xs
xsm
sm
md
lg

เรื่องของ “ปรัชญาตะวันตก” (ตอนสามสิบสาม) “เลนิน” กำลังจะ “ปักธงแดง” ให้“ มาร์กซ”?!

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เลนินกล่าวปราศรัย ณ จัตุรัสแดง กรุงมอสโก ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1919 (ภาพ : วิกิพีเดีย)
“สอดแนมการเมือง”
“ชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย”

“เลนิน” ใกล้จะสถาปนา “รัฐสังคมนิยม” แด่บิดาคอมมิวนิสต์ “คาร์ล มาร์กซ”!!!


จะเปลี่ยนแปลงสังคม ย่อมมิใช่เรื่องง่าย ต้องมีความรู้-ความพร้อมในหลายมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง “ผู้นำ-ผู้ตาม” ของ “การปฏิวัติสังคม” มิใช่พร้อมแค่ “กล้าหาญ ไม่กลัวตาย”! แต่ต้องพร้อมใน “ความรู้มิติสำคัญๆ! การจัดตั้งขบวนคน! การสร้างเหตุอันเป็นคุณต่อการปฏิวัติ!” และต้องพร้อม “รุก-รับ-ถอย” ในทุกสถานการณ์ด้วย ฯลฯ

ช่วงนั้นรัฐบาลรัสเซียนำโดย “เคเรนสกี้” แห่ง “พรรคเสรีนิยม”! เพื่อต้าน “รัฐบาลเคเรนสกี้” แม้ “เลนิน” จะมีความสามารถในการฝึกอบรมและวางแผนดำเนินการ เขาได้รับ “ลีออน ทรอตสกี้” นักการทหารหัวก้าวหน้า เข้ามาเป็น “สมาชิกชั้นนำ” ทำให้ “พรรคบอลเชวิค” เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น..

จากนั้นไม่นาน “เลนิน” ยังได้ “สตาลิน” เข้าร่วม “กลุ่มบอลเชวิค” จึงมี “มันสมองถึง 3 คน” นั่นคือ “เลนิน-ทรอตสกี้-สตาลิน” ทำให้ “พรรคบอลเชวิค” หรือ “พรรคคอมมิวนิสต์รัสเซีย” เข็มแข็ง และพร้อมที่จะปฏิบัติการเคลื่อนไหว “ปฏิวัติ” โค่นล้ม “รัฐราชาธิปไตย” เปลี่ยนสังคม “รัสเซีย” ไปสู่ “รัฐสังคมนิยม” ซึ่งบริหารจัดการโดย “คอมมิวนิสต์รัสเซีย”

การปฏิวัติ 1905 ที่ส่งผลตามมาถึง 1941 เหตุเกิดที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เมื่อมกราคม 1905 รัฐบาลรัสเซียได้สังหารหมู่ผู้ประท้วง จนเกิดความไม่สงบ เหตุการณ์นี้ถูกเรียกเป็น “วันอาทิตย์นองเลือด” อันถือเป็น “การปฏิวัติ 1905”
“เลนิน” ได้เรียกร้องให้ “ชาวบอลเชวิค” มีบทบาทมากขึ้นในเหตุการณ์ดังกล่าว และหนุนให้เกิดการจลาจลอย่างรุนแรง โดยใช้คำขวัญ “พรรคสังคมนิยมปฏิวัติ” ที่เกี่ยวข้องกับ “การจลาจลด้วยอาวุธ” กับ “การก่อการร้ายครั้งใหญ่” และ “การเวนคืนที่ดินของผู้ดี” ส่งผลให้ “กลุ่มเมนเชวิค” กล่าวหาว่า “เลนิน” เบี่ยงเบนไปจากลัทธิมาร์กซดั้งเดิม

“เลนิน” ตอบโต้ด้วยการยืนยันว่า “กลุ่มบอลเชวิค” ได้แยกตัวกับ “เมนเชวิค” แล้ว อีกทั้ง“ สมาชิกพรรคบอลเชวิค” ส่วนใหญ่ ปฏิเสธการร่วมสังฆกรรมกับ “กลุ่มเมนเชวิค” อย่างไรก็ดีทั้งสองกลุ่มต่างก็เข้าร่วม “การประชุมสมัชชาครั้งที่ 3” ซึ่งจัดที่กรุงลอนดอน ในเดือนเมษายน 1905

“เลนิน” ได้นำเสนอแนวคิดหลายประการ ในจุลสาร “สองยุทธวิธีของสังคมประชาธิปไตย ในการปฏิวัติประชาธิปไตย” ซึ่งตีพิมพ์ในเดือนสิงหาคม 1905

“เลนิน” ทำนายว่า ชนชั้นกระฎุมพีเสรีนิยมของรัสเซีย จะอิ่มเอมใจด้วยการเปลี่ยนผ่านไปสู่ “ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ” และด้วยเหตุนี้จึงทรยศต่อการปฏิวัติ แต่ “เลนิน” แย้งว่า ชนชั้นกรรมาชีพจะต้องสร้างพันธมิตรกับชาวนา เพื่อโค่นล้มระบอบซาร์ และสถาปนา “เผด็จการประชาธิปไตยแบบปฏิวัติชั่วคราวของชนชั้นกรรมาชีพและชาวนา”

เพื่อตอบสนองต่อการปฏิวัติ 1905 ซึ่งล้มเหลวในการโค่นล้มรัฐบาล ใน“แถลงการณ์ตุลาคม”ของ“จักรพรรดินิโคไลที่ 2” พระองค์ทรงยอมรับการปฏิรูปเสรีนิยมหลายครั้ง

ในสถานการณ์เช่นนี้ “เลนิน” รู้สึกปลอดภัยที่จะกลับไปยังเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เขาเข้าร่วมกับคณะบรรณาธิการของ “โนวายาจีซน์” ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์กฎหมายหัวรุนแรง ดำเนินการโดย “มารีเยีย อันเดรย์เยวา” เขาใช้หนังสือพิมพ์ดังกล่าว หารือเกี่ยวกับปัญหาที่พรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยเผชิญอยู่

“เลนิน” ได้สนับสนุนให้พรรคแสวงหาสมาชิกในวงกว้างขึ้น และสนับสนุนให้มีการเผชิญหน้าที่รุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเชื่อว่า เป็นความจำเป็นต่อการปฏิวัติที่ประสบความสำเร็จ เขาตระหนักว่า ค่าธรรมเนียมสมาชิก และการบริจาคจากผู้เห็นใจผู้มั่งคั่งเพียงไม่กี่คน ไม่เพียงพอสำหรับกิจกรรมของบอลเชวิค

“เลนิน” จึงสนับสนุนแนวคิดที่จะปล้นที่ทำการไปรษณีย์ สถานีรถไฟ และธนาคาร ภายใต้การนำของ “เลโอนิด คราซิน” บอลเชวิคเริ่มก่ออาชญากรรมดังกล่าว เหตุการณ์ที่โด่งดังที่สุดเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน 1907 เมื่อบอลเชวิคภายใต้การนำของ “โจเซฟ สตาลิน” ได้ก่อเหตุปล้นธนาคารของรัฐในเมือง “ติฟลิส” ด้วยกำลังพลพร้อมอาวุธ

การปล้นครั้งนั้นถูกประณามโด ย“กลุ่มเมนเชวิค” ใน “การประชุมสมัชชาครั้งที่ 4” ซึ่งจัดที่ “กรุงสต็อกโฮล์ม” ในเดือนเมษายน 1906

“เลนิน” มีส่วนจัดตั้งศูนย์บอลเชวิคในเมือง “ก๊วกกาลา” ราชรัฐฟินแลนด์ ซึ่งเป็นรัฐปกครองตนเองในจักรวรรดิรัสเซีย ก่อนบอลเชวิคจะกลับมามีอำนาจเหนือพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตย ใน “การประชุมสมัชชาครั้งที่ 5” ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงลอนดอน ในเดือนพฤษภาคม 1907
ขณะที่รัฐบาลซาร์ปราบปราบฝ่ายค้าน ทั้งการ “ยุบสภาดูมาสมัยที่สอง” ซึ่งเป็นสภานิติบัญญัติของรัสเซีย อีกทั้งสั่งให้ “โอฮรานา”หน่วยตำรวจลับ ออกจับกุมนักปฏิวัติ “เลนิน” จึงหนีจากฟินแลนด์ไปยังสวิตเซอร์แลนด์ ที่นั่นเขาพยายามแลกเปลี่ยนธนบัตรที่ถูกขโมยในติฟลิส ซึ่งมีหมายเลขซีเรียลระบุอยู่บนธนบัตรเหล่านั้น

“อะเลคซันดร์ บอกดานอฟ” และกลุ่มบอลเชวิคที่มีชื่อเสียง ได้ย้ายศูนย์พรรคไปยังกรุงปารีส แม้ “เลนิน” จะไม่เห็นด้วยและไม่ชอบเมืองนี้ แต่ก็ได้ย้ายไปด้วย

“เลนิน” วิพากษ์มุมมองของ “บอกดานอฟ ”อย่างมาก ว่าชนชั้นกรรมาชีพของรัสเซียจำเป็นต้องพัฒนาวัฒนธรรมสังคมนิยม เพื่อจะกลายเป็นเครื่องมือในการปฏิวัติที่ประสบความสำเร็จ แต่ในทางกลับกัน “เลนิน” กลับสนับสนุนผู้นำกลุ่มปัญญาชนสังคมนิยม ซึ่งเป็นผู้นำชนชั้นแรงงานในการปฏิวัติ

บอกดอนอฟและเลนิน ได้ไปเยือนบ้านนักเขียนวรรณกรรมปฏิวัติชื่อดังก้องโลก “แมกซิม กอร์กี” ในเมืองกาปรี ช่วงเมษายน 1908 หลังกลับกรุงปารีส “เลนิน” ได้เสนอให้สมาชิกใน “พรรคบอลเชวิค” เลือกฝ่ายระหว่างเขากับ “บอกดานอฟ” โดยกล่าวหาว่า “บอกดานอฟ” ได้เบี่ยงเบนไปจาก “ลัทธิมาร์กซ”!

เดือนพฤษภาคม 1908 “เลนิน” ใช้ช่วงสั้นๆ ในกรุงลอนดอน เขาใช้ห้องอ่านหนังสือใน “พิพิธภัณฑ์บริติช” เขียนหนังสือ “วัตถุนิยมและบทวิจารณ์เชิงประจักษ์”

“เลนิน” โจมตีสิ่งที่เขาอธิบายว่า เป็น “ความเท็จของปฏิกิริยากระฎุมพี” อันหมายถึง “บอกดานอฟ” ที่เห็นต่าง เขาได้รับเสียงสนับสนุนอย่างเป็นทางการ จนชนะเหนือ “บอกดานอฟ” ใน “พรรคบอลเชวิค”

เดือนสิงหาคม 1910 “เลนิน” ได้เข้าร่วม “การประชุมนานาชาติครั้งที่ 8” ขอ ง“สากลที่สอง” ในกรุงโคเปนเฮเกน ซึ่งเป็นการประชุมนานาชาติของนักสังคมนิยม ในฐานะตัวแทนของพรรคแรงงานสังคมนิยมประชาธิปไตย

ต่อมามีการประชุมในเดือนมิถุนายน 1911 ได้มีการย้าย “ศูนย์กลางพรรค” กลับไปยังรัสเซีย โดยยุบหนังสือพิมพ์ “โปรเลตารี” เพื่อสร้างอิทธิพล “พรรคบอลเชวิค” ขึ้นใหม่ โดย“เลนิน” ได้จัดประชุมในกรุงปราก ในเดือนมกราคม 1912

การประชุมครั้งนั้น มี “บอลเชวิค” เข้าร่วม 16 คนจากทั้งหมด 18 คน! แม้ “เลนิน” จะถูกวิจารณ์อย่างหนักถึงแนวโน้มการแบ่งแยกฝักฝ่าย เขายังคงเดินหน้าขยาย “พรรคบอลเชวิค” อย่างทรหดอดทนต่อไป.. จนกระทั่ง..

สงครามโลกครั้งที่หนึ่งปะทุขึ้น! ขณะที่ “เลนิน” อยู่ในแคว้น “กาลิเซีย” สงครามนี้ทำให้จักรวรรดิรัสเซีย ต้องต่อสู้กับจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เนื่องจาก “เลนิน” ถือสัญชาติรัสเซีย เขาจึงถูกจับกุมคุมขังช่วงสั้นๆ ก่อนจะถูกปล่อยตัวจากรัฐบาลซาร์

เป็นช่วงปี 1916 ที่ “เลนิน” ไม่พอใจพรรคสังคมนิยมฯเยอรมนี ที่สนับสนุนการทำสงครามของเยอรมนี ซึ่งเป็นการฝ่าฝืน “มติชตุทการ์ท” ของสากลที่สอง ที่พรรคสังคมนิยมต้องต่อต้านความขัดแย้ง และมองว่าสากลที่สองได้สิ้นสภาพไปแล้ว..

“เลนิน” ได้เข้าร่วม “การประชุมซิมเมอร์วาลด์” ในเดือนกันยายน 1915 และ “การประชุมคินธาล” ในเดือนเมษายน 1916 โดยเขาได้กระตุ้นให้นักสังคมนิยมทั่วทั้งทวีป ให้เปลี่ยน “สงครามจักรวรรดินิยม” เป็น “สงครามกลางเมือง” ทั่วทั้งทวีป โดยประกาศสงคราม ชนชั้นกรรมาชีพเป็นศัตรูกับชนชั้นกระฎุมพีและอภิชนาธิปไตย

ในเดือนกรกฎาคม 1916 แม่ของ “เลนิน” ได้เสียชีวิตลง สถานการณ์ทำให้เขาไม่สามารถไปร่วมงานศพแม่ได้ แม้การตายของแม่จะส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้ง และสร้างความหดหู่ใจต่อ “เลนิน” ทว่าเขาก็กริ่งเกรงว่าจะต้อง “ตาย” ก่อนจะได้เห็นการปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพเช่นกัน
 
สงครามโลกครั้งแรกสำหรับ “เลนิน” ใกล้ “ปักธงแดง” ในรัสเซีย ให้ “คาร์ล มาร์กซ” แล้ว!!!


กำลังโหลดความคิดเห็น