ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล (Citizen data sciences)
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ในช่วงปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมหาชนกาธิเบศรภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ตัดสินใจเข้าไปลงทุนในธุรกิจผลิตยาด้วยเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมขั้นสูง ที่ต้องใช้เทคนิคการตัดต่อทางพันธุกรรมและนำเซลล์ที่ตัดต่อพันธุกรรมแล้วมาเลี้ยงเพื่อขยายและนำมาสกัดเป็นยาต่อไป ยาพวกนี้เรียกว่ายาชีววัตถุ (Biosimilar) อันเป็นยาที่ผลิตโดยเทคโนโลยีที่ไม่เคยทำได้มาก่อนเลยในประเทศไทย และจะช่วยทดแทนการนำเข้าได้อย่างมหาศาล ทำให้ยาในประเทศถูกลง เพิ่มความมั่นคง/ยั่งยืนทางยาและสาธารณสุขให้กับประเทศ
ยาชีววัตถุ หมายถึง ยาแผนปัจจุบันที่ผลิตจากสิ่งมีชีวิตโดยกระบวนการเพราะเลี้ยงจุลินทรีย์ หรือเซลล์ชั้นสูง การสกัดจากเนื้อเยื่อสิ่งมีชีวิตทั้งมนุษย์ สัตว์ และพืช เทคนิคดีเอ็นเอสายผสม เทคนิคการผสมพันธุ์ต่างๆ การขยายพันธุ์จุลินทรีย์ในตัวอ่อนหรือในสัตว์ การสกัดหรือแยกจากเลือดหรือพลาสมา หรือกระบวนการอื่นๆ เอกสารประกาศของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง เอกสารหลักฐานการขอขึ้นทะเบียนตำรับยาชีววัตถุคล้ายคลึง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2561) ตัวอย่างยาที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีชนิดนี้ก็คือยากระตุ้นเม็ดเลือดแดง Erythropoietin ซึ่งไทยต้องนำเข้าในราคาแพงปีละนับหลายพันล้านบาท เพราะจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ต้องฟอกเลือดหรือล้างไตทางช่องท้อง นอกจากนี้ยังมียากระตุ้นเม็ดเลือดขาวที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วย ตลอดจนยารักษาโรคมะเร็งอีกหลายชนิด
เครือสยามไบโอไซเอนซ์ จึงก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2552 ซึ่งประกอบไปด้วย 2 บริษัทหลักคือ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด และบริษัท เอเพ็กซ์เซล่า จำกัด บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ดำเนินการวิจัย พัฒนา และผลิตยา เครื่องมือแพทย์ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพต่างๆ โดยมีการวิจัย พัฒนาและผลิตครบวงจร ตั้งแต่ตัวยาสำคัญและสารออกฤทธิ์ จนถึง ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ส่วนบริษัท เอเพ็กซ์เซล่า จำกัด จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2553 เพื่อดำเนินกิจกรรมทางการตลาดและการขายทั้งในประเทศและส่งออก รวมทั้งการพัฒนาธุรกิจสร้างเครือข่ายพันธมิตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ผลการประกอบการทางการเงินของเครือบริษัทสยามไบโอไซเอนส์แม้จะมีขาดทุนสะสมประมาณห้าร้อยล้านบาทแต่ก็ทำให้ประเทศไทยประหยัดค่าซื้อยาได้นับหลายพันล้านบาท เพราะผลิตได้เองภายในประเทศและทำให้ยาชีววัตถุหลายชนิดมีราคาถูกลงไปมากกว่าแต่ก่อน การขาดทุนของเครือบริษัทสยามไบโอไซนส์จึงเป็นการขาดทุนคือกำไรของสังคมและประเทศชาติ อันรวมไปถึงความมั่นคงทางยาและการแพทย์ของประเทศไทยด้วย
เมื่อเกิดวิกฤติมหาโรคระบาดโควิด-19 นั้นทำให้วัคซีนโควิดเป็นสินค้านวัตกรรมที่หลายๆ บริษัทและหลายๆ ประเทศทั่วโลกต่างเร่งกระบวนการวิจัยและพัฒนา กระบวนการผลิตที่จะผลิตให้ได้มากที่สุด เร็วที่สุดพอเพียงกับความต้องการของทั้งโลก
Oxford University ร่วมกับ AstraZeneca ได้ร่วมกันวิจัยและพัฒนาจนสามารถผลิตวัคซีนโควิด-19แบบไวรัลเวคเตอร์ (Viral vector vaccine) ได้สำเร็จและเนื่องจากต้องการผลิตให้ได้มากและเร็วจึงต้องขายให้ผู้ที่รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Transfer of Technology) ในการผลิตได้ และเพื่อมนุษยธรรมผู้ที่รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีต้องไม่แสวงกำไร ดังนั้นเงื่อนไขในการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตวัคซีนโควิด-19 แบบไวรัลเวคเตอร์ มีอย่างน้อยสามประการ หนึ่ง ต้องมีศักยภาพเพียงพอในการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี สอง ต้องไม่แสวงกำไรจากการผลิตวัคซีน และสาม ต้องมีกำลังผลิตเพียงพอสำหรับตนเองและประเทศเพื่อนบ้านด้วย
มีผู้ไม่ปรารถนาดีออกมาวิจารณ์โดยการ Facebook Live ว่าวัคซีนพระราชทาน: ใครได้ใครเสีย ซึ่งเป็นการกระทำผิดมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา เนื่องจากไม่ได้มีวัคซีนพระราชทานแต่มีโรงงานพระราชทาน
และมีข้อกล่าวหาอีกหลายข้อในลักษณะดูหมิ่น เช่น ไม่เคยผลิตวัคซีน เคยผลิตแต่ยาจะผลิตวัคซีนได้อย่างไร ในความเป็นจริงเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตยาชีววัตถุเป็นยาที่ใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมชั้นสูงและเป็นเทคโนโลยีเดียวกันกับเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตวัคซีนแบบไวรัลเวคเตอร์ ดังนั้นการพูดเช่นนี้จึงไม่ได้แตกต่างกับการปรามาสบริษัทรับเหมาก่อสร้างอาคารสูงระฟ้าสองร้อยชั้นที่ไม่เคยสร้างบ้านเดี่ยวสองชั้นเลยว่าไม่มีทางสร้างบ้านเดี่ยวสองชั้นได้
ข้อกล่าวหาหนึ่งคือบริษัทในเครือสยามไบโอไซเอนซ์ไม่เคยมีกำไรเลย มีแต่ขาดทุนมาตลอด ผู้พูดคงไม่เข้าใจหรอกว่า เป้าหมายทางธุรกิจหาได้มีเพียงการทำกำไรสูงสุด (Maximize profit) เท่านั้น แต่อาจจะเป็นการทำเพื่อสังคม เช่น Social enterprise จำนวนมากมาย หรือทำไปเพื่อความสุขใจของเจ้าของกิจการในการได้ช่วยเหลือคนหรือช่วยเหลือสังคมเป็นต้น ธุรกิจไม่ได้มุ่งแสวงหากำไรแต่อย่างเดียว บางธุรกิจการขาดทุนคือกำไรของสังคม เช่น การผลิตยาชีววัตถุอันเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงได้ด้วยตัวเอง ทำให้ลดการพึ่งพิงการนำเข้า ทำให้ยาหลายตัวมีราคาถูกลง ผู้ป่วยและประชาชนเข้าถึงยาได้ง่ายขึ้นก็ทำให้สังคมประเทศชาติและประชาชนได้ผลประโยชน์และกำไรเช่นกัน
พระราชวิสัยทัศน์อันยาวไกลในพระบาทสมเด็จพระมหาชนกาธิเบศร ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่บอกว่าขาดทุนคือกำไร นั้นกว้างไกลก่อนกาลเวลายิ่งนัก ทรงมองเห็นอนาคตอันไกลที่ประเทศไทยต้องมีเทคโนโลยีชั้นสูงพึ่งพาตนเองได้ในการผลิตยาที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและการลงทุนที่สูงมาก มีความเสี่ยงสูงและไม่ทำกำไร แต่ท้ายที่สุดแล้วกลับมีประโยชน์เป็นเอนกอนันต์ต่อประเทศในวันที่จำเป็นและวิกฤติขาดแคลน มีเพียงสองประเทศในเอเชียเท่านั้นที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตวัคซีนไวรัลเวคเตอร์คืออินเดียและไทย และประเทศที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นอันดับสามในเวลาต่อมาคือญี่ปุ่น
การที่ประเทศไทยเราได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตวัคซีนเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในอนาคตหากเกิดโรคอุบัติใหม่ (Emerging disease) เรามีศักยภาพที่จะผลิตวัคซีนได้เอง และน่าจะผลิตยาอื่นๆ ได้เองอีกด้วยในอนาคต
ขอน้อมกราบแทบเบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระมหาชนกาธิเบศร ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผู้ทรงมีพระราชวิสัยทัศน์อันยาวไกลในการก่อตั้งสยามไบโอไซเอนซ์เพื่อประชาชน ขาดทุนคือกำไร ก่อนกาลเวลา แม้ไม่เสด็จอยู่แล้วแต่พระราชวิสัยทัศน์และพระราชกรณียกิจยังคงอยู่เป็นประโยชน์นานัปการต่อประเทศและประชาชน
ขอน้อมกราบแทบเบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงสืบสาน รักษา ต่อยอด สิ่งที่พระบาทสมเด็จพระมหาชนกาธิเบศร ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้ทรงริเริ่มไว้ แม้จะต้องขาดทุนเสียพระราชทรัพย์เพราะขาดทุนคือกำไร ของประเทศชาติและประชาชน
ขาดทุนคือกำไร จิตใจไม่สูงพอ คงไม่เข้าใจ
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล (Citizen data sciences)
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ในช่วงปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมหาชนกาธิเบศรภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ตัดสินใจเข้าไปลงทุนในธุรกิจผลิตยาด้วยเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมขั้นสูง ที่ต้องใช้เทคนิคการตัดต่อทางพันธุกรรมและนำเซลล์ที่ตัดต่อพันธุกรรมแล้วมาเลี้ยงเพื่อขยายและนำมาสกัดเป็นยาต่อไป ยาพวกนี้เรียกว่ายาชีววัตถุ (Biosimilar) อันเป็นยาที่ผลิตโดยเทคโนโลยีที่ไม่เคยทำได้มาก่อนเลยในประเทศไทย และจะช่วยทดแทนการนำเข้าได้อย่างมหาศาล ทำให้ยาในประเทศถูกลง เพิ่มความมั่นคง/ยั่งยืนทางยาและสาธารณสุขให้กับประเทศ
ยาชีววัตถุ หมายถึง ยาแผนปัจจุบันที่ผลิตจากสิ่งมีชีวิตโดยกระบวนการเพราะเลี้ยงจุลินทรีย์ หรือเซลล์ชั้นสูง การสกัดจากเนื้อเยื่อสิ่งมีชีวิตทั้งมนุษย์ สัตว์ และพืช เทคนิคดีเอ็นเอสายผสม เทคนิคการผสมพันธุ์ต่างๆ การขยายพันธุ์จุลินทรีย์ในตัวอ่อนหรือในสัตว์ การสกัดหรือแยกจากเลือดหรือพลาสมา หรือกระบวนการอื่นๆ เอกสารประกาศของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง เอกสารหลักฐานการขอขึ้นทะเบียนตำรับยาชีววัตถุคล้ายคลึง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2561) ตัวอย่างยาที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีชนิดนี้ก็คือยากระตุ้นเม็ดเลือดแดง Erythropoietin ซึ่งไทยต้องนำเข้าในราคาแพงปีละนับหลายพันล้านบาท เพราะจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ต้องฟอกเลือดหรือล้างไตทางช่องท้อง นอกจากนี้ยังมียากระตุ้นเม็ดเลือดขาวที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วย ตลอดจนยารักษาโรคมะเร็งอีกหลายชนิด
เครือสยามไบโอไซเอนซ์ จึงก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2552 ซึ่งประกอบไปด้วย 2 บริษัทหลักคือ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด และบริษัท เอเพ็กซ์เซล่า จำกัด บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ดำเนินการวิจัย พัฒนา และผลิตยา เครื่องมือแพทย์ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพต่างๆ โดยมีการวิจัย พัฒนาและผลิตครบวงจร ตั้งแต่ตัวยาสำคัญและสารออกฤทธิ์ จนถึง ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ส่วนบริษัท เอเพ็กซ์เซล่า จำกัด จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2553 เพื่อดำเนินกิจกรรมทางการตลาดและการขายทั้งในประเทศและส่งออก รวมทั้งการพัฒนาธุรกิจสร้างเครือข่ายพันธมิตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ผลการประกอบการทางการเงินของเครือบริษัทสยามไบโอไซเอนส์แม้จะมีขาดทุนสะสมประมาณห้าร้อยล้านบาทแต่ก็ทำให้ประเทศไทยประหยัดค่าซื้อยาได้นับหลายพันล้านบาท เพราะผลิตได้เองภายในประเทศและทำให้ยาชีววัตถุหลายชนิดมีราคาถูกลงไปมากกว่าแต่ก่อน การขาดทุนของเครือบริษัทสยามไบโอไซนส์จึงเป็นการขาดทุนคือกำไรของสังคมและประเทศชาติ อันรวมไปถึงความมั่นคงทางยาและการแพทย์ของประเทศไทยด้วย
เมื่อเกิดวิกฤติมหาโรคระบาดโควิด-19 นั้นทำให้วัคซีนโควิดเป็นสินค้านวัตกรรมที่หลายๆ บริษัทและหลายๆ ประเทศทั่วโลกต่างเร่งกระบวนการวิจัยและพัฒนา กระบวนการผลิตที่จะผลิตให้ได้มากที่สุด เร็วที่สุดพอเพียงกับความต้องการของทั้งโลก
Oxford University ร่วมกับ AstraZeneca ได้ร่วมกันวิจัยและพัฒนาจนสามารถผลิตวัคซีนโควิด-19แบบไวรัลเวคเตอร์ (Viral vector vaccine) ได้สำเร็จและเนื่องจากต้องการผลิตให้ได้มากและเร็วจึงต้องขายให้ผู้ที่รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Transfer of Technology) ในการผลิตได้ และเพื่อมนุษยธรรมผู้ที่รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีต้องไม่แสวงกำไร ดังนั้นเงื่อนไขในการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตวัคซีนโควิด-19 แบบไวรัลเวคเตอร์ มีอย่างน้อยสามประการ หนึ่ง ต้องมีศักยภาพเพียงพอในการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี สอง ต้องไม่แสวงกำไรจากการผลิตวัคซีน และสาม ต้องมีกำลังผลิตเพียงพอสำหรับตนเองและประเทศเพื่อนบ้านด้วย
มีผู้ไม่ปรารถนาดีออกมาวิจารณ์โดยการ Facebook Live ว่าวัคซีนพระราชทาน: ใครได้ใครเสีย ซึ่งเป็นการกระทำผิดมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา เนื่องจากไม่ได้มีวัคซีนพระราชทานแต่มีโรงงานพระราชทาน
และมีข้อกล่าวหาอีกหลายข้อในลักษณะดูหมิ่น เช่น ไม่เคยผลิตวัคซีน เคยผลิตแต่ยาจะผลิตวัคซีนได้อย่างไร ในความเป็นจริงเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตยาชีววัตถุเป็นยาที่ใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมชั้นสูงและเป็นเทคโนโลยีเดียวกันกับเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตวัคซีนแบบไวรัลเวคเตอร์ ดังนั้นการพูดเช่นนี้จึงไม่ได้แตกต่างกับการปรามาสบริษัทรับเหมาก่อสร้างอาคารสูงระฟ้าสองร้อยชั้นที่ไม่เคยสร้างบ้านเดี่ยวสองชั้นเลยว่าไม่มีทางสร้างบ้านเดี่ยวสองชั้นได้
ข้อกล่าวหาหนึ่งคือบริษัทในเครือสยามไบโอไซเอนซ์ไม่เคยมีกำไรเลย มีแต่ขาดทุนมาตลอด ผู้พูดคงไม่เข้าใจหรอกว่า เป้าหมายทางธุรกิจหาได้มีเพียงการทำกำไรสูงสุด (Maximize profit) เท่านั้น แต่อาจจะเป็นการทำเพื่อสังคม เช่น Social enterprise จำนวนมากมาย หรือทำไปเพื่อความสุขใจของเจ้าของกิจการในการได้ช่วยเหลือคนหรือช่วยเหลือสังคมเป็นต้น ธุรกิจไม่ได้มุ่งแสวงหากำไรแต่อย่างเดียว บางธุรกิจการขาดทุนคือกำไรของสังคม เช่น การผลิตยาชีววัตถุอันเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงได้ด้วยตัวเอง ทำให้ลดการพึ่งพิงการนำเข้า ทำให้ยาหลายตัวมีราคาถูกลง ผู้ป่วยและประชาชนเข้าถึงยาได้ง่ายขึ้นก็ทำให้สังคมประเทศชาติและประชาชนได้ผลประโยชน์และกำไรเช่นกัน
พระราชวิสัยทัศน์อันยาวไกลในพระบาทสมเด็จพระมหาชนกาธิเบศร ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่บอกว่าขาดทุนคือกำไร นั้นกว้างไกลก่อนกาลเวลายิ่งนัก ทรงมองเห็นอนาคตอันไกลที่ประเทศไทยต้องมีเทคโนโลยีชั้นสูงพึ่งพาตนเองได้ในการผลิตยาที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและการลงทุนที่สูงมาก มีความเสี่ยงสูงและไม่ทำกำไร แต่ท้ายที่สุดแล้วกลับมีประโยชน์เป็นเอนกอนันต์ต่อประเทศในวันที่จำเป็นและวิกฤติขาดแคลน มีเพียงสองประเทศในเอเชียเท่านั้นที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตวัคซีนไวรัลเวคเตอร์คืออินเดียและไทย และประเทศที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นอันดับสามในเวลาต่อมาคือญี่ปุ่น
การที่ประเทศไทยเราได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตวัคซีนเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในอนาคตหากเกิดโรคอุบัติใหม่ (Emerging disease) เรามีศักยภาพที่จะผลิตวัคซีนได้เอง และน่าจะผลิตยาอื่นๆ ได้เองอีกด้วยในอนาคต
ขอน้อมกราบแทบเบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระมหาชนกาธิเบศร ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผู้ทรงมีพระราชวิสัยทัศน์อันยาวไกลในการก่อตั้งสยามไบโอไซเอนซ์เพื่อประชาชน ขาดทุนคือกำไร ก่อนกาลเวลา แม้ไม่เสด็จอยู่แล้วแต่พระราชวิสัยทัศน์และพระราชกรณียกิจยังคงอยู่เป็นประโยชน์นานัปการต่อประเทศและประชาชน
ขอน้อมกราบแทบเบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงสืบสาน รักษา ต่อยอด สิ่งที่พระบาทสมเด็จพระมหาชนกาธิเบศร ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้ทรงริเริ่มไว้ แม้จะต้องขาดทุนเสียพระราชทรัพย์เพราะขาดทุนคือกำไร ของประเทศชาติและประชาชน
ขาดทุนคือกำไร จิตใจไม่สูงพอ คงไม่เข้าใจ