ณ บ้านพระอาทิตย์
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
หลายคนอาจจะเคยได้ยินว่ากัญชาจะทำให้ระดับสติปัญญาลดลง หรือโง่ลงนั้นความจริงมีตัวแปรที่สำคัญอยู่หลายประการ เพราะหลายงานวิจัยไม่ได้ตัดตัวแปรกวนอย่างอื่นที่ทำให้โง่ลง เช่น การใช้สารเสพติดอย่างอื่น การใช้สารสังเคราะห์กัญชา หรือการดื่มสุรา ฯลฯ
โดยเฉพาะหากเป็นกัญชาสังเคราะห์ด้วยแล้วมีอันตรายต่อสุขภาพมาก ทั้งมีความแรง ราคาถูก แต่ส่งผลเสียต่อจิตประสาทอย่างรุนแรงเช่นกัน[1]
นอกจากนั้นบริบททางสถานภาพความอบอุ่นครอบครัว ฐานะทางเศรษฐกิจ การเข้าถึงการศึกษา ความเครียด แรงกดดันทางอารมณ์อื่นๆ นั้น ก็ยังอาจมีผลต่อระดับสติปัญญาของมนุษย์ในการวิจัยได้ด้วย
ตัวอย่างงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่มักจะหยิบยกขึ้นมาเผยแพร่ในการโจมตีกัญชาว่าทำให้โง่ลง เช่น งานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสารจิตเวชศาสตร์ของอเมริกัน American Journal of Psychiatry ได้เผยแพร่งานวิจัยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 รายงานความตอนหนึ่งว่า
“ผลการติดตามผลการศึกษาในการวัดระดับสติปัญญา (I.Q.) ช่วงอายุ 45 ปีพบว่ากลุ่มที่ได้รับกัญชามีการลดลงของสติปัญญามากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับถึง 8 เท่า(คะแนน IQ ลดลง 5.5 คะแนนในกลุ่มใช้กัญชาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งต่อเนื่องกันอย่างน้อย 1 ปี เทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ใช้กัญชาที่ลดลง 0.67 คะแนน และยังพบว่าขนาดของฮิปโปแคมปัสในสมอง (hippocampal Volume)มีขนาดเล็กลง รวมถึงมีปัญหาด้านความจำมากขึ้น”[2]
แม้จะเป็นงานวิจัยที่น่าสนใจ แต่ก็จะมีคำถามตามมาเช่นเดียวกันว่า มีการใช้สารสังเคราะห์กัญชาร่วมด้วยหรือไม่ คนที่ใช้กัญชามีปัญหาในครอบครัว อาชีพการงานและความเครียดเป็นอย่างไร โดยเฉพาะโภชนาการที่แตกต่างกันอย่างไร (เช่น รับประทานหวานมากต่างกันอย่างไร รับประทานการผัดทอดด้วยไขมันไม่อิ่มตัวโอเมก้า 6 มากเพียงใด ฯลฯ ) ตัวแปรเหล่านี้ไม่เพียงมีผลกระทบต่อการอักเสบของหลอดเลือดเท่านั้น แต่ยังอาจมีผลกระทบต่อสมองด้วยเช่นกัน
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น เราอาจจะเห็นผลการวิจัยออกมาอีกมุมหนึ่งได้ เช่น งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Drug and Alcohol Dependence เมื่อเดือนกันยายน 2562 พบว่าการใช้กัญชาในกลุ่มคนวัยรุ่นอายุ 13-19 ปีประมาณ 1,000 คน และมีการติดตามผลไปจนถึงอายุ 30-36 ปี พบผลการทดสอบกลับพบว่ากัญชาไม่ได้ทำให้โครงสร้างสมองเปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใด[3]
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าถ้าใครมีอคติฝั่งไหน ก็จะเลือกนำเสนอเฉพาะงานวิจัย 1 ใน 2 ชิ้นข้างต้นมาหักล้างฝั่งตรงกันข้ามเสมอ และหมายความว่าการที่งานวิจัยออกผลไม่เหมือนกัน ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบประชากร และการควบคุมตัวแปรที่มีผลต่อการวิจัยในมนุษย์ที่มีความหลากหลายได้ไม่เหมือนกัน
นอกจากนั้นยังพบผลการติดตามสถิติ กลับสามารถพบ “ผลตรงกันข้าม” ได้ด้วยโดยเฉพาะกรณีศึกษาในประเทศที่มีการใช้กัญชาในการนันทนาการมาอย่างยาวนานประชากรกลับมีผลการวัดระดับสติปัญญาอยู่ในระดับสูงต้นๆของโลกตัวอย่างหนึ่งเช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์
โดยประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้มีการใช้กัญชาสำหรับนันทนาการอย่างมีการควบคุมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519[4],[5] ย่อมเป็นตัวอย่างสำหรับการใช้เป็นบทเรียนที่มีประสบการณ์ยาวนานถึง 46 ปีแล้ว
ปรากฏการณ์ผ่านมา 46 ปีของประเทศเนเธอร์แลนด์ วัดระดับสติปัญญา หรือ ไอคิว(I.Q.) ในรายงานเมื่อปี 2565 โดยการรวบรวมของเว็บไซต์ Worldpopulationreview พบว่า ค่าเฉลี่ยไอคิวของชาวเนเธอร์แลนด์อยู่ที่ 100.74 ถือว่าเป็นประเทศที่มีระดับสติปัญญาที่สูงมาก เพราะอยู่ติดอันดับที่ 10 ของโลกเทียบเท่ากับชาวเยอรมันจากการวัดทั้งหมด 199 ประเทศ[4],[6]
ในขณะที่ผลสำรวจระดับสติปัญญา หรือ ไอคิว (I.Q.) ของ “ประเทศไทย” อยู่ที่ระดับ 88.87 (ทั้งๆ ที่ไม่เคยมีกฎหมายให้ใช้กัญชาในการนันทนาการ) อยู่ในอันดับที่ 64 ของโลก ต่ำกว่าเนเธอร์แลนด์[4],[6]
มาถึงจุดนี้ก็จะมีข้อถกเถียงตามมาทันทีว่าเป็นเพราะเรื่อง คุณภาพการศึกษา ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ การบังคับใช้กฎหมาย แบบมาตรฐานการวัดไอคิวไม่เหมือนกัน ฯลฯ ซึ่งจะนำบริบทของประเทศหนึ่งมาเทียบกับอีกประเทศหนึ่งไม่ได้ซึ่งก็เป็นความจริง แต่อย่างน้อยก็เห็นตัวอย่างว่าไม่จำเป็นที่ประเทศซึ่งมีการให้ใช้กัญชาในการนันทนาการมานานแล้วถึง 46 ปี จะเป็นผลทำให้ประชากรในประเทศนั้นโง่เสมอไป
กรณีศึกษาอีกชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจคือ “มลรัฐโคโรราโด” ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการให้ใช้กัญชาทางการแพทย์แล้วตามมาด้วยการใช้ในการนันทนาการในเวลาต่อมา แม้จะมีการกำหนดห้ามมีการใช้กัญชาสำหรับผู้ที่มีอายุตำ่กว่า 21 ปีก็ตามแต่กลับปรากฏว่ามีเด็กเยาวชนในระดับมัธยม และมหาวิทยาลัยอยากลองและละเมิดกฎหมายมาสูบกัญชาใต้ดินกันมากขึ้น
แต่ในทางตรงกันข้ามเยาวชนในมลรัฐโคโรลาโดกลับดื่มเหล้าลดลง สูบบุหรี่ลดลงอัตราร้อยละการออกจากการศึกษาลดลง ในทางตรงกันข้ามอัตราร้อยละการจบการศึกษากลับสูงขึ้นมากสวนทางการที่พ้นออกจากการศึกษาที่ลดลงด้วย
โดยรายงานผลการศึกษาของมลรัฐโคโรลาโด ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 ซึ่งมลรัฐโคโรลาโดได้มีการใช้กัญชาอย่างต่อเนื่องและมีการทำให้กัญชาเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) ซึ่งผลสำรวจตัวอย่างในกลุ่มเยาวชนและคนหนุ่มสาว ซึ่งเป็นประชากรที่ใช้กัญชามากที่สุด แต่กลับทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ลดลง
ในมลรัฐโคโรลาโด ประชากรเยาวชนวัยรุ่นอายุ 12-17 ปี ในรอบ 30 วัน มีการใช้กัญชาจากปี พ.ศ. 2548 ที่ร้อยละ 7.6% เพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2562 มาเป็น 9.8% [4],[7]
การดื่มสุราในมลรัฐโคโรลาโด ของกลุ่มคนอายุ 12-17 ปี จากปี พ.ศ. 2548 ที่ร้อยละ 18.2% “ลดลง” ในปี พ.ศ. 2562 เหลือ 10.7%[4],[7]
การสูบบุหรี่ในมลรัฐโคโรลาโด ของกลุ่มคนอายุ 12-17 ปี จากปี พ.ศ. 2548 ที่ร้อยละ 14.2% “ลดลง” ในปี พ.ศ. 2562 เหลือ 4.1%[4],[7]
การติดยาเสพติดอื่นๆ ในมลรัฐโคโรลาโด ของกลุ่มคนอายุ 12-17 ปี จากปี พ.ศ. 2548 ที่ร้อยละ 5.1% “ลดลง” ในปี พ.ศ. 2562 เหลือ 3.0% [4],[7]
ส่วนคนหนุ่มสาวในมลรัฐโคโรลาโด ที่มีอายุตั้งแต่ 18-25 ปี ในรอบ 30 วัน ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่ใช้กัญชาสูงที่สุดในมลรัฐโคโรลาโด พบว่ามีการใช้กัญชาจากปี พ.ศ. 2548 ที่ร้อยละ 21.2 เพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2562 มาเป็น 34.4%[4],[7]
การดื่มสุราในมลรัฐโคโรลาโดของกลุ่มคนอายุ 18-25 ปี จากปี พ.ศ. 2548 ที่ร้อยละ 68.7% “ลดลง” ในปี พ.ศ. 2562 เหลือ 62.5%[4],[7]
การสูบบุหรี่ในมลรัฐโคโรลาโด ของกลุ่มคนอายุ 18-25 ปี จากปี พ.ศ. 2548 ที่ร้อยละ 45.9% “ลดลง” ในปี พ.ศ. 2562 เหลือ 26.2%[4],[7]
การติดยาเสพติดอื่นๆ ในมลรัฐโคโรลาโด ของกลุ่มคนอายุ 12-17 ปี จากปี พ.ศ. 2548 ที่ร้อยละ 10.2% “ลดลง” ในปี พ.ศ. 2562 เหลือ 8.6%[4],[7]
ทั้งๆ ที่ในปี 2562 มีเด็กอายุ 12-17 ปีใช้กัญชา 9.8% โดยเฉพาะมีเยาวชนระดับอายุ18-25 ปีมีการใช้กัญชามากถึง 34.4% แต่ผลการวัดระดับสติปัญญา หรือ ไอคิว(I.Q.) ประจำปี 2565 นั้นปรากฏว่ามลรัฐโคโรลาโดวัดได้ที่ระดับ 101.1 มีระดับสติปัญญามากกว่าแต่ใกล้เคียงกับเนเธอร์แลนด์ ก็คือมีระดับสติปัญญาติดอันดับต้นๆ ของโลกเช่นกัน และมีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยในสหรัฐอเมริกาซึ่งอยู่ที่ระดับ 99.6 อยู่ในอันดับที่ 13 ของสหรัฐอเมริกา จากทั้งหมด 50 รัฐ[4],[8]
นอกจากนั้นทั้งๆ ที่ในปี 2562 มีเด็กอายุ 12-17 ปีใช้กัญชา 9.8% โดยเฉพาะมีเยาวชนระดับอายุ 18-25 ปีมีการใช้กัญชามากถึง 34.4% ปรากฏในรายงานว่าในปี พ.ศ. 2550 พบว่า อัตราการ “พ้นออก” จากการเรียนอยู่ที่ 3.8% แต่ในปี 2563 อัตราการลาออกจากการเรียน “ลดลง” เหลือเพียง 1.8% เท่านั้น[4],[7]
ในทางตรงกันข้าม ปี 2550 พบว่า อัตราการ “สำเร็จการศึกษา” อยู่ที่ 73.9% แต่ในปี 2563 อัตราการสำเร็จการศึกษา “เพิ่มขึ้น” เป็น 81.9%[4],[7]
มาถึงตรงนี้ผู้ที่จะคิดคัดค้านผลสถิติดังกล่าว ก็ต้องคิดต่อมาว่า เป็นเรื่องความแตกต่างในเรื่อง คุณภาพการศึกษา การปรับปรุงเกณฑ์ของการสอบ เศรษฐกิจ ฯลฯ อีกใช่หรือไม่?
ที่หยิบยกตัวอย่างข้างต้นเพื่อแสดงให้เห็นว่า “ตัวแปรกวนผล” ทำให้ผลการศึกษาออกมาตรงกันข้ามกันอย่างสิ้นเชิง ทั้งข้อกล่าวหาว่ากัญชาทำให้โง่ หรือข้อยกย่องว่ากัญชาทำให้ฉลาดขึ้นเช่นกัน ซึ่งหากมีอคติก็จะไม่สามารถหาข้อยุติในการถกเถียงได้
นักวิจัยจำนวนหนึ่งเริ่มเห็นปัญหาตัวแปรกวนซึ่งมีผลอย่างมากต่องานวิจัย และจำเป็นจะต้องออกแบบงานวิจัยให้มีข้อสรุปที่ยอมรับและมีความชัดเจนได้มากกว่านี้
วิธีการหนึ่งก็คือตัดตัวแปรความแตกต่างให้เหลือน้อยที่สุด ก็คือ “เปรียบเทียบในคู่แฝด” ซึ่งมีพันธุกรรมใกล้เคียงกัน อยู่ครอบครัวเดียวกัน รับประทานอาหารในสิ่งแวดล้อมใกล้เคียงกัน สถานภาพทางเศรษฐกิจและการเข้าถึงคุณภาพการศึกษาไม่แตกต่างกัน ฯลฯ แม้จะยังเหลือตัวแปรกวนอยู่ แต่ก็ถือว่ามีความน่าเชื่อถือได้มากที่สุดวิธีหนึ่งเท่าที่จะทำได้ในเวลานี้
งานวิจัยชิ้นแรกตีพิมพ์ในวารสารของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา เรียกว่า Proceedings of the National Academy of Sciences เมื่อปีพ.ศ.2559 ใช้ประชากรทดสอบฝาแฝด 3,066 คน แบ่งเป็นการทดสอบระดับสติปัญญา 2 รูปแบบ โดยแบ่งเป็นการวัดระดับสติปัญญาหรือ ไอคิว (I.Q.) 2 ช่วง คือช่วงเวลาก่อนใช้กัญชาระหว่างอายุ 9-12 ปี กับช่วงเวลาที่ใช้กัญชาแล้วระหว่างอายุ17-20 ปี กลับพบว่ากัญชาไม่ได้ส่งผลทำให้มีนัยยะสำคัญในกลุ่มฝาแฝด แต่สิ่งที่มีผลต่อสติปัญญาลดลงกลับเป็นปัจจัยปัญหาครอบครัว[9]
เช่นเดียวกันกับงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารการเสพติด Addiction เมื่อปี พ.ศ. 2561 ได้ทำการวิจัยประชากรกลุ่มประชากรที่เกิดในอังกฤษและเวลล์ระหว่าง พ.ศ. 2537-2538 เข้าถึงกัญชาและทำการตรวจวัดระดับสติปัญญาหรือ ไอคิว (I.Q.) สรุปว่า การใช้กัญชาในระยะสั้นของกลุ่มคนหนุ่มสาวไม่ปรากฏว่าเป็นสาเหตุของการลดลงระดับสติปัญญาโดยรวมแม้กระทั่งกลุ่มคนที่พึ่งพา (ติด)กัญชาแล้วด้วย แต่กลับพบปัญหาครอบครัวที่ทำให้ระดับสติปัญญาลดลง[10]
สอดคล้องไปกับงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารการติดยาและแอลกอฮอล์ Drug Alcohol Dependence เมื่อปี พ.ศ.2563 พบสาระสำคัญคือ ผู้ใช้กัญชามีผลต่อสติปัญญาไม่มาก แต่สิ่งที่มีผลต่อสติปัญญาความคิดมากกลับเป็นปัญหาเรื่องรหัสพันธุกรรมมากกว่า เมื่อพิจารณาไปพร้อกับงานวิจัยก่อนหน้านี้จึงมีคำแนะนำว่ากัญชาอาจจะไม่ใช่สาเหตุของการลดลงในความสามารถในกระบวนความคิดและสติปัญญาสำหรับผู้ใช้กัญชาทั่วไป[11]
นอกจากนั้นหากย้อนกลับไปที่ตัวอย่างงานวิจัยที่น่าสนใจเมื่อ 34 ปีที่แล้ว ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์อินเดียตะวันตก West Indian Medical Journal เมื่อปี พ.ศ. 2534 โดยได้มีการศึกษาติดตามผล 5 ปี ของประชาชนท้องถิ่นในประเทศจาไมกาโดยสำรวจเด็กชาวจาไมกา 59 คนที่มารดาใช้กัญชาระหว่างตั้งครรภ์ พบว่า เด็กทารกที่เกิดจากมารดาที่สูบกัญชาในระหว่างการตั้งครรภ์มีสมองและพัฒนาการที่ดีกว่ากลุ่มที่มารดาไม่ได้ใช้กัญชา[12]
ต่อมางานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารทางด้านจิตวิทยา Fronteir in Psychology เมื่อเดือนพฤษภาคม 2563 ด้วยการทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบอย่างรอบด้านจำนวน 1,001 งานวิจัย พบว่า การใช้กัญชาในระหว่างการตั้งครรภ์ไม่ได้ทำให้เด็กมีปัญหาทางสมอง[13]
อย่างไรก็ตามแม้ผู้เขียนจะไม่เคยเห็นด้วยกับการใช้กัญชาในเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปีการใช้กัญชาในสตรีมีครรภ์ รวมถึงการใช้กัญชาในสตรีให้นมบุตร (ถ้าไม่ป่วย) เพราะอย่างน้อยก็เป็นการดำเนินรอยตามกฎกติกาในประเทศอื่นที่มีประสบการณ์มากกว่า โดยเฉพาะการสูบกัญชาที่มีสารพิษหลายชนิดจากการเผาไหม้ก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจในระยะยาว อีกทั้งความจริงการบริโภคสิ่งที่มึนเมาได้ก็ไม่ควรจะให้กลุ่มคนเหล่านี้ได้บริโภคอยู่แล้ว
แต่ในความเป็นจริงงานวิจัยที่ได้ถูกค้นพบมากขึ้นเรื่อยๆ ว่ากัญชาไม่ได้ก่อให้เกิดโทษมากดังที่มีการปั่นกระแสข่าว แต่กลับยังมีประโยชน์มากมายมหาศาลอีกด้วยจนมีการจดสิทธิบัตรสารสกัดกัญชาในต่างประเทศแล้วจำนวนมาก รวมถึงการจดสิทธิบัตรด้านว่า “กัญชามีสรรพคุณปกป้องระบประสาท” โดยกระทรวงสาธารณสุขประเทศสหรัฐ ได้รับจดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 มาแล้วด้วย
“โดยพบว่าสารแคนนาบินอยด์มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ คุณสมบัติที่ค้นพบใหม่นี้ทำให้ cannabinoids มีประโยชน์ในการรักษาและป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับการเกิดออกซิเดชั่นที่หลากหลาย เช่น โรคขาดเลือด โรคที่เกี่ยวข้องกับอายุ การอักเสบและโรคภูมิต้านตนเอง พบว่า cannabinoids มีการประยุกต์ใช้เฉพาะในฐานะสารปกป้องระบบประสาท ตัวอย่างเช่น ในการจำกัดความเสียหายทางระบบประสาทหลังจากการขาดเลือด เช่น โรคหลอดเลือดสมองและการบาดเจ็บ หรือในการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน และภาวะสมองเสื่อมจากเชื้อ HIV”[14]
คำถามมีอยู่ว่าเราควรจะเติบโตในการให้กัญชาเป็นสมุนไพรที่เป็นความมั่นคงทางยาประจำบ้าน ที่ให้ความรู้กับประชาชนแทนการกีดกันมิให้ประชาชนเข้าถึงเพื่อการพึ่งพาตัวเองหรือไม่?
สุดท้ายสิ่งที่น่าสนใจก็คือแม้การปั่นกระแสการตื่นกลัวเกิดขึ้นมากจากกลุ่มผลประโยชน์หลากหลาย แต่ความตื่นตัวของประชาชนน่าจะมากขึ้นจนยั้งไม่อยู่แล้วเพราะรายงานสถิติการใช้งานแอพเว็บไซต์ปลูกกัญ” ประจำวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 นั้น มีจำนวนเข้าใช้ในงานระบบมากถึง 43,321,387 คนแล้ว และมีผู้ที่ลงทะเบียนปลูกแล้วจำนวน 978,002 คน[15]
ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
อ้างอิง
[1] CatalinaLopez-Quintero, et al., Probability and predictors of transition from first use to dependence on nicotine, alcohol, cannabis, and cocaine: Results of the National Epidemiologic Survey on Alcohol and Related Conditions (NESARC),Drug and Alcohol dependence, Volume 115, Issues 1-2, May 2011, Pages 120-130
https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0376871610003753?via%3Dihub
[2] สัมภาษณ์นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ทางโทรศัพท์มือถือวันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม 2565 เวลา 14.12 น.
[3] Deborah S. Hasin, et al., DSM-5 Criteria for Substance Use Disorders: Recommendations and Rationale, The American Journal of Psychiatry, Published Online 1 August 2013 https://doi.org/10.1176/appi.ajp.2013.12060782
https://ajp.psychiatryonline.org/doi/full/10.1176/appi.ajp.2013.12060782
[4] Deborah Hasin, et al., Test-retest reliability of DSM-5 substance disorder measures as assessed with the PRISM-5, a clinician-administered diagnostic interview., Drug and Alcohol Dependence, Volume 216, 1 November 2020, 108294
https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0376871620304592?via%3Dihub
[5] Neil T. Smith, A review of the published literature into cannabis withdrawal symptoms in human users, Addiction, 28 May 2002, https://doi.org/10.1046/j.1360-0443.2002.00026.x
https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1046/j.1360-0443.2002.00026.x
[6] ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด(ศศก.) บทสรุปผู้บริหาร โครงการวิจัย ศึกษาสถานการณ์ใช้กัญชาการแพทย์ในประเทศไทย (ระยะ ที่ 1) ช่วงปี พ.ศ. 2562 - 2563
https://cads.in.th/cads/media/upload/1621391387-บทสรุปผู้บริหาร.pdf
[7] นิด้าโพล,การปลดล็อกกัญชาออกจากบัญชียาเสพติด ระหว่างวันที่ 13-15 มิถุนายน 2565, วันที่อัพเดทล่าสุด : 19 มิถุนายน 2565
https://nidapoll.nida.ac.th/survey_detail?survey_id=579
[8] กกต. ประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ, ข่าวสานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง,2562
https://www.ect.go.th/ect_th/ewt_dl_link.php?nid=5434
[9] ผู้จัดการออนไลน์, อีสานโพล ชี้กัญชาเสรีทำคะแนนนิยม ภท.พุ่ง 5% อีสานเกินครึ่งพร้อมปลูกกินไม่เสพ คาด 1 ปี ถูกลง, เผยแพร่: 23 มิ.ย. 2565 19:57 ปรับปรุง: 23 มิ.ย. 2565 19:57 น.
https://mgronline.com/politics/detail/9650000059923
[10] สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ณ เดือนเมษายน2565
[11] Vera L. Alves, The synthetic cannabinoids phenomenon: from structure to toxicological properties, Critical Reviews in Toxicology, Volume 50- Issue 5, Pages 359-382 | Received 20 Jan 2020, Accepted 27 Apr 2020, Published online: 12 Jun 2020
https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/10408444.2020.1762539?journalCode=itxc20
[12] Madeline H. Meier, Long-Term Cannabis Use and Cognitive Reserves and Hippocampal Volume in Midlife, American Journal of Psychiatry, 2022 May;179(5):362-374. doi: 10.1176/appi.ajp.2021.21060664.
[13] Madeline H.Meier, Associations between adolescent cannabis use frequency and adult brain structure: A prospective study of boys followed to adulthood
Author links open overlay panel, Drug and Alcohol Dependence, Volume 202, 1 September 2019, Pages 191-199
https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0376871619302352?via%3Dihub
[14] ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์, ”กัญชา” กับ “เนเธอร์แลนด์โมเดล” ลดปัญหาอาชญากรรม “เรือนจำร้าง” จนต้องนำเข้านักโทษจากต่างประเทศ !?, แฟนเพจ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โพสต์วันที่ 29 มิถุนายน 2565, และเว็บ Mgr Online วันที่ 1 กรกฎาคม 2565
https://www.facebook.com/123613731031938/posts/pfbid02kDnNsa4Zo75UsmuDRY5eMg1aeWdJQU1cw3J7D5kDX51KhVxEb9ieWNsrR5F7uJ7bl/
https://mgronline.com/daily/detail/9650000062568
[15] Michael Tonry (22 September 2015). Crime and Justice, Volume 44: A Review of Research. University of Chicago Press. pp. 261–. ISBN 978-0-226-34102-6.
[16] Worldpopulationreview.com, Countries by IQ - Average IQ by Country 2022,
https://worldpopulationreview.com/country-rankings/average-iq-by-country
[17] Jack K. Reed, Impacts of Marijuana Legalization in Colorado, A Report Pursuant to C.R.S. 24-33.4-516, July 2021
https://cdpsdocs.state.co.us/ors/docs/reports/2021-SB13-283_Rpt.pdf
[18] Worldpopulationreview.com, Average IQ by State 2022
https://worldpopulationreview.com/state-rankings/average-iq-by-state
[19] Nicholas J. Jackson, et al., Impact of adolescent marijuana use on intelligence: Results from two longitudinal twin studies, Proc Natl Acad Sci U S A. 2016;113(5):E500-E508. accepted by the Editorial Board December 14, 2015 (received for review August 20, 2015)
https://www.pnas.org/doi/full/10.1073/pnas.1516648113
[20] Meier MH et al., Associations between adolescent cannabis use and neuropsychological decline: A longitudinal co-twin control study. Addiction. 2018; 113, 257–265.
https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1111/add.13946
[21] Ross JM, Ellingson JM, Rhee SH, et al. Investigating the causal effect of cannabis use on cognitive function with a quasi-experimental co-twin design. Drug Alcohol Dependence. Volume 206, 1 January 2020, 107712
https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0376871619304892
[22] J S Hayes, et al., Five-year follow-up of rural Jamaican children whose mothers used marijuana during pregnancy, West Indian Medical Journal, 1991 Sep;40(3):120-3.
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/1957518/
[23] Ciara A. Torres, Totality of the Evidence Suggests Prenatal Cannabis Exposure Does Not Lead to Cognitive Impairments: A Systematic and Critical Review, Frontier, Psychol., 08 May 2020
https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fpsyg.2020.00816/full
[24] Aidan J. HampsonJulius AxelrodMaurizio Grimaldi, Cannabinoids as antioxidants and neuroprotectants, US Patents : US6630507B1,1998-2019
https://patents.google.com/patent/US6630507B1/en
[25] องค์การอาหารและยา, รายงานสถิติการใช้งานแอพ ปลูกกัญ, เว็บไซต์ปลูกกัญ”, ประจำวันที่ 7 กรกฎาคม 2565
https://www.fda.moph.go.th/Pages/images/NEWS/0765/report_plookganja0707650700.jpg