xs
xsm
sm
md
lg

เรื่องของ “ปรัชญาตะวันตก” (ตอนสามสิบเอ็ด) จาก“คาร์ล มาร์กซ”สู่“เลนิน”?!

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เลนินกับภรรยาและน้องสาวนั่งในรถในขบวนสวนสนามวันแรงงานของกองทัพแดงที่สนามโคดีนกา กรุงมอสโก ค.ศ. 1918(ภาพ : วิกิพีเดีย)
“สอดแนมการเมือง”
“ชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย”

อืม..มี “มาร์กซ” จึงมี “เลนิน” กับ “ชาวคอมมิวนิสต์” สร้าง “รัฐสังคมนิยม”ใ ห้เป็นจริง?!


เรื่องของ “แนวคิด” หรือ “ทฤษฎี” รวมทั้ง“ ปรัชญา” มิติต่างๆ โดยเฉพาะจาก “นักคิดอัจฉริยะ” หลายคน จึงมี “ผองชน” ติดตาม “แนวคิด” และนำไป “ต่อยอด” อีกทั้ง “ค้นคว้า” เพิ่มขึ้น

ที่สำคัญคือ นำไปสู่ “ปฏิบัติการให้เป็นจริง” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นำ “ทฤษฎีด้านการเมือง” ซึ่งเกี่ยวพันต่อเนื่องถึงเรื่องการได้ “อำนาจ” กับ “ผลประโยชน์มหาศาล” เพียงแต่ “คนกลุ่มใด” จักได้ “อำนาจ” และได้กอบโกย“ ผลประโยชน์”

โลกปัจจุบันมีการเมืองหลายระบอบ ทั้ง “รัฐราชาธิปไตย”! “รัฐเผด็จการทหาร”! ฯ แต่ที่โดดเด่นและกำลังห้ำหั่นกันอย่างดุเดือดเอาเป็นเอาตายในขณะนี้ หนีไม่พ้น “การเมืองใหญ่สองระบอบ” คือ “รัฐทุนนิยมสามานย์” กับ “รัฐสังคมนิยมผสมผสาน”!

“อดัม สมิธ” (Adam Smith) คือ “บิดาแห่งทุนนิยม” เป็นหนึ่งในนักคิดไม่กี่คน ที่บุกเบิกความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ ซึ่งให้กำเนิดระบอบ “ทุนนิยม” ที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในชาติต่างๆ!

“คาร์ล มาร์กซ” (Karl Mark) คือ “บิดาแห่งคอมมิวนิสต์” เขาเป็นทั้งนักทฤษฎีและนักปฏิบัติ ที่ “เผยแพร่” และพยายาม “ผลักดัน” ให้เกิด “รัฐสังคมนิยม” ภายใต้การบริหารโดย “ชาวคอมมิวนิสต์”!

การเมืองของ “รัฐทุนนิยม” ยุคแรก ที่ขยายตัวเป็น “รัฐทุนนิยมเสรี” แล้ววิวัฒน์จนผู้คนเรียกอย่างขมขื่น ผสมรังเกียจเดียจฉัน ว่า “รัฐทุนนิยมสามานย์” ซึ่งครอบงำและไล่ล่าอาณานิคม “ชาติอ่อนแอ”

การเมืองระบอบ “รัฐทุนนิยมสามานย์” นี้ ได้สร้าง “ความเหลื่อมล้ำ” อย่างมากมายมหาศาล ให้กับ “ชาติตนเอง” และ “ชาติทั้งหลาย” ในโลก เพราะได้ทำให้ “คนรวย” เพียงน้อยนิด “ร่ำรวย” และรวยยิ่งขึ้นไม่หยุดยั้ง! ขณะที่ “ผู้มีรายได้น้อย” ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ กลับต้อง “ยากจนลง” และจะยิ่งจนลงอย่างต่อเนื่อง!

สังคมโลกที่ชาติมหาอำนาจในระบอบการเมือง “ทุนนิยมสามานย์” อันประกอบด้วย“ สหรัฐอเมริกา” รวมถึง “อังกฤษ-เยอรมันนี-ฝรั่งเศส-อิตาลี”“รัฐบาลทุนสามานย์” เหล่านั้น มักมีนโยบายที่เอื้อประโยชน์แก่ “บริษัทใหญ่ยักษ์” อย่างต่อเนื่องเป็นหลัก ได้สร้างกำไรมหาศาลแก่ธุรกิจของ “นายทุนใหญ่ยักษ์” ซึ่งรวยมากยิ่งขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง!

ขณะที่ “กิจการเอสเอ็มอี” ของ “ผู้มีรายได้น้อย” ต้องดิ้นรนอย่างหนักหน่วงให้อยู่รอด หนีการล้มครืน ด้วยธุรกิจของ “บริษัทใหญ่ยักษ์” ใช้ความได้เปรียบทุกวิธี เบียดให้ “กิจการเอสเอ็มอี” ต้องล้มละลายไปแทบทุกวัน ด้วยเหตุนี้ “ผู้มีรายได้น้อย” จึงยากจนมาตลอดตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต..

สังคม “รัฐทุนนิยมสามานย์” จึงถูกขนานนามเป็น “สังคมมือใครยาวสาวได้สาวเอา” หรือ “สังคมปลาใหญ่สวาปามปลาเล็ก” ทิ่ผู้คนรู้กันอย่างถ่องแท้ว่า แท้จริงเป็น “สังคมคนกินคน” นั่นเอง!

ปัจจุบันชาวโลกรู้แล้วว่า “รัฐทุนนิยมสามานย์” คือผู้เปิดช่องทางให้ “นักการเมือง-ข้าราชการ” ออกนโยบายกับมีปฎิบัติการเอื้อประโยชน์มากมายสารพัดโดยไม่ชอบธรรม ให้แก่ “กลุ่มนายทุนใหญ่ยักษ์” ที่เป็น “คนส่วนน้อยนิด”

ในขณะที่ “กลุ่มผู้มีรายได้น้อย” ซึ่งเป็น “คนส่วนใหญ่” ในสังคม ต้องใช้ชีวิตอดอยากยากลำเค็ญ ไม่อาจดำรงชีวิตอยู่ดีกินดีตลอดมา ฯลฯ
อืม..ครานี้มามองถึง “ลัทธิมาร์กซ” ที่ “วลาดีมีร์ เลนิน” ดำเนินรอยตาม และยอมเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย ผลักดันใน “ชาติรัสเซีย” พยายาม “สานฝัน” ของ “คาร์ล มาร์กซ” ให้เป็นจริง..

“วลาดีมีร์ เลนิน” เกิดวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 1870 ในเมืองซิมบีร์สค์ เขาเป็นลูกคนที่สามจากแปดคน แต่พี่น้องสองคนเสียชีวิตในวัยเด็ก
พ่อของเขาศรัทธา“ คริสต์นิกายออร์โธดอกซ์รัสเซีย” ขณะที่แม่นับถือนิกาย “ลูเทอแรน” แม่เลนินเลี้ยงดูลูกโดยไม่แยแสกับศาสนาคริสต์ ซึ่งเป็นมุมมองที่มีอิทธิพลต่อลูกๆ

“อีลียา อุลยานอฟ” ผู้พ่อ มาจากครอบครัวอดีตทาสที่ดิน แต่ก็สามารถก้าวขึ้นมาเป็นชนชั้นกลางได้ โดยได้ศึกษาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ ที่ “ราชวิทยาลัยคาซัน” ก่อนจะไปสอนในสถาบันของชนชั้นสูงที่เปนซา และเป็น “ผู้อำนวยการ”โรงเรียนรัฐประจำจังหวัด ได้ดูแลการก่อตั้งโรงเรียนกว่า 450 แห่ง จนได้รับ “เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญวลาดีมีร์” ซึ่งมอบสถานะ “ขุนนางโดยกำเนิด” ให้กับพ่อของเลนิน
พ่อแม่ของเลนินเป็นพวก “ราชาธิปไตย” และ “เสรีอนุรักษ์นิยม” ที่มุ่งมั่นจ ะ“ปฏิรูปการเลิกทาส” โดย “จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2” ซึ่งพวกเขาหลีกเลี่ยงความรุนแรงทางการเมือง ทุกฤดูร้อนครอบครัวของเลนิน จะไปเที่ยวพักผ่อนที่คฤหาสน์ชนบทในโคคูชคีโน “เลนิน” สนิทกับ “โอลกา” พี่สาวมากที่สุด เขามีนิสัยชอบแข่งขันสูงและอาจเป็นอันตรายได้ แต่ก็ยอมรับพฤติกรรมไม่เหมาะสมของตัวเอง เขายังเป็นนักกีฬาที่กระตือรือร้นอีกด้วย

“เลนิน” มักใช้เวลาส่วนใหญ่นอกบ้าน และเล่นหมากรุกเก่ง ในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาซัมบิร์สค์ ที่มีวินัยและอนุรักษ์นิยม
ช่วงเดือนมกราคม ค.ศ.1866 “เลนิน” อายุเพียงแค่ 15 ปี พ่อของเขาได้เสียชีวิตจากเลือดออกในสมอง “เลนิน” จึงเริ่มมีพฤติกรรมไม่อยู่กับร่องกับรอย หลังจากนั้นเขาได้ละทิ้งความเชื่อในพระเจ้า ในห้วงนั้น “อะเลคซันดร์” หรือ “ซาชา” พี่ชายคนหนึ่งของ “เลนิน” ที่กำลังศึกษาอยู่ใน “ราชวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก” ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการปลุกปั่นทางการเมือง เพื่อต่อต้านระบอบ “สมบูรณาญาสิทธิราชย์” ของ “จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 3” โดย “ซาชา” ได้ศึกษางานเขียนของฝ่ายซ้าย ที่ถูกสั่งห้ามจัดการประท้วงต่อต้านรัฐบาล

“ซาชา” ได้เข้าร่วมกับกลุ่มปฏิวัติ ที่ตั้งใจจะลอบปลงพระชนม์จักรพรรดิฯ โดย “ซาชา” ได้รับเลือกให้สร้างระเบิด ทว่า.. ก่อนที่การโจมตีจะเกิดขึ้นตามแผน “กลุ่มผู้สมคบคิด” ถูกจับกุม รวมทั้ง “ซาชา”

พี่ชายของเลนิน ถูกประหารชีวิตด้วยการถูกแขวนคอในเดือนพฤษภาคม

แม้จะเจ็บปวดทางจิตใจ จากการสูญเสียทั้งพ่อและพี่ชาย แต่เขาก็ยังคงศึกษาต่อไปอย่างต่อเนื่อง..

“เลนิน” ได้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียน โดยได้คะแนนสูงสุดในชั้น ได้เหรียญทองสำหรับผลงานที่โดดเด่น เขาตัดสินใจเรียนกฎหมายที่ “ราชวิทยาลัยคาซัน” ในเดือนสิงหาคม ที่นั่น..เขาได้เข้าร่วม “เซมเลียเชียตวา” ซึ่งเป็นสังคมรูปแบบหนึ่ง ที่เป็นตัวแทนของผู้ชายในภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง ซึ่งได้เลือก “เลนิน” ให้เป็นตัวแทน สภาเซมเลียเชียตวาของราชวิทยาลัย ซึ่ง“ เลนิน” ได้เข้าร่วมการประท้วงในเดือนธันวาคม เพื่อต่อต้านข้อจำกัดของรัฐบาล ที่สั่งห้ามสมาคมนักศึกษาด้วย

ครั้งนั้นตำรวจได้จับกุม “เลนิน” ในข้อหาเป็นหัวหน้าการชุมนุมประท้วง เขาถูกไล่ออกจากราชวิทยาลัย และกระทรวงกิจการภายในก็ได้เนรเทศ “เลนิน” ไปยังที่ดินโคคูชคีโนของครอบครัว ที่นั่นเขาได้อ่านหนังสือและหลงใหลนิยายแนวนิยมปฏิวัติเรื่อง What is to Be Done? ของ “นิโคไล เซียร์นีเซียฟสกี”

นั่นทำให้แม่ของ “เลนิน” กังวลใจ กับแนวคิดหัวรุนแรงของลูกชายคนนี้ และมีส่วนสำคัญในการโน้มน้าวกระทรวงมหาดไทย ให้“ เลนิน” ได้กลับไปที่เมืองคาซันอีกครั้ง แต่ไม่ใช่ที่ราชวิทยาลัยคาซัน

เมื่อกลับมา “เลนิน” ได้เข้าร่วมกลุ่มปฏิวัติของ “นิโคไล เฟโดเซียเยฟ” เขาได้ค้นพบหนังสือเรื่อง “ทุน” ของ “คาร์ล มาร์กซ” ว่าด้วยทฤษฎีทางสังคมการเมืองที่พัฒนาเป็นชั้นๆ อันมาจากผลการต่อสู้ระหว่างชนชั้น อีกทั้งบอกแนวโน้มให้รู้ว่า “สังคมทุนนิยม” จะต้องหลีกทางให้กับ “สังคมนิยม” และ “สังคมคอมมิวนิสต์” ในที่สุด” ซึ่งจุดประกายโชติช่วงในความสนใจของเขาต่อ “ลัทธิมาร์กซ”

แม่ที่เฝ้าสังเกตด้วยความห่วงใย ในมุมมองทางการเมืองของ “เลนิน” จึงซื้อที่ดินในชนบทหมู่บ้านอะลาคาเยฟคา โดยหวังว่า ลูกชายเธอจะหันความสนใจไปที่การเกษตร แต่“เลนิน”มีความสนใจเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในที่สุด.. แม่เลนินก็ต้องขายที่ดิน เก็บแค่บ้านพักไว้ และในเดือนกันยายน ค.ศ.1889 ครอบครัวเลนินได้ย้ายไปที่เมืองซามารา

“เลนิน” จึงได้เข้าร่วมวงสนทนาสังคมนิยม กับ “อะเลคเซย์ สคลีอาเรนโค” ที่นั่น“เลนิน”ยอมรับ “ลัทธิมาร์กซ” อย่างเต็มตัว!

“เลนิน” ได้จัดทำจุลสารการเมืองของ “มาร์กซ-แองเกล” ใน ค.ศ.1848 เรื่อง “แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์” เป็นภาษารัสเซีย!

นั่นเป็นปฐมบทของ “วลาดีมีร์ เลนิน” ที่เสี่ยงชีวิตต่อยอด “ฝัน” ของ “คาร์ล มาร์กซ” ให้เป็นจริง..!!!


กำลังโหลดความคิดเห็น