xs
xsm
sm
md
lg

ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ตอนที่ ๒๒ : ทำไมจึงต้องแก้ไข พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ในปี ๒๕๖๑

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล (Citizen data sciences)
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์


พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ตราออกมาใช้แทน พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ.๒๔๙๑ ที่ใช้มาเกือบ ๗๐ ปี แต่กลับมีการตรา พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ.๒๕๖๑ มาใช้แทนในปีถัดมาหรือประกาศใช้เพียงหนึ่งปีก็ปรับแก้ใหม่ ทำไมจึงต้องแก้ไข พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ที่เพิ่งตราใช้เพียงปีเดียว ก็มีหลายคนที่ตั้งคำถามเช่นนี้

ในหมายเหตุท้าย พ.ร.บ. พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ.๒๕๖๑ ได้เขียนเจตนารมณ์ของการตรากฎหมายเอาไว้ว่า “โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ให้เหมาะสมแก่การบริหารจัดการยิ่งขึ้น โดยถวายเป็นพระราชอำนาจในการจัดการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย เพื่อให้การใช้ประโยชน์ทรัพย์สินนั้น เป็นไปโดยเหมาะสมตามที่จะทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยตามโบราณราชประเพณี จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้”


ใจความหลักของพ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. ๒๕๖๑ แทบจะไม่ผิดแผกแตกต่างจากพ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ไปมากนัก ดังตารางเปรียบเทียบด้านล่างนี้

ข้อสังเกตประการหนึ่งคือการเปลี่ยนคำศัพท์เฉพาะในกฎหมายให้กระชับ/ชัดเจนมากขึ้น เช่น ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ให้เป็นทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ ทรัพย์สินส่วนพระองค์เป็นทรัพย์สินในพระองค์




มีเพียงมาตรา ๕ และมาตรา ๗ ที่ขยายความเพิ่มวรรคสองให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ภาพด้านล่างนี้แสดงการจำแนกทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ตามพ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์
พ.ศ.๒๕๖๑


เนื่องจากมีการเปลี่ยนคำสำคัญอันเป็นศัพท์เฉพาะในกฎหมายฉบับนี้ค่อนข้างมาก ซึ่งหากจะตราเป็นกฎหมายฉบับแก้ไขก็เท่ากับการแก้ไขทุกมาตราที่มีศัพท์เฉพาะคำนั้น การตราเป็นกฎหมายใหม่จะทำให้เกิดความชัดเจนไม่สับสนและเหมาะสมกว่า โดยที่เป็นการถวายพระราชอำนาจในการจัดการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย เพื่อให้การใช้ประโยชน์ทรัพย์สินนั้น เป็นไปโดยเหมาะสมตามที่จะทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยตามโบราณราชประเพณี


กำลังโหลดความคิดเห็น