xs
xsm
sm
md
lg

เรื่องของ “ปรัชญาตะวันตก” (ตอนสิบ) “พระเจ้า-ปรัชญา-อไควนัส”?!

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


โธมัส อไควนัส
“สอดแนมการเมือง”
“ชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย”


“นักปรัชญา-โธมัส อไควนัส” ผู้พูดถึงการดำรงอยู่ของ “พระเจ้า” แยก “ศรัทธา” ออกจาก “ความเชื่อ”?

ช่วง High Middle Ages ต้องยอมรับว่า “อไควนัส” เป็น “นักปรัชญา”ในยุคกลางอย่างแท้จริงเลยนะ.. อืม..น่าสนใจใช่ไหมล่ะ? งั้นมาดู “ชีวิต” กับ “ความคิด” ของ “อไควนัส” กันนะครับ..

ผลงาน “อริสโตเติล” กับนักปรัชญาในโลกตะวันตกหลายคน ในขณะนั้นไม่สอดคล้องกับหลักของศาสนาจักร เพราะก่อนห้วงนักปรัชญา “อไควนัส” คริสตจักรได้แผ่อิทธิพลผ่านแนวทางขอ ง“ออกัสติน” ที่รับอิทธิพลจาก “เพลโต” ส่วน “อไควนัส” ได้รับแรงบันดาลใจจาก “อริสโตเติล” 

โดย “อไควนัส” หาวิธีการผนวกปรัชญาของ “อริสโตเติล” เข้ากับ “ศาสนาคริสต์” การนำ “สองสิ่งนี้” มาหลอมรวมเข้าด้วยกัน มักถูกเรียกว่า “อริสโตเทเลียน”

ในขณะที่บางแง่มุมของ “ออกัสติน” พยายามมองหา “เพลโต”ในแง่ของจิตใจ ส่วน “อไควนัส” ก็สอดส่องมองหาเหตุผล ที่ซ่อนอยู่ในความเชื่อต่างๆทางศาสนา เขาพยายามชี้ให้เห็นว่า ความเชื่อในศาสนาเป็นสิ่งถูกต้อง โดยใช้เหตุผลของปรัชญาเป็นข้อโต้แย้ง

“อไควนัส” เกิดในตระกูลชนชั้นสูง ที่เมืองรอคคาเซคคา ประเทศอิตาลี ในช่วงที่กำลังเรียนปรัชญาอยู่ที่เมืองเนเปิลส์ เขาได้เข้าร่วมกับ “นิกายโดนิมิกัน” แต่ครอบครัวอยากให้เขาตั้งเข็มมุ่งเดินหน้าไปด้านปรัชญามากกว่า อีกทั้งพี่ชายทั้งหลายของเขา ยังหาทางเหนี่ยวรั้ง จนเขาต้องอยู่กับครอบครัวนานอีกหนึ่งปี

ทว่า.. “อไควนัส” ยังคงมุ่งมั่นไม่ยอมเปลี่ยนใจ สุดท้ายทั้งครอบครัวก็ยอมปล่อยให้เขาจากไป “อไควนัส” จึงได้เดินทางไปปารีสและโคโลญจ์ ที่ซึ่งเขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับอริสโตเติล หลังจากนั้นเขาได้ทำงานเป็น “ครู”และ “นักวิชาการ” อย่างต่อเนื่องจนสิ้นชีวิต นั่นทำให้ “โธมัส อไควนัส” เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในนามของ “นายแพทย์นางฟ้า”

“ความคิดสำคัญ” ของ “อไควนัส” เน้นเรื่อง “เหตุผล” กับ “ศรัทธา” เป็นหลัก “อไควนัส” มอง “ความรู้” มี “สองประเภท” ประเภทแรก-คือความรู้เกี่ยวกับจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นสิ่งที่เรารู้ได้โดยผ่าน “พระเจ้า” อีกประเภท-คือความรู้ที่เรารู้ได้ด้วยเหตุผล

ตรงนี้ “อไควนัส” ยืนยันว่า “เหตุผล” กับ“ศรัทธา” เป็นสองสิ่งที่แตกต่างกัน ถึงกระนั้นเขาก็ยังใช้เหตุผลเพื่อพิสูจน์ถึงศรัทธา เขาแสดงข้อพิสูจน์ที่เป็นเหตุเป็นผลหลายประการเกี่ยวกับพระเจ้า โดยเริ่มต้นจากความคิดซึ่งเรียกว่า “อริสโตเทเลียน” ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องมีสิ่งที่เรียกว่า “ผู้ผลักดันที่ไม่เคลื่อนย้าย”?

กล่าวคือ การที่โลกอยู่ในภาวะที่(หมุน)อยู่นั้น ย่อมหมายความว่า ต้องมีบางสิ่งที่ทำให้มันเคลื่อนที่ สิ่งที่เป็นเหตุของการนี้ ประการแรกก็คือ“พระเจ้า” ซึ่งดันไปเกี่ยวกับ“แม่วัวเบสซี”อีกแล้ว

หมายถึง มีบางสิ่งที่ทำให้ “แม่วัวเบสซี” เกิดขึ้นมา ถ้าหากเราสามารถย้อนไปสำรวจ “แม่วัว” ที่ชื่อ “เบสซี” ทั้งหมดถูกสร้างขึ้นมาหลายพันปีแล้ว ท้ายที่สุด.. เราจะได้ข้อสรุปที่สาวไปถึงต้นเหตุ ที่ทำให้เกิดจักรวาลนี้ นั่นคือ ต้องมีบางสิ่งที่ทำให้บางสิ่งบางอย่างเริ่มเคลื่อนไหว จากนั้นทุกสิ่งทุกอย่างจึงเริ่มเคลื่อนไหว

จุดนี้ “อไควนัส” ยืนยันว่า “พระเจ้า” ไม่ใช่เป็นเพียงต้นเหตุแรก ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวเท่านั้น แต่พระองค์ยังเป็นคริสเตียนที่ทรงศีลด้วย

การที่มนุษยชาติมี “ต้นแบบของศีลธรรม” นั่นหมายถึงว่า ต้องมีมาตรฐานของ “ต้นแบบของศีลธรรม” อยู่ในจักรวาลแล้ว

สำหรับ “อไควนัส” มาตรฐานที่ว่านี้ ไม่ใช่ “รูปแบบในท้องฟ้า” ตามความคิดของ “เพลโต” แต่มาตรฐานนี้คือ “พระเจ้า”!

ขณะที่ศรัทธาและเหตุผลต่างๆ ช่วยให้เราเสาะหาความจริงได้ด้วยวิธีการที่ต่างกัน “อไควนัส” ก็บอกว่า “การเปิดเผย” เป็นสิ่งสำคัญกว่าจิตวิญญาณของเราซึ่งมีธรรมชาติที่ลึกลับ แต่มันเป็นสิ่งที่เผยให้เรารู้เห็นด้วยการมีศรัทธา การดูแลจิตของเราเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอต่อการมีชีวิตที่ดี

“อไควนัส” ยังท้าทายมนุษย์ ให้ใช้ความสามารถพิเศษเหมือนเขา ซึ่งก็คือ “เหตุผล” เพื่อมนุษย์จะได้เข้าใจโลกที่พระเจ้าประทานให้แก่เรา แม้ว่า “เหตุผล” จะเป็นแหล่งที่มาของความรู้ที่ต่างไปจาก“การเปิดเผย” แต่ทั้งสองอย่างนี้ ต่างก็อยู่บนพื้นฐานของความจริงอันสูงสุดและไม่เปลี่ยนแปลง นั่นคือ “พระเจ้า”

“อไควนัส” ได้ใช้ความระวังอย่างสูง ในการกล่าวยอมรับหรือปฏิเสธรูปลักษณ์ทางศาสนา หรือสถาบันต่างๆในยุคสมัยของเขา แต่ในที่สุด ความพยายามของเขาที่ต้องการหลอมความคิดทางปรัชญาของอริสโตเติล เข้ากับคริสต์ศาสนา ก็ประสบความสำเร็จ นั่นคือ

หลังนักปรัชญา“โธมัส อไควนัส” สิ้นชีวิตไปแล้ว “พระสันตะปาปา จอห์น ที่ 22” ได้แต่งตั้งให้เขาเป็นนักบุญ เมื่อปี ค.ศ.1323 และ ปรัชญาของเขาได้เป็นที่ยอมรับ ให้เป็น “ปรัชญา”ของ “นิกายแคธอลิก” โดย “พระสันตะปาปา ลีโอ ที่ 13” ในศตวรรษที่ 19

ครานี้ มาดูคำคมของ “นักบุญอไควนัส” ศิษย์เอกของ “อริสโตเติล” กันหน่อย..

เมื่อใดที่คุณได้ยินชื่อของ “โธมัส อไควนัส” และคุณอยากเอ่ยถึงปรัชญาของเขาอย่างผู้มีปัญญา จงจำไว้ให้ขึ้นใจแค่ว่า “พระเจ้าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับเขา”! เพราะนักปรัชญาผู้นี้เชื่อมั่นเสมอว่า..

“พระเจ้าสามารถดำรงอยู่ได้โดยปราศจากความชั่ว ในขณะที่ความชั่วไม่สามารถอยู่ได้โดยปราศจากพระเจ้า” ด้วยคำดังกล่าวของ “อไควนัส”..จึงมี “นักคิด-นักปรัชญา” มิใช่น้อย ตั้ง“คำถาม”ว่า “พระเจ้ามีอยู่จริงในโลกนี้หรือเปล่า?” เพราะ “พระเจ้าต้องพิทักษ์ความดี-ขจัดความชั่ว” แล้วไฉน “ความชั่วจึงเกิดมากมายทำร้ายชาวโลก”? อืม..“ใคร” ช่วยตอบ “คำถาม” นี้ด้วยนะครับ!

“ความดีอันประกอบขึ้นมาด้วยศีลอย่างสมบูรณ์นั้น ไม่ได้ช่วยขจัดตัณหาออกไปจนหมดสิ้น เพียงแต่ช่วยควบคุมมันไว้เท่านั้น”

จริงว่ะ! “อไควนัส” รู้ได้ไงว่า มนุษย์ต้องสู้รบกับจิตใจ “ตนเอง” เพื่อ “ขจัดความโลภ” ทว่า..มนุษย์ส่วนใหญ่มักพ่ายแพ้ “ใจตัวเอง” ว่ะ!!!

“การปลดปล่อยมนุษย์ออกจากบาปนั้น มี 3 สิ่งที่จำเป็น หนึ่ง-ต้องรู้ว่าเขาควรจะเชื่อสิ่งใด สอง-ต้องรู้ว่าปรารถนาสิ่งใด สาม-ต้องรู้ว่าเขาควรจะทำสิ่งใด”

โอ้โห!.. ทั้งสามข้อยากจะรู้และยากจะทำได้นะ ทั้งต้อง “รู้” ถึง “ความอยากได้” ของ “ตัวเอง” ก่อนจะมุ่งมั่นสู่ “การกระทำ” ให้สำเร็จดังใจหมาย!

ไม่มีสิ่งใดในโลกที่เหมือนมิตรแท้” และ “ความรักเกิดขึ้นเมื่อความรู้สิ้นสุดลง” คำพูดแรกคือสิ่งหา “ยากที่สุดในโลก” ว่ะ! แต่คำหลังมีให้เห็นเยอะแยะเลย โถ.. เพราะ “ความรักมักทำให้คนตาบอด” ไงล่ะ? แต่ก็มีบ้างที่ “ความรัก” ทำให้ “คนฉลาดยิ่งขึ้น” จนกลายเป็น “คู่รัก” ที่เสริมส่งกันจนรุ่งเรือง..

“เพราะเหตุที่มนุษย์มีสถานะที่หลากหลาย จึงเกิดภาวะให้เห็นว่า การกระทำบางอย่างมีมาตรฐานทางศีลธรรมสูงสำหรับบางคน เนื่องจากมันเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับพวกเขา แต่ขณะเดียวกัน การกระทำเดียวกันนี้กลับไม่ดีสำหรับผู้อื่น เพราะมาตรฐานนั้นไม่เหมาะสำหรับพวกเขา”

คำพูดนี้ของ“อไควนัส” ชวนคิดชวนทำ ทว่ามิใช่แค่เรื่องของ“ศาสนา”เท่านั้น แต่เรื่อง“ระบอบการเมือง” ก็ต้องนำมาใช้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความเป็นจริงของแต่ละที่แต่ละแห่งแต่ละชาติด้วย..จริงไหม?

“ชีวิตมีค่าสูงสุดนั้น คือชีวิตที่ผู้นั้นสามารถควบคุมการกระทำของตนได้” และ“สิ่งใดก็ตามที่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของสิ่งอื่นเสมอ สิ่งนั้นเป็นเสมือนสิ่งที่ตายไปแล้ว”

อืม..“ธรรม” แห่งทุกศาสนา ล้วนให้ “มนุษย์” ต้อง “ควบคุมตน” ให้ “ทำดี” เสมอ และต้อง “ลด-ละ-เลิกทำชั่ว” นะเว้ยเฮ้ย..!

“สงครามที่เป็นธรรมนั้นต้องประกอบด้วย 3 สิ่ง หนึ่ง-อำนาจขององค์อธิปัตย์ สอง-สาเหตุที่ชอบธรรม (ในการทำสงคราม) สาม-เจตนาที่ชอบธรรม” อุ๊ย! ไฉน “อไควนัส” จึงรู้ล่วงหน้าล่ะว่า “มะกัน” กับ “กลุ่มชาติตะวันตก” คือผู้ทำลายความสุขสงบศานติโลก?

“มิตรภาพเป็นบ่อเกิดของความพึงพอใจที่ยิ่งใหญ่ ดังนั้น เมื่อปราศจากเพื่อน แม้แต่ความรื่นเริงที่ดีที่สุด ก็ยังกลายเป็นสิ่งที่น่าเบื่อได้”

อืม..“ชาติอันธพาลที่โลภมาก” ทำให้โลกไม่น่าอยู่..หาความสุขสงบอันพึงมีไม่ได้เลย..เศร้าว่ะ..!!!

“ทางรอดของมนุษย์จำต้องมีการเปิดเผยโดยพระเจ้า เพื่อให้มนุษย์ได้เห็นความจริงที่อยู่เหนือขอบเขตของเหตุผล” รวมทั้ง “นักบุญย่อมยินดีที่ได้เห็นความดีและความงามสง่าของพระเจ้า มากกว่าการได้รับอนุญาตให้เห็นการลงโทษที่เลวร้ายในนรก”

อืม..“บิ๊กตู่-บิ๊กเหลี่ยม” รู้ใช่ไหม? การ “ทำดี” ให้คนชื่นชม! น่าอภิรมย์กว่า “ทำชั่ว” ให้คนก่นด่ากับโดนลงโทษอีกด้วย.. จริงไหม???


กำลังโหลดความคิดเห็น