xs
xsm
sm
md
lg

เรื่องของ “ปรัชญาตะวันตก” (ตอนสามสิบสี่) “เลนิน” ปักธงแดงให้ “มาร์กซ”?!

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เลนินกล่าวปราศรัยต่อฝูงชน ณ จัตุรัสสเวียร์ดลอฟในกรุงมอสโก โดยมีเลออน ทรอตสกี และเลฟ คาเมเนฟ อยู่ข้าง ๆ เขา ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1920 (ภาพ : วิกิพีเดีย)
“สอดแนมการเมือง”
“ชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย”

“ปฏิวัติรัสเซีย” สถาปนา “รัฐสังคมนิยม” ที่ “เลนิน” เดินตามแนวคิดคอมมิวนิสต์ “คาร์ล มาร์กซ”!!!


“เดือนกุมภาพันธ์ 1917” เกิดการปฏิวัติใน “เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก” ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น“ เปโตรกราด” ในช่วงเริ่มต้น “สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง”

สภาวะขาดแคลนอาหาร และสภาพโรงงานทรุดโทรม กดดันให้ “คนงาน” ภาคอุตสาหกรรมนัดหยุดงาน ความไม่สงบลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ของรัสเซียอย่างรวดเร็ว บานปลายจน “จักรพรรดินิโคไลที่ 2” ทรงสละราชสมบัติ ด้วยเกรงว่าพระองค์จะถูกโค่นล้มอย่างรุนแรง!

“สภาดูมา” ได้เข้าควบคุมประเทศ ก่อตั้ง “รัฐบาลชั่วคราวรัสเซีย” โดยเปลี่ยนจาก “จักรวรรดินิยม” เป็น “สาธารณรัฐรัสเซีย”!

เมื่อ “เลนิน” ทราบ จึงได้เดินทางจากสวิตเซอร์แลนด์กลับยังรัสเซีย เพื่อดูแล “พรรคบอลเชวิค” แต่เส้นทางส่วนใหญ่ถูกปิดลงแล้ว “เลนิน” จึงเจรจากับผู้มีความเห็นต่าง เพื่อขอผ่านออกทางเยอรมนีซึ่งมีปัญหากับรัสเซีย จน “รัฐบาลเยอรมัน” อนุญาตให้พลเมือง 32 คนเดินทางผ่านด้วยรถไฟ โดยมี “เลนิน” กับ “ภรรยา” ร่วมด้วย..

เมื่อมาถึง “สถานีรถไฟฟินแลนด์” ในเดือนเมษายน “เลนิน” ได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อผู้สนับสนุนบอลเชวิค ประณามรัฐบาลชั่วคราวรัสเซีย และเรียกร้องให้มีการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพทั่วยุโรปอีกครั้ง และเขาได้เขียน “บทเสนอเดือนเมษายน” ตำหนิพวกจะปรองดองกับ “กลุ่มเมนเชวิค” โดย “เลนิน” รับรู้ถึงความคับข้องใจ ผู้สนับสนุนบอลเชวิคที่ให้ชุมนุม ทางการเมืองด้วยอาวุธในเปโตรกราด เพื่อทดสอบการตอบสนองของรัฐบาลชั่วคราว ขณะที่สุขภาพ “เลนิน” ย่ำแย่ลง จนต้องออกจากเมืองไปพักฟื้นที่ “เนโวลา” ในฟินแลนด์
ขณะที่ “เลนิน” ไม่อยู่.. เกิดการชุมนุมติดอาวุธของบอลเชวิค ซึ่งถูกเรียกว่า “วันกรกฎาคม” เมื่อ “เลนิน” ทราบว่า “ผู้ประท้วง” ปะทะกับกองกำลังรัฐบาลชั่วคราวอย่างรุนแรง เขาก็รีบกลับไปที่เปโตรกราด และเรียกร้องให้อยู่ในความสงบ แต่ “รัฐบาลชั่วคราว” ได้มีคำสั่งให้จับกุม “เลนิน” กับชาวบอลเชวิค ด้วยความกลัวจะถูกสังหาร เขาและ “ซีโนเวียฟ” กับบอลเชวิคอาวุโส จึงปลอมตัวและหนีจากเปโตรกราดไปอยู่ที่ “รัจลีฟ”

เขาได้เริ่มเขียนหนังสือเรื่อง “รัฐกับการปฏิวัติ” อธิบายถึงความเชื่อของเขาว่า “รัฐสังคมนิยม” จะพัฒนาไปอย่างไรหลังการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพ จากนั้นรัฐจะค่อยๆ สูญสลาย เหลือเพียง “สังคมคอมมิวนิตส์บริสุทธิ์” ได้อย่างไร

“เลนิน” ได้เริ่มโต้เถียงเรื่องการลุกฮือติดอาวุธที่นำโดยบอลเชวิค เพื่อโค่นล้มรัฐบาลชั่วคราว แต่ความคิดนี้ถูกปฏิเสธในการประชุมลับของพรรค จากนั้น “เลนิน”ได้เดินทางด้วยรถไฟ และเดินเท้าเข้าไปในฟินแลนด์ จนถึงเฮลซิงกิในวันที่ 10 สิงหาคม ซึ่ง“เลนิน”ได้ซ่อนตัวในเซฟเฮาส์ของกลุ่มผู้เห็นใจบอลเชวิค

ขณะที่ “เลนิน” อยู่ในฟินแลนด์ “นายพล ลัฟร์ คอร์นีลอฟ” ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพรัสเซีย ได้ส่งกองทหารไปเปโตรกราด ดูเหมือนพยายามจะก่อรัฐประหาร เพื่อต่อต้านรัฐบาลชั่วคราว “เคเรนสกี” ประธานรัฐมนตรีได้หันไปขอความช่วยเหลือ จาก “สภาโซเวียต” เปโตรกราด รวมถึงสมาชิกบอลเชวิค โดยปล่อยให้นักปฏิวัติจัดคนงาน เป็นหน่วย “องครักษ์แดง” ปกป้องเมือง แต่การรัฐประหารได้ยุติก่อนถึงเปโตรกราด

เหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้บอลเชวิคสามารถกลับคืน สู่เวทีการเมืองที่เปิดกว้างได้ เพราะทั้ง “เมนเชวิค” กับ “พรรคสังคมนิยมปฏิวัติ” ได้สูญเสียการสนับสนุนจากประชาชนไปมาก ด้วย “พวกเขา” ไปร่วมมือกับรัฐบาลชั่วคราว

ไม่นาน “ทรอตสกี” นักลัทธิมาร์กซผู้สนับสนุนบอลเชวิค ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้นำของสภาโซเวียตเปโตกราด ช่วงกันยายน บอลเชวิคได้รับเสียงข้างมากในส่วนของคนงาน ของทั้งสภาโซเวียตมอสโกกับเปโตรกราดเ มื่อสถานการณ์ปลอดภัยต่อ “ชาวบอลเชวิค” “เลนิน” จึงเดินทางกลับมายังเปโตรกราด เขาได้เข้าร่วมการประชุมของ “คณะกรรมการกลางบอลเชวิค” ในวันที่ 10 ตุลาคม ซึ่ง “เลนิน” ได้ย้ำอีกครั้งว่า พรรคควรนำการลุกฮือด้วยอาวุธ เพื่อโค่นล้มรัฐบาลชั่วคราว ซึ่งฝ่าย “เลนิน” ชนะด้วยมติคะแนน “10 ต่อ 2”
จากนั้นพรรคบอลเชวิคได้จัดระเบียบการโจมตี จากการจัดประชุมครั้งสุดท้ายที่ “สถาบันสโมลนีย” ในวันที่ 24 ตุลาคม ซึ่งเป็นฐานของ “คณะกรรมการปฏิวัติทหาร” ที่เป็นกองกำลังติดอาวุธซึ่งภักดีต่อบอลเชวิค ก่อตั้งโดย “สภาโซเวียตเปโตรกราด” ในช่วงที่ “คอร์นีลอฟ” ถูกกล่าวหาว่าทำรัฐประหาร!

ในเดือนตุลาคม “แวแอร์กา” ได้รับคำสั่ง ให้เข้าควบคุมศูนย์กลางการคมนาคม การสื่อสาร การพิมพ์ และสาธารณูปโภคสำคัญๆของเปโตรกราด และดำเนินการโดยไม่มีการนองเลือด “กลุ่มบอลเชวิค” ได้ปิดล้อมรัฐบาลใน “พระราชวังฤดูหนาว” ชนะรัฐบาลชั่วคราวและจับกุมบรรดารัฐมนตรี หลังจากที่เรือลาดตระเวน “อะวโรระ” ซึ่งควบคุมโดยลูกเรือบอลเชวิค ได้ยิงกระสุนเปล่าส่งสัญญาณเริ่มต้นการปฏิวัติ ในระหว่างการจลาจล ฯลฯ

“เลนิน” ได้ขึ้นกล่าวปราศรัยต่อ“ สภาโซเวียตเปโตรกราด” ประกาศว่า “รัฐบาลชั่วคราวถูกโค่นล้มลงแล้ว!”
“พรรคบอลเชวิค” ได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลใหม่คือ “คณะกรรมการราษฎร” หรือ “โซฟนาร์คอม” ซึ่งในตอนแรก “เลนิน” ได้ปฏิเสธตำแหน่ง “หัวหน้ารัฐบาล” จึงมีการเสนอให้ “ทรอตสกี” รับงานสำคัญนี้แทน“ เลนิน” แต่บอลเชวิคคนสำคัญอื่นๆ ยืนกราน และท้ายที่สุด “เลนิน” ก็ต้องยอมรับตำแหน่งดังกล่าว ฯลฯ

จากนั้น “เลนิน” กับบอลเชวิคคนสำคัญอื่นๆ ได้เข้าร่วมการประชุม“รัฐสภาโซเวียตครั้งที่ 2” เมื่อวันที่ 26กับ 27 ตุลาคม และได้ประกาศการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ โดย “กลุ่มเมนเชวิค” ที่เข้าร่วมประชุม ได้ประณามโดยอ้างการยึดอำนาจมิชอบ และมีความเสี่ยงที่จะ “เกิดสงครามกลางเมือง” ในช่วงแรกๆ ของระบอบการปกครองใหม่ของบอลเชวิค

“เลนิน” ได้หลีกเลี่ยงการพูดถึงในแง่ลัทธิมาร์กซกับสังคมนิยม เพื่อไม่ให้ประชาชนรัสเซียเกิดความแปลกแยก โดย “เลนิน” กลับพูดถึงการให้ประเทศถูกควบคุมโดย “กลุ่มคนงาน” เพราะ “เลนิน” และบอลเชวิคหลายคนประเมินว่า การปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพ จะต้องแผ่ขยายไปทั่วยุโรปภายในไม่กี่วัน หรือในอีกหลายเดือน..

การจัดตั้ง “รัฐบาลโซเวียต” โดย “บอลเชวิค” ได้วางแผนให้มีการเลือกตั้ง “สภาร่างรัฐธรรมนูญ” ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 1917 โดยการเลือกตั้ง บอลเชวิคได้คะแนนเสียงราวหนึ่งในสี่ พ่ายแพ้ต่อ “กลุ่มสังคมนิยมปฏิวัติ” ที่เน้นเรื่องเกษตรกรรม

“เลนิน” แย้งว่า การเลือกตั้งไม่ได้สะท้อน เจตจำนงของประชาชนอย่างยุติธรรม ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่มีเว
ลาเรียนรู้โครงการการเมืองของ “บอลเชวิค” ฝ่ายบอลเชวิคจึงได้เสนอญัตติ ถอดถอนอำนาจทางกฎหมายส่วนใหญ่ของสภา เมื่อสมัชชาปฏิเสธญัตติคณะกรรมการราษฎร และประกาศว่านี่เป็นหลักฐาน ที่แสดงถึงลักษณะของการต่อต้านการปฏิวัติ กับบังคับให้เกิดการยุบสภา
ระหว่างปี 1918 ถึง 1919 รัฐบาล “พรรคบอลเชวิค” ได้ถือโอกาสขับ “กลุ่มเมนเชวิค” และ “พรรคสังคมนิยมปฏิวัติ” ออกจากโซเวียต ทำให้รัสเซียได้กลายเป็น “รัฐพรรคการเมืองเดียว” โดยภายในพรรคจึงได้จัดตั้ง “กรมการเมือง”(โปลิตบูโร) และ “กรมองค์การ”(ออร์กบูโร) เพื่อติดตาม “คณะกรรมการกลาง” การตัดสินใจของหน่วยงานพรรคเหล่านี้ จะต้องได้รับการรับรองจาก “คณะกรรมการราษฎร” และ “สภาแรงงานและกลาโหม” ซึ่ง “เลนิน” เป็นบุคคลสำคัญที่สุด ในโครงสร้างการปกครองนี้ โดยมี “บอลเชวิคคนสำคัญ” อื่นๆ ร่วมการปกครองนี้ด้วย

“เลนิน” ยังยึดตำแหน่ง “ประธานคณะกรรมการราษฎร” และนั่งอยู่ใน “สภาแรงงานและกลาโหม” อีกทั้งยังเป็น “คณะกรรมการกลาง” และ “กรมการเมือง” ของ “พรรคคอมมิวนิสต์” อีกด้วย เรียกว่า..“เลนิน” คุมอำนาจทุกระบบแบบเบ็ดเสร็จ โดยมีบุคคลอีกคนหนึ่งที่อยู่ใกล้อิทธิพลอำนาจนี้ นั่นคือ “ยาคอฟ สเวียร์ดลอฟ” มือขวาของ “เลนิน” ซึ่งเสียชีวิตในเดือนมีนาคม 1919 ระหว่างการระบาดของไข้หวัดใหญ่สเปน
ความกังวลใน “กองทัพเยอรมัน” ที่เป็นภัยคุกคามต่อเปโตรกราด “คณะกรรมการราษฎร” จึงย้ายเมืองหลวงไป “กรุงมอสโค” ในเดือนมีนาคม 1918

ที่นั่น “เลนิน” และผู้นำคนสำคัญๆ ต่างย้ายฐานไปอยู่ที่ “เครมลิน” ส่วน “เลนิน” กับภรรยาอาศัยในอพาร์ตเมนต์ ติดกับห้องที่ใช้จัดการประชุมคณะกรรมการราษฎร “เลนิน” ไม่ชอบมอสโคเลย แต่เขาไม่ค่อยออกจากใจกลางเมือง ซึ่งนั่นทำให้ “ท่านผู้นำปฏิวัติเลนิน” รอดจากเหตุการณ์ลอบสังหารในปี 1918!

เฮ้อ.. “รัฐปฏิวัติ” ตามแนวคิด“ คาร์ล มาร์กซ” เกิดขึ้นได้โดย “วลาดีมีร์ เลนิน”กั บ “ชาวบอลเชวิค” ที่เสี่ยงชีวิตหลายครั้งครา กว่าจะ “ปักธงแดง” ก่อร่างสร้าง “รัฐสังคมนิยม” รัสเซียได้สำเร็จ..!


กำลังโหลดความคิดเห็น