเจ้าจันทรภาณุน่าจะแยกเมืองตามพรลิงค์ออกจากสมาพันธรัฐศรีวิชัยภายใต้ราชวงศ์เมาลิในระหว่าง พ.ศ.1768-1773 หลังจากที่พระองค์เห็นว่าสมาพันธรัฐศรีวิชัยอ่อนแอลงโดยมีเมืองทางเหนือของสมาพันธรัฐศรีวิชัยได้แยกตัวออกไปขึ้นกับเมืองตามพรลิงค์จึงถือว่าอิทธิพลสมาพันธรัฐศรีวิชัยทางภาคใต้ของประเทศไทยและทางภาคเหนือของมาเลเซียในแหลมมลายูได้สิ้นสุดลง ทำให้เครือข่ายการค้าแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือศรีวิชัย ตามพรลิงค์และชวา สมาพันธรัฐศรีวิชัยก็หดตัวเหลือแค่บนเกาะสุมาตราเท่านั้นคุมช่องแคบมะละกาไม่ได้และต้องเปลี่ยนจากเมืองท่าขนถ่ายสินค้ามาเป็นเมืองท่าส่งออก [Heng 2013]
เอกสารอ้างอิง
Heng, Derek Thiam Soon. 2005. Economic Interaction between China and the Malacca Straits Region: Tenth to Fourteenth A.D. Doctoral Thesis, Hull, UK: University of Hull.
Heng, Derek Thiam Soon. 2013. “State Formation and the Evolution of Naval Strategies in the Melaka Straits c.500-1500CE.” Journal of Southeast Asian Studies 44 (3): 380-399.
Mom Chao Chand Chirayu Rajani. 1976b Mom Chao Chand Chirayu Rajani. 1976b. "Review Articles: Background to Srivijaya Story Part V (Conclusion)." Journal of the Siam Society 64 (2): 237-310.
Ricklefs, Merle Calvin, Bounce Lockhart, Albert Lau, Portia Reyes, and Maitrii Aung-Thwin. 2010. A New History of Southeast Asia. New York: PalgraveMacmillan.
So, Billy Kee-long (Su Jilang 蘇基朗). 1982. Economic Development in South Fukien: 946-1276 Doctoral Thesis, Canberra: National University of Australia.
Yang Shao-yun 楊劭允 2022 “Unauthorized Exchanges: Restrictions on Foreign Trade and Intermarriage in the Tang and Northern Song Empires,” T’oung Pao 108, 588–645.
Zhao Rukuo 赵汝适. 2022 (1225). A Chinese Gazetteer of Foreign Lands: A New Translation of Part 1 of the Zhufanzhi 诸蕃志. Translated by Shao-yun Yang楊劭允. https://storymaps.arcgis.com/stories/39bce63e4e0642d3abce6c24db470760
นักวิชาการส่วนใหญ่จะไม่พูดถึงสาเหตุที่ตามพรลิงค์แยกตัวจากศรีวิชัยอย่างชัดเจนเพราะในปี พ.ศ.1739 ตามพรลิงค์เป็นอิสระจากศรีวิชัยโดยส่งทูตไปจีนซึ่งอาจจะเป็นในช่วงที่พุกามบุก แต่ในปีพ.ศ.1768 กลับไปขึ้นกับศรีวิชัย จูฟ่านจื้อ พ.ศ.1768 (ค.ศ.1225) ถูกบันทึกก่อนที่ตามพรลิงค์แยกตัวไป 5 ปี ไว้กล่าวถึงตามพรลิงค์ ลังกาสุกะ พัทลุง กลันตัน ตรังกานู ปาหัง เจอร์เต๊ะ ครหิ (ไชยา) ซาอิมวังหรือเซมาเวแต่ไม่กล่าวถึงเคดาห์ในแหลมมลายูที่กลายเป็นเมืองขึ้นของตามพรลิงค์ของมหาราชาจันทรภาณุ ในบันทึกจูฟ่านจื้อและสารานุกรมสือหลินกว๊างจี๊แยกเติ้งหลิวเหมยและตั้นหม่าลิ้งออกจากกัน โดยเติ้งหลิวเหมยขึ้นกับเจนละและตั้น-หม่า-ลิ้ง ขึ้นกับศรีวิชัยดังนั้นจึงไม่ใช่เมืองเดียวกันตามที่วอลเตอร์สันนิษฐาน เฉียนไม่ (เจียมแม) ปา-ทา (ปวด-ดบ) ไม่ชัดเจนแต่ปิแรสบอกว่าอยู่ระหว่างปาไซกับแคมเบย์ที่อ่าวอารุ แต่เจียน-ปี (เคี่ยม-แบ) คือ แคมเบในสุมาตรา ปาหังและพัทลุงค้าขายโดยตรงกับกับพ่อค้าชาวจีนที่เดินเรือมาค้าขายแต่ไม่ใช่จุดขนถ่ายสินค้าทางเรือแบบศรีวิชัยหรือเมืองในช่องแคบมะละกาเพราะในช่วงราชวงศ์ซ่งใต้จีนไม่มีข้อห้ามเรื่องการค้าต่างประเทศและการแต่งงานระหว่างชาวจีนกับชาวต่างชาติ [Shao-yun Yang 2022]
ซึ่งเหตุการณ์นี้ไม่ขัดแย้งกับบันทึกจูฟ่านจื้อ ของเจ้าหรู่กัว (赵汝适) หรือที่นักวิชาการไทยหรือตะวันตกเรียกว่าเจ้าจูกัวในปีพ.ศ.1768 ที่ว่าเมืองตามพรลิงค์ยังขึ้นอยู่กับสมาพันธรัฐศรีวิชัย เมืองตามพรลิงค์และไชยามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเมืองมอญ-เขมรในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและจักรวรรดิเขมรมากว่าเมืองศรีวิชัยทางใต้ลงไปอย่างเคดาห์ ปาเล็มบัง เป็นต้น สมาพันธรัฐศรีวิชัยไม่เคยแทรกแซงกิจการภายในของเมืองบริวาร เพราะเจ้าเมืองตามพรลิงค์นับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาท เจ้าเมืองลามูรีนับถือศาสนาอิสลามตามหลักฐานจากป้ายหลุมศพของสุลต่านลามูรีที่สิ้นพระชนม์ในปีพ.ศ.1745 ไม่เหมือนกับราชวงศ์เมาลิที่นับถือพุทธศาสนาแบบมหายานตามตารางที่ 1 [Zhao Rukuo 2022 (1225); Ricklefs et al 2010; Rajani 1976b]
สาเหตุที่ตามพรลิงค์แยกตัวออกมาจากศรีวิชัยมีอยู่ 2 สาเหตุใหญ่คือ 1) การเปิดเสรีทางการค้าของจีนทำให้สมาพันธรัฐศรีวิชัยเสื่อมลง และ 2) การรับเอาพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาเข้ามาทำให้แปลกแยกจากนครรัฐมลายูอื่นๆที่นับถือพุทธศาสนามหายานหรือฮินดู ในปีพ.ศ.1633 (ค.ศ.1090) ราชวงศ์ซ่งการเปิดเสรีการค้าทางทะเล แต่ต่อมาจำกัดจำนวนเรือค้าขายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ปีพ.ศ.1707-1821 (ค.ศ.1164-1278) แต่เริ่มมีการจัดระดับคุณภาพสินค้าเพื่อการคัดเลือก สโรคัม (Srokam) คือเคดาห์ แต่ในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้มีการส่งเสริมการค้าทางทะเลโดยเน้นการติดต่อกับรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [Heng 2005] ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ราชวงศ์ซ่งเริ่มใช้ตั๋วแลกเงินซึ่งถือว่าเป็นเงินกระดาษแรกในโลกทำการค้าขาย แต่ว่าอัตราแลกเปลี่ยนยังไม่มีเสถียรภาพ ปลายราชวงศ์ซ่งตั้งชาวอาหรับคุมท่าเรือที่ฉวนโจว แต่ยอมแพ้มองโกลเลยถูกผู้จงรักภักดีต่อราชวงศ์ซ่งปิดล้อม หลังจากราชวงศ์หยวนโค่นราชวงศ์ซ่งลงการค้าที่ฉวนโจวคึกคักขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งแต่ชาวอาหรับคุมท่าเรือต่อทำให้ชาวต่างชาติได้ประโยชน์ในที่สุดชาวเปอร์เซียก่อกบฏในปีค.ศ.1377-1366 ทำให้ฝูเจี้ยนและฉวนโจววุ่นวาย พ่อค้าชาวจีนถูกชาวต่างชาติเอาเปรียบและสูญเสียการค้าทางทะเล หลังจากปราบกบฏลงการค้าต่างประเทศก็ซบเซา ฉวนโจวเป็นเมืองท่าสำคัญในสมัยราชวงศ์ซ่งและหยวน [So 1982] หลังจากราชสำนักซ่งยกเลิกระบอบบรรณาการแล้วสมาพันธรัฐศรีวิชัยก็เสื่อมลงทางเศรษฐกิจและเกียรติภูมิของราชวงศ์เมาลิเริ่มตกต่ำในปีพ.ศ.1739 เมืองตามพรลิงค์ได้ส่งทูตไปจีนเพื่อแสดงความเป็นอิสระ แต่ว่าสงครามระหว่างศรีวิชัยและพุกามได้ขัดขวางความพยายามในครั้งนี้และทำให้ราชวงศ์เมาลิอ่อนแอลงไปอีก หลังจากแยกจากศรีวิชัยตามพรลิงค์มีเมืองขึ้นตามตารางที่ 2
มีความเป็นไปได้ว่าราชวงศ์ปัทมวงศ์ที่แยกสมาพันธรัฐตามพรลิงค์อาจเป็นเชื้อสายของเจ้าชายหรือแม่ทัพของจากชวาหรือมลายูที่เข้ามาช่วยเมืองตามพรลิงค์ขับไล่ทหารพม่าแห่งอาณาจักรพุกามออกไปในปีพ.ศ.1745 ก็เป็นได้แต่ไม่ใช่ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชเพราะจารึกหลักที่ 24 (พ.ศ.1773) ซึ่งระบุชื่อตามพรลิงค์ไม่ใช่ศรีวิชัยบอกชัดเจนว่ามหาราชาจันทรภาณุเป็นปัทมวงศ์ ในช่วงนี้เมืองตามพรลิงค์เริ่มมีอิทธิพลในสมาพันธรัฐศรีวิชัยมากขึ้นโดยเฉพาะในแหลมมลายูและอาจมีการอภิเษกสมรสระหว่างเจ้านายราชวงศ์ปัทมวงศ์กับตระกูลที่ปกครองตามพรลิงค์ก่อนหน้านี้ทำให้ราชวงศ์ปัทมวงศ์ขึ้นครองอำนาจในตามพรลิงค์ เหตุการณ์นี้ไม่ขัดแย้งกับบันทึกจูฟ่านจื้อในปีพ.ศ.1768 ที่ระบุว่าเมืองตามพรลิงค์ยังขึ้นอยู่กับสมาพันธรัฐศรีวิชัย จากหลักฐานทั้ง 2 อย่างสันนิษฐานได้ว่าพระเจ้าจันทรภาณุน่าจะแยกเมืองตามพรลิงค์ออกจากสมาพันธรัฐศรีวิชัยภายใต้ราชวงศ์เมาลิในระหว่าง พ.ศ.1768-1773 หลังจากที่พระองค์เห็นว่าสมาพันธรัฐศรีวิชัยอ่อนแอลงโดยมีเมืองทางเหนือของสมาพันธรัฐศรีวิชัยได้แยกตัวออกไปขึ้นกับเมืองตามพรลิงค์จึงถือว่าอิทธิพลสมาพันธรัฐศรีวิชัยทางภาคใต้ของประเทศไทยและทางภาคเหนือของมาเลเซียในแหลมมลายูได้สิ้นสุดลง ทำให้เครือข่ายการค้าแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือศรีวิชัย ตามพรลิงค์และชวา สมาพันธรัฐศรีวิชัยก็หดตัวเหลือแค่บนเกาะสุมาตราเท่านั้นคุมช่องแคบมะละกาไม่ได้และต้องเปลี่ยนจากเมืองท่าขนถ่ายสินค้ามาเป็นเมืองท่าส่งออก [Heng 2013]
เอกสารอ้างอิง
Heng, Derek Thiam Soon. 2005. Economic Interaction between China and the Malacca Straits Region: Tenth to Fourteenth A.D. Doctoral Thesis, Hull, UK: University of Hull.
Heng, Derek Thiam Soon. 2013. “State Formation and the Evolution of Naval Strategies in the Melaka Straits c.500-1500CE.” Journal of Southeast Asian Studies 44 (3): 380-399.
Mom Chao Chand Chirayu Rajani. 1976b Mom Chao Chand Chirayu Rajani. 1976b. "Review Articles: Background to Srivijaya Story Part V (Conclusion)." Journal of the Siam Society 64 (2): 237-310.
Ricklefs, Merle Calvin, Bounce Lockhart, Albert Lau, Portia Reyes, and Maitrii Aung-Thwin. 2010. A New History of Southeast Asia. New York: PalgraveMacmillan.
So, Billy Kee-long (Su Jilang 蘇基朗). 1982. Economic Development in South Fukien: 946-1276 Doctoral Thesis, Canberra: National University of Australia.
Yang Shao-yun 楊劭允 2022 “Unauthorized Exchanges: Restrictions on Foreign Trade and Intermarriage in the Tang and Northern Song Empires,” T’oung Pao 108, 588–645.
Zhao Rukuo 赵汝适. 2022 (1225). A Chinese Gazetteer of Foreign Lands: A New Translation of Part 1 of the Zhufanzhi 诸蕃志. Translated by Shao-yun Yang楊劭允. https://storymaps.arcgis.com/stories/39bce63e4e0642d3abce6c24db470760