xs
xsm
sm
md
lg

ส่องกล้องมองโอกาส ความท้าทาย และทิศทางประเทศไทย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ

วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ
ศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร มจธ.


ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยเผชิญความท้าทายด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากสภาวะความผันผวนของเศรษฐกิจโลก การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมสูงวัย เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลต่อกฎระเบียบทางการค้าระหว่างประเทศรูปแบบใหม่ ทำให้ภาคธุรกิจต้องปรับตัวให้การดำเนินงานให้มีความสอดคล้องกับความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป สามารถรับมือกับความท้าทายและแสวงหาโอกาสที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

World Competitiveness Center ของ International Institute for Management Development หรือ IMD สวิตเซอร์แลนด์ เผยผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ประจำปี 2566 โดยประเทศไทยมีอันดับความสามารถในการแข่งขันดีขึ้นโดยเฉพาะด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) มีอันดับดีขึ้นจากอันดับที่ 34 ในปีที่แล้วมาอยู่ที่อันดับ 16 ในปีนี้ อันเนื่องมาจากประเด็นการลงทุนระหว่างประเทศ (International Investment) และการค้าระหว่างประเทศ (International Trade) ที่ปรับตัวดีขึ้นมากภายหลังจากการเปิดประเทศหลังวิกฤตโควิด-19 ในด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) มีอันดับดีขึ้นจากอันดับ 31 ในปีที่แล้ว มาอยู่อันดับที่ 24 เป็นผลมาจากประเด็นด้านกฎหมายธุรกิจ (Business Legislation) กรอบการบริหารภาครัฐ (Institutional Framework) และการคลังภาครัฐ (Public Finance) และประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) จากอันดับที่ 30 ในปีก่อน มาอยู่อันดับที่ 23 ทำให้ในภาพรวมประเทศไทยมาอยู่ในอันดับที่ 30 จาก 64 เขตเศรษฐกิจ

จากการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการประจำเดือนมกราคม 2567 อยู่ที่ระดับ 90.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 88.8 ในเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ สะท้อนจากคำสั่งซื้อและยอดขายสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภค ประกอบกับมาตรการ Easy E-receipt และมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวฟรีวีซ่า (Visa-Free) ที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยว ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือน ข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 98.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 96.2 ในเดือนธันวาคม 2566 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากอุปสงค์ภายในประเทศและต่างประเทศทยอยฟื้นตัว อย่างไรก็ตามในการยกระดับอุตสาหกรรมไทยภาครัฐควรมีการเร่งหารือกับสายเรือเพื่อเพิ่มจำนวนเรือขนส่งสินค้าและตู้คอนเทนเนอร์เข้ามาในประเทศ เพื่อป้องกันปัญหาขาดแคลนตู้สินค้าและเรือตลอดจนการชี้แจงแผนการเดินเรือและรายละเอียดในส่วนของค่าระวางเรือ (Freight rate) ที่ปรับขึ้นให้ชัดเจน นอกจากนี้ภาครัฐต้องมีการอำนวยความสะดวกการค้าชายแดนไทย-เมียนมา การดูแลนักลงทุนไทยที่เข้าไปทำธุรกิจเพื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในเมียนมา เป็นต้น

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการเองจำเป็นต้องมีการพัฒนาธุรกิจและปรับรูปแบบการดำเนินงานให้สอดคล้องกับพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการของธุรกิจ โดยหากธุรกิจมีความสามารถในการสร้างความแตกต่างของสินค้าหรือบริการ การบริหารจัดการด้านต้นทุน ความสามารถในการตอบสนองความต้องการได้อย่างรวดเร็ว และความสามารถในการสื่อสารเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการของธุรกิจออกไปให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ถึงคุณค่าที่จะได้รับ เมื่อลูกค้าเกิดความพึงพอใจเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ธุรกิจมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จเพิ่มสูงขึ้นได้และทำให้ธุรกิจมีความได้เปรียบทางการแข่งขันที่เหนือกว่าคู่แข่งขันภายใต้สภาวะแวดล้อมเดียวกัน


ผู้ประกอบการและผู้บริหารองค์กรสามารถสร้างแต้มต่อเชิงกลยุทธ์ ยกระดับแนวคิดทางธุรกิจ เตรียมความพร้อมองค์กรสู่ความสำเร็จได้ในงาน 𝑇ℎ𝑎𝑖𝑙𝑎𝑛𝑑 𝐶𝑜𝑚𝑝𝑒𝑡𝑖𝑡𝑖𝑣𝑒𝑛𝑒𝑠𝑠 𝐹𝑜𝑟𝑢𝑚 2024 ที่จะได้พบกับสุดยอด Speakers ระดับแนวหน้าของไทยและการพูดคุยในประเด็นสำคัญ ได้แก่ “ทิศทางเศรษฐกิจ 2025 กับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย” โดย คุณสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย “ยกระดับอุตสาหกรรมไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน” โดย คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย “เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย” เสวนาโดย คุณรวีรัตน์ สัจจวโรดม ประธานบริหาร สายงานการเงินและกลยุทธ์ บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน), คุณมงคล เฮงโรจนโสภณ Chief Operations Officer, SCG Chemicals Public Company Limited และคุณวิศรุต เอื้ออานันท์ Chief Digital Mar Tech Officer โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ “การยกระดับความสามารถทางการแข่งขันสู่องค์กรแห่งความยั่งยืนด้วย STECO’s Enterprise Mix” โดย ผศ. ดร.วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ ผู้อำนวยการศูนย์กลยุทธ์และความสามารถทางการแข่งขันองค์กร (STECO) พร้อมทั้งโอกาสในการสร้างเครือข่ายจากนักธุรกิจ ผู้บริหาร และผู้ประกอบการภายในงาน ในวันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2567 เวลา 12.00 – 17.00 น. ณ ห้อง Auditorium ชั้น 7 อาคาร KX Knowledge Xchange ถ.กรุงธนบุรี สามารถลงทะเบียนได้ที่ https://forms.gle/rfuNdNVWjCis2uLMA หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 064-749-9629 , 02-470-9643 คุณกวิตา


กำลังโหลดความคิดเห็น