วิกฤตขึ้นทุกวัน ยอดดับสูง 44 คน ป่วยโควิดเพิ่ม 5,916 ราย สะสมระลอกเมษาฯพุ่ง 2.5 แสนราย โพลชี้ ใช้อำนาจแบบ Single Command ไม่ได้ผล ไร้การวางแผน แนะให้กรมควบคุมโรคเข้ามาเป็นผู้นำบริหารจัดการ เร่งจัดหาวัคซีนคุณภาพ ให้เอกชนเข้าร่วม
วานนี้ (4 ก.ค.) ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 รายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น 5,916 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ติดเชื้อจากเรือนจำ-ที่ต้องขัง 39 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 44 คน ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อสะสมในช่วงการระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่ 1 เม.ย. - 4 ก.ค.64 มีจำนวน 254,204 ราย เสียชีวิตสะสม 2,132 คน
สำหรับพื้นที่ ที่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงสุดได้แก่ กรุงเทพฯ 1,498 ราย, ปทุมธานี 458 ราย, สมุทรปราการ 412 ราย, สมุทรสาคร 395 ราย, ชลบุรี 275 ราย, นนทบุรี 267 ราย, สงขลา 232 ราย, นครปฐม 230 ราย, ปัตตานี 213 ราย และ ยะลา 205 ราย
ส่วนการฉีดวัคซีน เมื่อวันที่ 3 ก.ค. ได้ฉีดเพิ่มขึ้น 98,605 โดส ปัจจุบันฉีดวัคซีนไปแล้ว 10,670,897 โดส แบ่งเป็น เข็มแรก 7,721,150 ราย และ เข็มสอง 2,949,747 ราย
โพลชี้รัฐบาลแก้โควิดไม่ถูกทาง
วานนี้ (4 ก.ค.) สวนดุสิตโพล เผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน กรณี “ทำอย่างไร คนไทยจึงจะเอาชนะโควิด-19 ได้”จากกลุ่มตัวอย่าง1,744 คน สำรวจวันที่ 28 มิ.ย.- 1 ก.ค.64 พบว่า ส่วนใหญ่เห็นว่า โควิด-19 ทำลายเศรษฐกิจ คนตกงาน อยู่อย่างลำบาก ร้อยละ 91.95, การแก้ปัญหาของรัฐบาลยังไม่ถูกทาง ร้อยละ 66.05 , ควรเร่งจัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพ ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ร้อยละ 87.25 , อยากให้กรมควบคุมโรคเข้ามาเป็นผู้นำในการบริหารจัดการ ร้อยละ 67.04, อยากเห็นนักการเมืองทุ่มเททำงาน คำนึงถึงประชาชนเป็นหลัก ร้อยละ 86.84
น.ส.พรพรรณ บัวทอง นักวิจัยสวนดุสิตโพล เผยว่า ในวันที่ตัวเลขผู้เสียชีวิต และผู้ติดเชื้อทำสถิติสูงสุด (New high)ภาพประชาชนคนธรรมดาเฝ้ารอเตียงมากขึ้น และจำนวนคนตัดสินใจจบชีวิตมีอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นว่า การบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินในภาวะโควิด-19 แบบ Single Command ไม่ได้ผลที่ดีเท่าใดนัก แม้จะบริหารงานแบบเน้นความยืดหยุ่น แต่ประชาชนกลับรู้สึกว่า นั่นเป็นการบริหารแบบไม่วางแผนเสียมากกว่า
ณ วันนี้จึงควรหยุดเล่นเกมการเมือง ให้อำนาจเต็มกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเข้าวัคซีนที่มีคุณภาพ ใช้มาตรการเยียวยาถ้วนหน้า ดูแลทั้งภาคธุรกิจและประชาชนอย่างทั่วถึงเพื่อให้การบริหารครั้งนี้ไปถูกทางโดยเร็ว
ผศ.ดร.ดนุสรณ์ กาญจนวงศ์ โรงเรียนกฎหมายและการเมือง ม.สวนดุสิต เผยว่า ผลสำรวจของสวนดุสิตโพล สะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลต้องทำงานเชิงรุกมากขึ้น ยึดการบริหารที่เน้นผลลัพธ์มากกว่าโครงสร้าง มีแผน และวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนให้กับประชาชนกลุ่มต่างๆ ทั้งระยะสั้น กลาง และยาว สลับใช้แผนระหว่างแผนมุ่งเศรษฐกิจ และแผนมุ่งสังคมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในลักษณะนำ-รอง สื่อสารข้อเท็จจริงอย่างทั่วถึงเพื่อให้ประชาชนเข้าใจตรงกันและสามารถวางแผนการใช้ชีวิตต่อไปได้ แนวทางดังกล่าวแม้จะไม่ถูกใจรัฐบาล แต่ในสถานการณ์เช่นนี้ จำเป็นต้องยึดหลักความถูกต้อง สร้างวุฒิภาวะทางการเมืองด้วยการเรียนรู้ปัญหาร่วมกันกับทุกฝ่าย หาทางออกที่เกิดประโยชน์แก่สังคม กู้คืนความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลให้กลับคืนมา“นะจ๊ะ”
กทม.ตั้งศูนย์พักคอยรอส่งต่อผู้ป่วยโควิด
พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม. โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก ถึงปัญหามีผู้ป่วยโควิดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ยังมีผู้ป่วยตกค้างอยู่ แม้กทม.จะเพิ่มจำนวนเตียงเพื่อรองรับผู้ป่วยให้มากที่สุดแล้วก็ตาม
สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะต้องทำอย่างเร่งด่วน เพื่อไม่ให้มีการแพร่ระบาดในครอบครัว และในชุมชนเพิ่มมากขึ้น คือการแยกผู้ป่วยออกจากครอบครัว โดยการตั้ง “ศูนย์พักคอย” ใช้เป็นสถานที่ให้ผู้ป่วยโควิดสีเขียว อยู่ระหว่างการรอส่งต่อรพ. และใช้เป็นสถานที่สำหรับดูแล กลุ่มคนที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ ระหว่างรอเตียง
ศูนย์พักคอยรอการส่งต่อผู้ป่วยโควิดเข้ารักษาในรพ. หรือ Community Isolationกทม. มีแผนจะจัดตั้งให้ครบทั้ง 6 กลุ่มเขต และจะจัดตั้งให้มากที่สุดทุกเขตทั่วพื้นที่กทม. โดยการดูแลผู้ป่วย ที่ศูนย์พักคอยทุกแห่ง จะมีเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) คอยดูแล ประเมินอาการ โดยมีอุปกรณ์ที่จำเป็น ยา และเครื่องมือทางการแพทย์ดูแลอาการผู้ป่วยโควิด ได้แก่ 1. เครื่องวัดค่าออกซิเจนปลายนิ้ว ไว้สำหรับวัดค่าออกซิเจนในเลือด เพราะคนไข้ สีเขียวจำนวนมาก ที่ไม่แสดงอาการเปลี่ยนเป็นผู้ป่วยเหลืองได้เร็ว หากพบว่ามีค่าออกซิเจน ต่ำกว่า 95% จะได้รีบส่งเข้ารักษาใน รพ. 2. เครื่องออกซิเจน ใช้สำหรับช่วยชีวิตผู้ป่วยที่มีออกซิเจนต่ำกว่า 95% ระหว่างการรอส่งเข้า รพ.
สำหรับผู้ป่วยที่สมัครใจแยกกักตัวในบ้านที่พักอาศัยของตนเอง หรือ Home Isolation ระหว่างรอเตียง จะต้องผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์ ว่าสามารถรักษาตัวที่บ้านได้ โดยจะต้องเป็นผู้ป่วยโควิดสีเขียว ที่ไม่มีอาการ ไม่มีภาวะอ้วน ไม่มีโรคประจำตัว และไม่เป็นผู้สูงอายุ โดยระหว่างการแยกกักตัวที่บ้าน จะมีเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ อสส. คอยดูแลผู้ป่วยประเมินอาการ
ซิโนฟาร์มลอตใหม่ถึงไทยอีก 1 ล้านโดส
ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาฯ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้โพสต์คลิปวิดีโอ ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว เผยให้เห็นบรรยากาศขณะที่เจ้าหน้าที่กำลังขนส่งวัคซีนชิโนฟาร์มล็อตใหม่ ขึ้นเครื่องบินจากปักกิ่ง ประเทศจีน พร้อมกับระบุข้อความว่า รักคุณเท่าฟ้า เช้านี้ที่ปักกิ่ง
ต่อมา เวลา 10.39 น. เลขาฯราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้โพสต์รูปภาพลงในเฟซบุ๊กอีกครั้ง เผยให้เห็นวัคซีนซิโนฟาร์ม มาถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยสายการบิน การบินไทย เที่ยวบิน TG 675
ทั้งนี้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประกาศการจัดสรรวัคซีนตัวเลือก ซิโนฟาร์ม ระยะที่ 1 ครั้งที่ 3 องค์กร/บริษัท ได้รับการจัดสรรเพิ่ม 1,276 บริษัท เป็นจำนวน 338,419 คน รวมจำนวนที่องค์กร/บริษัทได้รับการจัดสรรทั้งสิ้น 7,713 บริษัท เป็นจำนวน 1,117,719 คน
คาดเซ็นโมเดอร์นาต้นส.ค.ได้วัคซีน Q4ปีนี้
นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผอ.องค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า วัคซีนที่รัฐจัดหา จะมีอยู่ 5 ยี่ห้อ คือ แอสตร้าเซนเนก้า ซิโนแวค และเพิ่มเติมอีก 3 ยี่ห้อ คือ ไฟเซอร์ จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน และ สปุตนิก ไฟว์ ส่วนวัคซีนทางเลือกที่เอกชนนำเข้าเอง คือ โมเดอร์นา และ ซิโนฟาร์ม ก่อนการระบาดใหญ่เราทำงานเชิงรุกไปตั้งแต่ วันที่ 25 ก.พ.64 ได้ติดต่อและแสดงความจำนงโดยตรงไปที่ บริษัทโมเดอร์นา สหรัฐอเมริกา และได้รับแจ้งว่า ทางบริษัท จะส่งมาได้เร็วที่สุด ในไตรมาสแรกของปี 65 นอกจากนี้ องค์การเภสัชฯ ได้ติดต่อวัคซีนอื่นอย่างน้อย 2 ยี่ห้อ ได้รับคำตอบว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะซัพพลายให้ทันในปีนี้ แต่เราก็พยายามจะติดต่อให้ได้หลายชนิด
ส่วนที่มี รพ.เอกชน 2 แห่ง ระบุว่า ติดต่อซื้อวัคซีนจาก บริษัทโมเดอร์นา ได้โดยตรงนั้น ขอชี้แจงว่า จะต้องติดต่อผ่าน บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด ตัวแทนนำเข้าเท่านั้น ต่อมาวันที่ 15 พ.ค.64 ทางบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด แถลงว่า การซื้อวัคซีน จะต้องติดต่อผ่านทางภาครัฐ ทำให้องค์การเภสัชถูกมอบหมายเป็นตัวแทน ดังนั้น วัคซีนโมเดอร์นา จะมีบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด ผู้นำเข้า และเป็นผู้ทรงสิทธิในการเป็นเจ้าของทะเบียน ไม่ใช่วัคซีนขององค์การเภสัช เราเป็นเพียงตัวแทนภาครัฐ จากการเจรจาได้รับทราบว่าวัคซีนโมเดอร์นาจะมาเร็วก่อน 1 ไตรมาส คือ ไตรมาส 4 ของปี 64
เนื่องจากวัคซีนตัวนี้ ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากภาครัฐ ทำให้ได้รับมอบช้า เพราะต้องทำงานคู่ขนานกับสมาคม รพ.เอกชน ที่มีโรงพยาบาลทั่วประเทศประมาณ 300 แห่ง เพื่อรวบรวมความต้องการวัคซีนและเงินมา เพื่อแจ้งว่าเป็นความต้องการวัคซีนจริงๆ ล่าสุด มีความต้องการเสนอมา 9 ล้านโดส คาดว่าจะได้รับมอบวัคซีนภายในปีนี้ 4 ล้านโดส ที่เหลือจะมาต้นปีหน้า แต่บริษัทโมเดอร์นา ไม่ได้แจ้งมาว่าจะมาในวันไหน เดือนไหน นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมองค์การเภสัชยังไม่เซ็นสัญญาสักที เพราะต้องรอให้ รพ.เอกชน รวบรวมเงินมาก่อนที่จะเซ็นสัญญา หากไปเซ็นสัญญาโดยที่ความต้องการไม่มีอยู่จริง องค์การเภสัช จะรับผิดชอบไม่ไหว เราจึงได้วางแผนไว้ว่าจะเซ็นสัญญา บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด ภายในต้นสัปดาห์ของเดือนส.ค.นี้
คลายล็อก 4 ประเภทงานก่อสร้าง
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.ศบค.ได้ลงนาม อนุมัติในหลักการอนุญาตโครงการก่อสร้างบางประเภท และเคลื่อนย้ายแรงงาน ในกรณีมีเหตุจำเป็น เพื่อผ่อนคลายมาตรการ ตั้งแต่วันที่ 2 ก.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากกรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑล มีข้อห่วงกังวลกรณีข้อกำหนด (ฉบับที่ 25) ที่มีการสั่งห้ามการก่อสร้างขนาดใหญ่ทุกประเภท รวมถึงสั่งห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานภาคก่อสร้างเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน ซึ่งการหยุดก่อสร้างชั่วคราวอาจจะส่งผลกระทบให้ความเสียหายเชิงโครงสร้างทางวิศวกรรมได้
จึงเสนอให้มีการผ่อนคลายคำสั่งห้ามการก่อสร้างในโครงการก่อสร้างบางประเภท ดังนี้
1.โครงการก่อสร้างซึ่งหากหยุดก่อสร้างในทันที หรือการดำเนินการล่าช้า อาจก่อให้เกิดความเสียหายเชิงโครงสร้างด้านวิศวกรรม จนยากต่อการแก้ไข หรือเกิดอันตรายแก่ประชาชนที่สัญจรไปมา หรือชุมชนโดยรอบโครงการก่อสร้างนั้น เช่น โครงการก่อสร้างใต้ดินที่มีความลึก การก่อสร้างชั้นใต้ดินที่ยังไม่ได้เทปูนปิดล้อม
2. การก่อสร้างชั่วคราวซึ่งหยุดการก่อสร้างในทันที หรือดำเนินการล่าช้า จะได้รับความเสียหายจนเกิดอันตรายแก่ประชาชนที่สัญจรไปมา หรือชุมชนโดยรอบโครงการดังกล่าว เช่น นั่งร้าน และแบบรอการเทปูน โดยเฉพาะแผ่นพื้นที่
3. การก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยด้านการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจร แบร์ริเออร์กั้นช่องจราจร แผ่นเหล็กปิดงานก่อสร้างบนผิวจราจร
4.การก่อสร้างในสถานที่ก่อสร้างที่มีความเกี่ยวข้องกับมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ด้านสาธารณสุข เช่น รพ.สนาม รพ. สถานพยาบาล หรือสถานที่ก่อสร้างอื่นๆ ที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการควบคุมโรค
วานนี้ (4 ก.ค.) ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 รายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น 5,916 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ติดเชื้อจากเรือนจำ-ที่ต้องขัง 39 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 44 คน ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อสะสมในช่วงการระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่ 1 เม.ย. - 4 ก.ค.64 มีจำนวน 254,204 ราย เสียชีวิตสะสม 2,132 คน
สำหรับพื้นที่ ที่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงสุดได้แก่ กรุงเทพฯ 1,498 ราย, ปทุมธานี 458 ราย, สมุทรปราการ 412 ราย, สมุทรสาคร 395 ราย, ชลบุรี 275 ราย, นนทบุรี 267 ราย, สงขลา 232 ราย, นครปฐม 230 ราย, ปัตตานี 213 ราย และ ยะลา 205 ราย
ส่วนการฉีดวัคซีน เมื่อวันที่ 3 ก.ค. ได้ฉีดเพิ่มขึ้น 98,605 โดส ปัจจุบันฉีดวัคซีนไปแล้ว 10,670,897 โดส แบ่งเป็น เข็มแรก 7,721,150 ราย และ เข็มสอง 2,949,747 ราย
โพลชี้รัฐบาลแก้โควิดไม่ถูกทาง
วานนี้ (4 ก.ค.) สวนดุสิตโพล เผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน กรณี “ทำอย่างไร คนไทยจึงจะเอาชนะโควิด-19 ได้”จากกลุ่มตัวอย่าง1,744 คน สำรวจวันที่ 28 มิ.ย.- 1 ก.ค.64 พบว่า ส่วนใหญ่เห็นว่า โควิด-19 ทำลายเศรษฐกิจ คนตกงาน อยู่อย่างลำบาก ร้อยละ 91.95, การแก้ปัญหาของรัฐบาลยังไม่ถูกทาง ร้อยละ 66.05 , ควรเร่งจัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพ ให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ร้อยละ 87.25 , อยากให้กรมควบคุมโรคเข้ามาเป็นผู้นำในการบริหารจัดการ ร้อยละ 67.04, อยากเห็นนักการเมืองทุ่มเททำงาน คำนึงถึงประชาชนเป็นหลัก ร้อยละ 86.84
น.ส.พรพรรณ บัวทอง นักวิจัยสวนดุสิตโพล เผยว่า ในวันที่ตัวเลขผู้เสียชีวิต และผู้ติดเชื้อทำสถิติสูงสุด (New high)ภาพประชาชนคนธรรมดาเฝ้ารอเตียงมากขึ้น และจำนวนคนตัดสินใจจบชีวิตมีอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นว่า การบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินในภาวะโควิด-19 แบบ Single Command ไม่ได้ผลที่ดีเท่าใดนัก แม้จะบริหารงานแบบเน้นความยืดหยุ่น แต่ประชาชนกลับรู้สึกว่า นั่นเป็นการบริหารแบบไม่วางแผนเสียมากกว่า
ณ วันนี้จึงควรหยุดเล่นเกมการเมือง ให้อำนาจเต็มกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเข้าวัคซีนที่มีคุณภาพ ใช้มาตรการเยียวยาถ้วนหน้า ดูแลทั้งภาคธุรกิจและประชาชนอย่างทั่วถึงเพื่อให้การบริหารครั้งนี้ไปถูกทางโดยเร็ว
ผศ.ดร.ดนุสรณ์ กาญจนวงศ์ โรงเรียนกฎหมายและการเมือง ม.สวนดุสิต เผยว่า ผลสำรวจของสวนดุสิตโพล สะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลต้องทำงานเชิงรุกมากขึ้น ยึดการบริหารที่เน้นผลลัพธ์มากกว่าโครงสร้าง มีแผน และวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนให้กับประชาชนกลุ่มต่างๆ ทั้งระยะสั้น กลาง และยาว สลับใช้แผนระหว่างแผนมุ่งเศรษฐกิจ และแผนมุ่งสังคมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในลักษณะนำ-รอง สื่อสารข้อเท็จจริงอย่างทั่วถึงเพื่อให้ประชาชนเข้าใจตรงกันและสามารถวางแผนการใช้ชีวิตต่อไปได้ แนวทางดังกล่าวแม้จะไม่ถูกใจรัฐบาล แต่ในสถานการณ์เช่นนี้ จำเป็นต้องยึดหลักความถูกต้อง สร้างวุฒิภาวะทางการเมืองด้วยการเรียนรู้ปัญหาร่วมกันกับทุกฝ่าย หาทางออกที่เกิดประโยชน์แก่สังคม กู้คืนความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลให้กลับคืนมา“นะจ๊ะ”
กทม.ตั้งศูนย์พักคอยรอส่งต่อผู้ป่วยโควิด
พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม. โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก ถึงปัญหามีผู้ป่วยโควิดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ยังมีผู้ป่วยตกค้างอยู่ แม้กทม.จะเพิ่มจำนวนเตียงเพื่อรองรับผู้ป่วยให้มากที่สุดแล้วก็ตาม
สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะต้องทำอย่างเร่งด่วน เพื่อไม่ให้มีการแพร่ระบาดในครอบครัว และในชุมชนเพิ่มมากขึ้น คือการแยกผู้ป่วยออกจากครอบครัว โดยการตั้ง “ศูนย์พักคอย” ใช้เป็นสถานที่ให้ผู้ป่วยโควิดสีเขียว อยู่ระหว่างการรอส่งต่อรพ. และใช้เป็นสถานที่สำหรับดูแล กลุ่มคนที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ ระหว่างรอเตียง
ศูนย์พักคอยรอการส่งต่อผู้ป่วยโควิดเข้ารักษาในรพ. หรือ Community Isolationกทม. มีแผนจะจัดตั้งให้ครบทั้ง 6 กลุ่มเขต และจะจัดตั้งให้มากที่สุดทุกเขตทั่วพื้นที่กทม. โดยการดูแลผู้ป่วย ที่ศูนย์พักคอยทุกแห่ง จะมีเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) คอยดูแล ประเมินอาการ โดยมีอุปกรณ์ที่จำเป็น ยา และเครื่องมือทางการแพทย์ดูแลอาการผู้ป่วยโควิด ได้แก่ 1. เครื่องวัดค่าออกซิเจนปลายนิ้ว ไว้สำหรับวัดค่าออกซิเจนในเลือด เพราะคนไข้ สีเขียวจำนวนมาก ที่ไม่แสดงอาการเปลี่ยนเป็นผู้ป่วยเหลืองได้เร็ว หากพบว่ามีค่าออกซิเจน ต่ำกว่า 95% จะได้รีบส่งเข้ารักษาใน รพ. 2. เครื่องออกซิเจน ใช้สำหรับช่วยชีวิตผู้ป่วยที่มีออกซิเจนต่ำกว่า 95% ระหว่างการรอส่งเข้า รพ.
สำหรับผู้ป่วยที่สมัครใจแยกกักตัวในบ้านที่พักอาศัยของตนเอง หรือ Home Isolation ระหว่างรอเตียง จะต้องผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์ ว่าสามารถรักษาตัวที่บ้านได้ โดยจะต้องเป็นผู้ป่วยโควิดสีเขียว ที่ไม่มีอาการ ไม่มีภาวะอ้วน ไม่มีโรคประจำตัว และไม่เป็นผู้สูงอายุ โดยระหว่างการแยกกักตัวที่บ้าน จะมีเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ อสส. คอยดูแลผู้ป่วยประเมินอาการ
ซิโนฟาร์มลอตใหม่ถึงไทยอีก 1 ล้านโดส
ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาฯ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้โพสต์คลิปวิดีโอ ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว เผยให้เห็นบรรยากาศขณะที่เจ้าหน้าที่กำลังขนส่งวัคซีนชิโนฟาร์มล็อตใหม่ ขึ้นเครื่องบินจากปักกิ่ง ประเทศจีน พร้อมกับระบุข้อความว่า รักคุณเท่าฟ้า เช้านี้ที่ปักกิ่ง
ต่อมา เวลา 10.39 น. เลขาฯราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้โพสต์รูปภาพลงในเฟซบุ๊กอีกครั้ง เผยให้เห็นวัคซีนซิโนฟาร์ม มาถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยสายการบิน การบินไทย เที่ยวบิน TG 675
ทั้งนี้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประกาศการจัดสรรวัคซีนตัวเลือก ซิโนฟาร์ม ระยะที่ 1 ครั้งที่ 3 องค์กร/บริษัท ได้รับการจัดสรรเพิ่ม 1,276 บริษัท เป็นจำนวน 338,419 คน รวมจำนวนที่องค์กร/บริษัทได้รับการจัดสรรทั้งสิ้น 7,713 บริษัท เป็นจำนวน 1,117,719 คน
คาดเซ็นโมเดอร์นาต้นส.ค.ได้วัคซีน Q4ปีนี้
นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผอ.องค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า วัคซีนที่รัฐจัดหา จะมีอยู่ 5 ยี่ห้อ คือ แอสตร้าเซนเนก้า ซิโนแวค และเพิ่มเติมอีก 3 ยี่ห้อ คือ ไฟเซอร์ จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน และ สปุตนิก ไฟว์ ส่วนวัคซีนทางเลือกที่เอกชนนำเข้าเอง คือ โมเดอร์นา และ ซิโนฟาร์ม ก่อนการระบาดใหญ่เราทำงานเชิงรุกไปตั้งแต่ วันที่ 25 ก.พ.64 ได้ติดต่อและแสดงความจำนงโดยตรงไปที่ บริษัทโมเดอร์นา สหรัฐอเมริกา และได้รับแจ้งว่า ทางบริษัท จะส่งมาได้เร็วที่สุด ในไตรมาสแรกของปี 65 นอกจากนี้ องค์การเภสัชฯ ได้ติดต่อวัคซีนอื่นอย่างน้อย 2 ยี่ห้อ ได้รับคำตอบว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะซัพพลายให้ทันในปีนี้ แต่เราก็พยายามจะติดต่อให้ได้หลายชนิด
ส่วนที่มี รพ.เอกชน 2 แห่ง ระบุว่า ติดต่อซื้อวัคซีนจาก บริษัทโมเดอร์นา ได้โดยตรงนั้น ขอชี้แจงว่า จะต้องติดต่อผ่าน บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด ตัวแทนนำเข้าเท่านั้น ต่อมาวันที่ 15 พ.ค.64 ทางบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด แถลงว่า การซื้อวัคซีน จะต้องติดต่อผ่านทางภาครัฐ ทำให้องค์การเภสัชถูกมอบหมายเป็นตัวแทน ดังนั้น วัคซีนโมเดอร์นา จะมีบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด ผู้นำเข้า และเป็นผู้ทรงสิทธิในการเป็นเจ้าของทะเบียน ไม่ใช่วัคซีนขององค์การเภสัช เราเป็นเพียงตัวแทนภาครัฐ จากการเจรจาได้รับทราบว่าวัคซีนโมเดอร์นาจะมาเร็วก่อน 1 ไตรมาส คือ ไตรมาส 4 ของปี 64
เนื่องจากวัคซีนตัวนี้ ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากภาครัฐ ทำให้ได้รับมอบช้า เพราะต้องทำงานคู่ขนานกับสมาคม รพ.เอกชน ที่มีโรงพยาบาลทั่วประเทศประมาณ 300 แห่ง เพื่อรวบรวมความต้องการวัคซีนและเงินมา เพื่อแจ้งว่าเป็นความต้องการวัคซีนจริงๆ ล่าสุด มีความต้องการเสนอมา 9 ล้านโดส คาดว่าจะได้รับมอบวัคซีนภายในปีนี้ 4 ล้านโดส ที่เหลือจะมาต้นปีหน้า แต่บริษัทโมเดอร์นา ไม่ได้แจ้งมาว่าจะมาในวันไหน เดือนไหน นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมองค์การเภสัชยังไม่เซ็นสัญญาสักที เพราะต้องรอให้ รพ.เอกชน รวบรวมเงินมาก่อนที่จะเซ็นสัญญา หากไปเซ็นสัญญาโดยที่ความต้องการไม่มีอยู่จริง องค์การเภสัช จะรับผิดชอบไม่ไหว เราจึงได้วางแผนไว้ว่าจะเซ็นสัญญา บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด ภายในต้นสัปดาห์ของเดือนส.ค.นี้
คลายล็อก 4 ประเภทงานก่อสร้าง
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.ศบค.ได้ลงนาม อนุมัติในหลักการอนุญาตโครงการก่อสร้างบางประเภท และเคลื่อนย้ายแรงงาน ในกรณีมีเหตุจำเป็น เพื่อผ่อนคลายมาตรการ ตั้งแต่วันที่ 2 ก.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากกรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑล มีข้อห่วงกังวลกรณีข้อกำหนด (ฉบับที่ 25) ที่มีการสั่งห้ามการก่อสร้างขนาดใหญ่ทุกประเภท รวมถึงสั่งห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานภาคก่อสร้างเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน ซึ่งการหยุดก่อสร้างชั่วคราวอาจจะส่งผลกระทบให้ความเสียหายเชิงโครงสร้างทางวิศวกรรมได้
จึงเสนอให้มีการผ่อนคลายคำสั่งห้ามการก่อสร้างในโครงการก่อสร้างบางประเภท ดังนี้
1.โครงการก่อสร้างซึ่งหากหยุดก่อสร้างในทันที หรือการดำเนินการล่าช้า อาจก่อให้เกิดความเสียหายเชิงโครงสร้างด้านวิศวกรรม จนยากต่อการแก้ไข หรือเกิดอันตรายแก่ประชาชนที่สัญจรไปมา หรือชุมชนโดยรอบโครงการก่อสร้างนั้น เช่น โครงการก่อสร้างใต้ดินที่มีความลึก การก่อสร้างชั้นใต้ดินที่ยังไม่ได้เทปูนปิดล้อม
2. การก่อสร้างชั่วคราวซึ่งหยุดการก่อสร้างในทันที หรือดำเนินการล่าช้า จะได้รับความเสียหายจนเกิดอันตรายแก่ประชาชนที่สัญจรไปมา หรือชุมชนโดยรอบโครงการดังกล่าว เช่น นั่งร้าน และแบบรอการเทปูน โดยเฉพาะแผ่นพื้นที่
3. การก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยด้านการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจร แบร์ริเออร์กั้นช่องจราจร แผ่นเหล็กปิดงานก่อสร้างบนผิวจราจร
4.การก่อสร้างในสถานที่ก่อสร้างที่มีความเกี่ยวข้องกับมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ด้านสาธารณสุข เช่น รพ.สนาม รพ. สถานพยาบาล หรือสถานที่ก่อสร้างอื่นๆ ที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการควบคุมโรค