ผู้จัดการรายวัน360-รัฐบาลเตรียมงบ 7,500 ล้าน จ่ายเยียวยาลูกจ้าง 6.97 แสนคน ใน 6 จังหวัดพื้นที่สีแดง ได้ชดเชย 50% ของเงินเดือนแต่ไม่เกิน 7,500 บาท หากอยู่ในประกันสังคมได้เพิ่มอีก 2,000 บาท นอกประกันสังคมได้ 2,000 บาท ผู้ประกอบการ นายจ้างได้ด้วย 3,000 บาทต่อหัวลูกจ้าง แต่ไม่เกิน 200 คน เป็นระยะเวลา 1 เดือน หลังได้รับผลกระทบจากมาตรการเข้ม พร้อมช่วยร้านอาหารรายย่อย ทำอาหารส่งสถานประกอบการ แคมป์คนงาน ส่วนการเปิดร้านอาหาร ขอดูก่อน 15 วันว่าจะผ่อนคลายได้หรือไม่ ย้ำ “คนละครึ่ง เฟส 3-ยิ่งใช้ยิ่งได้” เดินต่อ ไม่เลื่อน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เปิดเผยภายหลังการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากโควิด-19 (ศบศ.) ร่วมกับทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล ว่า รัฐบาลได้เตรียมงบประมาณเป็นเงินจากเงินกู้ และเงินจากกองทุนประกันสังคม จำนวน 7,500 ล้านบาท ในการเยียวยากลุ่มประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากประกาศ ศบค. ฉบับที่ 25 หรือฉบับล่าสุด โดยจะเยียวยาภาคแรงงานจำนวน 6 จังหวัด ใน 3 หมวดประกอบด้วย เรื่องของการก่อสร้าง ที่พักแรม บริการด้านอาหาร สถานบันเทิงและนันทนาการ ซึ่งมีผลกระทบจำนวนมากพอสมควร
“รัฐบาลจะดูแลทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบในระยะเวลา 1 เดือนที่ได้ประกาศปิดไปแล้ว และเหตุผลที่เราต้องปิดแคมป์คนงาน เพราะมีแรงงานติดเชื้อโควิด-19 และแพร่ระบาดเป็นจำนวนมากที่ส่งผลกระทบกับจุดอื่นด้วย โดยการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจะแบ่งเป็นระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 จะมีพื้นที่จังหวัดอื่นตามมา แต่วันนี้ขอในส่วน 6 จังหวัดก่อน”
สำหรับโครงการ “คนละครึ่ง เฟส 3” ที่จะช่วยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย บรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชน และเพิ่มสภาพคล่องร้านค้ารายย่อย จะยังคงดำเนินการตามกำหนดการเดิม ไม่มีการเลื่อน รวมถึงโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ และโครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ส่วนร้านอาหาร ได้ขอความร่วมมือไปยังสมาคมก่อสร้างกับผู้ประกอบการ ให้ช่วยสั่งซื้ออาหารและจัดส่งไปยังสถานประกอบการและแคมป์คนงาน เพื่อที่ร้านอาหารจะได้มีรายได้ ส่วนการผ่อนปรนให้นั่งกินในร้าน ต้องขอเวลาดูก่อน และจะดูในระยะเวลา 15 วันด้วย หากดีขึ้น ก็จะมาพิจารณาว่าจะทำอย่างไรต่อไป สำหรับกิจการอื่นที่ได้รับผลกระทบ เช่น บันเทิง ก็จะดูแลในระยะต่อไป
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ยืนยันว่ารัฐบาลทำเต็มที่ รับฟังความเห็นทุกคน ชอบไม่ชอบก็ฟังและนำมาดูทั้งหมด แต่ขออย่าสร้างความเกลียดชัง มันไม่เกิดประโยชน์ เสียใจที่หลาย ๆ คนใช้วาจากิริยาไม่สุภาพ มันควรหรือไม่ แต่ก็อดทนอยู่แล้ว และไม่หวั่นไหวกับการถูกขับไล่ จะทำให้ดีที่สุด เพราะรักประชาชน และหลังแถลงข่าวจบ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ยกมือขอบคุณรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี พร้อมผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมกล่าวว่า “ขอขอบคุณทุกคน ครม.ไม่ได้หลับได้นอน ไม่ได้หยุดทุกวัน”
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ลูกจ้างในระบบประกันสังคม จำนวน 6.97 แสนคน จะจ่ายชดเชยกรณีเหตุสุดวิสัย 50% ของฐานเงินเดือน สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท และได้เงินเพิ่มอีก 2,000 บาทต่อราย เฉพาะลูกจ้างที่มีสัญชาติไทย รวมจ่ายสูงสุด 9,500 บาท และกรณีนายจ้างหรือผู้ประกอบการ จะได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาทต่อหัวของลูกจ้างในบริษัท สูงสุดไม่เกิน 200 คน ซึ่งเป็นเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมจากทางรัฐบาล
ส่วนนอกระบบประกันสังคม ฐานข้อมูลเบื้องต้นอยู่ในระบบแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” โดยนายจ้างที่ไม่เคยขึ้นระบบประกันสังคม ดำเนินการลงทะเบียนเข้าระบบประกันสังคม กรณีลูกจ้างเฉพาะที่มีสัญชาติไทย จะได้รับเงิน 2,000 บาทต่อหัว แต่ไม่ได้เงินเดือนชดเชย 50% เนื่องจากจ่ายเงินสบทบเข้ากองทุนประกันสังคมไม่ถึง 6 เดือน ส่วนกรณีนายจ้างจะได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาทต่อหัวลูกจ้างเช่นเดียวกัน
สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม ที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนประกันสังคมได้ เนื่องจากไม่มีลูกจ้าง สามารถขึ้นทะเบียนผ่านแอปฯ ถุงเงินได้ภายใน 1 เดือน ภายใต้โครงการคนละครึ่ง โดยกระทรวงมหาดไทยจะลงไปตรวจสอบด้วย ซึ่งจะได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาท
น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ที่ประชุม ศบศ. ได้สรุปว่า จะไม่มีการเลื่อนมาตรการคนละครึ่งเฟส 3 ที่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.-31 ธ.ค.2564 นี้ แม้ว่าจะมีการประกาศควบคุมพื้นที่ป้องกันการระบาดช่วงเดือน ก.ค. ก็ตาม โดยกระทรวงการคลังจะโอนเงินเข้าแอปพลิเคชันเป๋าตังให้ผู้ได้สิทธิ์ในวันที่ 1 ก.ค.2564 วงเงิน 1,500 บาท และวันที่ 1 ต.ค. วงเงิน 1,500 บาท รวม 3,000 บาท ตลอดโครงการ ตามกรอบเดิมที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบไว้ และขณะนี้ ยังคงเหลือสิทธิ์กว่า 2.5 ล้านสิทธิ์ จากทั้งหมด 31 ล้านสิทธิ์
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เปิดเผยภายหลังการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากโควิด-19 (ศบศ.) ร่วมกับทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล ว่า รัฐบาลได้เตรียมงบประมาณเป็นเงินจากเงินกู้ และเงินจากกองทุนประกันสังคม จำนวน 7,500 ล้านบาท ในการเยียวยากลุ่มประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากประกาศ ศบค. ฉบับที่ 25 หรือฉบับล่าสุด โดยจะเยียวยาภาคแรงงานจำนวน 6 จังหวัด ใน 3 หมวดประกอบด้วย เรื่องของการก่อสร้าง ที่พักแรม บริการด้านอาหาร สถานบันเทิงและนันทนาการ ซึ่งมีผลกระทบจำนวนมากพอสมควร
“รัฐบาลจะดูแลทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบในระยะเวลา 1 เดือนที่ได้ประกาศปิดไปแล้ว และเหตุผลที่เราต้องปิดแคมป์คนงาน เพราะมีแรงงานติดเชื้อโควิด-19 และแพร่ระบาดเป็นจำนวนมากที่ส่งผลกระทบกับจุดอื่นด้วย โดยการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจะแบ่งเป็นระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 จะมีพื้นที่จังหวัดอื่นตามมา แต่วันนี้ขอในส่วน 6 จังหวัดก่อน”
สำหรับโครงการ “คนละครึ่ง เฟส 3” ที่จะช่วยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย บรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชน และเพิ่มสภาพคล่องร้านค้ารายย่อย จะยังคงดำเนินการตามกำหนดการเดิม ไม่มีการเลื่อน รวมถึงโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ และโครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ส่วนร้านอาหาร ได้ขอความร่วมมือไปยังสมาคมก่อสร้างกับผู้ประกอบการ ให้ช่วยสั่งซื้ออาหารและจัดส่งไปยังสถานประกอบการและแคมป์คนงาน เพื่อที่ร้านอาหารจะได้มีรายได้ ส่วนการผ่อนปรนให้นั่งกินในร้าน ต้องขอเวลาดูก่อน และจะดูในระยะเวลา 15 วันด้วย หากดีขึ้น ก็จะมาพิจารณาว่าจะทำอย่างไรต่อไป สำหรับกิจการอื่นที่ได้รับผลกระทบ เช่น บันเทิง ก็จะดูแลในระยะต่อไป
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ยืนยันว่ารัฐบาลทำเต็มที่ รับฟังความเห็นทุกคน ชอบไม่ชอบก็ฟังและนำมาดูทั้งหมด แต่ขออย่าสร้างความเกลียดชัง มันไม่เกิดประโยชน์ เสียใจที่หลาย ๆ คนใช้วาจากิริยาไม่สุภาพ มันควรหรือไม่ แต่ก็อดทนอยู่แล้ว และไม่หวั่นไหวกับการถูกขับไล่ จะทำให้ดีที่สุด เพราะรักประชาชน และหลังแถลงข่าวจบ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ยกมือขอบคุณรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี พร้อมผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมกล่าวว่า “ขอขอบคุณทุกคน ครม.ไม่ได้หลับได้นอน ไม่ได้หยุดทุกวัน”
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ลูกจ้างในระบบประกันสังคม จำนวน 6.97 แสนคน จะจ่ายชดเชยกรณีเหตุสุดวิสัย 50% ของฐานเงินเดือน สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท และได้เงินเพิ่มอีก 2,000 บาทต่อราย เฉพาะลูกจ้างที่มีสัญชาติไทย รวมจ่ายสูงสุด 9,500 บาท และกรณีนายจ้างหรือผู้ประกอบการ จะได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาทต่อหัวของลูกจ้างในบริษัท สูงสุดไม่เกิน 200 คน ซึ่งเป็นเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมจากทางรัฐบาล
ส่วนนอกระบบประกันสังคม ฐานข้อมูลเบื้องต้นอยู่ในระบบแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” โดยนายจ้างที่ไม่เคยขึ้นระบบประกันสังคม ดำเนินการลงทะเบียนเข้าระบบประกันสังคม กรณีลูกจ้างเฉพาะที่มีสัญชาติไทย จะได้รับเงิน 2,000 บาทต่อหัว แต่ไม่ได้เงินเดือนชดเชย 50% เนื่องจากจ่ายเงินสบทบเข้ากองทุนประกันสังคมไม่ถึง 6 เดือน ส่วนกรณีนายจ้างจะได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาทต่อหัวลูกจ้างเช่นเดียวกัน
สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม ที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนประกันสังคมได้ เนื่องจากไม่มีลูกจ้าง สามารถขึ้นทะเบียนผ่านแอปฯ ถุงเงินได้ภายใน 1 เดือน ภายใต้โครงการคนละครึ่ง โดยกระทรวงมหาดไทยจะลงไปตรวจสอบด้วย ซึ่งจะได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาท
น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ที่ประชุม ศบศ. ได้สรุปว่า จะไม่มีการเลื่อนมาตรการคนละครึ่งเฟส 3 ที่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.-31 ธ.ค.2564 นี้ แม้ว่าจะมีการประกาศควบคุมพื้นที่ป้องกันการระบาดช่วงเดือน ก.ค. ก็ตาม โดยกระทรวงการคลังจะโอนเงินเข้าแอปพลิเคชันเป๋าตังให้ผู้ได้สิทธิ์ในวันที่ 1 ก.ค.2564 วงเงิน 1,500 บาท และวันที่ 1 ต.ค. วงเงิน 1,500 บาท รวม 3,000 บาท ตลอดโครงการ ตามกรอบเดิมที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบไว้ และขณะนี้ ยังคงเหลือสิทธิ์กว่า 2.5 ล้านสิทธิ์ จากทั้งหมด 31 ล้านสิทธิ์