xs
xsm
sm
md
lg

“นักการเมือง” ต้องทำเพื่อ “ชาติ-ประชา”? (ตอนห้า) โชคดี..ที่ไทยมี “พระเจ้าอยู่หัว ร.9”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“สอดแนมการเมือง”
“ชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย”

“ในหลวงรัชกาลที่ 9” ทรงมอบความรู้อันประเสริฐหลายหลากมิติ ให้แก่ “ปวงชนชาวไทย” ตลอดรัชสมัยของพระองค์!

ทว่า.. “นักการเมือง” ทั้ง “เหลี่ยม-ตู่” ไม่ได้น้อมนำ “พระราชดำรัส” กับ “พระบรมราโชบาย” ของ “ในหลวงรัชกาลที่ 9” ใส่เกล้ามาปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชาติกับประชาชนอย่างจริงจัง ซ้ำร้าย! “ผู้นำชาติทั้งคู่” กลับทำตรงข้ามเสียอีก!

โดย “เหลี่ยม-ตระบัดสัตย์” ทำแต่เรื่อง “รวยแล้วยังโกงชาติ” มิรู้จักพอ! ส่วน “ตู่-ตระบัดสัตย์” ตลอดเวลาที่บริหารชาติ โดยไม่ “ปฏิรูปชาติก่อนเลือกตั้ง” ฯลฯ

จึงถือได้ว่า “เหลี่ยม-ตู่” ทำลาย “ตัวเอง” ด้วยไร้ผลงาน “แก้ต้นเหตุปัญหาสำคัญ” ของชาติกับประชาชน.. จริงไหม?

“นายกฯ ตู่” ควรดู “ดาราตู่” เป็นแบบอย่าง “ตู่-นพพล โกมารชุน” เผยว่า ปลื้มใจที่สุด ที่เคยถวายงานต่อหน้าพระพักตร์ “ในหลวงรัชกาลที่ 9” และได้ยึดมั่นในพระราชดำรัส “จงทำตัวเป็นน้ำครึ่งแก้วตลอดชีวิต” ในการดำเนินชีวิต

“ดาราตู่” ได้ขยายความว่า “น้ำครึ่งแก้วหมายความว่า แก้วนี้สามารถเติมได้ เติมความรู้ เติมประสบการณ์ให้กับชีวิต เพื่อจะไปพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้า”
หันมามอง “นายกฯ ตู่” กั“อดีตนายกฯ เหลี่ยม” ทำตัวเป็น “น้ำล้นแก้ว” ตลอดเวลา รู้ทุกเรื่อง เก่งทุกเรื่องถูกทุกเรื่อง ฯลฯ ทำให้ชีวิต “ผู้นำชาติทั้งคู่” กลายเป็น “โมฆะบุรุษ”ไปโดยปริยาย..

อีกหนึ่ง “พระราชดำรัส” ของ “ในหลวงรัชกาลที่ 9” ตรัสถึง “มนุษย์มากความรู้” แต่ “ด้อยความดี”..

“หากบุคคลใดมีความรู้สูง แต่ขาด‘หิริโอตัปปะ’ คือไม่มีความละอายต่อบาป นำความรู้นั้นไปใช้ในทางมิชอบ ก็ทำให้สังคมเดือดร้อน”

“มนุษย์มากความรู้” ทว่า “เห็นแก่ตัว” เก่งเรื่องเอาเปรียบคนอื่น แถมเก่งฉกาจเรื่อง “โกงชาติ” กอบโกยแต่ผลประโยชน์ ให้ “ตัวเอง” กับพรรคพวก เป็นภัยร้ายแรงต่อความมั่นคงของชาติกับประชาชน!

อีกมิติหนึ่งของพระราชดำรัส “ในหลวงรัชกาลที่9” ด้วยพระองค์ทรงโปรดการเล่นกีฬาหลากชนิด ตั้งแต่ประทับอยู่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เช่น สกีน้ำแข็ง, ว่ายน้ำ, ยิงปืน, กอล์ฟ, การแข่งขันรถเล็ก, เทนนิส, แบดมินตัน, เครื่องร่อน, เรือกรรเชียง, เรือพาย, เรือใบ ฯ ทรงมีพระราชดำรัสแก่ “นักกีฬาไทย” ในโอกาสต่างๆ เช่น

“..กีฬามีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับชีวิตของแต่ละคน และชีวิตของบ้านเมือง..”

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทานในวันเปิดการแข่งขันกรีฑานักเรียนประจำปี ครั้งที่ 6 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน 7 ธันวาคม 2514 ดังความตอนหนึ่งไว้ว่า

“..จุดประสงค์ของการกีฬา ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เป็นการฝึกให้บุคคลและคณะ มีความเข้มแข็งสามัคคี เพื่อให้แต่ละคนมีความแข็งแรงทั้งในทางกาย ทางจิตใจ เป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้นำเกียรติมาสู่ประเทศ ได้เกียรติทั้งในความสามารถ ความแข็งแรง น่าเกรงขามของประชากรในแต่ละประเทศ”

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทานในพิธีเปิด การแข่งขันกรีฑาประจำปี 2507 ณ กรีฑาสถานแห่งชาติ กรมพลศึกษา 27 พฤศจิกายน 2507 ความว่า..

“การกีฬานั้น นอกจากจะให้ความสนุกสนานและความสมบูรณ์แล้ว ยังให้ผลดีทางจิตใจได้อย่างมากมาย นักกีฬาที่ได้รับการฝึกหัดอบรมอย่างดีแล้ว ย่อมมีใจแน่วแน่ ตัดสินใจได้รวดเร็ว มีความเพียรพยายามไม่ท้อถอย และมีความหนักแน่น รู้จักแพ้ รู้จักชนะ รู้จักให้อภัย ผู้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา จึงเป็นผู้มีประโยชน์ต่อสังคม และน่าคบหาสมาคมด้วยอย่างยิ่ง”
“กีฬา” ย่อม “แพ้-ชนะ” กันได้ ไร้อาฆาตแค้น!
ทว่า.. “ตู่-เหลี่ยม” มิได้คิดว่าการเมืองเป็นเช่นกีฬา เฉกเช่นเดียวกับนักการเมืองทั่วไป ที่ไร้ “น้ำใจนักกีฬา” มักถือการเมือง “แพ้” ไม่ได้ มีเดิมพันเป็น “อำนาจ-เงินทอง-ทรัพย์สิน”มากมายมหาศาล ในขณะที่ “เลือกตั้งไทย” ไร้ “การปฏิรูป” การเลือกตั้งจึงยังสกปรกโสมม ทั้งซื้อเสียงกับโกงสารพัด การเมืองไทยจึง “ถอยหลังลงคลอง” อย่างที่เป็นอยู่..
“ผู้มีความสุข ความเจริญรุ่งเรือง ย่อมต้องคิดถึงอยู่เสมอว่า วันหน้าอาจเกิดเคราะห์ร้ายบ้างก็ได้ น่าเป็นห่วงอยู่ แต่ถ้าสร้างความดีไว้ ก็เชื่อได้แน่ว่า จะมีผู้มาช่วยบ้าง”
พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทานแก่คณะกรรมการจัดการแข่งขันฟุตบอลและรักบี้ฟุตบอล ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดารโหฐาน 24 ธันวาคม 2511
ขอเผยแผ่ “พระราชดำรัส” ขอ ง“ในหลวงรัชกาลที่ 9” องค์นี้ หวังกระตุกจิตสำนึก “นักการเมืองไทย” ที่จะเข้ามาบริหารชาติหลังเลือกตั้งปี 2566 ให้เร่งสำเหนียกถึงวิกฤตการณ์โลก ที่มีโอกาสจะบานปลาย ส่งอันตรายหลายด้านมาสู่สังคมไทย จากเรื่อง “ยูเครน-รัสเซีย-มะกัน-ยุโรป” ฯลฯ อีกทั้งเรื่อง “ไต้หวัน” ที่ “อินทรีมะกัน-มังกรจีน” ปะทะกันด้วย “สงครามน้ำลาย” ซึ่งอาจแปรเปลี่ยนเป็น “สงครามอาวุธ” เมื่อใดก็ได้..จริงไหม?
อีกหนึ่งเรื่องอันตรายในสังคมไทย ที่ “ในหลวงรัชกาลที่ 9” มิได้ทรงละเลยต่อปัญหาของ “บุหรี่” โดยพระองค์ทรงเผยความจริงไว้ดังนี้..

“..เห็นเขาสูบบุหรี่ ก็เลยสูบตั้งแต่นั้นมา สูบบุหรี่มาจนกระทั่งทีหลังมันมีอาการหัวใจ หมอก็บอกให้เลิกสูบบุหรี่ ก็ไม่เชื่อหมอ ก็ยังอาการหัวใจต่อ จนกระทั่งหลังๆ มีบุหรี่อยู่ในห้องไม่ไหว วางไว้บนโต๊ะ ยังมีอยู่ในนั้นในซองบุหรี่มีสัก 10 มวน วางเอาไว้ไม่แตะเลย เพราะว่าบอกให้เลิก เราก็เลิกทีละมวน ทีหลังเอ้ามี 2 มวน ทำไปทำมา เราก็เอาหนังสือราชการนั้น มาวางทับถุงบุหรี่ก็อยู่ใต้หนังสือราชการ ไม่รู้เดี๋ยวนี้รู้เขาคงขุดไปทิ้งหมดแล้ว แต่อยู่ใต้ที่ตั้งหนังสือนี่เข้าใจว่าประมาณปีหนึ่งไม่ได้แตะ”

ความอีกตอนหนึ่ง ทรงมีพระอารมณ์ขัน ว่า..

“..รู้ว่าสูบบุหรี่ไม่ได้ประโยชน์ แต่เดี๋ยวนี้เด็กๆเ ล็กๆ มีการสูบบุหรี่มากขึ้นกว่าแต่ก่อน.. เห็นมีการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ แล้วก็ห้ามขายบุหรี่ แก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ที่จริงเด็กอายุ 50 ก็ควรจะห้าม”
พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา มีพระราชดำรัสในเรื่อง“ในหลวง ร.9”เคยสูบพระโอสถมวน(บุหรี่)แต่ทรงเลิกได้ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2547

“..การทำนุบำรุงบ้านเมืองนั้น เป็นงานส่วนรวมของคนทั้งชาติ จึงเป็นธรรมดาอยู่เอง ที่จะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นบ้าง จะให้ทุกคนทุกฝ่ายมีความคิดเห็น สอดคล้องต้องกันตลอดทุกๆเรื่องไป ย่อมเป็นการผิดวิสัย เพราะฉะนั้นแต่ละฝ่าย แต่ละคน จะคำนึงถึงจุดประสงค์ร่วมกัน คือความเจริญไพบูลย์ของชาติ เป็นข้อใหญ่..”

พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทยในโอกาสขึ้นปีใหม่ วันที่ 31 ธันวาคม 2535

ยุค “เหลี่ยม-ตู่” เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีแต่เรื่องปั่นป่วนวุ่นวาย เพราะ“ สองผู้นำชาติ” กลายเป็นตัวการของต้นเหตุปัญหาชาติกับประชาชน ทำลายความสามัคคีของคนในชาติ สังคมไทยขัดแย้งแตกแยกไม่หยุดยั้ง..

เรื่อง“ ปิดทองหน้าพระ” กับ “ปิดทองหลังพระ” เป็นอีกเรื่องที่ “คนไทย” มักถกกัน “ในหลวงรัชกาลที่ 9” ทรงมีพระราชดำรัสดังนี้..

“การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิด ว่าที่จริงแล้ว คนโดยมากไม่ชอบปิดทองหลังพระกันนัก เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้”

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 24 กรกฎาคม 2506

“..ข้าพเจ้าเป็นกษัตริย์..แต่หน้าที่ของข้าพเจ้า ไม่ใช่หน้าที่ของกษัตริย์ ..เป็นสิ่งยากที่จะระบุ.. ข้าพเจ้าเพียงแค่ทำสิ่งต่างๆ ที่ข้าพเจ้าคิดว่า จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย”

พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทานแก่ BBC

ด้วยผลงานทรงคุณค่า “ในหลวงรัชกาลที่ 9” จึงทรงได้รับการยกย่อง เป็น “พระมหากษัตริย์” ที่อยู่เหนือ “พระมหากษัตริย์” หลายองค์กรรวมถึง “องค์การสหประชาชาติ” ได้น้อมเกล้าถวาย “รางวัลระดับโลก”ฯ
ชาติกับประชาชนไทย “โชคดี” ยิ่ง.. ที่มี “พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9”!


กำลังโหลดความคิดเห็น