xs
xsm
sm
md
lg

ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ตอนที่ ๒๘ : จากทรัพย์สินพระมหากษัตริย์สู่ที่ดินพระราชทานในรัชกาลที่ ๑๐ พระราชมรดกแห่งสัจจะและกตัญญุตาธรรม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล (Citizen data sciences)
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์


สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ต้องแก้ พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ๒๔๙๑ ในปี ๒๕๖๐ โดยรวมทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งเคยจัดประเภทแยกไว้ออกจากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และทรัพย์สินส่วนพระองค์ ให้รวมทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินมาเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ตาม พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ๒๕๖๐ นั้นมีเหตุผลสองประการ

ประการแรก นิยามที่ไม่ชัดเจนของทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ใช้คำว่า ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เช่น พระราชวัง ไม่มีการให้คำนิยาม แต่เป็นการยกตัวอย่าง ซึ่งในทางวิชาการด้านนิติศาสตร์น่าจะถือว่ามีความอ่อนด้อย เพราะทำให้แบ่งแยกแยกออกจากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ยากมาก

ประการที่สอง พระราชวังเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ของพระบรมราชจักรีวงศ์ และพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องการพระราชทานที่ดินพระราชวังให้หน่วยราชการได้ ตามที่มีหน่วยราชการได้เข้าไปใช้พื้นที่ดังกล่าวมายาวนาน

ได้พระราชทานที่ดินบางส่วนของพระราชวังดุสิตให้กับหกหน่วยราชการดังนี้

หนึ่ง โรงเรียนราชวินิต มัธยม กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน ๖ ไร่ ๓ งาน ๒๒ ตารางวา
สอง โรงเรียนราชวินิต กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน ๑๐ ไร่ ๒ งาน ๖๕.๗๐ ตารางวา
สาม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน ๖๐ ไร่ ๑ งาน ๘๐ ตารางวา
สี่ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำนวน ๓๗ ไร่ ๑ งาน ๑๐ ตารางวา
ห้า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ๑๔ ไร่ ๑ งาน ๗๑.๗๐ ตารางวา
หก กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ๙ ไร่ ๓ งาน ๙๒.๓๐ ตารางวา

######################

รวมแล้วกว่าร้อยไร่ ที่ดินพระราชทานนี้ เป็นส่วนหนึ่งของสวนดุสิตในอดีต หรือพระราชวังดุสิตในปัจจุบัน ที่เกิดขึ้นจากพระวิสัยทัศน์ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการขยายพื้นที่พระนคร ทางทิศเหนือ นอกแนวเขตเมืองเดิม คือคลองผดุงกรุงเกษม เป็นการชี้นำให้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการผู้ใหญ่ และประชาชน ขยับขยายย้ายที่อยู่อาศัย จากภายในพระนครที่แออัด ไปอยู่พื้นที่นอกพระนคร โดยเริ่มด้วยการสร้างที่ประทับ นอกพระบรมมหาราชวัง สำหรับผ่อนคลาย พระราชอิริยาบถ


...ฉันคิดจะทำบ้านเปนที่ไปเที่ยวเล่น ได้กะตกลงใจว่าจะซื้อที่ ตั้งแต่บ้านประวิตรไปจนถึงคลองสามเสน ตั้งแต่ถนนสามเสน ยืนขึ้นไปจนถึงทางรถไฟ ได้มอบให้กรมหมื่นมหิศรแลกรมหมื่นสรรพสารทเปนผู้จัดซื้อแลวางแปลน มีความประสงค์อยากจะใคร่ ให้ได้เร็วๆ ด้วยไม่มีที่เดินเหิรเที่ยวเล่น สังเกตได้ว่าเมื่ออยู่บางปอินสบาย เพราะได้เดินทุกวัน ครั้นกลับลงมานี่ ก็ไม่ใคร่สบายขึ้นทุกวัน...


ด้วยแนวคิด จะสร้าง บ้าน สำหรับไปเที่ยวเล่น ทำให้ตัดสินพระทัยซื้อที่ดิน แทนการเวนคืนหรือเรียกคืนตามกฎหมายที่ดิน ในสมัยนั้น ได้นำมาซึ่งความวุ่นวาย ทั้งเรื่องการครอบครองที่ดิน ขอบเขตที่ดิน ราคาซื้อขายที่ดิน และอื่นๆ ได้นำมาซึ่งการโต้แย้ง ทะเลาะวิวาท ไปจนถึงการฟ้องร้อง และปัญหาคนในบังคับชาติอื่นร้องทุกข์

ที่มา: บัณฑิต จุลาสัย และรัชดา โชติพานิช หน่วยวิจัยแผนที่ ภาพถ่ายและเอกสารประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



######################

ที่มา : https://www.facebook.com/rachada.chotipanich.1/posts/1661809983989797
วังปารุสกวัน อันเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังดุสิต พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินให้กับสามหน่วยงานดังนี้

พระตำหนักจิตรลดา วังปารุสกวัน: ที่มาของรูป Wikipedia
โฉนดที่ดิน วังปารุสก์ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน 1.5 ตารางวา เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำงานของกองบัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์, สำนักข่าวกรองแห่งชาติ รับพระราชทานโฉนดที่ดิน วังปารุสก์ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 9 ไร่ 26.5 ตารางวา เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำงานของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ, กองบัญชาการตำรวจนครบาล รับพระราชทานโฉนดที่ดิน วังปารุสก์ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 19 ไร่ 2 งาน 52 ตารางวา เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำงานของกองบัญชาการตำรวจนครบาล

พระราชวังสนามจันทร์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นเพื่อทรงมาซ้อมรบเสือป่าและการทรงสักการะพระปฐมเจดีย์

บางส่วนของที่ดินพระราชวังสนามจันทร์ในปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้กระทรวงมหาดไทย เนื้อที่ ๑๔๘ ไร่ ๒ งาน ๘๘.๘ ตารางวา เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำงานของกระทรวงมหาดไทย และพิพิธภัณฑ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และบางส่วนของพระราชวังสนามจันทร์ได้ใช้เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์อีกด้วย

อนุสาวรีย์ย่าเหล หน้าพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ ที่มาของรูป : เว็บไซต์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
พระรามราชนิเวศน์หรือวังบ้านปืน อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและต่อเนื่องมาแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวกองบัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๑๕ รับพระราชทานโฉนดที่ดิน พระรามราชนิเวศน์ (วังบ้านปืน) อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่ ๒๑ ไร่ ๑ งาน ๔๘.๕ ตารางวา เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำงานของกองบัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๑๕ และพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ของชาติ และศิลปะจังหวัดเพชรบุรี, และต่อมาพลตรี ประยุกต์ อุ่นอบ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบก ที่ ๑๕ ได้เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานโฉนดที่ดิน เนื้อที่ ๑๗๓ ไร่ ๔๐.๘๐ ตารางวา เพื่อประโยชน์ในทางราชการของมณฑลทหารบก ที่ ๑๕ พระรามราชนิเวศน์ (วังบ้านปืน) จังหวัดเพชรบุรี เพิ่มเติมจากที่ได้พระราชทานเมื่อปี ๒๕๖๐

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหน้าพระรามราชนิเวศน์ : ที่มาของรูป Wikipedia
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ตั้งอยู่ริมชายหาดทะเล อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สำหรับแปรพระราชฐาน สร้างด้วยไม้สักทองยกพื้นสูง เสาแต่ละต้นมีการหล่อน้ำเพื่อป้องกันมดและแมลง

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานโฉนดที่ดินพระราชนิเวศน์มฤคทายวันหลายครั้ง ครั้งแรกเนื้อที่185 ไร่ 1 งาน 85.20 ตารางวา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำงานของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ค่ายนเรศวร จังหวัดเพชรบุรี

ครั้งที่สอง เนื้อที่ 584 ไร่ 2 งาน 99.5 ตารางวาค่ายนเรศวร อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี รับพระราชทานโฉนดที่ดิน เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำงานของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน,

ครั้งที่สาม รับพระราชทานโฉนดที่ดิน ค่ายพระรามหก (พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน) อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่ 1,244 ไร่ 24.2 ตารางวา เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำงานของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และพิพิธภัณฑ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,

ครั้งที่สี่ พลตำรวจโท วิชิต ปักษา ผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เฝ้าฯ รับพระราชทานโฉนดที่ดิน เนื้อที่ 275 ไร่ 3 งาน 57.20 ตารางวา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำงานของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ค่ายพระราม 6 (พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน) จังหวัดเพชรบุรี เพิ่มเติมจากที่ได้พระราชทานเมื่อปี 2560

ศาลาทรงซึ่งเชื่อมต่อกับหมู่พระที่นั่งพิศาลสาคร หนึ่งในสัญลักษณ์ของพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
ในส่วนของที่ดินทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ที่มิได้เป็นพระราชวัง พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานโฉนดที่ดินอีกหลายแปลงดังนี้

พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก เฝ้าฯ รับพระราชทานโฉนดที่ดิน เนื้อที่ 1,059 ไร่ 1 งาน 36.70 ตารางวา ตั้งอยู่ในจังหวัดปทุมธานี และเนื้อที่ 493 ไร่ 1 งาน 63 ตารางวา ตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี เพื่อประโยชน์ในทางราชการของกองทัพบก

นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี เฝ้าฯ รับพระราชทานโฉนดที่ดิน เนื้อที่ 25 ไร่ 84 ตารางวา บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เพื่อประโยชน์ในทางราชการของจังหวัดเพชรบุรี

อนึ่ง เมื่อปี 2560 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานโฉนดที่ดินในพระปรมาภิไธยแก่ส่วนราชการต่าง ๆ ไปแล้ว เพื่อใช้ประโยชน์เป็นสถานที่ทำงาน และเพื่อเป็นประโยชน์ในทางราชการ อาทิ

กองทัพบก รับพระราชทานโฉนดที่ดิน เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 79 ไร่ 2 งาน 60.9 ตารางวา เพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างอาคารโครงการพิพิธภัณฑ์ไม้มีค่าของแผ่นดิน

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับพระราชทานโฉนดที่ดิน คลอง 6 อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เนื้อที่ 300 ไร่ เพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างสวนสัตว์แห่งใหม่ และสถานที่ทำงานขององค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์,

และโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย รับพระราชทานโฉนดที่ดิน ตำบลปทุมวัน อำเภอสามเพ็ง กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 67 ไร่ 67 ตารางวา เพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการของโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย

พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวหน้าหอประชุมโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ที่มาของรูป: วิกิพีเดีย
สำหรับที่ดินบริเวณซอยมหาดเล็กหลวง ๑, ๒ และ ๓ เนื้อที่ 67 ไร่นั้นเป็นที่ดินใจกลางเมืองย่านราชดำริที่มีมูลค่าสูงมาก ทำให้โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยเป็นโรงเรียนที่มีสินทรัพย์มูลค่าสูงสุดของประเทศไทย เหตุที่ทรงพระราชทานให้ เพราะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์พระผู้สถาปนาโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยทรงมีพระราชดำริจะพระราชทานที่ดินให้เพื่อเป็นเงินกองทุน (Endowment) สำหรับบริหารเพื่อแสวงหาผลประโยชน์และกำไรมาใช้ในกิจการของโรงเรียน ดังเช่นโรงเรียนกินนอน (Public school) ชั้นดีของอังกฤษจะมีเงินกองทุนเหล่านี้ขนาดมหาศาล เมื่อพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับหน้าที่สืบทอดทรัพย์สินพระมหากษัตริย์อันเป็นทรัพย์สินของสถาบันพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ต่อเนื่องกันมา ได้ทรงถือว่าเป็นพระราชมรดกแห่งสัจจะและกตัญญุตาธรรม ที่จะต้องปฏิบัติตามพระราชเจตนารมณ์ของพระบรมราชบุรพการีได้ทรงมีสัจจวาจาไว้จงทุกประการ


กำลังโหลดความคิดเห็น