xs
xsm
sm
md
lg

“กัญชา-บุหรี่และแอลกอฮอล์” ควรนำสิ่งใดกลับสู่ยาเสพติด?

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา



ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
อาจารย์พิเศษสาขาประสาทวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



พอค้นคำว่า 'บุหรี่และแอลกอฮอล์' รักษาสุขภาพอย่างไรไม่มีข้อความขึ้น

แต่พอค้นคำว่า อันตรายจากบุหรี่และเหล้าคืออะไร งานศึกษาวิจัยหรือการบันทึกสถิติและอธิบายความร้ายของ บุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เต็มไปหมด เช่น

......ผลวิจัยล่าสุดเผยบุหรี่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกเกือบ 8 ล้านรายในปี 2019 พบนักสูบหน้าใหม่ถึง 90% ติดบุหรี่เมื่ออายุไม่ถึง 25 ปี (www.prd.go.th)

ข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ปี 2560 คนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ 72,656 ราย (www.hfocus.org)........

หรือ

......คนตายจากแอลกอฮอล์ 3 ล้านคนต่อปีทั่วโลก อุบัติเหตุและบาดเจ็บ 9 แสนคน เมาแล้วขับเกิดอุบัติรถชนกว่า 3.7 ล้านคน ไม่รวมดื่มแล้วทำร้ายตัวเองก่อคดีฆาตกรรม

ก่อโรคมะเร็งกว่า 4 แสนคน โรคทางเดินอาหารและภาวะตับแข็ง โรคหัวใจ โรคความดันโลหิต โรคเส้นเลือดและอีกนับแสนที่เสียชีวิตจากภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ (www.thaihealth.or.th)......

แต่พอค้นคำว่ากัญชารักษาโรค มีงานวิจัย บทความเต็มไปหมด เช่น

กัญชารักษาโรคอะไรได้บ้าง
ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากการได้รับเคมีบำบัด
เพิ่มความอยากอาหารในผู้ป่วยมะเร็งและเอดส์
ลดอาการปวด
ลดอาการปลอกประสาทเสื่อม
ช่วยควบคุมอาการลมชัก
ลดความดันในตาของผู้ป่วยต้อหิน
ป้องกันและรักษาอาการสมองฝ่อ
คลายความวิตกกังวล
การรักษามะเร็ง
(pharmacy.mahidol.ac.th)
..................

เมื่อยึดหลักข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์เราควรนำสิ่งใดกลับสู่ยาเสพติด
พวกหมอในกระทรวงสาธารณสุขคงมีสติปัญญาคิดได้หากไม่เกรงกลัวอำนาจของรัฐมนตรี แต่ในกระทรวงนี้คงหาหมอยืนยันในข้อเท็จจริงของกัญชาแสนยาก เพราะภูมิปัญญาไทยกลายเป็นของแปลกของพวกหมอแผนปัจจุบัน


กำลังโหลดความคิดเห็น