ผู้จัดการรายวัน360-แบงก์ชาติหวั่นโควิด-19 ดันหนี้ครัวเรือนพุ่ง 90.5% ของจีดีพี หนุนสถาบันการเงินเร่งปรับปรุงโครงสร้างลูกหนี้รายย่อยก่อนกลายเป็นหนี้เสีย ห่วงดอกเบี้ยต่ำ คนหันไปลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง แต่เสี่ยงสูง เร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหามาตรการดูแลเพิ่ม คลังยันเงินเพียงพอรองรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ ด้านโฆษกรัฐบาล นัดแถลงมาตรการช่วยเหลือ หลังประชุม ครม.วันนี้
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงผลการประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) เพื่อติดตามและประเมินเสถียรภาพระบบการเงินไทย ว่า ที่ประชุมประเมินระบบสถาบันการเงินไทย ยังมีเสถียรภาพ ธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจประกันภัย มีเงินกองทุนอยู่ในระดับสูง ขณะที่ตลาดการเงิน มีเสถียรภาพ และสามารถรองรับภาวะวิกฤตได้ แต่สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นจากการกลายพันธุ์ของไวรัส อีกทั้งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ช้าลงและไม่ทั่วถึง ส่งผลให้ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนมีความเปราะบางเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะภาระหนี้ครัวเรือนของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย แม้จะมีมาตรการช่วยเหลือไปแล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องเตรียมมาตรการดูแลเพิ่มเติมอย่างตรงจุดและทันการณ์ ควบคู่ไปกับการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่อง เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
“การดูแลความเสี่ยง ต้องดูแลปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ปัจจุบันอยู่ในระดับสูงถึง 90.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) เพราะวิกฤตโควิด-19 ได้ทำให้ครัวเรือนจำนวนมากมีปัญหาในการชำระหนี้ ซึ่งจะเป็นปัญหามากยิ่งขึ้น ในช่วงวัฏจักรขาขึ้นของอัตราดอกเบี้ยหรือเศรษฐกิจเผชิญความผันผวนสูง”
สำหรับมาตรการเร่งด่วน จะต้องเร่งผลักดันและกำหนดกลไก เพื่อจูงใจให้สถาบันการเงินปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้ลูกหนี้รายย่อยที่มีภาระหนี้สูงอย่างจริงจัง โดยมีการติดตามความคืบหน้าและประสิทธิผลของการช่วยเหลือลูกหนี้อย่างใกล้ชิด แต่จากการประเมินเบื้องต้น ขนาดของความช่วยเหลือที่ภาคครัวเรือนต้องการ อาจสูงเกินกว่าที่จะให้เป็นภาระของสถาบันการเงินเพียงฝ่ายเดียว จึงจำเป็นต้องพิจารณาบทบาทของภาครัฐ และตลาดทุนประกอบด้วย รวมทั้งต้องเร่งฟื้นฟูรายได้ของครัวเรือนอย่างยั่งยืนควบคู่ไปด้วย
ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนในระยะยาว ต้องเตรียมการทั้งในเรื่อง 1.โครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลเครดิตที่ครอบคลุมภาระหนี้ทั้งหมดของครัวเรือน 2.การผลักดันให้เจ้าหนี้ให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม 3.การส่งเสริมให้ลูกหนี้มีความเข้าใจและมีวินัยทางการเงิน และ 4.การส่งเสริมให้มีผู้ให้บริการทางการเงินทางเลือกเพื่อช่วยลดหนี้นอกระบบ
อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงจากภาวะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำมาเป็นเวลานาน ทำให้นักลงทุนบางกลุ่มแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น และมีการประเมินความเสี่ยงของการลงทุนต่ำกว่าที่ควร ซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบในภายหลัง ซึ่งธปท. จะร่วมมือกับหน่วยงานกำกับ เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ร่วมกันประเมินความเสี่ยงต่าง ๆ และหาแนวทางป้องกัน รวมทั้งจะเตรียมมาตรการอื่น ๆ เพิ่มเติม หากจำเป็น เพื่อดูแลระบบการเงิน และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า คลังมีแหล่งเงินกู้เพียงพอ หากรัฐบาลมีนโยบายออกมาตรการเยียวยาหรือฟื้นฟูเศรษฐกิจเพิ่มเติม จากปัจจุบัน พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ได้อนุมัติกรอบวงเงินใกล้เต็มแล้ว และยังมีเงินจาก พ.ร.ก.กู้เงิน ฉบับใหม่ 5 แสนล้านบาท ที่สามารถนำมาใช้เยียวยาได้ ส่วนจะมีการกู้เงินออกมาใช้เท่าไรในช่วงนี้ ต้องรอดูนโยบายว่าจะมีแผนใช้เงินเยียวยาเท่าไร รวมถึงจะมีการปรับวงเงินจากโครงการที่ยังไม่ใช้จ่ายจาก พ.ร.ก. 1 ล้านล้านบาททมาใช้เยียวยาหรือไม่ ซึ่ง สบน.ได้เตรียมความพร้อมไว้แล้ว
ส่วนการเปิดจำหน่ายว่าพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่น ยิ่งออมยิ่งได้ วงเงิน 50,000 ล้านบาท โดยในส่วนการขายผ่านวอลเล็ต สบม. บนแอปพลิเคชั่นเป๋าตัง วงเงิน 10,000 ล้านบาท ได้ขายหมดไปตั้งแต่เมื่อ 5 ก.ค.2564 ใช้เวลาเพียง 2.45 ชั่วโมง ส่วนการขายผ่าน 4 ธนาคารตัวแทนจำหน่าย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ อีก 40,000 ล้านบาท ซึ่งได้ขายไปวันแรก 12 ก.ค.2564 ยังคงมีวงเงินเหลืออยู่เล็กน้อย
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ส่งข้อความผ่านไลน์สื่อมวลชนทำเนียบรัฐบาล แจ้งให้ทราบว่า การประชุมร่วมระหว่างพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กับรัฐมนตรีเศรษฐกิจเสร็จสิ้นแล้ว จะนำเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้ (13 ก.ค.) แล้วจะแถลงให้ทราบครับ
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงผลการประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) เพื่อติดตามและประเมินเสถียรภาพระบบการเงินไทย ว่า ที่ประชุมประเมินระบบสถาบันการเงินไทย ยังมีเสถียรภาพ ธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจประกันภัย มีเงินกองทุนอยู่ในระดับสูง ขณะที่ตลาดการเงิน มีเสถียรภาพ และสามารถรองรับภาวะวิกฤตได้ แต่สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นจากการกลายพันธุ์ของไวรัส อีกทั้งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ช้าลงและไม่ทั่วถึง ส่งผลให้ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนมีความเปราะบางเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะภาระหนี้ครัวเรือนของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย แม้จะมีมาตรการช่วยเหลือไปแล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องเตรียมมาตรการดูแลเพิ่มเติมอย่างตรงจุดและทันการณ์ ควบคู่ไปกับการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่อง เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
“การดูแลความเสี่ยง ต้องดูแลปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ปัจจุบันอยู่ในระดับสูงถึง 90.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) เพราะวิกฤตโควิด-19 ได้ทำให้ครัวเรือนจำนวนมากมีปัญหาในการชำระหนี้ ซึ่งจะเป็นปัญหามากยิ่งขึ้น ในช่วงวัฏจักรขาขึ้นของอัตราดอกเบี้ยหรือเศรษฐกิจเผชิญความผันผวนสูง”
สำหรับมาตรการเร่งด่วน จะต้องเร่งผลักดันและกำหนดกลไก เพื่อจูงใจให้สถาบันการเงินปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้ลูกหนี้รายย่อยที่มีภาระหนี้สูงอย่างจริงจัง โดยมีการติดตามความคืบหน้าและประสิทธิผลของการช่วยเหลือลูกหนี้อย่างใกล้ชิด แต่จากการประเมินเบื้องต้น ขนาดของความช่วยเหลือที่ภาคครัวเรือนต้องการ อาจสูงเกินกว่าที่จะให้เป็นภาระของสถาบันการเงินเพียงฝ่ายเดียว จึงจำเป็นต้องพิจารณาบทบาทของภาครัฐ และตลาดทุนประกอบด้วย รวมทั้งต้องเร่งฟื้นฟูรายได้ของครัวเรือนอย่างยั่งยืนควบคู่ไปด้วย
ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนในระยะยาว ต้องเตรียมการทั้งในเรื่อง 1.โครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลเครดิตที่ครอบคลุมภาระหนี้ทั้งหมดของครัวเรือน 2.การผลักดันให้เจ้าหนี้ให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม 3.การส่งเสริมให้ลูกหนี้มีความเข้าใจและมีวินัยทางการเงิน และ 4.การส่งเสริมให้มีผู้ให้บริการทางการเงินทางเลือกเพื่อช่วยลดหนี้นอกระบบ
อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงจากภาวะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำมาเป็นเวลานาน ทำให้นักลงทุนบางกลุ่มแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น และมีการประเมินความเสี่ยงของการลงทุนต่ำกว่าที่ควร ซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบในภายหลัง ซึ่งธปท. จะร่วมมือกับหน่วยงานกำกับ เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ร่วมกันประเมินความเสี่ยงต่าง ๆ และหาแนวทางป้องกัน รวมทั้งจะเตรียมมาตรการอื่น ๆ เพิ่มเติม หากจำเป็น เพื่อดูแลระบบการเงิน และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า คลังมีแหล่งเงินกู้เพียงพอ หากรัฐบาลมีนโยบายออกมาตรการเยียวยาหรือฟื้นฟูเศรษฐกิจเพิ่มเติม จากปัจจุบัน พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ได้อนุมัติกรอบวงเงินใกล้เต็มแล้ว และยังมีเงินจาก พ.ร.ก.กู้เงิน ฉบับใหม่ 5 แสนล้านบาท ที่สามารถนำมาใช้เยียวยาได้ ส่วนจะมีการกู้เงินออกมาใช้เท่าไรในช่วงนี้ ต้องรอดูนโยบายว่าจะมีแผนใช้เงินเยียวยาเท่าไร รวมถึงจะมีการปรับวงเงินจากโครงการที่ยังไม่ใช้จ่ายจาก พ.ร.ก. 1 ล้านล้านบาททมาใช้เยียวยาหรือไม่ ซึ่ง สบน.ได้เตรียมความพร้อมไว้แล้ว
ส่วนการเปิดจำหน่ายว่าพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่น ยิ่งออมยิ่งได้ วงเงิน 50,000 ล้านบาท โดยในส่วนการขายผ่านวอลเล็ต สบม. บนแอปพลิเคชั่นเป๋าตัง วงเงิน 10,000 ล้านบาท ได้ขายหมดไปตั้งแต่เมื่อ 5 ก.ค.2564 ใช้เวลาเพียง 2.45 ชั่วโมง ส่วนการขายผ่าน 4 ธนาคารตัวแทนจำหน่าย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ อีก 40,000 ล้านบาท ซึ่งได้ขายไปวันแรก 12 ก.ค.2564 ยังคงมีวงเงินเหลืออยู่เล็กน้อย
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ส่งข้อความผ่านไลน์สื่อมวลชนทำเนียบรัฐบาล แจ้งให้ทราบว่า การประชุมร่วมระหว่างพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กับรัฐมนตรีเศรษฐกิจเสร็จสิ้นแล้ว จะนำเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้ (13 ก.ค.) แล้วจะแถลงให้ทราบครับ