อธิบดีฯสั่งย้ายด่วน "5 สรรพสามิต" ล่อซื้อน้ำส้ม 500 ขวด จากสรรพสามิตเขต 5 ไปปฏิบัติงานที่สำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 10 พร้อมตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง โฆษกฯเผยเจ้าของเรื่องลบโพสต์ แต่ยันไม่เอาเรื่อง
จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ระบุว่า มีเจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิตเข้าทำการจับกุมผู้ขายน้ำส้ม 500 ขวด และมีการเรียกค่าปรับเป็นเงิน 1.2 หมื่นบาท จนถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมในการทำงานของกรมสรรพมิต อย่างกว้างขวาง
วานนี้ (17 มิ.ย.) นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวแล้ว พร้อมทั้งให้รองอธิบดีกรมสรรพสามิต ลงไปตรวจสอบข้อเท็จจริง และให้ตรวจสอบผู้ที่ใส่ชุดข้าราชการรายนี้ ว่า ใช่เจ้าหน้าที่ของกรมสรรพสามิตจริงหรือไม่ โดยเตรียมที่จะแถลงข่าวชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้น
วันเดียวกัน มีรายงานว่า อธิบดีกรมสรรพสามิต ได้เซ็นคำสั่งให้เจ้าหน้าที่กลุ่มดังกล่าว 5 นาย จากสรรพสามิต เขต 5 มาปฏิบัติงานที่สำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 10 พร้อมตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ถึงเรื่องดังกล่าวแล้ว
ก่อนหน้านี้ นายณัฐกร อุเทนสุต ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางสรรพสามิต ในฐานะโฆษกกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า กรณีดังกล่าวกรมสรรพสามิตได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบจริง และยืนยันว่าไม่ได้มีการเรียกค่าปรับเป็นจำนวน 1.2 หมื่นบาท ทุกอย่างมีหลักฐาน กล้องวงจรปิดของร้าน ยืนยันข้อเท็จจริงได้ทั้งหมด ทั้งนี้ ในส่วนของการล่อซื้อ โดยสั่งให้ผลิต 500 ขวด เป็นการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ที่เก็บรวบรวมหลักฐานพิสูจน์ได้ว่า ร้านดังกล่าว ประกอบกิจการในลักษณะผู้ประกอบอุตสาหกรรม โดยมีเงื่อนไขชัดเจนว่า มีเครื่องจักรสำหรับการผลิตและขายส่งในปริมาณมากทุกวัน จึงต้องมีหลักฐานเพื่อพิสูจน์ว่าไม่ได้เป็นการปรักปรำผู้ประกอบการ
"ในกรณีนี้ ขอแยกเป็น 2 ส่วน คือ1. เจ้าหน้าที่กรม กับผู้จัดการร้านค้า ซึ่งในวันเกิดเหตุ กรมได้ลงพื้นที่เพราะมีผู้แจ้งเบาะแสว่า มีการผลิตในลักษณะผู้ประกอบการอุตสาหกรรม มีการขายส่ง แต่ไม่ได้มีการจดทะเบียนเสียภาษีให้ถูกต้อง จึงเข้าไปแนะนำ ซึ่งผู้จัดการก็เข้าใจ และแจ้งกับเจ้าหน้าที่ว่าจะเข้าไปจดทะเบียนให้ถูกต้องกับกรมในวันต่อมา" นายณัฐกร กล่าว
นายณัฐกร ยืนยันด้วยว่า ไม่ได้มีการเรียกเก็บค่าปรับ หรือยึดสินค้าใดๆกลับมาที่กรม แต่ให้ข้อมูลว่า จากจำนวนสินค้าในสถานที่ประกอบอุตสาหกรรม เมื่อคำนวณเป็นเม็ดเงินภาษี จะอยู่ที่ราว 1.2 พันบาท แต่เมื่อไม่มีการจดเสียภาษีถูกต้อง จะเสียเบี้ยปรับเงินเพิ่ม 10 เท่า จึงคำนวณมาอยู่ที่ 1.2 หมื่นบาท ซึ่งเป็นการให้ข้อมูล ไม่ได้มีการเรียกเก็บแต่อย่างใด ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างมาก มาจากตัวเจ้าของกิจการ ที่โพสต์รายละเอียดดังกล่าวลงเฟซบุ๊ก ซึ่งข้อมูลบางเรื่องไม่ถูกต้อง ทำให้กรมสรรพสามิตได้รับความเสียหาย แต่ต่อมาได้ปิดเฟซบุ๊กดังกล่าว ซึ่งกรมสรรพสามิตไม่ได้เก็บหลักฐานไว้ และยืนยันจะไม่ฟ้องร้องเอาผิดใดๆ
จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ระบุว่า มีเจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิตเข้าทำการจับกุมผู้ขายน้ำส้ม 500 ขวด และมีการเรียกค่าปรับเป็นเงิน 1.2 หมื่นบาท จนถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมในการทำงานของกรมสรรพมิต อย่างกว้างขวาง
วานนี้ (17 มิ.ย.) นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวแล้ว พร้อมทั้งให้รองอธิบดีกรมสรรพสามิต ลงไปตรวจสอบข้อเท็จจริง และให้ตรวจสอบผู้ที่ใส่ชุดข้าราชการรายนี้ ว่า ใช่เจ้าหน้าที่ของกรมสรรพสามิตจริงหรือไม่ โดยเตรียมที่จะแถลงข่าวชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้น
วันเดียวกัน มีรายงานว่า อธิบดีกรมสรรพสามิต ได้เซ็นคำสั่งให้เจ้าหน้าที่กลุ่มดังกล่าว 5 นาย จากสรรพสามิต เขต 5 มาปฏิบัติงานที่สำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 10 พร้อมตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ถึงเรื่องดังกล่าวแล้ว
ก่อนหน้านี้ นายณัฐกร อุเทนสุต ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางสรรพสามิต ในฐานะโฆษกกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า กรณีดังกล่าวกรมสรรพสามิตได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบจริง และยืนยันว่าไม่ได้มีการเรียกค่าปรับเป็นจำนวน 1.2 หมื่นบาท ทุกอย่างมีหลักฐาน กล้องวงจรปิดของร้าน ยืนยันข้อเท็จจริงได้ทั้งหมด ทั้งนี้ ในส่วนของการล่อซื้อ โดยสั่งให้ผลิต 500 ขวด เป็นการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ที่เก็บรวบรวมหลักฐานพิสูจน์ได้ว่า ร้านดังกล่าว ประกอบกิจการในลักษณะผู้ประกอบอุตสาหกรรม โดยมีเงื่อนไขชัดเจนว่า มีเครื่องจักรสำหรับการผลิตและขายส่งในปริมาณมากทุกวัน จึงต้องมีหลักฐานเพื่อพิสูจน์ว่าไม่ได้เป็นการปรักปรำผู้ประกอบการ
"ในกรณีนี้ ขอแยกเป็น 2 ส่วน คือ1. เจ้าหน้าที่กรม กับผู้จัดการร้านค้า ซึ่งในวันเกิดเหตุ กรมได้ลงพื้นที่เพราะมีผู้แจ้งเบาะแสว่า มีการผลิตในลักษณะผู้ประกอบการอุตสาหกรรม มีการขายส่ง แต่ไม่ได้มีการจดทะเบียนเสียภาษีให้ถูกต้อง จึงเข้าไปแนะนำ ซึ่งผู้จัดการก็เข้าใจ และแจ้งกับเจ้าหน้าที่ว่าจะเข้าไปจดทะเบียนให้ถูกต้องกับกรมในวันต่อมา" นายณัฐกร กล่าว
นายณัฐกร ยืนยันด้วยว่า ไม่ได้มีการเรียกเก็บค่าปรับ หรือยึดสินค้าใดๆกลับมาที่กรม แต่ให้ข้อมูลว่า จากจำนวนสินค้าในสถานที่ประกอบอุตสาหกรรม เมื่อคำนวณเป็นเม็ดเงินภาษี จะอยู่ที่ราว 1.2 พันบาท แต่เมื่อไม่มีการจดเสียภาษีถูกต้อง จะเสียเบี้ยปรับเงินเพิ่ม 10 เท่า จึงคำนวณมาอยู่ที่ 1.2 หมื่นบาท ซึ่งเป็นการให้ข้อมูล ไม่ได้มีการเรียกเก็บแต่อย่างใด ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างมาก มาจากตัวเจ้าของกิจการ ที่โพสต์รายละเอียดดังกล่าวลงเฟซบุ๊ก ซึ่งข้อมูลบางเรื่องไม่ถูกต้อง ทำให้กรมสรรพสามิตได้รับความเสียหาย แต่ต่อมาได้ปิดเฟซบุ๊กดังกล่าว ซึ่งกรมสรรพสามิตไม่ได้เก็บหลักฐานไว้ และยืนยันจะไม่ฟ้องร้องเอาผิดใดๆ