ผู้จัดการรายวัน 360 - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานยาฟ้าทะลายโจรให้แก่ผู้ป่วยโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพฯ ขณะที่ยอดผู้ป่วยโควิดทำนิวไฮ 6,519 ราย สะสมทะลุ 3 แสน เสียชีวิตเพิ่ม 54 ราย พบผู้ป่วยโคม่าใช้เครื่องช่วยหายใจเสี่ยงตายเฉลี่ย 10 ต่อ 1 ขณะที่สายพันธุ์ "เดลต้า" ระบาดเร็ว คาดการณ์สัปดาห์หน้าผู้ติดเชื้ออาจทะลุวันละหมื่นราย ด้านเลขาฯ สมช.ย้ำ “ล็อกดาวน์” มีครั้งเดียวตอน เม.ย.63 ต้องเยียวยาเดือนละ3 แสนล้าน "อนุทิน" ถกทีม สธ.เร่งเพิ่มเตียง จัดทีมบุคลากร รับผู้ป่วยรอเตียงเข้าสู่ระบบการรักษา ม็อบเยาวชน บุก สธ.ทวงวัคซีนใน 7 วัน “อภัยภูเบศร-ธนัทเฮิร์บ” มอบฟ้าทะลายโจรช่วยรักษาโควิด จีนส่งวัคซีนให้ไทยอีก 2 ล้านโดส รวมทั้งสิ้น 14.5 ล้านโดส
วานนี้ (7 ก.ค.) พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย พบติดเชื้อรายใหม่รวม 6,519 ราย ยอดสะสม 301,172 ราย ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างรักษาตัว 67,614 ราย ในจำนวนนี้มีอาการหนัก (ปอดอักเสบ) 2,496 ราย ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ 676 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่ม 54 ราย ยอดผู้เสียชีวิตสะสม 2,387 ราย
โดยในพื้นที่ กทม. มีคลัสเตอร์ที่ต้องเฝ้าระวังจำนวน 118 แห่ง พบคลัสเตอร์ใหม่ 2 แห่ง คือ เขตมีนบุรี เป็นศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ และเขตบางนา โรงงานผลิตจิวเวลรี่ และต่างจังหวัด อีก 3 แห่ง คือปทุมธานี นนทบุรี และตาก
หากดูตัวเลขผู้ป่วยที่มีอาการหนักและใส่เครื่องช่วยหายใจจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น จากช่วงแรกๆ อาการหนักจาก 1,000 ต้นๆ เป็น 2,000 กว่าราย ใส่เครื่องช่วยหายใจจาก 300-400 ราย เป็นกว่า 600 ราย และในจำนวนผู้ป่วยใช้เครื่องหายใจ 10 ราย จะเสียชีวิต 1-2 ราย ซึ่งจากตัวเลขเฝ้าระวังจะเป็นผู้สูงอายุ และผู้มี 7 โรคเรื้อรัง ดังนั้นจึงต้องเน้นฉีดวัคซีนให้กลุ่มนี้เร็วที่สุด
พญ.อภิสมัย กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานการณ์การติดเชื่อทั่วประเทศ สัดส่วนผู้ติดเชื้อกทม. - ปริมณฑล กับต่างจังหวัดมีสัดส่วนเท่าๆ กันที่ 50% ต่อ 50% สะท้อนการเดินทางของประชาชนจากพื้นที่สีแดงไปต่างจังหวัด ทำให้กระจายการติดเชื้อไป 40 จังหวัด และคาดการณ์จะเป็นสายพันธุ์อินเดีย หรือเดลต้า เพราะเป็นสายพันธุ์ส่วนใหญ่ที่พบในกรุงเทพฯ ส่วนสายพันธุ์อังกฤษหรืออัลฟ่า มีสัดส่วนที่ลดลง
ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญของสหรัฐฯ รายงานว่าสายพันธุ์เดลต้านี้แพร่กระจายเร็ว คาดการณ์ว่าจะมีการเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อ 2 เท่าภายใน 2 สัปดาห์ บนสมมุติฐานนี้ทำให้คาดการณ์อาจมีจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศไทยถึงหมื่นรายในสัปดาห์หน้า ดังนั้นจึงต้องเน้นย้ำมาตรการส่วนตัว ลดการเคลื่อนย้าย เฝ้าระวังผู้สูงอายุ รวมถึงการฉีดวัคซีนด้วย
พระราชทานยาฟ้าทะลายโจรรักษาผู้ป่วยโควิด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลอากาศโท สุพิชัย สุนทรบุระ รองเลขาธิการพระราชวัง เป็นผู้แทนพระองค์ฯ ส่งมอบยาฟ้าทะลายโจรพระราชทานให้แก่ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จำนวน 2,000 ขวด
ในการนี้ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม.กล่าวสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ พร้อมด้วย นางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกทม. และนางวันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกทม. ร่วมรับมอบยาฟ้าทะลายโจรพระราชทาน ณ ห้องอมรพิมาน ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ กรุงเทพมหานคร จะนำยาฟ้าทะลายโจรพระราชทานไปส่งมอบให้แก่สถานพยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ให้สมดังพระราชปณิธานต่อไป
ล็อกดาวน์ต้องเยียวยาเดือนละ3แสนล.
พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขาฯสมช.ในฐานะผอ. ศปก.ศบค. กล่าวถึงข้อเสนอให้ ศบค.ล็อกดาวน์ เนื่องจากตัวเลขผู้ติดเชื้อ และเสียชีวิตสูงขึ้นต่อเนื่องว่า ตอนนี้ต้องรอข้อเสนออย่างเป็นทางการ และรับฟังความเห็นจากทางกระทรวงสาธารณสุขก่อนเป็นลำดับแรก โดย ศบค.พร้อมรับไว้พิจารณา จากนั้นจะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
ทั้งนี้ อยากให้สื่อทำความเข้าใจกับคำว่า ล็อกดาวน์ ว่าหมายความอย่างไร ถ้าเป็นเหมือนตอนเดือนเม.ย.63 คือ การล็อกดาวน์จริง เพราะรวมถึงเคอร์ฟิวด้วย แต่หลังจากนั้นไม่ใช่ล็อกดาวน์ เป็นเพียงการปิดกิจการ และจำกัดการเคลื่อนย้าย ฉะนั้นถ้าใช้คำว่า ล็อกดาวน์ ในขณะนี้ที่เป็นการปิดบางกิจการ คนจะเข้าเข้าใจว่าเหมือนเดือนเม.ย.63 ความหมายก็จะผิดเพี้ยนไป
ส่วนจะพิจารณาเรื่องนี้ในการประชุม วันที่ 12 ก.ค.นี้ หรือไม่นั้น พล.อ.ณัฐพล กล่าวว่า ถ้าตัวเลขเพิ่มขึ้น ก็อาจจะเร็วกว่านั้น แต่ถ้ายังขึ้นๆลงๆ แบบนี้ อาจรอดูสถานการณ์ให้ครบ 15 วัน เพื่อประเมินทีเดียวแล้วดูให้ครบถ้วน
ทั้งนี้หากจะประกาศ จะเน้นเข้มข้นในพื้นที่แพร่ระบาดทั้งใน กทม. และปริมณฑล หรือ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนพื้นที่อื่นจะมีมาตรการเสริม หากล็อกดาวน์ หรือเซมิล็อกดาวน์ หรืออะไรก็ตาม ถ้าทำเฉพาะ กทม.หรือปริมณฑล แต่พื้นที่อื่นไม่ทำ จะไม่สอดคล้องกัน ฉะนั้นต้องลดหลั่นไปตามเหมาะสม
ส่วนที่มองว่า การล็อกดาวช่วงเดือนเม.ย.63 ได้ผล จึงมีข้อเสนอให้ล็อกดาวน์อีกครั้ง นั้น พล.อ.ณัฐพล กล่าวว่า ต้องยอมรับความจริงว่า คนหาเช้ากินค่ำ หรือผู้ที่ไม่มีรายได้ประจำ เดือดร้อนมาก กระทรวงการคลัง ได้แจ้งข้อมูลว่า ในช่วงเม.ย.63 ใช้งบฯเยียวยา เดือนละเกือบ 3 แสนล้านบาท ถ้าเราทำอีก จะต้องหางบฯ มาเยียวยาประชาชนอีกมาก ซึ่งในข้อเท็จจริงแม้จะใช้งบถึงเดือนละ 3 แสนล้านบาทก็ยังไม่สามารถเยียวยาประชาชนได้ทั่วถึง ทาง ศบค. คำนึงผลกระทบตรงนี้ที่มีต่อประชาชน จึงให้บางส่วนยังหากินได้ ไม่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาด คือสิ่งที่ดีที่สุด และหากจะทำ ก็ต้องวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นสาเหตุทั้งหมด ถ้ากระทรวงสาธารณสุข เห็นว่าต้นเหตุคือทั้งหมดทุกส่วนก็จำเป็นต้องล็อกดาวน์
หากไฟเซอร์มาถึง พร้อมฉีดด่านหน้าก่อน
พล.อ.ณัฐพล ยังกล่าวถึงการจัดหาวัคซีน ที่รัฐบาลยังคงสั่งวัคซีนซิโนแวค จำนวนมาก ทั้งที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เชื่อมั่นว่า หากมองในแง่ประสิทธิภาพของวัคซีนซิโนแวคก็ยังมีอยู่ และในช่วงเวลาที่วัคซีนชนิดอื่นยังไม่สามารถจัดหาได้ ถ้ารอวัคซีนเหล่านั้น ก็ไม่มีวัคซีนฉีดให้ประชาชน
เมื่อถามว่า การจัดหาวัคซีนไฟเซอร์ 20 ล้านโดส จะฉีดให้บุคลากรด่านหน้า หรือประชาชนก่อน พล.อ.ณัฐพล กล่าวว่า ต้องแบ่งสัดส่วนกัน เพราะแพทย์บางส่วนบอกว่ายังพอคอยได้ บางส่วนหน้างานกังวล อยากขอฉีดก่อน รัฐบาลต้องคำนึงเรื่องนี้ โดยเฉพาะขวัญและกำลังใจบุคลากรที่อยู่หน้างานด้วย โดยจะรอผลการพิจารณาจากกรมควบคุมโรคว่าจะแบ่งอย่างไร เพราะเราห่วงทั้งบุคลากรทางการแพทย์ ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวตัว และประชาชนทั่วไป
ส่วนวัคซีนที่รับบริจาคมา ก็ต้องไปฉีดให้ชาวต่างชาติด้วย ถ้าฉีดให้คนไทยทั้งหมดโดยไม่แบ่งก็อาจจะกระทบความรู้สึกของคนต่างชาติ แต่ขึ้นอยู่กับสธ.จะพิจารณาจำนวนที่เหมาะสม
เมื่อถามถึง “กลุ่มหมอไม่ทน” เรียกร้องให้จัดหาวัคซีนเชื้อเป็น mRNA เป็นวัคซีนหลักพล.อ.ณัฐพล กล่าวว่า ต้องรับฟังและให้ความสำคัญ เพราะทุกคนหน้างานมีความเหนื่อยล้า มีความเสี่ยง จึงต้องมองเรื่องขวัญกำลังใจด้วย จะมองแค่หลักวิชาการทางการแพทย์อย่างเดียวไม่ได้ และปัจจุบันเราต้องใช้บุคลากรการแพทย์จำนวนมาก ถ้าขวัญกำลังใจไม่ดี จะมีผลกระทบต่อการปฎิบัติงานได้ โดยทั้งหมดต้องเป็นไปตามข้อเสนอของสธ. โดยจะมีวัคซีนส่วนหนึ่ง ถ้าไม่มีอุปสรรคอะไรวัคซีนไฟเซอร์ ที่จะเข้ามาในเดือนก.ค. หรือส.ค.นี้ จะพิจารณาจัดสรรให้บุคลากรทางการแพทย์ตามความจำเป็น มีความเหมาะสม และความสมัครใจด้วย
"อนุทิน" ถกทีม สธ. ช่วยกทม.รับมือผู้ป่วย
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีแ และรมว.สธ. กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข ผ่านระบบประชุมทางไกล ว่า ได้สั่งการให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ร่วมกับกรมควบคุมโรค และกรมการแพทย์ ประสานเครือข่ายกู้ชีพ กู้ภัย จัดทีมออกปฏิบัติการเชิงรุก ลาดตระเวนออกค้นหาผู้ติดเชื้อที่รอเตียงที่บ้านในพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อรับตัวเข้าสู่ระบบรักษา ตามระดับของอาการ มีทีมติดตามอาการป่วยหรือนำส่งต่อโรงพยาบาล (รพ.) สนาม ในพื้นที่กรุงเทพฯ ส่วนกลุ่มเปราะบาง กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง มี รพ.บุษราคัม รองรับ เพื่อลดความวิตกกังวล ผ่อนคลายความทุกข์ของประชาชนที่รอเตียงตามบ้าน
สำหรับการบริหารจัดการเตียงในเขตกรุงเทพฯ ได้มอบให้กรมการแพทย์ บริหารร่วมกับ กทม. เพิ่มจำนวนเตียงรองรับผู้ป่วยติดเชื่อที่มากถึงวันละ 5-6 พันคน โดยสธ. ได้ดำเนินการเปิดศูนย์แรกรับ-ส่งต่อนิมิบุตร การเปิด รพ.บุษราคัม ที่ล่าสุดมีรองรับกว่า 4,000 เตียง ถ้ามีความจำเป็นก็เพิ่มได้อีก รวมทั้งการหาพื้นที่ก่อสร้าง รพ.เพิ่ม เช่น อาคาร Satellite 1 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งมีศักยภาพและมีความพร้อม และเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อลดการเจ็บป่วยรุนแรงและรักษาชีวิตคน
จี้นายกฯเร่งนำเข้าวัคซีนmRNA
ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล 1111(สนง.กพ.เดิม) กลุ่มหมอไม่ทน ร่วมกับ ภาคีบุคลากรสาธารณสุข นำโดย นพ.สันติ กิจวัฒนาไพบูลย์ และนพ.ทศพร เสรีรักษ์ ยื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้เร่งนำเข้าวัคซีนโควิด ชนิด mRNA มาใช้เป็นวัคซีนหลัก เพื่อป้องกันการเสียชีวิต และควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิคในประเทศไทย ที่มีผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลต้า ที่กำลังแพร่ระบาดในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งวัคซีนที่ประเทศไทยใช้อยู่ในปัจจุบันไม่สามารถป้องกัรการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้
ม็อบเยาวชนบุกสธ.ทวงวัคซีนใน 7 วัน
ส่วน ที่กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มไพร่พล และ เด็กปากแจ๋ว ราว 50 คน เดินทางหอบศพจำลอง พร้อมช่อดอกไม้จันทน์ ติดชื่อนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สธ. ทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ "บุกกระทรวงทวงวัคซีน" เรียกร้องให้มีการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 และวัคซีนทางเลือกให้กับเด็ก ประชาชน และบุคลากรทางการแพทย์ ภายใน 7 วัน
ฉีดวัคซีนเข็ม2ต่างชนิดภูมิสูงกว่าชนิดเดียว8เท่า
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยการให้วัคซีนเข็มแรกเป็นเชื้อตาย (Sinovac) และอีก 3-4 สัปดาห์ต่อมา ให้วัคซีน virus vector (AstraZeneca) ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นได้ปริมาณที่สูงกว่าการให้วัคซีนเชื้อตาย (Sinovac) 2 เข็ม ประมาณ 8 เท่า และการให้วัคซีนสลับ เข็มแรกเชื้อตาย เข็มที่ 2 เป็นไวรัสเวกเตอร์ (ห่างกัน 3-4 สัปดาห์) จะทำให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนได้ภูมิต้านทานสูงในเวลาเพียง 6-8 สัปดาห์ ซึ่งต่างกับผู้ที่ได้รับวัคซีนไวรัสเวกเตอร์ 2 ครั้ง(ห่างกัน 10 สัปดาห์) กว่าจะได้ภูมิต้านทานสูงดังกล่าวต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 12 - 14 สัปดาห์
อภัยภูเบศรมอบฟ้าทะลายโจร 1.2 ล้านเม็ด
พญ.โศรยา ธรรมรักษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวระหว่างเดินทางไปมอบยา "ฟ้าทะลายโจร" จำนวน 1.2 ล้านเม็ด ให้ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. ที่ศาลาว่าการกทม.2 ว่า จากการติดตามผลการใช้ยาฟ้าทะลายโจร พบได้ผลดี ทั้งในผู้ติดเชื้อที่มีอาการน้อย หรือไม่มีอาการ หรือแม้กระทั่งกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในมาตรการควบคุมการเข้าและออกในพื้นที่ (bubble and seal) และผู้ป่วยก็ปลอดภัย ทำให้การควบคุมการระบาดในบางพื้นที่ทำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพียงแต่ประเด็นสำคัญของการใช้ฟ้าทะลายโจร คือ ต้องให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งเราก็เร่งการผลิตเพื่อให้คนไทยได้เข้าถึงยานี้อย่างกว้างขวาง
“ธนัทเฮิร์บ” ขนฟ้าทะลายโจร 5 หมื่นกระปุก
ที่รัฐสภา ตัวแทน ส.ส.จากพรรคเพื่อไทย พรรคพลังประชารัฐ และพรรคภูมิใจไทย นำโดย นายชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย ได้รับมอบฟ้าทะลายโจร ชนิดแคปซูล จากบริษัท ธนัทเฮิร์บ พาณิชย์ จำกัด โดย ดร.ธนัท เชี่ยวชาญอักษร จำนวน 50,000 กระปุก เพื่อนำไปมอบให้กับส.ส.ของทุกพรรค ได้ไปแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่
“ชวน” เบรก ส.ส.- ส.ว.ขอฉีดวัคซีนเข็ม3
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่มีการเสนอให้ฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ให้กับส.ส. -ส.ว. และบุคลากรรัฐสภา ว่า ยังเป็นเพียงข้อเสนอ ยังไม่ได้มีการตกลงอะไรกัน แต่จะให้มีการ สว็อป ยืนยันว่าตอนนี้ยังไม่มีการฉีดเข็มที่ 3 เพราะต้องฉีดให้กับบุคลากรทางแพทย์ที่ควรได้รับการดูแลก่อน ขณะเดียวกันส่วนใหญ่ก็ไม่เห็นด้วย เนื่องจากที่เรามีประชุมได้ เพราะเรามีมาตรการที่เข้มงวด ซึ่งจากที่เรามีมาตรการมาเดือนกว่า ความร่วมมือถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ในการสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ทั้งนี้ขอความร่วมมือให้มีการคุมเข้มเช่นนี้ตลอดไป และเปิดเผยข้อมูลคนที่ติดเชื้อและมีการกักตัวอยู่ที่บ้าน
ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์พบนักท่องเที่ยวติดเชื้อ 1 ราย
น.พ.กู้ศักดิ์ กู้เกียรติกูล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ต ตรวจพบนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีผลตรวจหาเชื้อโควิด เป็นบวก 1 ราย เป็นชายอายุประมาณ 20 ปี จากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เดินทางเข้ามาในจังหวัดภูเก็ตเมื่อวันที่ 6 ก.ค.64 ด้วยไฟล์บิน EK378 เส้นทางดูไบ-ภูเก็ต เวลา 12.30 น. ซึ่งมีผู้โดยสารทั้งหมด 14 คน โดยเมื่อถึงท่าอากาศยานภูเก็ตได้ตรวจ swab test แล้วเดินทางไปรอผลที่ห้องพักในโรงแรม จากนั้นเวลาประมาณ 22.00-23.00 น.ทราบผลตรวจเป็นบวก ดังนั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตได้แจ้งผู้จัดการโรงแรม และนำผู้ติดเชื้อไปรักษาตัวที่รพ.แล้ว ส่วนนักท่องเที่ยวกลุ่มเดียวกันอีก 13 คน ซึ่งอยู่ในกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงได้เข้าสู่กระบวนการกักตัวในสถานที่กักตัวที่รัฐกำหนด เป็นเวลา 14 วัน
"ชวน" ร่อนหนังสือขอวัคซีนให้มูลนิธิ-สัปเหร่อ
นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่าน นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ได้ทำหนังสือถึง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขอความอนุเคราะห์จัดสรรวัคซีนเจ้าหน้าที่มูลนิธิ สัปเหร่อ และผู้ทำหน้าที่ในการจัดการศพของผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และครอบครัว ซึ่งต้องรับความเสี่ยงจัดการใกล้ชิดและผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก
จีนส่งวัคซีนให้ไทยอีก 2 ล้านโดส
สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ Chinese Embassy Bangkok สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ระบุข้อความว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ชุดใหม่ของจีนจำนวน 2 ล้านโดสส่งถึงกรุงเทพฯ แล้ว ปัจจุบัน จีนได้จัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้แก่ประเทศไทยแล้วจำนวน 15 ชุด รวมทั้งสิ้น 14.5 ล้านโดส
วานนี้ (7 ก.ค.) พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย พบติดเชื้อรายใหม่รวม 6,519 ราย ยอดสะสม 301,172 ราย ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างรักษาตัว 67,614 ราย ในจำนวนนี้มีอาการหนัก (ปอดอักเสบ) 2,496 ราย ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ 676 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่ม 54 ราย ยอดผู้เสียชีวิตสะสม 2,387 ราย
โดยในพื้นที่ กทม. มีคลัสเตอร์ที่ต้องเฝ้าระวังจำนวน 118 แห่ง พบคลัสเตอร์ใหม่ 2 แห่ง คือ เขตมีนบุรี เป็นศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ และเขตบางนา โรงงานผลิตจิวเวลรี่ และต่างจังหวัด อีก 3 แห่ง คือปทุมธานี นนทบุรี และตาก
หากดูตัวเลขผู้ป่วยที่มีอาการหนักและใส่เครื่องช่วยหายใจจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น จากช่วงแรกๆ อาการหนักจาก 1,000 ต้นๆ เป็น 2,000 กว่าราย ใส่เครื่องช่วยหายใจจาก 300-400 ราย เป็นกว่า 600 ราย และในจำนวนผู้ป่วยใช้เครื่องหายใจ 10 ราย จะเสียชีวิต 1-2 ราย ซึ่งจากตัวเลขเฝ้าระวังจะเป็นผู้สูงอายุ และผู้มี 7 โรคเรื้อรัง ดังนั้นจึงต้องเน้นฉีดวัคซีนให้กลุ่มนี้เร็วที่สุด
พญ.อภิสมัย กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานการณ์การติดเชื่อทั่วประเทศ สัดส่วนผู้ติดเชื้อกทม. - ปริมณฑล กับต่างจังหวัดมีสัดส่วนเท่าๆ กันที่ 50% ต่อ 50% สะท้อนการเดินทางของประชาชนจากพื้นที่สีแดงไปต่างจังหวัด ทำให้กระจายการติดเชื้อไป 40 จังหวัด และคาดการณ์จะเป็นสายพันธุ์อินเดีย หรือเดลต้า เพราะเป็นสายพันธุ์ส่วนใหญ่ที่พบในกรุงเทพฯ ส่วนสายพันธุ์อังกฤษหรืออัลฟ่า มีสัดส่วนที่ลดลง
ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญของสหรัฐฯ รายงานว่าสายพันธุ์เดลต้านี้แพร่กระจายเร็ว คาดการณ์ว่าจะมีการเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อ 2 เท่าภายใน 2 สัปดาห์ บนสมมุติฐานนี้ทำให้คาดการณ์อาจมีจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศไทยถึงหมื่นรายในสัปดาห์หน้า ดังนั้นจึงต้องเน้นย้ำมาตรการส่วนตัว ลดการเคลื่อนย้าย เฝ้าระวังผู้สูงอายุ รวมถึงการฉีดวัคซีนด้วย
พระราชทานยาฟ้าทะลายโจรรักษาผู้ป่วยโควิด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลอากาศโท สุพิชัย สุนทรบุระ รองเลขาธิการพระราชวัง เป็นผู้แทนพระองค์ฯ ส่งมอบยาฟ้าทะลายโจรพระราชทานให้แก่ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จำนวน 2,000 ขวด
ในการนี้ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม.กล่าวสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ พร้อมด้วย นางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกทม. และนางวันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกทม. ร่วมรับมอบยาฟ้าทะลายโจรพระราชทาน ณ ห้องอมรพิมาน ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ กรุงเทพมหานคร จะนำยาฟ้าทะลายโจรพระราชทานไปส่งมอบให้แก่สถานพยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ให้สมดังพระราชปณิธานต่อไป
ล็อกดาวน์ต้องเยียวยาเดือนละ3แสนล.
พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขาฯสมช.ในฐานะผอ. ศปก.ศบค. กล่าวถึงข้อเสนอให้ ศบค.ล็อกดาวน์ เนื่องจากตัวเลขผู้ติดเชื้อ และเสียชีวิตสูงขึ้นต่อเนื่องว่า ตอนนี้ต้องรอข้อเสนออย่างเป็นทางการ และรับฟังความเห็นจากทางกระทรวงสาธารณสุขก่อนเป็นลำดับแรก โดย ศบค.พร้อมรับไว้พิจารณา จากนั้นจะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
ทั้งนี้ อยากให้สื่อทำความเข้าใจกับคำว่า ล็อกดาวน์ ว่าหมายความอย่างไร ถ้าเป็นเหมือนตอนเดือนเม.ย.63 คือ การล็อกดาวน์จริง เพราะรวมถึงเคอร์ฟิวด้วย แต่หลังจากนั้นไม่ใช่ล็อกดาวน์ เป็นเพียงการปิดกิจการ และจำกัดการเคลื่อนย้าย ฉะนั้นถ้าใช้คำว่า ล็อกดาวน์ ในขณะนี้ที่เป็นการปิดบางกิจการ คนจะเข้าเข้าใจว่าเหมือนเดือนเม.ย.63 ความหมายก็จะผิดเพี้ยนไป
ส่วนจะพิจารณาเรื่องนี้ในการประชุม วันที่ 12 ก.ค.นี้ หรือไม่นั้น พล.อ.ณัฐพล กล่าวว่า ถ้าตัวเลขเพิ่มขึ้น ก็อาจจะเร็วกว่านั้น แต่ถ้ายังขึ้นๆลงๆ แบบนี้ อาจรอดูสถานการณ์ให้ครบ 15 วัน เพื่อประเมินทีเดียวแล้วดูให้ครบถ้วน
ทั้งนี้หากจะประกาศ จะเน้นเข้มข้นในพื้นที่แพร่ระบาดทั้งใน กทม. และปริมณฑล หรือ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนพื้นที่อื่นจะมีมาตรการเสริม หากล็อกดาวน์ หรือเซมิล็อกดาวน์ หรืออะไรก็ตาม ถ้าทำเฉพาะ กทม.หรือปริมณฑล แต่พื้นที่อื่นไม่ทำ จะไม่สอดคล้องกัน ฉะนั้นต้องลดหลั่นไปตามเหมาะสม
ส่วนที่มองว่า การล็อกดาวช่วงเดือนเม.ย.63 ได้ผล จึงมีข้อเสนอให้ล็อกดาวน์อีกครั้ง นั้น พล.อ.ณัฐพล กล่าวว่า ต้องยอมรับความจริงว่า คนหาเช้ากินค่ำ หรือผู้ที่ไม่มีรายได้ประจำ เดือดร้อนมาก กระทรวงการคลัง ได้แจ้งข้อมูลว่า ในช่วงเม.ย.63 ใช้งบฯเยียวยา เดือนละเกือบ 3 แสนล้านบาท ถ้าเราทำอีก จะต้องหางบฯ มาเยียวยาประชาชนอีกมาก ซึ่งในข้อเท็จจริงแม้จะใช้งบถึงเดือนละ 3 แสนล้านบาทก็ยังไม่สามารถเยียวยาประชาชนได้ทั่วถึง ทาง ศบค. คำนึงผลกระทบตรงนี้ที่มีต่อประชาชน จึงให้บางส่วนยังหากินได้ ไม่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาด คือสิ่งที่ดีที่สุด และหากจะทำ ก็ต้องวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นสาเหตุทั้งหมด ถ้ากระทรวงสาธารณสุข เห็นว่าต้นเหตุคือทั้งหมดทุกส่วนก็จำเป็นต้องล็อกดาวน์
หากไฟเซอร์มาถึง พร้อมฉีดด่านหน้าก่อน
พล.อ.ณัฐพล ยังกล่าวถึงการจัดหาวัคซีน ที่รัฐบาลยังคงสั่งวัคซีนซิโนแวค จำนวนมาก ทั้งที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เชื่อมั่นว่า หากมองในแง่ประสิทธิภาพของวัคซีนซิโนแวคก็ยังมีอยู่ และในช่วงเวลาที่วัคซีนชนิดอื่นยังไม่สามารถจัดหาได้ ถ้ารอวัคซีนเหล่านั้น ก็ไม่มีวัคซีนฉีดให้ประชาชน
เมื่อถามว่า การจัดหาวัคซีนไฟเซอร์ 20 ล้านโดส จะฉีดให้บุคลากรด่านหน้า หรือประชาชนก่อน พล.อ.ณัฐพล กล่าวว่า ต้องแบ่งสัดส่วนกัน เพราะแพทย์บางส่วนบอกว่ายังพอคอยได้ บางส่วนหน้างานกังวล อยากขอฉีดก่อน รัฐบาลต้องคำนึงเรื่องนี้ โดยเฉพาะขวัญและกำลังใจบุคลากรที่อยู่หน้างานด้วย โดยจะรอผลการพิจารณาจากกรมควบคุมโรคว่าจะแบ่งอย่างไร เพราะเราห่วงทั้งบุคลากรทางการแพทย์ ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวตัว และประชาชนทั่วไป
ส่วนวัคซีนที่รับบริจาคมา ก็ต้องไปฉีดให้ชาวต่างชาติด้วย ถ้าฉีดให้คนไทยทั้งหมดโดยไม่แบ่งก็อาจจะกระทบความรู้สึกของคนต่างชาติ แต่ขึ้นอยู่กับสธ.จะพิจารณาจำนวนที่เหมาะสม
เมื่อถามถึง “กลุ่มหมอไม่ทน” เรียกร้องให้จัดหาวัคซีนเชื้อเป็น mRNA เป็นวัคซีนหลักพล.อ.ณัฐพล กล่าวว่า ต้องรับฟังและให้ความสำคัญ เพราะทุกคนหน้างานมีความเหนื่อยล้า มีความเสี่ยง จึงต้องมองเรื่องขวัญกำลังใจด้วย จะมองแค่หลักวิชาการทางการแพทย์อย่างเดียวไม่ได้ และปัจจุบันเราต้องใช้บุคลากรการแพทย์จำนวนมาก ถ้าขวัญกำลังใจไม่ดี จะมีผลกระทบต่อการปฎิบัติงานได้ โดยทั้งหมดต้องเป็นไปตามข้อเสนอของสธ. โดยจะมีวัคซีนส่วนหนึ่ง ถ้าไม่มีอุปสรรคอะไรวัคซีนไฟเซอร์ ที่จะเข้ามาในเดือนก.ค. หรือส.ค.นี้ จะพิจารณาจัดสรรให้บุคลากรทางการแพทย์ตามความจำเป็น มีความเหมาะสม และความสมัครใจด้วย
"อนุทิน" ถกทีม สธ. ช่วยกทม.รับมือผู้ป่วย
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีแ และรมว.สธ. กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข ผ่านระบบประชุมทางไกล ว่า ได้สั่งการให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ร่วมกับกรมควบคุมโรค และกรมการแพทย์ ประสานเครือข่ายกู้ชีพ กู้ภัย จัดทีมออกปฏิบัติการเชิงรุก ลาดตระเวนออกค้นหาผู้ติดเชื้อที่รอเตียงที่บ้านในพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อรับตัวเข้าสู่ระบบรักษา ตามระดับของอาการ มีทีมติดตามอาการป่วยหรือนำส่งต่อโรงพยาบาล (รพ.) สนาม ในพื้นที่กรุงเทพฯ ส่วนกลุ่มเปราะบาง กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง มี รพ.บุษราคัม รองรับ เพื่อลดความวิตกกังวล ผ่อนคลายความทุกข์ของประชาชนที่รอเตียงตามบ้าน
สำหรับการบริหารจัดการเตียงในเขตกรุงเทพฯ ได้มอบให้กรมการแพทย์ บริหารร่วมกับ กทม. เพิ่มจำนวนเตียงรองรับผู้ป่วยติดเชื่อที่มากถึงวันละ 5-6 พันคน โดยสธ. ได้ดำเนินการเปิดศูนย์แรกรับ-ส่งต่อนิมิบุตร การเปิด รพ.บุษราคัม ที่ล่าสุดมีรองรับกว่า 4,000 เตียง ถ้ามีความจำเป็นก็เพิ่มได้อีก รวมทั้งการหาพื้นที่ก่อสร้าง รพ.เพิ่ม เช่น อาคาร Satellite 1 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งมีศักยภาพและมีความพร้อม และเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อลดการเจ็บป่วยรุนแรงและรักษาชีวิตคน
จี้นายกฯเร่งนำเข้าวัคซีนmRNA
ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล 1111(สนง.กพ.เดิม) กลุ่มหมอไม่ทน ร่วมกับ ภาคีบุคลากรสาธารณสุข นำโดย นพ.สันติ กิจวัฒนาไพบูลย์ และนพ.ทศพร เสรีรักษ์ ยื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้เร่งนำเข้าวัคซีนโควิด ชนิด mRNA มาใช้เป็นวัคซีนหลัก เพื่อป้องกันการเสียชีวิต และควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิคในประเทศไทย ที่มีผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลต้า ที่กำลังแพร่ระบาดในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งวัคซีนที่ประเทศไทยใช้อยู่ในปัจจุบันไม่สามารถป้องกัรการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้
ม็อบเยาวชนบุกสธ.ทวงวัคซีนใน 7 วัน
ส่วน ที่กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มไพร่พล และ เด็กปากแจ๋ว ราว 50 คน เดินทางหอบศพจำลอง พร้อมช่อดอกไม้จันทน์ ติดชื่อนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สธ. ทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ "บุกกระทรวงทวงวัคซีน" เรียกร้องให้มีการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 และวัคซีนทางเลือกให้กับเด็ก ประชาชน และบุคลากรทางการแพทย์ ภายใน 7 วัน
ฉีดวัคซีนเข็ม2ต่างชนิดภูมิสูงกว่าชนิดเดียว8เท่า
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยการให้วัคซีนเข็มแรกเป็นเชื้อตาย (Sinovac) และอีก 3-4 สัปดาห์ต่อมา ให้วัคซีน virus vector (AstraZeneca) ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นได้ปริมาณที่สูงกว่าการให้วัคซีนเชื้อตาย (Sinovac) 2 เข็ม ประมาณ 8 เท่า และการให้วัคซีนสลับ เข็มแรกเชื้อตาย เข็มที่ 2 เป็นไวรัสเวกเตอร์ (ห่างกัน 3-4 สัปดาห์) จะทำให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนได้ภูมิต้านทานสูงในเวลาเพียง 6-8 สัปดาห์ ซึ่งต่างกับผู้ที่ได้รับวัคซีนไวรัสเวกเตอร์ 2 ครั้ง(ห่างกัน 10 สัปดาห์) กว่าจะได้ภูมิต้านทานสูงดังกล่าวต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 12 - 14 สัปดาห์
อภัยภูเบศรมอบฟ้าทะลายโจร 1.2 ล้านเม็ด
พญ.โศรยา ธรรมรักษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวระหว่างเดินทางไปมอบยา "ฟ้าทะลายโจร" จำนวน 1.2 ล้านเม็ด ให้ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. ที่ศาลาว่าการกทม.2 ว่า จากการติดตามผลการใช้ยาฟ้าทะลายโจร พบได้ผลดี ทั้งในผู้ติดเชื้อที่มีอาการน้อย หรือไม่มีอาการ หรือแม้กระทั่งกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในมาตรการควบคุมการเข้าและออกในพื้นที่ (bubble and seal) และผู้ป่วยก็ปลอดภัย ทำให้การควบคุมการระบาดในบางพื้นที่ทำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพียงแต่ประเด็นสำคัญของการใช้ฟ้าทะลายโจร คือ ต้องให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งเราก็เร่งการผลิตเพื่อให้คนไทยได้เข้าถึงยานี้อย่างกว้างขวาง
“ธนัทเฮิร์บ” ขนฟ้าทะลายโจร 5 หมื่นกระปุก
ที่รัฐสภา ตัวแทน ส.ส.จากพรรคเพื่อไทย พรรคพลังประชารัฐ และพรรคภูมิใจไทย นำโดย นายชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย ได้รับมอบฟ้าทะลายโจร ชนิดแคปซูล จากบริษัท ธนัทเฮิร์บ พาณิชย์ จำกัด โดย ดร.ธนัท เชี่ยวชาญอักษร จำนวน 50,000 กระปุก เพื่อนำไปมอบให้กับส.ส.ของทุกพรรค ได้ไปแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่
“ชวน” เบรก ส.ส.- ส.ว.ขอฉีดวัคซีนเข็ม3
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่มีการเสนอให้ฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ให้กับส.ส. -ส.ว. และบุคลากรรัฐสภา ว่า ยังเป็นเพียงข้อเสนอ ยังไม่ได้มีการตกลงอะไรกัน แต่จะให้มีการ สว็อป ยืนยันว่าตอนนี้ยังไม่มีการฉีดเข็มที่ 3 เพราะต้องฉีดให้กับบุคลากรทางแพทย์ที่ควรได้รับการดูแลก่อน ขณะเดียวกันส่วนใหญ่ก็ไม่เห็นด้วย เนื่องจากที่เรามีประชุมได้ เพราะเรามีมาตรการที่เข้มงวด ซึ่งจากที่เรามีมาตรการมาเดือนกว่า ความร่วมมือถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ในการสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ทั้งนี้ขอความร่วมมือให้มีการคุมเข้มเช่นนี้ตลอดไป และเปิดเผยข้อมูลคนที่ติดเชื้อและมีการกักตัวอยู่ที่บ้าน
ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์พบนักท่องเที่ยวติดเชื้อ 1 ราย
น.พ.กู้ศักดิ์ กู้เกียรติกูล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ต ตรวจพบนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีผลตรวจหาเชื้อโควิด เป็นบวก 1 ราย เป็นชายอายุประมาณ 20 ปี จากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เดินทางเข้ามาในจังหวัดภูเก็ตเมื่อวันที่ 6 ก.ค.64 ด้วยไฟล์บิน EK378 เส้นทางดูไบ-ภูเก็ต เวลา 12.30 น. ซึ่งมีผู้โดยสารทั้งหมด 14 คน โดยเมื่อถึงท่าอากาศยานภูเก็ตได้ตรวจ swab test แล้วเดินทางไปรอผลที่ห้องพักในโรงแรม จากนั้นเวลาประมาณ 22.00-23.00 น.ทราบผลตรวจเป็นบวก ดังนั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตได้แจ้งผู้จัดการโรงแรม และนำผู้ติดเชื้อไปรักษาตัวที่รพ.แล้ว ส่วนนักท่องเที่ยวกลุ่มเดียวกันอีก 13 คน ซึ่งอยู่ในกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงได้เข้าสู่กระบวนการกักตัวในสถานที่กักตัวที่รัฐกำหนด เป็นเวลา 14 วัน
"ชวน" ร่อนหนังสือขอวัคซีนให้มูลนิธิ-สัปเหร่อ
นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่าน นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ได้ทำหนังสือถึง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขอความอนุเคราะห์จัดสรรวัคซีนเจ้าหน้าที่มูลนิธิ สัปเหร่อ และผู้ทำหน้าที่ในการจัดการศพของผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และครอบครัว ซึ่งต้องรับความเสี่ยงจัดการใกล้ชิดและผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก
จีนส่งวัคซีนให้ไทยอีก 2 ล้านโดส
สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ Chinese Embassy Bangkok สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ระบุข้อความว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ชุดใหม่ของจีนจำนวน 2 ล้านโดสส่งถึงกรุงเทพฯ แล้ว ปัจจุบัน จีนได้จัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้แก่ประเทศไทยแล้วจำนวน 15 ชุด รวมทั้งสิ้น 14.5 ล้านโดส