ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล (Citizen data sciences)
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
สยามในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปิดประเทศสู่ความทันสมัย (Modernization) ทั้งที่เราได้เตรียมตัวไว้เป็นอย่างดี และที่ไม่ทันได้เตรียมตัวแต่ถูกอิทธิพลต่างชาติเข้ามาครอบงำอย่างรุนแรงฉับไว การเปลี่ยนแปลงประการหนึ่งที่เราถูกครอบงำจากทั้งชาติตะวันตกและชาติตะวันออกในเวลาเดียวกันคือระบบการเงินการธนาคาร ซึ่งธนาคารแบบตะวันตกทยอยเข้ามามีอิทธิพลในสยามตั้งแต่เราทำสนธิสัญญากับต่างชาติตะวันตกและเข้ามาเปิดสาขาดำเนินกิจการธนาคารในประเทศสยามอย่างมากมาย ในขณะที่ระบบการธนาคารแบบจีนที่เรียกว่าโพยก๊วน จากการที่เรามีจีนอพยพมาเป็นกุลีเสียค่าผูกปี้มากมายต้องการส่งเงินกลับเมืองจีนก็ทำให้เกิดการแลกเงินและรับส่งเงินผ่านโพยก๊วนเป็นจำนวนมาก
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบการเงินการธนาคารดังกล่าวของไทย เป็นเรื่องที่เจอผลกระทบจากทั้งตะวันตกและตะวันออกที่เราไม่ได้เตรียมตัวตั้งรับ เจ้านายไทยสองพระองค์คือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและนายพันเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย พระราชอนุชาในฐานะเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ได้ทรงเฝ้าสังเกตการณ์และทรงร่วมกันคิดว่าต้องทำให้ระบบการเงินการธนาคารอยู่ในมือของคนไทยมิใช่มือต่างชาติไม่ว่าจะชาติตะวันตกหรือตะวันออกเช่นนี้อีกต่อไป
นายพันเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัยเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาห่วง ทรงเป็นต้นราชสกุลไชยันต์ ทรงดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมวัง เสนาบดีกระทรวงวัง และเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติและองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ยังทรงดำรงตำแหน่งกรรมสัมปาทิกหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร
น่าประหลาดอยู่มิใช่น้อยที่ทรงใช้สิ่งที่ทรงทำคือการเป็นกรรมสัมปาทิกหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครมาร่วมกับงานในตำแหน่งหน้าที่ราชการคือเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติในการเริ่มต้นกิจการธนาคารในประเทศไทย
โดยพระบรมราชานุญาตและการร่วมลงทุนของกรมพระคลังข้างที่ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ได้ทรงเปิดกิจการบุคคลัภย์ (Book Club) ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2447 เพราะทรงเชื่อว่าสยามประเทศมีความจำเป็นต้องมีระบบการเงินธนาคารเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศให้เกิดความมั่นคง
ธนาคารได้เปิดดำเนินการในนามบุคคลัภย์ ณ ที่ทำการเดิมของบุคคลัภย์ ตำบลบ้านหม้อ อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร ในปี 2499 โดยฉากหน้าเป็นห้องสมุดสำหรับให้ยืมหนังสือ แต่ด้านหลังดำเนินกิจการธนาคารให้กู้ยืมเงิน เพราะยังเกรงอิทธิพลของธนาคารของชาติตะวันตกและระบบโพยก๊วนของพ่อค้าจีนโพ้นทะเลอยู่มาก ไม่เปิดกิจการแข่งกันโดยตรงในช่วงแรก
ต่อมากิจการบุคคลัภย์ขยายตัวมากขี้น กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัยตัดสินพระทัยลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเพื่อมาเป็นผู้จัดการบุคคลัภย์ และเมื่อกิจการธนาคารบุคคลัภย์ได้เติบโตมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานอำนาจพิเศษให้จัดตั้ง บริษัท แบงก์สยามกัมมาจล ทุน จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์อย่างเป็นทางการตั้งแต่แต่วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2449 ณ ที่ตั้งเดิมที่ตำบลบ้านหม้อ
การที่เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติตัดสินพระทัยลาออกจากราชการเพื่อมาทรงดำเนินกิจการธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่งเริ่มต้นขึ้นใหม่ในประเทศไทยนั้นนับว่าเป็นเรื่องใหญ่มากและต้องทรงเห็นความสำคัญของกิจการธนาคารพาณิชย์ที่มีต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างยิ่ง
ในปี พ.ศ. 2453 แบงก์สยามกัมมาจลทุนจำกัดได้ย้ายสำนักงานใหญ่ไปยังอาคารตลาดน้อย ตำบลตลาดน้อย อำเภอสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร
ในปีพ.ศ. 2455 แบงก์สยามกัมมาจลทุนจำกัด เปิดสาขาแห่งแรก ย่านท่าน้ำราชวงศ์ ตำบลสำเพ็ง อำเภอสัมพันธวงศ์ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม
ในปี พ.ศ. 2463 แบงก์สยามกัมมาจลทุนจำกัด เปิดสาขาแห่งแรก ในส่วนภูมิภาค คือ สาขาทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ในปี พ.ศ. 2482 แบงก์สยามกัมมาจลทุนจำกัดเปลี่ยนชื่อภาษาไทยจาก "แบงก์สยามกัมมาจล" เป็น "ธนาคารไทยพาณิชย์" และเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษจาก "The Siam Commercial Bank, Limited" เป็น "The Thai Commercial Bank, Limited"
หลังจากนั้นธนาคารไทยพาณิชย์ก็ได้เติบโตเคียงคู่กับเศรษฐกิจไทยมาโดยตลอดโดยเป็นธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่อันดับต้นของประเทศมาโดยเสมอมา
ในปี พ.ศ. 2489 ธนาคารไทยพาณิชย์ เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษ กลับมาเป็น "The Siam Commercial Bank, Limited"
ในปี พ.ศ. 2536 - ธนาคารไทยพาณิชย์เข้าจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ชื่อภาษาไทยว่า "ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)" และชื่อภาษาอังกฤษว่า "Siam Commercial Bank Public Company Limited"
วิกฤติต้มยำกุ้งในปี พ.ศ.2540 ได้ส่งผลกระทบต่อธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง โดยมีหนี้เสียหรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-performing loan: NPL) เป็นจำนวนมาก ประเทศไทยเข้าสู่ Letter of Intent: LOI กับองค์กรการเงินระหว่างประเทศ International Monetary Fund: IMF เพื่อขอเงินช่วยเหลือ และต้องเข้าสู่มาตรการกรอบนโยบายต่างๆ ส่งผลต่อระบบธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด ธนาคารไทยพาณิชย์เองก็ได้รับผลกระทบจนต้องมีการเพิ่มทุนเพื่อรักษาอัตราส่วนของเงินกองทุนให้เพียงพอ กระทรวงการคลังได้เพิ่มทุนกับธนาคารไทยพาณิชย์ไปเป็นจำนวนหนึ่ง
ในประเด็นนี้ ศ.ดร.พอพันธ์ อุยยานนท์ ได้ชี้ให้เห็นว่าธนาคารไทยพาณิชย์ ที่มีสำนักงานทรัพย์ส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ประสบวิกฤติอย่างหนัก ส่งผลให้ต้องเพิ่มทุนเพื่อกอบกู้วิกฤติของธนาคาร ทำให้กระทรวงการคลังต้องเข้ามาช่วยเหลือ ด้วยการเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ แต่พอถึงปี 2547 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้นำที่ดินในย่านทุ่งพญาไท ซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยงานราชการจำนวน 484.5 ไร่ ไปแลกกับหุ้นของไทยพาณิชย์ที่กระทรวงการคลังถืออยู่ จนทำให้สำนักงานทรัพย์ส่วนพระมหากษัตริย์กลับมาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้อีก ศ.ดร. พอพันธ์ ระบุในงานวิจัยว่า เป็นการใช้อำนาจเหนือรัฐ เพราะการแลกที่ดินกับหุ้นกฎหมายไม่อนุญาตให้ทำ [1]
ข้อเท็จจริงเมื่อได้ค้นมติคณะรัฐมนตรีย้อนหลังไปจนวันที่ 1 มกราคม 2500 อันเป็นเวลานานที่สุดที่จะค้นหามติคณะรัฐมนตรีทางออนไลน์ได้จาก https://resolution.soc.go.th/ โดยค้นด้วยคำว่าสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พบว่าสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ขายที่ดินให้กับหน่วยราชการต่างๆ ไปเป็นจำนวนหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เสนอขายบ้านพิษณุโลกให้แก่รัฐบาล ตามมติคณะรัฐมนตรี 18/02/2529 โดยเงินงวดแรกที่จะต้องชำระจำนวน 27 ล้านบาทและค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ 1% ให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรเงินงบประมาณงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นให้ต่อไป
มหาวิทยาลัยมหิดลโดยมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 13/10/2513 ขอซื้อที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยกระทรวงการคลังจะจัดสรรเงินงบกลาง จำนวน 6,205,000 บาท เพื่อชำระงวดแรกให้ แต่มหาวิทยาลัยมหิดลจะต้องขออนุมัติคณะรัฐมนตรีทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันในปีงบประมาณ 2513 เต็มตามจำนวนต่อไป ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
นอกจากนี้แล้วการแลกที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับหุ้นที่กระทรวงการคลังถือไว้ก็เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยอาศัยมติคณะรัฐมนตรีดังที่เกิดการแลกเปลี่ยนทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับทรัพย์สินของกระทรวงการคลัง กค 12/02/2545 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติการแลกเปลี่ยนทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กับทรัพย์สินของกระทรวงการคลังดำเนินการแลกเปลี่ยนทรัพย์สิน คือ ที่ดินบริเวณสวนมิสกวันและคุรุสภา ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กับหลักทรัพย์ที่กระทรวงการคลังถือใน บมจ. ปตท. ตามเงื่อนไขการแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ ให้มีผลหลังจาก 180 วัน นับจากวันปิดการเสนอขายหุ้น บมจ. ปตท. (วันที่ 27 พฤศจิกายน 2544) และอนุมัติในหลักการให้ดำเนินการแลกเปลี่ยนหุ้นของกระทรวงการคลังกับที่ดินหรือหุ้นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยมีแนวทางและหลักการการแลกเปลี่ยนทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับทรัพย์สินของกระทรวงการคลัง รวมทั้งอนุมัติให้ดำเนินการแลกเปลี่ยนทรัพย์สินของกระทรวงการคลังในที่ดินบริเวณดังกล่าวได้ โดยไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจำหน่ายกิจการหรือหุ้นที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ พ.ศ. 2504 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยให้รับความเห็นเพิ่มเติมของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เกี่ยวกับการปรับปรุงให้ราคาของทรัพย์สินทั้ง 2 แห่งเท่ากัน เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479 ไปดำเนินการด้วย
เมื่อตีมูลค่าที่ดินเป็นราคาตลาดและราคาหุ้นตามราคาตลาดก็ถือว่าแลกเปลี่ยนกันได้ โดยเป็นลักษณะของ Barter trade ไม่ต้องใช้เงินสดเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งนอกจากจะทำได้สำหรับหน่วยราชการแล้ว ในการค้าระหว่างประเทศก็ทำ เช่น ไทยเอาข้าวสารไปแลกกับน้ำมันจากประเทศอื่นๆ เป็นต้น
สำหรับรายละเอียดการแลกเปลี่ยนที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับหุ้นในบริษัทธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) นั้นแบ่งเป็นสองระยะดังนี้
หนึ่ง การแลกเปลี่ยนทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับทรัพย์สินของกระทรวงการคลัง กค 01/04/2546 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอการแลกเปลี่ยนทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับทรัพย์สินของกระทรวงการคลังโดยให้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิที่ดินดังกล่าวเป็นกรณีพิเศษตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 47 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ข้อ 2 (7) (ฎ) ที่กำหนดว่า "ค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์และค่าจดทะเบียนการจำนอง เฉพาะในกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมเป็นพิเศษเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดในอัตราร้อยละ 0.01"
สอง การแลกเปลี่ยนทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับทรัพย์สินของกระทรวงการ คลัง ระยะที่ 2 กค 28/12/2547 คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงการคลังเสนอดังนี้ เห็นชอบให้กระทรวงการคลังดำเนินการแลกเปลี่ยนทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับกระทรวงการคลัง ระยะที่ 2 คือแลกเปลี่ยนที่ดินบริเวณทุ่งพญาไท ของสำนักงานทรัพย์สิน ฯ จำนวน 424-0-78 ไร่ ราคาประเมิน 14,436,265,000 บาท กับหุ้นบุริมสิทธิของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ที่กระทรวงการคลังถือจำนวน 410,841,981 หุ้น ในมูลค่าที่เท่ากัน จำนวน 14,436,265,000 บาท โดย ณ วันแลกเปลี่ยนทรัพย์สินหากมูลค่าหุ้นบุริมสิทธิของกระทรวงการคลัง ที่จะทำการแลกเปลี่ยนสูงกว่ามูลค่าที่ดินของสำนักงานทรัพย์สิน ฯ หรือหากสำนักงานทรัพย์สิน ฯ ไม่สามารถโอนที่ดินได้ครบถ้วนตามจำนวนและมูลค่าดังกล่าว กระทรวงการคลังจะลดจำนวนหุ้นบุริมสิทธิที่จะทำการแลกเปลี่ยนลง หรือสำนักงานทรัพย์สิน ฯ จะนำหลักทรัพย์อื่น ได้แก่ ที่ดิน เงินสด หรือหุ้น มาส่งมอบเพิ่มเติม เพื่อให้ได้มูลค่าทรัพย์สินที่จะทำการแลกเปลี่ยนในจำนวนที่เท่ากัน ทั้งนี้ การแลกเปลี่ยนทรัพย์สิน ระยะที่ 2 ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจำหน่ายกิจการหรือหุ้นที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ พ.ศ. 2504 เช่นเดียวกับการแลกเปลี่ยนทรัพย์สินตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2545 และอนุมัติให้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากอัตราร้อยละ 2 ลดลงเหลืออัตราร้อยละ 0.01 เป็นกรณีพิเศษตามกฎกระทรวงฉบับที่ 47 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ข้อ 2(7)(ฎ) และให้สำนักงานทรัพย์สิน ฯ เป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียม ฯ จำนวนดังกล่าว
ดังนั้นข้อกล่าวอ้างของ ศ.ดร.พอพันธ์ จึงไม่สมอ้าง หนึ่ง เพราะ barter trade สามารถทำได้ โดยอาศัยมติคณะรัฐมนตรี สอง การแลกเปลี่ยนที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับหุ้นที่กระทรวงการคลังถือเคยทำมาก่อนแล้วคือหุ้นของ ปตท. สาม การแลกเปลี่ยนเป็นไปอย่างยุติธรรมเพราะอิงราคาตลาดทั้งสองฝ่าย สี่การโอนและแลกเปลี่ยนทำโดยมติคณะรัฐมนตรีซึ่งเลยซื้อขายที่ดินกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มาก่อนแม้กระทั่งที่ดินบ้านพิษณุโลกอันเป็นที่ตั้งของรัฐบาลก็ตาม และห้า การโอนแลกเปลี่ยนมีการเสียค่าฤชาอากรและค่าธรรมเนียมอย่างถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ
การเปลี่ยนแปลงสำคัญในปี2561 ภายหลังที่มีการยุบรวมสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์เข้าไปรวมกับสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์แล้วก็คือการเปลี่ยนไปถือหุ้นในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยตรงจากที่เดิมถือในนามสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ยกตัวอย่างเช่น บมจ. ธนาคารไทยพาณิชย์ นั้น พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถือหุ้นร้อยละ 23.35 ดังตารางด้านล่างนี้
ทำไมต้องทรงถือหุ้นในพระปรมาภิไธย ประการแรกเพื่อให้พระราชทานหุ้นได้ เช่น พระราชทานหุ้นให้วชิราวุธวิทยาลัย พระราชทาน ที่ดินให้หน่วยราชการต่างๆ ประการที่สอง เพื่อให้ทรงต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีอื่นๆ เช่นเดียวกันกับประชาชน ประการที่สามเพื่อให้ทรงกำกับดูแลธรรมาภิบาลได้ดีมากขึ้น ประการที่สี่ ทำให้ทรงจัดการพระราชทรัพย์ได้สะดวกและเป็นประโยชน์ได้ง่ายขึ้น ประการที่ห้า ทำให้ทรงได้รับสิทธิ์อันชอบธรรมในการดูแลพระราชมรดกแห่งพระราชวงศ์จักรี เพื่อเหตุผลประการสุดท้ายคือ ทำให้ทรงงานและทรงใช้พระราชทรัพย์ในการทรงงานเพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาชน สืบสาน ต่อยอด พระราชดำริแห่งในหลวงรัชกาลที่ ๙ เพื่อให้ประเทศมีการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปได้
ประเด็นที่คณะราษฎร (2563) โจมตีว่าการถือหุ้นของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์หรือการถือหุ้นในพระปรมาภิไธยนั้นไม่ถูกต้อง เพราะทำให้เกิดการใช้อำนาจพิเศษ หรือเกิดการผูกขาด เช่นที่นางสาว ปนัสยาสิทธิจิรวัฒนกุล หรือรุ้ง ได้เคยแสดงความเห็นไว้นั้นก็ไม่จริง
ประการแรก บมจ. ธนาคารไทยพาณิชย์ ไม่ได้ผูกขาดในระบบการเงินการธนาคาร เฉพาะธุรกิจธนาคารมีคู่แข่งในประเทศไทยที่เป็นธนาคารพาณิชย์ของไทยเกือบ 20 ราย และธนาคารพาณิชย์ต่างชาติอีกเป็นจำนวนมาก
ประการที่สอง บมจ. ธนาคารไทยพาณิชย์เอง ได้รับรางวัลผลการประเมินการดูแลกำกับกิจการในระดับดีเลิศจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ในปี 2562 ได้คะแนนประเมินในระดับดีเยี่ยมจากสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices: SJDI) ในปี 2562 ซึ่งจะเห็นได้ว่ารางวัลระดับประเทศและระดับนานาชาติให้การยอมรับบมจ. ธนาคารไทยพาณิชย์มีธรรมาภิบาลที่ดี (Good governance)
ประการที่สาม การถือหุ้นนั้นเป็นไปตามหลักการแยกตัวการตัวแทน (Agent) ออกจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ (Owner) ผู้ถือหุ้นนั้นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ในกรณีของบมจ. ธนาคารไทยพาณิชย์ การถือหุ้นในพระปรมาภิไธยแสดงให้เห็นว่าทรงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่มิได้ทรงเข้าไปจัดการโดยตรง หากแต่มีคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีอำนาจลงชื่อเป็นสำคัญผูกพัน เป็นตัวการตัวแทน เพื่อจะแยกอำนาจการบริหาร (Administration) ออกจากตัวการตัวแทน (Agent) ในการถือหุ้น ในบมจ. ธนาคารไทยพาณิชย์ดังรูปที่แสดงด้านล่างนี้
แม้จะมีเสียงวิจารณ์มากมายในช่วงปี 2563 แต่ธนาคารไทยพาณิชย์ก็ยังคงมีจุดกำเนิดที่ต้องการต่อสู้กับสถาบันการเงินต่างชาติทั้งจากชาติตะวันตกและชาติตะวันออกในประเทศไทย และยังคงทำหน้าที่นี้อยู่อย่างเข้มแข็งแม้ในปัจจุบัน
หมายเหตุ :
[1] อ่านรายงานวิจัยฉบับเต็มได้จาก พอพันธ์ อุยยานนท์. (2549). สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับบทบาทการลงทุนในธุรกิจ. กรุงเทพ: สํานักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.). และอ่านบทความฉบับย่อได้จาก พอพันธ์ อุยยานนท์. (2557). สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับบทบาทการลงทุนในธุรกิจ. ใน ชัยธวัช ตุลาธน (บรรณาธิการ). พระพรหมช่วยอำนวยให้ชื่นฉ่ำ เศรษฐกิจการเมืองว่าด้วยทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์หลัง 2475. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน.
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล (Citizen data sciences)
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
สยามในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปิดประเทศสู่ความทันสมัย (Modernization) ทั้งที่เราได้เตรียมตัวไว้เป็นอย่างดี และที่ไม่ทันได้เตรียมตัวแต่ถูกอิทธิพลต่างชาติเข้ามาครอบงำอย่างรุนแรงฉับไว การเปลี่ยนแปลงประการหนึ่งที่เราถูกครอบงำจากทั้งชาติตะวันตกและชาติตะวันออกในเวลาเดียวกันคือระบบการเงินการธนาคาร ซึ่งธนาคารแบบตะวันตกทยอยเข้ามามีอิทธิพลในสยามตั้งแต่เราทำสนธิสัญญากับต่างชาติตะวันตกและเข้ามาเปิดสาขาดำเนินกิจการธนาคารในประเทศสยามอย่างมากมาย ในขณะที่ระบบการธนาคารแบบจีนที่เรียกว่าโพยก๊วน จากการที่เรามีจีนอพยพมาเป็นกุลีเสียค่าผูกปี้มากมายต้องการส่งเงินกลับเมืองจีนก็ทำให้เกิดการแลกเงินและรับส่งเงินผ่านโพยก๊วนเป็นจำนวนมาก
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบการเงินการธนาคารดังกล่าวของไทย เป็นเรื่องที่เจอผลกระทบจากทั้งตะวันตกและตะวันออกที่เราไม่ได้เตรียมตัวตั้งรับ เจ้านายไทยสองพระองค์คือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและนายพันเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย พระราชอนุชาในฐานะเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ได้ทรงเฝ้าสังเกตการณ์และทรงร่วมกันคิดว่าต้องทำให้ระบบการเงินการธนาคารอยู่ในมือของคนไทยมิใช่มือต่างชาติไม่ว่าจะชาติตะวันตกหรือตะวันออกเช่นนี้อีกต่อไป
นายพันเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัยเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาห่วง ทรงเป็นต้นราชสกุลไชยันต์ ทรงดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมวัง เสนาบดีกระทรวงวัง และเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติและองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ยังทรงดำรงตำแหน่งกรรมสัมปาทิกหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร
น่าประหลาดอยู่มิใช่น้อยที่ทรงใช้สิ่งที่ทรงทำคือการเป็นกรรมสัมปาทิกหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครมาร่วมกับงานในตำแหน่งหน้าที่ราชการคือเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติในการเริ่มต้นกิจการธนาคารในประเทศไทย
โดยพระบรมราชานุญาตและการร่วมลงทุนของกรมพระคลังข้างที่ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ได้ทรงเปิดกิจการบุคคลัภย์ (Book Club) ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2447 เพราะทรงเชื่อว่าสยามประเทศมีความจำเป็นต้องมีระบบการเงินธนาคารเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศให้เกิดความมั่นคง
ธนาคารได้เปิดดำเนินการในนามบุคคลัภย์ ณ ที่ทำการเดิมของบุคคลัภย์ ตำบลบ้านหม้อ อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร ในปี 2499 โดยฉากหน้าเป็นห้องสมุดสำหรับให้ยืมหนังสือ แต่ด้านหลังดำเนินกิจการธนาคารให้กู้ยืมเงิน เพราะยังเกรงอิทธิพลของธนาคารของชาติตะวันตกและระบบโพยก๊วนของพ่อค้าจีนโพ้นทะเลอยู่มาก ไม่เปิดกิจการแข่งกันโดยตรงในช่วงแรก
ต่อมากิจการบุคคลัภย์ขยายตัวมากขี้น กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัยตัดสินพระทัยลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเพื่อมาเป็นผู้จัดการบุคคลัภย์ และเมื่อกิจการธนาคารบุคคลัภย์ได้เติบโตมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานอำนาจพิเศษให้จัดตั้ง บริษัท แบงก์สยามกัมมาจล ทุน จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์อย่างเป็นทางการตั้งแต่แต่วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2449 ณ ที่ตั้งเดิมที่ตำบลบ้านหม้อ
การที่เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติตัดสินพระทัยลาออกจากราชการเพื่อมาทรงดำเนินกิจการธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่งเริ่มต้นขึ้นใหม่ในประเทศไทยนั้นนับว่าเป็นเรื่องใหญ่มากและต้องทรงเห็นความสำคัญของกิจการธนาคารพาณิชย์ที่มีต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างยิ่ง
ในปี พ.ศ. 2453 แบงก์สยามกัมมาจลทุนจำกัดได้ย้ายสำนักงานใหญ่ไปยังอาคารตลาดน้อย ตำบลตลาดน้อย อำเภอสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร
ในปีพ.ศ. 2455 แบงก์สยามกัมมาจลทุนจำกัด เปิดสาขาแห่งแรก ย่านท่าน้ำราชวงศ์ ตำบลสำเพ็ง อำเภอสัมพันธวงศ์ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม
ในปี พ.ศ. 2463 แบงก์สยามกัมมาจลทุนจำกัด เปิดสาขาแห่งแรก ในส่วนภูมิภาค คือ สาขาทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ในปี พ.ศ. 2482 แบงก์สยามกัมมาจลทุนจำกัดเปลี่ยนชื่อภาษาไทยจาก "แบงก์สยามกัมมาจล" เป็น "ธนาคารไทยพาณิชย์" และเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษจาก "The Siam Commercial Bank, Limited" เป็น "The Thai Commercial Bank, Limited"
หลังจากนั้นธนาคารไทยพาณิชย์ก็ได้เติบโตเคียงคู่กับเศรษฐกิจไทยมาโดยตลอดโดยเป็นธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่อันดับต้นของประเทศมาโดยเสมอมา
ในปี พ.ศ. 2489 ธนาคารไทยพาณิชย์ เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษ กลับมาเป็น "The Siam Commercial Bank, Limited"
ในปี พ.ศ. 2536 - ธนาคารไทยพาณิชย์เข้าจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ชื่อภาษาไทยว่า "ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)" และชื่อภาษาอังกฤษว่า "Siam Commercial Bank Public Company Limited"
วิกฤติต้มยำกุ้งในปี พ.ศ.2540 ได้ส่งผลกระทบต่อธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง โดยมีหนี้เสียหรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-performing loan: NPL) เป็นจำนวนมาก ประเทศไทยเข้าสู่ Letter of Intent: LOI กับองค์กรการเงินระหว่างประเทศ International Monetary Fund: IMF เพื่อขอเงินช่วยเหลือ และต้องเข้าสู่มาตรการกรอบนโยบายต่างๆ ส่งผลต่อระบบธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด ธนาคารไทยพาณิชย์เองก็ได้รับผลกระทบจนต้องมีการเพิ่มทุนเพื่อรักษาอัตราส่วนของเงินกองทุนให้เพียงพอ กระทรวงการคลังได้เพิ่มทุนกับธนาคารไทยพาณิชย์ไปเป็นจำนวนหนึ่ง
ในประเด็นนี้ ศ.ดร.พอพันธ์ อุยยานนท์ ได้ชี้ให้เห็นว่าธนาคารไทยพาณิชย์ ที่มีสำนักงานทรัพย์ส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ประสบวิกฤติอย่างหนัก ส่งผลให้ต้องเพิ่มทุนเพื่อกอบกู้วิกฤติของธนาคาร ทำให้กระทรวงการคลังต้องเข้ามาช่วยเหลือ ด้วยการเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ แต่พอถึงปี 2547 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้นำที่ดินในย่านทุ่งพญาไท ซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยงานราชการจำนวน 484.5 ไร่ ไปแลกกับหุ้นของไทยพาณิชย์ที่กระทรวงการคลังถืออยู่ จนทำให้สำนักงานทรัพย์ส่วนพระมหากษัตริย์กลับมาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้อีก ศ.ดร. พอพันธ์ ระบุในงานวิจัยว่า เป็นการใช้อำนาจเหนือรัฐ เพราะการแลกที่ดินกับหุ้นกฎหมายไม่อนุญาตให้ทำ [1]
ข้อเท็จจริงเมื่อได้ค้นมติคณะรัฐมนตรีย้อนหลังไปจนวันที่ 1 มกราคม 2500 อันเป็นเวลานานที่สุดที่จะค้นหามติคณะรัฐมนตรีทางออนไลน์ได้จาก https://resolution.soc.go.th/ โดยค้นด้วยคำว่าสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พบว่าสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ขายที่ดินให้กับหน่วยราชการต่างๆ ไปเป็นจำนวนหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เสนอขายบ้านพิษณุโลกให้แก่รัฐบาล ตามมติคณะรัฐมนตรี 18/02/2529 โดยเงินงวดแรกที่จะต้องชำระจำนวน 27 ล้านบาทและค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ 1% ให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรเงินงบประมาณงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นให้ต่อไป
มหาวิทยาลัยมหิดลโดยมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 13/10/2513 ขอซื้อที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยกระทรวงการคลังจะจัดสรรเงินงบกลาง จำนวน 6,205,000 บาท เพื่อชำระงวดแรกให้ แต่มหาวิทยาลัยมหิดลจะต้องขออนุมัติคณะรัฐมนตรีทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันในปีงบประมาณ 2513 เต็มตามจำนวนต่อไป ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
นอกจากนี้แล้วการแลกที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับหุ้นที่กระทรวงการคลังถือไว้ก็เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยอาศัยมติคณะรัฐมนตรีดังที่เกิดการแลกเปลี่ยนทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับทรัพย์สินของกระทรวงการคลัง กค 12/02/2545 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติการแลกเปลี่ยนทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กับทรัพย์สินของกระทรวงการคลังดำเนินการแลกเปลี่ยนทรัพย์สิน คือ ที่ดินบริเวณสวนมิสกวันและคุรุสภา ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กับหลักทรัพย์ที่กระทรวงการคลังถือใน บมจ. ปตท. ตามเงื่อนไขการแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ ให้มีผลหลังจาก 180 วัน นับจากวันปิดการเสนอขายหุ้น บมจ. ปตท. (วันที่ 27 พฤศจิกายน 2544) และอนุมัติในหลักการให้ดำเนินการแลกเปลี่ยนหุ้นของกระทรวงการคลังกับที่ดินหรือหุ้นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยมีแนวทางและหลักการการแลกเปลี่ยนทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับทรัพย์สินของกระทรวงการคลัง รวมทั้งอนุมัติให้ดำเนินการแลกเปลี่ยนทรัพย์สินของกระทรวงการคลังในที่ดินบริเวณดังกล่าวได้ โดยไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจำหน่ายกิจการหรือหุ้นที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ พ.ศ. 2504 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยให้รับความเห็นเพิ่มเติมของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เกี่ยวกับการปรับปรุงให้ราคาของทรัพย์สินทั้ง 2 แห่งเท่ากัน เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479 ไปดำเนินการด้วย
เมื่อตีมูลค่าที่ดินเป็นราคาตลาดและราคาหุ้นตามราคาตลาดก็ถือว่าแลกเปลี่ยนกันได้ โดยเป็นลักษณะของ Barter trade ไม่ต้องใช้เงินสดเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งนอกจากจะทำได้สำหรับหน่วยราชการแล้ว ในการค้าระหว่างประเทศก็ทำ เช่น ไทยเอาข้าวสารไปแลกกับน้ำมันจากประเทศอื่นๆ เป็นต้น
สำหรับรายละเอียดการแลกเปลี่ยนที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับหุ้นในบริษัทธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) นั้นแบ่งเป็นสองระยะดังนี้
หนึ่ง การแลกเปลี่ยนทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับทรัพย์สินของกระทรวงการคลัง กค 01/04/2546 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอการแลกเปลี่ยนทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับทรัพย์สินของกระทรวงการคลังโดยให้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิที่ดินดังกล่าวเป็นกรณีพิเศษตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 47 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ข้อ 2 (7) (ฎ) ที่กำหนดว่า "ค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์และค่าจดทะเบียนการจำนอง เฉพาะในกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมเป็นพิเศษเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดในอัตราร้อยละ 0.01"
สอง การแลกเปลี่ยนทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับทรัพย์สินของกระทรวงการ คลัง ระยะที่ 2 กค 28/12/2547 คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงการคลังเสนอดังนี้ เห็นชอบให้กระทรวงการคลังดำเนินการแลกเปลี่ยนทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับกระทรวงการคลัง ระยะที่ 2 คือแลกเปลี่ยนที่ดินบริเวณทุ่งพญาไท ของสำนักงานทรัพย์สิน ฯ จำนวน 424-0-78 ไร่ ราคาประเมิน 14,436,265,000 บาท กับหุ้นบุริมสิทธิของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ที่กระทรวงการคลังถือจำนวน 410,841,981 หุ้น ในมูลค่าที่เท่ากัน จำนวน 14,436,265,000 บาท โดย ณ วันแลกเปลี่ยนทรัพย์สินหากมูลค่าหุ้นบุริมสิทธิของกระทรวงการคลัง ที่จะทำการแลกเปลี่ยนสูงกว่ามูลค่าที่ดินของสำนักงานทรัพย์สิน ฯ หรือหากสำนักงานทรัพย์สิน ฯ ไม่สามารถโอนที่ดินได้ครบถ้วนตามจำนวนและมูลค่าดังกล่าว กระทรวงการคลังจะลดจำนวนหุ้นบุริมสิทธิที่จะทำการแลกเปลี่ยนลง หรือสำนักงานทรัพย์สิน ฯ จะนำหลักทรัพย์อื่น ได้แก่ ที่ดิน เงินสด หรือหุ้น มาส่งมอบเพิ่มเติม เพื่อให้ได้มูลค่าทรัพย์สินที่จะทำการแลกเปลี่ยนในจำนวนที่เท่ากัน ทั้งนี้ การแลกเปลี่ยนทรัพย์สิน ระยะที่ 2 ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจำหน่ายกิจการหรือหุ้นที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ พ.ศ. 2504 เช่นเดียวกับการแลกเปลี่ยนทรัพย์สินตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2545 และอนุมัติให้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากอัตราร้อยละ 2 ลดลงเหลืออัตราร้อยละ 0.01 เป็นกรณีพิเศษตามกฎกระทรวงฉบับที่ 47 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ข้อ 2(7)(ฎ) และให้สำนักงานทรัพย์สิน ฯ เป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียม ฯ จำนวนดังกล่าว
ดังนั้นข้อกล่าวอ้างของ ศ.ดร.พอพันธ์ จึงไม่สมอ้าง หนึ่ง เพราะ barter trade สามารถทำได้ โดยอาศัยมติคณะรัฐมนตรี สอง การแลกเปลี่ยนที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับหุ้นที่กระทรวงการคลังถือเคยทำมาก่อนแล้วคือหุ้นของ ปตท. สาม การแลกเปลี่ยนเป็นไปอย่างยุติธรรมเพราะอิงราคาตลาดทั้งสองฝ่าย สี่การโอนและแลกเปลี่ยนทำโดยมติคณะรัฐมนตรีซึ่งเลยซื้อขายที่ดินกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มาก่อนแม้กระทั่งที่ดินบ้านพิษณุโลกอันเป็นที่ตั้งของรัฐบาลก็ตาม และห้า การโอนแลกเปลี่ยนมีการเสียค่าฤชาอากรและค่าธรรมเนียมอย่างถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ
การเปลี่ยนแปลงสำคัญในปี2561 ภายหลังที่มีการยุบรวมสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์เข้าไปรวมกับสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์แล้วก็คือการเปลี่ยนไปถือหุ้นในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยตรงจากที่เดิมถือในนามสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ยกตัวอย่างเช่น บมจ. ธนาคารไทยพาณิชย์ นั้น พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถือหุ้นร้อยละ 23.35 ดังตารางด้านล่างนี้
ทำไมต้องทรงถือหุ้นในพระปรมาภิไธย ประการแรกเพื่อให้พระราชทานหุ้นได้ เช่น พระราชทานหุ้นให้วชิราวุธวิทยาลัย พระราชทาน ที่ดินให้หน่วยราชการต่างๆ ประการที่สอง เพื่อให้ทรงต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีอื่นๆ เช่นเดียวกันกับประชาชน ประการที่สามเพื่อให้ทรงกำกับดูแลธรรมาภิบาลได้ดีมากขึ้น ประการที่สี่ ทำให้ทรงจัดการพระราชทรัพย์ได้สะดวกและเป็นประโยชน์ได้ง่ายขึ้น ประการที่ห้า ทำให้ทรงได้รับสิทธิ์อันชอบธรรมในการดูแลพระราชมรดกแห่งพระราชวงศ์จักรี เพื่อเหตุผลประการสุดท้ายคือ ทำให้ทรงงานและทรงใช้พระราชทรัพย์ในการทรงงานเพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาชน สืบสาน ต่อยอด พระราชดำริแห่งในหลวงรัชกาลที่ ๙ เพื่อให้ประเทศมีการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปได้
ประเด็นที่คณะราษฎร (2563) โจมตีว่าการถือหุ้นของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์หรือการถือหุ้นในพระปรมาภิไธยนั้นไม่ถูกต้อง เพราะทำให้เกิดการใช้อำนาจพิเศษ หรือเกิดการผูกขาด เช่นที่นางสาว ปนัสยาสิทธิจิรวัฒนกุล หรือรุ้ง ได้เคยแสดงความเห็นไว้นั้นก็ไม่จริง
ประการแรก บมจ. ธนาคารไทยพาณิชย์ ไม่ได้ผูกขาดในระบบการเงินการธนาคาร เฉพาะธุรกิจธนาคารมีคู่แข่งในประเทศไทยที่เป็นธนาคารพาณิชย์ของไทยเกือบ 20 ราย และธนาคารพาณิชย์ต่างชาติอีกเป็นจำนวนมาก
ประการที่สอง บมจ. ธนาคารไทยพาณิชย์เอง ได้รับรางวัลผลการประเมินการดูแลกำกับกิจการในระดับดีเลิศจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ในปี 2562 ได้คะแนนประเมินในระดับดีเยี่ยมจากสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices: SJDI) ในปี 2562 ซึ่งจะเห็นได้ว่ารางวัลระดับประเทศและระดับนานาชาติให้การยอมรับบมจ. ธนาคารไทยพาณิชย์มีธรรมาภิบาลที่ดี (Good governance)
ประการที่สาม การถือหุ้นนั้นเป็นไปตามหลักการแยกตัวการตัวแทน (Agent) ออกจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ (Owner) ผู้ถือหุ้นนั้นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ในกรณีของบมจ. ธนาคารไทยพาณิชย์ การถือหุ้นในพระปรมาภิไธยแสดงให้เห็นว่าทรงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่มิได้ทรงเข้าไปจัดการโดยตรง หากแต่มีคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีอำนาจลงชื่อเป็นสำคัญผูกพัน เป็นตัวการตัวแทน เพื่อจะแยกอำนาจการบริหาร (Administration) ออกจากตัวการตัวแทน (Agent) ในการถือหุ้น ในบมจ. ธนาคารไทยพาณิชย์ดังรูปที่แสดงด้านล่างนี้
แม้จะมีเสียงวิจารณ์มากมายในช่วงปี 2563 แต่ธนาคารไทยพาณิชย์ก็ยังคงมีจุดกำเนิดที่ต้องการต่อสู้กับสถาบันการเงินต่างชาติทั้งจากชาติตะวันตกและชาติตะวันออกในประเทศไทย และยังคงทำหน้าที่นี้อยู่อย่างเข้มแข็งแม้ในปัจจุบัน
หมายเหตุ :
[1] อ่านรายงานวิจัยฉบับเต็มได้จาก พอพันธ์ อุยยานนท์. (2549). สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับบทบาทการลงทุนในธุรกิจ. กรุงเทพ: สํานักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.). และอ่านบทความฉบับย่อได้จาก พอพันธ์ อุยยานนท์. (2557). สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับบทบาทการลงทุนในธุรกิจ. ใน ชัยธวัช ตุลาธน (บรรณาธิการ). พระพรหมช่วยอำนวยให้ชื่นฉ่ำ เศรษฐกิจการเมืองว่าด้วยทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์หลัง 2475. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน.