มีเรื่องที่น่าสนใจในความสำคัญของสินค้าโภคภัณฑ์ยางพารา ผมเองกำลังสนุกกับการค้นคว้าเรื่องยางพารา
ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจสำคัญของโลกยานยนต์ที่ต้องการยางพารา เพื่อป้อนให้กับโลกอุตสาหกรรมรถยนต์ของโลก ซึ่งแหล่งผลิตวัตถุดิบอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากที่จักรวรรดินิยมอังกฤษนำเข้ามาปลูกในมาลายู จนทำให้กระจายตัวมาปลูกทั้งในอินโดนีเซียและราชอาณาจักรสยาม
มีเรื่องที่น่าสนใจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาและยุโรป ได้ปิดล้อมสหภาพโซเวียตในยุโรป ซึ่งความต้องการยางพาราที่จะใช้เป็นสินค้ายุทธปัจจัยที่สำคัญของการไปทำล้อเครื่องบิน ล้อยานยนต์ในกองทัพ
ในการรับรู้ของคนที่สนใจจะรับรู้เพียงแค่ว่าโลกมีการแบ่งค่ายเป็นโลกเสรีและโลกของค่ายสังคมนิยม แต่ลืมคิดความจริงที่เป็นสัจจะนั่นก็คือ ความจริงของอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบินขนส่งเครื่องบินรบ(มิได้ใช้ล้อเหล็ก) แต่ยังต้องใช้ล้อยาง และรถยนต์ขนส่งในกองทัพต่างๆ ก็ยังใช้ล้อยาง เพื่อป้องกันความร้อนแรงกระแทก
ในวารสาร Journal of Grobal History มีข้อมูลระบุไว้ว่า หลังจากที่โลกตะวันตกปิดล้อมทางเศรษฐกิจต่อสหภาพโซเวียต วัตถุดิบยางพาราซึ่งเป็นสินค้าที่สหภาพโซเวียตเคยซื้อผ่านอังกฤษก็หยุดชงักลงในปี 1950 โจเซฟ สตาลิน ผู้นำของสหภาพโซเวียต "ได้มีโทรสารไปยัง เหมาเจ๋อตุงที่กรุงปักกิ่ง" เพื่อให้ทางปักกิ่ง ช่วยเป็นธุระในการจัดซื้อยางพาราจากเครือข่ายการค้ายางพาราของชาวจีนโพ้นทะเลในคาบสมุทรมาลายู
สิ่งที่ผู้นำสหภาพโซเวียตไหว้วานทางปักกิ่ง และบอกเล่าเหตุผลในการต้องพึ่งพาปักกิ่งให้เป็นธุระจัดหา ทั้งนี้ก็เพราะว่าพ่อค้าชาวจีนโพ้นทะเลในมาลายู ล้วนมีอิทธิพลต่อการส่งออกยางพาราที่ท่าเรือสิงโปร์
ทั้งโจเซฟ สตาลินได้ให้เหตุผลในการไหว้วานปักกิ่งครั้งนี้ว่า "อุตสาหกรรมการบิน ล้อเครื่องบินหากยังไม่ได้ใช้ล้อเหล็ก ยางพาราคือสิ่งสำคัญสูงสุดที่ขอให้ทางปักกิ่ง ช่วยเป็นธุระต่อมิตรภาพในครั้งนี้"
จาการศึกษาพบว่าในปี 1950 จีนเองนำเข้ายางยางพาราในช่วงต้นปีแค่ 1,000 ตันเพื่อเอาไปใช้ทำล้อรถแทรกเตอร์ไถนาเพื่อใช้ในภาคการเกษตร แต่ 10 เดือนต่อมา ยอดการนำเข้ายางพาราจากคาบสมุทรมาลายู มีการนำเข้ายางพาราเพื่อส่งไปยังสหภาพโซเวียตโดยผ่านทางรัฐบาลของเหมาเจ๋อตง มีการนำเข้ายางพาราอย่างก้าวกระโดดถึง 80,000 ตัน โดยใช้เครือข่ายทางการค้าลำเลียงการขนส่งจากสิงคโปร์เข้าไปยังฮ่องกง หลังจากนั้นก็ขนส่งจากฮ่องกงผ่านเข้าสู่ประเทศจีนเพื่อจัดส่งไปให้สหภาพโซเวียต
การเป็นธุระจัดหาวัตถุดิบยางพาราเพื่อป้อนให้กับอุตสาหกรรมการผลิตของสหภาพโซเวียตครั้งนี้ สหภาพโซเวียตรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ปักกิ่งกับมอสโกที่ยากจะลืมเลือน
ยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที