xs
xsm
sm
md
lg

บูรณาการภูมิปัญญากับวิทยาศาสตร์ยุคปัจจุบัน ต่อยอดเพื่อสร้างตำรับน้ำมันและน้ำมันหอมระเหยเพื่อรักษาโรค/ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ณ บ้านพระอาทิตย์
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

 ใน “รสยา” ของการแพทย์อายุรเวทอินเดีย ได้มี 6 รสยา ได้แก่ รสฝาด รสหวาน ขมเผ็ดร้อน เค็ม เปรี้ยว 

และ “รสยา” ไทยได้มีความละเอียดการเพิ่มรสยามากกว่าอินเดียอีก 3 รส ได้แก่  รสเมาเบื่อ รสมัน และรสหอมเย็น  จึงทำให้มีทั้งสิ้น 9 รสยา
และการที่การแพทย์แผนไทยได้มีวิวัฒนาการเพิ่มรสยามาอีก 3 รสยา คือ รสเมาเบื่อ รสมัน และรสหอมเย็น ย่อมแสดงให้เห็นว่าการแพทย์แผนไทยได้เห็นความสำคัญของรสยาเหล่านี้ว่ามีผลต่อสุขภาพที่ควรเพิ่มขึ้นมาจาก 6 รสยา

และการที่ “หอมเย็น” กลายเป็นอีกรสยาหนึ่งนั้น ย่อมแสดงให้เห็นถึงความสำคัญต่อ  “กลิ่น” ของเครื่องยาที่รับสัมผัสทางจมูก ที่มากกว่าการสัมผัสประสาทของลิ้นในรสยาจากการรับประทานอีกด้วย

แม้ว่ากลิ่นและน้ำมันหอมระเหยจะมีงานวิจัยมากขึ้นว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายมิติ แต่ความจริงแล้วเรื่องกลิ่น การหุงน้ำมัน และการใช้น้ำมันหอมระเหยนั้นเป็นภูมิปัญญาและกรรมวิธีของการแพทย์แผนไทยมานานแล้ว

โดยในปี 2563 ประกาศของสภาการแพทย์แผนไทย โดยอาศัยพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 ได้กำหนดกรรมวิธีทางการแพทย์แผนไทยสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย โดยรวมถึง ยาหุงยาประสมแล้วเอาแต่น้ามัน, ยาประสมแล้วห่อผ้าบรรจุลงในกลักเอาไว้ใช้ดม, ยาประสมแล้วใช้เป็นยาทา เป็นต้น[1]

นอกจากนั้นประกาศของสภาการแพทย์แผนไทยฉบับดังกล่าวข้างต้นนั้นยังเปิดโอกาสให้สามารถประยุกต์ใช้หลักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้ด้วย ซึ่งรวมถึง เครื่องมือสกัดจากสมุนไพร, เครื่องกลั่น เป็นต้น[1]

ยาหุงยาประสมแล้วเอาแต่น้ำมัน, ยาประสมแล้วห่อผ้าบรรจุลงในกลักเอาไว้ใช้ดม, ยาประสมแล้วใช้เป็นยาทา ได้ถูกยืนยันเป็นตำราการปรุงยาสมุนไพรตามกรรมวิธีทางการแพทย์แผนไทย ของสถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลอีกด้วย[2]

ในการแพทย์แผนไทย ยาหุงด้วยน้ำมัน เป็นการเตรียมยาที่ได้จากการหุงซึ่งเป็นกรรมวิธีการสกัดแบบโบราณที่เอาน้ำมันออกจากสมุนไพร โดยทำให้สุกด้วยวิธีต้มหรือเคี่ยว[2]

สมุนไพรที่นิยมนำมาสกัดจะเป็นพืชสมุนไพรประเภทหัวเหง้าที่มีน้ำมันหอมระเหยน้ำมันที่ได้จากการหุงจะนำไปใช้เป็นยาใช้ภายนอก เช่น แก้ปวดเมื่อยเรื้อรังได้ นอกจากนี้น้ำมันที่ได้จากการหุงจะใส่ในตำรับมีส่วนประกอบของขี้ผึ้ง เพื่อให้ยาน้ำมันแข็งและสามารถใช้ปิดแผลได้[2]

ในสมัยอยุธยา ได้ปรากฏคัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ หรือตำรายาโอสถพระนารายณ์กล่าวเอาไว้ในตำหนังน้ำมันหลายขนาน โดยมีตัวอย่างดังนี้

 น้ำมันขนานของแพทหลวงออกพระแพทยพงษา เป็นผู้ประกอบยาทูลเกล้าฯ ถวาย “น้ำมันองคสูตรอุปทม” ใช้แก้องคสูต (กลุ่มโรคที่ทำให้เกิดความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศชาย ทำให้มีปัสสาวะผิดปกติ ซึ่งน่าจะเกิดจากกามโรค[3]) แก้ริดสีดวงงอก ทวารหนัก ความว่า

“น้ำมันองคสูตอุปทม ให้เอา ใบสเดา เปลือกสเดา บรเพ็ด กะถินแดง เปลือกเพกาหญ้าตีนตุ๊ดตู่ ขอบชะนางแดง ใบคนทา ใบตรษ เปลือกตรษ ใบชุมเห็ด กระเทียมขมิ้นอ้อย ตำบิดเอาน้ำเสมอภาค สิ่งละจอก น้ำมันงาจอก ๑ น้ำมันยางอันใสกึ่งช้อนหอย หุงให้คงแต่น้ำมัน แล้วจึงเอาฝิ่น สีเสียดเทศ ครั่ง ลิ้นทเล ชาดหรคุณ มดยอบสารส้ม สิ่งละ ๒ สลึง บดปรุงลง เป่าบ้างทางบ้าง”[2],[3]

 “น้ำมันนวดพระเส้นอันทพฤก” ในคัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ บันทึกเอาไว้ความว่า

“น้ำมันขนานหนึ่งให้เอา ใบลำโพง ใบผักบุ้งขัน ใบขมิ้น และหัวขมิ้น ๔ สิ่งนี้ แต่ละสิ่ง เอาใส่ครกใหญ่ ตำเอาแต่น้ำให้ได้สิ่งละทะนาน แล้วประสมกับน้ำมะนาว ๓ทะนาน น้ำกระเทียม ๖ ทะนาน และน้ำมันงา ๑ ทะนาน ประสมกัน หุงให้คงแต่น้ำมันจากนั้นให้เอาฝิ่นหนักบาท ๑ บดปรุงลง นวดแก้เส้นอันทพฤก ในคุยหฐาน แลเส้นอันหดเปผผ้นเถาเปนขั้วฝักก็ดี ฟกแห่งใดๆ ก็ดี เอาน้ำมันนี้ทาแล้วเนืองๆ เส้นซึ่งพิรุธนั้นดีดังเก่าและฯ”[2],[3]


 “น้ำมันภาลาภิไตล” ในคัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ บันทึกเอาไว้ความว่า

“ให้เอารากขัดมอญ รากขี้เหล็ก รากปะคำไก่ รากปะคำดีควาย รากเลี่ยน รากรักขาว รากลำโพงทั้ง ๒ รากชุมเห็ด รากฝักส้มป่อย ขมิ้นอ้อย ขิง ข่า ยาทั้งนี้ควรต้มให้ต้ม ควรตำให้ตำ เอาน้ำสิ่งละทะนาน น้ำมันพรรณผักกาด น้ำมันพิมเสน น้ำมันละหุ่งน้ำมันงา สิ่งละทะนาน หุงให้คงแต่น้ำมัน แล้วเอาดีตะพาบน้ำ ดีงูเหลือม พริกหอมพริกหาง พริกล่อน ฝิ่น สิ่งละสลึง เทียนทั้ง ๕ สิ่งละบาท ๑ บท ปรุงลงในน้ำมันใน ๓วัน จึงทาและนวดพระเส้นอันทพฤกให้หย่อน แลฟกบวมเปนหน่วยแข็งอยู่นั้น ให้ละลายออกเปนปกติแลฯ”[2],[3]

 “น้ำมันมหาปะไลยกัลป์” ในคัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ บันทึกเอาไว้ความว่า

“ให้เอาลำพันแดง หว้านพระผนัง หว้านบุษราคำ หว้านไข่เหน้า หว้านฟันชน หว้านเปราะป่า หว้านพระกราบ รากเปล้าน้อย รากเปล้าใหญ่ สหัสคุณทั้ง ๒ สิ่งละ ๕ ตำลึง แก่นแสมทะเล เอื้องพิศม์ม้าสิ่งละ ๑๐ ตำลึง ใบตลอด ใบเสนียด สิ่งละชั่ง ๑ ยาทั้งนี้ควรต้มให้ต้ม ควรตำให้ตำ บิดเอาน้ำให้สิ้นเชิง น้ำมันงาทนาน ๑ หุง ให้คงแต่น้ำมันจึงเอาน้ำมันพิมเสน ๒ ทะนานใส่ลงเมื่อภายหลัง แล้วเอาพิมเสน ๒ สลึง ลูกจันทน์ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู สิ่งละบาท ๑ การบูร ๓ บาท ปรุงลง กวนให้สบกัน ทรงแก้เส้นอันทพฤก กล่อนลมให้มือเท้าตาย ง่อยเพลีย”[2],[3]

 นอกจากภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่ปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้วยังปรากฏองค์ความรู้เกี่ยวกับน้ำมันสกัด น้ำมันหอมระเหยที่มีผลต่อสุขาภาพมากขึ้นทุกวัน ซึ่งรวมถึงโรคยอดฮิตในปัจจุบัน ได้แก่ ภาวะเครียด โรคนอนไม่หลับ โรคไมเกรน โรคซึมเศร้า และโรควิตกกังวล

โดยน้ำมันหอมระเหย (Pure Essential Oil) เป็นน้ำมันที่สกัดได้จากส่วนต่างๆ ของพืช ได้แก่ ดอก ผล เปลือกผล เมล็ด ใบ ราก ลำต้นใต้ดิน เนื้อไม้ หรือเปลือกไม้ โดยพืชที่มีคุณสมบัติในการให้น้ำมันหอมระเหยมีหลากหลายวงศ์ โดยน้ำมันหอมระเหยส่วนใหญ่มีผลในการแต่งกลิ่นรส ฆ่าเชื้อโรค ใช้กระตุ้นหรือระงับอารมณ์และระงับการปวด

น้ำมันหอมระเหยสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ได้แก่ การสูดดม การซึมผ่านผิวหนังและการรับประทาน แต่ละชนิดมีฤทธิ์ต่อระบบต่างๆ ของร่างกายที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทและสรรพคุณของพืชชนิดนั้นๆ น้ำมันหอมระเหยจึงเป็นการแพทย์ทางเลือกแบบหนึ่งที่สามารถป้องกันและรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วยที่ไม่ร้ายแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจได้เป็นอย่างดี

น้ำมันหอมระเหยเมื่อเข้าสู่ร่างกายให้ผล 3 ด้าน คือ ในด้านผลทางเภสัชวิทยาจะมีผลต่อฮอร์โมนและเอนไซม์ อย่างไรก็ตามด้านผลทางสรีระวิทยา มีผลต่อระบบอวัยวะในร่างกาย ในขณะในด้านจิตวิทยาจะมีผลต่ออารมณ์

ตัวอย่างโมเลกุลของน้ำมันหอมระเหยบางชนิดยังสามารถกระตุ้นให้ทำให้สมองหลั่งสาร เอนดอร์ฟิน (Endorphins) ยังสามารถช่วยลดความเจ็บปวดและทำให้สบาย บางชนิดกระตุ้นทำให้สมองหลั่งสารเอนเซปฟาลีน (Encephaline)ทำให้อารมณ์ดี และเซโรโทนิน (Serotonin) ช่วยให้รู้สึกสงบ เยือกเย็น และผ่อนคลาย

ดังนั้นน้ำมันหอมระเหยจึงมีผลต่อทั้งร่างกายและจิตใจด้วย

น้ำมันหอมระเหยบางชนิดมีผลต่อการกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตและหัวใจ, บางชนิดมีผลต่อการผ่อนคลายและลดการอักเสบของกล้าเนื้อ, บางชนิดเล่นการเจริญเติบโตลดการอักเสบ และลดความเจ็บปวดต่อระบบโครงสร้างและข้อต่อ, บางชนิดมีผลต่อการคลายกล้ามเนื้อเรียบ ขับลม แก้อาเจียนในระบบย่อยอหาร, บางชนิดช่วยคลายกล้ามเนื้อเรียบ ขัดเสมหะ และฆ่าเชื้อโรคในระบบทางเดินหายใจ, และบางชนิดยังกระตุ้นระบบน้ำเหลือง ภูมิคุ้มกันร่างกาย, บางชนิดมีผลต่อการหลังฮอร์โมนระบบต่อมไร้ท่อ, บางชนิดมีผลต่อการหลั่งฮอร์โมนในระบบอวัยวะสืบพันธุ์และรวมถึงกระตุ้นหรือระงับระบบประสาท

ด้วยการที่น้ำมันหอมระเหยมีผลต่อร่างกายระบบประสาท ฮอร์โมน จึงมีผลต่อโรคนอนไม่หลับ เครียด ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ ไมเกรน และปวดประจำเดือนด้วย

อย่างไรก็ตามแม้ว่าน้ำมันหอมระเหยจะมีคุณประโยชน์มากมาย แต่หากใช้ผิดวิธีก็ย่อมก่อให้เกิดโทษได้ ดังนั้นผู้ใช้จึงควรศึกษารายละเอียดของน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิดก่อนนำมาใช้

ปัจจุบันองค์ความรู้การสกัดเกี่ยวกับน้ำมันหอมระเหยก็มีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับวิธีการสกัดและอุณหภูมิการสกัด มีความละเอียดของน้ำมันหอมระเหยซึ่งจะส่งผลทำให้ได้สารสำคัญที่แตกต่างกันด้วย

 “กลิ่น” ในน้ำมันหอมระเหย ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในรูป “สุคนธบำบัด” หรือที่เรียกว่า “Aromatherapy” เพื่อทำให้มีผลต่อสุขภาพทั้งทางจิตใจแลอารมณ์ที่แตกต่างกัน จึงเป็นที่นิยมมาใช้ในสถานบริการที่เรียกว่า สปา (Spa) 

นอกจากน้ำมันหอมระเหยแล้ว ยังมีอีกสารชนิดหนึ่งในน้ำมันหอมระเหยที่ได้รับความสนใจในวงการสุขภาพมากขึ้น คือ กลุ่มสารเทอร์พีน (terpene) เป็นไขมันที่ประกอบขึ้นจากหน่วยไอโซพรีน (Isoprene) ซึ่งมีคาร์บอน 5 อะตอม พบมากในน้ำมันหอมระเหยในพืชในพืช

 แม้สารกลุ่มเทอร์พีนแม้จะอยู่ในพืชหลายชนิด แต่ได้รับการกล่าวถึงมากในยุคนี้เมื่อพบว่าสารสกัดจากกัญชาหรือกัญชงเต็มส่วน ที่ทำงานร่วมกันนั้นได้ผลมากกว่าสารสกัดตัวใดตัวหนึ่งออกมาจากสารกลุ่มแคนนาบินอยด์  


ยิ่งไปกว่านั้นการทำงานของกลุ่มสารเต็มส่วนของพืชกัญชาหรือกัญชงเต็มส่วนต้องทำงานร่วมกันหลายกลุ่มจึงจะเกิดประสิทธิภาพในการรักษาโรค หรือดูแลสุขภาพได้ดีขึ้น คืน กลุ่มสารแคนนาบินอยด์เต็มส่วน กลุ่มสารเทอร์พีนที่ทำให้เกิดกลิ่นเต็มส่วน และกลุ่มสารฟลาโวนอยด์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

แต่เนื่องจากคนจำนวนหนึ่งได้มองข้ามสารเทอร์พีนไปในการสกัดกัญชา ทำให้กลิ่นหลายชนิดสูญหายไปในระหว่างสารสกัดกัญชา กัญชง ในขณะที่สาร CBD ในกัญชา และกัญชง ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอาการเมาซึ่งงานิวิจัยจำนวนมากได้รับการยอมรับในบทบาทในการรักษาโรคได้มากขึ้น ในขณะที่กลุ่มสารเทอร์พีนอีกหลายชนิดก็ไม่จำเป็นต้องสกัดออกมาจากกัญชา หรือกัญชงแต่เพียงอย่างเดียว

และเฉพาะเรื่อง CBD และเทอร์พีน และสารสกัดเต็มส่วนของกัญชาและกัญชง ก็ยังมีผลตามงานวิจัยในการบำบัดโรคโรคไมเกรน โรคนอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล และภาวะเครียด อีกด้วย

อย่างไรก็ตามการทำน้ำมันหอมระเหยด้วยเทคโนโลยีการสกัดในยุคปัจจุบันไม่มีปัญหาสำหรับการสกัดทั้งเต็มส่วน สกัดบางอย่างออกมา สกัดบางอย่างทิ้งออกไปสกัดเลือกสารเทอร์พีนที่สนใจ

หรือแม้แต่สามารถหาซื้อน้ำมันหอมระเหย เทอร์พีน หรือ CBD จากผู้ที่สกัดได้แล้วทั้งสิ้น

คงเหลือแต่ศิลปะใน “ภูมิปัญญา” และองค์ความรู้ใหม่จากวิจัยทางเภสัช ว่าจะสามารถบูรณาการได้อย่างไรให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์ สุขภาพ และเศรษฐกิจ

เพราะน้ำมันหอมระเหย เทอร์พีน และสาร CBD จากกลุ่มกัญชา มีความหลากหลายชนิด อยู่ที่ว่าจะเกิดการผสมผสานด้วยภูมิปัญญาและใช้ได้ผลจริงอย่างไร

สถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต จึงจัดทำหลักสูตรเชิงปฏิบัติการ เพื่อเรียน และฝึกสร้างผลิตภัณฑ์ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงในการบูรณาการน้ำมันหอมระเหย เทอร์พีน และ CBD ทางการแพทย์ เพื่อนำไปรักษาโรคอย่างตรงประเด็น 5 โรค ได้แก่ ภาวะเครียด โรคนอนไม่หลับ โรคไมเกรนโรคซึมเศร้า และโรควิตกกังวล

โดยสิ่งที่จะเรียนเพื่อนำไปสู่การต่อยอดทางธุรกิจ ได้แก่  “เทคนิค” ผสมผสานกัญชาเทอร์พีน และน้ำมันหอมระเหย เพื่อการบำบัดโรคจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง

 เรียนเพื่อที่จะสามารถ “คิดค้นสูตร” สร้างผลิตภัณฑ์ สำหรับบำบัด กลุ่มอาการเครียด นอนไม่หลับ ไมเกรน ซึมเศร้า วิตกกังวลได้

 เรียนเพื่อสามารถนำไปประกอบอาชีพและต่อยอดทางธุรกิจได้

 และสามารถนำมาบูรณาการใช้ในการรักษาทางคลินิก เวลล์เนส และ สปาได้

โดยคุณสมบัติผู้สมัครเรียนนั้น เน้นไปในทางผู้ประกอบการคลินิก โรงแรม เวลล์เนสสปา หรือผู้ที่ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ

โดยผู้เข้าอบรมจะได้รับ Set น้ำมันสำหรับปรุงตำรับยา (มูลค่ากว่า 15,000 บาท) ประกอบไปด้วย

1.น้ำมันหอมระเหย pure natural essential oil 100% จากทั่วโลกกว่า 15 ชนิด(sandalwood oil, Cedar wood oil, Cajuput oil , Lavender oil, Ylang ylang oil, Orange oil, Bergamot oil, Rosemary oil, Holy basil oil, Roman chamomile, Marjoram oil, Peppermint oil, Jasmine oil, Frankincense oil, Neroli oil)

2.ครีมเบส เจลเบส แอลกอฮอล์ (Food grade)

3.บรรจุภัณฑ์

โดยจะจัดฝึกอบรมที่มหาวิทยาลัยรังสิต เพียง 2 วันเท่านั้น ระหว่างวันที่ 8-9 กรกฎาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 9.00 น.-17.00 น. โดยค่าฝึกอบรมคิดราคาพิเศษในรุ่นนี้จาก 39,900 บาทต่อคน เหลือเพียง 25,900 บาทต่อคน โดยจะรับจำนวนจำกัดเท่านั้น (ใครสมัครโอนเงินก่อนได้สิทธิเรียนก่อน)

ปัจจุบันมีผู้ให้ความสนใจหลายท่านที่สมัครมาแล้ว แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดในหลักสูตรที่เรียนเชิงปฏิบัติการจนครบจำนวนแล้ว แต่ก็ยังรับได้อีกไม่กี่คนก่อนสิ้นเดือนมิถุนายน 2566

สนใจติดต่อได้ที่สถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต โทรศัพท์ 0619506666 หรือ 02977222 ถึง 30 ต่อ 3205

ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต

อ้างอิง

[1] ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสภาการแพทย์แผนไทย เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานและกรรมวิธีการแพทย์แผนไทยผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๕๖, วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๓, เล่ม๑๓๗ ตอนพิเศษ ๑๖๒ ง, หน้า ๒๗, ท้ายประกาศหน้า๑๘-๑๙ จาก ๔๒ หน้า https://dl.parliament.go.th/bitstream/handle/20.500.13072/565896/630715_27_162งพิเศษ.pdf?sequence=1

[2] ธเนศพล พันธ์เพ็ง, สุกก์สลิล บูรณะทรัพย์ขจร, สุวีรวรรณ ลิ้มสุวรรณ, การปรุงยาสมุนไพร ตามกรรมวิธีทางการแพทย์แผนไทย 28 วิธี, สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2564-กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2564, 268 หน้า ISBN: 978-616-8201-17-6

[3] ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต และวิเชียร จิรวงศ์, คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์ กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน); ๒๕๕๘ หน้า ๑๑๗-๑๓๘


กำลังโหลดความคิดเห็น