ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
น้องใหม่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2537
บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรุ่นสุดท้ายที่ได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์
พระบาทสมเด็จพระมหาชนกาธิเบศร ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ในสังคมและแม้กระทั่งในหมู่นิสิตจุฬาจำนวนหนึ่งได้สมาทานลัทธิความเชื่อบางประการและเกิดการบิดเบือนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปอย่างที่ไม่น่าเชื่อ ในขณะเดียวกันก็หาได้มีผู้ออกมารวบรวมเอกสารชั้นต้นและข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ข้อมูลที่ถูกบิดเบือนนั้นเกิดขึ้นภายหลังการแพร่หลายของความคิดของกลุ่มม็อบคณะราษฎร (2563) อันมีเจตนารมณ์ปฏิ- กษัตริย์นิยม (Anti-royalist) และสืบทอดเจตนารมณ์ของคณะราษฎร (2475) [1] ดังที่กลุ่มม็อบคณะราษฎร (2563) ได้ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยลงมาว่ามีการกระทำอันเป็นการล้มล้างระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 อันเป็นการกระทำที่ขัดกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 49 และขอให้คณะและเครือข่ายดังกล่าวยกเลิกการกระทำพฤติกรรมเช่นนี้ [2]
หนึ่งในการเคลื่อนไหวอันเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการดังกล่าวคือการบิดเบือนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประวัติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์ โดยกล่าวว่า ที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหาได้เป็นที่ดินพระราชทานไม่ และคณะราษฎร (2475) โดยพันเอกหลวงพิบูลสงคราม (จอมพลแปลก พิบูลสงคราม) คือผู้ให้ที่ดินแปลงนี้อันเป็นที่ตั้งในปัจจุบันของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ หนึ่งชำระประวัติศาสตร์เกี่ยวกับที่ดินพระราชทานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริง และ สองเพื่อเก็บรวมรวมเอกสารชั้นต้นที่เกี่ยวข้องกับข้อหนึ่งให้ได้มากที่สุด โดยมีลำดับการนำเสนอในบทความดังนี้
1. ที่ดินพระราชทานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถูกบิดเบือนไปว่าจอมพลป. พิบูลสงครามเป็นผู้ให้
2. รัชกาลที่ 5 พระผู้พระราชทานกำเนิด กับที่ดินพระราชทานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. รัชกาลที่ 6 พระผู้พระราชทานสถาปนา กับที่ดินพระราชทานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4. รัชกาลที่ 7 พระผู้เสด็จพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกกับที่ดินพระราชทานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5. รัชกาลที่ 8 พระผู้พระราชทานที่ดินให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6. กรรมสิทธิ์ที่ดินพระราชทานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำไมมักเป็นปัญหา?
1.ที่ดินพระราชทานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถูกบิดเบือนไปว่าจอมพลป. พิบูลสงครามเป็นผู้ให้
นับว่าเป็นเรื่องที่น่าแปลกประหลาดใจมากที่คณะราษฎร (2563) และขบวนการที่ต่อต้านเผด็จการทหาร กลับมิได้ต่อต้าน/แต่กลับสนับสนุนเชิดชู จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เพียงเพราะจอมพลแปลกเป็นผู้มีแนวความคิดปฏิกษัตริย์นิยมดังที่ทำตราสัญลักษณ์ของตนเอง เป็นรูปไก่ระกา (อันเป็นปีเกิดนักษัตรของจอมพลแปลก) เอาตีนไก่ระกาเหยียบคฑาจอมพลพระครุฑพ่าห์ อันเป็นสัญลักษณขององค์จอมทัพไทย อีกทั้งพระครุฑพ่าห์ก็เป็นตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์พระมหากษัตริย์เช่นกัน เพราะครุฑเป็นพระราชพาหะของพระนารายณ์อันสอดคล้องกับความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเทวราชสมมติ
จอมพลแปลก พิบูลสงคราม แกนนำคณะราษฎร (2475) ผู้มาจากการรัฐประหารและนายกรัฐมนตรีก้าวเข้ามาเป็นเป็นอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยตรงถึงสองวาระ ซึ่งน่าจะมีเจตนารมณ์ที่จะควบคุมการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาอย่างใกล้ชิดมิให้เกิดความกระด้างกระเดื่องหรือต่อต้าน แต่ท้ายที่สุดแล้วนิสิตจุฬาฯ ก็ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านการโกงการเลือกตั้งที่สกปรกที่สุดอันทำให้พรรคเสรีมนังคศิลา ชนะการเลือกตั้ง ในปี 2500 หรือกึ่งพุทธกาล ในเวลานั้น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกได้เข้ามาสังเกตการณ์หน้าเสาธงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้กล่าวถ้อยคำอมตะที่ว่า พบกันเมื่อชาติต้องการ จนเกิดการรัฐประหารจอมพลแปลกในท้ายที่สุดโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นั่นเอง
ทั้งนี้บทความแรกที่เขียนประวัติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในส่วนของที่ดินพระราชทานว่าเป็นผลงานของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม คือบทความชื่อ “ทักท้วง ประวัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย” เขียนโดยศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช ในหนังสือชุมนุมจุฬา 23 ตุลาคม 2513 อันเป็นหนังสือประจำปีของสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [3]
โดยได้ทักท้วงว่าหนังสือประวัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 2459-2509 (ในยุคนั้นยังไม่มีการัณย์ ถือว่าเป็นคำสมาส) พิมพ์เป็นที่ระลึกในวันครบห้าสิบปีของการสถาปนา ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2510 พิมพ์ที่โรงพิมพ์ของสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย อันเป็นผลงานการเรียบเรียงของคณะกรรมการแต่งประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอันมีศาสตราจารย์รอง ศยามานนท์ เป็นประธานคณะกรรมการ และคณาจารย์ทางด้านประวัติศาสตร์อีกหลายท่านเป็นคณะกรรมการนั้นมีความคลาดเคลื่อนไม่ถูกต้อง
ทั้งนี้ศาสตราจารย์พิเศษ ขจร สุขพานิช ได้ทักท้วงข้อความในหนังสือประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เขียนเอาไว้ว่า
“ในหลวงรัชกาลที่ 6 พระราชทานที่ดินตำบลประทุมวันจำนวน 1,309 ไร่ให้แก่จุฬาฯ ได้ทรงพระราชทานแต่เมื่อเสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติคือแต่ พ.ศ. 2453 แล้ว”
นั้นเป็นข้อความที่ผิด ศ.ขจร สุขพานิช ยังทักท้วงว่าเพิ่งจะมีการตราพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ตำบลประทุมวัน อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ให้จุฬาฯ ในปีพุทธศักราช 2482 อันเป็นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ดังนั้นจึงเป็นข้อความที่ย้อนแย้งกันเองในหนังสือประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ศาสตราจารย์รอง ศยามานนท์ เป็นประธานคณะกรรมการแต่งประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้เขียนหลัก
ศ.ขจร สุขพานิช ได้อ้างอิงหลักฐานในบทความว่ามีรายงานการประชุมของสภาจัดการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนไว้ถึง 17 ครั้งและได้กล่าวถึงความพยายามอุตสาหะในการที่จะจัดตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในภายภาคหน้าเป็นอย่างยิ่งซึ่งได้มีมติว่า “สถานที่เรียนโรงเรียนนี้ควรจะสร้างโรงเรียนใหม่ขึ้นที่ไผ่สิงห์โตเป็นที่สอนวิชาทุกแผนกรวมกันในโรงเรียนนั้น” คำว่าไผ่สิงห์โตคือนามของตำบลซึ่งเราเรียกกันในปัจจุบันว่าตำบลปทุมวันแสดงว่าในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้นยังไม่ได้มีการพระราชทานที่ดินให้กับจุฬาฯแต่ประการใดไม่
นอกจากนี้สภาจัดการของโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ภายหลังได้สถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในรัชกาลที่ 6 ได้ลงมติว่าควรจะเช่าที่ตำบลประทุมวันของพระคลังข้างที่ (สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ในปัจจุบัน) เนื่องจากอยู่ในท่ามกลางพระนครชัยภูมิเหมาะดีสมควรจะเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยหลักพระนคร และได้มอบให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถกับพระยาศรี- วรวงศ์ให้จัดการสืบสวนที่ดินพระคลังข้างที่และทำหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระบรมราชาอนุญาติเช่าที่ดินต่อไป
ศ.ขจร สุขพานิช ได้วิเคราะห์ต่อไปว่าเนื่องจากที่ดินแปลงนี้อยู่ในการดูแลของพระคลังข้างที่ แต่ประโยชน์ที่จะหาได้จากที่ดินแปลงนี้นั้นก็เป็นเพียงการเก็บค่าเช่า แต่จะขายหรือโอนให้ใครไม่ได้เนื่องจากมีพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ให้ผลประโยชน์ของที่แปลงนี้ตกแก่บาทบริจาริกาในพระองค์ ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงไม่สามารถพระราชทานที่แปลงนี้ให้ผู้อื่นใดอีกได้ เพราะพระราชหัตถเลขา/พระบรมราชโองการในสมัยสมบูรณญาสิทธิราชย์ ถือว่าเป็นกฎหมาย
ศ.ขจร สุขพานิช ยังระบุว่าได้เคยเห็นหลักฐานเกี่ยวกับการเช่าและการจ่ายค่าเช่าของจุฬาฯกับทางพระคลังข้างที่
จนกระทั่งศาสตราจารย์สุกิจ นิมมานเหมินท์ เลขาธิการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2482 (ปัจจุบันเทียบเท่าได้กับตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร) ได้เล่าให้ ศ.ขจร สุขพานิช ฟังว่าได้นำเงิน 3 ล้านบาทไปชำระที่หอที่ดิน ให้กับผู้รับผลประโยชน์จากที่ดินแปลงดังกล่าว (บาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่รับพระราชทานผลประโยชน์ตามพระราชหัตถเลขา) จึงทำให้ออกพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมาเป็นที่ดินของจุฬาฯได้
ทั้งนี้ ศ.ขจร สุขพานิช มีความเห็นว่าจอมพลป. พิบูลสงคราม อดีตอธิการบดีผู้ล่วงลับไปแล้วนั้นเป็นผู้ที่เนรมิตให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพระราชทานดังกล่าวและศ.สุกิจ นิมมานเหมินท์เป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญในการไถ่ถอนผลประโยชน์ซึ่งต้องตกกับบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทำให้ออกพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้เป็นของจุฬาฯได้ และจุฬาฯโดยศาสตราจารย์รอง ศยามานนท์ก็สมควรจะยอมรับความจริงในข้อนี้ ศ. ขจร สุขพานิชได้แถลงในบทความในชุมนุมจุฬาเอาไว้ว่าข้อความเหล่านี้ต้องให้ ศ.สุกิจ นิมมานเหมินท์เป็นผู้แถลงต่อประชาคมจุฬาต่อไป
ผู้เขียนบทความนี้ได้พยายามค้นหาในชุมนุมจุฬาและเอกสารอื่นๆ ในหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมากแต่ก็ยังไม่สามารถค้นพบเอกสารหรือบทความใดๆ ที่ศ. ขจร สุขพานิช กล่าวว่าต้องให้ ศ. สุกิจ นิมมานเหมินทร์เป็นผู้แถลงในประเด็นนำเงินสามล้านบาทไปให้ผู้ได้รับดอกผลจากที่ดินพระราชทานของจุฬาฯ จนทำให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สำเร็จ
และต่อมาได้มีการเผยแพร่บทความนี้บนโลกออนไลน์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เช่นที่ pantip.com และกล่าวว่าที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ใช่ที่ดินพระราชทาน แต่เป็นที่ดินที่คณะราษฎร (2475) ให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำหรับกระแสข่าวอันเป็นเท็จที่มาแพร่หลายในช่วงม็อบคณะราษฎร (2563) ว่าที่ดินพระราชทานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหาได้เป็นที่ดินพระราชทานไม่ หากแต่จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นคนให้มานั้น มีที่มาจากรศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ผู้ล่วงลับอดีตอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังปรากฎในหนังสือพิมพ์ประชาไท [4]
หลังจากนั้น ดร.โสภณ พรโชคชัย แห่ง บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ได้เขียนบทความ ที่ดินจุฬาฯ มาจากไหนกันแน่ ลงตีพิมพ์ออนไลน์ ใน AREA แถลง ฉบับที่ 499/2563 หรือวันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม 2563 โดยได้อ้างอิงบทความของ รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ที่เพิ่งอ้างอิงไป โดยมีการนำหน้าและหลังโฉนดที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาแสดงและกล่าวสรุปว่า
“การโอนที่ดินให้จุฬาฯ นี้เกิดขึ้นในสมัยคณะราษฎร (เพราะถ้าเป็นรัฐบาลอื่นคงไม่ได้ทำ) โดยมติคณะรัฐมนตรี “นายทวี บุณยเกตุ. . .(ที่ดิน) ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเช่าทำการปลูกสร้างสถานศึกษา. . .คณะรัฐมนตรีได้ลงมติให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ. . .เงื่อนไขในพระบรมราชโองการรัชกาลที่ 5 ซึ่งให้ยกที่ดินรายนี้ไว้ในบัญชีเลี้ยงชีพบาทบริจาริกาในพระองค์ เพื่อเก็บผลประโยชน์ที่ได้จากที่ดินนั้นเฉลี่ยส่วนให้บาทบริจาริกาเป็นคราวๆ ยังคงใช้ได้อยู่ ฉะนั้นการที่จะโอนไปให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะกระทำได้ก็แต่โดยทางพระราชบัญญัติ กระทรวงการคลังจึงขอเสนอร่างพระราชบัญญัติ…
จอมพล ป. ในนามของคณะราษฎรจึงเป็นผู้ที่ทำให้จุฬาฯ มีรายได้มหาศาลหลายพันล้านบาทต่อปีในขณะที่มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ได้รับงบประมาณแผ่นดินน้อยกว่ารายได้ของจุฬาฯ ก้อนนี้ด้วยซ้ำไป” [5]
รายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีเรื่องพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตำบล ปทุมวัน อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ให้แก่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
หลังจากนั้นหนังสือพิมพ์ประชาไทได้นำมาเขียนใหม่ (Re-write) ลงเป็นข่าวในข่าวที่พาดหัวว่า ผู้เชี่ยวชาญอสังหาฯ เปิดเอกสาร คณะราษฎรโดยจอมพล ป. มอบที่ดินให้จุฬาฯ แทนเช่าจากเจ้า [6] และมีการแชร์ออกไปอย่างแพร่หลายในระหว่างการชุมนุมของคณะราษฎร (2563) ในเวลาต่อมา
ผู้เขียนใคร่ขอชำระประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโต้แย้งหักล้างกับบทความดังกล่าวข้างต้นที่กล่าวว่าไม่มีการพระราชทานที่ดินให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น เป็นลำดับดังต่อไปนี้
2. รัชกาลที่ 5 พระผู้พระราชทานกำเนิดกับที่ดินพระราชทานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริด้านการศึกษาดังที่ทรงแสดงพระราชปณิธานเอาไว้ในพระราชดำรัสในที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ เนื่องในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ พุทธศักราช 2427 ความว่า
“เจ้านายราชตระกูล ตั้งแต่ลูกฉันเปนต้นลงไป ตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำที่สุด จะให้ได้มีโอกาศเล่าเรียนได้เสมอกัน ไม่ว่าเจ้า ว่าขุนนาง ว่าไพร่ เพราะฉนั้น จึงขอบอกได้ว่าการเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้จะเปนข้อสำคัญที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะอุตสาห์จัดให้เจริญขึ้นจงได้”
ทั้งนี้แนวพระราชดำริดังกล่าวเป็นเหตุในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในภายหลังตามพระราชดำริในสมเด็จพระบรมชนกนาถ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีกำเนิดมาจาก “สำนักฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน” ในปี พ.ศ. 2442 มีที่ตั้ง ณ ข้างประตูวิเศษไชยศรี ในพระบรมมหาราชวังชั้นนอก ภายหลังวิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 และทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตัดสินพระทัยปฏิรูปการปกครองแผ่นดินจากจตุสดมภ์ 4 มาเป็นกระทรวง ทบวง กรม เช่นในปัจจุบัน
ทั้งนี้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ในเวลานั้น ได้รับสนองพระราชดำริว่าข้าหลวงมหาดไทย เทศาภิบาลมณฑลต่างๆ ควรได้รับการศึกษาด้านรัฏฐประศาสนศาสตร์อันเป็นวิชาสมัยใหม่ แต่ควรให้ได้มีโอกาสถวายงานเป็นมหาดเล็กควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้ทรงคุ้นเคยและจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารราชการแผ่นดินก่อนที่จะส่งออกไปเป็นข้าหลวงทั่วประเทศต่างพระเนตรพระกรรณเพื่อปกครองบ้านเมือง ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนมหาดเล็ก” ในปี พ.ศ.2445
การเปลี่ยนแปลงสำคัญประการหนึ่งที่เกิดขึ้นในการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในรัชสมัยของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ก็คือการแยกทรัพย์สินของแผ่นดินออกจากทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ โดยที่ทรัพย์สินของแผ่นดินอยู่ภายใต้การกำกับดูแลจัดการของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (หรือกระทรวงการคลังในปัจจุบัน) และทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ อยู่ภายใต้การดูแลของพระคลังข้างที่ (หรือสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ในปัจจุบัน) สังกัดกระทรวงวัง
ที่ดินแปลงสำคัญแปลงหนึ่งของพระคลังข้างที่คือที่ดินวังกลางทุ่งหรือพระตำหนักวินเซอร์ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสร้างพระราชทานสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกของไทยแต่ยังไม่ได้เสด็จไปประทับก็ทิวงคตเสียก่อน ที่ดินแปลงนี้เป็นของพระคลังข้างที่ซึ่งในรัชกาลต่อมาได้ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเช่าและต่อมาเป็นที่ดินพระราชทาน ที่ดินแปลงนี้ได้ใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียนยันตรศึกษา (ที่มาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน) และเป็นที่ตั้งของหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำให้เรียกกันว่าหอวัง ก่อนจะถูกทุบทำลายเพื่อสร้างสนามศุภชลาศัยในปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเป็นองค์พระผู้พระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและที่ดินวังกลางทุ่งหรือวังวินเซอร์อันเป็นพระตำหนักของสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกของไทยได้เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินพระราชทานให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในกาลต่อมา
-----------------
หมายเหตุ :
[1]
โปรดอ่านได้จาก “ชัดๆ คณะราษฎร 2475 กับ คณะราษฎร 2563
มีอะไรที่เหมือนกันบ้างและมีอะไรที่ต่างกันบ้าง” สืบค้นได้จากhttps://www.thaipost.net/main/detail/84644
[2]
โปรดอ่านคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญฉบับเต็มได้จากราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 29
พฤศจิกายน 2564
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/A/080/T_0022.PDF
[3] ทักท้วง
ประวัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย โดยศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช ในหนังสือชุมนุมจุฬา 23
ตุลาคม 2513 จัดพิมพ์โดยสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
[4]
เล่าเรื่องสมัยแรกของจุฬาฯ ครบศตวรรษhttps://prachatai.com/journal/2017/03/70718
เผยแพร่ทางออนไลน์เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2560
[5]
สืบค้นได้จากhttps://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement3998.htm
[6]https://prachatai.com/journal/2020/12/90811 เผยแพร่เมื่อวัน 14 ธันวาคม 2563
น้องใหม่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2537
บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรุ่นสุดท้ายที่ได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์
พระบาทสมเด็จพระมหาชนกาธิเบศร ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ในสังคมและแม้กระทั่งในหมู่นิสิตจุฬาจำนวนหนึ่งได้สมาทานลัทธิความเชื่อบางประการและเกิดการบิดเบือนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปอย่างที่ไม่น่าเชื่อ ในขณะเดียวกันก็หาได้มีผู้ออกมารวบรวมเอกสารชั้นต้นและข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ข้อมูลที่ถูกบิดเบือนนั้นเกิดขึ้นภายหลังการแพร่หลายของความคิดของกลุ่มม็อบคณะราษฎร (2563) อันมีเจตนารมณ์ปฏิ- กษัตริย์นิยม (Anti-royalist) และสืบทอดเจตนารมณ์ของคณะราษฎร (2475) [1] ดังที่กลุ่มม็อบคณะราษฎร (2563) ได้ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยลงมาว่ามีการกระทำอันเป็นการล้มล้างระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 อันเป็นการกระทำที่ขัดกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 49 และขอให้คณะและเครือข่ายดังกล่าวยกเลิกการกระทำพฤติกรรมเช่นนี้ [2]
หนึ่งในการเคลื่อนไหวอันเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการดังกล่าวคือการบิดเบือนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประวัติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์ โดยกล่าวว่า ที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหาได้เป็นที่ดินพระราชทานไม่ และคณะราษฎร (2475) โดยพันเอกหลวงพิบูลสงคราม (จอมพลแปลก พิบูลสงคราม) คือผู้ให้ที่ดินแปลงนี้อันเป็นที่ตั้งในปัจจุบันของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ หนึ่งชำระประวัติศาสตร์เกี่ยวกับที่ดินพระราชทานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริง และ สองเพื่อเก็บรวมรวมเอกสารชั้นต้นที่เกี่ยวข้องกับข้อหนึ่งให้ได้มากที่สุด โดยมีลำดับการนำเสนอในบทความดังนี้
1. ที่ดินพระราชทานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถูกบิดเบือนไปว่าจอมพลป. พิบูลสงครามเป็นผู้ให้
2. รัชกาลที่ 5 พระผู้พระราชทานกำเนิด กับที่ดินพระราชทานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. รัชกาลที่ 6 พระผู้พระราชทานสถาปนา กับที่ดินพระราชทานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4. รัชกาลที่ 7 พระผู้เสด็จพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกกับที่ดินพระราชทานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5. รัชกาลที่ 8 พระผู้พระราชทานที่ดินให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6. กรรมสิทธิ์ที่ดินพระราชทานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำไมมักเป็นปัญหา?
1.ที่ดินพระราชทานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถูกบิดเบือนไปว่าจอมพลป. พิบูลสงครามเป็นผู้ให้
นับว่าเป็นเรื่องที่น่าแปลกประหลาดใจมากที่คณะราษฎร (2563) และขบวนการที่ต่อต้านเผด็จการทหาร กลับมิได้ต่อต้าน/แต่กลับสนับสนุนเชิดชู จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เพียงเพราะจอมพลแปลกเป็นผู้มีแนวความคิดปฏิกษัตริย์นิยมดังที่ทำตราสัญลักษณ์ของตนเอง เป็นรูปไก่ระกา (อันเป็นปีเกิดนักษัตรของจอมพลแปลก) เอาตีนไก่ระกาเหยียบคฑาจอมพลพระครุฑพ่าห์ อันเป็นสัญลักษณขององค์จอมทัพไทย อีกทั้งพระครุฑพ่าห์ก็เป็นตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์พระมหากษัตริย์เช่นกัน เพราะครุฑเป็นพระราชพาหะของพระนารายณ์อันสอดคล้องกับความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเทวราชสมมติ
จอมพลแปลก พิบูลสงคราม แกนนำคณะราษฎร (2475) ผู้มาจากการรัฐประหารและนายกรัฐมนตรีก้าวเข้ามาเป็นเป็นอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยตรงถึงสองวาระ ซึ่งน่าจะมีเจตนารมณ์ที่จะควบคุมการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาอย่างใกล้ชิดมิให้เกิดความกระด้างกระเดื่องหรือต่อต้าน แต่ท้ายที่สุดแล้วนิสิตจุฬาฯ ก็ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านการโกงการเลือกตั้งที่สกปรกที่สุดอันทำให้พรรคเสรีมนังคศิลา ชนะการเลือกตั้ง ในปี 2500 หรือกึ่งพุทธกาล ในเวลานั้น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกได้เข้ามาสังเกตการณ์หน้าเสาธงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้กล่าวถ้อยคำอมตะที่ว่า พบกันเมื่อชาติต้องการ จนเกิดการรัฐประหารจอมพลแปลกในท้ายที่สุดโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นั่นเอง
ทั้งนี้บทความแรกที่เขียนประวัติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในส่วนของที่ดินพระราชทานว่าเป็นผลงานของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม คือบทความชื่อ “ทักท้วง ประวัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย” เขียนโดยศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช ในหนังสือชุมนุมจุฬา 23 ตุลาคม 2513 อันเป็นหนังสือประจำปีของสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [3]
โดยได้ทักท้วงว่าหนังสือประวัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 2459-2509 (ในยุคนั้นยังไม่มีการัณย์ ถือว่าเป็นคำสมาส) พิมพ์เป็นที่ระลึกในวันครบห้าสิบปีของการสถาปนา ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2510 พิมพ์ที่โรงพิมพ์ของสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย อันเป็นผลงานการเรียบเรียงของคณะกรรมการแต่งประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอันมีศาสตราจารย์รอง ศยามานนท์ เป็นประธานคณะกรรมการ และคณาจารย์ทางด้านประวัติศาสตร์อีกหลายท่านเป็นคณะกรรมการนั้นมีความคลาดเคลื่อนไม่ถูกต้อง
ทั้งนี้ศาสตราจารย์พิเศษ ขจร สุขพานิช ได้ทักท้วงข้อความในหนังสือประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เขียนเอาไว้ว่า
“ในหลวงรัชกาลที่ 6 พระราชทานที่ดินตำบลประทุมวันจำนวน 1,309 ไร่ให้แก่จุฬาฯ ได้ทรงพระราชทานแต่เมื่อเสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติคือแต่ พ.ศ. 2453 แล้ว”
นั้นเป็นข้อความที่ผิด ศ.ขจร สุขพานิช ยังทักท้วงว่าเพิ่งจะมีการตราพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ตำบลประทุมวัน อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ให้จุฬาฯ ในปีพุทธศักราช 2482 อันเป็นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ดังนั้นจึงเป็นข้อความที่ย้อนแย้งกันเองในหนังสือประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ศาสตราจารย์รอง ศยามานนท์ เป็นประธานคณะกรรมการแต่งประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้เขียนหลัก
ศ.ขจร สุขพานิช ได้อ้างอิงหลักฐานในบทความว่ามีรายงานการประชุมของสภาจัดการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนไว้ถึง 17 ครั้งและได้กล่าวถึงความพยายามอุตสาหะในการที่จะจัดตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในภายภาคหน้าเป็นอย่างยิ่งซึ่งได้มีมติว่า “สถานที่เรียนโรงเรียนนี้ควรจะสร้างโรงเรียนใหม่ขึ้นที่ไผ่สิงห์โตเป็นที่สอนวิชาทุกแผนกรวมกันในโรงเรียนนั้น” คำว่าไผ่สิงห์โตคือนามของตำบลซึ่งเราเรียกกันในปัจจุบันว่าตำบลปทุมวันแสดงว่าในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้นยังไม่ได้มีการพระราชทานที่ดินให้กับจุฬาฯแต่ประการใดไม่
นอกจากนี้สภาจัดการของโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ภายหลังได้สถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในรัชกาลที่ 6 ได้ลงมติว่าควรจะเช่าที่ตำบลประทุมวันของพระคลังข้างที่ (สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ในปัจจุบัน) เนื่องจากอยู่ในท่ามกลางพระนครชัยภูมิเหมาะดีสมควรจะเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยหลักพระนคร และได้มอบให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถกับพระยาศรี- วรวงศ์ให้จัดการสืบสวนที่ดินพระคลังข้างที่และทำหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระบรมราชาอนุญาติเช่าที่ดินต่อไป
ศ.ขจร สุขพานิช ได้วิเคราะห์ต่อไปว่าเนื่องจากที่ดินแปลงนี้อยู่ในการดูแลของพระคลังข้างที่ แต่ประโยชน์ที่จะหาได้จากที่ดินแปลงนี้นั้นก็เป็นเพียงการเก็บค่าเช่า แต่จะขายหรือโอนให้ใครไม่ได้เนื่องจากมีพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ให้ผลประโยชน์ของที่แปลงนี้ตกแก่บาทบริจาริกาในพระองค์ ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงไม่สามารถพระราชทานที่แปลงนี้ให้ผู้อื่นใดอีกได้ เพราะพระราชหัตถเลขา/พระบรมราชโองการในสมัยสมบูรณญาสิทธิราชย์ ถือว่าเป็นกฎหมาย
ศ.ขจร สุขพานิช ยังระบุว่าได้เคยเห็นหลักฐานเกี่ยวกับการเช่าและการจ่ายค่าเช่าของจุฬาฯกับทางพระคลังข้างที่
จนกระทั่งศาสตราจารย์สุกิจ นิมมานเหมินท์ เลขาธิการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2482 (ปัจจุบันเทียบเท่าได้กับตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร) ได้เล่าให้ ศ.ขจร สุขพานิช ฟังว่าได้นำเงิน 3 ล้านบาทไปชำระที่หอที่ดิน ให้กับผู้รับผลประโยชน์จากที่ดินแปลงดังกล่าว (บาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่รับพระราชทานผลประโยชน์ตามพระราชหัตถเลขา) จึงทำให้ออกพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมาเป็นที่ดินของจุฬาฯได้
ทั้งนี้ ศ.ขจร สุขพานิช มีความเห็นว่าจอมพลป. พิบูลสงคราม อดีตอธิการบดีผู้ล่วงลับไปแล้วนั้นเป็นผู้ที่เนรมิตให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพระราชทานดังกล่าวและศ.สุกิจ นิมมานเหมินท์เป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญในการไถ่ถอนผลประโยชน์ซึ่งต้องตกกับบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทำให้ออกพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้เป็นของจุฬาฯได้ และจุฬาฯโดยศาสตราจารย์รอง ศยามานนท์ก็สมควรจะยอมรับความจริงในข้อนี้ ศ. ขจร สุขพานิชได้แถลงในบทความในชุมนุมจุฬาเอาไว้ว่าข้อความเหล่านี้ต้องให้ ศ.สุกิจ นิมมานเหมินท์เป็นผู้แถลงต่อประชาคมจุฬาต่อไป
ผู้เขียนบทความนี้ได้พยายามค้นหาในชุมนุมจุฬาและเอกสารอื่นๆ ในหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมากแต่ก็ยังไม่สามารถค้นพบเอกสารหรือบทความใดๆ ที่ศ. ขจร สุขพานิช กล่าวว่าต้องให้ ศ. สุกิจ นิมมานเหมินทร์เป็นผู้แถลงในประเด็นนำเงินสามล้านบาทไปให้ผู้ได้รับดอกผลจากที่ดินพระราชทานของจุฬาฯ จนทำให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สำเร็จ
และต่อมาได้มีการเผยแพร่บทความนี้บนโลกออนไลน์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เช่นที่ pantip.com และกล่าวว่าที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ใช่ที่ดินพระราชทาน แต่เป็นที่ดินที่คณะราษฎร (2475) ให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำหรับกระแสข่าวอันเป็นเท็จที่มาแพร่หลายในช่วงม็อบคณะราษฎร (2563) ว่าที่ดินพระราชทานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหาได้เป็นที่ดินพระราชทานไม่ หากแต่จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นคนให้มานั้น มีที่มาจากรศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ผู้ล่วงลับอดีตอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังปรากฎในหนังสือพิมพ์ประชาไท [4]
หลังจากนั้น ดร.โสภณ พรโชคชัย แห่ง บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ได้เขียนบทความ ที่ดินจุฬาฯ มาจากไหนกันแน่ ลงตีพิมพ์ออนไลน์ ใน AREA แถลง ฉบับที่ 499/2563 หรือวันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม 2563 โดยได้อ้างอิงบทความของ รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ที่เพิ่งอ้างอิงไป โดยมีการนำหน้าและหลังโฉนดที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาแสดงและกล่าวสรุปว่า
“การโอนที่ดินให้จุฬาฯ นี้เกิดขึ้นในสมัยคณะราษฎร (เพราะถ้าเป็นรัฐบาลอื่นคงไม่ได้ทำ) โดยมติคณะรัฐมนตรี “นายทวี บุณยเกตุ. . .(ที่ดิน) ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเช่าทำการปลูกสร้างสถานศึกษา. . .คณะรัฐมนตรีได้ลงมติให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ. . .เงื่อนไขในพระบรมราชโองการรัชกาลที่ 5 ซึ่งให้ยกที่ดินรายนี้ไว้ในบัญชีเลี้ยงชีพบาทบริจาริกาในพระองค์ เพื่อเก็บผลประโยชน์ที่ได้จากที่ดินนั้นเฉลี่ยส่วนให้บาทบริจาริกาเป็นคราวๆ ยังคงใช้ได้อยู่ ฉะนั้นการที่จะโอนไปให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะกระทำได้ก็แต่โดยทางพระราชบัญญัติ กระทรวงการคลังจึงขอเสนอร่างพระราชบัญญัติ…
จอมพล ป. ในนามของคณะราษฎรจึงเป็นผู้ที่ทำให้จุฬาฯ มีรายได้มหาศาลหลายพันล้านบาทต่อปีในขณะที่มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ได้รับงบประมาณแผ่นดินน้อยกว่ารายได้ของจุฬาฯ ก้อนนี้ด้วยซ้ำไป” [5]
รายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีเรื่องพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตำบล ปทุมวัน อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ให้แก่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
หลังจากนั้นหนังสือพิมพ์ประชาไทได้นำมาเขียนใหม่ (Re-write) ลงเป็นข่าวในข่าวที่พาดหัวว่า ผู้เชี่ยวชาญอสังหาฯ เปิดเอกสาร คณะราษฎรโดยจอมพล ป. มอบที่ดินให้จุฬาฯ แทนเช่าจากเจ้า [6] และมีการแชร์ออกไปอย่างแพร่หลายในระหว่างการชุมนุมของคณะราษฎร (2563) ในเวลาต่อมา
ผู้เขียนใคร่ขอชำระประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโต้แย้งหักล้างกับบทความดังกล่าวข้างต้นที่กล่าวว่าไม่มีการพระราชทานที่ดินให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น เป็นลำดับดังต่อไปนี้
2. รัชกาลที่ 5 พระผู้พระราชทานกำเนิดกับที่ดินพระราชทานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริด้านการศึกษาดังที่ทรงแสดงพระราชปณิธานเอาไว้ในพระราชดำรัสในที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ เนื่องในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ พุทธศักราช 2427 ความว่า
“เจ้านายราชตระกูล ตั้งแต่ลูกฉันเปนต้นลงไป ตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำที่สุด จะให้ได้มีโอกาศเล่าเรียนได้เสมอกัน ไม่ว่าเจ้า ว่าขุนนาง ว่าไพร่ เพราะฉนั้น จึงขอบอกได้ว่าการเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้จะเปนข้อสำคัญที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะอุตสาห์จัดให้เจริญขึ้นจงได้”
ทั้งนี้แนวพระราชดำริดังกล่าวเป็นเหตุในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในภายหลังตามพระราชดำริในสมเด็จพระบรมชนกนาถ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีกำเนิดมาจาก “สำนักฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน” ในปี พ.ศ. 2442 มีที่ตั้ง ณ ข้างประตูวิเศษไชยศรี ในพระบรมมหาราชวังชั้นนอก ภายหลังวิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 และทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตัดสินพระทัยปฏิรูปการปกครองแผ่นดินจากจตุสดมภ์ 4 มาเป็นกระทรวง ทบวง กรม เช่นในปัจจุบัน
ทั้งนี้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ในเวลานั้น ได้รับสนองพระราชดำริว่าข้าหลวงมหาดไทย เทศาภิบาลมณฑลต่างๆ ควรได้รับการศึกษาด้านรัฏฐประศาสนศาสตร์อันเป็นวิชาสมัยใหม่ แต่ควรให้ได้มีโอกาสถวายงานเป็นมหาดเล็กควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้ทรงคุ้นเคยและจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารราชการแผ่นดินก่อนที่จะส่งออกไปเป็นข้าหลวงทั่วประเทศต่างพระเนตรพระกรรณเพื่อปกครองบ้านเมือง ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนมหาดเล็ก” ในปี พ.ศ.2445
การเปลี่ยนแปลงสำคัญประการหนึ่งที่เกิดขึ้นในการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในรัชสมัยของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ก็คือการแยกทรัพย์สินของแผ่นดินออกจากทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ โดยที่ทรัพย์สินของแผ่นดินอยู่ภายใต้การกำกับดูแลจัดการของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (หรือกระทรวงการคลังในปัจจุบัน) และทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ อยู่ภายใต้การดูแลของพระคลังข้างที่ (หรือสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ในปัจจุบัน) สังกัดกระทรวงวัง
ที่ดินแปลงสำคัญแปลงหนึ่งของพระคลังข้างที่คือที่ดินวังกลางทุ่งหรือพระตำหนักวินเซอร์ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสร้างพระราชทานสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกของไทยแต่ยังไม่ได้เสด็จไปประทับก็ทิวงคตเสียก่อน ที่ดินแปลงนี้เป็นของพระคลังข้างที่ซึ่งในรัชกาลต่อมาได้ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเช่าและต่อมาเป็นที่ดินพระราชทาน ที่ดินแปลงนี้ได้ใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียนยันตรศึกษา (ที่มาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน) และเป็นที่ตั้งของหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำให้เรียกกันว่าหอวัง ก่อนจะถูกทุบทำลายเพื่อสร้างสนามศุภชลาศัยในปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเป็นองค์พระผู้พระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและที่ดินวังกลางทุ่งหรือวังวินเซอร์อันเป็นพระตำหนักของสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกของไทยได้เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินพระราชทานให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในกาลต่อมา
-----------------
หมายเหตุ :
[1]
โปรดอ่านได้จาก “ชัดๆ คณะราษฎร 2475 กับ คณะราษฎร 2563
มีอะไรที่เหมือนกันบ้างและมีอะไรที่ต่างกันบ้าง” สืบค้นได้จากhttps://www.thaipost.net/main/detail/84644
[2]
โปรดอ่านคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญฉบับเต็มได้จากราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 29
พฤศจิกายน 2564
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/A/080/T_0022.PDF
[3] ทักท้วง
ประวัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย โดยศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช ในหนังสือชุมนุมจุฬา 23
ตุลาคม 2513 จัดพิมพ์โดยสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
[4]
เล่าเรื่องสมัยแรกของจุฬาฯ ครบศตวรรษhttps://prachatai.com/journal/2017/03/70718
เผยแพร่ทางออนไลน์เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2560
[5]
สืบค้นได้จากhttps://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement3998.htm
[6]https://prachatai.com/journal/2020/12/90811 เผยแพร่เมื่อวัน 14 ธันวาคม 2563