ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชาปัญญาและการวิเคราะห์ธุรกิจ
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เมื่อเร็ว ๆ นี้ผมได้ค้นภาพจาก Google ทำทำให้ได้พบภาพ 2 ภาพที่น่าสนใจซึ่งจริงๆแล้วเป็นภาพถ่ายจากสถานที่บริเวณเดียวกันและและบุคคลในรูปถ่ายก็เป็นคนคนเดียวกันแต่มุมกล้องต่างกันนิดหน่อย
ในรูปนั้นพระบาทสมเด็จพระมหาชนกาธิเบศภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรทรงคุกพระชงฆ์ติดกับพระเก้าอี้วิลแชร์ซึ่งมีเจ้านายสตรีที่ทรงพระชราและอายุยืนมาก สภาพบรรยากาศในรูปถ่ายนั้นทำให้คิดถึงบรรยากาศของพระตำหนักใหญ่วังสระปทุม ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (สมเด็จย่าของในหลวง ร.9 และสมเด็จทวดของในหลวง ร.10)
ในภาพหนึ่งนั้นเหมือนกับว่าในพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงถือหรืออุ้มสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ มีข้าราชบริพารหมอบกราบเข้าเฝ้าอยู่ใกล้อีกหนึ่งคน สตรีชราผู้ประทับอยู่บนพระเก้าอี้วิลแชร์นั้นพยายามทรงยกพระหัตถ์เหมือนกับอยากจะทรงเล่นกับเด็ก คำบรรยายใต้ภาพเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ว่าสมเด็จทวดคือสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงมีพระราชปนัดดา (เหลน) ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 91 พรรษาของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ก่อนที่จะทรงพระประชวรจนไม่อาจจะเสด็จออกเข้าร่วมพระราชพิธีใดๆ ได้อีก
ส่วนอีกรูปด้านล่างนี้นั้น ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงคุกพระชงฆ์ และมีข้าราชบริพารผู้ชายเชิญของในพาน คงจะส่งให้ในหลวงรัชกาลที่ 9 ถวายสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ด้านหลังพระเก้าอี้วีลแชร์มีข้าราชบริพารสตรีคุกเข่าเช่นกัน สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงคมรับไหว้ในหลวงรัชกาลที่ 9 ผู้เป็นพระราชนัดดา (หลาน) ที่มาเข้าเฝ้า
รูปหลังนี้ทำให้ผมเองก็แปลกใจ เพราะว่าสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงมีพระชนมายุยืนนานมาก และผ่านเหตุการณ์อันเจ็บปวดพระราชหฤทัยและการสูญเสียมาตลอดพระชนม์ ทำให้ทรงอธิษฐานกราบพระรัตนตรัยว่าขอให้ทรงลืมทุกอย่าง เหตุการณ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลสวรรคตด้วยพระแสงปืนนั้น ข้าราชบริพารวังสระปทุมต่างปิดข่าวมิให้ทรงทราบเพื่อให้ทรงเสียพระทัยอันจะเป็นการกระเทือนพระสุขภาพอย่างยิ่ง แต่ในรูปนี้สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ซึ่งทรงพระชรามากแล้วและทรงได้รับพรตามที่ทรงอธิษฐานคือให้ทรงจำไม่ได้ ตามพระชันษาที่สูง กลับทรงคมรับไหว้พระเจ้าแผ่นดิน (ในหลวงรัชกาลที่ 9) ราวกับทรงทราบว่าพระราชนัดดานั้นคือพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ต้องทรงคมรับไหว้ในฐานะข้าของแผ่นดิน ในขณะที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ก็ทรงอ่อนน้อมและเคารพสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (สมเด็จย่า) ของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง นับว่าเป็นภาพที่น่ารักมาก
เมื่อเห็นภาพนี้ผมเองยังไม่แน่ใจว่าเจ้านายสตรีในภาพเป็นสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าใช่หรือไม่ แต่คำบรรยายภาพและสภาพแวดล้อมตลอดจนบุคคลในภาพก็แสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็นสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าอย่างไม่ต้องสงสัย แต่พระปุริสลักษณะของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าในพระบรมฉายาลักษณ์ทั้งสองรูปนั้น ไม่ใช่ที่คุ้นเคย อาจจะเพราะทรงพระชราและอาจจะประชวรอยู่ก็ได้
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงเป็นองค์กุลเชษฐ์แห่งพระบรมราชวงศ์ คือทรงเป็นเจ้านายที่พระชันษายืนยาวที่สุดในสมัยนั้น เช่นเดียวกับที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเป็นองค์กุลเชษฐ์แห่งพระบรมราชวงศ์ในขณะนี้
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช รัชกาลที่ 4 ที่ดำรงพระชนม์ยืนยาวมากกว่าพระราชธิดาพระองค์อื่นๆ
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จพระราชสมภพแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าจอมมารดาเปี่ยม) เมื่อเสด็จพระราชสมภพ ได้รับพระราชทานนามสว่างวัฒนา ได้รับพระราชทานพรจากพระราชบิดาเป็นภาษามคธ แปลได้ความว่า "เราได้ตั้งนามของบุตรีในราชสกุลนี้ว่า "สว่างวัฒนา" ดังนี้ ขอบุตรีนั้นจงเป็นผู้มีสุข เลี้ยงง่าย ไม่มีโรค ไม่มีอุปัทวันตราย มั่งคั่งสมบูรณ์ มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก ดำรงอิศริยยศตั้งอยู่ในพระบรมราชวงศ์ที่ประเสริฐสูงสุดของพระบิดายั่งยืนกาลนานเทอญ"
ซึ่งพรพระราชทานเป็นภาษามคธของในหลวงรัชกาลที่ 4 นี้เป็นความจริงทุกประการ
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงรับราชการเป็นพระภรรยาเจ้าในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งที่สมเด็จพระบรมราชเทวี อันเป็นตำแหน่งพระอัครมเหสีสูงสุด แต่การทิวงคตของพระราชโอรสคือสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ทำให้ทรงเสียพระฐานะไป แต่มิได้ทรงเสียพระทัยที่ทรงตกแต่อย่างใด
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงสูญเสียพระราชโอรส พระราชธิดาไปอีกมากมาย แม้ทรงรับพระราชโอรสและพระราชธิดาบุญธรรมมาทรงเลี้ยงต่างก็สิ้นพระชนม์ก่อนสมเด็จพระพันวัสสาไปทั้งหมด จนกระทั่งเหลือเพียงพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวาปีบุษบากร เป็นพระราชธิดาบุญธรรมพระองค์เดียวที่เสด็จอยู่จัดงานพระศพถวายพระราชมารดาบุญธรรมได้ นับได้ว่าสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงพบแต่การสูญเสียบุคคลที่ทรงรักตลอดพระชนม์จนถึงกับทรงอธิษฐานขอให้ทรงลืมทุกอย่าง
นอกจากนี้สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ยังทรงมีพระราชดำรัสว่า เปลี่ยนชื่อตนเองจนจะจำชื่อตนเองไม่ได้แล้ว ซึ่งเป็นดังนี้
เมื่อเสด็จพระราชสมภพ ทรงเป็น พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา
เมื่อทรงรับราชการเป็นพระภรรยาเจ้าในรัชกาลที่ห้า ทรงเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ทั้งนี้พระมาตุจฉาเจ้าแปลว่าป้า หรือพี่สาวของแม่ และก่อนสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งสุดท้ายว่า ฝากลูกด้วย เพราะทรงห่วงสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียว
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงเป็นสมเด็จพระมาตุจฉาเจ้า สว่างวัฒนา พระบรมราชเทวีดังเดิม
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ทรงต้องโทมนัสเสียพระทัยที่สุด ด้วยพระราชโอรสบุญธรรมที่พระพุทธเจ้าหลวงทรงอุ้มมาพระราชทานให้และตรัสว่า ให้มาเป็นลูกแม่กลาง คือสมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ทรงต้องโทษคุมขังในคุกคดีการเมือง และต้องถูกถอดถอนพระฐานันดรศักดิ์ เป็น นักโทษชาย รังสิต
ในรัชกาลที่ 8-9 ทรงได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็นสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงดำรงพระชนม์ต่อเนื่องยาวนานมาถึงหกแผ่นดินจากแผ่นดินรัชกาลที่ 4 จนถึงแผ่นดินรัชกาลที่ 9 จึงทรงเป็นสมเด็จหกแผ่นดิน ตามที่ประชาชนถวายพระสมญา
อย่างไรก็ตามรูปนี้ทำให้ทราบว่า สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้านอกจากจะทรงเป็นสมเด็จหกแผ่นดินแล้ว ยังทรงได้เข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินถึงเจ็ดพระองค์
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชปนัดดา (เหลน) ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าในรูป ที่มีคำบรรยายว่าในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงอุ้มเจ้าฟ้าชายวชิราลงกรณ์ไปถวายให้สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าได้ทอดพระเนตรบนพระเก้าอี้วีลแชร์ และทรงโบกพระหัตถ์อย่างที่อยากจะทรงเล่นกับเหลน ซึ่งเป็นเด็กเล็กๆ
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพในวันที่ 28 กรกฎาคม 2495 ในขณะที่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2498
ในพระบรมฉายาลักษณ์รูปแรกนั้นบรรยายไว้ว่าสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าขณะพระชนมายุ 91 พรรษา ดังนั้นพระบรมฉายาลักษณ์รูปแรกนี้น่าจะถ่ายในปี 2495-2496 หรือประมาณสองปีก่อนสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเสด็จสวรรคต และในรูปนั้นพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวน่าจะมีพระชนมายุราวหนึ่งขวบ อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่ายังไม่สามารถหาข้อมูลได้ชัดเจน
ส่วนพระบรมฉายาลักษณ์รูปที่สองนั้น น่าจะถ่ายที่เฉลียงพระตำหนักใหญ่วังสระปทุมเช่นกัน และสันนิษฐานว่าน่าจะฉายก่อนพระบรมฉายาลักษณ์รูปแรก แต่ไม่ทราบวันเวลาที่แน่นอน
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า จึงทรงเป็นสมเด็จหกแผ่นดิน เพราะดำรงพระชนม์ชีพตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 9 แต่ได้ทรงเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินเจ็ดพระองค์ นับแต่ในหลวงรัชกาลที่ 4 จนถึงในหลวงรัชกาลที่ 10 ในการที่ทรงมีพระชนมายุยืนยาว ทรงสถิตเป็นที่สักการะเคารพรักแห่งพระบรมวงศานุวงศ์นั้น กลับได้ทรงพบกับการพลัดพราก ความสูญเสีย ตลอดพระชนม์ชีพอันยืนยาว นับว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามหลักไตรลักษณ์โดยแท้
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชาปัญญาและการวิเคราะห์ธุรกิจ
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เมื่อเร็ว ๆ นี้ผมได้ค้นภาพจาก Google ทำทำให้ได้พบภาพ 2 ภาพที่น่าสนใจซึ่งจริงๆแล้วเป็นภาพถ่ายจากสถานที่บริเวณเดียวกันและและบุคคลในรูปถ่ายก็เป็นคนคนเดียวกันแต่มุมกล้องต่างกันนิดหน่อย
ในรูปนั้นพระบาทสมเด็จพระมหาชนกาธิเบศภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรทรงคุกพระชงฆ์ติดกับพระเก้าอี้วิลแชร์ซึ่งมีเจ้านายสตรีที่ทรงพระชราและอายุยืนมาก สภาพบรรยากาศในรูปถ่ายนั้นทำให้คิดถึงบรรยากาศของพระตำหนักใหญ่วังสระปทุม ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (สมเด็จย่าของในหลวง ร.9 และสมเด็จทวดของในหลวง ร.10)
ในภาพหนึ่งนั้นเหมือนกับว่าในพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงถือหรืออุ้มสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ มีข้าราชบริพารหมอบกราบเข้าเฝ้าอยู่ใกล้อีกหนึ่งคน สตรีชราผู้ประทับอยู่บนพระเก้าอี้วิลแชร์นั้นพยายามทรงยกพระหัตถ์เหมือนกับอยากจะทรงเล่นกับเด็ก คำบรรยายใต้ภาพเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ว่าสมเด็จทวดคือสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงมีพระราชปนัดดา (เหลน) ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 91 พรรษาของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ก่อนที่จะทรงพระประชวรจนไม่อาจจะเสด็จออกเข้าร่วมพระราชพิธีใดๆ ได้อีก
ส่วนอีกรูปด้านล่างนี้นั้น ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงคุกพระชงฆ์ และมีข้าราชบริพารผู้ชายเชิญของในพาน คงจะส่งให้ในหลวงรัชกาลที่ 9 ถวายสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ด้านหลังพระเก้าอี้วีลแชร์มีข้าราชบริพารสตรีคุกเข่าเช่นกัน สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงคมรับไหว้ในหลวงรัชกาลที่ 9 ผู้เป็นพระราชนัดดา (หลาน) ที่มาเข้าเฝ้า
รูปหลังนี้ทำให้ผมเองก็แปลกใจ เพราะว่าสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงมีพระชนมายุยืนนานมาก และผ่านเหตุการณ์อันเจ็บปวดพระราชหฤทัยและการสูญเสียมาตลอดพระชนม์ ทำให้ทรงอธิษฐานกราบพระรัตนตรัยว่าขอให้ทรงลืมทุกอย่าง เหตุการณ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลสวรรคตด้วยพระแสงปืนนั้น ข้าราชบริพารวังสระปทุมต่างปิดข่าวมิให้ทรงทราบเพื่อให้ทรงเสียพระทัยอันจะเป็นการกระเทือนพระสุขภาพอย่างยิ่ง แต่ในรูปนี้สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ซึ่งทรงพระชรามากแล้วและทรงได้รับพรตามที่ทรงอธิษฐานคือให้ทรงจำไม่ได้ ตามพระชันษาที่สูง กลับทรงคมรับไหว้พระเจ้าแผ่นดิน (ในหลวงรัชกาลที่ 9) ราวกับทรงทราบว่าพระราชนัดดานั้นคือพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ต้องทรงคมรับไหว้ในฐานะข้าของแผ่นดิน ในขณะที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ก็ทรงอ่อนน้อมและเคารพสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (สมเด็จย่า) ของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง นับว่าเป็นภาพที่น่ารักมาก
เมื่อเห็นภาพนี้ผมเองยังไม่แน่ใจว่าเจ้านายสตรีในภาพเป็นสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าใช่หรือไม่ แต่คำบรรยายภาพและสภาพแวดล้อมตลอดจนบุคคลในภาพก็แสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็นสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าอย่างไม่ต้องสงสัย แต่พระปุริสลักษณะของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าในพระบรมฉายาลักษณ์ทั้งสองรูปนั้น ไม่ใช่ที่คุ้นเคย อาจจะเพราะทรงพระชราและอาจจะประชวรอยู่ก็ได้
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงเป็นองค์กุลเชษฐ์แห่งพระบรมราชวงศ์ คือทรงเป็นเจ้านายที่พระชันษายืนยาวที่สุดในสมัยนั้น เช่นเดียวกับที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเป็นองค์กุลเชษฐ์แห่งพระบรมราชวงศ์ในขณะนี้
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช รัชกาลที่ 4 ที่ดำรงพระชนม์ยืนยาวมากกว่าพระราชธิดาพระองค์อื่นๆ
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จพระราชสมภพแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าจอมมารดาเปี่ยม) เมื่อเสด็จพระราชสมภพ ได้รับพระราชทานนามสว่างวัฒนา ได้รับพระราชทานพรจากพระราชบิดาเป็นภาษามคธ แปลได้ความว่า "เราได้ตั้งนามของบุตรีในราชสกุลนี้ว่า "สว่างวัฒนา" ดังนี้ ขอบุตรีนั้นจงเป็นผู้มีสุข เลี้ยงง่าย ไม่มีโรค ไม่มีอุปัทวันตราย มั่งคั่งสมบูรณ์ มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก ดำรงอิศริยยศตั้งอยู่ในพระบรมราชวงศ์ที่ประเสริฐสูงสุดของพระบิดายั่งยืนกาลนานเทอญ"
ซึ่งพรพระราชทานเป็นภาษามคธของในหลวงรัชกาลที่ 4 นี้เป็นความจริงทุกประการ
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงรับราชการเป็นพระภรรยาเจ้าในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งที่สมเด็จพระบรมราชเทวี อันเป็นตำแหน่งพระอัครมเหสีสูงสุด แต่การทิวงคตของพระราชโอรสคือสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ทำให้ทรงเสียพระฐานะไป แต่มิได้ทรงเสียพระทัยที่ทรงตกแต่อย่างใด
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงสูญเสียพระราชโอรส พระราชธิดาไปอีกมากมาย แม้ทรงรับพระราชโอรสและพระราชธิดาบุญธรรมมาทรงเลี้ยงต่างก็สิ้นพระชนม์ก่อนสมเด็จพระพันวัสสาไปทั้งหมด จนกระทั่งเหลือเพียงพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวาปีบุษบากร เป็นพระราชธิดาบุญธรรมพระองค์เดียวที่เสด็จอยู่จัดงานพระศพถวายพระราชมารดาบุญธรรมได้ นับได้ว่าสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงพบแต่การสูญเสียบุคคลที่ทรงรักตลอดพระชนม์จนถึงกับทรงอธิษฐานขอให้ทรงลืมทุกอย่าง
นอกจากนี้สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ยังทรงมีพระราชดำรัสว่า เปลี่ยนชื่อตนเองจนจะจำชื่อตนเองไม่ได้แล้ว ซึ่งเป็นดังนี้
เมื่อเสด็จพระราชสมภพ ทรงเป็น พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา
เมื่อทรงรับราชการเป็นพระภรรยาเจ้าในรัชกาลที่ห้า ทรงเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ทั้งนี้พระมาตุจฉาเจ้าแปลว่าป้า หรือพี่สาวของแม่ และก่อนสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งสุดท้ายว่า ฝากลูกด้วย เพราะทรงห่วงสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียว
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงเป็นสมเด็จพระมาตุจฉาเจ้า สว่างวัฒนา พระบรมราชเทวีดังเดิม
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 ทรงต้องโทมนัสเสียพระทัยที่สุด ด้วยพระราชโอรสบุญธรรมที่พระพุทธเจ้าหลวงทรงอุ้มมาพระราชทานให้และตรัสว่า ให้มาเป็นลูกแม่กลาง คือสมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ทรงต้องโทษคุมขังในคุกคดีการเมือง และต้องถูกถอดถอนพระฐานันดรศักดิ์ เป็น นักโทษชาย รังสิต
ในรัชกาลที่ 8-9 ทรงได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็นสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงดำรงพระชนม์ต่อเนื่องยาวนานมาถึงหกแผ่นดินจากแผ่นดินรัชกาลที่ 4 จนถึงแผ่นดินรัชกาลที่ 9 จึงทรงเป็นสมเด็จหกแผ่นดิน ตามที่ประชาชนถวายพระสมญา
อย่างไรก็ตามรูปนี้ทำให้ทราบว่า สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้านอกจากจะทรงเป็นสมเด็จหกแผ่นดินแล้ว ยังทรงได้เข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินถึงเจ็ดพระองค์
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชปนัดดา (เหลน) ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าในรูป ที่มีคำบรรยายว่าในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงอุ้มเจ้าฟ้าชายวชิราลงกรณ์ไปถวายให้สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าได้ทอดพระเนตรบนพระเก้าอี้วีลแชร์ และทรงโบกพระหัตถ์อย่างที่อยากจะทรงเล่นกับเหลน ซึ่งเป็นเด็กเล็กๆ
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพในวันที่ 28 กรกฎาคม 2495 ในขณะที่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2498
ในพระบรมฉายาลักษณ์รูปแรกนั้นบรรยายไว้ว่าสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าขณะพระชนมายุ 91 พรรษา ดังนั้นพระบรมฉายาลักษณ์รูปแรกนี้น่าจะถ่ายในปี 2495-2496 หรือประมาณสองปีก่อนสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าเสด็จสวรรคต และในรูปนั้นพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวน่าจะมีพระชนมายุราวหนึ่งขวบ อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่ายังไม่สามารถหาข้อมูลได้ชัดเจน
ส่วนพระบรมฉายาลักษณ์รูปที่สองนั้น น่าจะถ่ายที่เฉลียงพระตำหนักใหญ่วังสระปทุมเช่นกัน และสันนิษฐานว่าน่าจะฉายก่อนพระบรมฉายาลักษณ์รูปแรก แต่ไม่ทราบวันเวลาที่แน่นอน
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า จึงทรงเป็นสมเด็จหกแผ่นดิน เพราะดำรงพระชนม์ชีพตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 9 แต่ได้ทรงเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินเจ็ดพระองค์ นับแต่ในหลวงรัชกาลที่ 4 จนถึงในหลวงรัชกาลที่ 10 ในการที่ทรงมีพระชนมายุยืนยาว ทรงสถิตเป็นที่สักการะเคารพรักแห่งพระบรมวงศานุวงศ์นั้น กลับได้ทรงพบกับการพลัดพราก ความสูญเสีย ตลอดพระชนม์ชีพอันยืนยาว นับว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามหลักไตรลักษณ์โดยแท้