ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล
สาขาวิชาสถิติศาสตร์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
1) ทีวีดิจิทัลนั้นเกิดช่องมากมายมาจากความคิดของ กสทช.
2) ความจริงคือเกิด digital disruption ทุกคนมาชอบสื่อออนไลน์กันหมด
3) ช่องทีวีดิจิทัลจำนวนมากไม่ได้ทำกำไรอย่างที่เจ้าของช่องผู้กระโดดเข้ามาลงทุนคิดไว้ เลยเกิดการถอนตัวจากธุรกิจ คืนสัมปทานไปก็มาก ไม่ว่าจะช่องทีวีพูล และอีกหลายช่องที่ไปต่อไม่ไหว
บางช่องเข้ามาประมูลไปได้หลายช่อง สุดท้ายก็ไปต่อไม่ไหวต้องคืนคลื่นสัญญาณและสัมปทานให้กสทช. เหลือช่องหลักทีวีดิจิทัลช่องเดียว
4) ช่องทีวีดิจิทัลที่ทำแต่ข่าวอย่างเดียวนั้นอยู่ได้ยากมาก เพราะสำนักข่าวออนไลน์ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด
ช่องทีวีดิจิทัลที่พอจะอยู่ได้และพอมีกำไรคือช่องทีวีดิจิทัลที่ทำละครและทำเกมส์โชว์ ตัวอย่างทีวีดิจิทัลที่พอจะมีกำไรบ้างคือช่องสามและ Workpoint
ลำพังช่องทีวีดิจิทัลที่มีข่าวอย่างเดียวอยู่ได้ยากเพราะโฆษณาจะไม่เข้ามากนักแม้ว่าเรทติ้งจะดี
5) ช่องทีวีดิจิทัลที่ควรเกิดเพราะทำประโยชน์ให้กับสังคม เช่น ช่องทีวีดิจิทัลสำหรับเด็กซึ่ง TPBS ควรทำเพราะได้ Sin Tax จากภาษีเหล้าเบียร์บุหรี่ไปมากมายก็ไม่เกิด เป็นช่องทีวีดิจิทัลช่องเดียวที่ไม่ต้องหาโฆษณา อยู่ได้แน่นอน ไม่มีวันเจ๊ง และใช้เงินมากมาย โดยไม่ได้มีเรตติ้งมากนัก
6) แม้แต่ทีวีดิจิทัลช่องใหญ่และเรทติ้งดีมาก ก็ไม่ได้มีกำไร อยากขายช่องทีวิดิจิทัลให้กับนักการเมืองหรือกลุ่มทุนทางการเมือง แล้วกลับไปทำข่าวออนไลน์อย่างเดียวเพราะได้กำไรอย่างแน่นอน ไม่เจ็บตัว
7) เมื่อธุรกิจทีวีดิจิทัลขาดทุน นายทุนก็เริ่มครอบงำ เช่น เอาโฆษณาไปลงให้มาก แล้วขอตกลงว่าให้ช่องทีวีดิจิทัลอย่าโจมตีธุรกิจที่ตนเอง (กลุ่มทุนนั้น) ทำอยู่ เกิดการแตกแยกในช่องทีวีดิจิทัลกันเลยทีเดียว สื่อบางคนในช่องทีวิดิจิทัลก็มองว่าต้องต่อสู้กับทุนเพื่อความถูกต้องและเพื่อประชาชน ในขณะที่บางคนก็บอกว่าต้องอยู่รอดเหมือนกันในทางธุรกิจ ปัญหาก็เลยเกิด เป็นภาวะที่น่าเห็นใจทุกฝ่าย เพราะปัจจัยชี้ขาดคือเงินและความอยู่รอด สื่อไม่ได้มีเสรีภาพอย่างแท้จริง เพราะต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มทุนเพราะความจำเป็นทางการเงิน
8) ถ้าวิกฤติเศรษฐกิจเกิดขึ้น ทีวีดิจิทัลจะยิ่งอยู่ได้ยากลำบากมากไปกว่านี้ อาจจะเหลือที่อยู่ได้สัก 10 ช่องเศษๆ ไม่ใช่มากมายเหมือนตอนแรกเริ่มมีทีวีดิจิทัลปาเข้าไป 30-40 ช่อง ถ้าวิกฤติเศรษฐกิจร้ายแรง
จำนวนสถานีทีวีดิจิทัลอาจจะเหลือไม่เกิน 10 ช่อง เราคงต้องดูกันต่อไป นี่คือคำทำนายครับ