“สอดแนมการเมือง”
“ชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย”
“ในหลวงรัชกาลที่9” ทรงสร้าง “ความคิด” ผสาน “การทำ” ทั้งเก่าและใหม่อยู่เสมอ..!
“คนธรรมดาสามัญ” ยากจนหรือร่ำรวย อีกทั้ง “ข้าราชการ” กับ “นักการเมือง” รวมทั้ง “รัฐมนตรี” กับ “นายกรัฐมนตรี” สามารถนำไปใช้ได้โดยตรงหรือปรับให้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ในความรับผิดชอบตรงหน้าได้เลย..จริงไหม?
อ้อ..แต่น่าเสียดายที่อดีตนายกฯ “บิ๊กเหลี่ยม” กับนายกฯ ปัจจุบัน “บิ๊กตู่” นั้น “ปาก” ได้แต่พร่ำพูดโกหกอยู่เสมอว่า จะเดินตามรอยพระบาท “ในหลวงรัชกาลที่ 9” แต่ “ผู้นำชาติทั้งคู่” ยามมีอำนาจในกำมือ กลับมิได้กระทำอย่างจริงจังตาม “พระราชดำรัส” และ “พระบรมราโชบาย”?
โดยเฉพาะ “นายกฯ ตู่” รู้อยู่แก่ใจว่า ชาติกับชาวไทยต้องการให้ “แก้ต้นเหตุปัญหา” อันเลวร้ายในมิติหลักๆโดยด่วนที่สุด เช่น การปราบปรามขบวนการโกงชาติ! การลดความเหลื่อมล้ำให้กับคนในสังคมไทย! การ “ปฏิรูปชาติ” ในเรื่องชี้เป็นชี้ตาย ต่อความเจริญก้าวหน้าของชาติด้านต่างๆ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้กินดีอยู่ดีของประชาชนส่วนใหญ่ในชาติ ฯลฯ
ทว่า..ดูเหมือน “เหลี่ยม-ตู่” มิได้ใยดี ด้วยมุ่งทำแต่เรื่อง “อำนาจตนเอง” กับพรรคพวกได้ยึดครองอำนาจรัฐ เพื่อแสวงหากับกอบโกยผลประโยชน์ ให้ตนเองกับพวกพ้องเป็นหลัก โดยมิได้ทำให้”คำสอน” ของ “ในหลวงรัชกาลที่ 9” เลย ดังในโอกาสเฉลิมพรชนมพรรษา ปี 2518 ทรงดำรัสถึงสิ่งพระองค์ทรงปรารถนา ให้เกิดแก่พสกนิกรโดยเปรียบสิ่งนั้นเป็นดั่ง “ของขวัญ” สำหรับพระองค์เช่นกัน นั่นคือ
“..ฉะนั้น ทุกคนที่ทำตามหน้าที่ตามอาชีพของตน หรือตามหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ อย่างเสียสละ เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีนั้น ก็เป็นสิ่งสร้างเสริมความดีแก่ประเทศชาติในตัว”
“..งานที่เอื้อเฟื้อคนอื่น งานที่สร้างสรรค์คิดค้นอะไรที่จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมได้ จะโดยตรงหรือโดยอ้อมนั้นก็เป็นสิ่งสมควรที่จะทำ ไม่ทำให้งานประจำนั้นเสียไป ตรงข้ามส่งเสริมให้งานที่ทำโดยประจำให้ดีขึ้นและไม่เสีย แรงงานของตน ส่งเสริมให้อยู่ดีกินดีขึ้น และทำให้มีจิตใจเป็นส่วนรวม จิตใจที่สามัคคีขึ้น” ลงท้ายพระองค์จึงทรงสรุปเอาไว้
“อันนี้สิเป็นสิ่งที่เท่ากับเป็นของขวัญที่นำมาให้อีกประการหนึ่ง..”
หลังจากนั้น “ในหลวงรัชกาลที่ 9” ยังเผยพระราชดำรัส ให้ “ชวนคิด” กับพึงนำไป “กระทำ” นั่นคือ
“..การปฏิบัติเป็นกลางนี้อาจน้อมนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างดีที่สุด ในการปฏิบัติทั้งปวง ทั้งงานที่เป็นภาระทางโลก ทั้งงานที่เป็นการค้นหาความจริงในทางธรรม ถ้าบุคคลระมัดระวังรตั้งใจปฏิบัติให้เป็นกลางโดยใช้กำลังกาย กำลังใจ แอละกำลังความเพียรให้พอเหมาะกับงาน และกระทำโดยถูกต้องเที่ยงตรงพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ ไม่ให้เจือปนด้วยอคติทั้งสามประการแล้ว บุคคลก็จะได้รับแต่ผลสำเร็จอันเลิศ ซึ่งประกอบด้วยความสงบ สะอาด และสว่าง”
ทั้งนี้ “พระองค์” ยังทรงขยายความ “สงบ-สะอาด-สว่าง” ไว้ให้อีกหลายถ้อยประโยคดังต่อไปนี้ นั่นคือ
“ที่ว่าสว่างนั้น คือมีปัญญารู้เหตุรู้ผล รู้ผิดชอบชั่วดีโดยกระจ่างชัด เพราะมีใจเป็นอิสระพ้นอำนาจครอบงำของอคติ” กับ “ที่ว่าสะอาดนั้นคือไม่มีความทุกข์จริงๆ ทั้งในกายวาจาใจมาเกลือกกลั้ว เพราะเห็นจริงชัดในกุศลและอกุศล” และ “ที่ว่าสงบนั้น คือเมื่อไม่ประพฤติทุจริตทุกๆทางแล้ว ความเดือดร้อนวุ่นวายจากบาปทุจริตก็ไม่เข้ามาแผ้วพาล” รวมทั้ง “คนที่ประพฤติปฏิบัติตนปฏิบัติงานเป็นสายกลาง จึงประสบความสุขความร่มเย็นแต่ฝ่ายเดียว..”
“บ้านยังมีเสา-คนต้องมีหลัก” ดังนั้น “ในหลวงรัชกาลที่ 9” จึงทรงพระราชทานหลักในการดำเนินชีวิต ให้แก่คนไทยเพื่อความสำเร็จดีงาม โดยมีหลักใหญ่ใจความที่ความซื่อสัตย์สุจริต โดยพระองค์ทรงอธิบายความหมายของคำว่า “สุจริต” ไว้ว่า..
“..คำว่าสุจริตนี้ก็มาจากคำว่าการท่องเที่ยวของจิตใจทางที่ดีหรือคิดให้ดี คิดให้สุจริต ทั้งฉลาดด้วย ทั้งไม่เบียดบังผู้อื่น หรือการงานของตัวเอง ทั้งไม่เบียดเบียนส่วนรวมด้วย จึงจะเป็นผู้สุจริต..”
อืม..แนว “ทางสายกลาง” ที่ “พระองค์” ทรงชี้แนะนั้น ต้องไม่ลืมพิจารณาถึงความเหมาะสม พอดี พอควร ในทุกเรื่อง ที่สำคัญต้องก่อประโยชน์สุขอันยั่งยืนอีกด้วย รวมทั้ง “พระองค์” ยังทรงแนะแนวทาง “งานจะสำเร็จลุล่วง” ด้วยดีไว้อีกด้วยว่า
“..ประการสำคัญต้องพยายามใช้ความคิด ความเฉลียวฉลาด ปรับปรุงตัวปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพเสมอ พร้อมทั้งพยายามประสานงานประสานประโยชน์กับทุกคนและทุกฝ่ายที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องด้วย โดยสอดคล้องทั่วถึง งานจึงจะสัมฤทธิ์ผลเป็นประโยชน์ที่พึงประสงค์ คือ เป็นประโยชน์แก่งาน แก่ตัวผู้ปฏิบัติ และแก่ส่วนรวมพร้อมทุกส่วน..” ทั้งนี้รวมทั้งรายละเอียดที่ว่า..
“..เมื่อเวลาออกไปประกอบอาชีพการงานแล้ว จุดหมายสำคัญจะอยู่ที่ตัวงานและผลสำเร็จของงานวิชาการนั้น ต้องถือเป็นปัจจัยหรืออุปกรณ์สำหรับที่จะใช้ปฏิบัติ แต่ละคนจึงควรจะเข้าใขให้ชัดว่า การที่ท่านได้อุตสาหะศึกษาวิชาการต่างๆ มาเป็นอันมากตลอดตลอดเวลาแรมปีนั้น แท้จริงคือการสะสมรวบรวมอุปกรณ์ และสร้างความชำนิชำนาญในการใช้อุปกรณ์นานาชนิดนั้นๆ ..และเมื่อจะนำอุปกรณ์ต่างๆออกใช้ ก็จำเป็นจะต้องเลือกสรรก่อนเสมอไปด้วย คือต้องพิจารณานำเอาแต่ละส่วนที่ถูกต้องเหมาะสมแก่งานนั้นๆมาใช้ ไม่ใช่นำมาใช้พร้อมกันทั้งหมดทั้งดุ้น จะกลายเป็นทาสของวิชาการ งานจะไม่สำเร็จ..”
ว้าว! “ในหลวงรัชกาลที่ 9” ทรง “คิดค้น” ถึงรายละเอียดเพื่อนำไปสู่ “การปฏิบัติ” ทว่า..เท่านั้นยังไม่พอเพราะ “พระองค์” ยังทรงมีวิสัยทัศน์ สร้างสรรค์ขยายความต่อไปด้วยเหตุผลไว้ว่า..
“..แม้ทุกคนจะออกไปประกอบอาชีพการงานแล้ว ก็ยังมีหน้าที่ที่จะต้องศึกษาเพิ่มเติมอีก เพราะวิทยาการในโลกมีมากมาย ทั้งยังคลี่คลายพัฒนาต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย ที่สำคัญที่สุด ก็คือวิทยาการทั้งหลายนั้นมีส่วนที่สัมพันธ์และประกอบส่งเสริมกันทั่วทุกสาขา ผู้มีวิชาการอย่างหนึ่ง จำเป็นต้องทราบถึงวิชาอิย่างอื่นด้วย,,”
“..ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับเพิ่มขึ้นนั้น ถือเป็นหลักวิชาการอันแน่นหนาแม่นยำที่เกิดขึ้นจากการทำงาน และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปฏิบัติงานก้าวหน้ายิ่งขึ้นได้ไม่มีจำกัด ..ประสบการณ์นั้นก็จะเป็นประโชน์ส่งเสริมให้เป็นผู้มีความสามารถ มีความชำนาญจัดเจนเป็นพิเศษ ซึ่งจะช่วยให้ประสบลความสำเร็จความเจริญก้าวหน้าในการงานสูงขึ้น..”
การศึกษาหาความรู้ใส่ตนนั้น ถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ “ในหลวงรัชกาลที่ 9” ทรงให้แนวทางไว้อีกว่า
“..ความรู้นั้นสำคัญยิ่งใหญ่ เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดความฉลาดสามารถ และเจริญก้าวหน้า มนุษย์จึงใฝ่ศึกษากันอย่างไม่รู้จบสิ้น แต่เมื่อพิเคราะห์ดูแล้ว การเรียนความรู้แม้มากมายเพียงใด บางทีก็ไม่ช่วยให้ฉลาดหรือเจริญได้เท่าไหร่นัก ถ้าหากเรียนไม่ถูกถ้วน ไม่รู้จริงแท้ การศึกษาหาความรู้จึงสำคัญตรงที่ว่า ต้องศึกษาเพื่อให้เกิด ความฉลาดรู้ คือรู้แล้ว สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงๆ โดยไม่เป็นพิษเป็นโทษ”
“การศึกษาเพื่อความฉลาดรู้ มีข้อปฏิบัติที่น่าจะยึดเป็นหลักอย่างน้อยสองประการ ประการแรกเมื่อจะศึกษาสิ่งใดเรื่องใดให้รู้จริง ควรจะได้ศึกษาให้ตลอด ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุม ไม่ใช่เรียนรู้แต่เพียงบางส่วนบางตอน หรือเพ่งเล็งเฉพาะแค่เพียงแค่บางแง่บางมุม อีกประการหนึ่ง ซึ่งต้องปฏิบัติประกอบพร้อมกันไปด้วยเสมอ
คือต้องพิจารณาศึกษาเรื่องนั้นๆ ด้วยความคิดจิตใจที่ตั้งมั่นเป็นปรกติ และเที่ยงตรงเป็นกลาง ไม่ยอมให้รู้เห็นและเข้าใจตามอำนาจความเหนี่ยวนำของอคติ ไม่ว่าจะเป็นอคติฝ่ายชอบหรือฝ่ายชัง มิฉะนั้นความรู้ที่เกิดขึ้นจะไม่เป็นความรู้แท้ หากแต่เป็นความรู้ที่ถูกอำพราง หรือที่คลาดเคลื่อนวิปริตรไปต่างๆ จะนำไปใช้เป็นประโยชน์จริงๆ โดยปราศจากโทษไม่ได้..”
อืม..นั่นเป็นเพียงส่วนน้อยของความล้ำค่า ที่ “ในหลวงรัชกาลที่9” ทรงพระราชทานให้ แต่ผู้มีอำนาจในอดีตนายกฯ อย่าง “บิ๊กเหลี่ยม” กับนายกฯ ปัจจุบัน “บิ๊กตู่” ไม่รู้และไม่ปฏิบัติ ตาม “พระราชดำรัส” และ “พระบรมราโชบาย” เพราะมุ่งทำแต่เรื่อง “อำนาจ-เงินทอง-ผลประโยชน์” จึงมิอาจเป็น “วีรบุรุษชาติ” เพราะเป็นได้ แค่ “โมฆะบุรุษชาติ” เท่านั้นว่ะ..
เฮ้อ..ผลงานของ “ตู่-เหลี่ยม” นั้น..จึงเกิดเรื่อง “ควรทำ-ดันไม่ทำ” แต่เรื่อง “ไม่ควรทำ-เสือกทำ..!!!