“สอดแนมการเมือง”
“ชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย”
นักปรัชญา“อริสโตเติล” ยังมีหลักความคิดที่สำคัญมาก ดังเช่นเรื่อง“ปัจจัยสี่”
ช่วง“อริสโตเติล”ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับ“ธรรมชาติ” โดยนักปรัชญากรีกผู้นี้ ให้ความสนใจกับ“ปัจจัย”ในสิ่งมีชีวิตต่างๆ ก่อนจะสรุปว่า กลไกแห่งธรรมชาติในโลก มี“ปัจจัยอยู่ 4 ประการ” นั่นคือ วัตถุ / ประสิทธิภาพ / Formal / Final
อืม..แง่คิดดังกล่าวของ“อริสโตเติล” ช่างน่าคิด-น่าถก-น่าหาข้อสรุป..จริงไหม?
งานนี้..จึงหนีไม่พ้นเรื่องของ“แม่วัวเบสซี” ของ“โสเครตีส”กับ“เพลโต”อีกแล้ว?
กรณีที่“อริสโตเติล”ใช้แม่วัวเบสซีเป็นตัวอย่าง “วัตถุ”คือฝ้ายหรือผ้า “Formal”ได้แก่บลูพรินท์หรือรูปแบบ ประสิทธิภาพคือคนงานที่ต้องทำงานในเรื่องเหล่านี้ ส่วน Final ก็คือเด็กในชนบทที่เล่นกับแม่วัว
โดย“อริสโตเติล”ยืนยันว่า กระบวนการข้างต้นนี้ ใช้ได้กับกรณีของ“แม่วันเบสซี”ที่ยกตัวอย่างไว้เท่านั้น นั่นคือ “วัตถุ”คือสิ่งที่ทำให้มันสร้างขึ้นมา “Formal”คือสิ่งที่เกี่ยวกับพันธุกรรมของมัน “ประสิทธิภาพ”คือเรื่องของกระบวนการทางชีวภาพ ส่วน “Final”คือเรื่องของพัฒนาการที่ทำให้มันเจริญพันธุ์ขึ้น
ในกรณีนี้ วัตถุประสงค์ของ“ลูกวัว” คือการเจริญเติบโตเป็น“แม่วัว” การพัฒนาโดยธรรมชาติตามปกติ
ด้วยเหตุเช่นนี้ ทำให้“อริสโตเติล”เชื่อว่า “ธรรมชาติไม่ได้กระทำสิ่งใดด้วยการบีบบังคับ” ธรรมชาติดำเนินเพื่อการบรรลุเป้าหมาย
ถ้าหากสสารเป็นสิ่งที่ไม่รู้แน่ว่ามันมาจากที่ใด เช่นที่“อริสโตเติล”อ้าง ถ้าเช่นนั้น มันก็มีบางสิ่ง ที่เป็นต้นเหตุให้มันพัฒนาขึ้นมาจนเป็นรูปร่างได้ แต่สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อธรรมชาติดำเนินไปอย่างเป็นประจำ และคาดการณ์ได้ว่า ทุกส่วน(เช่นกลไกย่อยของมนุษย์) จะผลักดันตนเองเพื่อเข้าสู่เป้าหมายที่ตกทอดมา หรือสู่เป้าหมายสูงสุด ทั้งหมดนี้คือแนวคิดของ“อริสโตเติล”เกี่ยวกับธรรมชาติ ซึ่งเรียกกันว่า Aristotelian Teleology
ความคิดเกี่ยวกับการมุ่งเข้าสู่เป้าหมายของธรรมชาตินั้น “อริสโตเติล”ได้นำมาประยุกต์เข้ากับมนุษย์ ด้วยวัตถุประสงค์ของมนุษย์ทุกคน คือการมีความสุขอย่างที่สุด หากคนๆหนึ่งหาเงินด้วยการเป็นนายหน้าในตลาดหุ้น เขาคนนั้นก็ย่อมคิดว่า เงินจะทำให้เขามีความสุขได้ในที่สุด แต่หากมันไม่อาจให้ความสุขเราได้ มันจะมีส่วนดีที่ตรงไหน?
สำหรับ“อริสโตเติล” ความดี(virtue) คือการกระทำที่มีเหตุผล สามารถทำให้เรามีความสุขได้อย่างแท้จริง ดังนั้น การมีความสุขเพราะการใช้เหตุผล จึงเป็น“สิ่งที่ดีที่สุด”
ความคิดสำคัญอีกเรื่องหนึ่งของ“อริสโตเติล” นั่นคือ “การใช้เหตุผลเชิงเปรียบเทียบ”
“อริสโตเติล”ใช้วิธีการเทียบเคียงด้วยเหตุผล เพื่อให้มนุษย์ค้นพบความจริง ซึ่งมีตัวอย่างการเทียบเคียงด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ “คนทุกคนต้องตาย โสเครตีสเป็นคน เพราะฉะนั้นโสเครตีสต้องตาย”?!
ความคิดของ“อริสโตเติล” เกี่ยวกับกลไกการทำงานของธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ไม่เคยถูกท้าทายโต้แย้งจากโลกตะวันตกมามากกว่าหนึ่งพันปี นอกจากนื้ ตรรกะทางวิทยาศาตร์ และการศึกษาเกี่ยวกับชีววิทยา ยิ่งเป็นการช่วยสร้างรากฐานให้กับกฏเกณฑ์ของ“อริสโตเติล”นั่นเอง
นอกจากนั้น ตรรกะทางวิทยาศาตร์ และการศึกษาทางชีววิทยา ก็ได้กลายเป็นพื้นฐานของการศึกษาในเวลาต่อมา จนต้องถือว่า “อริสโตเติล”เป็น“ราชา”ของความคิดสำคัญๆเหล่านี้
ความคิดต่างๆของ“อริสโตเติล” ไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่เพิ่มเติมให้แก่ประวัติศาสตร์ความคิดเท่านั้น แต่มันเป็นสิ่งหยั่งรากลึก ที่ทำให้เราเข้าใจวัฒนธรรมทางความคิด ของโลกตะวันตกได้ดีทีเดียว
แต่ถึงอย่างไร ครูที่กำลังสอนคุณในเรื่องนี้ทุกวัน ยังเก่งไม่ได้ครึ่งของ“อริสโตเติล”เลยนะโว้ย..!
ครานี้มาดู“คำคม”บางส่วนของ“อริสโตเติล” ปราชญ์ระดับโลกศิษย์เอก“เพลโต”กันหน่อย
“เพลโต เป็นผู้ที่ข้าพเจ้ารัก แต่สิ่งที่ข้าพเจ้ารักมากกว่า คือความจริง”
อืม..เชื่อเถอะ! “เพลโต”ก็คงพูดว่า “ข้าฯรักโสเครตีส แต่ข้าฯรักความจริงมากกว่า”เช่นกัน!
ด้วย“สองปรมาจารย์นักปราชญ์” โดยเฉพาะ“โสเครตีส” ได้พิสูจน์แล้วว่า รักความจริงเหนือ“ชีวิตตัวเอง”!
“นักปรัชญาเพลโต” จึงสอนสั่งศิษย์เอก“อริสโตเติล” ให้ยึดมั่นด้วยใจจริง จนบังเกิดวรรคทองว่า ข้าฯรักครู“เพลโต” แต่ข้าฯรักความจริงมากกว่า..!
“โดยธรรมชาติ มนุษย์เป็นสัตว์การเมือง” คำพูดสั้นๆของ“อริสโตเติล”ที่บอกอย่างลึกซึ้งถึง.. หนึ่ง-นักปรัชญาและมนุษย์ สนใจการเมืองยิ่งนัก! สอง-มนุษย์บางส่วน คลั่งการเมืองจนเสมือนดั่ง“สัตว์”! สาม-มนุษย์อีกกลุ่มหนึ่ง เป็น“นักการเมือง” ใช้ชีวิตเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในแวดวงการเมือง ที่“มี”กับ“ไม่มี”อำนาจ “มนุษย์กลุ่มน้อย”นี้ ดุจดัง“สัตว์โหยหิว” โกงชาติมิรู้จักพอ จากการบริหาร“ชาติประชา” ฯลฯ
อืม..นับเป็นเรื่อง“โชคดี”ของ“มนุษย์กลุ่มน้อย” เหนือ“มนุษย์”นับพันล้าน-หลายร้อยล้าน-หลายสิบล้าน-หลายล้าน!!
ทว่า.. “มนุษย์การเมือง”เหล่านั้น “ควร”และ“ต้อง”ทำ“ความดี” พัฒนาให้ชาติเจริญมั่นคง กับยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้มั่งคั่ง มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นเป็นหลัก!
แต่“มนุษย์การเมือง” ซึ่งเป็น“ผู้นำ-รัฐบาล-ผู้เกี่ยวข้อง” รวมถึง“ข้าราชการ-นักธุรกิจ” กลับใช้อำนาจแสวงหาและกอบโกย“อำนาจ-เงินทอง-ทรัพย์สิน” นำความมั่งคั่งมาสู่ตนและพวกพ้องไม่รู้จักพอ..
“สังคมโลก”เกิดการเมืองหลายระบอบ ทั้ง“เผด็จการทหาร” “ประชาธิปไตยเลือกตั้งทุนสามานย์” เช่นใน“มะกัน-ตะวันตก” และ “ประชาธิปไตยประชาชน”แบบ“มังกรจีน” ด้วยการเลือกตั้ง“ผู้คน”จาก“ล่างขึ้นบน” ซึ่ง“ผู้นำ-รัฐบาล-ผู้เกี่ยวข้อง”ส่วนใหญ่ “ดี”มากกว่า“เลว” จน“ชาติจีน”สามารถพัฒนาชาติให้เจริญก้าวหน้า แก้ปัญหาให้ประชาชน 1,400 ล้านคนได้ โดยเฉพาะปัญหา“ความยากจน”ของ“คนส่วนใหญ่” จน“องค์การสหประชาชาติ” ยอมรับว่า “ชาติจีนแก้ปัญหาความยากจนได้จริง”!
ขณะที่“ชาติส่วนใหญ่ในสังคมโลก” ยิ่ง“แก้ความจน” ประชาชนกลับจนยิ่งขึ้นว่ะ!..
แหม!!.. เหมือน“ชาติไทย”เลย!.. ยิ่งรัฐบาลออกนโยบาย“แก้จน” จำนวน“ผู้ถือบัตรคนจน”ยิ่งมากขึ้นว่ะ..ฮ่าฮ่าฮ่า!..โอ๊ย!!..ปวดตับ!!
กลับมาที่“อริสโตเติล” เขายังระบุอีกว่า “งานที่ได้รับค่าจ้าง ล้วนแล้วแต่ทำให้จิตใจของเราตกต่ำและหดหายไป”??
และ..“ธรรมชาติของความปรารถนา คือการไม่รู้สึกอิ่ม แต่มนุษย์ส่วนใหญ่ มีชีวิตอยู่เพื่อหาความอิ่มเอมจากมัน”
จริงครับ.. ตั้งแต่“ยุคกรีก”จรด“ยุคดิจิทอล” ผู้ใช้แรงงาน“สมอง”หรือ“ร่างกาย” ยังลำบากยากเข็ญ “หลายอาชีพ”หาเช้าไม่พอกินค่ำ-หาค่ำไม่พอกินเช้า..เศร้าว่ะ!
“โดยธรรมชาติ ทุกคนปรารถนาซึ่งความรู้” และ “การศึกษาเป็นแหล่งเสบียงที่ดีที่สุดสำหรับการเดินทางสู่วัยชรา” เพราะ “จิตใจที่มีการศึกษาเท่านั้น ที่สามารถสร้างความสำราญทางความคิดได้ โดยไม่ต้องยอมรับมัน”
นับแต่ยุคกรีกจรดปัจจุบัน “สังคมมนุษย์” ล้วนต้องการ“ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม จะต้องมีความยุติธรรมเป็นศูนย์กลาง”
มาถึงปี ค.ศ.2023 ใน“ยุคดิจิทอล” ซึ่ง“มนุษย์”ส่งจรวดไป“โลกพระจันทร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ฯ”ได้นานแล้ว! ในชาติไทยมี“คนรุ่นใหม่” รวมตัวเป็น“นักการเมือง”ยุค“ก้าวไกลเกินกรุงลงกา” มีสาวกหนุนเครือด้อมส้มชื่อ“กลุ่มทะลุวัง” อ้างตนเป็น“พวกคลั่งการเมือง”
กลุ่มนี้ใช้ความรุนแรงเถื่อนถ่อยกักขฬะ ระรานคุกคาม“ผู้เห็นต่าง”อยู่เสมอ ตะโกนปาวๆอ้าง“ประชาธิปไตย”ราวคนไร้สติ แต่พฤติกรรมเป็น“อนาธิปไตย” กระทำผิดกฎหมายอย่างไม่ยำเกรง เพราะแกนนำก้าวไกลจะไปประกันตัวเสมอ..
เอ้อ! อยากรู้จังว่า.. สมัย“อริสโตเติล”มี“นักการเมืองเลว” แอบหนุน“คนประเภทนี้”ให้ป่วนชาติแบบสมัยนี้มั้ย!
มุมมอง“อริสโตเติล”ต่อความอ่อนแอของรัฐ “ความยากจนเป็นบ่อเกิดของการปฏิวัติและอาชญากรรม” และ “รัฐที่มีเสถียรภาพ มิได้เกิดเมื่อทุกคนมีความเสมอภาคกันตามกฎหมาย”นะโว้ย! แต่ต้องทำให้“การเป็นคนดี กับการเป็นพลเมืองที่ดี ไม่ใช่สิ่งที่เหมือนกันเสมอไป”
สำหรับกฎหมาย.. “อริสโตเติล”เน้นว่า “กฎหมายคือคำสั่ง และกฎหมายที่ดี คือคำสั่งที่ดี”!
จริงว่ะ! เพราะ“การทำให้คนที่มีไม่มีความรู้ รู้มากขึ้นนั้น ง่ายกว่าการทำให้คนที่มีความรู้ที่กำลังปราศรัยอยู่กับผู้ฟัง ให้เป็นคนรู้มากขึ้น”
โอ้ว!!.. มันช่างเหมือน“นักการเมืองยุคนี้” ที่อ้างว่า “เขา”กำลังป้อน“ความรู้” ทั้งๆที่“เขา”กำลังโกหกผู้คนอยู่..วุ้ย!! เลวจัง!!..
ขอจบด้วยถ้อยคำของปราชญ์โลก“อริสโตเติล”ที่ว่า “ความหวัง คือ ความฝันที่กำลังตื่นอยู่”