จับตานายกฯตั้ง กก.ตรวจสอบประมูลรถไฟทางคู่"สายเหนือ-อีสาน" แก้ข้อครหาฮั้ว เอื้อผู้รับเหมารายใหญ่ เปิดอีกปม TORให้ยื่นอาณัติสัญญาณ 2 ยี่ห้อ รฟท. เสียโอกาสได้ประโยชน์สูงสุด เผยกรมบัญชีกลางเคยระบุเสนอแบบเผื่อเลือกไม่ได้
จากกรณี นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม รักษาการหัวหน้าพรรคไทยภักดี นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคปชป. และนายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ได้ยื่นหนังสือต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมตรี ขอให้ พิจารณาทบทวนการประมูล และตรวจสอบความไม่ถูกต้องในการประมูลก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ สายเหนือ (เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ) และ สายอีสาน (บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม) มูลค่ารวม 128,376 ล้านบาท ซึ่ง รฟท. ประมูลด้วยระบบ e-Bidding โดยผลราคาลดลงเฉลี่ย 0.08% จากราคากลางเท่ากันทั้ง 2 โครงการ และเป็นการลดราคาที่ถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับมูลค่าก่อสร้าง
รวมไปถึงการกำหนด TORที่เอื้อกับผู้รับเหมาบางกลุ่ม เช่น การรวมงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ อยู่ในสัญญาเดียวกับงานโยธา จากเดิมที่ รฟท. แยกกันประมูล เพื่อป้องกันการล็อกสเปก และทำให้มูลค่าโครงการแต่ละสัญญาไม่สูงเกินไป
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 64 นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ลับ ที่ 147/2564 แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประกวดราคาก่อสร้างทางรถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสาน โดยมี นายดนัย มู่สา ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำสำนักนายกฯ เป็นประธาน และมีกรรมการร่วม ได้แก่ นายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกฯ ,นายประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมบัญชีกลาง ,นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดฯคมนาคม และผู้แทนจากสำนักงบฯ ,วิศกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ, สำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดสำนักนายกฯ
ซึ่งนายดนัย มู่สา ประธานกรรมการฯได้มีหนังสือถึง นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม รวมถึงนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ และ นายสาวิทย์ แก้วหวาน เพื่อเชิญชี้แจงข้อมูลประกอบกับข้อร้องเรียน ในวันนี้ ( 5 ก.ค. 64 ) เวลา 9.30 น.ห้อง 109 ชั้น 1 อาคารสำนักงานปลัดสำนักนายกฯ ทำเนียบรัฐบาล.
พิรุธTORยื่นอาณัติสัญญาณ 2 ยี่ห้อ
รายงานข่าวแจ้งว่า นอกจากประเด็นการรวมงานโยธา กับงานระบบอาณัติสัญญาณแล้ว ยังมีข้อสังเกตุเรื่องการกำหนดให้ยื่นข้อเสนอผลิตภัณฑ์อาณัติสัญญาณ โดยในTORข้อ 17 ที่กำหนดให้ยื่นเสนอผลิตภัณฑ์ สำหรับ 3 ระบบหลักของงานอาณัติสัญญาณ ได้แก่ 1. ระบบบังคับสัมพันธ์ด้วยคอมพิวเตอร์(CBI System)2.ระบบป้องกันเหตุอันตรายของขบวนรถโดยอัตโนมัติ (ATP)ตามมาตรฐาน ETCS Level1. และ 3. ระบบควบคุมการเดินรถทางไกล (CTC System)
โดยให้ยื่นเสนอผลิตภัณฑ์ไม่เกิน 2 ผลิตภัณฑ์ สำหรับแต่ละระบบ พร้อมยื่นหนังสือรับรองผลการใช้งานผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันกับผลิตภัณฑ์ให้แก่โครงการ ซึ่ง ประมาณปี 50 เคยมีกรณีบริษัทผู้รับเหมายื่นประมูลโดยเสนอรางรถไฟจาก 5 โรงงาน ซึ่งคณะกรรมการประกวดราคาฯ มีมติให้บริษัทดังกล่าวชนะประมูล ขณะที่ รฟท.ได้หารือไปที่กรมบัญชีกลาง ซึ่งกรมบัญชีกลางมีมติว่า รฟท.ไม่สามารถดำเนินการ โดยผู้รับเหมาต้องเสนอเพียงโรงงานเดียว เพราะการเสนอมากกว่า 1 โรงงาน เป็นการเสนอแบบทางเลือก ขณะที่ผู้รับเหมารายอื่นเสนอ1โรงงาน
ส่วนการประมูลรถไฟทางคู่ สายเหนือและสายอีสาน เขียน TORให้ทุกบริษัท ยื่นเสนออาณัติสัญญาณได้ 2 ยี่ห้อ เป็นการเสนอแบบเผื่อเลือกเช่นกัน ซึ่งผลประโยชน์จะตกกับบริษัท ส่วน รฟท.เสียโอกาสที่จะได้ประโยชน์สูงสุด เนื่องจากราคาอาณัติสัญญาณแต่ละยี่ห้อไม่เท่ากัน เมื่อบริษัทชนะประมูล จะเลือกยี่ห้อที่ราคาถูกกว่าให้ รฟท.
กรณีแบบนี้ กรมบัญชีกลางเคยมีข้อวินิจฉัยไว้แล้ว ดังนั้น การกำหนด TORให้ยื่น ได้ 2 ยี่ห้อ อาจจะเป็นอีกเงื่อนไขที่ทำให้รฟท.เสียประโยชน์ และขัดกับแนวทางที่เคยดำเนินการมา ส่วนการตั้งกรรมการตรวจสอบการประมูลโครงการฯ ยังต้องจับตาดูกันต่อไปว่าจะมีข้อสรุปอย่างไร หรืออาจเป็นเพียงการซื้อเวลาของนักการเมืองเท่านั้น
จากกรณี นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม รักษาการหัวหน้าพรรคไทยภักดี นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคปชป. และนายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ได้ยื่นหนังสือต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมตรี ขอให้ พิจารณาทบทวนการประมูล และตรวจสอบความไม่ถูกต้องในการประมูลก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ สายเหนือ (เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ) และ สายอีสาน (บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม) มูลค่ารวม 128,376 ล้านบาท ซึ่ง รฟท. ประมูลด้วยระบบ e-Bidding โดยผลราคาลดลงเฉลี่ย 0.08% จากราคากลางเท่ากันทั้ง 2 โครงการ และเป็นการลดราคาที่ถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับมูลค่าก่อสร้าง
รวมไปถึงการกำหนด TORที่เอื้อกับผู้รับเหมาบางกลุ่ม เช่น การรวมงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ อยู่ในสัญญาเดียวกับงานโยธา จากเดิมที่ รฟท. แยกกันประมูล เพื่อป้องกันการล็อกสเปก และทำให้มูลค่าโครงการแต่ละสัญญาไม่สูงเกินไป
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 64 นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ลับ ที่ 147/2564 แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประกวดราคาก่อสร้างทางรถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสาน โดยมี นายดนัย มู่สา ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำสำนักนายกฯ เป็นประธาน และมีกรรมการร่วม ได้แก่ นายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกฯ ,นายประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมบัญชีกลาง ,นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดฯคมนาคม และผู้แทนจากสำนักงบฯ ,วิศกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ, สำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดสำนักนายกฯ
ซึ่งนายดนัย มู่สา ประธานกรรมการฯได้มีหนังสือถึง นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม รวมถึงนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ และ นายสาวิทย์ แก้วหวาน เพื่อเชิญชี้แจงข้อมูลประกอบกับข้อร้องเรียน ในวันนี้ ( 5 ก.ค. 64 ) เวลา 9.30 น.ห้อง 109 ชั้น 1 อาคารสำนักงานปลัดสำนักนายกฯ ทำเนียบรัฐบาล.
พิรุธTORยื่นอาณัติสัญญาณ 2 ยี่ห้อ
รายงานข่าวแจ้งว่า นอกจากประเด็นการรวมงานโยธา กับงานระบบอาณัติสัญญาณแล้ว ยังมีข้อสังเกตุเรื่องการกำหนดให้ยื่นข้อเสนอผลิตภัณฑ์อาณัติสัญญาณ โดยในTORข้อ 17 ที่กำหนดให้ยื่นเสนอผลิตภัณฑ์ สำหรับ 3 ระบบหลักของงานอาณัติสัญญาณ ได้แก่ 1. ระบบบังคับสัมพันธ์ด้วยคอมพิวเตอร์(CBI System)2.ระบบป้องกันเหตุอันตรายของขบวนรถโดยอัตโนมัติ (ATP)ตามมาตรฐาน ETCS Level1. และ 3. ระบบควบคุมการเดินรถทางไกล (CTC System)
โดยให้ยื่นเสนอผลิตภัณฑ์ไม่เกิน 2 ผลิตภัณฑ์ สำหรับแต่ละระบบ พร้อมยื่นหนังสือรับรองผลการใช้งานผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันกับผลิตภัณฑ์ให้แก่โครงการ ซึ่ง ประมาณปี 50 เคยมีกรณีบริษัทผู้รับเหมายื่นประมูลโดยเสนอรางรถไฟจาก 5 โรงงาน ซึ่งคณะกรรมการประกวดราคาฯ มีมติให้บริษัทดังกล่าวชนะประมูล ขณะที่ รฟท.ได้หารือไปที่กรมบัญชีกลาง ซึ่งกรมบัญชีกลางมีมติว่า รฟท.ไม่สามารถดำเนินการ โดยผู้รับเหมาต้องเสนอเพียงโรงงานเดียว เพราะการเสนอมากกว่า 1 โรงงาน เป็นการเสนอแบบทางเลือก ขณะที่ผู้รับเหมารายอื่นเสนอ1โรงงาน
ส่วนการประมูลรถไฟทางคู่ สายเหนือและสายอีสาน เขียน TORให้ทุกบริษัท ยื่นเสนออาณัติสัญญาณได้ 2 ยี่ห้อ เป็นการเสนอแบบเผื่อเลือกเช่นกัน ซึ่งผลประโยชน์จะตกกับบริษัท ส่วน รฟท.เสียโอกาสที่จะได้ประโยชน์สูงสุด เนื่องจากราคาอาณัติสัญญาณแต่ละยี่ห้อไม่เท่ากัน เมื่อบริษัทชนะประมูล จะเลือกยี่ห้อที่ราคาถูกกว่าให้ รฟท.
กรณีแบบนี้ กรมบัญชีกลางเคยมีข้อวินิจฉัยไว้แล้ว ดังนั้น การกำหนด TORให้ยื่น ได้ 2 ยี่ห้อ อาจจะเป็นอีกเงื่อนไขที่ทำให้รฟท.เสียประโยชน์ และขัดกับแนวทางที่เคยดำเนินการมา ส่วนการตั้งกรรมการตรวจสอบการประมูลโครงการฯ ยังต้องจับตาดูกันต่อไปว่าจะมีข้อสรุปอย่างไร หรืออาจเป็นเพียงการซื้อเวลาของนักการเมืองเท่านั้น