ผู้จัดการรายวัน360 - "วิษณุ"เผย กฤษฎีกาการันตี พ.ร.ก.เงินกู้ 5 แสนล้าน ถูกกม. ศาลปกครองเพิกถอนไม่ได้ เหตุไม่ใช่มติครม.เดินหน้าพิจารณา พ.ร.บ.งบฯ 65 ตามกรอบ105 วัน "ธีระชัย" อดีตรมว.คลัง ห่วงพ.ร.ก.กู้ ที่ขาดระบบตรวจสอบ จะเป็นกุญแจสู่บุฟเฟต์สภา ด้านเลขาฯปธ.สภาเผยพ.ร.ก.เงินกู้ 5 แสนล้านบาท ยังไม่ถึงสภาฯ อาจพิจารณาไม่ทัน 27-28 พ.ค.
วานนี้ (26 พ.ค.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลัง พร้อมด้วยคณะ ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุด ให้พิจารณา และมีคำสั่งเพิกถอนมติครม. เมื่อวันที่ 18 พ.ค.64 ที่เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้ออก ร่าง พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. ... วงเงินไม่เกิน 5 แสนล้านบาท และ มติ ครม. เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 63 ที่มีมติเห็นชอบพ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา พ.ศ.2563 หรือ พ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ว่า เรื่องนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ชี้แจงแล้วว่า ได้ตรวจสอบตั้งแต่ต้นแล้ว และยังคิดไม่ออกว่าเกี่ยวข้องอะไรกับศาลปกครอง เพราะในรธน.เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า ถ้าจะดำเนินการร้อง ต้องไปร้องต่อศาลรธน. แต่ทั้งนี้ พอรู้เหตุผลที่ผู้ร้อง ไปร้องต่อศาลปกครอง เพราะเขาไม่รู้ว่าจะมีการประกาศออกมาเมื่อไร จึงได้ร้องให้มีการเพิกถอนมติครม. แต่เรื่องมันเกิน มติครม.ไปแล้ว อย่างไรก็ตาม การยื่นเรื่องต่อศาลปกครองนั้น ไม่ได้ถือว่า ผิด เพียงแต่เขาต้องการให้มีการเพิกถอน แต่เมื่อเป็น พ.ร.ก.แล้วศาลปกครองเพิกถอนไม่ได้ แต่ถ้าเป็นมติของครม. ศาลปกครอง ถึงจะมีอำนาจเพิกถอนได้ แต่ผู้ร้องคิดว่าเป็นมติครม. จึงไปร้องต่อศาลปกครอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในทางกฎหมายถือว่า เป็นการร้องผิดศาล หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ผิด ถ้าเขาต้องการให้เพิกถอน แต่เมื่อเป็นพ.ร.ก.แล้ว ศาลปกครองเพิกถอนไม่ได้ แต่ถ้าหากเป็นมติครม. ศาลปกครองสามารถเพิกถอนได้ เขาคงนึกว่าเป็น มติ ครม. ซึ่งไม่ใช่ เพราะในความเป็นจริงเป็น พ.ร.ก.ไปแล้ว
"เลขาคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ชี้แจงว่า กระบวนการ และขั้นตอนถูกต้องทุกอย่าง และที่สำคัญที่มีการร้องว่าไม่มีอำนาจนั้น มีอำนาจตาม พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลัง ซึ่งมีมาตราที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้อยู่ ซึ่งเรื่องนี้มีการเช็ค และตรวจสอบตั้งแต่พ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาทแล้ว ที่มีการบอกไว้ชัดเจนว่า มาตรา 53 สามารถกู้เงินได้โดยวิธีการนี้ ทุกอย่างจึงเข้าตามหลักเกณฑ์ทั้งหมด และทำตามขั้นตอนเช่นเดียวกับกรณี พ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาททุกอย่าง"
นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า เรื่องพ.ร.ก.กู้เงินนี้ สภาจะพิจารณาหลัง ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ 65 เพราะการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯนั้นต้องพิจารณาให้เสร็จภายในเวลา105 วัน นับตั้งแต่วันที่ส่งร่างให้กับสภา ซึ่งรัฐบาลได้ส่งร่างให้กับสภาฯ ตั้งแต่วันที่ 17 พ.ค. แม้ขณะนั้นสภายังไม่ได้เปิดสมัยประชุม แต่จำนวนวันได้เริ่มนับแล้ว ดังนั้น ถ้ามีการประชุมในวันที่ 31 พ.ค. เท่ากับเราเสียเวลาไปแล้ว 15 วัน จาก 105 วัน ดังนั้น สภาจะเหลือวันพิจารณาน้อยลง ฉะนั้นถ้ามีอะไรไปตัดหน้า ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ อีก หรืออย่างที่ส.ส. บางคนกลัวการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จนขอให้เลื่อนการพิจารณาออกไปนั้น เวลาก็จะหายไป ซึ่งอาจทำให้พิจารณาได้ไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยรัฐธรรมนูญใน มาตรา 143 บัญญัติไว้ว่า ถ้าสภาพิจารณาไม่เสร็จภายใน 105 วัน ให้ถือว่าให้ความเห็นชอบ และอนุมัติตามร่างทุกประการ แก้ไม่ได้แม้แต่ตัวเดียว เพราะฉะนั้น จึงต้องพิจารณาให้เสร็จ
'ธีระชัย'ห่วงพ.ร.ก.กู้ เป็นกุญแจสู่บุฟเฟต์สภา
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า..."อย่าให้ พ.ร.ก. เป็นกุญแจสู่บุฟเฟต์แคบิเนต!"
เมื่อวานนี้ (25 พ.ค.) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง แถลงชี้แจง พ.ร.ก. 5 แสนล้านบาท แต่ปรากฏว่า ชี้แจงแบบด้วน ห้วน !
แค่เพียงอธิบายวัตถุประสงค์ 3 แผนงาน และเงินกู้จะช่วยให้ จีดีพี ปี 64 และปี 65 ขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก1.5%
น่าเสียดาย ไม่ได้แถลงว่า
1. หลักการรวบอำนาจการใช้จ่ายของรัฐให้ออกไปจากองคาพยพกำกับตรวจสอบปกตินั้น นอกจากใช้จ่ายคล่องมือแล้ว มีประโยชน์อื่นใดแก่ชาติ หรือไม่ อย่างไร ?
2. สามแผนงานของท่าน มีความเร่งด่วนจนไม่สามารถออกกฎหมายในรูปพ.ร.บ. ตรงไหน ?
3. วงเงินฟื้นฟู 1.7 แสนล้าน ท่านมีเผื่อไว้ให้ ส.ส. พรรคใดบ้าง? เผื่อไว้ให้รัฐมนตรีกระทรวงใดบ้าง? เผื่อไว้ปิดปากส.ส.หรือไม่ ?
ผมคัดโครงการใหญ่ ที่ ครม. พลเอกประยุทธ์ อนุมัติ ในพ.ร.ก. 1 ล้านล้าน มาให้ผู้อ่านรับทราบ จะเห็นได้ว่ามีโครงการของส่วนราชการมากมาย ทำไมส่วนราชการจึงกระตือรือล้น จะทำโครงการใน พ.ร.ก.1 ล้านล้าน แทนที่จะเสนอตามงบประมาณปกติ?
เป็นเพราะถ้าเดินถนนปกติ ถ้าถูกตรวจสอบ อาจถูกดำเนินคดี ไม่เหมือนเดินถนน พ.ร.ก.หรือไม่?
ในเว็บไซต์สภาพัฒน์ 5 โครงการฟื้นฟูใหญ่สุด ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐ คือ
อันดับหนึ่ง สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จำนวนเงิน 10,629,600,000 บาท
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) !!!
อันดับสอง สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 9,805,707,480 บาท = โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ !!
(พรรคที่คุมกระทรวงนี้ คงมีบารมีใน ครม. น่าเสียดาย ทฤษฎีใหม่แต่ใช้เงินแค่เก้าพันล้าน)
อันดับสาม กรมการปกครอง 2,701,876,000 บาท= โครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ (Tambon Smart Team)!!!(*กระทรวงนี้ คงจะเกรงใจคนรุ่นใหม่ สมารท์ตำบนตำบอน ปกติต้องใช้เงินนับหมื่นๆ ล้าน)
อันดับสี่ กรมส่งเสริมสหกรณ์1,693,500,700 บาท = โครงการปรับโครงสร้างการผลิต การรวบรวม และการแปรรูปของสถาบันเกษตรกรรองรับผลผลิตทางการเกษตร!!! (*โครงการนี้ใช้เงินนิดเดียวไม่ถึงระดับหมื่นล้าน ไม่สมกับชื่อโครงการ ที่ตั้งได้ลึกซึ้ง)
อันดับห้า กรมการข้าว 1,601,430,400 บาท = โครงการเพิ่มศักยภาพและปรับปรุงเครื่องจักรอุปกรณ์ปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ของกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์!!! (*นี่ก็คงเกรงใจคนรุ่นใหม่มาก เพราะแค่ชื่อที่ข้ามชาตินี้ไปชาติหน้าอย่างนี้ ก็ทำโครงการได้เป็นแสนๆ ล้านแล้ว)
นี่แค่ 5 อันดับแรก และยังมีโครงการของส่วนราชการอื่นๆ อีกมากมาย รวมถึงโครงการของแต่ละจังหวัด ดูได้ในเว็บไซต์สภาพัฒน์
ในเมื่อ พ.ร.ก. 1 ล้านล้าน เป็นที่นิยมมากอย่างนี้ ก็คาดได้ว่า พ.ร.ก. 5 แสนล้าน จะมีลูกค้าแน่นขนัดไม่แพ้กัน ผมจึงขอเชิญให้พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะนั่งหัวโต๊ะ ครม. ที่เป็นผู้อนุมัติโครงการเหล่านี้ โปรดให้มีการชี้แจงว่า
ก) โครงการเหล่านี้ ที่ต้องใช้จ่ายให้สะดวก ลื่นไหล จนต้องใช้ช่องทางด่วนพิเศษ ที่ท่านออกแบบไว้ในพ.ร.ก. นั้น มีความจำเป็นเร่งด่วน แท้จริง อย่างไร ?
ข) มีส่วนราชการที่ฉวยโอกาส ใช้ช่องทางพิเศษใน พ.ร.ก. เพื่อหลบการตรวจสอบในช่องทางปกติ หรือไม่ ?
ค) มีอะไรเป็นหลักประกันว่า โครงการเหล่านี้ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นอย่างแท้จริง พิสูจน์ไว้ หรือไม่ อย่างไร?
นี่เอง ที่ผมวิจารณ์ว่า ในวาระครบรอบวันเกิด 7 ปีของ คสช. พล.อ.ประยุทธ์ ให้ของขวัญแก่คนรุ่นใหม่ เป็นหลักการคลังในอนาคต ใส่กล่องผูกโบสีดำ
ถ้าการใช้เงินรั่วไหล ถ้าการตรวจสอบหย่อนยาน ภาระหนักก็จะตกแก่คนรุ่นใหม่ ที่จะต้องช่วยกันใช้หนี้
วาระแห่งชาติ ต่อต้านฉ้อราษฎร์บังหลวง ที่ พล.อ.ประยุทธ์ เพิ่งจะอ้าง เพิ่งจะวางเป็นจุดขาย หลังจากนั่งหัวโต๊ะมา 7 ปี เป็นเพียงสัญญาที่ว่างเปล่า หรือไม่ ?
ผมขอเรียกร้องให้ประชาชนติดตาม ส่งเสียง เพื่อระวังมิให้ พ.ร.ก.เป็นกุญแจสู่ บุฟเฟต์แคบิเนต หรือบุฟเฟต์สภา !
เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น จะมีผลต่อลูกหลานของเราอย่างหนัก ถ้ากู้มาล้มละลาย ?
พ.ร.ก.เงินกู้ 5 แสนล้าน ถกไม่ทัน 27-28 พ.ค.
นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยถึง ความคืบหน้ากรณีที่นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ประสานประธานสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาบรรจุวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาให้การอนุมัติพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม วงเงินไม่เกิน 500,000 ล้านบาท ในวันที่ 27-28 พ.ค.นี้ ว่า แม้จะได้ประกาศพ.ร.ก.ดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาและมีผลใช้บังคับแล้ว แต่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ยังไม่ได้ส่งพ.ร.ก.ฉบับนี้มาถึงสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้น การประชุมสภาฯ ในวันที่ 27 พ.ค.นี้ จะยังพิจารณา พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่คณะรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นชอบบังคับใช้ตามกฎหมาย และเสนอมายังสภาฯ เพื่อพิจารณาก่อน
วานนี้ (26 พ.ค.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลัง พร้อมด้วยคณะ ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุด ให้พิจารณา และมีคำสั่งเพิกถอนมติครม. เมื่อวันที่ 18 พ.ค.64 ที่เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้ออก ร่าง พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. ... วงเงินไม่เกิน 5 แสนล้านบาท และ มติ ครม. เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 63 ที่มีมติเห็นชอบพ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา พ.ศ.2563 หรือ พ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ว่า เรื่องนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ชี้แจงแล้วว่า ได้ตรวจสอบตั้งแต่ต้นแล้ว และยังคิดไม่ออกว่าเกี่ยวข้องอะไรกับศาลปกครอง เพราะในรธน.เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า ถ้าจะดำเนินการร้อง ต้องไปร้องต่อศาลรธน. แต่ทั้งนี้ พอรู้เหตุผลที่ผู้ร้อง ไปร้องต่อศาลปกครอง เพราะเขาไม่รู้ว่าจะมีการประกาศออกมาเมื่อไร จึงได้ร้องให้มีการเพิกถอนมติครม. แต่เรื่องมันเกิน มติครม.ไปแล้ว อย่างไรก็ตาม การยื่นเรื่องต่อศาลปกครองนั้น ไม่ได้ถือว่า ผิด เพียงแต่เขาต้องการให้มีการเพิกถอน แต่เมื่อเป็น พ.ร.ก.แล้วศาลปกครองเพิกถอนไม่ได้ แต่ถ้าเป็นมติของครม. ศาลปกครอง ถึงจะมีอำนาจเพิกถอนได้ แต่ผู้ร้องคิดว่าเป็นมติครม. จึงไปร้องต่อศาลปกครอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในทางกฎหมายถือว่า เป็นการร้องผิดศาล หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ผิด ถ้าเขาต้องการให้เพิกถอน แต่เมื่อเป็นพ.ร.ก.แล้ว ศาลปกครองเพิกถอนไม่ได้ แต่ถ้าหากเป็นมติครม. ศาลปกครองสามารถเพิกถอนได้ เขาคงนึกว่าเป็น มติ ครม. ซึ่งไม่ใช่ เพราะในความเป็นจริงเป็น พ.ร.ก.ไปแล้ว
"เลขาคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ชี้แจงว่า กระบวนการ และขั้นตอนถูกต้องทุกอย่าง และที่สำคัญที่มีการร้องว่าไม่มีอำนาจนั้น มีอำนาจตาม พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลัง ซึ่งมีมาตราที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้อยู่ ซึ่งเรื่องนี้มีการเช็ค และตรวจสอบตั้งแต่พ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาทแล้ว ที่มีการบอกไว้ชัดเจนว่า มาตรา 53 สามารถกู้เงินได้โดยวิธีการนี้ ทุกอย่างจึงเข้าตามหลักเกณฑ์ทั้งหมด และทำตามขั้นตอนเช่นเดียวกับกรณี พ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาททุกอย่าง"
นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า เรื่องพ.ร.ก.กู้เงินนี้ สภาจะพิจารณาหลัง ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ 65 เพราะการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯนั้นต้องพิจารณาให้เสร็จภายในเวลา105 วัน นับตั้งแต่วันที่ส่งร่างให้กับสภา ซึ่งรัฐบาลได้ส่งร่างให้กับสภาฯ ตั้งแต่วันที่ 17 พ.ค. แม้ขณะนั้นสภายังไม่ได้เปิดสมัยประชุม แต่จำนวนวันได้เริ่มนับแล้ว ดังนั้น ถ้ามีการประชุมในวันที่ 31 พ.ค. เท่ากับเราเสียเวลาไปแล้ว 15 วัน จาก 105 วัน ดังนั้น สภาจะเหลือวันพิจารณาน้อยลง ฉะนั้นถ้ามีอะไรไปตัดหน้า ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ อีก หรืออย่างที่ส.ส. บางคนกลัวการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จนขอให้เลื่อนการพิจารณาออกไปนั้น เวลาก็จะหายไป ซึ่งอาจทำให้พิจารณาได้ไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยรัฐธรรมนูญใน มาตรา 143 บัญญัติไว้ว่า ถ้าสภาพิจารณาไม่เสร็จภายใน 105 วัน ให้ถือว่าให้ความเห็นชอบ และอนุมัติตามร่างทุกประการ แก้ไม่ได้แม้แต่ตัวเดียว เพราะฉะนั้น จึงต้องพิจารณาให้เสร็จ
'ธีระชัย'ห่วงพ.ร.ก.กู้ เป็นกุญแจสู่บุฟเฟต์สภา
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า..."อย่าให้ พ.ร.ก. เป็นกุญแจสู่บุฟเฟต์แคบิเนต!"
เมื่อวานนี้ (25 พ.ค.) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง แถลงชี้แจง พ.ร.ก. 5 แสนล้านบาท แต่ปรากฏว่า ชี้แจงแบบด้วน ห้วน !
แค่เพียงอธิบายวัตถุประสงค์ 3 แผนงาน และเงินกู้จะช่วยให้ จีดีพี ปี 64 และปี 65 ขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก1.5%
น่าเสียดาย ไม่ได้แถลงว่า
1. หลักการรวบอำนาจการใช้จ่ายของรัฐให้ออกไปจากองคาพยพกำกับตรวจสอบปกตินั้น นอกจากใช้จ่ายคล่องมือแล้ว มีประโยชน์อื่นใดแก่ชาติ หรือไม่ อย่างไร ?
2. สามแผนงานของท่าน มีความเร่งด่วนจนไม่สามารถออกกฎหมายในรูปพ.ร.บ. ตรงไหน ?
3. วงเงินฟื้นฟู 1.7 แสนล้าน ท่านมีเผื่อไว้ให้ ส.ส. พรรคใดบ้าง? เผื่อไว้ให้รัฐมนตรีกระทรวงใดบ้าง? เผื่อไว้ปิดปากส.ส.หรือไม่ ?
ผมคัดโครงการใหญ่ ที่ ครม. พลเอกประยุทธ์ อนุมัติ ในพ.ร.ก. 1 ล้านล้าน มาให้ผู้อ่านรับทราบ จะเห็นได้ว่ามีโครงการของส่วนราชการมากมาย ทำไมส่วนราชการจึงกระตือรือล้น จะทำโครงการใน พ.ร.ก.1 ล้านล้าน แทนที่จะเสนอตามงบประมาณปกติ?
เป็นเพราะถ้าเดินถนนปกติ ถ้าถูกตรวจสอบ อาจถูกดำเนินคดี ไม่เหมือนเดินถนน พ.ร.ก.หรือไม่?
ในเว็บไซต์สภาพัฒน์ 5 โครงการฟื้นฟูใหญ่สุด ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐ คือ
อันดับหนึ่ง สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จำนวนเงิน 10,629,600,000 บาท
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) !!!
อันดับสอง สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 9,805,707,480 บาท = โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ !!
(พรรคที่คุมกระทรวงนี้ คงมีบารมีใน ครม. น่าเสียดาย ทฤษฎีใหม่แต่ใช้เงินแค่เก้าพันล้าน)
อันดับสาม กรมการปกครอง 2,701,876,000 บาท= โครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ (Tambon Smart Team)!!!(*กระทรวงนี้ คงจะเกรงใจคนรุ่นใหม่ สมารท์ตำบนตำบอน ปกติต้องใช้เงินนับหมื่นๆ ล้าน)
อันดับสี่ กรมส่งเสริมสหกรณ์1,693,500,700 บาท = โครงการปรับโครงสร้างการผลิต การรวบรวม และการแปรรูปของสถาบันเกษตรกรรองรับผลผลิตทางการเกษตร!!! (*โครงการนี้ใช้เงินนิดเดียวไม่ถึงระดับหมื่นล้าน ไม่สมกับชื่อโครงการ ที่ตั้งได้ลึกซึ้ง)
อันดับห้า กรมการข้าว 1,601,430,400 บาท = โครงการเพิ่มศักยภาพและปรับปรุงเครื่องจักรอุปกรณ์ปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ของกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์!!! (*นี่ก็คงเกรงใจคนรุ่นใหม่มาก เพราะแค่ชื่อที่ข้ามชาตินี้ไปชาติหน้าอย่างนี้ ก็ทำโครงการได้เป็นแสนๆ ล้านแล้ว)
นี่แค่ 5 อันดับแรก และยังมีโครงการของส่วนราชการอื่นๆ อีกมากมาย รวมถึงโครงการของแต่ละจังหวัด ดูได้ในเว็บไซต์สภาพัฒน์
ในเมื่อ พ.ร.ก. 1 ล้านล้าน เป็นที่นิยมมากอย่างนี้ ก็คาดได้ว่า พ.ร.ก. 5 แสนล้าน จะมีลูกค้าแน่นขนัดไม่แพ้กัน ผมจึงขอเชิญให้พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะนั่งหัวโต๊ะ ครม. ที่เป็นผู้อนุมัติโครงการเหล่านี้ โปรดให้มีการชี้แจงว่า
ก) โครงการเหล่านี้ ที่ต้องใช้จ่ายให้สะดวก ลื่นไหล จนต้องใช้ช่องทางด่วนพิเศษ ที่ท่านออกแบบไว้ในพ.ร.ก. นั้น มีความจำเป็นเร่งด่วน แท้จริง อย่างไร ?
ข) มีส่วนราชการที่ฉวยโอกาส ใช้ช่องทางพิเศษใน พ.ร.ก. เพื่อหลบการตรวจสอบในช่องทางปกติ หรือไม่ ?
ค) มีอะไรเป็นหลักประกันว่า โครงการเหล่านี้ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นอย่างแท้จริง พิสูจน์ไว้ หรือไม่ อย่างไร?
นี่เอง ที่ผมวิจารณ์ว่า ในวาระครบรอบวันเกิด 7 ปีของ คสช. พล.อ.ประยุทธ์ ให้ของขวัญแก่คนรุ่นใหม่ เป็นหลักการคลังในอนาคต ใส่กล่องผูกโบสีดำ
ถ้าการใช้เงินรั่วไหล ถ้าการตรวจสอบหย่อนยาน ภาระหนักก็จะตกแก่คนรุ่นใหม่ ที่จะต้องช่วยกันใช้หนี้
วาระแห่งชาติ ต่อต้านฉ้อราษฎร์บังหลวง ที่ พล.อ.ประยุทธ์ เพิ่งจะอ้าง เพิ่งจะวางเป็นจุดขาย หลังจากนั่งหัวโต๊ะมา 7 ปี เป็นเพียงสัญญาที่ว่างเปล่า หรือไม่ ?
ผมขอเรียกร้องให้ประชาชนติดตาม ส่งเสียง เพื่อระวังมิให้ พ.ร.ก.เป็นกุญแจสู่ บุฟเฟต์แคบิเนต หรือบุฟเฟต์สภา !
เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น จะมีผลต่อลูกหลานของเราอย่างหนัก ถ้ากู้มาล้มละลาย ?
พ.ร.ก.เงินกู้ 5 แสนล้าน ถกไม่ทัน 27-28 พ.ค.
นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยถึง ความคืบหน้ากรณีที่นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ประสานประธานสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาบรรจุวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาให้การอนุมัติพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม วงเงินไม่เกิน 500,000 ล้านบาท ในวันที่ 27-28 พ.ค.นี้ ว่า แม้จะได้ประกาศพ.ร.ก.ดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาและมีผลใช้บังคับแล้ว แต่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ยังไม่ได้ส่งพ.ร.ก.ฉบับนี้มาถึงสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้น การประชุมสภาฯ ในวันที่ 27 พ.ค.นี้ จะยังพิจารณา พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่คณะรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นชอบบังคับใช้ตามกฎหมาย และเสนอมายังสภาฯ เพื่อพิจารณาก่อน