ผู้จัดการรายวัน360- บอร์ดบีโอไอ ปรับปรุงนโยบายเพิ่มสิทธิประโยชน์จูงใจให้เกิดกิจกรรมวิจัยและพัฒนา เร่งรัดการลงทุนในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ หนุนอุตสาหกรรมดิจิทัล พร้อมเปิดส่งเสริมประเภทกิจการใหม่ด้านบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะรับ BCG โมเดล ล่าสุดอนุมัติ 5 โครงการใหญ่ลงทุนเกือบ 5 หมื่นล้านบาท เน้นกิจการสาธารณูปโภคและบริการพื้นฐานในการผลิตไฟฟ้า การขนส่งก๊าซทางท่อ สร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในประเทศ รองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคต หลังเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวจากโควิด-19
นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ซึ่งมี นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้เห็นชอบปรับปรุงสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการ (Merit-based Incentives) เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน ได้แก่ 1)กรณีที่มีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา (R&D) ไม่น้อยกว่า 1 %ของยอดขายรวม 3 ปีแรก หรือไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท นอกจากจะได้จำนวนปียกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นอีกไม่เกิน 5 ปี ตามขนาดการลงทุนและค่าใช้จ่ายด้านวิจัยและพัฒนาแล้ว ยังไม่กำหนดเพดานการยกเว้นภาษีเงินได้อีกด้วย
2) เพิ่มวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็น 2 เท่า กรณีที่มีการลงทุนเพิ่มในการฝึกอบรม หรือฝึกการทำงานให้กับนักศึกษาที่อยู่ระหว่างการศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3) กรณีที่เงินลงทุน เช่น วิจัยพัฒนา ฝึกอบรมฯลฯ ไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำยังได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนตามเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่ายเหล่านี้ และเพื่อสนับสนุนให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมต้นน้ำของอิเล็กทรอนิกส์ บีโอไอได้ปรับปรุงการส่งเสริมฯอุตสาหกรรมการผลิตเวเฟอร์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยเพิ่มยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุดเป็น 10 ปี
นอกจากนี้ เพื่อเร่งดึงการลงทุนจากต่างประเทศรายใหม่และสนับสนุนการขยายฐานการผลิตของรายเดิมในกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์หรืออุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ และแผ่นวงจรพิมพ์ (PCB) จึงได้ปรับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุดเป็น 8 ปี ทั้งนี้ จะต้องมีการลงทุนค่าเครื่องจักรอย่างน้อย 1,500 ล้านบาทขึ้นไป เป็นต้น ขณะเดียวกันได้ปรับปรุงเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ของประเภทกิจการซอฟต์แวร์ กิจการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลและกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ โดยยุบรวมให้เหลือเพียง 1 ประเภท ได้แก่ กิจการพัฒนาซอฟต์แวร์ แพลตฟอร์มเพื่อให้บริการดิจิทัล หรือดิจิทัลคอนเทนต์ พร้อมเพิ่มสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี โดยมีเงื่อนไขต้องจ้างงานและพัฒนาบุคลากรไทยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) หรือได้รับใบรับรองมาตรฐานด้านไอที (CMMI ระดับ 2)
น.ส.ดวงใจ กล่าวว่า บอร์ดยังเห็นชอบยกระดับการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ โดยเพิ่มประเภทกิจการกลุ่มบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ (Smart Packaging) ต่อยอดกับเทคโนโลยีด้านต่างๆ เช่น ช่วยรักษาคุณภาพอาหาร ยืดอายุฯลฯ โดยให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 8 ปี พร้อมปรับปรุงสิทธิและประโยชน์ในกลุ่มวัตถุดิบสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ เม็ดพลาสติกรีไซเคิลเกรดพิเศษ คอมพาวด์พลาสติกชนิดพิเศษ รวมถึงการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ต่อเนื่อง โดยให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 - 8 ปี อีกทั้งยังขยายให้ครอบคลุมถึงบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีคุณสมบัติพิเศษ และบรรจุภัณฑ์กระดาษ และอุตสาหกรรมต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นต้น
อนุมัติ5บิ๊กโครงการดึงลงทุนเกือบ5หมื่นล้าน
พร้อมกันนี้ บอร์ดบีโอไอ ยังอนุมัติให้การส่งเสริมฯลงทุนกับกิจการขนาดใหญ่รวม 5 โครงการ รวมมูลค่าการลงทุน 49,911 ล้านบาทได้แก่ 1) บริษัท หินกองเพาเวอร์ จำกัด กิจการผลิตไฟฟ้า ลงทุน 32,464 ล้านบาท 2) บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ (อ่างทอง) 2 จำกัด กิจการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำระบบโคเจนเนอเรชัน ลงทุน 5,300 ล้านบาท 3) บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ (อ่างทอง) 3 จำกัด ลงทุนทั้ง 5,200 ล้านบาท 4) บริษัท ท็อป เอสพีพี จำกัด กิจการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำระบบโคเจนเนอเรชัน ลงทุน 4,350 ล้านบาท และ5) บริษัท โตโยโบะ อินโดรามา แอดวานซ์ ไฟเบอร์ส จำกัด ผลิตเส้นด้ายที่มีคุณสมบัติพิเศษ ลงทุน 2,596 ล้านบาท
“กิจการที่บอร์ดบีโอไออนุมัติส่งเสริมในครั้งนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่ด้านกิจการสาธารณูปโภคพื้นฐาน โดยเฉพาะการผลิตพลังงานไฟฟ้า ซึ่งนอกจากจะมีส่วนช่วยสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศในระยะยาวตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 แล้ว ยังเป็นการลงทุนด้านอุตสาหกรรมพื้นฐานเพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคต ภายหลังจากภาคเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวหลังผ่านพ้นสถานการณ์โควิด-19 อีกด้วย” น.ส.ดวงใจ กล่าว
นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ซึ่งมี นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้เห็นชอบปรับปรุงสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการ (Merit-based Incentives) เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน ได้แก่ 1)กรณีที่มีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา (R&D) ไม่น้อยกว่า 1 %ของยอดขายรวม 3 ปีแรก หรือไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท นอกจากจะได้จำนวนปียกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นอีกไม่เกิน 5 ปี ตามขนาดการลงทุนและค่าใช้จ่ายด้านวิจัยและพัฒนาแล้ว ยังไม่กำหนดเพดานการยกเว้นภาษีเงินได้อีกด้วย
2) เพิ่มวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็น 2 เท่า กรณีที่มีการลงทุนเพิ่มในการฝึกอบรม หรือฝึกการทำงานให้กับนักศึกษาที่อยู่ระหว่างการศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3) กรณีที่เงินลงทุน เช่น วิจัยพัฒนา ฝึกอบรมฯลฯ ไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำยังได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนตามเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่ายเหล่านี้ และเพื่อสนับสนุนให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมต้นน้ำของอิเล็กทรอนิกส์ บีโอไอได้ปรับปรุงการส่งเสริมฯอุตสาหกรรมการผลิตเวเฟอร์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยเพิ่มยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุดเป็น 10 ปี
นอกจากนี้ เพื่อเร่งดึงการลงทุนจากต่างประเทศรายใหม่และสนับสนุนการขยายฐานการผลิตของรายเดิมในกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์หรืออุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ และแผ่นวงจรพิมพ์ (PCB) จึงได้ปรับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุดเป็น 8 ปี ทั้งนี้ จะต้องมีการลงทุนค่าเครื่องจักรอย่างน้อย 1,500 ล้านบาทขึ้นไป เป็นต้น ขณะเดียวกันได้ปรับปรุงเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ของประเภทกิจการซอฟต์แวร์ กิจการให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลและกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ โดยยุบรวมให้เหลือเพียง 1 ประเภท ได้แก่ กิจการพัฒนาซอฟต์แวร์ แพลตฟอร์มเพื่อให้บริการดิจิทัล หรือดิจิทัลคอนเทนต์ พร้อมเพิ่มสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี โดยมีเงื่อนไขต้องจ้างงานและพัฒนาบุคลากรไทยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) หรือได้รับใบรับรองมาตรฐานด้านไอที (CMMI ระดับ 2)
น.ส.ดวงใจ กล่าวว่า บอร์ดยังเห็นชอบยกระดับการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ โดยเพิ่มประเภทกิจการกลุ่มบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ (Smart Packaging) ต่อยอดกับเทคโนโลยีด้านต่างๆ เช่น ช่วยรักษาคุณภาพอาหาร ยืดอายุฯลฯ โดยให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 8 ปี พร้อมปรับปรุงสิทธิและประโยชน์ในกลุ่มวัตถุดิบสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ เม็ดพลาสติกรีไซเคิลเกรดพิเศษ คอมพาวด์พลาสติกชนิดพิเศษ รวมถึงการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ต่อเนื่อง โดยให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 - 8 ปี อีกทั้งยังขยายให้ครอบคลุมถึงบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีคุณสมบัติพิเศษ และบรรจุภัณฑ์กระดาษ และอุตสาหกรรมต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นต้น
อนุมัติ5บิ๊กโครงการดึงลงทุนเกือบ5หมื่นล้าน
พร้อมกันนี้ บอร์ดบีโอไอ ยังอนุมัติให้การส่งเสริมฯลงทุนกับกิจการขนาดใหญ่รวม 5 โครงการ รวมมูลค่าการลงทุน 49,911 ล้านบาทได้แก่ 1) บริษัท หินกองเพาเวอร์ จำกัด กิจการผลิตไฟฟ้า ลงทุน 32,464 ล้านบาท 2) บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ (อ่างทอง) 2 จำกัด กิจการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำระบบโคเจนเนอเรชัน ลงทุน 5,300 ล้านบาท 3) บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ (อ่างทอง) 3 จำกัด ลงทุนทั้ง 5,200 ล้านบาท 4) บริษัท ท็อป เอสพีพี จำกัด กิจการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำระบบโคเจนเนอเรชัน ลงทุน 4,350 ล้านบาท และ5) บริษัท โตโยโบะ อินโดรามา แอดวานซ์ ไฟเบอร์ส จำกัด ผลิตเส้นด้ายที่มีคุณสมบัติพิเศษ ลงทุน 2,596 ล้านบาท
“กิจการที่บอร์ดบีโอไออนุมัติส่งเสริมในครั้งนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่ด้านกิจการสาธารณูปโภคพื้นฐาน โดยเฉพาะการผลิตพลังงานไฟฟ้า ซึ่งนอกจากจะมีส่วนช่วยสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศในระยะยาวตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 แล้ว ยังเป็นการลงทุนด้านอุตสาหกรรมพื้นฐานเพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคต ภายหลังจากภาคเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวหลังผ่านพ้นสถานการณ์โควิด-19 อีกด้วย” น.ส.ดวงใจ กล่าว