xs
xsm
sm
md
lg

การเคลื่อนย้ายศูนย์กลางการผลิตยางธรรมชาติจากบราซิล เข้าสู่สิงคโปร์และแหลมมาลายูในศตวรรษที่ 19

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที,ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ


อุตสาหกรรมรถยนต์ ในสหรัฐอเมริกา ก่อนสงครามโลกครั้งที่1 มีความต้องการบริโภคยางพาราที่สูงมาก ลำพังการเก็บยางจากป่าลุ่มน้ำอเมซอนมีไม่เพียงพอต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ จึงเป็นแรงผลักดันให้ อาณานิคมอังกฤษเร่งขยายการปลูกในมาลายู
โดย
ยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที มหาวิทยาลัยรังสิต
ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ มหาวิทยาลัยรังสิต

บทคัดย่อ

ในบทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ถึงสาเหตุการเคลื่อนย้ายศูนย์กลางการผลิตยางธรรมชาติจากประเทศบราซิล ซึ่งเคยเป็นภูมิภาคที่ส่งยางธรรมชาติเข้าสู่ยุโรปและสหรัฐอเมริกามากที่สุดในปลายศตวรรษที่ 19 ต่อมาต้นศตวรรษที่ 20 ศูนย์กลางผลิตยางพาราได้ย้ายมาอยู่ที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเหตุปัจจัย 6 ประการ

1) การพัฒนาและความก้าวหน้าในเทคโนโลยีหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปทำให้เกิดอุตสาหกรรมรถยนต์ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยางธรรมชาติเพื่อนำมาผลิตเป็นล้อของรถยนต์

2) ยางธรรมชาติจากบราซิลเป็นวัตถุดิบที่ต้องหาจากป่าอเมซอนทำให้อุตสาหกรรมไม่สามารถคาดการณ์ปริมาณอุปทานของยางธรรมชาติได้


3) การเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ในยุโรปและสหรัฐอเมริกาต้องการวัตถุดิบอุปทานที่มากและเพียงพอต่อความต้องการของการผลิตอุตสาหกรรม

4) พื้นที่สภาพแวดล้อมในการปลูกยางในบราซิลและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จัดอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตรที่เหมาะสมต่อการเติบโตของยาง

5) ต้นทุนในการผลิตเก็บเกี่ยวจากธรรมชาติจะมีต้นทุนที่แพงกว่าการปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

6) แรงงานในการปลูกยางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแรงงานจากกุลีชาวจีนที่มีต้นทุนที่ถูก ทำให้พ่อค้านักธุรกิจของอังกฤษเห็นโอกาสเชิงพาณิชย์และผลกำไร จึงได้มีการนำต้นยางเข้ามาปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอาณานิคมของอังกฤษ (Straits Settlements) ในปลายศตวรรษที่ 19 ที่สิงคโปร์ ต่อมาต้นศตวรรษที่ 20 การปลูกยางขยายตัวเติบโต เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้กลายเป็นพื้นที่ผลิตยางธรรมชาติมากที่สุดของโลกแทนที่ศูนย์กลางยางธรรมชาติของบราซิล

และในการศึกษาวิจัยในบทความนี้ ได้ใช้กระบวนการศึกษาค้นคว้าวิธีทางประวัติศาสตร์ (Historical Approach) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ จากการสืบค้นและการทบทวนวรรณกรรม Literature review

รายละเอียดบทความ เผยแพร่ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา >> https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoskru/article/view/269604/183416




กำลังโหลดความคิดเห็น