ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่
คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทความในวารสาร British medical journal วันที่ 7 กันยายน 2023 มีการประมวลข้อมูลและหลักฐานของการเกิดโควิดและอันตรายจากการหาไวรัสจากค้างคาว ทั้งหมดยังอ้างอิงข้อมูลที่ GAO ได้สอบถามมายังนายแพทย์ธีระวัฒน์ ซึ่งเป็นหัวหน้าและรับผิดชอบโครงการและทุนที่ผ่านจากสหรัฐทั้งหมด
การทำลายตัวอย่างไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่าทั้งหมดถือเป็นความรับผิดชอบสูงสุดที่มีต่อคนไทยและประเทศไทยโดยรวม
จากการสอบสวนนายแพทย์ธีระวัฒน์ และนักวิทยาศาสตร์ในศูนย์ อีกสามท่านในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2023 และมีสำนวนสอบสวนที่ศูนย์กฎหมายส่งมาให้สอบทานและแก้ไขในวันที่ 21 และวันที่ 22 พฤศจิกายน 2023 พบว่า สำนวนของนักวิทยาศาสตร์ ไม่สมบูรณ์และมีความหมายตรงกันข้าม กับที่นายแพทย์ธีระวัฒน์ให้ไว้ ทั้งนี้ ขณะที่นายแพทย์ธีระวัฒน์ให้การนั้น เป็นการอ่านตามบทสคริปต์ทั้งหมดและไม่สามารถแก้ไขได้ แต่ในส่วนของนักวิทยาศาสตร์นั้น ได้นำเทปเข้าไปอัดด้วยและโต้แย้งสำนวนสอบสวนที่ทางศูนย์กฎหมาย ส่งมา ทั้งนี้เรามีการถอดเทปบันทึกคำต่อคำและส่งกลับ เพื่อยืนยันว่า ไม่ได้มีการแก้สำนวนหลังจากที่ให้การไปแล้ว
นอกจากนั้น นายแพทย์ธีระวัฒน์ ได้สืบค้นเอกสารต่อ ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2566 และได้ส่งเอกสารต่อประธานคณะกรรมการสอบสวนในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 โดยพบว่าเอกสารที่ร้องขอตัวอย่างจากหน่วยงานกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชรวมทั้งคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์โรคอุบัติใหม่คลินิกสภากาชาดไทยนั้นแท้จริงเป็นการทำงานภายใต้ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพและแม้กระทั่งหน่วยงานดังกล่าวที่ได้กล่าวอ้าง ว่าจะขอตัวอย่างคืนนั้นยังได้ระบุ แบบเสนอโครงการชัดเจน ในข้อ 4.5 ให้ทำลายตัวอย่างที่เหลือ หลังเสร็จสิ้นโครงการแล้วและนอกจากนั้นอีกห้าโครงการที่ขอตัวอย่างคืนนั้น ทั้งหมดอยู่นอกความรับผิดชอบของศูนย์และเงินทุนจากต่างประเทศนั้น ไม่ได้ผ่านมาที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพและแม้จะมีตัวอย่างที่นำมาฝากบ้าง ก็ได้มีการเบิกจนหมดสิ้นไปแล้ว ตามบันทึกการเบิก แสดงให้เห็นว่าผู้บริหารองค์กรและศูนย์กฎหมายโรงพยาบาลต้องมีความรอบคอบรัดกุมในการตรวจสอบเอกสารเอกสารที่ร้องเรียนแทนที่จะมีข้อกล่าวหาอย่างร้ายแรงและข้อสำคัญคือไม่ตระหนักถึงความร้ายแรงของการแพร่กระจายเชื้อจนถึงเป็นโรคระบาด
หลังจากการสอบสวนในวันที่ 1 พฤศจิกายนแล้วนายแพทย์ธีระวัฒน์ มีบันทึกถึงผู้อำนวยการ สอบถามถึงคำสั่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ที่อ้างถึงว่ามีที่มาอย่างไรใครเป็นผู้ร้องเรียน มีข้อเท็จจริงด้านพยานหลักฐานอย่างไร จึงได้มีการตั้งข้อกล่าวหาที่ร้ายแรง รวมทั้งความคืบหน้าการสอบข้อเท็จจริงมีการสรุปอย่างไร
นอกจากเรื่องนี้แล้วในเวลาที่ผ่านมามีการตั้งกรรมการสอบสวนในเรื่องของการทุจริตของบุคคลคนหนึ่งในศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพซึ่งแม้ว่าทางศูนย์จะได้มอบหลักฐานการทุจริตให้ แต่ไม่ปรากฏผล ทั้งนี้โดยศูนย์ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนโดยในขั้นแรกมีบันทึกจากสำนักงานบริหารสภากาชาดไทย ให้แจ้งเบาะแสของการมีผลประโยชน์ทับซ้อนและทุจริตในวันที่ 17 มีนาคม 2564 ต่อทุกหน่วยงาน
ซึ่งทางศูนย์วิทยาศาสตร์ ได้แจ้งสำนักงานตรวจสอบทุจริตของสภากาชาดไทย และนำเอกสาร หลักฐานประกอบไปด้วยโดยผู้อำนวยการสำนักงานตรวจสอบเห็นว่าเป็นเรื่องร้ายแรง และลำดับต่อมา ศูนย์วิทยาศาสตร์ได้เปิดเผย หลักฐานต่อกรรมการของโรงพยาบาลจุฬา และกรรมการของคณะแพทย์ พร้อมทั้งมีตัวเลขที่ทางศูนย์สามารถปกป้องไม่ให้เกิดความเสียหายได้เป็นจำนวน 9,893,323.58 บาทโดยบันทึกส่งให้คณะแพทย์และโรงพยาบาล ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 แต่การตัดสินของคณะกรรมการสรุปว่าไม่เกิดความเสียหาย ให้ยุติการสอบสวนและไม่มีการลงโทษใดๆ
นอกจากนี้ เรื่องที่โรงพยาบาลจุฬาและคณะแพทย์ต้องรับทราบคือ การเชื้อเชิญจากหน่วยงานหนึ่งของสภากาชาดไทย ให้คณะแพทย์และโรงพยาบาลวางระบบ PACS ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งสามารถระบุข้อมูลของตัวอย่างที่ได้มาจากใคร อย่างไร ที่ไหนและเป็นโรคอะไร และเก็บไว้ที่ตู้เย็นใด เป็นระบบของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ และตั้งแต่เริ่มต้น ที่ศูนย์ยังมีความร่วมมือกับกระทรวงกลาโหมที่ได้วางระบบนี้ให้กระทรวงกลาโหมสหรัฐ ยังพยายามติดต่อกับหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขด้วย
หลังจากที่ศูนย์วิทยาศาสตร์มีการใช้ระบบนี้ในห้องปฏิบัติการ พบว่าระบบดังกล่าวสามารถส่งตรงข้อมูลทั้งหมดไปยังสหรัฐฯ ได้
ศูนย์วิทยาศาสตร์จึงล้มเลิกการใช้อย่างเด็ดขาดและวางระบบเอง
ปัจจุบัน ยังมีความพยายามที่จะให้หน่วยงานของสภากาชาดโรงพยาบาลจุฬาและคณะแพทย์ใช้ระบบนี้
แม้ว่าในเดือนกรกฎาคม 2023 NIH จะประกาศเลิกการให้ทุนสำหรับการหาไวรัสจากค้างคาวทั้งในและนอกประเทศแต่ขณะเดียวกันได้วางแผนในแผ่นดินสหรัฐฯ เองโดย เทรซี่ โกลด์สไตน์ ซึ่งเป็นผู้ขับเคลื่อนสำคัญของโครงการ deep VZN หลังจากที่มีการเลิกโครงการนี้แล้วได้ลาออกและรับตำแหน่งใหม่เป็นผู้อำนวยการของสถาบัน one health ของ Colorado state university ในเดือนมิถุนายน 2023 และรับผิดชอบงานของห้องปฏิบัติการค้างคาวและเชื้อไวรัสต่อ
ในปี 2018 Fauci ได้นำไวรัสจากสถาบันวิจัยอู่ฮั่นมาติดเชื้อให้ค้างคาว ที่ได้จากสวนสัตว์ แมรี่แลนด์และทำการในห้องปฏิบัติการที่รัฐมอนตานา ทั้งนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหนึ่งปีก่อนหน้าการเกิดโควิด และเป็นหลักฐานของการเชื่อมโยงการทำงานของสหรัฐกับสถาบันไวรัสอู่ฮั่นอีกชิ้นหนึ่ง และระหว่างปี 2015 ถึง 2023 มีการให้ทุนจาก NIH ไปยังสถาบันและมหาวิทยาลัยในสหรัฐควบกับสถาบันในประเทศจีนอย่างน้อยทั้งหมดเจ็ดแห่ง
ในห้องปฏิบัติการที่โคโลราโด โดย NIH ร่วมกับ EHA และมีการนำเข้าไวรัสจากเอเชียโดยเฉพาะจากประเทศจีน เพื่อทดลองให้ติดเชื้อไวรัสชนิดต่างๆ เพื่อศึกษาการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสจากค้างคาวในห้องปฏิบัติการ ดังพิมพ์เขียวแผนผังของโรงเลี้ยงค้างคาว
ข้อมูลในวันที่ 31 ตุลาคม 2023 นั้น แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของสถาบันและมหาวิทยาลัยของสหรัฐและจำนวนเงินที่ผ่านให้สถาบันและมหาวิทยาลัยของประเทศจีนอย่างน้อยทั้งหมดเจ็ดโครงการ
สำหรับในประเทศไทยเองกระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นมานาน ผ่านองค์กรต่างประเทศที่ฝังตัวในประเทศประเทศไทยอย่างน้อย 33 ปี และปัจจุบัน ยังอยู่ในสถาบันหลักมหาวิทยาลัย รวมทั้ง จุฬา และโรงเรียนแพทย์ต่างๆ ทางด้านคนและสัตว์ ทั้งการรวบรวมตัวอย่างเชื้อ ไวรัส แบคทีเรีย และปรสิต จนกระทั่งมีการตัดต่อพันธุกรรมโดยส่งให้ต่างประเทศในเครือข่าย
คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์จุฬาให้สัมภาษณ์วิทยุจุฬาในวันที่ 1 ธันวาคม 2023 โดยพูดชัดเจนว่า ยังมีการหาเชื้อไวรัสจากค้างคาวซึ่งเป็นประเด็นว่ายังคงทำสิ่งที่ NIH ได้ประกาศยุติการสนับสนุนให้ทุนการหาไวรัสจากค้างคาวในวันที่ 17 กรกฎาคม 2023 เพราะไม่เกิดประโยชน์และอาจส่งผลในการทำให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรง
และพูดชัดเจนว่า การปฏิบัติการดังกล่าวมีการควบคุมอย่างรัดกุม ซึ่งโดยแท้จริงแล้วเป็นไปได้ยาก เพราะแม้แต่ สถาบันไวรัสอู่ฮั่น ยังมีการหลุดรั่วจากชีวนิรภัยระดับสี่และมีหลักฐานการชำรุดของระบบป้องกันหลายครั้ง และห้องปฏิบัติการที่ยังใช้นั้นเป็นเพียงระดับสองหรือ 2.5 (enhanced BSL2) เท่านั้น
และเราจะยอมให้มีการทำเช่นนี้อยู่อีกหรือ และถ้าเกิดโรคระบาดอีกครั้งประเทศไทยต้องตกเป็นผู้ต้องหา