xs
xsm
sm
md
lg

เรื่องของ “ปรัชญาตะวันตก” (ตอนยี่สิบเก้า) “ฝันที่เป็นจริง” ของ “คาร์ล มาร์กซ”?!

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


คำประกาศเจตนาคอมมิวนิสต์” (The Communist Manifesto) ซึ่งเป็นผลงานโด่งดังที่สุดของ “มาร์กซ” และ “แองเกล”
“สอดแนมการเมือง”
“ชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย”


“กลุ่มทุนใหญ่ยักษ์” ล้วนขยาดขลาดกลัวแนวคิด “คอมมิวนิสต์” ของ “คาร์ล มาร์ก” กันทั้งสิ้น!

งั้นมาค้นคว้า “ความคิดคอมมิวนิสต์” ของ “คาร์ล มาร์กซ” กับ “เฟรดเดอริก แองเกล” เพื่อนสนิทมิตรสหายร่วมอุดมการณ์ของเขา ที่ร่วมสุขร่วมทุกข์ผ่านเหตุการณ์ทั้งดีและร้าย หลายครั้งต้องหลบหนีลี้ภัยการเมือง โดยไม่เคยทรยศหักหลังกันและกัน สองสหายได้ “ทำคลอด” แนวความคิดทางการเมืองระบบ “คอมมิวนิสต์” ซึ่ง “รัฐนายทุนใหญ่ยักษ์” ประกาศอย่างเปิดเผยว่า เป็น“ศัตรูหมายเลขหนึ่ง”

ความคิดสำคัญของ “มาร์กซ-แองเกล” ยึดหลักความคิดที่ว่า “เราอาศัยอยู่ในโลกของวัตถุ”!

สองสหายมีความเห็นตรงกันเรื่องรูปแบบของ Dialectical Process (คือ การใช้เหตุผลเพื่อหาบทสรุป จากความคิดเห็นที่แตกต่างกัน) แต่สำหรับ“มาร์กซ” สิ่งที่ใช้เป็นแนวทางนั้นไม่ใช่จิตวิญญาณอันสูงสุด (Absolute Spirit) แต่เขามองไปที่พลังทางเศรษฐกิจ และการต่อสู้ทางชนชั้นของมุนษย์

“มาร์กซ” เป็นนักวัตถุนิยม(Materialist) เช่นเดียวกับ “อริสโตเติล” ที่ดึง “รูปแบบ” ของ “เพลโตล" งมาจากท้องฟ้า และทำให้เรามองเห็นมันในฐานะสิ่งของ

โดยสรุป “มาร์กซ” นำวิธีการหาความจริง (ข้อสรุป) ทางประวัติศาสตร์ มาใส่ไว้ในโลกของวัตถุนั่นเอง
“มาร์กซ” ยืนยันว่า ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นสูงกับชนชั้นล่าง ทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจใหม่ รวมทั้งเกิดชนชั้นอีกชนชั้นหนึ่งขึ้นมาคือ “ชนชั้นนายทุน” อันหมายถึงผู้ที่เป็นเจ้าของเครื่องมือการผลิต และเป็นผู้เก็บผลกำไรไว้กับตน
ผู้มีกรรมสิทธิ์ในทุน (ปัจจัยการผลิตต่างๆ) จะแสวงผลประโยชน์ และกีดกันชนชั้นล่างออกไป ซึ่ง“มาร์กซ”กล่าวว่า มันคือตัวกระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งทางชนชั้นในขั้นสุดท้าย

โดย “มาร์กซ” เห็นว่า การกีดกันคนงานออกไปในช่วงของอุตสาหกรรมนั้น เป็นผลมาจากธรรมชาติของแรงงานเอง คนงานไม่มีความรู้สึกผูกพันกับสินค้าที่ตนผลิต ซึ่งตรงข้ามกับชาวนา ที่มีความเกี่ยวพันในที่ดินที่ตนทำงานอยู่

นอกจากนี้ ผลประโยชน์ของชนชั้นหนึ่ง มักขัดแย้งกับผลประโยชน์ของอีกชนชั้นหนึ่งเสมอ จากการทำ Dialectic อย่างเข้มข้น ทำให้ “มาร์กซ” ชี้ให้เห็นถึงการต่อสู้ทางชนชั้นครั้งสุดท้าย

คนทั่วไปมักเข้าใจผิดว่า “มาร์กซ” เป็นนักคิดทางการเมืองที่โด่งดังขึ้นมาด้วยระบบ “คอมมิวนิสต์” ในฐานะที่เป็น “สังคมในอุดมคติ”

เป็นความจริงที่ “มาร์กซ” เชื่อว่า ระบบ “คอมมิวนิสต์” อันเป็นสังคมไร้ชนชั้นและปราศจากทรัพย์สินส่วนตัว จะต้องเป็นสังคมที่ดีกว่า แต่ข้ออ้างของ “มาร์กซ” ไปไกลกว่านั้น

“มาร์กซ” กล่าวว่า ในเชิงประวัติศาสตร์ ระบบทุนนิยมจะทำลายตัวเองลงอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ และชนชั้นแรงงานจะผงาดขึ้นมา
นอกจากนี้ การตั้งสมมุติฐานเพื่อหาข้อสรุปนั้น สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นล้วนเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ทั้งสิ้น รวมทั้งการเกิดขึ้นของระบบทุนนิยมที่เขาเกลียดชังอย่างมาก

ระบบทุนนิยมได้จัดหาเครื่องมือ และวิธีการในการเพิ่มผลผลิต ส่วนระบบคอมมิวนิสต์ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ตรงข้ามอย่างสิ้นเชิง จะนำความร่ำรวยและความสามารถในการผลิต ออกไปแจกจ่ายอย่างเท่าเทียมกัน ทรัพย์สินต่างๆ จะถูกถือกรรมสิทธิ์เพื่อสาธารณะ

“มาร์กซ” กล่าวว่า รัฐบาลคอมมิวนิสต์จะอยู่ตรงกันข้ามกับรัฐบาลทุนนิยม “มาร์กซ” คิดว่านั่นเป็นยุคสุดท้ายของการโต้แย้งทางประวัติศาสตร์ เป็นยุคสุดท้ายที่จะเป็นประโยชน์แก่มนุษยชาติทั้งมวล..

“มาร์กซ” คาดการณ์เรื่องของ “ชนชั้นแรงงาน” ว่าต้องสามัคคีกันเปลี่ยนแปลงสังคม เขาได้เขียนบทความเรื่อง “อุดมการณ์เยอรมัน” และ “ความอับจนของปรัชญา” วิพากษ์ความคิดสังคมนิยมสายฝรั่งเศส

บทความทั้งสอง วางรากฐานให้กับ “คำประกาศเจตนาคอมมิวนิสต์” (The Communist Manifesto) ซึ่งเป็นผลงานโด่งดังที่สุดของ “มาร์กซ” และ “แองเกล” หนังสือเล่มนี้ “สมาพันธ์คอมมิวนิสต์” ซึ่งเป็นกลุ่มผู้อพยพชาวเยอรมัน ที่ “มาร์กซ” ได้พบที่ลอนดอน ได้ร้องขอให้เขียนขึ้น ได้รับการตีพิมพ์เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1848

ในปีนั้นเอง ในทวีปยุโรปได้เกิดการลุกฮือครั้งใหญ่ กลุ่มคนงานได้เข้ายึดอำนาจจาก “พระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปที่ 1” แห่งฝรั่งเศส จากนั้น “รัฐบาลคนงาน” ได้เชิญ “มาร์กซ” กลับปารีส แต่ “รัฐบาลคนงาน” ได้ล่มสลายลงในปี 1849 ทำให้ “มาร์กซ” ต้องย้ายกลับไปยังโคโลญอีกครั้ง

“ฝัน” ของ “มาร์กซ” กับ “แองเกล” ที่มีแนวคิดและสนับสนุนการเคลื่อนไหวของ “ชนชั้นแรงงาน” ได้ปรากฎเป็นจริงให้เขาทั้งสองได้เห็น แม้ “รัฐบาลแรงงาน” ในฝรั่งเศสจะไม่ยั่งยืน ด้วยไร้ประสบการณ์ในการบริหารจัดการ “รูปแบบของรัฐ” จึงถูกอีกฝ่ายโค่นล้มลงในเวลาไม่นาน

ผ่านมาร่วมสองร้อยปีแล้ว ที่สองสหายรัก “มาร์กซ-แองเกล” ได้พิมพ์หนังสือเผยแพร่แนวคิด “คอมมิวนิสต์” ของเขาทั้งสอง ไว้เป็นมรดกให้กับชนยุคหลัง โดยในยุคนั้นระบบ “คอมมิวนิสต์” ยังเป็นแค่ “ทารกเกิดใหม่” ขณะที่ระบบ“ทุนนิยม”เป็น“หนุ่มใหญ่แข็งแรง” แข็งแกร่งกว่าชนิดเทียบกันไม่ได้

อย่างไรก็ตาม.. “มาร์กซ” แตกต่างจากนักปรัชญาคนอื่นๆ ที่พยายามเข้าใจสังคมในอดีต ด้วยการมองไปที่ปรัชญา ศาสนา และวรรณกรรมต่างๆ

ในขณะที่ “มาร์กซ” เชื่อว่า “พลังทางเศรษฐกิจ” คือรากฐานของสังคม ด้วยการกระจายความอยู่ดีกินดีอย่างทั่วถึง

ดังนั้น ความคิดของ “มาร์กซ” จัดเป็นตำนานที่ยังมีให้เราเห็นอยู่ทั่วทุกแห่งบนโลกในวันนี้ เพราะ “นักคิดสมัยใหม่” จำนวนมาก ก็ยังมองมาที่ “พลังทางเศรษฐกิจ” เพื่อใช้อธิบายอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งมันอาจเป็นทางเลือกของโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ที่อาจนำเราไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า
“คาร์ล มาร์กซ” และ “เฟรดเดอริก แองเกล” สองสหายผู้ให้กำเนิดทฤษฎีคอมมิวนิสต์ ได้สร้างแนวคิดสู่การถกเถียง ทั้งสร้างความเชื่อในเหตุผลตามทฤษฎี “วัตถุนิยม” ซึ่งนำไปสู่ปฏิบัติการเพื่อสร้าง “รัฐคอมมิวนิสต์”ให้ปรากฎเป็นจริง ท่ามกลางสังคมหลักของโลกยามนั้น ซึ่งมีทั้ง “เผด็จการรัฐกษัตริย์” “เผด็จการรัฐทหาร” เผด็จการรัฐสภาฯ” รวมทั้ง “รัฐทุนนิยมเลือกตั้ง” ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์ทางการเมืองยุคใหม่ ได้บันทึกไว้แล้วว่า “ฝัน” ของสองสหายผู้ก่อเกิดแนวคิด “คอมมิวนิสต์” ได้ปรากฎเป็นจริงขึ้นอีกครั้ง นั่นคือ 

หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในปี ค.ศ.1917 ได้เกิด “รัฐบาลสังคมนิยม” โดยมี 15 สาธารณรัฐเข้าร่วมกับอาณาจักร “สหภาพโซเวียต” บริหารโดย “ชาวคอมมิวนิสต์” ในนาม “พรรคบอลเชวิค” ภายใต้การนำของ “วลาดิมีร์ อิลลิช เลนิน” ซึ่ง “ชาวคอมมิวนิสต์” เรียกสั้นๆ ว่า “เลนิน”

แม้ปัจจุบัน “สหภาพโซเวียต” ล่มสลายไปแล้ว โดยได้กลับไปใช้ชื่อเดิมในนาม “รัสเซีย” ซึ่งยังคงเป็นหนึ่งใน “ชาติมหาอำนาจ” ในหลายหลากด้าน โดยมี “วลาดิมีร์ ปูติน” เป็นผู้นำคนปัจจุบัน ซึ่งชาติมหาอำนาจ “มะกัน” กับ “กลุ่มชาติตะวันตก” ไม่อาจดูแคลน ถึงกับมองว่า “รัสเซีย” ก็เป็น “หนึ่งในศัตรู” ของพวกเขา..?

ที่สำคัญ ผู้นำรัสเซียอย่าง“ปูติน”นั้น โลกถือเป็น“คนพูดจริงทำจริง” ถ้า“ห้ามแล้วไม่ฟัง” ยังขืนดื้อดึง ทำเรื่องที่เป็นภัยอันตรายร้ายแรง ต่อความมั่นคงของชาติและประชาชนรัสเซีย “ปูติน”ไม่ลังเลที่จะสั่งให้“กองทัพหมีขาว” เข้าทำศึกสงคราม เพื่อ“ขจัดภัยอันตราย”นั้นทันที

นั่นคือเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น เรื่อง “ปูติน” ผู้นำรัสเซียสั่งสอนผู้นำตัวตลก “เซเลนสกี้” ของยูเครน ที่ดื้อดึงดันทุรังจะนำยูเครนเข้าไปสังกัด “องค์การนาโต้” ไม่ฟังเสียงห้ามปรามของรัสเซียแม้แต่น้อย เพราะ “เซเลนสกี้” หลงเชื่อ “มะกัน” กับ “องค์การนาโต้” หลอกจะช่วย “ยูเครน” เต็มที่

ทว่า.. “ชาติตะวันตก” กำลังทำให้ “ทหาร” กับ “ชาวยูเครน” ต้องบาดเจ็บล้มตาย และบ้านเมืองพังวินาศ ชาวยูเครนต้องอพยพลี้ภัยพลัดถิ่นเกิดไปอยู่ต่างแดน จากปฏิบัติการพิเศษทางการทหาร ที่มหาอำนาจ “รัสเซีย” กำลังสั่งสอนชาติยูเครนที่มีดินแดนติดกัน โอกาสที่ “กองทัพยูเครน” จะชนะ “กองทัพหมีขาว” นั้น..ไม่มีเลย!

เรื่อง “รัฐสังคมนิยม” ของ “คอมมิวนิสต์” ตามแนวทางของ “มาร์กซและแองเกล” ยังไม่จบแค่นี้ครับ..


กำลังโหลดความคิดเห็น