ผู้จัดการรายวัน360- ศาลล้มละลายกลาง เห็นชอบแผนฟื้นฟู "การบินไทย” เคาะ 5 รายชื่อผู้บริหารแผนฯ "ปิยสวัสดิ์-พรชัย-ศิริ-ไกรสร-ชาญศิลป์" เผยกระแสเงินมีใช้ไม่ถึงสิ้นปี 64 เร่งเงินกู้ 2.5 หมื่นล.เตรียมทรัพย์สินค้ำประกันและขายบางส่วน กางแผนบิน Q3-4/64 หนุนภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ยอดจองขยับ คาดQ4 กลับมาบินกว่า 40% นายกฯ ร่วมแสดงความยินดี ขอให้เดินหน้าให้ประสบความสำเร็จ
นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร รักษาการแทนประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า วันที่ 15 มิ.ย. 2564 ศาลล้มละลายกลางได้กำหนดนัดฟังคำสั่งศาล ในการพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการการบินไทย ซึ่งหลังจากที่ศาลล้มละลายกลาง ได้รับคำคัดค้านแผนฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้จำนวน 2 ฉบับ คำชี้แจงของผู้ทำแผน ตลอดจนความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในประเด็นต่าง ๆ แล้ว ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่ง เห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการและแผนที่แก้ไขตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 ซึ่งมีผลให้ผู้บริหารแผนที่ถูกเสนอชื่อตามแผนฟื้นฟูกิจการและแผนที่แก้ไข กล่าวคือ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ นายพรชัย ฐีระเวช นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ นายไกรสร บารมีอวยชัย และ นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร เป็นผู้บริหารแผน ซึ่งจะมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารธุรกิจของบริษัทฯ และดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการต่อไป
ทั้งนี้ การบินไทยต้องการเงินทุน 5 หมื่นล้านบาท ทยอยเข้ามา 1-3 ปี ซึ่งการปรับโครงสร้าง ลดคน ได้ทำไปแล้ว ช่วยลดค่าใช้จ่ายเกือบ50% เพื่อเตรียมพร้อมในการฟื้นฟูเพื่ออยู่ให้ได้ 3-5 ปี และออกจากแผนฟื้นฟู ภายใน 5 ปี และสามารถต่ออายุได้ครั้งละ 1 ปี จำนวน 2 ครั้ง รวมมีเวลาในแผนฟื้นฟู 7 ปี
“มั่นใจในรัฐบาลในการฉีดวัคซีน และมั่นใจว่าไตรมาส 3-4/2564 จะมากขึ้น ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ เกิดขึ้น และจะมีการกระจายไปยังเมืองท่องเที่ยวต่างๆ การเดินทางจะกลับมา ปี 65 มีสัญญาณที่ดีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยประเด็นที่ท้าทายคือ กระแสเงินสดที่ลดลง ซึ่งในแผนจะต้องนำทรัพย์สินรองออกมาหารายได้ รวมถึงเจรจากับเจ้าหนี้ รายใหญ่ เช่น สหกรณ์ เจ้าหนี้ภาครัฐ ธนาคาร หรือผู้สนใจในการลงเงินใหม่”
นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่สานการเงินและการบัญชี การบินไทย กล่าวว่า แผนกำหนดวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 25,000 ล้านบาท และจากสถาบันเอกชน 25,000 ล้านบาท ซึ่งยอมรับว่า กระแสเงินสดตอนนี้สามารถดำเนินการได้ไม่ถึงปลายปี 2564 ดังนั้น ต้องการเม็ดเงินเข้ามาโดยเร็วที่สุด เพื่อนำมาเสริมสภาพคล่องเงินทุนหมุนเวียน และชดเชยพนักงานที่ลาออก ซึ่งการกู้เงินจากสถาบันการเงินจะต้องใช้ทรัพย์สินค้ำประกัน เช่น อาคารสำนักงานใหญ่ที่ถนนวิภาวดีรังสิต มูลค่าประมาณ 10,000 ล้านบาท สำนักงาน สีลม, หลานหลวง และ ดอนเมือง รวมถึงสำนักงานขายในต่างประเทศ และหากรายได้ไม่เข้ามา จะมีการขายทรัพย์สินรองบางตัวออกไป
ส่วนมูลหนี้ มีไม่ถึง 400,000 ล้านบาท แต่จะเป็นเท่าไร ยังอยู่ในกระบวนการซึ่งยังไม่จบ ส่วนสัญญาเช่าเครื่องบิน จะมีการยกเลิกทั้งหมด 16 ลำ ทำให้ความเสี่ยงภาระหนี้ในอนาคตลดลง รวมถึงปรับลดฝูงบินเหลือ 60 ลำ จากเดิม102ลำ เป็นเครื่องบินสัญญาเช่าดำเนินการ เช่าทางการเงินรวม 54 ลำ และเครื่องบินของการบินไทย 6 ลำ
นายนนท์ กลิ่นทะ ประธานเจ้าหน้าที่สายการพาณิชย์ กล่าวว่าที่ผ่านมา การบินไทยไปเน้นเที่ยวบินขนส่งสินค้า(คาร์โก้) ซึ่งแผนการบินมี 100-200เที่ยวบินต่อเดือน และสิ้นเดือนจะเพิ่มเป็น 400-500 เที่ยวบิน
โดยในไตรมาส 3/64 แผนการบินจะรองรับ ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ มีเส้นทางบินตรงเข้าภูเก็ตจากยุโรป 5 เมือง คือ แฟรงเฟิร์ต ,ลอนดอน, โคเปนเฮเก้น ,ปารีส และซูริค และเพิ่มขึ้นในไตรมาส 4 และหากสถานการณ์โควิดที่อินเดียดีขึ้น จะเปิดเส้นทางบินตรงจากเดลี-ภูเก็ต และยังมีจากเกาหลีและญี่ปุ่นเพิ่มเติม ส่วนไทยสมายล์ ทำการบินเส้นทางจากฮ่องกงและสิงคโปร์ ไปยังภูเก็ต
โดย เส้นทางภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ เที่ยวบินแรก จากแฟรงเฟิร์ต (วันที่ 2 ก.ค.) - ภูเก็ต (วันที่ 3 ก.ค.) ยอดจองตั๋วมากกว่า 100 ที่นั่ง เป็นตัวเลขที่ค่อนข้างดีในสถานการณ์ปัจจุบัน และคาดว่าภายในเดือนก.ค.ที่เริ่มเปิดบินเส้นทางไปยังภูเก็ต แนวโน้มผู้โดยสารระดับมากกว่า 1,000 คน
อย่างไรก็ตาม ในไตรมาส 3/2564 จะมีเที่ยวบินประมาณ 30-35% และไตรมาส 4 /2564 เพิ่มเป็นกว่า 40% เทียบกับปี 2562 และถึงปี 2568 เที่ยวบินจะยังมีประมาณ 85% จากที่เคยบินในปี 2562 รายได้ยังไม่กลับมาเต็มที่ แต่มีกระแสเงินสดเข้ามาแน่นอน
นาวาอากาศตรีอนิรุต แสงฤทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายปฏิบัติการ กล่าวว่า การบินไทย เตรียมพร้อมตัวเครื่องบิน นักบินและลูกเรือสำหรับการเปิดบินในช่วงไตรมาส 3-4 ปี 64 ซึ่งจะนำเครื่องบินโบอิ้ง 787 ดรีมไลเนอร์แบบใหม่มาให้บริการอีกครั้ง
นายชวาล รัตนวราหะ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายขับเคลื่อนองค์กร กล่าวว่า แผนฟื้นฟูการบินไทยมีมูลค่า 56,000 ล้านบาท ถึงวันที่ผู้บริหารแผนได้เริ่มทำงาน ซึ่งแผนฟื้นฟูได้ทำสำเร็จไปแล้ว โดยลดต้นทุนไปแล้ว 25,700 ล้านบาท หากปริมาณการขนส่งกลับมาเหมือนเดิม เทียบกับ ปี 2562 ที่ขาดทุน 12,000 ล้านบาท เท่ากับวันนี้ บริษัท มีกำไร 10,000 กว่าล้านบาท ขณะที่แผนส่วนที่เหลือจะเป็นการเพิ่มรายได้15% และลดต้นทุนเพิ่มอีก 15%
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึง เรื่องนี้ว่า ขอแสดงความยินดี และขอบคุณทุกท่าน รวมถึงทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอให้ร่วมกันเดินหน้าฟื้นฟูการบินไทยให้ประสบความสำเร็จ
นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร รักษาการแทนประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า วันที่ 15 มิ.ย. 2564 ศาลล้มละลายกลางได้กำหนดนัดฟังคำสั่งศาล ในการพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการการบินไทย ซึ่งหลังจากที่ศาลล้มละลายกลาง ได้รับคำคัดค้านแผนฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้จำนวน 2 ฉบับ คำชี้แจงของผู้ทำแผน ตลอดจนความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในประเด็นต่าง ๆ แล้ว ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่ง เห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการและแผนที่แก้ไขตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 ซึ่งมีผลให้ผู้บริหารแผนที่ถูกเสนอชื่อตามแผนฟื้นฟูกิจการและแผนที่แก้ไข กล่าวคือ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ นายพรชัย ฐีระเวช นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ นายไกรสร บารมีอวยชัย และ นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร เป็นผู้บริหารแผน ซึ่งจะมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารธุรกิจของบริษัทฯ และดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการต่อไป
ทั้งนี้ การบินไทยต้องการเงินทุน 5 หมื่นล้านบาท ทยอยเข้ามา 1-3 ปี ซึ่งการปรับโครงสร้าง ลดคน ได้ทำไปแล้ว ช่วยลดค่าใช้จ่ายเกือบ50% เพื่อเตรียมพร้อมในการฟื้นฟูเพื่ออยู่ให้ได้ 3-5 ปี และออกจากแผนฟื้นฟู ภายใน 5 ปี และสามารถต่ออายุได้ครั้งละ 1 ปี จำนวน 2 ครั้ง รวมมีเวลาในแผนฟื้นฟู 7 ปี
“มั่นใจในรัฐบาลในการฉีดวัคซีน และมั่นใจว่าไตรมาส 3-4/2564 จะมากขึ้น ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ เกิดขึ้น และจะมีการกระจายไปยังเมืองท่องเที่ยวต่างๆ การเดินทางจะกลับมา ปี 65 มีสัญญาณที่ดีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยประเด็นที่ท้าทายคือ กระแสเงินสดที่ลดลง ซึ่งในแผนจะต้องนำทรัพย์สินรองออกมาหารายได้ รวมถึงเจรจากับเจ้าหนี้ รายใหญ่ เช่น สหกรณ์ เจ้าหนี้ภาครัฐ ธนาคาร หรือผู้สนใจในการลงเงินใหม่”
นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่สานการเงินและการบัญชี การบินไทย กล่าวว่า แผนกำหนดวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 25,000 ล้านบาท และจากสถาบันเอกชน 25,000 ล้านบาท ซึ่งยอมรับว่า กระแสเงินสดตอนนี้สามารถดำเนินการได้ไม่ถึงปลายปี 2564 ดังนั้น ต้องการเม็ดเงินเข้ามาโดยเร็วที่สุด เพื่อนำมาเสริมสภาพคล่องเงินทุนหมุนเวียน และชดเชยพนักงานที่ลาออก ซึ่งการกู้เงินจากสถาบันการเงินจะต้องใช้ทรัพย์สินค้ำประกัน เช่น อาคารสำนักงานใหญ่ที่ถนนวิภาวดีรังสิต มูลค่าประมาณ 10,000 ล้านบาท สำนักงาน สีลม, หลานหลวง และ ดอนเมือง รวมถึงสำนักงานขายในต่างประเทศ และหากรายได้ไม่เข้ามา จะมีการขายทรัพย์สินรองบางตัวออกไป
ส่วนมูลหนี้ มีไม่ถึง 400,000 ล้านบาท แต่จะเป็นเท่าไร ยังอยู่ในกระบวนการซึ่งยังไม่จบ ส่วนสัญญาเช่าเครื่องบิน จะมีการยกเลิกทั้งหมด 16 ลำ ทำให้ความเสี่ยงภาระหนี้ในอนาคตลดลง รวมถึงปรับลดฝูงบินเหลือ 60 ลำ จากเดิม102ลำ เป็นเครื่องบินสัญญาเช่าดำเนินการ เช่าทางการเงินรวม 54 ลำ และเครื่องบินของการบินไทย 6 ลำ
นายนนท์ กลิ่นทะ ประธานเจ้าหน้าที่สายการพาณิชย์ กล่าวว่าที่ผ่านมา การบินไทยไปเน้นเที่ยวบินขนส่งสินค้า(คาร์โก้) ซึ่งแผนการบินมี 100-200เที่ยวบินต่อเดือน และสิ้นเดือนจะเพิ่มเป็น 400-500 เที่ยวบิน
โดยในไตรมาส 3/64 แผนการบินจะรองรับ ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ มีเส้นทางบินตรงเข้าภูเก็ตจากยุโรป 5 เมือง คือ แฟรงเฟิร์ต ,ลอนดอน, โคเปนเฮเก้น ,ปารีส และซูริค และเพิ่มขึ้นในไตรมาส 4 และหากสถานการณ์โควิดที่อินเดียดีขึ้น จะเปิดเส้นทางบินตรงจากเดลี-ภูเก็ต และยังมีจากเกาหลีและญี่ปุ่นเพิ่มเติม ส่วนไทยสมายล์ ทำการบินเส้นทางจากฮ่องกงและสิงคโปร์ ไปยังภูเก็ต
โดย เส้นทางภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ เที่ยวบินแรก จากแฟรงเฟิร์ต (วันที่ 2 ก.ค.) - ภูเก็ต (วันที่ 3 ก.ค.) ยอดจองตั๋วมากกว่า 100 ที่นั่ง เป็นตัวเลขที่ค่อนข้างดีในสถานการณ์ปัจจุบัน และคาดว่าภายในเดือนก.ค.ที่เริ่มเปิดบินเส้นทางไปยังภูเก็ต แนวโน้มผู้โดยสารระดับมากกว่า 1,000 คน
อย่างไรก็ตาม ในไตรมาส 3/2564 จะมีเที่ยวบินประมาณ 30-35% และไตรมาส 4 /2564 เพิ่มเป็นกว่า 40% เทียบกับปี 2562 และถึงปี 2568 เที่ยวบินจะยังมีประมาณ 85% จากที่เคยบินในปี 2562 รายได้ยังไม่กลับมาเต็มที่ แต่มีกระแสเงินสดเข้ามาแน่นอน
นาวาอากาศตรีอนิรุต แสงฤทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายปฏิบัติการ กล่าวว่า การบินไทย เตรียมพร้อมตัวเครื่องบิน นักบินและลูกเรือสำหรับการเปิดบินในช่วงไตรมาส 3-4 ปี 64 ซึ่งจะนำเครื่องบินโบอิ้ง 787 ดรีมไลเนอร์แบบใหม่มาให้บริการอีกครั้ง
นายชวาล รัตนวราหะ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายขับเคลื่อนองค์กร กล่าวว่า แผนฟื้นฟูการบินไทยมีมูลค่า 56,000 ล้านบาท ถึงวันที่ผู้บริหารแผนได้เริ่มทำงาน ซึ่งแผนฟื้นฟูได้ทำสำเร็จไปแล้ว โดยลดต้นทุนไปแล้ว 25,700 ล้านบาท หากปริมาณการขนส่งกลับมาเหมือนเดิม เทียบกับ ปี 2562 ที่ขาดทุน 12,000 ล้านบาท เท่ากับวันนี้ บริษัท มีกำไร 10,000 กว่าล้านบาท ขณะที่แผนส่วนที่เหลือจะเป็นการเพิ่มรายได้15% และลดต้นทุนเพิ่มอีก 15%
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึง เรื่องนี้ว่า ขอแสดงความยินดี และขอบคุณทุกท่าน รวมถึงทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอให้ร่วมกันเดินหน้าฟื้นฟูการบินไทยให้ประสบความสำเร็จ