“อนุทิน” ตรวจเยี่ยมศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ เผย 24 พ.ค.ถึงวันนี้ ฉีดแล้ว 106,348 โดส เตรียมนำทีมรับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าอีกลอตวันนี้ เจรจาจัดหาวัคซีนไฟเซอร์-จอห์นสันฯ อยู่ในขั้นสุดท้ายแล้ว "มาดามแป้ง" ยันแอสตร้าฯได้มาตรฐาน
วานนี้ (3 มิ.ย.) ที่สถานีกลางบางซื่อ กทม. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ตรวจเยี่ยมศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ โดยนายอนุทินเปิดเผยว่า ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ เป็นศูนย์ฉีดวัคซีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศขณะนี้ จากการให้บริการที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่ 24 พ.ค.- 2 มิ.ย.64 ได้ฉีดวัคซีนให้กับประชาชน ผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะ และในรูปแบบองค์กรแล้วจำนวน 106,348 โดส ส่วนในวันนี้ตั้งเป้าการให้บริการไว้ที่ 19,000 คน
"การฉีดวัคซีนโควิด-19 ถือเป็นภารกิจสำคัญของประเทศและกระทรวงสาธารณสุขขณะนี้ เนื่องจากจะไม่มีใครปลอดภัยหากทุกคนยังไม่ปลอดภัย ซึ่งทราบดีว่าบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนต้องทำงานหนัก จึงขอขอบคุณและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ทุกคนที่เสียสละทำงานเพื่อประชาชนให้เกิดความปลอดภัยจากโรคโควิด 19" นายอนุทิน กล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่า จากข้อมูลเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.64 ประเทศไทยได้มีการฉีดวัคซีนไปแล้ว 3,959,356 โดส แบ่งเป็น เข็มแรก 2,738,289 ราย และเข็มสอง 1,221,067 ราย
“อนุทิน” คุย 2 วัคซีนใกล้จบ
นายอนุทิน ยังเปิดเผยถึงความคืบหน้าในการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาวัคซีนซิโนแวคที่นำมาใช้แก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยให้บริการไปแล้วจำนวนมากได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จากนี้จะเป็นวัคซีนหลักของแอสตร้าเซนเนก้า เพื่อให้ประเทศไทยมีจำนวนวัคซีนเพียงพอต่อความต้องการและบริการประชาชนได้ครอบคลุมมากขึ้น
“ขณะที่วัคซีนของไฟเซอร์ และวัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน อยู่ระหว่างการหารือในขั้นตอนสุดท้ายแล้ว” นายอนุทิน ระบุ
แอสตราฯส่งมอบอีกลอต
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 4 มิ.ย. เวลา 09.30 น. บริษัท แอสตร้าเซเนกา (ประเทศไทย) จำกัด มีกำหนดส่งมอบวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้รัฐบาลไทย โดยผ่านทางกระทรวงสาธารณสุข เพื่อนำไปกระจายให้จังหวัดต่างๆ เตรียมพร้อมดำเนินการฉีดให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงกลุ่มแรก (ผู้สูงอายุ และผู้ป่วย 7 กลุ่มโรค) พร้อมกันทั่วประเทศ ตามแผนฉีดวัคซีนแห่งชาติ วันที่ 7 มิ.ย.นี้ สำหรับการส่งมอบวัคซีนโควิด-19 ล็อตนี้จัดขึ้นที่กระทรวงสาธารณสุข มี นายอนุทิน เป็นประธานรับมอบจากนายเจมส์ ทีก ประธานบริษัท แอสตร้าเซเนกา (ประเทศไทย) จำกัด ด้วย อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการเปิดเผยว่า จำนวนส่งมอบครั้งนี้เท่าไร และเป็นวัคซีนล็อตที่ผลิตในประเทศไทย โดย บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด หรือไม่
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.ที่ผ่านมา บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ได้ส่งมอบวัคซีนโควิด-19 ที่ผลิตได้ล็อตแรก จำนวน 1.8 ล้านโดส ให้กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีการยืนยันว่า แผนการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของประเทศไทยในวันที่ 7 มิ.ย.นี้ยังคงเป็นไปตามกำหนดการเดิม โดยมีทั้งวัคซีนซิโนแวค และแอสตร้าเซเนกา ให้บริการประชาชน
“มาดามแป้ง”ย้ำได้มาตรฐาน
ขณะที่ น.ส.นวลพรรณ ล่ำซำ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรกิตติมศักดิ์ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ได้ให้สัมภาษณ์สดทางรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ช่อง 3 ถึงกระแสข่าวเกี่ยวกับวัคซีนแอสตร้าเซเนกาว่า วัคซีนที่สยามไบโอไซเอนซ์ผลิตได้ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยและการรับรองในประเทศไทยและต่างประเทศ ทั้งในห้องปฎิบัติการในยุโรป และสหรัฐอเมริกา ขอยืนยันว่า วัคซีนที่สยามไบโอไซเอนซ์ผลิตมีมาตรฐานเดียวกันกับที่ผลิตฐานอื่นๆใช้ทั่วโลก และยืนยันว่า มีการผลิตวัคซีนแล้วไม่ผ่านมาตรฐานต้องผลิตใหม่นั้นเป็นเฟคนิวส์ พร้อมทั้งยืนยันว่า สยามไบโอไซเอนซ์ได้ผลิตจัดส่งตามที่ระบุไว้ในสัญญาที่มีกับแอสต้าเซนเนก้า ในสัญญระบุว่าล็อตแรกภายในเดือน มิ.ย. ซึ่งการส่งมอบเมื่อวะนที่ 2 มิ.ย.น่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด
หนุน ปชช.มีวัคซีนทางเลือก
ส่วนข้อถามที่ว่าประชาชนไทยจะฉีดได้ตามปริมาณที่รัฐบาลไทยซื้อไว้หรือไม่นั้น น.ส.นวลพรรณ กล่าวว่า เอาเป็นว่าเราผลิตได้เป็นที่พึงพอใจของผู้ว่าจ้าง เมื่อวานได้ 1.8 ล้านโดส และจะทยอยจัดส่งเรื่อยๆ แต่จะเท่ากับจำนวนที่รัฐบาลไทยสั่งซื้อจากแอสตร้าฯหรือไม่ เป็นเรื่องรัฐบาลไทยกับแอสตร้าฯ และวัคซีนเป็นสิทธิ์ของแอสตร้าฯไม่ใช่สยามไบโอไซเอนซ์ ซึ่งแอสตร้าเซนเนก้ามีสิทธิ์ส่งออกวัคซีนจากฐานผลิตไทย ไป 8 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ขณะที่กรณีการเลือกสยามไบโอไซเอนซ์ เหมือนการแทงม้าตัวเดียวหรือไม่นั้น น.ส.นวลพรรณ กล่าวว่า รัฐบาลควรมีการสั่งซื้อวัคซีนในหลายทางเลือกให้กับประชาชน เพราะเป็นเรื่องสุขภาพและชีวิตประชาชน ไม่ก้าวล่วงรัฐบาล แต่สยามไบโอไซเอนซ์ผลิตแอสตร้าฯถูกมองเป็นเหมือนแทงม้าตัวเดียว จริงๆแล้วเราเป็นบริษัทเอกชน ซึ่งขอย้ำว่าประชาชนควรมีทางเลือก
รพ.จุฬาภรณ์ยุติฉีดเข็มแรก
วันเดียวกัน โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เผยแพร่ประกาศจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ชี้แจงว่า เนื่องจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ไม่ได้รับการจัดสรรวัคซีนหลัก (ซิโนแวค และ แอสตร้าเซเนกา) เพื่อให้บริการอีกต่อไป โรงพยาบาลจุฬาภรณ์จึงไม่สามารถให้บริการฉีดวัคซีนเข็มแรกให้กับผู้ที่ได้ลงทะเบียนผ่านระบบราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ไว้แล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 มิ.ย.64 เป็นต้นไป รวมถึงสถานศึกษา และหน่วยงานของรัฐที่ได้ขอติดต่อเพื่อรับการฉีดวัคซีนหลักทั้ง 2 ชนิดด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรกไปแล้ว ยังสามารถมารับการฉีดเข็มที่สองได้ตามนัดหมาย
“ราชวิทยาลัยฯ จะพยายามอย่างเต็มความสามารถในการหาวัคซีนอื่นที่มีคุณภาพมาให้บริการเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามพระปณิพานขององค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์” ประกาศ ระบุ
สธ.แจงโควตารวม 11 สถาบัน
อีกด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ชี้แจงว่า โควตาการจัดการวัคซีนโควิดของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ถูกนำไปรวมกับโควตามหาวิทยาลัยที่ขึ้นตรงกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ที่มีรวม 11 สถาบัน โดยมีอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธาน และมีปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทั้งนี้กรมควบคุมโรคได้ส่งวัคซีนจำนวน 5 แสนโดส ไปให้กับทางมหาวิทยาลัยแล้ว อำนาจการจัดสรรจากนี้เป็นเรื่องของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินการไม่เกี่ยวข้องกับกรมควบคุมโรค
“หมอเหรียญ” เมินปิด รพ.สนาม
เฟซบุ๊กของ พล.ต.นพ.เหรียญทอง แน่นหนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ โพสต์ภาพเจ้าหน้าที่ 2 คน กำลังปิดประกาศจากสำนักงานเขตหลักสี่ ที่มีคำสั่งห้ามใช้หรือเข้าไปในอาคาร และระงับการก่อสร้าง รพ.สนามพลังแผ่นดิน ซึ่งเป็น รพ.สนาม ที่รองรับผู้ป่วยโรคโควิด-19
พล.ต.นพ.เหรียญทอง ระบุว่า ไม่ต้องเป็นห่วง เนื่องจาก รพ.สนามพลังแผ่นดินจะยังคงเปิดรับการส่งต่อผู้ป่วยอาการหนักจาก รพ.สนาม ต่างๆ รวมถึงผู้ป่วยจาก รพ.รัฐและเอกชน โดยตนยึดคำสั่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่รัฐบาลประกาศใช้ให้เหนือกว่าคำสั่งจากท้องที่ อีกทั้งยังได้ให้ลูกน้องของตนไปนำประกาศดังกล่าวออก และจะขอรับผิดชอบเอง
ผอ.เขตฯแจงไม่ขออนุญาต
ด้าน นายสมบัติ กนกทิพย์วรรณ ผู้อำนวยการเขตหลักสี่ ชี้แจงว่า ได้ปิดประกาศคำสั่งห้ามใช้หรือเข้าไปในอาคาร รพ.สนามพลังแผ่นดิน และออกคำสั่งระงับการก่อสร้าง รพ.สนามพลังแผ่นดินที่ประตูทางเข้า รพ.สนามฯจริง โดยได้ออกคำสั่งไป เมื่อวันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากอาคารดังกล่าว ยังไม่ได้มีการขออนุญาตก่อสร้าง ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 จึงออกคำสั่งให้มาขออนุญาตก่อสร้างภายใน 30 วัน ส่วนการตั้ง รพ.สนาม สามารถทำได้ ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แต่ตามกฎหมายในการก่อสร้างอาคารนั้น ไม่ได้ยกเว้นอาคารประเภทนี้ ดังนั้นจึงต้องขออนุญาติก่อสร้างก่อน เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้อาคาร.
วานนี้ (3 มิ.ย.) ที่สถานีกลางบางซื่อ กทม. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ตรวจเยี่ยมศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ โดยนายอนุทินเปิดเผยว่า ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ เป็นศูนย์ฉีดวัคซีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศขณะนี้ จากการให้บริการที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่ 24 พ.ค.- 2 มิ.ย.64 ได้ฉีดวัคซีนให้กับประชาชน ผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะ และในรูปแบบองค์กรแล้วจำนวน 106,348 โดส ส่วนในวันนี้ตั้งเป้าการให้บริการไว้ที่ 19,000 คน
"การฉีดวัคซีนโควิด-19 ถือเป็นภารกิจสำคัญของประเทศและกระทรวงสาธารณสุขขณะนี้ เนื่องจากจะไม่มีใครปลอดภัยหากทุกคนยังไม่ปลอดภัย ซึ่งทราบดีว่าบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนต้องทำงานหนัก จึงขอขอบคุณและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ทุกคนที่เสียสละทำงานเพื่อประชาชนให้เกิดความปลอดภัยจากโรคโควิด 19" นายอนุทิน กล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่า จากข้อมูลเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.64 ประเทศไทยได้มีการฉีดวัคซีนไปแล้ว 3,959,356 โดส แบ่งเป็น เข็มแรก 2,738,289 ราย และเข็มสอง 1,221,067 ราย
“อนุทิน” คุย 2 วัคซีนใกล้จบ
นายอนุทิน ยังเปิดเผยถึงความคืบหน้าในการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาวัคซีนซิโนแวคที่นำมาใช้แก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยให้บริการไปแล้วจำนวนมากได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จากนี้จะเป็นวัคซีนหลักของแอสตร้าเซนเนก้า เพื่อให้ประเทศไทยมีจำนวนวัคซีนเพียงพอต่อความต้องการและบริการประชาชนได้ครอบคลุมมากขึ้น
“ขณะที่วัคซีนของไฟเซอร์ และวัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน อยู่ระหว่างการหารือในขั้นตอนสุดท้ายแล้ว” นายอนุทิน ระบุ
แอสตราฯส่งมอบอีกลอต
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 4 มิ.ย. เวลา 09.30 น. บริษัท แอสตร้าเซเนกา (ประเทศไทย) จำกัด มีกำหนดส่งมอบวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้รัฐบาลไทย โดยผ่านทางกระทรวงสาธารณสุข เพื่อนำไปกระจายให้จังหวัดต่างๆ เตรียมพร้อมดำเนินการฉีดให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงกลุ่มแรก (ผู้สูงอายุ และผู้ป่วย 7 กลุ่มโรค) พร้อมกันทั่วประเทศ ตามแผนฉีดวัคซีนแห่งชาติ วันที่ 7 มิ.ย.นี้ สำหรับการส่งมอบวัคซีนโควิด-19 ล็อตนี้จัดขึ้นที่กระทรวงสาธารณสุข มี นายอนุทิน เป็นประธานรับมอบจากนายเจมส์ ทีก ประธานบริษัท แอสตร้าเซเนกา (ประเทศไทย) จำกัด ด้วย อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการเปิดเผยว่า จำนวนส่งมอบครั้งนี้เท่าไร และเป็นวัคซีนล็อตที่ผลิตในประเทศไทย โดย บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด หรือไม่
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.ที่ผ่านมา บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ได้ส่งมอบวัคซีนโควิด-19 ที่ผลิตได้ล็อตแรก จำนวน 1.8 ล้านโดส ให้กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีการยืนยันว่า แผนการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของประเทศไทยในวันที่ 7 มิ.ย.นี้ยังคงเป็นไปตามกำหนดการเดิม โดยมีทั้งวัคซีนซิโนแวค และแอสตร้าเซเนกา ให้บริการประชาชน
“มาดามแป้ง”ย้ำได้มาตรฐาน
ขณะที่ น.ส.นวลพรรณ ล่ำซำ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรกิตติมศักดิ์ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ได้ให้สัมภาษณ์สดทางรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ช่อง 3 ถึงกระแสข่าวเกี่ยวกับวัคซีนแอสตร้าเซเนกาว่า วัคซีนที่สยามไบโอไซเอนซ์ผลิตได้ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยและการรับรองในประเทศไทยและต่างประเทศ ทั้งในห้องปฎิบัติการในยุโรป และสหรัฐอเมริกา ขอยืนยันว่า วัคซีนที่สยามไบโอไซเอนซ์ผลิตมีมาตรฐานเดียวกันกับที่ผลิตฐานอื่นๆใช้ทั่วโลก และยืนยันว่า มีการผลิตวัคซีนแล้วไม่ผ่านมาตรฐานต้องผลิตใหม่นั้นเป็นเฟคนิวส์ พร้อมทั้งยืนยันว่า สยามไบโอไซเอนซ์ได้ผลิตจัดส่งตามที่ระบุไว้ในสัญญาที่มีกับแอสต้าเซนเนก้า ในสัญญระบุว่าล็อตแรกภายในเดือน มิ.ย. ซึ่งการส่งมอบเมื่อวะนที่ 2 มิ.ย.น่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด
หนุน ปชช.มีวัคซีนทางเลือก
ส่วนข้อถามที่ว่าประชาชนไทยจะฉีดได้ตามปริมาณที่รัฐบาลไทยซื้อไว้หรือไม่นั้น น.ส.นวลพรรณ กล่าวว่า เอาเป็นว่าเราผลิตได้เป็นที่พึงพอใจของผู้ว่าจ้าง เมื่อวานได้ 1.8 ล้านโดส และจะทยอยจัดส่งเรื่อยๆ แต่จะเท่ากับจำนวนที่รัฐบาลไทยสั่งซื้อจากแอสตร้าฯหรือไม่ เป็นเรื่องรัฐบาลไทยกับแอสตร้าฯ และวัคซีนเป็นสิทธิ์ของแอสตร้าฯไม่ใช่สยามไบโอไซเอนซ์ ซึ่งแอสตร้าเซนเนก้ามีสิทธิ์ส่งออกวัคซีนจากฐานผลิตไทย ไป 8 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ขณะที่กรณีการเลือกสยามไบโอไซเอนซ์ เหมือนการแทงม้าตัวเดียวหรือไม่นั้น น.ส.นวลพรรณ กล่าวว่า รัฐบาลควรมีการสั่งซื้อวัคซีนในหลายทางเลือกให้กับประชาชน เพราะเป็นเรื่องสุขภาพและชีวิตประชาชน ไม่ก้าวล่วงรัฐบาล แต่สยามไบโอไซเอนซ์ผลิตแอสตร้าฯถูกมองเป็นเหมือนแทงม้าตัวเดียว จริงๆแล้วเราเป็นบริษัทเอกชน ซึ่งขอย้ำว่าประชาชนควรมีทางเลือก
รพ.จุฬาภรณ์ยุติฉีดเข็มแรก
วันเดียวกัน โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เผยแพร่ประกาศจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ชี้แจงว่า เนื่องจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ไม่ได้รับการจัดสรรวัคซีนหลัก (ซิโนแวค และ แอสตร้าเซเนกา) เพื่อให้บริการอีกต่อไป โรงพยาบาลจุฬาภรณ์จึงไม่สามารถให้บริการฉีดวัคซีนเข็มแรกให้กับผู้ที่ได้ลงทะเบียนผ่านระบบราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ไว้แล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 มิ.ย.64 เป็นต้นไป รวมถึงสถานศึกษา และหน่วยงานของรัฐที่ได้ขอติดต่อเพื่อรับการฉีดวัคซีนหลักทั้ง 2 ชนิดด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรกไปแล้ว ยังสามารถมารับการฉีดเข็มที่สองได้ตามนัดหมาย
“ราชวิทยาลัยฯ จะพยายามอย่างเต็มความสามารถในการหาวัคซีนอื่นที่มีคุณภาพมาให้บริการเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามพระปณิพานขององค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์” ประกาศ ระบุ
สธ.แจงโควตารวม 11 สถาบัน
อีกด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ชี้แจงว่า โควตาการจัดการวัคซีนโควิดของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ถูกนำไปรวมกับโควตามหาวิทยาลัยที่ขึ้นตรงกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ที่มีรวม 11 สถาบัน โดยมีอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธาน และมีปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทั้งนี้กรมควบคุมโรคได้ส่งวัคซีนจำนวน 5 แสนโดส ไปให้กับทางมหาวิทยาลัยแล้ว อำนาจการจัดสรรจากนี้เป็นเรื่องของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินการไม่เกี่ยวข้องกับกรมควบคุมโรค
“หมอเหรียญ” เมินปิด รพ.สนาม
เฟซบุ๊กของ พล.ต.นพ.เหรียญทอง แน่นหนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ โพสต์ภาพเจ้าหน้าที่ 2 คน กำลังปิดประกาศจากสำนักงานเขตหลักสี่ ที่มีคำสั่งห้ามใช้หรือเข้าไปในอาคาร และระงับการก่อสร้าง รพ.สนามพลังแผ่นดิน ซึ่งเป็น รพ.สนาม ที่รองรับผู้ป่วยโรคโควิด-19
พล.ต.นพ.เหรียญทอง ระบุว่า ไม่ต้องเป็นห่วง เนื่องจาก รพ.สนามพลังแผ่นดินจะยังคงเปิดรับการส่งต่อผู้ป่วยอาการหนักจาก รพ.สนาม ต่างๆ รวมถึงผู้ป่วยจาก รพ.รัฐและเอกชน โดยตนยึดคำสั่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่รัฐบาลประกาศใช้ให้เหนือกว่าคำสั่งจากท้องที่ อีกทั้งยังได้ให้ลูกน้องของตนไปนำประกาศดังกล่าวออก และจะขอรับผิดชอบเอง
ผอ.เขตฯแจงไม่ขออนุญาต
ด้าน นายสมบัติ กนกทิพย์วรรณ ผู้อำนวยการเขตหลักสี่ ชี้แจงว่า ได้ปิดประกาศคำสั่งห้ามใช้หรือเข้าไปในอาคาร รพ.สนามพลังแผ่นดิน และออกคำสั่งระงับการก่อสร้าง รพ.สนามพลังแผ่นดินที่ประตูทางเข้า รพ.สนามฯจริง โดยได้ออกคำสั่งไป เมื่อวันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากอาคารดังกล่าว ยังไม่ได้มีการขออนุญาตก่อสร้าง ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 จึงออกคำสั่งให้มาขออนุญาตก่อสร้างภายใน 30 วัน ส่วนการตั้ง รพ.สนาม สามารถทำได้ ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แต่ตามกฎหมายในการก่อสร้างอาคารนั้น ไม่ได้ยกเว้นอาคารประเภทนี้ ดังนั้นจึงต้องขออนุญาติก่อสร้างก่อน เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้อาคาร.