เมื่อเร็วๆ นี้ Invesco บริษัทจัดการกองทุนรวมของสหรัฐฯ ได้ทำการสำรวจธนาคารกลางและกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติในประเทศต่างๆ และพบว่ามีหลายประเทศเพิ่มมากขึ้นที่กำลังเร่งนำทองคำสำรองกลับบ้านเพื่อป้องกันการคว่ำบาตรแบบที่ตะวันตกกระทำต่อรัสเซีย
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ความผันผวนของตลาดการเงินเมื่อปีที่แล้ว ทำให้เกิดความสูญเสียอย่างกว้างขวางสำหรับผู้บริหารกองทุนมั่งคั่งของรัฐ ทำให้มีการทบทวนกลยุทธ์กันใหม่โดยเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์จะยังคงอยู่ต่อไป
กว่า 85% ของ 85 กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ และ 57 ธนาคารกลาง ที่เข้าร่วมในการศึกษาประจำปี Invesco Global Sovereign Asset Management Study เชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อในทศวรรษหน้าจะสูงขึ้นกว่าในทศวรรษที่ผ่านมา
ทองคำและพันธบัตรตลาดเกิดใหม่ถูกมองว่าเป็นเดิมพันที่ดีในสภาพแวดล้อมดังกล่าว แต่การแช่แข็งทองคำและอัตราแลกเปลี่ยนสำรองของรัสเซียเกือบครึ่งหนึ่งของมูลค่า 640,000 ล้านดอลลาร์ของรัสเซียในปีที่แล้วของชาติตะวันตก เพื่อตอบโต้การรุกรานของยูเครนของรัสเซียดูเหมือนว่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน
การสำรวจของ Invesco พบว่า จำนวนธนาคารกลางมีเพิ่มมากขึ้นที่แสดงความกังวลใจกับยึดทรัพย์สินที่เกิดขึ้นแล้วกับรัสเซีย ทำให้ผู้ตอบแบบสำรวจเกือบ 60% เชื่อว่าทองคำมีความน่าสนใจในการถือครองมากขึ้น ในขณะที่ 68% ของผู้ตอบแบบสำรวจ ได้เก็บทองคำสำรองไว้ที่บ้าน เทียบกับ 50% ในปี 2020
ธนาคารกลางแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่ขอเปิดเผยชื่อกล่าวว่า “เรามีทองคำ (ทอง) อยู่ในลอนดอน แต่ตอนนี้เราได้โอนมันกลับไปยังประเทศของตัวเองเพื่อถือเป็นทรัพย์สินที่ปลอดภัยและเพื่อรักษามันให้ปลอดภัย”
Rod Ringrow หัวหน้าฝ่ายสถาบันการเงินของ Invesco ซึ่งดูแลการทำแบบสอบถามกล่าวว่า มันเป็นมุมมองโดยทั่วไปว่า “‘ถ้าเป็นทองคำของผม ผมก็อยากได้มันอยู่ในประเทศของผม’ เป็นคำพูดที่เป็นคาถาที่เราได้เห็นตั้งแต่ปีที่แล้ว”
ไม่เป็นที่ทราบว่าธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าร่วมตอบแบบสอบถามของ Invesco หรือไม่ หรือมีท่าทีอย่างไรในการนำทองคำที่ฝากเอาไว้ที่ต่างประเทศที่ Federal Reserve Bank of New York และเชื่อว่าที่ Bank of England อีกด้วยกลับมายังประเทศไทย ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่จะทำให้ค่าเงินลดลง และความเสี่ยงของภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการมองกันว่าทองคำเป็นทรัพย์สินที่ปลอดภัย และมั่นคงที่สุด
ล่าสุด ตามรายงานของ https://tradingeconomics.com/country-list/gold-reserves พบว่าประเทศไทยมีทองคำสำรองอยู่ 244.16 ตัน หรืออยู่อันดับ 22 ของโลก คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 510,130 ล้านบาท หรือประมาณ $15,000 ล้าน
คำถามคือทองคำสำรองจำนวนนี้ฝากเอาไว้ที่ต่างประเทศ หรือเก็บเอาไว้ในประเทศมากน้อยเพียงใด
ล่าสุดในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศจำนวน $220,724 ล้าน
จะเห็นได้ว่า ทองคำยังคงมีสัดส่วนน้อยประมาณ 7% ในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยที่ยังคงติดกับดักอยู่ในดอลลาร์กระดาษ
นอกจากนี้ ยังมีทองคำส่วนของหลวงตามหาบัวที่มอบให้กับธนาคารแห่งประเทศไทยและมีการแยกบัญชีต่างหาก
ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รับมอบทองคำจำนวน 14.5 กิโลกรัม จากหลวงปู่บุญเรือง กิตฺติปุญโญ วัดพุมุด อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ประธานสงฆ์และผู้แทนคณะศิษยานุศิษย์พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) ซึ่งทองคำดังกล่าว เป็นทองคำที่ได้รับจากการจัดงานบุญประเพณี “ผ้าป่า 12 เมษาฯ สืบหน่อต่อแขนงคลังหลวง บูชาพระคุณองค์หลวงตา” ตามเจตนารมณ์ของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เพื่อสมทบเข้าเป็นทุนสำรองเงินตรา
สินทรัพย์ที่ได้รับมอบมาทั้งหมดในช่วงก่อนหน้านี้ แบ่งเป็นทองคำแท่งน้ำหนักรวมประมาณ 13,102.844 กิโลกรัม และเงินตราต่างประเทศจำนวน 10,457,159.63 ดอลลาร์ สรอ. (ข้อมูล ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2565)
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน มีญาณเห็นอนาคตกาลว่า ความมั่นคงทางการเงินของประเทศอยู่ที่การมีทองคำสำรอง เพื่อหนุนความเชื่อมั่นในค่าเงินบาท หลังวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 หลวงตามหาบัวได้รณรงค์ให้คนไทยใจบุญร่วมบริจาคทองคำเพื่อสบทบเข้าเป็นทุนสำรองเงินตรา
ทำไมแบงก์ชาติไทย และธนาคารกลางต่างๆ เก็บทองคำที่ Federal Reserve Bank of New York หรือที่ Bank of England เป็นส่วนใหญ่ แทนที่จะเก็บที่ห้องนิรภัยในบ้านตัวเอง?
สหรัฐฯ เก็บทองคำในตู้นิรภัย 2 แห่งด้วยกันคือที่ค่ายทหาร Fort Knox ในรัฐเคนตักกี และที่ชั้นใต้ดินของ Federal Reserve Bank of New York
ที่ Fort Knox กระทรวงคลังสหรัฐฯ เก็บทองคำสำรอง 8,113 ตันของประเทศ แม้ว่ามีหลายคนตั้งข้อสงสัยว่าจะมีทองคำจริงเหลืออยู่มากน้อยเพียงใด เพราะว่าไม่เคยมีการทำการตรวจตอบอย่างจริงๆ จังๆ โดยคณะกรรมการอิสระ
ส่วนทองคำที่เก็บที่ตู้นิรภัยของ Federal Reserve Bank of New York ส่วนใหญ่เป็นทองคำของต่างชาติที่ฝากเอาไว้ รวมทั้งทองคำของกองทุนการเงินระหว่างประเทศกว่า 2,814 ตัน
ต้องเข้าใจว่าเราอยู่ในระบบการเงินที่มีดอลลาร์เป็นศูนย์กลาง หรือเป็นเงินสกุลหลักของโลก โดยที่ Federal Reserve Bank แห่ง New York ทำหน้าที่พิมพ์เงิน หรือบริหารปฏิบัติการทางการเงินต่างๆ ให้กับ Federal Reserve System ที่ถือว่าเป็นธนาคารกลางของสหรัฐฯ
การทำคิวอี คิวทีในช่วงที่ผ่านมาของธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้มอบหมายให้ Federal Reserve Bank of New York เป็นผู้ลงมือทำในการแทรกแซงตลาด
Federal Reserve Bank แห่ง New York เป็นหนึ่งในระบบสถาบันการเงินที่มีทั้งหมด 12 แห่งของ Federal Reserve System ที่มีสำนักงานใหญ่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และมีการตั้งสาขากระจายทั่วประเทศสหรัฐฯ
เนื่องจากทองคำเป็นเงินที่แท้จริง (real money) และปฏิปักษ์ต่อดอลลาร์ที่เป็นเงินตรากระดาษเปล่าๆ และถือว่าเครดิตของรัฐบาลสหรัฐฯ ธนาคารกลางของสหรัฐฯ จึงต้องควบคุมราคาทองคำ เพื่อไม่ให้ทองคำทำลายความเชื่อมั่นในดอลลาร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่สหรัฐฯ ยกเลิกการผูกดอลลาร์กับทองคำในปี 1971
ราคาทองคำจึงถูกพวก Bullion Banks ภายใต้การดูแลของ Federal Reserve Bank of New York รวมทั้ง Bank for International Settlements ที่สวิสคอยควบคุมราคาไม่ให้ดีดตัวสูงเกินไปผ่านแรงขายทองกระดาษในตลาดฟิวเจอร์ส หรืออาจจะมีการขายทอง physical ออกบ้างเพื่อกดราคาทองคำ ทำให้ราคาทองคำไม่ได้สะท้อนปัจจัยพื้นฐาน แม้ว่าจะมีเงินเฟ้อที่สูงที่เกิดจากการเพิ่มปริมาณเงินดอลลาร์มากมายเข้าระบบก็ตาม
นอกจากนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศที่ดูแลระบบการเงินระหว่างประเทศมีเป้าหมายให้โลกอยู่ในระบบดอลลาร์กระดาษ จึงคอยกำกับดูแลให้ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ถือครองทองคำไม่ให้เกิน 3-5% ของทุนสำรองทั้งหมดในช่วงที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลว่าทองคำเป็นทรัพย์สินทางเลือก ที่มีความเสี่ยงในการถือครอง และไม่ให้ผลตอบแทนเหมือนดอกเบี้ยพันธบัตร และมีปัญหาในการดูแลรักษาความปลอดภัย
Federal Reserve Bank of New York จึงมีหน้าที่ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการเป็นเจ้ามือ คอยดูแลทองคำสำรองของประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่เอามาฝาก โดยอ้างว่ามีตู้นิรภัยที่ปลอดภัยที่สุดในยามเกิดสงคราม และสามารถเปลี่ยนมือเป็นดอลลาร์ได้ตลอดเวลา ทำให้ Federal Reserve Bank of New York สามารถบริหารราคาทองคำได้อย่างแยบยล เพราะว่ามีทองคำในมือ สามารถโยกย้ายถ่ายเท ให้ยืม ปล่อยกู้ได้
เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยซื้อทองเพื่อลงบัญชีสำรองเงินตรา ก็จะซื้อทองจาก Federal Reserve Bank of New York ด้วยการนำเอาดอลลาร์ไปจ่าย และในขณะเดียวกันก็ฝากทองคำที่ Federal Reserve Bank of New York ไปเลยเพื่อความสะดวก โดยเห็นเพียงแค่ตัวเลขในบัญชี แต่ไม่เคยได้เห็น หรือจับต้องทองคำที่ซื้อเอาไว้
เวลาแบงก์ชาติขาดสภาพคล่องดอลลาร์ สามารถเอาทองคำเป็นหลักประกันเพื่อกู้ดอลลาร์ได้ การซื้อหรือการฝากทองคำที่ Federal Reserve Bank of New York จึงเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารสภาพคล่องดอลลาร์ของประเทศต่างๆ
แต่ปัญหาเกิดขึ้นหลังสงครามยูเครนคือสหรัฐฯ ได้ยึดเงินทุนสำรองของรัสเซีย และข่มขู่ประเทศต่างๆ ไม่ให้ทำการค้า หรือสนับสนุนรัสเซีย เพราะว่าอาจจะถูกยึดเงินทุนสำรองได้ ทำให้ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน และประเทศในตะวันออกกลางนำโดยซาอุดีอาระเบีย เริ่มไม่มั่นใจในการถือครองทรัพย์สินในรูปดอลลาร์ หรือเก็บทรัพย์สินในสหรัฐฯ และในยุโรป เพราะว่าไม่รู้ว่าจะถูกยึดเมื่อใด
ยิ่งสหรัฐฯ มีปัญหาหนี้ที่แก้ไม่ตก $32.5 ล้านล้าน ต้องออกพันธบัตรเพื่อจ่ายหนี้เก่า และเพื่อไฟแนนซ์งบประมาณที่ขาดดุลมหาศาล ทำให้การถือครองพันธบัตรสหรัฐฯ มีความเสี่ยงของเงินเฟ้ออีกด้วย แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะขึ้นดอกเบี้ยไปถึง 5.50% แล้วก็ตาม
ประเด็นนี้ทำให้เกิดกระแสที่ตามมาคือ
1. De-dollarization หรือการลดการถือครองเงินดอลลาร์
2. การขายพันธบัตรสหรัฐฯ ออกไป
3. การขนทองคำที่ฝากที่สหรัฐฯ กลับบ้าน
4. การค้าขายโดยใช้เงินสกุลท้องถิ่น ลดการใช้ดอลลาร์เป็นสื่อกลาง
5. การรวมตัวกันของกลุ่ม BRICS เพื่อสร้างเงินสกุลร่วมที่มีทองคำหนุนหลังเพื่อปลดแอกจากระบบดอลลาร์
Robert Kiyosaki ผู้แต่งหนังสือ Rich Dad Poor Dad ได้เคยระบุเอาไว้ก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการประชุมสุดยอดกลุ่ม BRICS ที่จะจัดขึ้นที่แอฟริกาใต้ในวันที่ 22 สิงหาคม โดยฝรั่งเศสมีแนวโน้มที่จะเข้าร่วมด้วย ว่ามันกำลังจะทำให้เงินดอลลาร์นั้นขาดอำนาจทางเศรษฐกิจและสถานะของสกุลเงินสำรองของโลก เพื่อ “ลดค่าเงิน” ของโลกตามที่เขากล่าวไว้
ประเด็นคือในระหว่างการประชุมสุดยอด ตัวแทนของบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ (BRICS) และอาจจะรวมถึงฝรั่งเศสในปีนี้ จะหารือเกี่ยวกับการเปิดตัวสกุลเงินใหม่สำหรับการค้าระหว่างประเทศซึ่งสกุลเงินดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนจากทองคำ
“1 bric เท่ากับทองคำ 1 ออนซ์” Kiyosaki เขียนในทวีตของเขา พร้อมย้ำว่าตอนนี้ทองคำน่าจะมีมูลค่าประมาณ 3,000 ดอลลาร์
“bric” คือวิธีที่เขาอ้างถึงสกุลเงินในอนาคตดังกล่าว หากเปิดตัว จะได้รับการตอบรับจากประมาณ 41 ประเทศทั่วโลก ซึ่งนี่ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้สถานะของเงินดอลลาร์ที่เป็นเป็นสกุลเงินทั่วโลกสั่นคลอน
ในปัจจุบัน Federal Reserve Bank of New York เป็นผู้ดูแลทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีการจัดเก็บทองคำมากกว่า 5,800 ตันในนามของธนาคารกลางต่างประเทศ 36 แห่ง รัฐบาลต่างประเทศ และองค์กรการเงินระหว่างประเทศ รวมถึงสัดส่วนเล็กน้อยของการถือครองทองคำของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ
การจัดเก็บทองคำในอารักขาอย่างเป็นทางการใช้ห้องใต้ดิน 2 ห้องใต้อาคารสำนักงานใหญ่ของเฟดในนิวยอร์กในแมนฮัตตันตอนล่าง รัฐนิวยอร์ก ห้องนิรภัย “หลัก” เปิดในปี 1924 ห้องนิรภัยที่สองเรียกว่าห้องนิรภัย “เสริม” เปิดในปี 1963
ห้องนิรภัยทองคำหลักของธนาคารกลางนิวยอร์กตั้งอยู่ที่ระดับต่ำสุดของโครงสร้างห้องนิรภัย 3 ชั้นที่สร้างขึ้นในห้องใต้ดินที่ลึกมากของอาคารสำนักงานใหญ่ของ Federal Reserve Bank of New York ที่ ตั้งอยู่เลขที่ 33 Liberty Street ในย่านการเงินประวัติศาสตร์ของแมนฮัตตันตอนล่าง
รายงานของ https://www.bullionstar.com/gold-university/new-york-fed-gold-vaults ระบุว่า นับตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา ปริมาณทองคำแท่งที่ธนาคารกลางและรัฐบาลกลางในนิวยอร์กถือครองในนามของธนาคารกลางต่างประเทศ และรัฐบาลต่างๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง และยังลดจำนวนลูกค้าของธนาคารกลาง/รัฐบาลที่เป็นตัวแทนอีกด้วย
ในปี 1963 ห้องเก็บทองคำหลักมีทองคำ 13,000 ตันในรูปแบบ 960,000 แท่งในนามของลูกค้า 70 ราย
ในปี 1978 รายชื่อลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็น 85 ประเทศ ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 Fed New York รายงานว่ามีลูกค้า 60 ราย
ภายในปี 2008 ตัวเลขลูกค้านี้ลดลงเหลือ 36 ที่เป็นธนาคารกลาง รัฐบาล และสถาบันระหว่างประเทศ
ทองคำส่วนใหญ่ที่เก็บไว้ในห้องใต้ดินในนิวยอร์กของรัฐบาลกลางจะอยู่ในรูปของทองคำแท่ง
ในปี 1991 ห้องใต้ดินมีทองคำประมาณ 315 ล้านทรอยออนซ์ ในปี 1997 ปริมาณการถือครองลดลงเหลือ 269 ล้านออนซ์ ภายในปี 2004 ปริมาณการถือครองลดลงอีกเป็น 226 ล้านทรอยออนซ์ เมื่อต้นปี 2008 เฟดอ้างว่ามี 216 ล้านทรอยออนซ์อยู่ภายใต้การอารักขา
ในปี 2012 ห้องใต้ดินมีทองคำ 212 ล้านออนซ์ ในรูปของทองคำแท่ง 530,000 แท่ง มีน้ำหนักประมาณ 6,700 ตัน
ในปี 2016 เฟดรายงานการถือครองทองคำของต่างชาติที่ต่ำกว่า 6,000 ตัน
ใครเป็นเจ้าของทองคำที่ NY Fed เก็บรักษา?
เรื่องทองคำกลายเป็นเรื่องลี้ลับที่เปิดเผยไม่ได้ แม้ว่าทองคำจะถูกลดเกรดมาตลอดว่าเป็นทรัพย์สินทางเลือกที่มีความเสี่ยงในการลงทุน เฟดนิวยอร์กไม่ได้เปิดเผยรายชื่อลูกค้าว่ามีใครฝากทอง หรือปริมาณเท่าใด
แม้แต่แบงก์ชาติไทยก็ไม่ได้รายงานว่า มีการฝากทองกับเฟดนิวยอร์ก หรือที่ธนาคารกลางอังกฤษที่ลอนดอนในปริมาณเท่าใด ทั้งๆ ที่การถือครองทองคำมีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับการถือครองพันธบัตรดอลลาร์ของแบงก์ชาติไทยที่ถืออยู่ประมาณ $50,000-$60,000 ล้าน ซึ่งเป็นเผยได้
สรุปแล้ว เวลาได้ลุล่วงเกินไปนานแล้วสำหรับธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะนำเอาทองคำที่ฝากที่ต่างประเทศ ไม่ว่าจะที่ Federal Reserve Bank of New York หรือที่ Bank of England กลับมาที่ประเทศไทย เพราะว่า
1. ถ้าไม่รีบทวงทองคำ อาจจะไม่มีทองคำให้ถอน เพราะว่าถ้าเกิดแบงก์รัน ลูกค้าอื่นๆ ของ Fed New York หรือ Bank of England แห่ถอนหมดไปก่อน
2. ที่ผ่านมาผู้รับฝากอย่าง Fed New York และ Bank of England มีพฤติกรรมที่ไม่น่าไว้วางใจ เพราะว่าเวลาถูกทวงทองคำ เช่น เยอรมนี หรือเวเนซุเอลาจะถูกเตะถ่วงเวลา หรือถูกเบี้ยวไปเลยอย่างในกรณีของอังกฤษที่เบี้ยวทองเวเนซุเอลา 31 ตันไป คิดเป็นตัวเงิน $2,000 ล้าน
3. มีแนวโน้ม ไทยจะสมัครเป็นสมาชิกของบริกส์ที่มีแนวความคิด เอาทองคำมาหนุนหลังค่าเงิน เมื่อเป็นเช่นนี้จำเป็นที่ไทยต้องมีทองคำในมือเพื่อเอามาหนุนเงินบาท หรือเพิ่มการถือครองทองคำด้วยการขายดอลลาร์แลกทองคำ
4. สถานการณ์ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างสหรัฐฯ+ตะวันตก กับจีน และรัสเซียทำให้การถือครองทองคำปลอดภัย เพราะว่าไม่มี counterparty risk
5. สหรัฐฯ และอังกฤษอาจหาเรื่องไทย ยึดทองคำไทยก็ได้ ถ้าหากไทยมีการดำเนินนโยบายต่างประเทศที่ขัดกับผลประโยชน์ของตะวันตก
6. โครงสร้างระบบการเงินโลกต่อไป ทองคำหรือสินค้าโภคภัณฑ์ และเงินหยวนของจีนจะมีความมั่นคงที่สุด หรือมั่นคงกว่าดอลลาร์
7. แม้แต่กองทุนการเงินระหว่างประเทศยังยอมรับว่าเงิน CBDC ที่กำลังจะออกมา ต้องมีทองคำหนุนหลังถึงจะมีความน่าเชื่อถือ ส่วนเงินคริปโตอื่นๆ ที่ไม่มีทองคำหนุนหลังจะนับว่าเป็นสินทรัพย์เพื่อการเก็งกำไร
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ความผันผวนของตลาดการเงินเมื่อปีที่แล้ว ทำให้เกิดความสูญเสียอย่างกว้างขวางสำหรับผู้บริหารกองทุนมั่งคั่งของรัฐ ทำให้มีการทบทวนกลยุทธ์กันใหม่โดยเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์จะยังคงอยู่ต่อไป
กว่า 85% ของ 85 กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ และ 57 ธนาคารกลาง ที่เข้าร่วมในการศึกษาประจำปี Invesco Global Sovereign Asset Management Study เชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อในทศวรรษหน้าจะสูงขึ้นกว่าในทศวรรษที่ผ่านมา
ทองคำและพันธบัตรตลาดเกิดใหม่ถูกมองว่าเป็นเดิมพันที่ดีในสภาพแวดล้อมดังกล่าว แต่การแช่แข็งทองคำและอัตราแลกเปลี่ยนสำรองของรัสเซียเกือบครึ่งหนึ่งของมูลค่า 640,000 ล้านดอลลาร์ของรัสเซียในปีที่แล้วของชาติตะวันตก เพื่อตอบโต้การรุกรานของยูเครนของรัสเซียดูเหมือนว่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน
การสำรวจของ Invesco พบว่า จำนวนธนาคารกลางมีเพิ่มมากขึ้นที่แสดงความกังวลใจกับยึดทรัพย์สินที่เกิดขึ้นแล้วกับรัสเซีย ทำให้ผู้ตอบแบบสำรวจเกือบ 60% เชื่อว่าทองคำมีความน่าสนใจในการถือครองมากขึ้น ในขณะที่ 68% ของผู้ตอบแบบสำรวจ ได้เก็บทองคำสำรองไว้ที่บ้าน เทียบกับ 50% ในปี 2020
ธนาคารกลางแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่ขอเปิดเผยชื่อกล่าวว่า “เรามีทองคำ (ทอง) อยู่ในลอนดอน แต่ตอนนี้เราได้โอนมันกลับไปยังประเทศของตัวเองเพื่อถือเป็นทรัพย์สินที่ปลอดภัยและเพื่อรักษามันให้ปลอดภัย”
Rod Ringrow หัวหน้าฝ่ายสถาบันการเงินของ Invesco ซึ่งดูแลการทำแบบสอบถามกล่าวว่า มันเป็นมุมมองโดยทั่วไปว่า “‘ถ้าเป็นทองคำของผม ผมก็อยากได้มันอยู่ในประเทศของผม’ เป็นคำพูดที่เป็นคาถาที่เราได้เห็นตั้งแต่ปีที่แล้ว”
ไม่เป็นที่ทราบว่าธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าร่วมตอบแบบสอบถามของ Invesco หรือไม่ หรือมีท่าทีอย่างไรในการนำทองคำที่ฝากเอาไว้ที่ต่างประเทศที่ Federal Reserve Bank of New York และเชื่อว่าที่ Bank of England อีกด้วยกลับมายังประเทศไทย ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่จะทำให้ค่าเงินลดลง และความเสี่ยงของภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการมองกันว่าทองคำเป็นทรัพย์สินที่ปลอดภัย และมั่นคงที่สุด
ล่าสุด ตามรายงานของ https://tradingeconomics.com/country-list/gold-reserves พบว่าประเทศไทยมีทองคำสำรองอยู่ 244.16 ตัน หรืออยู่อันดับ 22 ของโลก คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 510,130 ล้านบาท หรือประมาณ $15,000 ล้าน
คำถามคือทองคำสำรองจำนวนนี้ฝากเอาไว้ที่ต่างประเทศ หรือเก็บเอาไว้ในประเทศมากน้อยเพียงใด
ล่าสุดในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศจำนวน $220,724 ล้าน
จะเห็นได้ว่า ทองคำยังคงมีสัดส่วนน้อยประมาณ 7% ในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยที่ยังคงติดกับดักอยู่ในดอลลาร์กระดาษ
นอกจากนี้ ยังมีทองคำส่วนของหลวงตามหาบัวที่มอบให้กับธนาคารแห่งประเทศไทยและมีการแยกบัญชีต่างหาก
ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รับมอบทองคำจำนวน 14.5 กิโลกรัม จากหลวงปู่บุญเรือง กิตฺติปุญโญ วัดพุมุด อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ประธานสงฆ์และผู้แทนคณะศิษยานุศิษย์พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) ซึ่งทองคำดังกล่าว เป็นทองคำที่ได้รับจากการจัดงานบุญประเพณี “ผ้าป่า 12 เมษาฯ สืบหน่อต่อแขนงคลังหลวง บูชาพระคุณองค์หลวงตา” ตามเจตนารมณ์ของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เพื่อสมทบเข้าเป็นทุนสำรองเงินตรา
สินทรัพย์ที่ได้รับมอบมาทั้งหมดในช่วงก่อนหน้านี้ แบ่งเป็นทองคำแท่งน้ำหนักรวมประมาณ 13,102.844 กิโลกรัม และเงินตราต่างประเทศจำนวน 10,457,159.63 ดอลลาร์ สรอ. (ข้อมูล ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2565)
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน มีญาณเห็นอนาคตกาลว่า ความมั่นคงทางการเงินของประเทศอยู่ที่การมีทองคำสำรอง เพื่อหนุนความเชื่อมั่นในค่าเงินบาท หลังวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 หลวงตามหาบัวได้รณรงค์ให้คนไทยใจบุญร่วมบริจาคทองคำเพื่อสบทบเข้าเป็นทุนสำรองเงินตรา
ทำไมแบงก์ชาติไทย และธนาคารกลางต่างๆ เก็บทองคำที่ Federal Reserve Bank of New York หรือที่ Bank of England เป็นส่วนใหญ่ แทนที่จะเก็บที่ห้องนิรภัยในบ้านตัวเอง?
สหรัฐฯ เก็บทองคำในตู้นิรภัย 2 แห่งด้วยกันคือที่ค่ายทหาร Fort Knox ในรัฐเคนตักกี และที่ชั้นใต้ดินของ Federal Reserve Bank of New York
ที่ Fort Knox กระทรวงคลังสหรัฐฯ เก็บทองคำสำรอง 8,113 ตันของประเทศ แม้ว่ามีหลายคนตั้งข้อสงสัยว่าจะมีทองคำจริงเหลืออยู่มากน้อยเพียงใด เพราะว่าไม่เคยมีการทำการตรวจตอบอย่างจริงๆ จังๆ โดยคณะกรรมการอิสระ
ส่วนทองคำที่เก็บที่ตู้นิรภัยของ Federal Reserve Bank of New York ส่วนใหญ่เป็นทองคำของต่างชาติที่ฝากเอาไว้ รวมทั้งทองคำของกองทุนการเงินระหว่างประเทศกว่า 2,814 ตัน
ต้องเข้าใจว่าเราอยู่ในระบบการเงินที่มีดอลลาร์เป็นศูนย์กลาง หรือเป็นเงินสกุลหลักของโลก โดยที่ Federal Reserve Bank แห่ง New York ทำหน้าที่พิมพ์เงิน หรือบริหารปฏิบัติการทางการเงินต่างๆ ให้กับ Federal Reserve System ที่ถือว่าเป็นธนาคารกลางของสหรัฐฯ
การทำคิวอี คิวทีในช่วงที่ผ่านมาของธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้มอบหมายให้ Federal Reserve Bank of New York เป็นผู้ลงมือทำในการแทรกแซงตลาด
Federal Reserve Bank แห่ง New York เป็นหนึ่งในระบบสถาบันการเงินที่มีทั้งหมด 12 แห่งของ Federal Reserve System ที่มีสำนักงานใหญ่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และมีการตั้งสาขากระจายทั่วประเทศสหรัฐฯ
เนื่องจากทองคำเป็นเงินที่แท้จริง (real money) และปฏิปักษ์ต่อดอลลาร์ที่เป็นเงินตรากระดาษเปล่าๆ และถือว่าเครดิตของรัฐบาลสหรัฐฯ ธนาคารกลางของสหรัฐฯ จึงต้องควบคุมราคาทองคำ เพื่อไม่ให้ทองคำทำลายความเชื่อมั่นในดอลลาร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่สหรัฐฯ ยกเลิกการผูกดอลลาร์กับทองคำในปี 1971
ราคาทองคำจึงถูกพวก Bullion Banks ภายใต้การดูแลของ Federal Reserve Bank of New York รวมทั้ง Bank for International Settlements ที่สวิสคอยควบคุมราคาไม่ให้ดีดตัวสูงเกินไปผ่านแรงขายทองกระดาษในตลาดฟิวเจอร์ส หรืออาจจะมีการขายทอง physical ออกบ้างเพื่อกดราคาทองคำ ทำให้ราคาทองคำไม่ได้สะท้อนปัจจัยพื้นฐาน แม้ว่าจะมีเงินเฟ้อที่สูงที่เกิดจากการเพิ่มปริมาณเงินดอลลาร์มากมายเข้าระบบก็ตาม
นอกจากนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศที่ดูแลระบบการเงินระหว่างประเทศมีเป้าหมายให้โลกอยู่ในระบบดอลลาร์กระดาษ จึงคอยกำกับดูแลให้ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ถือครองทองคำไม่ให้เกิน 3-5% ของทุนสำรองทั้งหมดในช่วงที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลว่าทองคำเป็นทรัพย์สินทางเลือก ที่มีความเสี่ยงในการถือครอง และไม่ให้ผลตอบแทนเหมือนดอกเบี้ยพันธบัตร และมีปัญหาในการดูแลรักษาความปลอดภัย
Federal Reserve Bank of New York จึงมีหน้าที่ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการเป็นเจ้ามือ คอยดูแลทองคำสำรองของประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่เอามาฝาก โดยอ้างว่ามีตู้นิรภัยที่ปลอดภัยที่สุดในยามเกิดสงคราม และสามารถเปลี่ยนมือเป็นดอลลาร์ได้ตลอดเวลา ทำให้ Federal Reserve Bank of New York สามารถบริหารราคาทองคำได้อย่างแยบยล เพราะว่ามีทองคำในมือ สามารถโยกย้ายถ่ายเท ให้ยืม ปล่อยกู้ได้
เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยซื้อทองเพื่อลงบัญชีสำรองเงินตรา ก็จะซื้อทองจาก Federal Reserve Bank of New York ด้วยการนำเอาดอลลาร์ไปจ่าย และในขณะเดียวกันก็ฝากทองคำที่ Federal Reserve Bank of New York ไปเลยเพื่อความสะดวก โดยเห็นเพียงแค่ตัวเลขในบัญชี แต่ไม่เคยได้เห็น หรือจับต้องทองคำที่ซื้อเอาไว้
เวลาแบงก์ชาติขาดสภาพคล่องดอลลาร์ สามารถเอาทองคำเป็นหลักประกันเพื่อกู้ดอลลาร์ได้ การซื้อหรือการฝากทองคำที่ Federal Reserve Bank of New York จึงเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารสภาพคล่องดอลลาร์ของประเทศต่างๆ
แต่ปัญหาเกิดขึ้นหลังสงครามยูเครนคือสหรัฐฯ ได้ยึดเงินทุนสำรองของรัสเซีย และข่มขู่ประเทศต่างๆ ไม่ให้ทำการค้า หรือสนับสนุนรัสเซีย เพราะว่าอาจจะถูกยึดเงินทุนสำรองได้ ทำให้ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน และประเทศในตะวันออกกลางนำโดยซาอุดีอาระเบีย เริ่มไม่มั่นใจในการถือครองทรัพย์สินในรูปดอลลาร์ หรือเก็บทรัพย์สินในสหรัฐฯ และในยุโรป เพราะว่าไม่รู้ว่าจะถูกยึดเมื่อใด
ยิ่งสหรัฐฯ มีปัญหาหนี้ที่แก้ไม่ตก $32.5 ล้านล้าน ต้องออกพันธบัตรเพื่อจ่ายหนี้เก่า และเพื่อไฟแนนซ์งบประมาณที่ขาดดุลมหาศาล ทำให้การถือครองพันธบัตรสหรัฐฯ มีความเสี่ยงของเงินเฟ้ออีกด้วย แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะขึ้นดอกเบี้ยไปถึง 5.50% แล้วก็ตาม
ประเด็นนี้ทำให้เกิดกระแสที่ตามมาคือ
1. De-dollarization หรือการลดการถือครองเงินดอลลาร์
2. การขายพันธบัตรสหรัฐฯ ออกไป
3. การขนทองคำที่ฝากที่สหรัฐฯ กลับบ้าน
4. การค้าขายโดยใช้เงินสกุลท้องถิ่น ลดการใช้ดอลลาร์เป็นสื่อกลาง
5. การรวมตัวกันของกลุ่ม BRICS เพื่อสร้างเงินสกุลร่วมที่มีทองคำหนุนหลังเพื่อปลดแอกจากระบบดอลลาร์
Robert Kiyosaki ผู้แต่งหนังสือ Rich Dad Poor Dad ได้เคยระบุเอาไว้ก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการประชุมสุดยอดกลุ่ม BRICS ที่จะจัดขึ้นที่แอฟริกาใต้ในวันที่ 22 สิงหาคม โดยฝรั่งเศสมีแนวโน้มที่จะเข้าร่วมด้วย ว่ามันกำลังจะทำให้เงินดอลลาร์นั้นขาดอำนาจทางเศรษฐกิจและสถานะของสกุลเงินสำรองของโลก เพื่อ “ลดค่าเงิน” ของโลกตามที่เขากล่าวไว้
ประเด็นคือในระหว่างการประชุมสุดยอด ตัวแทนของบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ (BRICS) และอาจจะรวมถึงฝรั่งเศสในปีนี้ จะหารือเกี่ยวกับการเปิดตัวสกุลเงินใหม่สำหรับการค้าระหว่างประเทศซึ่งสกุลเงินดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนจากทองคำ
“1 bric เท่ากับทองคำ 1 ออนซ์” Kiyosaki เขียนในทวีตของเขา พร้อมย้ำว่าตอนนี้ทองคำน่าจะมีมูลค่าประมาณ 3,000 ดอลลาร์
“bric” คือวิธีที่เขาอ้างถึงสกุลเงินในอนาคตดังกล่าว หากเปิดตัว จะได้รับการตอบรับจากประมาณ 41 ประเทศทั่วโลก ซึ่งนี่ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้สถานะของเงินดอลลาร์ที่เป็นเป็นสกุลเงินทั่วโลกสั่นคลอน
ในปัจจุบัน Federal Reserve Bank of New York เป็นผู้ดูแลทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีการจัดเก็บทองคำมากกว่า 5,800 ตันในนามของธนาคารกลางต่างประเทศ 36 แห่ง รัฐบาลต่างประเทศ และองค์กรการเงินระหว่างประเทศ รวมถึงสัดส่วนเล็กน้อยของการถือครองทองคำของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ
การจัดเก็บทองคำในอารักขาอย่างเป็นทางการใช้ห้องใต้ดิน 2 ห้องใต้อาคารสำนักงานใหญ่ของเฟดในนิวยอร์กในแมนฮัตตันตอนล่าง รัฐนิวยอร์ก ห้องนิรภัย “หลัก” เปิดในปี 1924 ห้องนิรภัยที่สองเรียกว่าห้องนิรภัย “เสริม” เปิดในปี 1963
ห้องนิรภัยทองคำหลักของธนาคารกลางนิวยอร์กตั้งอยู่ที่ระดับต่ำสุดของโครงสร้างห้องนิรภัย 3 ชั้นที่สร้างขึ้นในห้องใต้ดินที่ลึกมากของอาคารสำนักงานใหญ่ของ Federal Reserve Bank of New York ที่ ตั้งอยู่เลขที่ 33 Liberty Street ในย่านการเงินประวัติศาสตร์ของแมนฮัตตันตอนล่าง
รายงานของ https://www.bullionstar.com/gold-university/new-york-fed-gold-vaults ระบุว่า นับตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา ปริมาณทองคำแท่งที่ธนาคารกลางและรัฐบาลกลางในนิวยอร์กถือครองในนามของธนาคารกลางต่างประเทศ และรัฐบาลต่างๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง และยังลดจำนวนลูกค้าของธนาคารกลาง/รัฐบาลที่เป็นตัวแทนอีกด้วย
ในปี 1963 ห้องเก็บทองคำหลักมีทองคำ 13,000 ตันในรูปแบบ 960,000 แท่งในนามของลูกค้า 70 ราย
ในปี 1978 รายชื่อลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็น 85 ประเทศ ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 Fed New York รายงานว่ามีลูกค้า 60 ราย
ภายในปี 2008 ตัวเลขลูกค้านี้ลดลงเหลือ 36 ที่เป็นธนาคารกลาง รัฐบาล และสถาบันระหว่างประเทศ
ทองคำส่วนใหญ่ที่เก็บไว้ในห้องใต้ดินในนิวยอร์กของรัฐบาลกลางจะอยู่ในรูปของทองคำแท่ง
ในปี 1991 ห้องใต้ดินมีทองคำประมาณ 315 ล้านทรอยออนซ์ ในปี 1997 ปริมาณการถือครองลดลงเหลือ 269 ล้านออนซ์ ภายในปี 2004 ปริมาณการถือครองลดลงอีกเป็น 226 ล้านทรอยออนซ์ เมื่อต้นปี 2008 เฟดอ้างว่ามี 216 ล้านทรอยออนซ์อยู่ภายใต้การอารักขา
ในปี 2012 ห้องใต้ดินมีทองคำ 212 ล้านออนซ์ ในรูปของทองคำแท่ง 530,000 แท่ง มีน้ำหนักประมาณ 6,700 ตัน
ในปี 2016 เฟดรายงานการถือครองทองคำของต่างชาติที่ต่ำกว่า 6,000 ตัน
ใครเป็นเจ้าของทองคำที่ NY Fed เก็บรักษา?
เรื่องทองคำกลายเป็นเรื่องลี้ลับที่เปิดเผยไม่ได้ แม้ว่าทองคำจะถูกลดเกรดมาตลอดว่าเป็นทรัพย์สินทางเลือกที่มีความเสี่ยงในการลงทุน เฟดนิวยอร์กไม่ได้เปิดเผยรายชื่อลูกค้าว่ามีใครฝากทอง หรือปริมาณเท่าใด
แม้แต่แบงก์ชาติไทยก็ไม่ได้รายงานว่า มีการฝากทองกับเฟดนิวยอร์ก หรือที่ธนาคารกลางอังกฤษที่ลอนดอนในปริมาณเท่าใด ทั้งๆ ที่การถือครองทองคำมีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับการถือครองพันธบัตรดอลลาร์ของแบงก์ชาติไทยที่ถืออยู่ประมาณ $50,000-$60,000 ล้าน ซึ่งเป็นเผยได้
สรุปแล้ว เวลาได้ลุล่วงเกินไปนานแล้วสำหรับธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะนำเอาทองคำที่ฝากที่ต่างประเทศ ไม่ว่าจะที่ Federal Reserve Bank of New York หรือที่ Bank of England กลับมาที่ประเทศไทย เพราะว่า
1. ถ้าไม่รีบทวงทองคำ อาจจะไม่มีทองคำให้ถอน เพราะว่าถ้าเกิดแบงก์รัน ลูกค้าอื่นๆ ของ Fed New York หรือ Bank of England แห่ถอนหมดไปก่อน
2. ที่ผ่านมาผู้รับฝากอย่าง Fed New York และ Bank of England มีพฤติกรรมที่ไม่น่าไว้วางใจ เพราะว่าเวลาถูกทวงทองคำ เช่น เยอรมนี หรือเวเนซุเอลาจะถูกเตะถ่วงเวลา หรือถูกเบี้ยวไปเลยอย่างในกรณีของอังกฤษที่เบี้ยวทองเวเนซุเอลา 31 ตันไป คิดเป็นตัวเงิน $2,000 ล้าน
3. มีแนวโน้ม ไทยจะสมัครเป็นสมาชิกของบริกส์ที่มีแนวความคิด เอาทองคำมาหนุนหลังค่าเงิน เมื่อเป็นเช่นนี้จำเป็นที่ไทยต้องมีทองคำในมือเพื่อเอามาหนุนเงินบาท หรือเพิ่มการถือครองทองคำด้วยการขายดอลลาร์แลกทองคำ
4. สถานการณ์ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างสหรัฐฯ+ตะวันตก กับจีน และรัสเซียทำให้การถือครองทองคำปลอดภัย เพราะว่าไม่มี counterparty risk
5. สหรัฐฯ และอังกฤษอาจหาเรื่องไทย ยึดทองคำไทยก็ได้ ถ้าหากไทยมีการดำเนินนโยบายต่างประเทศที่ขัดกับผลประโยชน์ของตะวันตก
6. โครงสร้างระบบการเงินโลกต่อไป ทองคำหรือสินค้าโภคภัณฑ์ และเงินหยวนของจีนจะมีความมั่นคงที่สุด หรือมั่นคงกว่าดอลลาร์
7. แม้แต่กองทุนการเงินระหว่างประเทศยังยอมรับว่าเงิน CBDC ที่กำลังจะออกมา ต้องมีทองคำหนุนหลังถึงจะมีความน่าเชื่อถือ ส่วนเงินคริปโตอื่นๆ ที่ไม่มีทองคำหนุนหลังจะนับว่าเป็นสินทรัพย์เพื่อการเก็งกำไร