ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชาสถิติศาสตร์
สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
รัฐบาลพรรคเพื่อไทย นำโดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และอาจจะมีนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลัง ได้พยายามผลักดันนโยบายประชานิยม โดยการแจกเงินให้ประชาชน ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป มีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 70,000 บาท และมีเงินฝากทุกบัญชีรวมกันทุกธนาคารไม่เกิน 500,000 บาท ให้ได้รับเงินคนละ 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ของรัฐบาล ซึ่งน่าจะใช้เงินประมาณหกแสนถึงเจ็ดแสนล้านบาท หรือก่อให้เกิดความเสียหายหรือเกิดหนี้สาธารณะให้กับประเทศไทยค่อนข้างใกล้เคียงกับโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
โครงการ Digital Wallet เป็นนโยบายประชานิยมเพื่อหาเสียงทางการเมืองอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการกำหนดอายุว่าผู้ที่จะได้รับเงินต้องมีอายุ 16 ปีขึ้นไป อีกสองปีก็จะมีอายุครบ 18 ปี เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก (First-time voter) ซึ่งพรรคก้าวไกล คู่แข่งทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยเป็นผู้ครองตลาดกลุ่มเป้าหมายนี้อย่างชัดเจน การแย่งชิงฐานคะแนนเสียงทางการเมืองที่เดิมเป็นของพรรคการเมืองคู่แข่งจึงเป็นการใช้นโยบายเพื่อหาเสียงทางการเมืองอย่างชัดเจน
ในประเทศไทยมีการทำสงครามไซเบอร์ (Cyberwarroom) มาแล้วหลายปี โปรดอ่านบทความขบวนการล้มเจ้าบนโลกออนไลน์ https://mgronline.com/daily/detail/9630000064482
แต่เดิมพรรคไทยรักไทยก็ประสบความสำเร็จจากการทำสงครามข่าวสาร (Information warfare) ผ่านสถานีวิทยุชุมชน แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไปเกิดการระเบิดดิจิทัล (Digital disruption) ก็ทำให้พรรคเพื่อไทยพ่ายแพ้การเลือกตั้งเพราะแพ้ในสงครามไซเบอร์
ปัจจัยความสำเร็จ (Key Success Factor: KSF) ของการทำสงครามไซเบอร์นอกเนื้อไปจากการจัดการเนื้อหา (Content management) นั้นคือฐานข้อมูล (Database) หรือจะเรียกว่าข้อมูลใหญ่ (Big data) ก็ได้ เรามาลองพิจารณาภูมิทัศน์ของฐานข้อมูลใหญ่ภาครัฐของไทย ดังแสดงในตารางด้านล่างนี้
ฐานข้อมูลใหญ่สุดคือ PromptPay ซึ่งมีผู้ดูแลฐานข้อมูลคือ ITMX ย่อมาจาก Interbank Transaction Management and Exchange ตั้งโดยธนาคารพาณิชย์ไทยร่วมมือกัน มีผู้ลงทะเบียนเกือบ 71 ล้านคนในปัจจุบัน ซึ่งมากกว่าประชากรของไทยที่มีประมาณ 67 ล้านคน เนื่องจากต่างชาติและนิติบุคคลสามารถลงทะเบียนได้ เป็นแกนกลางของการโอนเงินในประเทศ สร้างประโยชน์มหาศาลที่ทำให้ธุรกรรมทางการเงินของไทยมีต้นทุนทางการเงินถูกลงไปมาก ทำให้เกิดธุรกิจอีคอมเมิร์ซและสังคมดิจิทัลของไทยเติบโตเป็นอย่างยิ่ง PromptPay นั้นผูกด้วยรหัสประจำตัวประชาชนประมาณ 41 ล้านคน และผูกด้วยเบอร์โทรศัพท์มือถือราว 30 ล้านเลขหมาย มีการตรวจพิสูจน์ตัวตนด้วยชีวมิติ (Biometric authentication) ฐานข้อมูลนี้ พอจะมีศักยภาพในการใช้ทำสงครามไซเบอร์เพราะมีโทรศัพท์มือถือ แต่การเข้าไปดึงข้อมูลทำได้ยาก เพราะดูแลโดยธนาคารพาณิชย์ไทยหลายสิบรายร่วมกัน ทั้งยังมีธนาคารแห่งประเทศไทยกำกับดูแลอีกชั้นหนึ่ง
ฐานข้อมูลใหญ่อันดับสองคือ ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร ขึ้นอยู่กับสำนักทะเบียนราษฎร กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ฐานข้อมูลนี้ไม่มี Social media ไม่มีโทรศัพท์มือถือ จึงเอาไปใช้ทำประโยชน์ในการทำสงครามไซเบอร์ไม่ได้
ฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกับ ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรคือ ThaiD หรือ Thai Identity เป็นฐานข้อมูลที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ดูแลฐานข้อมูลเช่นกัน จุดเด่นของ ThaiD คือมีการตรวจพิสูจน์ตัวตนด้วยชีวมิติ (Biometric authentication) ไม่ว่าจะเป็นลายนิ้วมือ (Fingerprint) และการจดจำใบหน้า (Facial recognition) และเป็นฐานข้อมูลกลางเพื่อการตรวจพิสูจน์ตัวบุคคลของฐานข้อมูลใหญ่ภาครัฐและ Application ภาครัฐทั้งหมด ฐานข้อมูลนี้เพิ่งเริ่มต้นไม่นาน มีผู้ลงทะเบียนแล้วประมาณ 13.7 ล้านคน และเติบโตอย่างรวดเร็วจนในท้ายที่สุดน่าจะมีผู้ลงทะเบียนเท่ากับจำนวนประชากรในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร แต่ฐานข้อมูลนี้ไม่มี Social media ไม่มีโทรศัพท์มือถือ จึงเอาไปใช้ทำประโยชน์ในการทำสงครามไซเบอร์ไม่ได้
ฐานข้อมูลเป๋าตัง มีผู้ดูแลฐานข้อมูลคือธนาคารกรุงไทย เติบโตจากคนละครึ่งและเราไม่ทิ้งกัน มีผู้ลงทะเบียนแล้วราว 40 ล้านคน สามารถโอนเงินได้ มีข้อมูลธุรกรรมทางการเงิน มีบัญชีธนาคาร มี Application ที่สามารถดาวน์โหลดติดตั้งใช้งานได้เลย มีการจดจำใบหน้า (Facial recognition) เพื่อการตรวจพิสูจน์ตัวบุคคล ทำให้มีความปลอดภัยไซเบอร์พอสมควร เพราะมีการตรวจพิสูจน์ด้วยพนักงานหน้าเคาเตอร์ของธนาคารกรุงไทยเองด้วย ดังที่ผู้ลงทะเบียนเป๋าตัง ต้องถ่ายรูปด้วยกล้องโทรศัพท์มือถือ โดยถอยหน้าเข้าออก เลิกคิ้ว เบิกตา หากไม่ผ่านก็ต้องไปพิสูจน์ตัวตนที่หน้าเคาเตอร์ของธนาคารกรุงไทยอีกชั้น จึงมีความปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity) ค่อนข้างสูง
ฐานข้อมูลเป่าตัง เริ่มต้นจากฐานข้อมูลเล็กจนมีผู้ลงทะเบียนกว่า 40 ล้านคน ทั้งฐานข้อมูลเป๋าตังและ Application ผ่านการพัฒนามายาวนานหลายปี มีความเสถียรพอสมควร ถือว่ามีศักยภาพสูงในการขยายให้ใหญ่ (Scalability) ค่อนข้างดีมาก ประเด็นนี้เปรียบเสมือนการทำข้าวผัดกระเพราให้คนเดียวกัน กับทำข้าวผัดกระเพราให้คนแสนคนกิน อย่างหลังนี้ต้องใช้ฝีมือสูงมาก ไม่ใช่เรื่องที่ง่าย และระบบสารสนเทศอาจจะล่มได้ง่ายๆ หากไม่มีประสปการณ์หรือการวางแผนที่ดีพอ
หากรัฐบาลจะใช้ฐานข้อมูลและ Application เป๋าตังในโครงการ Digital Wallet แจกเงินหนึ่งหมื่นบาท จะดำเนินการได้ทันที และแทบจะไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มขึ้นเลย
ดังนั้นฐานข้อมูลเป๋าตัง จึงมีความเหมาะสมที่สุดหากจะนำมาใช้ในโครงการ Digital Wallet แจกเงินหนึ่งหมื่นบาทของรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยได้ในทันที ไม่ต้องเสียเวลาพัฒนาใดๆ แทบไม่มีความเสี่ยงจากความล้มเหลวในการบริหารโครงการสารสนเทศ (Information technology project management)
หากจะใช้ฐานข้อมูลเป๋าตังเพื่อนำไปใช้ทำ Cyber War Room หรือศูนย์บัญชาการสงครามไซเบอร์สำหรับพรรคการเมือง ก็สามารถทำได้ เพราะฐานข้อมูลใหญ่มาก มีโทรศัพท์มือถือ มี Application และน่าจะมี Social media บางส่วน แต่คงต้องเปลี่ยนคณะกรรมการธนาคารกรุงไทยและผู้บริหารระดับสูงทั้งหมดเสียก่อน และยังจะมีอุปสรรคจากธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำกับดูแลคงจะขัดขวางอย่างมาก เพราะในเวลานี้ธนาคารแห่งประเทศไทยขัดขวางโครงการ Digital Wallet อย่างรุนแรง และหากจะใช้เป๋าตังทำ Digital Wallet แล้วเอาไปใช้ทำสงครามไซเบอร์ด้วย คงจะไม่มีทางยอม ต้องปลดผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน จึงจะดำเนินการตามนี้ได้
ฐานข้อมูลบัตรทอง มีประมาณ 40 ล้านคน ฐานข้อมูลประกันสังคมก็มีประมาณ 19 ล้านคนแต่มี Social media และไม่มีเบอร์โทรศัพท์มือถือ ก็จะไม่สามารถนำไปใช้เพื่อสร้าง Cyber War Room ได้
ฐานข้อมูลผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด 90-91) ของกรมสรรพากร มีเบอร์โทรศัพท์มือถือ พอจะมีศักยภาพในการนำไปใช้ทำ Cyber War Room ได้แต่ติดขัดที่มาตรา 10 ของพรบ. สรรพากร และทางกรมสรรพากรกระทรวงการคลัง เองก็ไม่มีทางยอม
รัฐบาลนี้ ได้เปลี่ยนคณะกรรมการของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA และพยายามผลักดัน แอปทางรัฐ ซึ่งน่าจะนำไปเป็น Application สำหรับ Digital Wallet ของรัฐบาล ซึ่งที่ยากคือตัวแอปทางรัฐเองก็ยากและท้าทายมากอยู่แล้วเพราะต้องบูรณาการข้อมูล (Data integration) และเนื่องจาก DGA ไม่เคยพัฒนา Application ขนาดใหญ่มาก่อน จึงยากในประเด็น Scalability อีกประเด็นหนึ่ง แต่รัฐบาลอาจจะคิดว่าฐานข้อมูลใหญ่ของ DGA จากแอปทางรัฐ ที่จะเติบโตอย่างรวดเร็วเพราะ Digital Wallet แจกเงินหนึ่งหมื่นบาท น่าจะควบคุมเองได้ง่ายกว่า และนำไปใช้ในการทำสงครามไซเบอร์ได้ต่อไปในอนาคตใช่หรือไม่?
สาขาวิชาสถิติศาสตร์
สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
รัฐบาลพรรคเพื่อไทย นำโดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และอาจจะมีนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลัง ได้พยายามผลักดันนโยบายประชานิยม โดยการแจกเงินให้ประชาชน ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป มีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 70,000 บาท และมีเงินฝากทุกบัญชีรวมกันทุกธนาคารไม่เกิน 500,000 บาท ให้ได้รับเงินคนละ 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ของรัฐบาล ซึ่งน่าจะใช้เงินประมาณหกแสนถึงเจ็ดแสนล้านบาท หรือก่อให้เกิดความเสียหายหรือเกิดหนี้สาธารณะให้กับประเทศไทยค่อนข้างใกล้เคียงกับโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
โครงการ Digital Wallet เป็นนโยบายประชานิยมเพื่อหาเสียงทางการเมืองอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการกำหนดอายุว่าผู้ที่จะได้รับเงินต้องมีอายุ 16 ปีขึ้นไป อีกสองปีก็จะมีอายุครบ 18 ปี เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก (First-time voter) ซึ่งพรรคก้าวไกล คู่แข่งทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยเป็นผู้ครองตลาดกลุ่มเป้าหมายนี้อย่างชัดเจน การแย่งชิงฐานคะแนนเสียงทางการเมืองที่เดิมเป็นของพรรคการเมืองคู่แข่งจึงเป็นการใช้นโยบายเพื่อหาเสียงทางการเมืองอย่างชัดเจน
ในประเทศไทยมีการทำสงครามไซเบอร์ (Cyberwarroom) มาแล้วหลายปี โปรดอ่านบทความขบวนการล้มเจ้าบนโลกออนไลน์ https://mgronline.com/daily/detail/9630000064482
แต่เดิมพรรคไทยรักไทยก็ประสบความสำเร็จจากการทำสงครามข่าวสาร (Information warfare) ผ่านสถานีวิทยุชุมชน แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไปเกิดการระเบิดดิจิทัล (Digital disruption) ก็ทำให้พรรคเพื่อไทยพ่ายแพ้การเลือกตั้งเพราะแพ้ในสงครามไซเบอร์
ปัจจัยความสำเร็จ (Key Success Factor: KSF) ของการทำสงครามไซเบอร์นอกเนื้อไปจากการจัดการเนื้อหา (Content management) นั้นคือฐานข้อมูล (Database) หรือจะเรียกว่าข้อมูลใหญ่ (Big data) ก็ได้ เรามาลองพิจารณาภูมิทัศน์ของฐานข้อมูลใหญ่ภาครัฐของไทย ดังแสดงในตารางด้านล่างนี้
ฐานข้อมูลใหญ่สุดคือ PromptPay ซึ่งมีผู้ดูแลฐานข้อมูลคือ ITMX ย่อมาจาก Interbank Transaction Management and Exchange ตั้งโดยธนาคารพาณิชย์ไทยร่วมมือกัน มีผู้ลงทะเบียนเกือบ 71 ล้านคนในปัจจุบัน ซึ่งมากกว่าประชากรของไทยที่มีประมาณ 67 ล้านคน เนื่องจากต่างชาติและนิติบุคคลสามารถลงทะเบียนได้ เป็นแกนกลางของการโอนเงินในประเทศ สร้างประโยชน์มหาศาลที่ทำให้ธุรกรรมทางการเงินของไทยมีต้นทุนทางการเงินถูกลงไปมาก ทำให้เกิดธุรกิจอีคอมเมิร์ซและสังคมดิจิทัลของไทยเติบโตเป็นอย่างยิ่ง PromptPay นั้นผูกด้วยรหัสประจำตัวประชาชนประมาณ 41 ล้านคน และผูกด้วยเบอร์โทรศัพท์มือถือราว 30 ล้านเลขหมาย มีการตรวจพิสูจน์ตัวตนด้วยชีวมิติ (Biometric authentication) ฐานข้อมูลนี้ พอจะมีศักยภาพในการใช้ทำสงครามไซเบอร์เพราะมีโทรศัพท์มือถือ แต่การเข้าไปดึงข้อมูลทำได้ยาก เพราะดูแลโดยธนาคารพาณิชย์ไทยหลายสิบรายร่วมกัน ทั้งยังมีธนาคารแห่งประเทศไทยกำกับดูแลอีกชั้นหนึ่ง
ฐานข้อมูลใหญ่อันดับสองคือ ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร ขึ้นอยู่กับสำนักทะเบียนราษฎร กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ฐานข้อมูลนี้ไม่มี Social media ไม่มีโทรศัพท์มือถือ จึงเอาไปใช้ทำประโยชน์ในการทำสงครามไซเบอร์ไม่ได้
ฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกับ ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรคือ ThaiD หรือ Thai Identity เป็นฐานข้อมูลที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ดูแลฐานข้อมูลเช่นกัน จุดเด่นของ ThaiD คือมีการตรวจพิสูจน์ตัวตนด้วยชีวมิติ (Biometric authentication) ไม่ว่าจะเป็นลายนิ้วมือ (Fingerprint) และการจดจำใบหน้า (Facial recognition) และเป็นฐานข้อมูลกลางเพื่อการตรวจพิสูจน์ตัวบุคคลของฐานข้อมูลใหญ่ภาครัฐและ Application ภาครัฐทั้งหมด ฐานข้อมูลนี้เพิ่งเริ่มต้นไม่นาน มีผู้ลงทะเบียนแล้วประมาณ 13.7 ล้านคน และเติบโตอย่างรวดเร็วจนในท้ายที่สุดน่าจะมีผู้ลงทะเบียนเท่ากับจำนวนประชากรในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร แต่ฐานข้อมูลนี้ไม่มี Social media ไม่มีโทรศัพท์มือถือ จึงเอาไปใช้ทำประโยชน์ในการทำสงครามไซเบอร์ไม่ได้
ฐานข้อมูลเป๋าตัง มีผู้ดูแลฐานข้อมูลคือธนาคารกรุงไทย เติบโตจากคนละครึ่งและเราไม่ทิ้งกัน มีผู้ลงทะเบียนแล้วราว 40 ล้านคน สามารถโอนเงินได้ มีข้อมูลธุรกรรมทางการเงิน มีบัญชีธนาคาร มี Application ที่สามารถดาวน์โหลดติดตั้งใช้งานได้เลย มีการจดจำใบหน้า (Facial recognition) เพื่อการตรวจพิสูจน์ตัวบุคคล ทำให้มีความปลอดภัยไซเบอร์พอสมควร เพราะมีการตรวจพิสูจน์ด้วยพนักงานหน้าเคาเตอร์ของธนาคารกรุงไทยเองด้วย ดังที่ผู้ลงทะเบียนเป๋าตัง ต้องถ่ายรูปด้วยกล้องโทรศัพท์มือถือ โดยถอยหน้าเข้าออก เลิกคิ้ว เบิกตา หากไม่ผ่านก็ต้องไปพิสูจน์ตัวตนที่หน้าเคาเตอร์ของธนาคารกรุงไทยอีกชั้น จึงมีความปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity) ค่อนข้างสูง
ฐานข้อมูลเป่าตัง เริ่มต้นจากฐานข้อมูลเล็กจนมีผู้ลงทะเบียนกว่า 40 ล้านคน ทั้งฐานข้อมูลเป๋าตังและ Application ผ่านการพัฒนามายาวนานหลายปี มีความเสถียรพอสมควร ถือว่ามีศักยภาพสูงในการขยายให้ใหญ่ (Scalability) ค่อนข้างดีมาก ประเด็นนี้เปรียบเสมือนการทำข้าวผัดกระเพราให้คนเดียวกัน กับทำข้าวผัดกระเพราให้คนแสนคนกิน อย่างหลังนี้ต้องใช้ฝีมือสูงมาก ไม่ใช่เรื่องที่ง่าย และระบบสารสนเทศอาจจะล่มได้ง่ายๆ หากไม่มีประสปการณ์หรือการวางแผนที่ดีพอ
หากรัฐบาลจะใช้ฐานข้อมูลและ Application เป๋าตังในโครงการ Digital Wallet แจกเงินหนึ่งหมื่นบาท จะดำเนินการได้ทันที และแทบจะไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มขึ้นเลย
ดังนั้นฐานข้อมูลเป๋าตัง จึงมีความเหมาะสมที่สุดหากจะนำมาใช้ในโครงการ Digital Wallet แจกเงินหนึ่งหมื่นบาทของรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยได้ในทันที ไม่ต้องเสียเวลาพัฒนาใดๆ แทบไม่มีความเสี่ยงจากความล้มเหลวในการบริหารโครงการสารสนเทศ (Information technology project management)
หากจะใช้ฐานข้อมูลเป๋าตังเพื่อนำไปใช้ทำ Cyber War Room หรือศูนย์บัญชาการสงครามไซเบอร์สำหรับพรรคการเมือง ก็สามารถทำได้ เพราะฐานข้อมูลใหญ่มาก มีโทรศัพท์มือถือ มี Application และน่าจะมี Social media บางส่วน แต่คงต้องเปลี่ยนคณะกรรมการธนาคารกรุงไทยและผู้บริหารระดับสูงทั้งหมดเสียก่อน และยังจะมีอุปสรรคจากธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำกับดูแลคงจะขัดขวางอย่างมาก เพราะในเวลานี้ธนาคารแห่งประเทศไทยขัดขวางโครงการ Digital Wallet อย่างรุนแรง และหากจะใช้เป๋าตังทำ Digital Wallet แล้วเอาไปใช้ทำสงครามไซเบอร์ด้วย คงจะไม่มีทางยอม ต้องปลดผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน จึงจะดำเนินการตามนี้ได้
ฐานข้อมูลบัตรทอง มีประมาณ 40 ล้านคน ฐานข้อมูลประกันสังคมก็มีประมาณ 19 ล้านคนแต่มี Social media และไม่มีเบอร์โทรศัพท์มือถือ ก็จะไม่สามารถนำไปใช้เพื่อสร้าง Cyber War Room ได้
ฐานข้อมูลผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด 90-91) ของกรมสรรพากร มีเบอร์โทรศัพท์มือถือ พอจะมีศักยภาพในการนำไปใช้ทำ Cyber War Room ได้แต่ติดขัดที่มาตรา 10 ของพรบ. สรรพากร และทางกรมสรรพากรกระทรวงการคลัง เองก็ไม่มีทางยอม
รัฐบาลนี้ ได้เปลี่ยนคณะกรรมการของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA และพยายามผลักดัน แอปทางรัฐ ซึ่งน่าจะนำไปเป็น Application สำหรับ Digital Wallet ของรัฐบาล ซึ่งที่ยากคือตัวแอปทางรัฐเองก็ยากและท้าทายมากอยู่แล้วเพราะต้องบูรณาการข้อมูล (Data integration) และเนื่องจาก DGA ไม่เคยพัฒนา Application ขนาดใหญ่มาก่อน จึงยากในประเด็น Scalability อีกประเด็นหนึ่ง แต่รัฐบาลอาจจะคิดว่าฐานข้อมูลใหญ่ของ DGA จากแอปทางรัฐ ที่จะเติบโตอย่างรวดเร็วเพราะ Digital Wallet แจกเงินหนึ่งหมื่นบาท น่าจะควบคุมเองได้ง่ายกว่า และนำไปใช้ในการทำสงครามไซเบอร์ได้ต่อไปในอนาคตใช่หรือไม่?