ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล
สาขาวิชาสถิติศาสตร์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ความขัดแย้งระหว่างอินโดจีน-ฝรั่งเศสกับสยาม นั้นมีมาโดยตลอดนับตั้งแต่ฝรั่งเศสพยายามขยายอิทธิพลเข้ามาในแหลมอินโดจีน ความขัดแย้งนี้เริ่มมาตั้งแต่กรณีกบฎเจ้าอนุวงศ์ และต่อมาสงครามปราบฮ่อ ที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เป็นแม่ทัพยกพลขึ้นไปปราบฮ่อที่แคว้นหัวพันห้าทั้งหกและแคว้นสิบสองจุไท ซึ่งฝรั่งเศสคิดว่าอาณาบริเวณดังกล่าวอยู่ในอาณานิคมอินโดจีนของตน
ชนวนใหญ่ที่ฝรั่งเศสก่อให้เกิดสงครามคือการเข้ายึดเมืองคำม่วนที่เป็นเขตปกครองของไทย และพยายามขับไล่เจ้าเมืองคือพระยอดเมืองขวาง (ขำ ยอดเพ็ชร์) โดยกองกำลังทหารนำโดยมงซิเออร์ลูซ ได้บังคับให้พระยอดเมืองขวาง เจ้าเมืองคำม่วนออกจากพื้นที่ พระยอดเมืองขวางเป็นข้าหลวงในสังกัดของกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายเหนือ ได้ต่อสู้ทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งในการรักษาแผ่นดินไทยเอาไว้ มีทหารทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายฝรั่งเศสบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนหนึ่ง ทำให้ฝรั่งเศสถือเป็นเหตุอันไม่พอ และไปยึดหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออกเอาไว้ในปกครองของตนคือเมืองจันทบุรีและเมืองตราด
คดีพระยอดเมืองขวางที่ฆ่านายทหารญวณและเวียดนามเสียชีวิตไปนั้น สร้างความไม่พอใจให้กับทางฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก กระบวนการศาลยุติธรรมไทยได้ตัดสินว่าพระยอดเมืองขวางไม่ผิด แต่ฝรั่งเศสไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมของไทย และต้องการใช้สิทธิสภาพนอกอาณาเขต โดยจัดตั้งศาลร่วมระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเพื่อตัดสินคดีพระยอดเมืองขวาง ซึ่งทางการไทยก็ไม่ร่วมมือ ไม่ยอมส่งพระยอดเมืองขวางไปขึ้นศาลดังกล่าว แต่ปัญหานี้ท้ายที่สุดไทยก็ต้องยอม ศาลที่จัดตั้งขึ้นโดยฝรั่งเศสตัดสินพิพากษาว่าพระยอดเมืองขวางมีความผิดจริงต้องโทษจำคุก และทำให้ท้ายสุดพระยอดเมืองขวางก็ต้องไปเข้าคุกของฝรั่งเศส
วันที่ 21 มีนาคม ร.ศ.112 ฝรั่งเศสได้ส่งเรือ Lutin เข้ามาจอดทอดสมออยู่หน้าสถานทูตฝรั่งเศส ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่ออวดแสดงแสนยานุภาพ ได้เข้ามาขอเจรจาและเรียกร้องให้สยามยอมรับเขตแดนญวน (เวียดนาม) ว่ารวมถึงฝั่งซ้ายลำน้ำโขงทั้งหมด (หรือประเทศลาวในปัจจุบันทั้งประเทศ) แต่ไทยไม่ยินยอม
ในช่วงเวลาเดียวกันผู้สำเร็จราชการอินโดจีนของฝรั่งเศสได้ส่งนายออกุสต์ ม. ปาวี ซึ่งเป็น Vice Consul ประจำเมืองหลวงพระบางมาเป็นกงสุลประจำกรุงเทพมหานครเพื่อเจรจาต่อรองรักษาผลประโยชน์ของฝรั่งเศส โดยตรง ฝรั่งเศสได้เอาเรือรบเข้ามาในอ่าวไทย เพื่อปิดปากอ่าวไทย และเกิดการสู้รบกันระหว่างฝรั่งเศสกับทหารเรือไทย บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทหารเรือไทยได้ชักรอกยกโซ่ที่อยู่ใต้ท้องน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นมาขวางกลางลำน้ำ มิให้เรือรบของฝรั่งเศสเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยาได้ เกิดการยิงต่อสู้กัน มีการบาดเจ็บล้มตายทั้งฝั่งไทยและฝรั่งเศส (จากบทความของผู้เขียน ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ตอนที่ ๕ : คดีพระยอดเมืองขวางและวิกฤติ รศ.112 เมื่อทรัพย์สินพระมหากษัตริย์กู้ชาติบ้านเมือง https://mgronline.com/daily/detail/9650000057151) เรือรบของฝรั่งเศสยังได้ยึดครองเมืองจันทบุรีและเมืองตราดของไทยไว้ด้วย และปิดปากแม่น้ำจันทบุรีไว้ในคราวเดียวกัน นอกจากนี้ฝรั่งเศสยังได้เข้าไปยึดเกาะสีชังไว้ทั้งเกาะทำให้การค้าขายระหว่างประเทศมีปัญหามากเนื่องจากเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ที่ไม่อาจแล่นเข้าแม่น้ำเจ้าพระยาได้เนื่องจากติดสันดอนปากแม่น้ำต้องไปพักขนถ่ายสินค้าที่บริเวณเกาะสีชัง
ฝรั่งเศสบังคับให้สยามต้องตอบภายใน 48 ชั่วโมง ท้ายที่สุดสยามขอเจรจากับฝรั่งเศส สยามต้องเสียค่าปฏิกรณ์สงครามเป็นจำนวนมหาศาลและทำสนธิ สัญญาเจรจาสงบศึกกับฝรั่งเศสในวันที่ 13 ตุลาคม รัตนโกสินทร์ ศก 112 สยามต้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทั้งหมดให้กับฝรั่งเศสตามสัญญาข้อ 1 นอกจากนี้ยังห้ามสยามมีเรือรบในแม่น้ำโขงเด็ดขาดตามสัญญาข้อ 2 ห้ามสยามมีด่าน คู หรือค่ายทหารบนฝั่งขวาแม่น้ำโขงทั้งหมดเป็นระยะทาง 25 กิโลเมตร ตามสัญญาข้อ 3 และข้ออื่นๆ ที่สยามเสียเปรียบฝรั่งเศสเป็นอันมาก แต่สยามก็ต้องยอม
แม้ว่าสยามจะยอมทำตามฝรั่งเศสเพื่อรักษาเอกราชของสยามไว้ ยอมเสียทั้งดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทั้งหมด ยอมเสียสิทธิในด้านภาษี การทหาร บนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงไปอีกด้วย ทั้งยังต้องใช้เงินถุงแดงชำระค่าปฏิกรณ์สงครามมากมายด้วยความยากลำบาก แต่ฝรั่งเศสก็ยังคงยึดเมืองจันทบุรีเอาไว้
การสูญเสียดินแดนในครั้งนั้น จึงเท่ากับไทยเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทั้งหมดไป 143,000 ตารางกิโลเมตร
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ทรงเสียพระทัยกับการเสียดินแดนในคราววิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 เป็นอย่างยิ่ง ทรงตรอมพระทัย และตั้งพระทัยจะเสด็จสวรรคต ไม่ยอมเสวยพระกระยาหาร ไม่ยอมเสวยพระโอสถ ทรงพระราชนิพนธ์อินทรวิเชียรฉันท์ลงมาลาพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพารดังนี้
เจ็บนานนึกหน่ายนิตย์ มะนะเรื่อง บำรุงกาย
ส่วนจิตต์บ่มีสบาย ศิระกลุ้มอุราตรึง
แม้หายก็พลันยาก จะลำบากฤทัยพึง
ตริแต่จะถูกรึง อุระรัดและอัตรา
กลัวเป็นทวิราช บตริป้องอยุธยา
เสียเมืองจึงนินทา บละเว้นฤวางวาย
คิดใดจะเกี่ยงแก้ ก็บ่พบซึ่งเงื่อนสาย
สบหน้ามนุษย์อาย จึงจะอุดแลเลยสูญ
ฝรั่งเศสนั้นใช้กำลังทหารบีบบังคับสยาม โดยยึดเอาดินแดนที่เป็นดินแดนหลักของสยามซึ่งคนไทยอาศัยอยู่มากมายและพูดภาษาไทยไว้ในครอบครอง ทั้งยังคุมเชิงในอ่าวไทยด้วย
เราต้องไม่ลืมว่าในทางยุทธศาสตร์และการทหารนั้น เมืองจันทบุรีเป็นหัวเมืองชายทะเลขนาดใหญ่ และมีความสำคัญยิ่ง คราวพระเจ้าตากสินมหาราช ตีฝ่าวงล้อมทัพพม่าก่อนกรุงศรีอยุธยาจะแตกก็ทรงไปตั้งหลักที่เมืองจันทบุรีแล้วค่อยๆ ตีโอบล้อมกลับเข้ามากู้ชาติบ้านเมือง การที่ฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีเอาไว้ทำให้สยามเสียเปรียบและอึดอัดมาก
หลังจากวิกฤติการณ์ร.ศ. 112 ฝรั่งเศสยังคงยึดเมืองจันทบุรีไว้ไม่ยอมคืน สยามพยายามเจรจาอีกหลายครั้งแต่ก็ไม่เป็นผล จนกระทั่งมีการเจรจาลงนามในสัญญาลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 (รัตนโกสินทร์ศก 122 หรือ คริสตศักราช 1904) ฝรั่งเศสยอมถอนกำลังทหารออกจากเมืองจันทบุรี โดยที่
สยามต้องปักปันเขตแดนร่วมกับกัมพูชา (หรืออินโดจีน-ฝรั่งเศสในเวลานั้น) ใช้สันปันน้ำบริเวณเทือกเขาบรรทัดตามสัญญาในข้อ 1
สยามยังต้องปักปันเขตแดนร่วมกับฝรั่งเศสทางด้านประเทศลาวในปัจจุบันนี้โดยใช้ร่องน้ำลึกในแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหืองตามสัญญาในข้อ 2
โดยมีคณะกรรมการปักปันเขตแดนร่วมกันดังสัญญาในข้อ 3
สยามยอมเสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงรวมทั้งเมืองหลวงพระบาท คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 25,500 ตร.กม ตามสัญญาร.ศ.122 ข้อ 4
แล้วฝรั่งเศสจึงจะยอมถอนกำลังทหารออกจากเมืองจันทบุรีตามสัญญาที่ตกลงกันในข้อ 5
สัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ.122 นี้เป็นการยกเลิกสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ. 112 เดิมตามข้อ 6
สยามเสียเปรียบฝรั่งเศสอีกมากมายในสัญญาร.ศ. 122 นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 12 และข้อ 13
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2447 หรือ รัตนโกสินทร์ศก 122 ฝรั่งเศสจึงยอมถอนกำลังทหารออกจากเมืองจันทบุรี แต่กลับไปยึดครองเมืองตราดและบรรดาเกาะทั้งหลายตั้งแต่แหลมลิงลงไปจนถึงเกาะกงแทน เท่ากับสยามจำต้องมอบเมืองตราดและเมืองประจันตคีรีเขตหรือเกาะกงในกับฝรั่งเศสไปอีก
เมืองประจันตคีรีเขตหรือเกาะกงนั้นเป็นดินแดนของสยามและผู้คนที่อาศัยอยู่บนเกาะกงนั้นพูดภาษาไทย เป็นเมืองฝาแฝดคู่กับประจวบคีรีขันธ์ทางฝั่งตะวันตกของประเทศไทย
เมื่อฝรั่งเศสผิดสัญญาโดยกลับไปยึดเมืองตราดและประจันตคีรีเขตหรือเกาะกงที่มีคนไทยอาศัยอยู่มากมายก็เป็นเหตุให้สยามต้องพยายามเจรจากับฝรั่งเศสอีกหลายครั้ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักว่าเมืองตราดนั้นเป็นเมืองที่มีคนไทยอาศัยอยู่มากมายแม้จะมีพื้นที่ไม่มากแต่ก็เป็นเมืองที่คนไทยอาศัยอยู่ในขณะที่เมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณนั้น เป็นเมืองประเทศราชที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล ทั้งติดกับโตนเลสาปหรือทะเลสาปเขมร เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ จับปลาได้มากมาย แต่ก็หาใช่แผ่นดินไทยแท้ๆ ไม่ จึงทรงตัดสินพระทัยยอมเสียดินแดนอีกครั้งเพื่อแลกเมืองตราดอันเป็นแผ่นดินยาวไปตามสันปันน้ำของเทือกเขาบรรทัดไปจนถึงบ้านหาดเล็กอันรวมถึงเกาะกูดกลับคืนมาเป็นของไทย
ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 หรือรัตนโกสินทร์ศก 125 หรือคริสตศักราช 1907 จึงได้มีการตกลงทำหนังสือสัญญาขึ้นอีกฉบับหนึ่งเรียกว่าหนังสือสัญญาระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามกับเปรสสิเดนต์แห่งรีปัปลิคฝรั่งเศส"
สยามยอมเสียดินแดนมณฑลบูรพาอันประกอบด้วยพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ตามสัญญาข้อ 1 ในเหตุการณ์ครั้งนั้นฝรั่งเศสได้เจรจาให้เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (เลื่อม อภัยวงศ์) ปกครองเมืองพระตะบองต่อไป แต่ท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์มีความจงรักภักดีต่อสยาม จึงตัดสินใจอพยพกลับมาอาศัยบนแผ่นดินไทยที่เมืองปราจีนบุรี ไม่สมัครใจอยู่เป็นเจ้าเมืองให้กับฝรั่งเศส
สยามกับฝรั่งเศสจะปักปันเขตแดนร่วมกันตามสัญญาในข้อ 4
ส่วนในข้อ 5 นั้นสยามหรือไทย พยายามแก้ไขปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขตซึ่งคนในบังคับของฝรั่งเศสไม่ต้องขึ้นศาลไทยเลย ให้เป็นว่าคนในบังคับของฝรั่งเศสหรือซับเยกของฝรั่งเศสหลัง รัตนโกสินทร์ศก 122 (ค.ศ.1904) ต้องมาขึ้นศาลไทย แต่ไทยต้องแก้ไขกฎหมายให้เป็นสากลเสียก่อน
สัญญาฉบับนี้ฝ่ายสยามมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ (ต้นราชสกุลเทวกุล) เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศของสยามในเวลานั้นทรงลงนาม
ดังนั้นเกาะกูด (Koh-Kut) ทั้งเกาะคือดินแดนของไทย ตามสัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ.125 หรือ ค.ศ.1907 ให้อ่านข้อ 1 และ ข้อ 2 ของสนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส เมื่อรัตนโกสินทร์ศก 125 หรือ คริสตศักราช 1907 มีสัญญาบ่งบอกไว้ชัดเจนว่าเกาะกูดเป็นของสยามอย่างแน่นอน
สยามยอมเสียเขมรอันเป็นประเทศราชของสยามแต่เดิมไปเกือบค่อนประเทศคือพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ
เพื่อแลกกับการที่สยามจะได้เมืองด่านซ้ายจังหวัดเลย และจังหวัดตราดไปจนถึงสุดชายแดนที่บ้านหาดเล็กและได้เกาะกูดกลับคืนมา แต่มิได้ปัจจันตคีรีเขตหรือเกาะกงกลับคืนมา
ในคราวนั้น ค.ศ.1907-1908 ได้มีคณะกรรมการปักปันเขตแดนร่วมกันระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ได้ทำแผนที่อัตราส่วน 1:200,000 แสดงดินแดนของไทยที่จังหวัดตราด อันแคบขนานริมทะเลไปตามสันปันน้ำของเทือกเขาบรรทัดจนสุดชายแดนที่บ้านหาดเล็กดังรูปในแผนที่นี้ ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาตามข้อ 4
เมื่อคุณลุง ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล ยังมีชีวิตอยู่ได้อธิบายว่าสัญญา รศ.125 หรือ ค.ศ.1907 นี้เป็นสัญญาประธาน ดังนั้นบรรดาข้อตกลงความเข้าใจร่วมกัน (Memorandum of understanding: MOU) ข้ออ้างอิง (Term of reference: TOR) การสื่อสารร่วม (Joint Communique) หรือ การจัดเตรียมชั่วคราว (Provisional arrangement: PA) ใดๆที่จัดทำขึ้นในภายหลัง ก็ตามย่อมไม่อาจจะขัดแย้งกับสัญญาประธานอันเป็นลายลักษณ์อักษรนี้ได้
ดังนั้นเกาะกูดจึงเป็นดินแดนของไทยทั้งเกาะ กัมพูชาไม่มีสิทธิ์ขีดเส้นบนแผนที่ลากเฉือนแบ่งเกาะกูดออกเป็นสองฝั่งยึดครองไปเป็นของกัมพูชาและอ้างอธิปไตยของดินแดนไทยเพื่อครอบครองพื้นทีในทะเลอ่าวไทยว่าเป็นพื้นที่พัฒนาร่วม (Joint development area: JDA) หรือ พื้นที่ทับซ้อนใดๆ ก็มิได้ทั้งสิ้น เพราะขัดกับสัญญาประธาน ที่เคยทำไว้กับประเทศไทย
ดินแดนของไทย และบูรณภาพแห่งดินแดนจะสูญเสียไปไม่ได้แม้แต่ตารางนิ้วเดียว
นับจากเหตุการณ์คดีพระยอดเมืองขวาง วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 สัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 และสัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ. 125 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ทรงยอมเสียดินแดนที่เดิมเป็นของไทยคือดินแดนประเทศลาวทั้งประเทศในปัจจุบันและดินแดนกัมพูชาเกือบทั้งประเทศในปัจจุบันให้กับฝรั่งเศสเพื่อแลกมาซึ่งดินแดนของสยามแท้ๆ อันมีคนไทยพูดภาษาไทยอาศัยอยู่
ไม่เป็นคำกล่าวที่เกินจริงแต่ประการใดเลยหากจะกล่าวว่า พระปิยมหาราชเจ้าทรงยอมเสียประเทศลาวและกัมพูชาทั้งประเทศเพื่อแลกกับหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออกของไทยทั้งหมดจนถึงบ้านหาดเล็กอันเป็นหลักเขตแดนที่ 73 หรือเกาะกูด
พระปิยมหาราชทรงยอมเสียลาวและกัมพูชาสองประเทศไปเพื่อแลกมาซึ่งเกาะกูด เกาะเล็กสุดชายทะเลฝั่งตะวันออกของไทย
พระปิยมหาราชยังต้องทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์อีกมากมายเพราะประชวรหนัก ทรงตรอมพระทัยที่ต้องสูญเสียดินแดนที่บูรพมหากษัตริยราชเจ้าได้ทรงปกปักรักษามาไว้โดยตลอด แต่เพื่อแลกกับเอกราชของชาติไทยก็ต้องทรงยอมโอนอ่อนผ่อนตามมหาอำนาจเช่นฝรั่งเศส
ความสุขส่วนพระองค์อีกประการที่พระปิยมหาราชต้องทรงเสียสละคือการไม่อาจจะเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่เกาะสีชังได้อีกต่อไปหลังเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 เพราะฝรั่งเศสยึดเกาะสีชังเอาไว้ ถือว่าเป็นพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัย สาเหตุที่พระปิยมหาราชต้องเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่เกาะสีชังนั้นเพราะในสมัยนั้นเกาะสีชังมีอากาศดีมาก กลางวันและกลางคืนอุณหภูมิต่างกันไม่เกิน 4 องศาเซลเซียส ทำให้ถูกกับพระโรคในพระวรกาย เมื่อเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่เกาะสีชังจึงมีพระสุขภาพแข็งแรงขึ้น หลังวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 หลายปีจึงโปรดให้รื้อพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ ในพระจุฑาธุชราชฐานบนเกาะสีชัง มาสร้างใหม่ในพระราชวังสวนดุสิตในพุทธศักราช 2443 หรือรัตนโกสินทร์ศก 118 เฉลิมพระนามพระที่นั่งองค์นี้ใหม่ว่าพระที่นั่งวิมานเมฆ อันเป็นพระที่นั่งไม้สักทององค์ใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบัน
จะด้วยพระปรีชาญาณใดก็ไม่อาจทราบได้ การได้ดินแดนไทยกลับมาจนถึงบ้านหาดเล็กและเกาะกูดเท่ากับทำให้ไทยได้อธิปไตยทางทะเลกลับคืนมา และในดินแดนอ่าวไทยที่เราได้กลับคืนมานั้นอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติคือน้ำมันและแก๊สธรรมชาติจนทำให้บริษัทข้ามชาติของชาติมหาอำนาจและนักการเมืองเขมรต้องตาลุกวาว
พื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยกับกัมพูชานั้นไม่มีและไม่เคยมี
พื้นที่พัฒนาร่วมกันระหว่างไทยกับกัมพูชานั้นก็ไม่มีและไม่เคยมี
มีแต่เอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดนไทยที่ต้องหวงแหน ปกปักรักษาไว้
เพราะบรรพชนได้ทรงเสียสละยอมแลกมาอย่างยากลำบาก
กองทัพไทยโดยเฉพาะกองทัพเรือต้องทำหน้าที่ปกป้องอธิปไตยทางทะเลของไทยไว้อย่างเข้มแข็งที่สุด
โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง !!!!!
สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล
สาขาวิชาสถิติศาสตร์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ความขัดแย้งระหว่างอินโดจีน-ฝรั่งเศสกับสยาม นั้นมีมาโดยตลอดนับตั้งแต่ฝรั่งเศสพยายามขยายอิทธิพลเข้ามาในแหลมอินโดจีน ความขัดแย้งนี้เริ่มมาตั้งแต่กรณีกบฎเจ้าอนุวงศ์ และต่อมาสงครามปราบฮ่อ ที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เป็นแม่ทัพยกพลขึ้นไปปราบฮ่อที่แคว้นหัวพันห้าทั้งหกและแคว้นสิบสองจุไท ซึ่งฝรั่งเศสคิดว่าอาณาบริเวณดังกล่าวอยู่ในอาณานิคมอินโดจีนของตน
ชนวนใหญ่ที่ฝรั่งเศสก่อให้เกิดสงครามคือการเข้ายึดเมืองคำม่วนที่เป็นเขตปกครองของไทย และพยายามขับไล่เจ้าเมืองคือพระยอดเมืองขวาง (ขำ ยอดเพ็ชร์) โดยกองกำลังทหารนำโดยมงซิเออร์ลูซ ได้บังคับให้พระยอดเมืองขวาง เจ้าเมืองคำม่วนออกจากพื้นที่ พระยอดเมืองขวางเป็นข้าหลวงในสังกัดของกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายเหนือ ได้ต่อสู้ทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งในการรักษาแผ่นดินไทยเอาไว้ มีทหารทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายฝรั่งเศสบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนหนึ่ง ทำให้ฝรั่งเศสถือเป็นเหตุอันไม่พอ และไปยึดหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออกเอาไว้ในปกครองของตนคือเมืองจันทบุรีและเมืองตราด
คดีพระยอดเมืองขวางที่ฆ่านายทหารญวณและเวียดนามเสียชีวิตไปนั้น สร้างความไม่พอใจให้กับทางฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก กระบวนการศาลยุติธรรมไทยได้ตัดสินว่าพระยอดเมืองขวางไม่ผิด แต่ฝรั่งเศสไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมของไทย และต้องการใช้สิทธิสภาพนอกอาณาเขต โดยจัดตั้งศาลร่วมระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเพื่อตัดสินคดีพระยอดเมืองขวาง ซึ่งทางการไทยก็ไม่ร่วมมือ ไม่ยอมส่งพระยอดเมืองขวางไปขึ้นศาลดังกล่าว แต่ปัญหานี้ท้ายที่สุดไทยก็ต้องยอม ศาลที่จัดตั้งขึ้นโดยฝรั่งเศสตัดสินพิพากษาว่าพระยอดเมืองขวางมีความผิดจริงต้องโทษจำคุก และทำให้ท้ายสุดพระยอดเมืองขวางก็ต้องไปเข้าคุกของฝรั่งเศส
วันที่ 21 มีนาคม ร.ศ.112 ฝรั่งเศสได้ส่งเรือ Lutin เข้ามาจอดทอดสมออยู่หน้าสถานทูตฝรั่งเศส ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่ออวดแสดงแสนยานุภาพ ได้เข้ามาขอเจรจาและเรียกร้องให้สยามยอมรับเขตแดนญวน (เวียดนาม) ว่ารวมถึงฝั่งซ้ายลำน้ำโขงทั้งหมด (หรือประเทศลาวในปัจจุบันทั้งประเทศ) แต่ไทยไม่ยินยอม
ในช่วงเวลาเดียวกันผู้สำเร็จราชการอินโดจีนของฝรั่งเศสได้ส่งนายออกุสต์ ม. ปาวี ซึ่งเป็น Vice Consul ประจำเมืองหลวงพระบางมาเป็นกงสุลประจำกรุงเทพมหานครเพื่อเจรจาต่อรองรักษาผลประโยชน์ของฝรั่งเศส โดยตรง ฝรั่งเศสได้เอาเรือรบเข้ามาในอ่าวไทย เพื่อปิดปากอ่าวไทย และเกิดการสู้รบกันระหว่างฝรั่งเศสกับทหารเรือไทย บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทหารเรือไทยได้ชักรอกยกโซ่ที่อยู่ใต้ท้องน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นมาขวางกลางลำน้ำ มิให้เรือรบของฝรั่งเศสเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยาได้ เกิดการยิงต่อสู้กัน มีการบาดเจ็บล้มตายทั้งฝั่งไทยและฝรั่งเศส (จากบทความของผู้เขียน ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ตอนที่ ๕ : คดีพระยอดเมืองขวางและวิกฤติ รศ.112 เมื่อทรัพย์สินพระมหากษัตริย์กู้ชาติบ้านเมือง https://mgronline.com/daily/detail/9650000057151) เรือรบของฝรั่งเศสยังได้ยึดครองเมืองจันทบุรีและเมืองตราดของไทยไว้ด้วย และปิดปากแม่น้ำจันทบุรีไว้ในคราวเดียวกัน นอกจากนี้ฝรั่งเศสยังได้เข้าไปยึดเกาะสีชังไว้ทั้งเกาะทำให้การค้าขายระหว่างประเทศมีปัญหามากเนื่องจากเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ที่ไม่อาจแล่นเข้าแม่น้ำเจ้าพระยาได้เนื่องจากติดสันดอนปากแม่น้ำต้องไปพักขนถ่ายสินค้าที่บริเวณเกาะสีชัง
ฝรั่งเศสบังคับให้สยามต้องตอบภายใน 48 ชั่วโมง ท้ายที่สุดสยามขอเจรจากับฝรั่งเศส สยามต้องเสียค่าปฏิกรณ์สงครามเป็นจำนวนมหาศาลและทำสนธิ สัญญาเจรจาสงบศึกกับฝรั่งเศสในวันที่ 13 ตุลาคม รัตนโกสินทร์ ศก 112 สยามต้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทั้งหมดให้กับฝรั่งเศสตามสัญญาข้อ 1 นอกจากนี้ยังห้ามสยามมีเรือรบในแม่น้ำโขงเด็ดขาดตามสัญญาข้อ 2 ห้ามสยามมีด่าน คู หรือค่ายทหารบนฝั่งขวาแม่น้ำโขงทั้งหมดเป็นระยะทาง 25 กิโลเมตร ตามสัญญาข้อ 3 และข้ออื่นๆ ที่สยามเสียเปรียบฝรั่งเศสเป็นอันมาก แต่สยามก็ต้องยอม
แม้ว่าสยามจะยอมทำตามฝรั่งเศสเพื่อรักษาเอกราชของสยามไว้ ยอมเสียทั้งดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทั้งหมด ยอมเสียสิทธิในด้านภาษี การทหาร บนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงไปอีกด้วย ทั้งยังต้องใช้เงินถุงแดงชำระค่าปฏิกรณ์สงครามมากมายด้วยความยากลำบาก แต่ฝรั่งเศสก็ยังคงยึดเมืองจันทบุรีเอาไว้
การสูญเสียดินแดนในครั้งนั้น จึงเท่ากับไทยเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทั้งหมดไป 143,000 ตารางกิโลเมตร
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ทรงเสียพระทัยกับการเสียดินแดนในคราววิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 เป็นอย่างยิ่ง ทรงตรอมพระทัย และตั้งพระทัยจะเสด็จสวรรคต ไม่ยอมเสวยพระกระยาหาร ไม่ยอมเสวยพระโอสถ ทรงพระราชนิพนธ์อินทรวิเชียรฉันท์ลงมาลาพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพารดังนี้
เจ็บนานนึกหน่ายนิตย์ มะนะเรื่อง บำรุงกาย
ส่วนจิตต์บ่มีสบาย ศิระกลุ้มอุราตรึง
แม้หายก็พลันยาก จะลำบากฤทัยพึง
ตริแต่จะถูกรึง อุระรัดและอัตรา
กลัวเป็นทวิราช บตริป้องอยุธยา
เสียเมืองจึงนินทา บละเว้นฤวางวาย
คิดใดจะเกี่ยงแก้ ก็บ่พบซึ่งเงื่อนสาย
สบหน้ามนุษย์อาย จึงจะอุดแลเลยสูญ
ฝรั่งเศสนั้นใช้กำลังทหารบีบบังคับสยาม โดยยึดเอาดินแดนที่เป็นดินแดนหลักของสยามซึ่งคนไทยอาศัยอยู่มากมายและพูดภาษาไทยไว้ในครอบครอง ทั้งยังคุมเชิงในอ่าวไทยด้วย
เราต้องไม่ลืมว่าในทางยุทธศาสตร์และการทหารนั้น เมืองจันทบุรีเป็นหัวเมืองชายทะเลขนาดใหญ่ และมีความสำคัญยิ่ง คราวพระเจ้าตากสินมหาราช ตีฝ่าวงล้อมทัพพม่าก่อนกรุงศรีอยุธยาจะแตกก็ทรงไปตั้งหลักที่เมืองจันทบุรีแล้วค่อยๆ ตีโอบล้อมกลับเข้ามากู้ชาติบ้านเมือง การที่ฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีเอาไว้ทำให้สยามเสียเปรียบและอึดอัดมาก
หลังจากวิกฤติการณ์ร.ศ. 112 ฝรั่งเศสยังคงยึดเมืองจันทบุรีไว้ไม่ยอมคืน สยามพยายามเจรจาอีกหลายครั้งแต่ก็ไม่เป็นผล จนกระทั่งมีการเจรจาลงนามในสัญญาลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 (รัตนโกสินทร์ศก 122 หรือ คริสตศักราช 1904) ฝรั่งเศสยอมถอนกำลังทหารออกจากเมืองจันทบุรี โดยที่
สยามต้องปักปันเขตแดนร่วมกับกัมพูชา (หรืออินโดจีน-ฝรั่งเศสในเวลานั้น) ใช้สันปันน้ำบริเวณเทือกเขาบรรทัดตามสัญญาในข้อ 1
สยามยังต้องปักปันเขตแดนร่วมกับฝรั่งเศสทางด้านประเทศลาวในปัจจุบันนี้โดยใช้ร่องน้ำลึกในแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหืองตามสัญญาในข้อ 2
โดยมีคณะกรรมการปักปันเขตแดนร่วมกันดังสัญญาในข้อ 3
สยามยอมเสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงรวมทั้งเมืองหลวงพระบาท คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 25,500 ตร.กม ตามสัญญาร.ศ.122 ข้อ 4
แล้วฝรั่งเศสจึงจะยอมถอนกำลังทหารออกจากเมืองจันทบุรีตามสัญญาที่ตกลงกันในข้อ 5
สัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ.122 นี้เป็นการยกเลิกสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ. 112 เดิมตามข้อ 6
สยามเสียเปรียบฝรั่งเศสอีกมากมายในสัญญาร.ศ. 122 นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 12 และข้อ 13
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2447 หรือ รัตนโกสินทร์ศก 122 ฝรั่งเศสจึงยอมถอนกำลังทหารออกจากเมืองจันทบุรี แต่กลับไปยึดครองเมืองตราดและบรรดาเกาะทั้งหลายตั้งแต่แหลมลิงลงไปจนถึงเกาะกงแทน เท่ากับสยามจำต้องมอบเมืองตราดและเมืองประจันตคีรีเขตหรือเกาะกงในกับฝรั่งเศสไปอีก
เมืองประจันตคีรีเขตหรือเกาะกงนั้นเป็นดินแดนของสยามและผู้คนที่อาศัยอยู่บนเกาะกงนั้นพูดภาษาไทย เป็นเมืองฝาแฝดคู่กับประจวบคีรีขันธ์ทางฝั่งตะวันตกของประเทศไทย
เมื่อฝรั่งเศสผิดสัญญาโดยกลับไปยึดเมืองตราดและประจันตคีรีเขตหรือเกาะกงที่มีคนไทยอาศัยอยู่มากมายก็เป็นเหตุให้สยามต้องพยายามเจรจากับฝรั่งเศสอีกหลายครั้ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักว่าเมืองตราดนั้นเป็นเมืองที่มีคนไทยอาศัยอยู่มากมายแม้จะมีพื้นที่ไม่มากแต่ก็เป็นเมืองที่คนไทยอาศัยอยู่ในขณะที่เมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณนั้น เป็นเมืองประเทศราชที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล ทั้งติดกับโตนเลสาปหรือทะเลสาปเขมร เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ จับปลาได้มากมาย แต่ก็หาใช่แผ่นดินไทยแท้ๆ ไม่ จึงทรงตัดสินพระทัยยอมเสียดินแดนอีกครั้งเพื่อแลกเมืองตราดอันเป็นแผ่นดินยาวไปตามสันปันน้ำของเทือกเขาบรรทัดไปจนถึงบ้านหาดเล็กอันรวมถึงเกาะกูดกลับคืนมาเป็นของไทย
ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 หรือรัตนโกสินทร์ศก 125 หรือคริสตศักราช 1907 จึงได้มีการตกลงทำหนังสือสัญญาขึ้นอีกฉบับหนึ่งเรียกว่าหนังสือสัญญาระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามกับเปรสสิเดนต์แห่งรีปัปลิคฝรั่งเศส"
สยามยอมเสียดินแดนมณฑลบูรพาอันประกอบด้วยพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ตามสัญญาข้อ 1 ในเหตุการณ์ครั้งนั้นฝรั่งเศสได้เจรจาให้เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (เลื่อม อภัยวงศ์) ปกครองเมืองพระตะบองต่อไป แต่ท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์มีความจงรักภักดีต่อสยาม จึงตัดสินใจอพยพกลับมาอาศัยบนแผ่นดินไทยที่เมืองปราจีนบุรี ไม่สมัครใจอยู่เป็นเจ้าเมืองให้กับฝรั่งเศส
สยามกับฝรั่งเศสจะปักปันเขตแดนร่วมกันตามสัญญาในข้อ 4
ส่วนในข้อ 5 นั้นสยามหรือไทย พยายามแก้ไขปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขตซึ่งคนในบังคับของฝรั่งเศสไม่ต้องขึ้นศาลไทยเลย ให้เป็นว่าคนในบังคับของฝรั่งเศสหรือซับเยกของฝรั่งเศสหลัง รัตนโกสินทร์ศก 122 (ค.ศ.1904) ต้องมาขึ้นศาลไทย แต่ไทยต้องแก้ไขกฎหมายให้เป็นสากลเสียก่อน
สัญญาฉบับนี้ฝ่ายสยามมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ (ต้นราชสกุลเทวกุล) เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศของสยามในเวลานั้นทรงลงนาม
ดังนั้นเกาะกูด (Koh-Kut) ทั้งเกาะคือดินแดนของไทย ตามสัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ.125 หรือ ค.ศ.1907 ให้อ่านข้อ 1 และ ข้อ 2 ของสนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส เมื่อรัตนโกสินทร์ศก 125 หรือ คริสตศักราช 1907 มีสัญญาบ่งบอกไว้ชัดเจนว่าเกาะกูดเป็นของสยามอย่างแน่นอน
สยามยอมเสียเขมรอันเป็นประเทศราชของสยามแต่เดิมไปเกือบค่อนประเทศคือพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ
เพื่อแลกกับการที่สยามจะได้เมืองด่านซ้ายจังหวัดเลย และจังหวัดตราดไปจนถึงสุดชายแดนที่บ้านหาดเล็กและได้เกาะกูดกลับคืนมา แต่มิได้ปัจจันตคีรีเขตหรือเกาะกงกลับคืนมา
ในคราวนั้น ค.ศ.1907-1908 ได้มีคณะกรรมการปักปันเขตแดนร่วมกันระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ได้ทำแผนที่อัตราส่วน 1:200,000 แสดงดินแดนของไทยที่จังหวัดตราด อันแคบขนานริมทะเลไปตามสันปันน้ำของเทือกเขาบรรทัดจนสุดชายแดนที่บ้านหาดเล็กดังรูปในแผนที่นี้ ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาตามข้อ 4
เมื่อคุณลุง ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล ยังมีชีวิตอยู่ได้อธิบายว่าสัญญา รศ.125 หรือ ค.ศ.1907 นี้เป็นสัญญาประธาน ดังนั้นบรรดาข้อตกลงความเข้าใจร่วมกัน (Memorandum of understanding: MOU) ข้ออ้างอิง (Term of reference: TOR) การสื่อสารร่วม (Joint Communique) หรือ การจัดเตรียมชั่วคราว (Provisional arrangement: PA) ใดๆที่จัดทำขึ้นในภายหลัง ก็ตามย่อมไม่อาจจะขัดแย้งกับสัญญาประธานอันเป็นลายลักษณ์อักษรนี้ได้
ดังนั้นเกาะกูดจึงเป็นดินแดนของไทยทั้งเกาะ กัมพูชาไม่มีสิทธิ์ขีดเส้นบนแผนที่ลากเฉือนแบ่งเกาะกูดออกเป็นสองฝั่งยึดครองไปเป็นของกัมพูชาและอ้างอธิปไตยของดินแดนไทยเพื่อครอบครองพื้นทีในทะเลอ่าวไทยว่าเป็นพื้นที่พัฒนาร่วม (Joint development area: JDA) หรือ พื้นที่ทับซ้อนใดๆ ก็มิได้ทั้งสิ้น เพราะขัดกับสัญญาประธาน ที่เคยทำไว้กับประเทศไทย
ดินแดนของไทย และบูรณภาพแห่งดินแดนจะสูญเสียไปไม่ได้แม้แต่ตารางนิ้วเดียว
นับจากเหตุการณ์คดีพระยอดเมืองขวาง วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 สัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 และสัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ. 125 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ทรงยอมเสียดินแดนที่เดิมเป็นของไทยคือดินแดนประเทศลาวทั้งประเทศในปัจจุบันและดินแดนกัมพูชาเกือบทั้งประเทศในปัจจุบันให้กับฝรั่งเศสเพื่อแลกมาซึ่งดินแดนของสยามแท้ๆ อันมีคนไทยพูดภาษาไทยอาศัยอยู่
ไม่เป็นคำกล่าวที่เกินจริงแต่ประการใดเลยหากจะกล่าวว่า พระปิยมหาราชเจ้าทรงยอมเสียประเทศลาวและกัมพูชาทั้งประเทศเพื่อแลกกับหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออกของไทยทั้งหมดจนถึงบ้านหาดเล็กอันเป็นหลักเขตแดนที่ 73 หรือเกาะกูด
พระปิยมหาราชทรงยอมเสียลาวและกัมพูชาสองประเทศไปเพื่อแลกมาซึ่งเกาะกูด เกาะเล็กสุดชายทะเลฝั่งตะวันออกของไทย
พระปิยมหาราชยังต้องทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์อีกมากมายเพราะประชวรหนัก ทรงตรอมพระทัยที่ต้องสูญเสียดินแดนที่บูรพมหากษัตริยราชเจ้าได้ทรงปกปักรักษามาไว้โดยตลอด แต่เพื่อแลกกับเอกราชของชาติไทยก็ต้องทรงยอมโอนอ่อนผ่อนตามมหาอำนาจเช่นฝรั่งเศส
ความสุขส่วนพระองค์อีกประการที่พระปิยมหาราชต้องทรงเสียสละคือการไม่อาจจะเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่เกาะสีชังได้อีกต่อไปหลังเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 เพราะฝรั่งเศสยึดเกาะสีชังเอาไว้ ถือว่าเป็นพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัย สาเหตุที่พระปิยมหาราชต้องเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่เกาะสีชังนั้นเพราะในสมัยนั้นเกาะสีชังมีอากาศดีมาก กลางวันและกลางคืนอุณหภูมิต่างกันไม่เกิน 4 องศาเซลเซียส ทำให้ถูกกับพระโรคในพระวรกาย เมื่อเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่เกาะสีชังจึงมีพระสุขภาพแข็งแรงขึ้น หลังวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 หลายปีจึงโปรดให้รื้อพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ ในพระจุฑาธุชราชฐานบนเกาะสีชัง มาสร้างใหม่ในพระราชวังสวนดุสิตในพุทธศักราช 2443 หรือรัตนโกสินทร์ศก 118 เฉลิมพระนามพระที่นั่งองค์นี้ใหม่ว่าพระที่นั่งวิมานเมฆ อันเป็นพระที่นั่งไม้สักทององค์ใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบัน
จะด้วยพระปรีชาญาณใดก็ไม่อาจทราบได้ การได้ดินแดนไทยกลับมาจนถึงบ้านหาดเล็กและเกาะกูดเท่ากับทำให้ไทยได้อธิปไตยทางทะเลกลับคืนมา และในดินแดนอ่าวไทยที่เราได้กลับคืนมานั้นอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติคือน้ำมันและแก๊สธรรมชาติจนทำให้บริษัทข้ามชาติของชาติมหาอำนาจและนักการเมืองเขมรต้องตาลุกวาว
พื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยกับกัมพูชานั้นไม่มีและไม่เคยมี
พื้นที่พัฒนาร่วมกันระหว่างไทยกับกัมพูชานั้นก็ไม่มีและไม่เคยมี
มีแต่เอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดนไทยที่ต้องหวงแหน ปกปักรักษาไว้
เพราะบรรพชนได้ทรงเสียสละยอมแลกมาอย่างยากลำบาก
กองทัพไทยโดยเฉพาะกองทัพเรือต้องทำหน้าที่ปกป้องอธิปไตยทางทะเลของไทยไว้อย่างเข้มแข็งที่สุด
โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง !!!!!