ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
น้องใหม่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2537
บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรุ่นสุดท้ายที่ได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์
พระบาทสมเด็จพระมหาชนกาธิเบศร ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
3. รัชกาลที่ 6 พระผู้พระราชทานสถาปนา กับที่ดินพระราชทานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กเป็นสถาบันอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2453 และพระราชทานนามว่า “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” เนื่องจากได้ทรงมีพระราชานุสรณ์คำนึงถึงพระบรมราโชบายในสมเด็จพระบรมชนกนาถ ที่ทรงเคยมีพระราชดำริที่จะให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นสำหรับเป็นสถาบันอุดมศึกษาของชาวสยาม
ในครั้งนั้นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเปิดสอน 5 โรงเรียน ได้แก่
1. โรงเรียนรัฏฐประศาสนศาสตร์ตั้งอยู่ที่พระบรมมหาราชวัง
2. โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ตั้งอยู่ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี
3. โรงเรียนราชแพทยาลัยตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช
4. โรงเรียนเนติศึกษาตั้งอยู่ที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา
5. โรงเรียนยันตรศึกษาตั้งอยู่ที่วังวินด์เซอร์ หรือวังใหม่ หรือวังกลางทุ่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพให้ทรงดำรงตำแหน่งนายกสภาจัดการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว [1]
ตำแหน่งนายกสภาจัดการนี้เทียบเท่าได้กับนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภาจัดการก็เทียบเท่าได้กับกรรมการสภามหาวิทยาลัย ซึ่งสภามหาวิทยาลัยได้ประชุมกันและจัดทำรายงานกราบบังคมทูลพระกรุณาเกี่ยวกับแนวทางในการจัดการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ โดยในข้อ 10 เกี่ยวกับสถานที่สร้างโรงเรียนควรมีขนาดใหญ่ ขึ้นที่ไผ่สิงห์โต เป็นที่ฝึกสอนวิชาทุกแพนกรวมกัน เงินที่จะใช้ก่อสร้างโรงเรียนควรใช้เงินเหลือจากการสร้างพระบรมรูปทรงม้าที่พระราชทานมา [2] บริเวณไผ่สิงโตนั้นน่าจะอยู่บริเวณคลองไผ่สิงโตในปัจจุบัน ซึ่งไม่ได้ไกลจากบริเวณที่ดินพระราชทานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในย่านปทุมวันในปัจจุบันมากนัก
และเงินที่ใช้สร้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็มาจากเงินที่เหลือจากการสร้างพระบรมรูปทรงม้าจำนวน 982,672.47 บาท (หรือเก้าเท่าของเงินที่ใช้หล่อพระบรมรูปทรงม้า) อันมาจากการร่วมมือร่วมใจของราษฎรถวายเงินดังกล่าวเมื่อคราวเสด็จนิวัติพระนครหลังจากการเสด็จไกลบ้านประพาสทวีปยุโรป
กรรมการสภาจัดการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ในการประชุมครั้งที่ 6 พระยาศรีวรวงศ์ ได้เสนอเยเนอรัลแปลนที่ตำบลประทุมวัน ด้านตะวันออกจรดถนนสนามม้า (ถนนอังรีดูนังต์ในปัจจุบัน) ด้านตะวันตกจรดถนนพญาไท ด้านเหนือจรดถนนบำรุงเมือง (หรือถนนพระราม 1 ในปัจจุบัน) ด้านใต้จรดถนนหัวลำโพง (ถนนพระรามสี่ในปัจจุบัน) ส่วนพื้นที่แปลงสำหรับเพาะปลูกสำหรับมหาวิทยาลัยคือจากถนนพญาไท จรดคลองสวนหลวง (หรือคลองบรรทัดทองในปัจจุบัน) ซึ่งหากเราพิจารณาจะพบว่าเยเนอรัลแปลนที่ตำบลประทุมวันนั้นใกล้เคียงที่ดินพระราชทานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบันมาก เพียงแต่ด้านทิศตะวันตกแทนที่จะจรดถนนพญาไทต้องไปจรดถนนประแจจีน (หรือถนนบรรทัดทองในปัจจุบัน ไม่ไปจรดแนวคลองสวนหลวงหรือคลองบรรทัดทอง)
นอกจากนี้ยังให้มิสเตอร์โดริงเสนอแบบสภาคารมหาวิทยาลัย (โปรดสังเกตว่าใช้คำว่ามหาวิทยาลัยในรายงานการประชุม ไม่ใช้คำว่าโรงเรียน) และยังมีมติให้ใช้วังประทุมวัน หรือวังวินด์เซอร์ (หรือวังกลางทุ่ง) เป็นที่ตั้งโรงเรียนสอนวิชาอินยีเนียไปพลางก่อน [3] ซึ่งปัจจุบันคือพื้นที่บริเวณสนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ
ในระเบียบการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังได้ระบุไว้ชัดเจนในข้อ 4 ว่ามหาวิทยาลัย จะตั้งในตำบลประทุมวัน แต่จะหันหน้ามหาวิทยาลัยไปทางถนนสนามม้า (ซึ่งนับว่ากลับทิศทางในปัจจุบันที่หันหน้าออกถนนพญาไท [4]
สภาจัดการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ได้ดำริจัดหาที่ดินตั้งโรงเรียน และออกแบบแปลนสร้างโรงเรียน นอกจากนั้นยังมีดำริให้ใช้เงินเหลือจากการสร้างพระบรมรูปทรงม้าในการสร้างโรงเรียน นับว่าสภาจัดการฯ ได้ทำหน้าที่สรรหาที่ดินซึ่งในที่สุดได้เป็นที่ดินพระราชทานแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน
เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชทานมาวางศิลาพระฤกษ์โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว [5] ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์หรืออาคารอักษรศาสตร์ 1 เดิม มีประกาศพระบรมราชโองการให้กำหนดที่ดินพระคลังข้างที่ไว้เป็นเขตโรงเรียนทิศเหนือจดถนนสระประทุม ทิศใต้จดถนนหัวลำโพง ทิศตะวันออกจดถนนสนามม้า ทิศตะวันตกจดคลองสวนหลวง สิริรวมเนื้อที่ 1,309 ไร่ [6]
ในการก่อพระฤกษ์โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการบรรจุบัญชีทองเงินที่ซึ่งมีรายการที่ 1 คือ แบบรูปโรงเรียนหลังที่ก่อสร้าง และรายการที่ 2 คือ แผนที่อาณาเขตรของโรงเรียน และรายการที่ 3 คือ แบบรูปโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อันเป็นสถานที่สำคัญที่อยู่ใกล้เคียง [7]
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริที่จะขยายการศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น คือ ไม่เฉพาะสำหรับผู้ที่จะรับราชการเท่านั้น แต่จะรับผู้ซึ่งจะศึกษาวิชาขั้นสูงให้เข้าเรียนได้ทั่วถึง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เมื่อ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 อันเป็นวันคล้ายวันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน
ทั้งนี้มีการทำสัญญาเช่าที่ดินระหว่างพระคลังข้างที่กับโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอันเป็นที่ดินพระราชทานในภายหลังนั้น ได้ตกลงค่าเช่าเดือนละ 1,200 บาทลงนามผู้ให้เช่าคือพระยาศุภกรณ์บรรณสาร และผู้รับเช่าคือพระยาศรีวรวงศ์ [8] ทั้งนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้นำที่ดินที่เช่าจากพระคลังข้างที่มาให้เช่าช่วงต่อเป็นรายได้ของมหาวิทยาลัย รายละเอียดในการปล่อยเช่าช่วงและสร้างรายได้ของมหาวิทยาลัยและข้อตกลงกับพระคลังข้างที่ได้อธิบายโดยละเอียดพิสดารในบทความดังกล่าว
การที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้พระคลังข้างที่กำหนดเขตโรงเรียนและบรรจุแผนที่โรงเรียนไว้ในการก่อศิลาพระฤกษ์นั้นเป็นการแสดงพระราชเจตนารมณ์ที่จะพระราชทานที่ดินนี้ให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในภายภาคหน้าเอาไว้อย่างชัดเจน
4. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้เสด็จพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระมหากรุณาธิคุณแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นอเนกอนันต์ ดังที่ทรงมีพระราชดำรัสโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช 2470 ความตอนหนี่งว่า
“การมหาวิทยาลัยนั้น โดยเหตุขัดข้องบางประการ การงานแผนกนี้ยังหาเจริญขึ้นเท่าที่เราปรารถนาจะได้เห็นไม่ นอกจากในแผนกเวชชศึกษา ซึ่งได้ความช่วยเหลือนอกราชการ เช่นจากรอกกีเฟลเลอร์มูลนิธิ และจากพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการพ่อค้าคฤหบดีอื่นๆ นั้น ได้ช่วยนำกิจการให้เจริญขึ้นรวดเร็วกว่าแผนกอื่นๆ อันเราใคร่จะกล่าวชมในที่นี้ การร่วมมือระหว่างรัฐบาลของเรากับรอกกีเฟลเลอร์มูลนิธิได้ดำเนินมาได้ผลอันควรพอใจ และเราหวังว่าจะยังผลให้บังเกิดต่อไปได้อีกในอนาคตเป็นอเนกประการ”
การประสานงานกับรอกกีเฟลเลอร์มูลนิธิจนเกิดความร่วมมือนั้นมีมาแต่ครั้งรัชกาลที่ 6 ก็เกิดเนื่องมาจากสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย สมเด็จเจ้าฟ้าพระอาจารย์พระองค์นี้ นอกจากจะทรงสอน ทรงบริหารกิจการมหาวิทยาลัยแล้ว ยังทรงใส่พระราชหฤทัยกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถึงขนาดทรงทำจดหมายทูลเสนาบดีกระทรวงธรรมการ เรื่องรายงานความเห็นในเรื่องการสำรวจการศึกษาเพื่อประกอบพระบรมราโชบายเรื่องการตั้งมหาวิทยาลัยและรายงานความเห็นในเรื่องโครงการมหาวิทยาลัยโดยในส่วนของโครงการมหาวิทยาลัยด้านการเงินนั้น ทรงเสนอว่ามหาวิทยาลัยมีสิทธิที่จะมีทุนเป็นเงินหรือทรัพย์สินที่ดิน มีรายได้ 4 ประการ คือ 1. รายได้จากกองผลประโยชน์ 2. รายได้จากนักเรียน 3. รายได้จากเรี่ยไรหรือเงินอุทิศ 4. รายได้เป็นทุนที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล
ภายหลังจากนั้นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร เสนาบดีกระทรวงธรรมการในขณะนั้น ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย “บันทึกเรื่องจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรรมการดำริรูปการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อศึกษาและนำเสนอนโยบายเกี่ยวกับการปรับปรุงกิจการมหาวิทยาลัย คณะกรรมการชุดนี้มีพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร (สมเด็จกรมพระยาชัยนาทนเรนทร) ทรงเป็นประธานกรรมการ ซึ่งได้นำเสนอนโนยายสำคัญคือ การจัดการทรัพย์สินของสถานศึกษาอันได้แก่ที่ดินพระราชทานให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฯลฯ
ความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมูลนิธิรอคกี้เฟลเลอร์ ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสามารถผลิตเวชชบัณฑิต หรือแพทยศาสตร์บัณฑิตในปัจจุบันจนสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2471 และ 2472 รวมทั้งสิ้น 34 คน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ได้เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตครั้งแรกของกรุงสยามในวันที่ 25 ตุลาคม 2473 ทั้งนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภกแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเดือนมีนาคม 2473 ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามที่เสนาบดีกระทรวงธรรมการกราบบังคมทูลพระกรุณาฯ ให้สงวนธรรมเนียมการพระราชทานปริญญาบัตรเป็นการเฉพาะหน้าพระที่นั่งหรือเบื้องหน้าผู้แทนพระองค์ อันสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
หลังจากสัญญาเช่าที่ดินระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระยะเวลาสิ้นสุด 10 ปี ได้จบลงในวันที่ 30 กันยายน 2465 ไม่มีการต่อสัญญาเช่า แต่เป็นการเช่าต่อเป็นปีๆ ตามกฎหมาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2478 กรมพลศึกษาต้องการทุบวังวินด์เซอร์และต้องการขอเช่าที่สร้างสนามกีฬาแห่งชาติหรือสนามศุภลาชัยเป็นระยะเวลา 30 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงขอทำสัญญาเช่ากับพระคลังข้างที่เป็นระยะเวลาสามสิบปี ทางพระคลังข้างที่ไม่ขัดข้องและให้แบ่งรายได้ค่าเช่าดังกล่าวให้พระคลังข้างที่โดยถวายค่าเช่าร้อยละ 20 หรือไม่น้อยกว่าค่าเช่าเดิมปีละ 14,400 บาท แล้วแต่ว่ามูลค่าใดจะมากกว่า และได้นำเรื่องดังกล่าวเรียนนำเสนอผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ลงมติเห็นชอบตามที่ขอมา โดยได้ลงนามในสัญญาในวันที่ 3 มกราคม 2478 [10] ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะสละราชสมบัติในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 ราวสองเดือน
-----------------------
หมายเหตุ :
[1] หนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจากนายกสภาจัดการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ลงวันที่ 25 มกราคม ร.ศ. 129
[2] รายงานการประชุมสภาจัดการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งที่ 1 วันที่ 27 มกราคม ร.ศ. 129
[3] รายงานการประชุมสภาจัดการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งที่ 6 วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2456
[4] ระเบียบการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งจัดเปนมหาวิทยาลัย ตราไว้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ร.ศ.131
[5] หนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยพระยาโหราธิบดีและโหรราชสำนัก เรื่องพระฤกษ์ในพระราชพิธีก่อรากโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2458
[6] พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวางศิลาพระฤกษ์โรงเรียนข้าราชการพลเรือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
[7] บัญชีทองเงินที่บรรจุในการก่อพระฤกษ์โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเอกสารอ้างอิง 8 สิ่งของที่โรงเรียนข้าราชการพลเรือนบรรจุในหีบศิลาฤกษ์
[8] โปรดดูใน “ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญวัจน์ วีสกุล ตีพิมพ์ใน ชุมนุมจุฬา ฉบับวันที่ 23 ตุลาคม 2513 หน้า 80-95 จัดพิมพ์โดยสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้นำสัญญาเช่าที่ดินมาตีพิมพ์
[9] จดหมายทูลเสนาบดีกระทรวงธรรมการโดยสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ เรื่องรายงานเรื่องการสำรวจปัญหาที่จะตั้งมหาวิทยาลัยและรายงานโครงการมหาวิทยาลัย ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 รายงานความเห็นในเรื่องการสำรวจการศึกษาเพื่อประกอบพระบรมราโชบายเรื่องการตั้งมหาวิทยาลัยโดยสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ และ รายงานความเห็นในเรื่องโครงการมหาวิทยาลัยโดยสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์
[10] อ่านรายละเอียดได้จาก“ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญวัจน์ วีสกุล ตีพิมพ์ใน ชุมนุมจุฬา ฉบับวันที่ 23 ตุลาคม 2513 หน้า 80-95 จัดพิมพ์โดยสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
น้องใหม่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2537
บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรุ่นสุดท้ายที่ได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์
พระบาทสมเด็จพระมหาชนกาธิเบศร ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
3. รัชกาลที่ 6 พระผู้พระราชทานสถาปนา กับที่ดินพระราชทานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กเป็นสถาบันอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2453 และพระราชทานนามว่า “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” เนื่องจากได้ทรงมีพระราชานุสรณ์คำนึงถึงพระบรมราโชบายในสมเด็จพระบรมชนกนาถ ที่ทรงเคยมีพระราชดำริที่จะให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นสำหรับเป็นสถาบันอุดมศึกษาของชาวสยาม
ในครั้งนั้นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเปิดสอน 5 โรงเรียน ได้แก่
1. โรงเรียนรัฏฐประศาสนศาสตร์ตั้งอยู่ที่พระบรมมหาราชวัง
2. โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ตั้งอยู่ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี
3. โรงเรียนราชแพทยาลัยตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช
4. โรงเรียนเนติศึกษาตั้งอยู่ที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา
5. โรงเรียนยันตรศึกษาตั้งอยู่ที่วังวินด์เซอร์ หรือวังใหม่ หรือวังกลางทุ่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพให้ทรงดำรงตำแหน่งนายกสภาจัดการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว [1]
ตำแหน่งนายกสภาจัดการนี้เทียบเท่าได้กับนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภาจัดการก็เทียบเท่าได้กับกรรมการสภามหาวิทยาลัย ซึ่งสภามหาวิทยาลัยได้ประชุมกันและจัดทำรายงานกราบบังคมทูลพระกรุณาเกี่ยวกับแนวทางในการจัดการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ โดยในข้อ 10 เกี่ยวกับสถานที่สร้างโรงเรียนควรมีขนาดใหญ่ ขึ้นที่ไผ่สิงห์โต เป็นที่ฝึกสอนวิชาทุกแพนกรวมกัน เงินที่จะใช้ก่อสร้างโรงเรียนควรใช้เงินเหลือจากการสร้างพระบรมรูปทรงม้าที่พระราชทานมา [2] บริเวณไผ่สิงโตนั้นน่าจะอยู่บริเวณคลองไผ่สิงโตในปัจจุบัน ซึ่งไม่ได้ไกลจากบริเวณที่ดินพระราชทานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในย่านปทุมวันในปัจจุบันมากนัก
และเงินที่ใช้สร้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็มาจากเงินที่เหลือจากการสร้างพระบรมรูปทรงม้าจำนวน 982,672.47 บาท (หรือเก้าเท่าของเงินที่ใช้หล่อพระบรมรูปทรงม้า) อันมาจากการร่วมมือร่วมใจของราษฎรถวายเงินดังกล่าวเมื่อคราวเสด็จนิวัติพระนครหลังจากการเสด็จไกลบ้านประพาสทวีปยุโรป
กรรมการสภาจัดการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ในการประชุมครั้งที่ 6 พระยาศรีวรวงศ์ ได้เสนอเยเนอรัลแปลนที่ตำบลประทุมวัน ด้านตะวันออกจรดถนนสนามม้า (ถนนอังรีดูนังต์ในปัจจุบัน) ด้านตะวันตกจรดถนนพญาไท ด้านเหนือจรดถนนบำรุงเมือง (หรือถนนพระราม 1 ในปัจจุบัน) ด้านใต้จรดถนนหัวลำโพง (ถนนพระรามสี่ในปัจจุบัน) ส่วนพื้นที่แปลงสำหรับเพาะปลูกสำหรับมหาวิทยาลัยคือจากถนนพญาไท จรดคลองสวนหลวง (หรือคลองบรรทัดทองในปัจจุบัน) ซึ่งหากเราพิจารณาจะพบว่าเยเนอรัลแปลนที่ตำบลประทุมวันนั้นใกล้เคียงที่ดินพระราชทานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบันมาก เพียงแต่ด้านทิศตะวันตกแทนที่จะจรดถนนพญาไทต้องไปจรดถนนประแจจีน (หรือถนนบรรทัดทองในปัจจุบัน ไม่ไปจรดแนวคลองสวนหลวงหรือคลองบรรทัดทอง)
นอกจากนี้ยังให้มิสเตอร์โดริงเสนอแบบสภาคารมหาวิทยาลัย (โปรดสังเกตว่าใช้คำว่ามหาวิทยาลัยในรายงานการประชุม ไม่ใช้คำว่าโรงเรียน) และยังมีมติให้ใช้วังประทุมวัน หรือวังวินด์เซอร์ (หรือวังกลางทุ่ง) เป็นที่ตั้งโรงเรียนสอนวิชาอินยีเนียไปพลางก่อน [3] ซึ่งปัจจุบันคือพื้นที่บริเวณสนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ
ในระเบียบการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังได้ระบุไว้ชัดเจนในข้อ 4 ว่ามหาวิทยาลัย จะตั้งในตำบลประทุมวัน แต่จะหันหน้ามหาวิทยาลัยไปทางถนนสนามม้า (ซึ่งนับว่ากลับทิศทางในปัจจุบันที่หันหน้าออกถนนพญาไท [4]
สภาจัดการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ได้ดำริจัดหาที่ดินตั้งโรงเรียน และออกแบบแปลนสร้างโรงเรียน นอกจากนั้นยังมีดำริให้ใช้เงินเหลือจากการสร้างพระบรมรูปทรงม้าในการสร้างโรงเรียน นับว่าสภาจัดการฯ ได้ทำหน้าที่สรรหาที่ดินซึ่งในที่สุดได้เป็นที่ดินพระราชทานแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน
เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชทานมาวางศิลาพระฤกษ์โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว [5] ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์หรืออาคารอักษรศาสตร์ 1 เดิม มีประกาศพระบรมราชโองการให้กำหนดที่ดินพระคลังข้างที่ไว้เป็นเขตโรงเรียนทิศเหนือจดถนนสระประทุม ทิศใต้จดถนนหัวลำโพง ทิศตะวันออกจดถนนสนามม้า ทิศตะวันตกจดคลองสวนหลวง สิริรวมเนื้อที่ 1,309 ไร่ [6]
ในการก่อพระฤกษ์โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการบรรจุบัญชีทองเงินที่ซึ่งมีรายการที่ 1 คือ แบบรูปโรงเรียนหลังที่ก่อสร้าง และรายการที่ 2 คือ แผนที่อาณาเขตรของโรงเรียน และรายการที่ 3 คือ แบบรูปโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อันเป็นสถานที่สำคัญที่อยู่ใกล้เคียง [7]
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริที่จะขยายการศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น คือ ไม่เฉพาะสำหรับผู้ที่จะรับราชการเท่านั้น แต่จะรับผู้ซึ่งจะศึกษาวิชาขั้นสูงให้เข้าเรียนได้ทั่วถึง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เมื่อ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 อันเป็นวันคล้ายวันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน
ทั้งนี้มีการทำสัญญาเช่าที่ดินระหว่างพระคลังข้างที่กับโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอันเป็นที่ดินพระราชทานในภายหลังนั้น ได้ตกลงค่าเช่าเดือนละ 1,200 บาทลงนามผู้ให้เช่าคือพระยาศุภกรณ์บรรณสาร และผู้รับเช่าคือพระยาศรีวรวงศ์ [8] ทั้งนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้นำที่ดินที่เช่าจากพระคลังข้างที่มาให้เช่าช่วงต่อเป็นรายได้ของมหาวิทยาลัย รายละเอียดในการปล่อยเช่าช่วงและสร้างรายได้ของมหาวิทยาลัยและข้อตกลงกับพระคลังข้างที่ได้อธิบายโดยละเอียดพิสดารในบทความดังกล่าว
การที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้พระคลังข้างที่กำหนดเขตโรงเรียนและบรรจุแผนที่โรงเรียนไว้ในการก่อศิลาพระฤกษ์นั้นเป็นการแสดงพระราชเจตนารมณ์ที่จะพระราชทานที่ดินนี้ให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในภายภาคหน้าเอาไว้อย่างชัดเจน
4. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้เสด็จพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรก
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระมหากรุณาธิคุณแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นอเนกอนันต์ ดังที่ทรงมีพระราชดำรัสโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช 2470 ความตอนหนี่งว่า
“การมหาวิทยาลัยนั้น โดยเหตุขัดข้องบางประการ การงานแผนกนี้ยังหาเจริญขึ้นเท่าที่เราปรารถนาจะได้เห็นไม่ นอกจากในแผนกเวชชศึกษา ซึ่งได้ความช่วยเหลือนอกราชการ เช่นจากรอกกีเฟลเลอร์มูลนิธิ และจากพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการพ่อค้าคฤหบดีอื่นๆ นั้น ได้ช่วยนำกิจการให้เจริญขึ้นรวดเร็วกว่าแผนกอื่นๆ อันเราใคร่จะกล่าวชมในที่นี้ การร่วมมือระหว่างรัฐบาลของเรากับรอกกีเฟลเลอร์มูลนิธิได้ดำเนินมาได้ผลอันควรพอใจ และเราหวังว่าจะยังผลให้บังเกิดต่อไปได้อีกในอนาคตเป็นอเนกประการ”
การประสานงานกับรอกกีเฟลเลอร์มูลนิธิจนเกิดความร่วมมือนั้นมีมาแต่ครั้งรัชกาลที่ 6 ก็เกิดเนื่องมาจากสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย สมเด็จเจ้าฟ้าพระอาจารย์พระองค์นี้ นอกจากจะทรงสอน ทรงบริหารกิจการมหาวิทยาลัยแล้ว ยังทรงใส่พระราชหฤทัยกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถึงขนาดทรงทำจดหมายทูลเสนาบดีกระทรวงธรรมการ เรื่องรายงานความเห็นในเรื่องการสำรวจการศึกษาเพื่อประกอบพระบรมราโชบายเรื่องการตั้งมหาวิทยาลัยและรายงานความเห็นในเรื่องโครงการมหาวิทยาลัยโดยในส่วนของโครงการมหาวิทยาลัยด้านการเงินนั้น ทรงเสนอว่ามหาวิทยาลัยมีสิทธิที่จะมีทุนเป็นเงินหรือทรัพย์สินที่ดิน มีรายได้ 4 ประการ คือ 1. รายได้จากกองผลประโยชน์ 2. รายได้จากนักเรียน 3. รายได้จากเรี่ยไรหรือเงินอุทิศ 4. รายได้เป็นทุนที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล
ภายหลังจากนั้นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร เสนาบดีกระทรวงธรรมการในขณะนั้น ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย “บันทึกเรื่องจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรรมการดำริรูปการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อศึกษาและนำเสนอนโยบายเกี่ยวกับการปรับปรุงกิจการมหาวิทยาลัย คณะกรรมการชุดนี้มีพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร (สมเด็จกรมพระยาชัยนาทนเรนทร) ทรงเป็นประธานกรรมการ ซึ่งได้นำเสนอนโนยายสำคัญคือ การจัดการทรัพย์สินของสถานศึกษาอันได้แก่ที่ดินพระราชทานให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฯลฯ
ความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมูลนิธิรอคกี้เฟลเลอร์ ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสามารถผลิตเวชชบัณฑิต หรือแพทยศาสตร์บัณฑิตในปัจจุบันจนสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2471 และ 2472 รวมทั้งสิ้น 34 คน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ได้เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตครั้งแรกของกรุงสยามในวันที่ 25 ตุลาคม 2473 ทั้งนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภกแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเดือนมีนาคม 2473 ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามที่เสนาบดีกระทรวงธรรมการกราบบังคมทูลพระกรุณาฯ ให้สงวนธรรมเนียมการพระราชทานปริญญาบัตรเป็นการเฉพาะหน้าพระที่นั่งหรือเบื้องหน้าผู้แทนพระองค์ อันสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
หลังจากสัญญาเช่าที่ดินระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระยะเวลาสิ้นสุด 10 ปี ได้จบลงในวันที่ 30 กันยายน 2465 ไม่มีการต่อสัญญาเช่า แต่เป็นการเช่าต่อเป็นปีๆ ตามกฎหมาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2478 กรมพลศึกษาต้องการทุบวังวินด์เซอร์และต้องการขอเช่าที่สร้างสนามกีฬาแห่งชาติหรือสนามศุภลาชัยเป็นระยะเวลา 30 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงขอทำสัญญาเช่ากับพระคลังข้างที่เป็นระยะเวลาสามสิบปี ทางพระคลังข้างที่ไม่ขัดข้องและให้แบ่งรายได้ค่าเช่าดังกล่าวให้พระคลังข้างที่โดยถวายค่าเช่าร้อยละ 20 หรือไม่น้อยกว่าค่าเช่าเดิมปีละ 14,400 บาท แล้วแต่ว่ามูลค่าใดจะมากกว่า และได้นำเรื่องดังกล่าวเรียนนำเสนอผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ลงมติเห็นชอบตามที่ขอมา โดยได้ลงนามในสัญญาในวันที่ 3 มกราคม 2478 [10] ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะสละราชสมบัติในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 ราวสองเดือน
-----------------------
หมายเหตุ :
[1] หนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจากนายกสภาจัดการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ลงวันที่ 25 มกราคม ร.ศ. 129
[2] รายงานการประชุมสภาจัดการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งที่ 1 วันที่ 27 มกราคม ร.ศ. 129
[3] รายงานการประชุมสภาจัดการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งที่ 6 วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2456
[4] ระเบียบการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งจัดเปนมหาวิทยาลัย ตราไว้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ร.ศ.131
[5] หนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยพระยาโหราธิบดีและโหรราชสำนัก เรื่องพระฤกษ์ในพระราชพิธีก่อรากโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2458
[6] พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวางศิลาพระฤกษ์โรงเรียนข้าราชการพลเรือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
[7] บัญชีทองเงินที่บรรจุในการก่อพระฤกษ์โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเอกสารอ้างอิง 8 สิ่งของที่โรงเรียนข้าราชการพลเรือนบรรจุในหีบศิลาฤกษ์
[8] โปรดดูใน “ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญวัจน์ วีสกุล ตีพิมพ์ใน ชุมนุมจุฬา ฉบับวันที่ 23 ตุลาคม 2513 หน้า 80-95 จัดพิมพ์โดยสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้นำสัญญาเช่าที่ดินมาตีพิมพ์
[9] จดหมายทูลเสนาบดีกระทรวงธรรมการโดยสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ เรื่องรายงานเรื่องการสำรวจปัญหาที่จะตั้งมหาวิทยาลัยและรายงานโครงการมหาวิทยาลัย ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 รายงานความเห็นในเรื่องการสำรวจการศึกษาเพื่อประกอบพระบรมราโชบายเรื่องการตั้งมหาวิทยาลัยโดยสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ และ รายงานความเห็นในเรื่องโครงการมหาวิทยาลัยโดยสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์
[10] อ่านรายละเอียดได้จาก“ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญวัจน์ วีสกุล ตีพิมพ์ใน ชุมนุมจุฬา ฉบับวันที่ 23 ตุลาคม 2513 หน้า 80-95 จัดพิมพ์โดยสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์