ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล
สาขาวิชาสถิติศาสตร์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
บทความนี้เป็นบทความเก่าที่เคยเขียนลงหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์หลายปีมาแล้ว แม้ว่าจะเก่า แต่ผมก็ยังได้พบเจอเด็กๆ ลูกหลานไทยที่ยังเริ่มต้นเรียนภาษาไทยด้วยวิธีการเรียนสมัยใหม่ มิใช่การเรียนแบบสะกดแจกลูกตามแบบโบราณที่มีเสียงเป็นเครื่องช่วยหลักสำคัญ ทำให้เกิดความเป็นห่วงว่าเด็กไทยจะอ่านหนังสือได้ไม่แตกฉาน
ขอนำบทความนี้มาลงอีกครั้งหนึ่งโดยปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาบางส่วน และต้องการให้ สพฐ. หรือครูภาษาไทยได้อ่านบทความนี้เพื่อที่จะนำไปปรับปรุงแก้ไขการเรียนการสอนภาษาไทยให้ดีขึ้นเพื่ออนาคตของชาติต่อไปในภายภาคหน้า
ผมเห็นคนแชร์กันในอินเตอร์เน็ตกันเยอะมากเรื่องที่เด็กนักเรียนประถมศึกษาสมัยนี้เรียนภาษาไทยกันด้วยวิธีสมัยใหม่ที่ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองถึงกับปวดหัวไม่รู้จะสอนการบ้านวิชาภาษาไทยลูกของตัวเองได้อย่างไร และเริ่มมีนักข่าวไปสอบถามกับผู้เชี่ยวชาญภาษาไทยกันหลายคนออกโทรทัศน์แต่ยังไม่กล้าฟันธงกันว่าวิธีสอนสะกดภาษาไทยแบบใหม่ ที่ให้อ่านไล่ไปตามสระ มากกว่าให้สะกดแจกลูกตามเสียงแบบที่โบราณสอนกันมาดีกว่ากันหรือไม่อย่างไร หลายคนบอกว่าแบบสมัยใหม่นี้จะทำให้เด็กเขียนได้ถูกต้องได้ผลดีกว่าแบบโบราณ
วิธีสอนแบบโบราณแจกลูกจะสอนกันว่า ปอ-เอีย-กอ-เปียก-ไม้ตรี อ่านว่า เปี๊ยก
แต่สมัยนี้เขาสอนเด็กให้จำกันเป็นว่า สระเอ-ป ปลา-สระอี-ไม้ตรี-ย ยักษ์- ก ไก่ ผมขอเรียกว่าแบบแจกลูกของโบราณ กับแบบสมัยใหม่ก็แล้วกัน
ผมไม่เห็นด้วยกับวิธีสมัยใหม่ ผมมีความเห็นว่าวิธีสอนภาษาไทยแบบนี้น่าจะลอกมาจากภาษาอังกฤษ (ซึ่งผมอาจจะเข้าใจผิดก็ได้)
ภาษาอังกฤษนั้นเป็นภาษาที่สะกดกับออกเสียงไม่ตรงกันเลยเป็นส่วนใหญ่ เช่น home อ่านว่า โฮม come กลับอ่านว่า คัม tough อ่านว่าท้าฟ แต่ through กลับอ่านว่าทรู อย่างนี้เป็นต้น ดังนั้นการเรียนภาษาจะต้องเรียนเป็นคำๆ จำเป็นคำๆ ว่าเขียนไม่ตรงกันแบบนี้อ่านกันอย่างไร ออกเสียงกันอย่างไร และต้องสอนให้เด็กที่เรียนเรียนกันแบบสมัยใหม่จีงจะได้ผลดีกว่า
ผมเข้าใจว่าครูภาษาไทยบางส่วนคงไปลอกวิธีสอนแบบนี้มาจากวิธีสอนภาษาอังกฤษโดยหลงลืมอัจฉริยลักษณ์ของภาษาไทยที่ส่วนใหญ่สะกดตรงกับการออกเสียง ยกเว้นคำที่ทับศัพท์มาจากภาษาต่างประเทศ เช่น คลินิก ซึ่งใครๆ ก็ออกเสียงว่า คลี-หนิก กันทั้งนั้น กับข้อยกเว้นบางคำเช่น ทร ควบจะอ่านเป็นเสียง ซ โซ่ เช่นคำว่าทรวดทรง อ่านว่าซวดซง เป็นต้น
ภาษาในโลกนั้นบางภาษาก็ออกเสียงตรงกับที่สะกดค่อนข้างเคร่งครัด เช่น ภาษาสเปน หรือภาษาเยอรมัน แต่บางภาษาไม่เน้นการสะกดเลยแต่ต้องจำเป็นภาพเช่นอักษรภาษาจีนโบราณ ซึ่งต้องจำเป็นภาพเพราะเป็นอักษรที่มีวิวัฒนาการมาจากภาพ เช่นคำว่าลิ้มในภาษาจีนแต้จิ๋วนั้นแปลว่าต้นไม้สองต้น ถ้ามองดีๆ ก็จะเห็นเป็นต้นไม้สองต้นจริงๆ
แบบเรียนจินดามณีเขียนโดยพระโหราธิบดีของโบราณที่ใช้กันมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยานั้นไม่ได้สอนแจกลูกมากนัก (แต่ก็สอนอย่างเคร่งครัด)
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพบว่าเด็กที่เรียนหนังสือด้วยแบบเรียนจินดามณีอ่านออกได้ช้าและกลับไปทำนาเป็นแรงงานก่อน ไม่มีเวลาเรียนหนังสือพอ ทำให้อ่านหนังสือไม่แตก ด้วยเหตุที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเข้าใจอัจฉริยลักษณ์ของภาษาไทยนี้เป็นอย่างดียิ่ง เลยทรงนิพนธ์แบบเรียนเร็ว เน้นการสอนแจกลูกสะกดคำเพื่อให้เด็กอ่านหนังสือได้เร็วขึ้น
และแบบเรียนภาษาไทยสมัยต่อๆ มาก็ยังนิยมสอนด้วยวิธีนี้ แม้กระทั่งแบบเรียนภาษาไทยชุดเด็กดี ซึ่งผูกเรื่องราวของมานะ มานี ปิติ ชูใจ แต่งโดยอาจารย์รัชนี ศรีไพรวรรณและวาดรูปประกอบโดยอาจารย์เตรียม ชาชุมพร ผู้ล่วงลับไปแล้วทั้งสองท่าน ก็สอนด้วยการสะกดแจกลูกและการใช้เสียงเป็นเครื่องมือช่วยแบบโบราณเช่นเดียวกัน
วิธีการสอนแบบนี้ในทางจิตวิทยาการรู้คิดและปัญญา (Cognitive psychology) นั้นน่าจะได้ผลดีกว่าเพราะว่ามนุษย์เราจะอาศัยการจำหรืออาศัยทางลัดในการจำด้วยเสียง เสียงจะเป็นเครื่องช่วยจำ ถัดจากเสียงไป คนเราก็จะเรียนรู้คำจากความหมาย (Semantic)
มีกรณีศึกษาที่น่าสนใจมากที่สุดในการเรียนรู้ภาษาของ เฮเลน เคลเลอร์ เด็กอเมริกัน ตาบอด หูหนวก และเป็นใบ้ ที่ แอน ซูลิแวน ครูของเธอสอนด้วยการคิดค้นภาษาสัมผัสด้วยการจับนิ้วมือแทนคำต่างๆ (ไม่ใช่กระทั่งอักษรเบรล์) และสอนคำแรกในโลกอันมืดมิดไร้เสียงด้วยคำว่าน้ำ โดยแอนเอามือของเฮเลน ไปสัมผัสน้ำ และทำสัญลักษณ์ด้วยมือให้ทราบว่านี่คือน้ำ นี่คือความมหัศจรรย์ในการเป็นยอดครูของแอน ที่หาวิธีการสอนแม้ว่าเด็กจะไม่มีทางได้ยินเสียง แต่ก็อาศัยการเรียนรู้จากความหมายนั่นเอง แอนนั้นบรรยายความรู้สึกว่า น้ำคือสิ่งที่ผ่านมือและเย็นเฉียบอย่างน่ามหัศจรรย์ นี่คือการเรียนรู้คำว่าน้ำจากความหมายของคำว่าน้ำ และเชื่อมโยงกับภาษาสัมผัส นับว่าแอนเข้าใจหาช่องทางอื่นในการสอนภาษาได้อย่างยอดเยี่ยม (นอกเหนือไปจากเสียงและภาพที่เป็นไปไม่ได้สำหรับคนหูหนวกตาบอด พิการซ้ำซ้อนเช่นเฮเลน)
คนหูหนวก (แม้ว่าจะมองเห็นดี) โดยส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการทางภาษาและเรียนรู้ภาษาได้ด้อยกว่าคนตาบอด เพราะเสียงเป็นเครื่องช่วยจำชั้นดี คนหูหนวกมักจะเป็นใบ้ด้วยไปโดยปริยายยกเว้นคนที่มาหูหนวกในภายหลัง เช่น อาจารย์ญาดา ชินะโชติ แห่งโรงเรียนเศรษฐเสถียร ซึ่งยังคงพูดได้ แม้เสียงจะผิดเพี้ยนไปบ้าง เหตุที่อาจารย์ไม่มีโอกาสจะเชื่อมโยงภาษาที่เรียนกับเสียงอีกต่อไป มีความพยายามสอนคนหูหนวกให้ออกเสียงด้วยการดูริมฝีปาก ลิ้น ฟัน เรียกว่าดูการเคลื่อนไหวของอวัยวะที่ใช้ออกเสียงแต่ก็ยังทำได้โดยยากมาก
การสอนภาษาไทยแบบสมัยใหม่ขาดการแจกลูกที่สอดคล้องกับการจดจำด้วยเสียง ไม่มีเสียงมาช่วย อาศัยการจำด้วยภาพ อย่างเดียวนั้น น่าจะไม่ได้ผลดีเท่า เพราะภาษาไทยมักจะออกเสียงตรงตามที่เขียน ไม่เหมือนภาษาอังกฤษและไม่ใช่ภาษาอักษรภาพแบบจีน ซึ่งต้องสอนให้เด็กจำเป็นภาพ จำเป็นขีด คนที่เรียนภาษาญี่ปุ่นเองก็คงจำได้ว่าอักษรคันจิซึ่งก็คืออักษรจีนในภาษาญี่ปุ่นนั้นเป็นยาขมที่ต้องจำเป็นภาพในขณะที่อักษรฮิรางานะและคาตาคานะสะกดและออกเสียงตรงกันจะง่ายกว่า
นอกจากนี้มนุษย์เรายังเรียนรู้ที่จะฟัง เลียนแบบเสียงจากการฟัง ก่อนที่จะหัดพูด เมื่อหัดพูดแล้วจึงหัดอ่าน และหัดเขียนในท้ายที่สุด เราต้องนึกถึงความจริงว่าคนในโลกนี้แทบทุกคนฟังกับพูดได้ทั้งนั้น แต่การอ่านออกเขียนได้นั้นมาทีหลัง พุ่มพวง ดวงจันทร์ จำเนื้อเพลงได้เป็นพันๆ เพลง โดยที่อ่านหนังสือไม่ออกเลย อาศัยคนอื่น อ่านให้ฟังแล้วจำเสียง
การอ่านนั้นเป็นการเรียนภาษาสัญลักษณ์ที่หากไปเชื่อมโยงกับเสียงได้น่าจะทำให้การเรียนรู้เร็วและสะดวกมากขึ้นเพราะจะมีหลักการให้เรียนมากกว่าจะจำไปเดี่ยวๆ ด้วยภาพเพียงอย่างเดียว
การพยายามข้ามขั้นตอนที่สอดคล้องกับพัฒนาการของมนุษย์ในการเรียนรู้ภาษาไม่น่าจะได้ผลดีนัก มันผิดธรรมชาติ อีกอย่างในเมื่อเสียงเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเรียนรู้คำของมนุษย์ที่ได้ผลมากที่สุดอย่างหนึ่งแล้วใยจึงไม่ใช้สิ่งนั้นให้เป็นประโยชน์ในการสอนภาษาไทยแก่เด็ก
เรื่องนี้ถ้าจะทำการทดลองก็ทำได้โดยง่าย โดยแบ่งเด็กออกเป็นสองกลุ่มอย่างสุ่มๆ และทดลองสอนด้วยวิธีสองแบบที่แตกต่างกันเพื่อทดลองว่าวิธีใดจะได้ผลมากกว่ากัน ก่อนที่จะเอาไปเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนอย่างนั้นจริงๆ
คนไทยนั้นเห่อฝรั่ง ลอกฝรั่งกันจนชิน ยกย่องฝรั่งจนบางครั้งดูถูกภูมิปัญญาของบรรพชน ของดีที่มีอยู่แล้ว โดยขาดความเข้าใจธรรมชาติของตัวเองอย่างแท้จริง ผมเองก็ไปเรียนต่างประเทศมา ว่างๆ ก็ต้องพยายามเตือนตัวเองเหมือนกันว่าอย่าเห่อฝรั่งมากเกินไป
ขออัญเชิญพระราชกระแสของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าด้วยเรื่องนี้มาดังนี้
“.....การต่อไปภายหน้า ..... การศึกสงครามข้างญวนข้างพม่าเห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่งให้ระวังให้ดี อย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่ดีควรจะเรียนร่ำเอาไว้ก็เอาอย่างเขาแต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว.....”
ลอกฝรั่งมาสอนไทยจะบรรลัยหรือได้ผล น่าจะมีคำตอบที่ควรค้นคว้าวิจัยเชิงทดลอง ก่อนที่จะนับถือเลื่อมใสไปทีเดียว และนึกสงสารเด็กไทยอนาคตของชาติที่ต้องมาเป็นหนูทดลองยาด้วยยา (วิธีการสอน) ที่ไม่ได้มีการทดลองอย่างรัดกุมมาก่อนด้วยก็จะดีไม่น้อยเพื่อลูกหลานของเรา
สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล
สาขาวิชาสถิติศาสตร์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
บทความนี้เป็นบทความเก่าที่เคยเขียนลงหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์หลายปีมาแล้ว แม้ว่าจะเก่า แต่ผมก็ยังได้พบเจอเด็กๆ ลูกหลานไทยที่ยังเริ่มต้นเรียนภาษาไทยด้วยวิธีการเรียนสมัยใหม่ มิใช่การเรียนแบบสะกดแจกลูกตามแบบโบราณที่มีเสียงเป็นเครื่องช่วยหลักสำคัญ ทำให้เกิดความเป็นห่วงว่าเด็กไทยจะอ่านหนังสือได้ไม่แตกฉาน
ขอนำบทความนี้มาลงอีกครั้งหนึ่งโดยปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาบางส่วน และต้องการให้ สพฐ. หรือครูภาษาไทยได้อ่านบทความนี้เพื่อที่จะนำไปปรับปรุงแก้ไขการเรียนการสอนภาษาไทยให้ดีขึ้นเพื่ออนาคตของชาติต่อไปในภายภาคหน้า
ผมเห็นคนแชร์กันในอินเตอร์เน็ตกันเยอะมากเรื่องที่เด็กนักเรียนประถมศึกษาสมัยนี้เรียนภาษาไทยกันด้วยวิธีสมัยใหม่ที่ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองถึงกับปวดหัวไม่รู้จะสอนการบ้านวิชาภาษาไทยลูกของตัวเองได้อย่างไร และเริ่มมีนักข่าวไปสอบถามกับผู้เชี่ยวชาญภาษาไทยกันหลายคนออกโทรทัศน์แต่ยังไม่กล้าฟันธงกันว่าวิธีสอนสะกดภาษาไทยแบบใหม่ ที่ให้อ่านไล่ไปตามสระ มากกว่าให้สะกดแจกลูกตามเสียงแบบที่โบราณสอนกันมาดีกว่ากันหรือไม่อย่างไร หลายคนบอกว่าแบบสมัยใหม่นี้จะทำให้เด็กเขียนได้ถูกต้องได้ผลดีกว่าแบบโบราณ
วิธีสอนแบบโบราณแจกลูกจะสอนกันว่า ปอ-เอีย-กอ-เปียก-ไม้ตรี อ่านว่า เปี๊ยก
แต่สมัยนี้เขาสอนเด็กให้จำกันเป็นว่า สระเอ-ป ปลา-สระอี-ไม้ตรี-ย ยักษ์- ก ไก่ ผมขอเรียกว่าแบบแจกลูกของโบราณ กับแบบสมัยใหม่ก็แล้วกัน
ผมไม่เห็นด้วยกับวิธีสมัยใหม่ ผมมีความเห็นว่าวิธีสอนภาษาไทยแบบนี้น่าจะลอกมาจากภาษาอังกฤษ (ซึ่งผมอาจจะเข้าใจผิดก็ได้)
ภาษาอังกฤษนั้นเป็นภาษาที่สะกดกับออกเสียงไม่ตรงกันเลยเป็นส่วนใหญ่ เช่น home อ่านว่า โฮม come กลับอ่านว่า คัม tough อ่านว่าท้าฟ แต่ through กลับอ่านว่าทรู อย่างนี้เป็นต้น ดังนั้นการเรียนภาษาจะต้องเรียนเป็นคำๆ จำเป็นคำๆ ว่าเขียนไม่ตรงกันแบบนี้อ่านกันอย่างไร ออกเสียงกันอย่างไร และต้องสอนให้เด็กที่เรียนเรียนกันแบบสมัยใหม่จีงจะได้ผลดีกว่า
ผมเข้าใจว่าครูภาษาไทยบางส่วนคงไปลอกวิธีสอนแบบนี้มาจากวิธีสอนภาษาอังกฤษโดยหลงลืมอัจฉริยลักษณ์ของภาษาไทยที่ส่วนใหญ่สะกดตรงกับการออกเสียง ยกเว้นคำที่ทับศัพท์มาจากภาษาต่างประเทศ เช่น คลินิก ซึ่งใครๆ ก็ออกเสียงว่า คลี-หนิก กันทั้งนั้น กับข้อยกเว้นบางคำเช่น ทร ควบจะอ่านเป็นเสียง ซ โซ่ เช่นคำว่าทรวดทรง อ่านว่าซวดซง เป็นต้น
ภาษาในโลกนั้นบางภาษาก็ออกเสียงตรงกับที่สะกดค่อนข้างเคร่งครัด เช่น ภาษาสเปน หรือภาษาเยอรมัน แต่บางภาษาไม่เน้นการสะกดเลยแต่ต้องจำเป็นภาพเช่นอักษรภาษาจีนโบราณ ซึ่งต้องจำเป็นภาพเพราะเป็นอักษรที่มีวิวัฒนาการมาจากภาพ เช่นคำว่าลิ้มในภาษาจีนแต้จิ๋วนั้นแปลว่าต้นไม้สองต้น ถ้ามองดีๆ ก็จะเห็นเป็นต้นไม้สองต้นจริงๆ
แบบเรียนจินดามณีเขียนโดยพระโหราธิบดีของโบราณที่ใช้กันมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยานั้นไม่ได้สอนแจกลูกมากนัก (แต่ก็สอนอย่างเคร่งครัด)
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพบว่าเด็กที่เรียนหนังสือด้วยแบบเรียนจินดามณีอ่านออกได้ช้าและกลับไปทำนาเป็นแรงงานก่อน ไม่มีเวลาเรียนหนังสือพอ ทำให้อ่านหนังสือไม่แตก ด้วยเหตุที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเข้าใจอัจฉริยลักษณ์ของภาษาไทยนี้เป็นอย่างดียิ่ง เลยทรงนิพนธ์แบบเรียนเร็ว เน้นการสอนแจกลูกสะกดคำเพื่อให้เด็กอ่านหนังสือได้เร็วขึ้น
และแบบเรียนภาษาไทยสมัยต่อๆ มาก็ยังนิยมสอนด้วยวิธีนี้ แม้กระทั่งแบบเรียนภาษาไทยชุดเด็กดี ซึ่งผูกเรื่องราวของมานะ มานี ปิติ ชูใจ แต่งโดยอาจารย์รัชนี ศรีไพรวรรณและวาดรูปประกอบโดยอาจารย์เตรียม ชาชุมพร ผู้ล่วงลับไปแล้วทั้งสองท่าน ก็สอนด้วยการสะกดแจกลูกและการใช้เสียงเป็นเครื่องมือช่วยแบบโบราณเช่นเดียวกัน
วิธีการสอนแบบนี้ในทางจิตวิทยาการรู้คิดและปัญญา (Cognitive psychology) นั้นน่าจะได้ผลดีกว่าเพราะว่ามนุษย์เราจะอาศัยการจำหรืออาศัยทางลัดในการจำด้วยเสียง เสียงจะเป็นเครื่องช่วยจำ ถัดจากเสียงไป คนเราก็จะเรียนรู้คำจากความหมาย (Semantic)
มีกรณีศึกษาที่น่าสนใจมากที่สุดในการเรียนรู้ภาษาของ เฮเลน เคลเลอร์ เด็กอเมริกัน ตาบอด หูหนวก และเป็นใบ้ ที่ แอน ซูลิแวน ครูของเธอสอนด้วยการคิดค้นภาษาสัมผัสด้วยการจับนิ้วมือแทนคำต่างๆ (ไม่ใช่กระทั่งอักษรเบรล์) และสอนคำแรกในโลกอันมืดมิดไร้เสียงด้วยคำว่าน้ำ โดยแอนเอามือของเฮเลน ไปสัมผัสน้ำ และทำสัญลักษณ์ด้วยมือให้ทราบว่านี่คือน้ำ นี่คือความมหัศจรรย์ในการเป็นยอดครูของแอน ที่หาวิธีการสอนแม้ว่าเด็กจะไม่มีทางได้ยินเสียง แต่ก็อาศัยการเรียนรู้จากความหมายนั่นเอง แอนนั้นบรรยายความรู้สึกว่า น้ำคือสิ่งที่ผ่านมือและเย็นเฉียบอย่างน่ามหัศจรรย์ นี่คือการเรียนรู้คำว่าน้ำจากความหมายของคำว่าน้ำ และเชื่อมโยงกับภาษาสัมผัส นับว่าแอนเข้าใจหาช่องทางอื่นในการสอนภาษาได้อย่างยอดเยี่ยม (นอกเหนือไปจากเสียงและภาพที่เป็นไปไม่ได้สำหรับคนหูหนวกตาบอด พิการซ้ำซ้อนเช่นเฮเลน)
คนหูหนวก (แม้ว่าจะมองเห็นดี) โดยส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการทางภาษาและเรียนรู้ภาษาได้ด้อยกว่าคนตาบอด เพราะเสียงเป็นเครื่องช่วยจำชั้นดี คนหูหนวกมักจะเป็นใบ้ด้วยไปโดยปริยายยกเว้นคนที่มาหูหนวกในภายหลัง เช่น อาจารย์ญาดา ชินะโชติ แห่งโรงเรียนเศรษฐเสถียร ซึ่งยังคงพูดได้ แม้เสียงจะผิดเพี้ยนไปบ้าง เหตุที่อาจารย์ไม่มีโอกาสจะเชื่อมโยงภาษาที่เรียนกับเสียงอีกต่อไป มีความพยายามสอนคนหูหนวกให้ออกเสียงด้วยการดูริมฝีปาก ลิ้น ฟัน เรียกว่าดูการเคลื่อนไหวของอวัยวะที่ใช้ออกเสียงแต่ก็ยังทำได้โดยยากมาก
การสอนภาษาไทยแบบสมัยใหม่ขาดการแจกลูกที่สอดคล้องกับการจดจำด้วยเสียง ไม่มีเสียงมาช่วย อาศัยการจำด้วยภาพ อย่างเดียวนั้น น่าจะไม่ได้ผลดีเท่า เพราะภาษาไทยมักจะออกเสียงตรงตามที่เขียน ไม่เหมือนภาษาอังกฤษและไม่ใช่ภาษาอักษรภาพแบบจีน ซึ่งต้องสอนให้เด็กจำเป็นภาพ จำเป็นขีด คนที่เรียนภาษาญี่ปุ่นเองก็คงจำได้ว่าอักษรคันจิซึ่งก็คืออักษรจีนในภาษาญี่ปุ่นนั้นเป็นยาขมที่ต้องจำเป็นภาพในขณะที่อักษรฮิรางานะและคาตาคานะสะกดและออกเสียงตรงกันจะง่ายกว่า
นอกจากนี้มนุษย์เรายังเรียนรู้ที่จะฟัง เลียนแบบเสียงจากการฟัง ก่อนที่จะหัดพูด เมื่อหัดพูดแล้วจึงหัดอ่าน และหัดเขียนในท้ายที่สุด เราต้องนึกถึงความจริงว่าคนในโลกนี้แทบทุกคนฟังกับพูดได้ทั้งนั้น แต่การอ่านออกเขียนได้นั้นมาทีหลัง พุ่มพวง ดวงจันทร์ จำเนื้อเพลงได้เป็นพันๆ เพลง โดยที่อ่านหนังสือไม่ออกเลย อาศัยคนอื่น อ่านให้ฟังแล้วจำเสียง
การอ่านนั้นเป็นการเรียนภาษาสัญลักษณ์ที่หากไปเชื่อมโยงกับเสียงได้น่าจะทำให้การเรียนรู้เร็วและสะดวกมากขึ้นเพราะจะมีหลักการให้เรียนมากกว่าจะจำไปเดี่ยวๆ ด้วยภาพเพียงอย่างเดียว
การพยายามข้ามขั้นตอนที่สอดคล้องกับพัฒนาการของมนุษย์ในการเรียนรู้ภาษาไม่น่าจะได้ผลดีนัก มันผิดธรรมชาติ อีกอย่างในเมื่อเสียงเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเรียนรู้คำของมนุษย์ที่ได้ผลมากที่สุดอย่างหนึ่งแล้วใยจึงไม่ใช้สิ่งนั้นให้เป็นประโยชน์ในการสอนภาษาไทยแก่เด็ก
เรื่องนี้ถ้าจะทำการทดลองก็ทำได้โดยง่าย โดยแบ่งเด็กออกเป็นสองกลุ่มอย่างสุ่มๆ และทดลองสอนด้วยวิธีสองแบบที่แตกต่างกันเพื่อทดลองว่าวิธีใดจะได้ผลมากกว่ากัน ก่อนที่จะเอาไปเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนอย่างนั้นจริงๆ
คนไทยนั้นเห่อฝรั่ง ลอกฝรั่งกันจนชิน ยกย่องฝรั่งจนบางครั้งดูถูกภูมิปัญญาของบรรพชน ของดีที่มีอยู่แล้ว โดยขาดความเข้าใจธรรมชาติของตัวเองอย่างแท้จริง ผมเองก็ไปเรียนต่างประเทศมา ว่างๆ ก็ต้องพยายามเตือนตัวเองเหมือนกันว่าอย่าเห่อฝรั่งมากเกินไป
ขออัญเชิญพระราชกระแสของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าด้วยเรื่องนี้มาดังนี้
“.....การต่อไปภายหน้า ..... การศึกสงครามข้างญวนข้างพม่าเห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่งให้ระวังให้ดี อย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่ดีควรจะเรียนร่ำเอาไว้ก็เอาอย่างเขาแต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว.....”
ลอกฝรั่งมาสอนไทยจะบรรลัยหรือได้ผล น่าจะมีคำตอบที่ควรค้นคว้าวิจัยเชิงทดลอง ก่อนที่จะนับถือเลื่อมใสไปทีเดียว และนึกสงสารเด็กไทยอนาคตของชาติที่ต้องมาเป็นหนูทดลองยาด้วยยา (วิธีการสอน) ที่ไม่ได้มีการทดลองอย่างรัดกุมมาก่อนด้วยก็จะดีไม่น้อยเพื่อลูกหลานของเรา