โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
การเดินทางมากรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ.2261
วันที่ 2 มีนาคม คณะทูตของอเลฆันโดรเดินเรือไปกรุงศรีอยุธยาใช้เวลาประมาณ 1เดือนจากมะนิลา
วันที่ 3 เมษายน ทอดสมอที่อ่าวไทยใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยา
วันที่ 4 เมษายน ทอดสมอที่บางกอกรับฟังคำสั่งจากพระคลัง (Barcalam)
วันที่ 13 เมษายน กัปตันมิเกล เด ตาวเรกี (Miguel de Taurequi) ที่ราชทูตอเลฆันโดรส่งไปกรุงศรีอยุธยากลับมาพร้อมกับจดหมายจากบาทหลวงอันโตนิโอ ซัวเรซ (Antonio Suarez)อธิการโบสถ์คณะเยซูอิต ในตอนบ่ายพระยาโกษาธิบดี (Olvantipadi) ขึ้นมาบนเรือราชทูตพร้อมทั้งล่าวชาวโปรตุเกส 2 คนเพื่อสอบถามเกี่ยวกับคณะทูต
วันที่ 14 เมษายน พระยาโกษาธิบดีกลับมาถามว่าราชทูตเป็นตัวแทนของกษัตริย์สเปนหรือผู้ว่าราชการมะนิลา
วันที่ 19 เมษายน พระยาโกษาธิบดีกลับมาถามว่าราชทูตเป็นตัวแทนของกษัตริย์สเปนหรือผู้ว่าราชการมะนิลาอีกครั้งหนึ่งและแจ้งกับราชทูตว่าคณะทูตต้องทิ้งปืนใหญ่ไว้ที่บางกอกก่อนจะเดินทางไปกรุงศรีอยุธยา
วันที่ 26 เมษายน ขุนนางชื่อ Guanteca มาแจ้งกับคณะทูตว่าไม่ได้รับการยกเว้นจากพิธีการทูตของกรุงศรีอยุธยา
วันที่ 2 พฤษภาคม ขุนนางชื่อ Lomocorat มาแจ้งว่าคณะทูตไม่ได้รับการยกเว้นจากการต้องทิ้งปืนใหญ่ไว้ที่บางกอก แต่ได้รับอนุญาตให้นำปืนเล็กยาวและดินปืนเข้าไปได้ คณะผู้ติดตามเกลี้ยกล่อมให้ราชทูตยอมตามที่กรุงศรีอยุธยากำหนด
วันที่ 8 พฤษภาคม อเลฆันโดรได้รับอนุญาตให้เดินทางไปกรุงศรีอยุธยา
วันที่ 12 พฤษภาคม ขุนนางชื่อ Lomocorat แจ้งให้ราชทูตทราบเกี่ยวกับพิธีการนำเรือเข้าสู่พระราชวัง พิธีการรับรองราชทูต และการถวายสาส์นจากผู้ว่าราชการบุสตามันเตให้พระเจ้าอยู่หัวเพื่อการแปล มีข้อถกเถียงกันในเรื่องการถอดหมวกและรองเท้า
วันที่ 20 พฤษภาคม ขุนนางชื่อ Lomocorat ยอมรับการยกเว้นบางประการที่ราชทูตขอเอาไว้และกำหนดให้ลงจากเรือที่กรุงศรีอยุธยาในวันที่ 22 พฤกษภาคมเมื่อพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระออกว่าราชการ
วันที่ 22 พฤกษภาคม เรือได้เทียบท่าที่กรุงศรีอยุธยามีการรับรองจากพระราชวังและส่งสาสน์จากผู้ว่าราชการมะนิลาเพื่อแปลให้พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงทราบ
วันที่ 23 พฤกษภาคม ขุนนาง 2 คนสอบถามถึงสุขภาพของราชทูตและแนะนำเกี่ยวกับการส่งสาสน์ให้เจ้าชายซึ่งน่าจะหมายถึงกรมพระราชวังบวรหรือวังหน้าในขณะนั้น ในวันที่ 28พฤกษภาคม
วันที่ 28 พฤกษภาคม จดหมายที่ส่งให้กรมพระราชวังบวรถูกส่งไปแปล
วันที่ 10 มิถุนายน ขุนนางชื่อ Lomocorat มาพบราชทูตเพื่อซักซ้อมพิธีการต่างๆเพื่อเตรียมการเข้าเฝ้า
วันที่ 13 มิถุนายน มีการปรับแก้พิธีการตามคำขอของราชทูต
วันที่ 18 มิถุนายน ตกลงกันได้ในพิธีเข้าเฝ้า
วันที่ 22 มิถุนายน ราชทูตได้เข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระหลังจากเจรจากันนาน 81 วัน
วันที่ 24 มิถุนายน ขุนนางชื่อ Lomocorat แจ้งกับราชทูตว่าพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงทราบความเดือดร้อนของฟิลิปปินส์ จึงส่งเรือขนข้าว 2 ลำ ไปท่าคาวิเตที่มะนิลาก่อนที่คณะทูตจะเดินทางกลับ ราชทูตให้จดหมายรับรองสำหรับผู้นำเรือสำเภาจากกรุงศรีอยุธยาไปส่งข้าวที่มะนิลาเพื่อให้ได้รับการรับรองอย่างดีและอนุญาตให้ไปหาซื้อม้าตามเมืองต่างๆกลับมาให้พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
วันที่ 25 มิถุนายน ราชทูตจัดงานเลี้ยงรับรอง พระคลัง (Barcalam) และสมุหนายก
วันที่ 28 กรกฎาคม ได้มีการลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพและการค้า
วันที่ 30 กรกฎาคม ราชทูตได้รับอนุญาตให้ไปดูเจดีย์ใหญ่ในกรุงศรีอยุธยา
วันที่ 2-4 สิงหาคม พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระพระราชทานเลี้ยงรับรองแก่คณะทูต
วันที่ 8 สิงหาคม ราชทูตได้ถวายของขวัญแก่พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
วันที่ 9 สิงหาคม คณะทูตได้เดินทางกลับมะนิลา
คณะทูตชุดนี้ใช้เวลาถึง 4 เดือนในการเจรจาลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพและการค้าระหว่างสเปนกับกรุงศรีอยุธยา นอกจากจะใช้เวลาในการเจรจาสนธิสัญญานานแล้ว ยังต้องใช้เวลาในการวางระเบียบพิธีทางการทูตเพื่อให้กษัตริย์ของทั้ง 2 ประเทศไม่เสื่อมเสียพระเกียรติจากมุมมองของแต่ละฝ่ายอีกด้วย จุดที่ทำให้การเจรจายุ่งยากคือกรุงศรีอยุธยามีกฎข้อบังคับให้เรือต่างชาติทิ้งปืนใหญ่ไว้ที่บางกอกก่อนจะแล่นเรือไปถึงอยุธยาได้ซึ่งผู้ติดตามราชทูตได้ขอให้ราชทูตยอมทำตามกฎนี้ได้ในที่สุด ส่วนขุนนางอยุธยาไม่ค่อยยินยอมที่จะให้พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระพบหน้าราชทูตสเปนเพราะตามธรรมเนียมแล้วกษัตริย์ไทยน้อยครั้งที่จะให้ผู้ที่เข้าเฝ้าเห็นหน้าด้วยชั้นเชิงทางการทูตของทั้ง 2 ฝ่าย ราชทูตอเลฆันโดรได้เข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระเพื่อไม่ให้พระเจ้าเฟลิเป้ที่ 5 เสื่อมเสียพระเกียรติ
สนธิสัญญามิตรภาพและการค้า
ซึ่งแม้ว่าในการเจรจาครั้งนี้จะเกิดปัญหาเรื่องพิธีการทางการทูตอยู่บ้าง แต่ทั้งสองฝ่ายก็สามารถบรรลุข้อตกลงในสนธิสัญญามิตรภาพและการค้าได้ โดยข้อตกลงที่สำคัญๆระหว่างสเปนกับกรุงศรีอยุธยาคือ
1. กรุงศรีอยุธยาอนุญาตให้ชาวสเปนเข้ามาเผยแพร่ศาสนาได้ตามที่ต้องการ
2. กรุงศรีอยุธยาอนุญาตให้ชาวสเปนตั้งชุมชนของตนได้ (Endonado a los Españoles) เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ประกอบพิธีทางศาสนาและตั้งสถานีการค้า (La facturia) โดยตั้งถิ่นฐานที่หมู่บ้านญี่ปุ่นที่ถูกทิ้งร้างไปแล้วที่ชาวสเปนเรียกว่าคัมโป ฆาปอน (Campo Japon) และตั้งชื่อใหม่เป็นนวยสตรา ซิญญอร่า เดล โซโต้ อี ซานบวยนาเบนตูร่า (Nuestra Señora del Soto y San Buenaventura) ซึ่งสามารถชักธงสเปนและไม้กางเขนได้
3.กรุงศรีอยุธยาอนุญาตให้ชาวสเปนสามารถสร้างอู่ต่อเรือในราคาต่ำได้โดยที่ชาวสเปนต้องจ่ายเงินค่าไม้สัก เหล็กและค่าจ้างให้กับคนไทยที่รับจ้างต่อเรือ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการค้าขายระหว่างฟิลิปปินส์กับเม็กซิโก เนื่องจากการต่อเรือในกรุงศรีอยุธยาใช้เงินเพียง 35,000 เปโซแต่ที่มะนิลาใช้เงิน 100,000 เปโซ และไม้สักไทยใช้กับเรือได้ 40 ปีโดยไม่เสื่อมสภาพ (Las maderas de teca que no se corrupmen en quarenta años bajo de la agua) มีการต่อเรือกำปั่น 1 ลำ ในปีพ.ศ. 2264 และมีเรือกำปั่นชื่อกัวดาลูเป้ (Guadalupe) ต่อที่กรุงศรีอยุธยาแต่ไม่ระบุปี
4. กรมพระคลังสินค้าต้องตั้งหน่วยงานแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างสเปนกับอยุธยาโดยเฉพาะ โดยผู้อำนวยการสถานีการค้าของสเปนจะต้องแจ้งจำนวนสินค้าที่นำออกจากกรุงศรีอยุธยาทุกครั้งเพื่อป้องกันการปลอมแปลงเงินตรา
5. ชาวสเปนสามารถเข้ามาค้าขายในอยุธยาได้เป็นอิสระ เว้นแต่สินค้าต้องห้ามอย่างดินประสิว, งาช้าง ปศุสัตว์ หนังสัตว์เช่น หนังวัว หนังควาย หนังกวางและสินค้าอื่นที่สงวนไว้ให้ราชสำนักและบริษัท VOC (Verenigde Oostindische Compagnie) ของเนเธอร์แลนด์
6. เรือที่แล่นไปมาระหว่างกรุงศรีอยุธยากับมะนิลาไม่ต้องเสียค่าอากรท่าเรือระหว่างกัน
ผลของสนธิสัญญานี้ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศได้รับการฟื้นฟูในฐานะมิตรประเทศต่อกันสืบต่อมาเนืองจากกรุงศรีอยุธยาได้ผลประโยชน์ทางการค้าและสเปนบรรลุภารกิจในการเจรจาครั้งนี้ แต่ก็ไม่มีเอกสารใดยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศหลังจากปี พ.ศ. 2264 เนื่องจากสเปนในขณะนั้นยังยึดครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์ไม่ได้ทั้งหมด และยังคงเผชิญการคุกคามจากสุลต่านแห่งซูลูและมะกินดาเนา กองเรืออังกฤษและเนเธอร์แลนด์และการลุกฮือของชาวพื้นเมืองในอาณานิคมเป็นครั้งคราว
ของขวัญจากกรุงศรีอยุธยา
พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระพระราชทานของขวัญให้กับพระเจ้าฟิลิปที่ 5 ผู้ว่าราชการฟิลิปปินส์ และราชทูต เช่น งาช้าง นกแปลกๆ แผ่นกระเบื้องจากญี่ปุ่น ผ้ากำมะหยี่จากยุโรปและแผ่นเงินแผ่นทอง พรมเปอร์เซีย ผ้าแพร ผ้าฝ้ายและผ้าไหม มีช้างอายุ 1 ปีถวายให้กษัตริย์สเปน และอ่างอาบน้ำสำริดเคลือบทองสำหรับราชทูต และข้าว 70 เกวียนนอกเหนือจากที่ส่งเรือสำเภาไปเมืองท่าคาวิเตล่วงหน้าแล้ว คณะทูตต้องทิ้งช้างไว้ที่บางกอกเพราะกลัวว่าหนักเกินไปที่จะส่งไปมะนิลา
เอกสารอ้างอิง
จันทร์ฉาย ภัคอธิคม (พ.ศ. 2532). กรุงศรีอยุธยาในเอกสารหลักฐานสเปน. กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์
García, Florentino Radao (1997). Españoles en Siam 1540-1939: Una Aportacíon al studio de la presencia. (ชาวสเปนในสยาม พ.ศ.2083-2482 การรวบรวมจากการศึกษาและเอกสารที่มีอยู่) Madrid: CSIC Press
Llanes, Ferdinand C (1999). The trade mission to Siam in 1718 in the context of Filipina-Siam relations and Southeast Asian history. Asian Studies: Journal of Critical Perspectives on Asia, 35: 1-11
Llanes, Ferdinand C (2008). Food crisis of 1718; Siam, rice, diplomacy and reform. Philippines Daily Enquirer
Llanes, Ferdinand C (2009). Dropping artillery, loading rice and elephants: A Spanish ambassador in the court of Ayudhya in 1718. New Zealand Journal of Asian Studies, 11 (1): 60-74
การเดินทางมากรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ.2261
วันที่ 2 มีนาคม คณะทูตของอเลฆันโดรเดินเรือไปกรุงศรีอยุธยาใช้เวลาประมาณ 1เดือนจากมะนิลา
วันที่ 3 เมษายน ทอดสมอที่อ่าวไทยใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยา
วันที่ 4 เมษายน ทอดสมอที่บางกอกรับฟังคำสั่งจากพระคลัง (Barcalam)
วันที่ 13 เมษายน กัปตันมิเกล เด ตาวเรกี (Miguel de Taurequi) ที่ราชทูตอเลฆันโดรส่งไปกรุงศรีอยุธยากลับมาพร้อมกับจดหมายจากบาทหลวงอันโตนิโอ ซัวเรซ (Antonio Suarez)อธิการโบสถ์คณะเยซูอิต ในตอนบ่ายพระยาโกษาธิบดี (Olvantipadi) ขึ้นมาบนเรือราชทูตพร้อมทั้งล่าวชาวโปรตุเกส 2 คนเพื่อสอบถามเกี่ยวกับคณะทูต
วันที่ 14 เมษายน พระยาโกษาธิบดีกลับมาถามว่าราชทูตเป็นตัวแทนของกษัตริย์สเปนหรือผู้ว่าราชการมะนิลา
วันที่ 19 เมษายน พระยาโกษาธิบดีกลับมาถามว่าราชทูตเป็นตัวแทนของกษัตริย์สเปนหรือผู้ว่าราชการมะนิลาอีกครั้งหนึ่งและแจ้งกับราชทูตว่าคณะทูตต้องทิ้งปืนใหญ่ไว้ที่บางกอกก่อนจะเดินทางไปกรุงศรีอยุธยา
วันที่ 26 เมษายน ขุนนางชื่อ Guanteca มาแจ้งกับคณะทูตว่าไม่ได้รับการยกเว้นจากพิธีการทูตของกรุงศรีอยุธยา
วันที่ 2 พฤษภาคม ขุนนางชื่อ Lomocorat มาแจ้งว่าคณะทูตไม่ได้รับการยกเว้นจากการต้องทิ้งปืนใหญ่ไว้ที่บางกอก แต่ได้รับอนุญาตให้นำปืนเล็กยาวและดินปืนเข้าไปได้ คณะผู้ติดตามเกลี้ยกล่อมให้ราชทูตยอมตามที่กรุงศรีอยุธยากำหนด
วันที่ 8 พฤษภาคม อเลฆันโดรได้รับอนุญาตให้เดินทางไปกรุงศรีอยุธยา
วันที่ 12 พฤษภาคม ขุนนางชื่อ Lomocorat แจ้งให้ราชทูตทราบเกี่ยวกับพิธีการนำเรือเข้าสู่พระราชวัง พิธีการรับรองราชทูต และการถวายสาส์นจากผู้ว่าราชการบุสตามันเตให้พระเจ้าอยู่หัวเพื่อการแปล มีข้อถกเถียงกันในเรื่องการถอดหมวกและรองเท้า
วันที่ 20 พฤษภาคม ขุนนางชื่อ Lomocorat ยอมรับการยกเว้นบางประการที่ราชทูตขอเอาไว้และกำหนดให้ลงจากเรือที่กรุงศรีอยุธยาในวันที่ 22 พฤกษภาคมเมื่อพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระออกว่าราชการ
วันที่ 22 พฤกษภาคม เรือได้เทียบท่าที่กรุงศรีอยุธยามีการรับรองจากพระราชวังและส่งสาสน์จากผู้ว่าราชการมะนิลาเพื่อแปลให้พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงทราบ
วันที่ 23 พฤกษภาคม ขุนนาง 2 คนสอบถามถึงสุขภาพของราชทูตและแนะนำเกี่ยวกับการส่งสาสน์ให้เจ้าชายซึ่งน่าจะหมายถึงกรมพระราชวังบวรหรือวังหน้าในขณะนั้น ในวันที่ 28พฤกษภาคม
วันที่ 28 พฤกษภาคม จดหมายที่ส่งให้กรมพระราชวังบวรถูกส่งไปแปล
วันที่ 10 มิถุนายน ขุนนางชื่อ Lomocorat มาพบราชทูตเพื่อซักซ้อมพิธีการต่างๆเพื่อเตรียมการเข้าเฝ้า
วันที่ 13 มิถุนายน มีการปรับแก้พิธีการตามคำขอของราชทูต
วันที่ 18 มิถุนายน ตกลงกันได้ในพิธีเข้าเฝ้า
วันที่ 22 มิถุนายน ราชทูตได้เข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระหลังจากเจรจากันนาน 81 วัน
วันที่ 24 มิถุนายน ขุนนางชื่อ Lomocorat แจ้งกับราชทูตว่าพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงทราบความเดือดร้อนของฟิลิปปินส์ จึงส่งเรือขนข้าว 2 ลำ ไปท่าคาวิเตที่มะนิลาก่อนที่คณะทูตจะเดินทางกลับ ราชทูตให้จดหมายรับรองสำหรับผู้นำเรือสำเภาจากกรุงศรีอยุธยาไปส่งข้าวที่มะนิลาเพื่อให้ได้รับการรับรองอย่างดีและอนุญาตให้ไปหาซื้อม้าตามเมืองต่างๆกลับมาให้พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
วันที่ 25 มิถุนายน ราชทูตจัดงานเลี้ยงรับรอง พระคลัง (Barcalam) และสมุหนายก
วันที่ 28 กรกฎาคม ได้มีการลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพและการค้า
วันที่ 30 กรกฎาคม ราชทูตได้รับอนุญาตให้ไปดูเจดีย์ใหญ่ในกรุงศรีอยุธยา
วันที่ 2-4 สิงหาคม พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระพระราชทานเลี้ยงรับรองแก่คณะทูต
วันที่ 8 สิงหาคม ราชทูตได้ถวายของขวัญแก่พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
วันที่ 9 สิงหาคม คณะทูตได้เดินทางกลับมะนิลา
คณะทูตชุดนี้ใช้เวลาถึง 4 เดือนในการเจรจาลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพและการค้าระหว่างสเปนกับกรุงศรีอยุธยา นอกจากจะใช้เวลาในการเจรจาสนธิสัญญานานแล้ว ยังต้องใช้เวลาในการวางระเบียบพิธีทางการทูตเพื่อให้กษัตริย์ของทั้ง 2 ประเทศไม่เสื่อมเสียพระเกียรติจากมุมมองของแต่ละฝ่ายอีกด้วย จุดที่ทำให้การเจรจายุ่งยากคือกรุงศรีอยุธยามีกฎข้อบังคับให้เรือต่างชาติทิ้งปืนใหญ่ไว้ที่บางกอกก่อนจะแล่นเรือไปถึงอยุธยาได้ซึ่งผู้ติดตามราชทูตได้ขอให้ราชทูตยอมทำตามกฎนี้ได้ในที่สุด ส่วนขุนนางอยุธยาไม่ค่อยยินยอมที่จะให้พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระพบหน้าราชทูตสเปนเพราะตามธรรมเนียมแล้วกษัตริย์ไทยน้อยครั้งที่จะให้ผู้ที่เข้าเฝ้าเห็นหน้าด้วยชั้นเชิงทางการทูตของทั้ง 2 ฝ่าย ราชทูตอเลฆันโดรได้เข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระเพื่อไม่ให้พระเจ้าเฟลิเป้ที่ 5 เสื่อมเสียพระเกียรติ
สนธิสัญญามิตรภาพและการค้า
ซึ่งแม้ว่าในการเจรจาครั้งนี้จะเกิดปัญหาเรื่องพิธีการทางการทูตอยู่บ้าง แต่ทั้งสองฝ่ายก็สามารถบรรลุข้อตกลงในสนธิสัญญามิตรภาพและการค้าได้ โดยข้อตกลงที่สำคัญๆระหว่างสเปนกับกรุงศรีอยุธยาคือ
1. กรุงศรีอยุธยาอนุญาตให้ชาวสเปนเข้ามาเผยแพร่ศาสนาได้ตามที่ต้องการ
2. กรุงศรีอยุธยาอนุญาตให้ชาวสเปนตั้งชุมชนของตนได้ (Endonado a los Españoles) เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ประกอบพิธีทางศาสนาและตั้งสถานีการค้า (La facturia) โดยตั้งถิ่นฐานที่หมู่บ้านญี่ปุ่นที่ถูกทิ้งร้างไปแล้วที่ชาวสเปนเรียกว่าคัมโป ฆาปอน (Campo Japon) และตั้งชื่อใหม่เป็นนวยสตรา ซิญญอร่า เดล โซโต้ อี ซานบวยนาเบนตูร่า (Nuestra Señora del Soto y San Buenaventura) ซึ่งสามารถชักธงสเปนและไม้กางเขนได้
3.กรุงศรีอยุธยาอนุญาตให้ชาวสเปนสามารถสร้างอู่ต่อเรือในราคาต่ำได้โดยที่ชาวสเปนต้องจ่ายเงินค่าไม้สัก เหล็กและค่าจ้างให้กับคนไทยที่รับจ้างต่อเรือ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการค้าขายระหว่างฟิลิปปินส์กับเม็กซิโก เนื่องจากการต่อเรือในกรุงศรีอยุธยาใช้เงินเพียง 35,000 เปโซแต่ที่มะนิลาใช้เงิน 100,000 เปโซ และไม้สักไทยใช้กับเรือได้ 40 ปีโดยไม่เสื่อมสภาพ (Las maderas de teca que no se corrupmen en quarenta años bajo de la agua) มีการต่อเรือกำปั่น 1 ลำ ในปีพ.ศ. 2264 และมีเรือกำปั่นชื่อกัวดาลูเป้ (Guadalupe) ต่อที่กรุงศรีอยุธยาแต่ไม่ระบุปี
4. กรมพระคลังสินค้าต้องตั้งหน่วยงานแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างสเปนกับอยุธยาโดยเฉพาะ โดยผู้อำนวยการสถานีการค้าของสเปนจะต้องแจ้งจำนวนสินค้าที่นำออกจากกรุงศรีอยุธยาทุกครั้งเพื่อป้องกันการปลอมแปลงเงินตรา
5. ชาวสเปนสามารถเข้ามาค้าขายในอยุธยาได้เป็นอิสระ เว้นแต่สินค้าต้องห้ามอย่างดินประสิว, งาช้าง ปศุสัตว์ หนังสัตว์เช่น หนังวัว หนังควาย หนังกวางและสินค้าอื่นที่สงวนไว้ให้ราชสำนักและบริษัท VOC (Verenigde Oostindische Compagnie) ของเนเธอร์แลนด์
6. เรือที่แล่นไปมาระหว่างกรุงศรีอยุธยากับมะนิลาไม่ต้องเสียค่าอากรท่าเรือระหว่างกัน
ผลของสนธิสัญญานี้ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศได้รับการฟื้นฟูในฐานะมิตรประเทศต่อกันสืบต่อมาเนืองจากกรุงศรีอยุธยาได้ผลประโยชน์ทางการค้าและสเปนบรรลุภารกิจในการเจรจาครั้งนี้ แต่ก็ไม่มีเอกสารใดยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศหลังจากปี พ.ศ. 2264 เนื่องจากสเปนในขณะนั้นยังยึดครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์ไม่ได้ทั้งหมด และยังคงเผชิญการคุกคามจากสุลต่านแห่งซูลูและมะกินดาเนา กองเรืออังกฤษและเนเธอร์แลนด์และการลุกฮือของชาวพื้นเมืองในอาณานิคมเป็นครั้งคราว
ของขวัญจากกรุงศรีอยุธยา
พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระพระราชทานของขวัญให้กับพระเจ้าฟิลิปที่ 5 ผู้ว่าราชการฟิลิปปินส์ และราชทูต เช่น งาช้าง นกแปลกๆ แผ่นกระเบื้องจากญี่ปุ่น ผ้ากำมะหยี่จากยุโรปและแผ่นเงินแผ่นทอง พรมเปอร์เซีย ผ้าแพร ผ้าฝ้ายและผ้าไหม มีช้างอายุ 1 ปีถวายให้กษัตริย์สเปน และอ่างอาบน้ำสำริดเคลือบทองสำหรับราชทูต และข้าว 70 เกวียนนอกเหนือจากที่ส่งเรือสำเภาไปเมืองท่าคาวิเตล่วงหน้าแล้ว คณะทูตต้องทิ้งช้างไว้ที่บางกอกเพราะกลัวว่าหนักเกินไปที่จะส่งไปมะนิลา
เอกสารอ้างอิง
จันทร์ฉาย ภัคอธิคม (พ.ศ. 2532). กรุงศรีอยุธยาในเอกสารหลักฐานสเปน. กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์
García, Florentino Radao (1997). Españoles en Siam 1540-1939: Una Aportacíon al studio de la presencia. (ชาวสเปนในสยาม พ.ศ.2083-2482 การรวบรวมจากการศึกษาและเอกสารที่มีอยู่) Madrid: CSIC Press
Llanes, Ferdinand C (1999). The trade mission to Siam in 1718 in the context of Filipina-Siam relations and Southeast Asian history. Asian Studies: Journal of Critical Perspectives on Asia, 35: 1-11
Llanes, Ferdinand C (2008). Food crisis of 1718; Siam, rice, diplomacy and reform. Philippines Daily Enquirer
Llanes, Ferdinand C (2009). Dropping artillery, loading rice and elephants: A Spanish ambassador in the court of Ayudhya in 1718. New Zealand Journal of Asian Studies, 11 (1): 60-74